บางครั้งเมื่อถ่ายทอดความคิดหรือพูดถึงสิ่งที่หลงใหล เรามักจะปล่อยให้สมองทำงานไปเรื่อยๆ และพูดไปด้วยคิดไปด้วย เราสื่อสารเพื่อให้คนอื่นรับฟังแต่หากพูดเร็วเกินไปหรือใช้โทนเสียงผิดอาจกลายเป็นอุปสรรค
.
เมื่ออยู่ระหว่างการพูดคุย โต้แย้งหรือถกเถียง เราอาจรู้สึกเหมือนกำลังแข่งขันกับอีกฝ่ายและรู้สึกว่าไม่มีใครตั้งใจฟังจริงๆ พวกเขาจึงเริ่มพูดให้เร็วและดังขึ้น ซึ่งนิสัยการพูดที่เปลี่ยนไปอาจเป็นสัญญาณของความเครียด เมื่อร่างกายของคุณรู้สึกกดดันอย่างมากจังหวะในร่างกายทั้งหมดของคุณจะเร็วขึ้นรวมถึงการพูดด้วย
.
สื่อสารผิดวิธีเกิดส่งผลเสียอย่างไรบ้าง?
1. ความประทับใจติดลบ
มุมที่เป็นอันตรายที่สุดของการพูดเร็วเกินไปคือทำให้เกิดความประทับใจที่ไม่ดีได้ บางครั้งเราอาจคิดว่าการพูดเร็ว ทำให้ดูมั่นใจและเก่ง หากเราพยายามนำเสนอบางอย่างด้วยจังหวะและโทนเสียงที่เร้าอารมณ์เกินไปอาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกอึดอัดเหมือนถูกบังคับ ทั้งที่คุณอาจจะเตรียมสิ่งดีๆ มานำเสนอ แต่ท่าทีที่แสดงออกกลับสื่อถึงความก้าวร้าว ไม่ใส่ใจผู้ฟัง อีกแง่หนึ่งอาจถูกมองว่าพูดเร็วเนื่องจากกังวลหรือขาดความมั่นใจ รีบพูดเพราะไม่รู้จะพูดอะไร ลองสังเกตดูว่าผู้นำที่ประสบความสำเร็จมักจะสื่อสารชัดเจน มีจังหวะและโทนเสียงที่จับใจคนฟัง
2. ทำให้ผู้ฟังเสียสมาธิ
การพูดเร็วเกินไปและเสียงที่ดังอาจทำให้คนฟังเสียสมาธิ เพราะนอกจากจะสร้างความระคายหูแล้วยังทำให้รำคาญใจ ยิ่งไปกว่านั้นคนที่พูดดังมักจะหัวเราะเสียงดังอีกด้วย สิ่งเหล่านี้อาจทำให้สิ่งที่ต้องการสื่อส่งไปไม่ถึง ผู้ฟังก็เหนื่อยที่จะตามบทสนทนาที่ดำเนินอยู่ฝ่ายเดียว สุดท้ายอาจแค่พยักหน้าเหมือนเข้าใจในสิ่งที่คุณพูด แต่จริงๆ พวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วมแล้ว
3. เข้าใจไม่ตรงกัน
ไม่ใช่แค่ข้อความที่สำคัญ แต่น้ำเสียงและจังหวะสามารถเปลี่ยนความหมายของสิ่งที่สื่อได้เลย ในการพูดคุยไม่ควรมีใครต้องเอ่ยว่า “ขอโทษนะ แต่เราฟังไม่ออก ช่วยพูดอีกครั้งได้ไหม” เพราะมันแสดงว่าความน่าเชื่อถือของผู้พูดลดลงแล้ว แถมเรื่องที่เล่ายังตีความได้ยากเกินกว่าจะเข้าใจในครั้งเดียว
ทำอย่างไรไม่ให้พูดเร็วเกินไป
– รู้จักเว้นจังหวะเป็นระยะ พูดช้าลงเมื่อพูดถึงประเด็นสำคัญ เน้นบางคำช้าๆ ชัดๆ
– จดโน้ตย่อสำหรับประเด็นที่จะพูด
– สื่อสารกับผู้ฟัง ทั้งภาษาพูดและภาษากาย
– กำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน
– ใช้พลังของการฝึกฝน พูดซ้ำๆ จนได้จังหวะและโทนเสียงที่เหมาะสม
ทั้งนี้การพูดเร็วก็มีข้อดีและเหมาะสำหรับบางประเด็นหรือบางอาชีพ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องการโน้มน้ามใจให้คนอื่นเห็นด้วย แต่ต้องให้ผู้ฟังมีเวลามากพอจะคิดตามและทบทวน นอกจากนี้ผู้ฟังเองก็ต้องฟังอย่างใส่ใจ (Active Listening) คือไม่ใช่รับฟังแต่ข้อความเท่านั้น แต่ต้องดูสีหน้า ท่าทางและความรู้สึกที่ผู้พูดซ่อนอยู่ด้วย แล้วพยายามทำความเข้าใจโดยปราศจากอคติ
การจะโน้มน้าวคนอื่นด้วยคำพูดเราต้องมีวาทศิลป์ที่จะถ่ายทอดความคิดของเราออกมา ด้วยจังหวะและน้ำเสียงที่พอดี การสื่อสารจึงจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
สุดท้ายนี้ คุณไม่จำเป็นต้องกังวลกับการพูดอีกต่อไป ขอเพียงคุณพร้อมที่จะพูดคุยกับเรา พี่ๆนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของเรายินดีรับฟังคุณเสมอ ตอนนี้เรามีฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจรอคุณอยู่ด้วยนะ
อ้างอิงจาก
https://www.throughlinegroup.com/2014/03/17/slow-down-how-to-stop-being-a-fast-talker/
Recent Comments