ก่อนที่สังคมจะเริ่มให้คุณค่ากับ ”การรักตัวเอง” ก็มีการถกเถียงกันอยู่บ่อยครั้งว่า “การรักตัวเอง“ แตกต่างกับ “การเห็นแก่ตัว” ยังไง ? ซึ่งการคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นคือข้อแตกต่างของสองคำนี้
.
การรักตัวเองที่ดี จะต้องถูกปลูกฝังมาอย่างถูกต้องจาก คนใกล้ตัวหรือคนในครอบครัว เป็นความรักที่ไม่เบียดเบียนความรู้สึกของผู้อื่น ให้ความใส่ใจกับคนที่อยู่รอบข้าง
.
ในขณะที่ การเห็นแก่ตัว ความรู้สึกของผู้อื่นจะเป็นรองและไม่สนว่าใครจะสูญเสียอะไรบ้าง คนอื่นไม่มีอิทธิพลในการกระทำหรือการตัดสินใจ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการ
“ไม่มีจิตสำนึกส่วนรวม” ด้วยเช่นกัน
.
“จิตสำนึกส่วนรวม” คือ การรู้สึกรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมส่วนรวม การทำประโยชน์และรวมไปถึงการช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม แนวความคิดนี้เป็นสิ่งที่ #ทุกคนควรมี โดยเริ่มต้นจากการปลูกฝังในครอบครัวก่อนเป็นสำคัญ ปลูกฝังให้รู้สึกว่า “สังคมที่เราอยู่เป็นของเรา” เป็นบ้านและสถานที่อยู่ร่วมกับคนจำนวนมาก ซึ่งนอกจากเราจะต้อง #รับผิดชอบการกระทำของตัวเองแล้ว ยังต้อง #รับผิดชอบการกระทำของตัวเองต่อสังคม ด้วย
.
เมื่อเราสนใจแต่เรื่องของตนเอง สิ่งที่ค่อยๆ หายไปคือการที่เราหยุดมองว่าใครบ้างที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งที่เราทำ สูญเสียอะไรบ้างเพื่อให้เรามี หากลองยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น การทิ้งขยะลงในแม่น้ำ บางคนคิดแค่ว่ามันสะดวกง่ายดีเรื่องแค่นี้เอง แต่ก็มีข่าวผลกระทบจากการทิ้งขยะลงคลอง หรือแม่น้ำให้เราเห็นกันอยู่เรื่อยๆ เพราะการกระทำของเรามันไม่ได้จบแค่นั้น แต่ยังแผ่ขยายความเสียหายออกไปเป็นวงกว้างอีกด้วย
.
การถอยหลังออกมามองภาพรวมจะช่วยตีกรอบให้เรามองเห็นผลกระทบจากสิ่งที่เราทำได้ ไม่ใช่แค่มองว่าตัวเองได้หรือเสียอะไร ต้องมองอีกว่าใครเสียอะไรหรือต้องมาเสี่ยงกับสิ่งที่เราทำไปไหม ? เพราะมันเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมเลยที่คนจำนวนมากจะต้องได้รับกระทบจากความเห็นแก่ส่วนตัวของคนแค่เพียงไม่กี่คน
Recent Comments