สรุปเนื้อหาจาก Clubhouse เมื่อวานนี้ Mindfully dose #3 “บ้านแตกเพราะเห็นต่างทางการเมือง…ทำยังไงดี ?” by ooca และอาจารย์ปาริชาต สุขศรีวงษ์ กับ อาจารย์อัจฉรา ปัญญามานะ

แม้ช่วงนี้จะดูเหมือนว่าการเมืองเข้มข้มพอสมควร แต่จริงๆ แล้วต้องบอกว่าคนไทยอยู่กับเรื่องนี้มานานมากๆ เราต่อสู้เพื่ออะไรหลายๆ อย่างมาตลอด ซึ่งอาจจะเห็นได้ชัดว่าตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาคนไทยหลายกลุ่มมีความเห็นต่าง ไม่ว่าจะเพราะเราตระหนักและกล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้นหรืออะไรก็ตาม แต่หลายคนได้รับผลกระทบทั้งในเรื่องความสัมพันธ์ กลายเป็นความเครียดที่สะสมและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพใจได้

.

อย่างในปัจจุบันอาจารย์อัจฉราได้แบ่งปันว่าอายุน้อยที่สุดที่เจอว่าสนใจเรื่องการเมือง คือป.3 สิ่งที่เกิดขึ้นคือครูบางคนแสดงออกไม่ดีกับเด็ก เช่น บอกว่าไม่ใช่เรื่องของเด็ก ส่วนผู้ปกครองก็พยายามห้ามปราม แม้แต่ป.6 ก็เริ่มมีการตั้งกลุ่มกันคุยเรื่องการเมืองแล้ว เรียกว่าวัยไหนก็สามารถเข้าถึงสื่อและมีความคิดเห็นทางการเมืองได้

.

สาเหตุที่เรามีความคิดเห็นไม่ตรงกันเป็นเพราะอะไร ? แล้วเราจะทำความเข้าใจกับเรื่องพวกนี้ได้อย่างไร ?

อ.อัจฉรา: ส่วนหนึ่งอาจมาจาก relationship ที่มีมาอยู่ก่อนนอกจากเรื่องการเมือง ความสัมพันธ์นั้น healthy หรือเปล่า หรือเปราะบางระหองระแหงอยู่แล้ว หากไม่ได้สื่อสารเพื่อทำความเข้าใจ แต่สื่อสารเพื่อเอาชนะ ถกเถียงจะทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข นำไปสู่ความเครียด อึดอัด ขับข้องใจ ถ้าเราพูดคุยบน emotional ทำให้อารมณ์นำ เริ่มขึ้นเสียง ใช้ภาษาไม่เหมาะสม นำไปสู่การทะเลาะ ทัศนคติเป็นตัวกำหนด โดยเฉพาะภาษากาย เช่น เบะปากมองบน คนที่ไม่เข้าใจอาจมองว่ามีการปะทะหรือเหยียดหยามเกิดขึ้น ควรแยกอารมณ์ออกจากความรัก ความคิด ทัศนคติที่ต่างจากเรา ถ้าเรายอมรับได้ทุกอย่างก็ดีขึ้น

อ.ปาริชาติ: ถ้าเราอยู่บนความต่างแต่เราเข้าใจและรับฟังก็อยู่ด้วยกันได้ “ยอมรับแม้เราไม่ชอบ” ไม่ว่าจะเรื่องการเมืองหรือเรื่องอะไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนกัน แต่หลายคนไม่สามารถเข้าใจกันได้ก็นำไปสู่การเลิกราหรือแยกย้ายในที่สุด

บางคนขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นทะเลาะกันบ้านแตก unfriend ตัดขาดกัน ทำไมเราถึงมองว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญมาก ?

อ.อัจฉรา: สำคัญเพราะมันเกิดจากความคาดหวังของเราเป็นหลัก ยิ่งคนใกล้ตัวเท่าไหร่ เป็นครอบครัวหรือคนรัก เรายิ่งต้องการการยอมรับ อยากให้เค้าคิดเหมือนเรา ยอมรับเรา เพราะเราอยากรู้สึกปลอดภัยในพื้นที่ของตัวเอง โดยเฉพาะสิ่งที่เราให้คุณค่าแล้วเราเชื่อว่าสิ่งนั้นถูกและดี แม้เราจะมีความเชื่อต่างกันแต่ถ้าเรามี empathy รู้จักรับฟังเราก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้

อ.ปาริชาติ: ความเป็นพวกเดียวกัน เราอยากให้เขาคล้อยตามเรา การที่เขายอมรับความคิดเห็นเราก็เหมือนยอมรับตัวเราไปด้วย พอเห็นต่างเลยกลายเป็นเหมือนเขายืนคนละข้างกับเรา

เมื่อเจอคนที่คิดต่าง เราควรแสดงออกอย่างไร ?

