ก่อนหน้านี้ อูก้าได้แนะนำให้เพื่อนๆรู้จักกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาไปแล้ว วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยของเพื่อนๆหลายคนเกี่ยวกับโค้ชชิ่งกันบ้างว่าแตกต่างกับนักจิตวิทยาอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ #ที่ปรึกษามืออาชีพอย่างเป็นส่วนตัวผ่านแอพพลิเคชั่นอูก้า #ooca #ItsOkayLetsTalk #ปรึกษาจิตแพทย์นักจิตวิทยาออนไลน์ #องค์กรยุคใหม่ดูแลใจพนักงาน www.ooca.co

เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่าโค้ชชิ่งมาบ้างแล้วและอาจจะกำลังมีข้อสงสัยอยู่ว่าโค้ชทำงานเหมือนหรือต่างจากนักจิตวิทยาอย่างไร ความชำนาญขอบข่ายการทำงานเป็นอย่างไรบ้าง และใครที่สามารถโค้ชหรือให้คำปรึกษาคนอื่นได้

นักจิตวิทยาจะต้องจบสาขาเฉพาะทางจิตวิทยาในระดับปริญญาโทขึ้นไป ซึ่งหลักสูตรประกอบไปด้วยการเรียนเนื้อหาและการฝึกงานอย่างน้อย 500 ชั่วโมง ภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาต้องผ่านการฝึกงานทั้งกับผู้รับบริการรายบุคคลและรายกลุ่ม ผ่านการเรียนรู้ทฤษฎีต่างๆ อาทิ การให้คําปรึกษาบุคคลเป็นศูนย์กลาง (Person-centered Therapy)ตามแนวคิด ของโรเจอร์ส การให้การปรึกษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม (CBT) เพื่อที่จะเสริมสร้างความเข้าใจของมนุษย์ที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น ในส่วนของโค้ชนั้น ผ่านการฝึกอบรมคอร์สโค้ชโดยเฉพาะซึ่งมีมาตรฐาน อาทิ International Coach Federation โดยที่ระยะเวลาการอบรมมีตั้งแต่คอร์สสั้น ที่มีระยะเวลาการอบรมตั้งแต่ 7–14 วัน ในต่างประเทศมีสถาบันรับรองจะต้องผ่านการฝึกงานมา เรียนเนื้อหา 60–200 ชั่วโมงและการฝึกงาน 100–250 ชั่วโมง

โดยหลักๆแล้วเป้าหมายของนักจิตวิทยา คือการมุ่งให้ผู้รับบริการรู้จักตัวเองดีขึ้น เข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ว่าตนเองต้องการอะไรกันแน่ ทำให้การตัดสินใจในปัจจุบันมีความชัดเจนและยังมุ่งความสนใจไปที่จุดแข็ง ความคิดของผู้รับบริการซึ่งเกิดจากประสบการณ์ในอดีตที่อาจมาขวางกั้นการดำเนินชีวิตและการทำงานได้ นักจิตวิทยาจะทำให้ผู้รับบริการรับรู้ข้อมูลส่วนนั้นของตัวเองและเกิดการตระหนักรู้และอยู่กับมันได้อย่างกลมกลืน จากนั้นก็เริ่มปรับตัวเพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมั่นคงและด้วยความเข้าใจในตัวเองมากขึ้น
ในขณะที่โค้ชจะมุ่งความสนใจไปที่จุดแข็งของผู้ใช้บริการ ทำให้ผู้รับบริการรับรู้จุดแข็งของตนเอง รู้ว่าจะนำจุดแข็งไปใช้อย่างไรเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่สุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย รวมไปถึงการวางแผนอนาคตให้สอดคล้องกับศักยภาพ มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมักจะเป็นรูปธรรม ดังนั้น การทำงานของโค้ชจะเน้นย้ำถึงความสำคัญในการไปถึงเป้าหมายแก่ผู้รับบริการ ปัจจัยที่ทำให้ผู้รับบริการอยากไปถึงเป้าหมาย และทำอย่างไรถึงจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้

สิ่งที่ทั้งสองศาสตร์มีเหมือนกันก็คือ การฟังอย่างเข้าใจ ซึ่งก็คือการไม่ตัดสิน ไม่เอามาตรฐานของตัวเองไปตัดสินสิ่งที่ผู้พูดพูดออกมา การทำแบบนี้นอกจากจะทำให้ผู้ให้บริการเข้าใจมุมมองของผู้รับบริการอย่างแท้จริง และยังสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัย บรรยากาศแห่งความเชื่อใจและการยอมรับ ทำให้ผู้รับบริการค้นพบศักยภาพที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ นอกจากการฟังเนื้อหาแล้วยังมีการสังเกตสิ่งที่อยู่นอกเหนือคำพูดซึ่งรวมไปถึงการใช้คำ การเรียบเรียงประโยค น้ำเสียง ท่าทางสีหน้าอีกด้วย
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วคิดว่าคุณผู้อ่านคงเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับความต้องการ และเลือกสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ให้กับตัวเองได้ไม่ยาก และท่านสามารถรับบริการปรึกษาที่ตรงกับความต้องการได้จากที่บ้าน ลองปรึกษานักจิตวิทยาให้การปรึกษาทางแอปพลิเคชั่น ooca หรือ www.ooca.co ได้ตั้งแต่วันนี้