หากมีเหตุการณ์บางอย่างที่ส่งสัญญาณอันตราย คำถามที่ผุดขึ้นมาในใจหลายๆคน
คือ เราต้องเข้าไปช่วยเหลือหรือไม่ แม้เราจะบอกว่า “ต้องช่วยคนที่เขาเดือดร้อนสิ” เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ควรทำ
แต่ในความเป็นจริงแล้วนักจิตวิทยาได้อธิบายว่าการที่เราจะเข้าไปช่วยหรือไม่
ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัยด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือจำนวนของคนที่เห็นเหตุการณ์
แล้วถ้าทุกสายตาคาดหวังให้เราเข้าไปช่วยจะเกิดอะไรขึ้น?
เราต่างตระหนักดีว่าการกลั่นแกล้งรังแกกัน (Bullying) เป็นปัญหาร้ายแรงในสังคม เกิดได้กับคุณทุกเพศทุกวัยไม่ว่าจะเป็นการบูลลี่ทางคำพูด ยกตัวอย่างเช่น การหยอกล้อ การตั้งฉายา ใส่ร้ายนินทาหรือการด่าทอ การบูลลี่ทางร่างกาย หยิกตี การทารุณกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้บาดเจ็บโดยการบูลลี่ทางร่างกายมักจะเป็นวิธีที่ผู้ใหญ่ใช้รังแกเด็กหรือคนที่อ่อนแอไม่มีทางสู้ การบูลลี่ทางอารมณ์ การกดดัน เพิกเฉย ละเลย ไปจนถึงการแบ่งพรรคแบ่งพวก และในปัจจุบันเราก็สามารถบูลลี่กันหรือส่งต่อความเกลียดชังได้ทุกที่ทุกเวลาโดยการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ (Cyberbullying) ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนหรือรู้จักกันด้วยซ้ำ ซึ่งไม่ว่าจะบูลลี่ด้วยรูปแบบไหนก็ย่อมส่งผลกระทบต่อจิตใจของเหยื่ออย่างมหาศาล ท้ายที่สุดอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาวะทางจิต ทำร้ายตนเองหรือการฆ่าตัวตาย
โดยปกติเมื่อเกิดเหตุการณ์บูลลี่ขึ้น เรามักจะคิดถึงผลกระทบที่เหยื่อ (Target/Victim) ได้รับ การเยียวยาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดแผล แต่อาจลืมไปว่าไม่เพียงแต่เหยื่อหรือผู้กระทำเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือมีส่วนรู้เห็นเรื่องราวที่เกิดขึ้น (Bystanders) ก็ได้รับผลกระทบหนักหนาไม่แพ้กัน ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป หากจะกล่าวว่า Bystanders เป็นตัวแปรสำคัญของ “Bullying triangle” ก็คงไม่ผิดนักเพราะการตัดสินใจของ Bystanders อาจเป็นตัวตัดสินผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
คนทั่วไปมักไม่ค่อยแสดงพฤติกรรมช่วยเหลือ เนื่องจากกลัวที่จะถูกแบนหรือถูกกีดกันออกจากลุ่ม เราจะกลายเป็นจุดสังเกตเมื่อยื่นมือเข้าไปช่วยในเหตุการณ์ที่ไม่มีใครแสดงความช่วยเหลือเลย ยิ่งไปกว่านั้น Bystanders ยังกลัวว่าคนอื่นๆที่ไม่รู้เรื่องจะเข้าใจผิดว่าเขามีส่วนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เลยตัดสินใจที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับปัญหานี้เพราะเป็นห่วงชื่อเสียงและไม่อยากแบกความรับผิดชอบในเรื่องที่ไม่ได้ก่อน
แล้วจริงๆ bystanders อยากยื่นมือเข้ามาช่วยหรือไม่? การยืนดูคนอื่นถูกรังแกอาจส่งผลกระทบมากกว่าที่เราคิดไว้ ไม่ว่าเราจะเข้มแข็งหรือเพิกเฉยขนาดไหน แต่ความเป็นจริงแล้วคนส่วนใหญ่เมื่อเห็นคนเจ็บปวดหรือโดนดูถูกมักรู้สึกไม่สบายใจ การบูลลี่ทำให้เกิดอารมณ์หลายๆอย่างและความเครียดตามมา ทั้งความวิตกกังวล ความไม่แน่นอน ความกลัวหรือแม้กระทั่งรู้สึกผิด โดยเฉพาะเด็กยิ่งได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่าผู้ใหญ่ มีงานวิจัยกล่าวว่าเด็กที่เห็นเหตุการณ์นั้นมีความเสี่ยงทางจิตใจเทียบเท่ากับเหยื่อและหรือผู้กระทำเลยทีเดียว

