เรื่องของ Amanda Todd วัย 15 ปี จากบริติชโคลัมเบียที่ตัดสินใจหนีจากหลุมดำในชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายหลังจากที่ทิ้งเรื่องราวของเธอไว้บน youtube
ชายคนหนึ่งเข้ามาทำความรู้จัก Amanda ทางออนไลน์เมื่อไม่กี่ปีก่อน จากนั้นเขาได้ขอให้เธอถ่ายรูปวาบหวิว ด้วยความที่ยังเด็ก เธอเชื่อใจและส่งรูปเขาอย่างง่ายดาย ทั้งคู่ได้ติดต่อกันทางอินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานกว่าหนึ่งปีจน Amanda เริ่มรู้ว่าสิ่งที่ทำไปนั้นอันตรายและเขาเป็นเพียงคนแปลกหน้า เธอจึงพยายามถอยห่างจากเขา แต่ดูเหมือนจะสายเกินไปเพราะเขาได้ติดต่อเพื่อนร่วมชั้นของ Amanda ใน Facebook แล้วส่งรูปถ่ายให้เพื่อน ๆ
เพื่อหลีกหนีจากความเจ็บปวดและจัดการกับความวิตกกังวลของเธอ Amanda หันไปพึ่งยาเสพติดและแอลกอฮอล์ ยิ่งไปกว่านั้นเพื่อนร่วมชั้นของเธอก็บูลลี่และร่วมกันบอยคอตต์ นำไปสู่การพยายามฆ่าตัวตายสองสามครั้งก่อนที่เธอจะจากโลกนี้ไปตลอดกาล
เราสามารถเรียกกรณีนี้ว่า “Cyber-bullying” ได้หรือไม่
ผลการวิจัยจากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลที่ทำการสำรวจเด็กวัยรุ่นใน 14 ประเทศทั่วโลกแสดงให้เห็นว่าเด็กไทยเกิน 80% เคยถูกกลั่นแกล้งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต โดย 66% ถูกรังแกสัปดาห์ละครั้งและ 12% โดนมากกว่าสัปดาห์ละครั้ง น่าแปลกใจที่ 45% ของนักเรียนไทยเคยถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งสูงกว่าจำนวนที่รายงานในสหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่นถึง 4 เท่า การอ้างถึงสถิติยังคงสูงมาก สวนทางกับการอภิปรายหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าที่ควร อย่างไรก็ตามเหตุใดคนไทยจึงไม่ตระหนักว่าควรระวังเรื่อง Cyber-bullying
Cyber-bullying คืออะไร?
Cyber-bullying หมายถึงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตเพื่อกลั่นแกล้งคนอื่น ซึ่งรวมทั้งการปล่อยข่าวลือ โพสต์หลอกลวง ใช้คำหยาบคายหรืออัปโหลดข้อความและวิดีโอโดยไม่ได้รับอนุญาต ในโลกออนไลน์ที่ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน Cyber-bullying จึงกลายเป็นการกลั่นแกล้งประเภทหนึ่งที่แพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบันและเกิดขึ้นกับคนทั่วโลก
Cyber-bullying มีผลต่อเราอย่างไร?
Cyber-bullying เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยทางจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความนับถือตนเองลดลงและมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กวัยรุ่น Cyber-bullying อาจเป็นสาเหตุหลักของพฤติกรรมต่อต้านสังคมและสร้างความยากลำบากในการสร้าง relationship ที่น่าตกใจกว่านั้น Cyber-bullying อาจเป็นสาเหตุของการคุกคามทางเพศ
เราจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันตัวเองจาก Cyber Bullying?
– ระวังการกระทำในโลกดิจิทัลเช่นเดียวกับที่เราทำในโลกแห่งความเป็นจริง
– กำหนดระยะเวลาในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต คอยสังเกตตัวเองไม่ให้อินกับมันมากเกินไป
– เก็บข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นส่วนตัวและกรองข้อมูลก่อนโพสต์และแชร์
– รู้ว่าถ้าถูกรังแกจะ report อย่างไร สามารถพูดคุยขอความช่วยเหลือจากใครได้บ้าง
หากคุณกำลังเผชิญกับ Cyber Bullying อยู่ แล้วไม่รู้จะหันไปพึ่งใคร ให้อูก้าคอยอยู่เคียงข้างคุณ สามารถทักมาพูดคุยกับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของเราได้ตลอด เรื่องของใจให้เราช่วยรับฟังนะคะ
อ้างอิงจาก
https://www.newyorker.com/culture/culture-desk/the-story-of-amanda-todd
https://brandinside.asia/stop-bullying-thailand-top5/
(สามารถรับชมวิดีโอต้นฉบับได้ที่นี่ ****https://www.youtube.com/watch?v=vOHXGNx-E7E&bpctr=1597307886)
Recent Comments