“มันคือความคิดเพ้อฝัน ที่เราไม่ได้หลับตาด้วยซ้ำ”
.
หากมองเข้ามาโดยวัดจากสิ่งที่เห็นภายนอกทุกคนก็เหมือนกันหมด รีบเดินไปยังจุดหมายปลายทาง ไปทำงาน ไปเข้าเรียน เราไม่รู้เลยว่าในหัวของพวกเขากำลังคิดอะไรอยู่จะคิดเรื่อยเปื่อยทั่วไป หรือจะเป็นความคิดที่เอาแต่ใจ ไร้ข้อจำกัด และเป็นอิสระ โดยที่พวกเขาครอบครองมันไว้คนเดียวเหมือน “Daydreamer”

Daydreamer มักจะจิตนาการเรื่องราวอยู่ในหัวโดยที่พวกเขาไม่ได้กำลังนอนหลับ ไม่ได้ฝันหรือละเมอทั้งนั้น แต่กำลังใช้ชีวิตประจำอยู่เหมือนคนอื่นๆ แค่ความนึกคิดของพวกเขาไม่ได้อยู่ณ ตอนนั้น โดยมีความสุขกับเรื่องราวในหัวที่ชัดยิ่งกว่า 4k มันเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวอยู่ๆ ก็เกิดขึ้นเอง จนบางครั้งพวกเขาก็หลงทางอยู่ในห้วงความคิดจนเสพติดอาการเพ้อฝันและเลิกใช้ชีวิตในโลกแห่งความจริง
.
เพราะความคิดฝันกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะวิกฤตเป็น “โรคฝันกลางวัน (Maladaptive Daydreaming) “ ซึ่งเป็นงานวิจัยในช่วงปี 2002 ของ อีไล ซอมเมอร์ (Eli Somer) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา เมื่ออาการเพ้อฝันเข้ามากระทบกิจวัตรประจำวันทำให้คนที่เป็นไม่อยู่บนโลกแห่งความจริง และมักจะหาเวลานานๆ หลายชั่วโมงในการนั่งจิตนาการในหัวอย่างมีความสุข
.
คนที่เป็นโรคฝันกลางมีแนวโน้มว่าเคยเจอประสบการณ์ที่เลวร้ายในวัยเด็กจิตใจเลยหลบหนีไปอยู่ที่อื่นที่ให้ความสุขกับพวกเขา ความสุขที่โลกแห่งความจริงให้ไม่ได้ เลยมักมีอาการเหม่อลอยบ่อยครั้งตัวอยู่แต่ใจไปอยู่ที่อื่น ทำพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น เดินวนไปวนมา โยนของในมือเล่น เป็นต้น
.
เรียนรู้ที่จะดึงตัวเองกลับมาและรู้ตัวอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เราคิด เช่น สถานที่ หรือเพลงที่จะทำให้เราเผลอใจกับมันไป แม้โลกแห่งการเพ้อฝันจะได้ดั่งใจเราขนาดไหน แต่เราก็หนีความจริงไม่ได้ว่าเราต้องอยู่กับปัจจุบันอยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เพราะนั้นคือการใช้ชีวิตที่แท้จริง