ช่วงนี้กระแส ไลฟ์โค้ช (Life Coach) กำลังมาแรง หลายๆ คนให้ความสนใจในอาชีพนี้เป็นพิเศษ การที่มีคนคอยไกด์แนวทางในการดำเนินชีวิตคงจะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับคนที่อยากผลักดันตนเองไปสู่เป้าหมายที่คาดหวังไว้ ซึ่งอาจจะตรงกับไลฟ์สไตล์ของคนสมัยนี้ที่อยากจะประสบความสำเร็จในชีวิต อยากมีชีวิตที่ดี มั่นคง อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


.

จริงๆแล้วไลฟ์โค้ช คือ คนที่มีทักษะการเข้าใจและใช้ชีวิตให้อยู่ในสังคมนี้ได้อย่างเข้าใจ มีความสุข และก้าวหน้า โดยจะคอยเป็นที่ปรึกษาให้เห็นถึงวิธีการแก้ปัญหาและการไปสู่เป้าหมายชีวิต คนที่เป็นไลฟ์โค้ชจะมีทักษะการฟังที่ดี สามารถได้ยินที่มาของความต้องการ ความคาดหวัง ปัญหา และอารมณ์ของผู้ที่ได้รับการโค้ช สามารถพูดคุยด้วยการรับรู้ที่เป็นกลาง ไม่ตัดสิน แต่ใช้การฟังและการถาม เพื่อให้ผู้รับการโค้ชได้คิด ได้ตระหนักรู้ ถึงที่มาของปัญหา ความต้องการ และทางออกได้ด้วยตนเอง ซึ่งก็เป็นสกิลที่นักจิตวิทยา และจิตวิทยาต้องมีอยู่แล้วเป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้เข้ารับคำปรึกษาได้เช่นกัน
.

ซึ่งโค้ชแบบที่ได้ยอมรับว่าเป็น Coach จริงๆตามมาตรฐานสากลคือต้องผ่านการจบคอร์สการเทรนเพื่อเป็นโค้ชจาก International Coach Federation ซึ่งในสถาบันจะมีการแบ่งเลเวลออกเป็นหลายๆระดับ หนึ่งคอร์สจะใช้เวลาในการเทรนเป็นเวลา ประมาณ 6 เดือน ซึ่ง ความ Professional ขึ้นกับชั่วโมงของการฝึกอีกด้วย ถ้าใครที่ไม่ได้มีดีกรีจบมาเพื่อนๆอาจจะต้องพึงระวังว่าอาจจะเป็น Coach ตัวปลอมได้นะ
.

ในขณะเดียวกันผู้ที่เป็นนักจิตวิทยา ก็คือคนที่มีทักษะ การเข้าใจกระบวนการทำงานของจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งจะสามารถให้คำปรึกษาเพื่อการบำบัดหรือรักษาความผิดปกติทางจิตใจได้ พูดง่ายๆก็คือ จะช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเข้าใจอารมณ์และต้นตอของปัญหาทางจิตใจ ถูกต้องตามหลักจิตวิทยาได้ดี ซึ่งผู้ที่สามารถให้คำปรึกษาอย่างถูกต้องได้คือ นักจิตวิทยาคลินิกและนักจิตวิทยาการปรึกษา โดยที่นักจิตวิทยาคลินิกจะต้องสำเร็จการศึกษาจิตวิทยาคลินิกในระดับชั้นปริญญาตรี หรือ ปริญญาโท มีใบประกอบโรคศิลป์ของนักจิตวิทยาคลินิก ส่วนนักจิตวิทยาการปรึกษา จะต้องจบด้านจิตวิทยาการปรึกษาในระดับปริญญาโท หรือ ปริญญาเอกในสาขาจิตวิทยาการปรึกษาเท่านั้นนะ
.