แล้วจริงๆ bystanders อยากยื่นมือเข้ามาช่วยหรือไม่? การยืนดูคนอื่นถูกรังแกอาจส่งผลกระทบมากกว่าที่เราคิดไว้ ไม่ว่าเราจะเข้มแข็งหรือเพิกเฉยขนาดไหน แต่ความเป็นจริงแล้วคนส่วนใหญ่เมื่อเห็นคนเจ็บปวดหรือโดนดูถูกมักรู้สึกไม่สบายใจ การบูลลี่ทำให้เกิดอารมณ์หลายๆอย่างและความเครียดตามมา ทั้งความวิตกกังวล ความไม่แน่นอน ความกลัวหรือแม้กระทั่งรู้สึกผิด โดยเฉพาะเด็กยิ่งได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่าผู้ใหญ่ มีงานวิจัยกล่าวว่าเด็กที่เห็นเหตุการณ์นั้นมีความเสี่ยงทางจิตใจเทียบเท่ากับเหยื่อและหรือผู้กระทำเลยทีเดียว
ทั้งที่เห็นกับตาและรู้อยู่แก่ใจว่าสิ่งที่เกิดนั้น “ผิด” แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรและอาจกลัวว่าจะตัดสินใจผิดและทำให้เหตุการณ์ร้ายแรงกว่าเดิม กลัวว่าตนเองจะต้องอับอาย ถูกเยาะเย้ยถากถางหรือกลายเป็นเป้าหมายเสียเอง
เคยมีเด็กนักเรียนมัธยมเล่าว่า เขาเลือกที่จะเงียบหากรู้ว่าเพื่อนลอกข้อสอบ เมื่อครูถามก็จะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น “หนูรู้ว่ามันผิด แต่หนูไม่อยากถูกเพื่อนแบน หนูเลือกที่จะอยู่ข้างเพื่อนมากกว่า” ในขณะเดียวกันมีนักเรียนคนหนึ่งในห้องเลือกที่จะสารภาพกับครูว่าในห้องเรียนมีการทุจริตเกิดขึ้น ผลที่ออกมาคงเดาได้ไม่ยาก นักเรียนที่สารภาพถูกเพื่อนส่วนใหญ่ในห้องแบนจริงๆ และไม่มีใครเป็นพยานหรือยืนข้างคนที่สารภาพเลย ทั้งๆที่ทุกคนรู้ว่าการทุจริตเป็นสิ่งที่ผิดแน่นอน สุดท้ายเด็กคนนั้นเลือกที่จะออกจากโรงเรียนเพราะทนแรงกดดันจากคนอื่นไม่ไหว
เหตุการณ์นี้อาจพิสูจน์ได้ว่า “ความเงียบ” อาจเป็นทางที่ถูกเลือกที่มากกว่าการยื่นมือเข้ามาเพื่อปกป้องเหยื่อเมื่อ Bystanders ตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบ อีกทั้งยังกลัวว่าตนเองจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือสังคมที่ตนอยู่หากเลือกเข้าข้างผู้ที่ถูกรังแก ทั้งนี้เราคงตัดสินไม่ได้ว่า Bystanders ในห้อง ซึ่งมีมากกว่าสิบคนตัดสินใจถูกหรือผิด แต่เราอาจจะต้องมองว่าพวกเขาแต่ละคนเลือกให้คุณค่ากับสิ่งใดมากกว่ากัน สำหรับเหตุการณ์นี้ก็คงตอบยากเพราะต้องเลือกระหว่าง “มิตรภาพ” หรือ “ความซื่อสัตย์”
หลังจากเหตุการณ์การกลั่นแกล้งผ่านไป พบว่าความรู้สึกผิดยังคงติดค้างอยู่ในใจ Bystanders ไม่เพียงแต่รู้สึกแย่กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเหยื่อ แต่พวกเขายังรู้สึกผิดอย่างมากที่ไม่ยื่นมือเข้ามาช่วย อาจถึงขั้นโทษตัวเองที่ไม่ตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง โทษตัวเองที่กลัวและอ่อนแอ โทษตัวเองที่ไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร สุดท้ายกลายเป็นถามตัวเองซ้ำๆว่า “ถ้าวันนั้นฉัน…” ด้วยเหตุนี้ Bystanders จึงมักได้รับผลกระทบและได้รับประสบการณ์ใกล้เคียงกับผู้ถูกกลั่นแกล้ง