อ.อัจฉรา:  ถ้าในกรณีที่เป็นเด็ก เราควรพยายามทำความเข้าใจในมุมมองของเด็กก่อน เปิดใจรับฟัง อย่าเพิ่งตัดสินหรือ blaming เขา เพราะปัจจุบันการเข้าถึงเทคโนโลยีค่อนข้างไว เด็กอยากจะแชร์มุมมองไหนให้เรารับทราบ การปรับที่ผู้ใหญ่นั้นง่ายกว่าเพราะเรามีวุฒิภาวะมากกว่า ผู้ใหญ่ทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้ง่ายกว่า

อ.ปาริชาติ: วัยรุ่นมักรู้สึกว่าอยู่คนละโลกกับพ่อแม่ เหมือนอยู่คนละฝั่ง ทำให้ไม่อยากจะคุยกัน ทำให้เกิดความห่างเหิน ในมุมของผู้ใหญ่ที่ไม่รู้จะดีลกับลูกวัยรุ่นยังไง วิธีการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพนำไปสู่การทะเลาะได้ เราควรเริ่มที่ “การรับฟังโดยไม่ตัดสิน” อย่าพูดว่า “เด็กไม่รู้เรื่องพวกนี้ ไม่เข้าใจหรอก” นั่นคือเราได้ตัดสินเขาไปแล้ว เราไม่ควรกล่าวโทษหรือต่อว่าโดยที่เราไม่เข้าใจมุมมองของเขาจริงๆ

ราจะพูดคุยกับครอบครัวอย่างไร ?
วิธีสื่อสารที่ใช้ได้ผลกับคนที่เห็นต่างทางการเมืองกับเรา

อ.ปาริชาติ: ก่อนอื่นให้เข้าใจว่า “ความสัมพันธ์ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน” ไม่ว่าจะอยู่สถานะอะไร ทำงานอะไร อายุเท่าไหร่ เรามีความเป็นมนุษย์เท่ากัน คิดต่างได้ทำผิดพลาดได้

อ.อัจฉรา: แม้เรามักจะดึงดูดกันเพราะความเหมือน แต่ “คนเราเติบโตเพราะความแตกต่าง” ต่างในความคิด ต่างในมุมมอง เราสามารถเรียนรู้จากความต่างนั้นได้ ลองปรับมุมมองบ้าง ใช้ I – message มี empathy จะทำให้เราสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น แทนที่เราจะมัวมาหงุดหงิด ไม่พอใจ ให้เรามาสำรวจกันว่าจริงๆ เพราะเราเป็นคนสำคัญซึ่งกันและกัน เราอยากให้ความสัมพันธ์เดินไปต่อได้

คุณอิ๊ก: เวลาที่คุยกันแล้วมีอารมณ์ น้ำเสียงเปลี่ยน ก็อาจจะเตือนอีกฝ่ายให้รู้ตัว บอกตรงๆ เรียกว่าผลัดกันดูแล ทั้งนี้ก็แล้วแต่ข้อตกลงของแต่ละคู่ว่าจะมีวิธีแก้ยังไง ขึ้นอยู่กับ stage ของความสัมพันธ์ด้วย สามารถพูดเปิดใจได้ขนาดไหน

Q&A

1) เคยเจอความเห็นต่างด้านอื่นนอกจากเรื่องการเมืองด้วยไหม หรือเป็นเพราะในไทยเหมือนไม่ได้ถูกสอนให้คิดต่าง เราไม่ค่อยได้มีการปะทะกันของความคิด ทำให้คนมีภูมิคุ้มกันน้อยเมื่อเจอความเห็นต่าง

อ.ปาริชาติ:  จริงๆ ความเห็นต่างเป็นสิ่งที่มีมาเรื่อยๆ แม้หัวหน้ากับลูกน้อง เด็กกับครู แต่สังคมไทยเราถูกสั่งสอนมาด้วย “อย่าเถียงผู้ใหญ่” “เป็นเด็กต้องเชื่อฟัง” เลยกลายเป็นนิสัยที่เด็กต้องยอม ลูกน้องต้องยอมเจ้านาย ทำให้ความเห็นต่างไม่ได้ถูกสื่อออกมา มันถูกกดไว้ ไม่ได้รับโอกาส พอมีประเด็นทางการเมืองเข้ามา กลายเป็นความเห็นต่างที่ปะทุขึ้นมาอย่างชัดเจน หลายคนไม่เคยมีโอกาสได้แสดงความเห็นต่าง ตอนนี้มีเวทีมากมายให้แสดงความเห็นได้

คุณอิ๊ก : การเห็นต่างมันคือความหลากหลายทางความคิด เป็นธรรมดาของมนุษย์ ต้องมีการคิดต่างเพื่อให้ได้มุมมองที่ครบถ้วน

2. ถ้าสมมติว่าเรากระตุ้นให้ความเห็นต่างเพิ่มมากขึ้นในสังคม อาจทำให้ไทยมีภูมิคุ้มกันและอยู่ในสังคมที่คิดต่างได้มากขึ้นไหม ?