ปัจจุบันไลฟ์โค้ชนั้นเป็นอาชีพที่มีอิทธิพลต่อคนที่กำลังเผชิญกับปัญหาบางอย่าง หรืออาจจะไม่มีปัญหาแต่อยากพัฒนาตนเองเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ บางคนคงจะรู้สึกสับสนว่า แล้วไลฟ์โค้ชมันเหมือนหรือต่างกับนักจิตวิทยายังไง เพราะทั้งสองอาชีพก็เหมือนจะช่วยให้คำปรึกษา และเป็นผู้ฟังที่ดีทั้งคู่ อูก้าจึงสรุปทั้งความเหมือนและความแตกต่างมาให้ทุกคนได้อ่านกันคร่าวๆ ดังนี้

ความเหมือน

– มีความต้องการช่วยให้คนมีชีวิตที่ดีขึ้น เข้าใจชีวิตมากขึ้น
– มีทักษะการรับฟังที่ดี
– ช่วยให้ผู้คนเดินหน้าใช้ชีวิตต่อไปได้ทั้งด้านการงาน ความสัมพันธ์ และด้านอื่นๆ
ความต่าง
.

#นักจิตวิทยา

– ช่วยเหลือบุคคลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ การใช้ชีวิต และพฤติกรรมของคนๆนั้น ตามกระบวนการที่ถูกต้องตามหลักการของจิตวิทยา
– โฟกัสที่อดีต ปัจจุบัน อนาคต เพื่อให้บุคคลได้พิจารณา ตีความอดีตที่ส่งผลถึงปัจจุบัน รวมถึงเป้าหมายในอนาคต
– สำหรับนักจิตวิทยาคลินิก จะต้องสำเร็จการศึกษาจิตวิทยาคลินิกในระดับชั้นปริญญาตรี หรือ ปริญญาโท (จากสถาบันที่มีรายชื่อรับรอง) และมีใบประกอบโรคศิลป์ของนักจิตวิทยาคลินิก พร้อมทำงานแล้ว หรือถ้าทำงานเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษา จะต้องจบด้านจิตวิทยาการปรึกษาในระดับปริญญาโท หรือ ปริญญาเอกในสาขาจิตวิทยาการปรึกษาเท่านั้น ซึ่งมีการเก็บชั่วโมงฝึกฝนมาแล้ว
– เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเยียวยาจิตใจจากปัญหาหรือสภาวะที่กำลังเผชิญอยู่ และต้องการจะเปลี่ยนแปลงตัวเองสำหรับอนาคต
.

#ไลฟ์โค้ช

– โฟกัสที่อนาคต โดยจะช่วยให้บุคคลบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้และสิ่งที่บุคคลต้องการอยากจะเป็น
– ไม่ได้เน้นการช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิต
– สามารถจบด้านอะไรมาก็สามารถเป็น Life Coach ได้ โดยที่ถ้าหากจะให้ผ่านมาตรฐานสากล ต้องจบคอร์สการฝึกและมีใบประกาศณียบัตร จาก International Coaching Federation นะ
– เหมาะสำหรับคนที่ต้องการพัฒนาความสามารถของตนเองในด้านต่างๆ
.

โพสต์หน้าเดี๋ยวเรามาเล่าให้ฟังนะว่า นักจิตวิทยาคลินิกต่างจากนักจิตวิทยาการปรึกษาอย่างไร แล้วคนแบบไหนที่เรานับว่าเป็นนักจิตวิทยาได้บ้าง
.

ตอนนี้อูก้าเองเราไม่มี life coach บนแอปพลิเคชัน แต่เรามี จิตแพทย์ และนักจิตวิทยา ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกอย่างเข้มงวดและการเก็บชั่วโมงการปรึกษาแล้วไม่ต่ำกว่า 600 ชั่วโมง! มั่นใจได้เลยว่าตัวจริง! หากคุณกำลังเผชิญกับปัญหาและอยากที่จะแก้ไข เยียวยาใจ ต้องการที่ปรึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ อูก้าอยากชวนให้เข้ามาพูดคุยปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านแอปพลิเคชัน ooca ได้เลย อูก้าจะยินดีดูแลจิตใจและรับฟังเสมอนะ 😊