เมื่อความกลัวและความรู้สึกผิดก่อตัวขึ้นสิ่งนี้สามารถนำไปสู่ “ความขัดแย้งภายในจิตใจ” คนที่เป็น Bystanders มักรู้สึกเหมือนตัวเองถูกดึงไปมาทั้งสองทิศทาง ใจหนึ่งอยากจะยื่นมาเข้าไปช่วย อีกใจหนึ่งอยากจะหลีกเลี่ยงปัญหา บางครั้งก็ถูกกระตุ้นให้กล้าหาญและแสดงออก แต่บางคราวก็ถูกกดดันให้กลัวและหลีกหนี เนื่องจากไม่มีใครสามารถคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ การที่ควบคุมสถานการณ์ไม่ได้นี่แหละที่มันยากกับใจของเรา ทำให้เราเครียดโดยที่ไม่รู้ตัวซึ่งหากไม่ได้รับการเยียวยา อาจกลายเป็นสิ่งที่ติดค้างอยู่ในใจของคนๆนั้นในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อการบูลลี่เกิดในพื้นที่ที่คุ้นเคยหรือเอื้อให้เกิดการบูลลี่ ความปลอดภัยและความมั่นคงทางจิตใจจึงเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง Bystanders ให้กลัวการยื่นมือออกไปแล้วยอมจำนนต่อแรงกดดันรอบข้างแทน
ในทางกลับบ้านแรงกดดันรอบข้างอาจผลักดันให้ Bystanders ยื่นมือเข้าไป หากการแสดงพฤติกรรมช่วยเหลือทำให้ Bystanders ได้รับการเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement) เช่น คำชื่นชม ยกย่อง มีผลต่อชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับ มีเพื่อนมากขึ้น ฯลฯ เมื่อลองชั่งน้ำหนักในใจแล้วถ้าให้คุณค่ากับสิ่งใดมากกว่า Bystanders ก็คงจะเอนเอียงไปทางนั้น ลองคิดเล่นๆว่าถ้าเราเป็น Bystanders เราคงแอบจินตนาการว่าการ take action จะต้องสร้าง impact ที่ยิ่งใหญ่ เราอาจกลายเป็นฮีโร่ของใครบางคน ของเหตุการณ์บางเหตุการณ์ และ “ธรรมะย่อมชนะอธรรม” แต่ในชีวิตจริงคนเราไม่ได้เปลี่ยนเป็นฮีโร่เพียงชั่วข้ามคืน เราคงไม่ได้ตัดสินใจเป็น Upstanders เพียงเพื่อตอบสนองความคาดหวังของคนอื่น
สุดท้ายนี้เราอาจไม่สามารถไปบังคับผู้อื่นให้เห็นอกเห็นใจใครได้ บางคนอาจจะดูเพิกเฉย เย็นชาหรือแยกตัวไปบ้าง จนเราเผลอตัดสินไปว่าเขาไม่สำนึกผิด ขาดความเห็นอกเห็นใจ โปรดอย่าลืมว่าการเฝ้ามองคนอื่นทนทุกข์ทรมานไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มันเป็นประสบการณ์ที่เลวร้ายและน่าหนักใจมาก เพียงแต่เราอาจต้องการความรู้ คำแนะนำ หรือแนวทางบางปฏิบัติเพื่อประกอบการตัดสินใจ ไม่ใช่แค่ความเห็นอกเห็นใจเท่านั้นที่จะผลักดันให้ Bystanders ยืดหยัดเพื่อสิ่งที่ถูกต้อง แต่เงื่อนไขของชีวิตและแรงสนับสนุนจากคนรอบข้าง (Social support) ต่างหากที่ทำให้เรากล้าเปลี่ยนตัวเองเป็น Upstanders
สุดท้ายนี้เราอาจไม่สามารถไปบังคับผู้อื่นให้เห็นอกเห็นใจใครได้ บางคนอาจจะดูเพิกเฉย เย็นชาหรือแยกตัวไปบ้าง จนเราเผลอตัดสินไปว่าเขาไม่สำนึกผิด ขาดความเห็นอกเห็นใจ โปรดอย่าลืมว่าการเฝ้ามองคนอื่นทนทุกข์ทรมานไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มันเป็นประสบการณ์ที่เลวร้ายและน่าหนักใจมาก เพียงแต่เราอาจต้องการความรู้ คำแนะนำ หรือแนวทางบางปฏิบัติเพื่อประกอบการตัดสินใจ ไม่ใช่แค่ความเห็นอกเห็นใจเท่านั้นที่จะผลักดันให้ Bystanders ยืดหยัดเพื่อสิ่งที่ถูกต้อง แต่เงื่อนไขของชีวิตและแรงสนับสนุนจากคนรอบข้าง (Social support) ต่างหากที่ทำให้เรากล้าเปลี่ยนตัวเองเป็น Upstanders
ไม่ว่าคุณจะยืนอยู่จุดไหน หากมีความลำบากใจ ไม่รู้จะปรึกษาใคร หาคำตอบไม่ได้
อูก้ายินดียื่นมือเข้าไปช่วยดูแลทุกคนเสมอ
ลองมารับคำปรึกษาจากพี่ๆจิตแพทย์และนักจิตวิทยาของอูก้าดูนะคะ
💙💚💛
Recent Comments