วันนี้อูก้ามาตอบข้อสงสัย เรื่องหัวใจกับทุกคนกันนะว่า “ช่วงCOVID19 เราจะรู้ได้ไงว่าใครคุยกับเราจริงจังหรือแค่แก้เหงา ?”
.
วันนี้เราได้นักจิตวิทยาใจดี “คุณ กอบุญ เกล้าตะกาญจน์” มาให้ข้อสังเกตและเกร็ดความรู้ดีๆ ให้กับทุกคนกันนะ
.
ในช่วง COVID19 การจะดูว่าใครเข้าหาเราด้วยท่าทีแบบไหน ไม่ได้แตกต่างจากช่วงเวลาปกติมากนัก เพียงแต่สถานการณ์ที่ต้องกักตัวอยู่อย่างเหงาๆ เช่นนี้ อาจจะเพิ่มลักษณะการพูดคุยเพื่อแก้เหงามากขึ้นกว่าปกติ แต่ยังไงก็ตามแม้หลายคนกำลังมองหาคนที่สมบูรณ์แบบเหมือนเจ้าชายกับเจ้าหญิงเทพนิยาย และต่างรอคอยว่าสักวันเราจะพบใครคนนั้นที่รอเราอยู่ แต่ ความรักไม่ใช่สิ่งที่เราได้ทุกอย่างตามที่เราต้องการ เป็นเรื่องดีที่มีคนคุย ยิ่งคิดตรงกันพัฒนาสู่ความจริงจังได้ เพียงแต่เราต้องลองดูว่าลักษณะการพูดคุยแบบไหนที่จะเรียกได้ว่า #คนที่กำลังคุยกับเราเขาจริงจังนะ
เรามาลองเปรียบลักษณะการพูดคุยในแบบ “พูดคุยแบบคนขี้เหงา” กับ “พูดคุยแบบคนจริงจัง” ว่าแตกต่างกันอย่างไร
โดยที่เราลองสังเกตจากความรู้สึกของตัวเราเองร่วมด้วย
#พูดคุยแบบคนขี้เหงา
– พูดเพื่อเอาใจอีกฝ่าย หรือทำในสิ่งที่คนทั่วไปอาจรู้สึกชอบ
(ไม่ได้เป็นตัวตนที่แท้จริง)
– การพูดคุยที่เน้นเนื้อหาไม่จริงจัง เน้นความสัมพันธ์กับผู้คนทั่วไปแบบผิวเผิน
– พูดคุยเพราะอยากมีใครสักคนเป็นเพื่อน ไม่อยากทำสิ่งต่างๆ เพียงลำพัง
หรือไม่อยากอยู่คนเดียว
– พูดคุยด้วยแล้ว ตัวเราเองกลับรู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจเราเลย
.
#พูดคุยแบบคนจริงจัง
– พูดถึงตัวตนที่แท้ทรู ดึงดูตัวคนที่รักเราในแบบตัวตนของเราเข้ามา
– คุยแล้วรู้สึกว่าเขากับเรามีความสนใจร่วมกัน และมีความปรารถนา
ใช้เวลาทำสิ่งต่างๆ ร่วมกัน
– พูดยอมรับในสิ่งที่เราเป็นและไม่พยายามเปลี่ยนแปลง
– พูดคุยแล้วเราสบายใจในยามที่เศร้าและเป็นทุกข์
– พูดแล้วลงมือทำตามที่พูดเกิดความไว้วางใจ(Trust)
.
ให้ความสนใจกับคนที่แคร์เราทั้งคนรู้ใจ หรือเพื่อนสนิท แล้วอย่าลืมบุคคลที่สำคัญอย่างคุณพ่อคุณแม่และสมาชิกครอบครัวของเราด้วย และที่สำคัญอีกคนคือ #ตัวเอง ต้องเผื่อความรักไว้ให้ตัวเองด้วย แบบมีพื้นที่ว่างให้กับความผิดหวัง
การจากลา และสูญเสีย ถ้าจริงจังเกินไปแบบโลกทั้งใบให้นายคนเดียว อาจพบความผิดหวังและเจ็บปวด เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรเลยที่แน่นอน ก่อนที่จะรักใครอย่าลืมรักตัวเอง เป็นเพื่อนกับความเหงาด้วยหัวใจที่แข็งแรงเพียงพอ
.
ลองมาดูกันหน่อยว่า “เหตุใดเราจึงต้องการเพื่อนสนิทหรือคนรู้ใจ ?”
ตามพัฒนาการทางจิตสังคมของแอริคสัน วัย 21 – 35 ปี จะพัฒนาความรู้สึกผูกพันกับผู้อื่น อยากมีคนสนิทไว้แบ่งปันความคิด ความสุข ถ้าวัยนี้ปรับตัวไม่ดี จะนำไปสู่ความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง คนที่ปรับตัวได้ จะมีการเลือกคู่ครองหรือเพื่อนสนิท มีหน้าที่การงานเหมาะสม และเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดี ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่เก็บข้อมูลหนึ่งชั่วอายุคน (75 ปี) ที่ว่า การมีความสัมพันธ์ที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญของคนที่มีสุขภาพจิต สุขภาพกายที่ดี และมีอายุยืนยาว
.
อยากให้ทุกคนมอบหัวใจกับผู้อื่นอย่างระมัดระวัง และหวังว่าจะได้ทุกคนจะได้พบเจอกับคนที่มอบความรักที่จริงจังตอบกลับมาด้วย
.
คุยสื่อสารขอบเขตหรือข้อตกลงชัดเจนร่วมกัน ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่อึดอัดและสบายใจที่จะได้อยู่ร่วมกัน
Recent Comments