เชื่อว่าหลายๆคน อาจจะเกิดข้อสงสัยว่าทำไมบางครั้งเมื่อมีอาการปวดหัว ไม่สบายกินยา แต่ทำไมยังไม่หาย? การกินยาสามารถรักษาหรือบรรเทาอาการป่วยทางกายได้ แต่หากอาการป่วยเหล่านั้นเกิดขึ้นจากจิตใจหละ เราจะสามารถรู้เพื่อรักษาได้อย่างไรบ้าง วันนี้อูก้าจะมาบอกลักษณะอาการต่างที่อาจะเกิดจากจิตใจของเรา เพื่อให้เพื่อนๆได้มีสุขภาพกายและใจที่ดีไปพร้อมๆกัน #ooca #ItsOkayLetsTalk #WhattoTalktoOoca #Headace #MentalHealth #ปรึกษาจิตแพทย์นักจิตวิทยาออนไลน์ www.ooca.co

การมีสุขภาพดีทั้งกายและใจเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เรามีชีวิตที่มีความสุขได้ แต่ในช่วงที่เราเจ็บป่วย ไม่สบาย ทั้งร่างกายและจิตใจของเราก็พลอยแย่ไปด้วย หลายๆครั้งอาการเหล่านี้อาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากทางกายแต่มาจากจิตใจของเราก็ได้ มาดูกันซิว่าอาการแบบไหนบ้างที่อาจเกิดจากปัญหาในใจของเราได้บ้าง

ปวดศีรษะ
เป็นอาการที่พบกันมากเป็นลำดับต้นๆ สาเหตุทางจิตใจนั้นมักเกิดมาจากความเครียดจากเรื่องต่างๆ โดยอาการปวดหัวที่เกิดจากความเครียดนั้นมักจะปวดบริเวณหน้าผากหรือบริเวณหลังศีรษะและคอ นอกจากนั้นในผู้ที่มีโรคไมเกรนอยู่ ความเครียดยังอาจทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นได้อีกด้วย

เหนื่อยล้า
ผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้ามักมีอาการเหนื่อยล้าทั้งทางกายและจิตใจร่วมกันอยู่ คือ เกิดความรู้สึกไม่มีเรี่ยวแรงและรู้สึกไม่อยากทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ หรือแม้แต่กิจกรรมที่เคยชื่นชอบก็ตาม

ปวดหัวใจ
ในผู้ที่พบเหตุการณ์สูญเสียคนสำคัญหรือได้รับข่าวร้ายนั้น อาจเกิดอาการ Broken Heart Syndrome ซึ่งทำให้รู้สึกปวดบริเวณหัวใจคล้ายกับอาการหัวใจวายเฉียบพลันได้ ซึ่งคาดกันว่าเป็นผลมาจากระดับความเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

คลื่นไส้
อาการปวดท้องและคลื่นไส้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไปอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจมักจะมีสาเหตุจากความเครียดและวิตกกังวลที่เกิดขึ้น แต่หากเป็นบ่อยครั้งกับเรื่องที่คล้ายกัน อาจเป็นสัญญาณของโรควิตกกังวลก็เป็นได้

อาการปวดเรื้อรัง
เมื่อร่างกายของเราเผชิญกับความเครียดหรือวิตกกังวลนั้น กล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายจะเกิดความตึง ซึ่งเมื่อผ่านไปนานเข้ากล้ามเนื้อจะเกิดอาการปวดล้าและทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

จะเห็นได้ว่าสุขภาพกายและใจของเรานั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก การดูแลรักษาจิตใจให้แข็งแรงจึงเป็นอีกส่วนสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพของเรา หากต้องการรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิตง่ายๆจากที่บ้าน สามารถใช้บริการได้ผ่านแอพพลิเคชั่น ooca และwww.ooca.co ได้แล้ววันนี้