อ.ปาริชาติ: ภูมิคุ้มกันสร้างขึ้นมาตั้งแต่ในหน่วยย่อยเล็กๆในสังคมตั้งแต่ในครอบครัว ถ้าทุกบ้านสามารถช่วยให้เด็กสามารถกล้าพูดและยอมรับซึ่งกันและกัน

อ.อัจฉรา: ความต่างมีมานานและมีอยู่เสมอ แต่ต้องตามมาด้วย social movement ความต่างนั้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไร ที่เรารู้สึกถึงความต่างได้เยอะในยุคนี้ เกิดการตั้งคำถามเพราะพื้นที่เปิดกว้าง แต่ถ้ามองย้อนกลับไป ณ ตอนนั้นในอดีตการที่เขาเลือกที่จะเงียบอาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดแล้ว เรื่องที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายคือเรื่องที่มันส่งผลกับทุกคน

อ.ศิริพร : วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง ความคิดเห็นที่ต่างกัน หลายครอบครัวมีการเขียนข้อตกลงร่วมกันว่าจะแสดงความคิดเห็นได้ระดับไหน ระหว่างในครอบครัว ภูมิคุ้มกัน ความคิดเห็นต่าง กระแสสังคมตอนนี้เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเกิดขึ้น มีทั้งคนที่ยืนกรานความคิดเห็นของตัวเองและคนที่สมยอม

3. แต่ก่อนสนิทกับแม่มาก เห็นต่างเรื่องเดียวคือการเมือง มีการกระทบกระทั่งกันในโลกออนไลน์ รู้สึกสะเทือนใจกับเรื่องนี้ ควรจะทำยังไงดี ? จะบล็อกแม่ หรือคุยให้เขาเข้าใจเรา แสดงความเชื่อของเราออกไปเลยดี ?

อ.อัจฉรา: พ่อแม่ก็มีความเชื่อในมิติของเขา เข้าใจและลองยืนในมุมของเขาบ้าง ถ้าเรายืนแต่มุมของเรา เราจะเห็นแต่ความต้องการของตัวเอง ถ้าเป็นคนใกล้ตัว relationship ที่มีจะทำให้เรารู้ว่าเวลานี้ควรผ่อน ควรหย่อน ถ้าเห็นว่าอารมณ์แม่เริ่มไม่โอเค เราถอยก่อนมั๊ย ถามตัวเองก่อนว่าเราให้คุณค่าจะไหนมากกว่ากันระหว่างความสัมพันธ์กับแม่หรือความเชื่อของเรา

อ.ปาริชาติ: เรารักกันใช่มั๊ย ? แล้วอยากให้เรื่องนี้มาทำลายความสัมพันธ์ของเรากลับแม่หรือเปล่า ถ้าเรารับฟังโดยไม่ตัดสินก่อน เขาก็จะเริ่มรับฟังเราบ้างเหมือนกัน

4. เวลาที่ไปม็อบก็อยากแชร์ในโลกออนไลน์ อยากให้คนอื่นทราบว่าเราอยู่ในสถานการณ์ไหน เผื่อมีอันตรายจะได้มาช่วยเหลือ แต่กลายเป็นว่าครอบครัวต่อว่าหรือด่าทอ รู้สึกโดดเดี่ยวเพราะไม่มีใครเข้าใจเราเลย

อ.อัจฉรา: เจตนาจริงๆ พ่อแม่ก็เป็นห่วงเรานี่แหละ ให้รู้ว่าความปลอดภัยของเรามาเป็นอันดับหนึ่งเสมอ แต่คนสมัยก่อนจะไม่มีทางสื่อตรงๆ อย่าง I – message (บอกว่าฉันต้องการอะไร แม่เป็นห่วงนะ) แต่เขาจะใช้บ่น ต่อว่า ตำหนิแทน เช่น เธอทำแบบนั้นสิ เธอทำแบบนี้สิ เธอห้ามทำอย่างนั้น อันนี้คือวิธีของคนรุ่นก่อน จะอ้อม 234 เผื่อให้เข้าประเด็น

อ.ปาริชาติ: ให้เราเริ่มเปลี่ยนตัวเองก่อน ลองบอกความต้องการของเรา เช่น อยากคุยทำความเข้าใจเพื่ออยากให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้น เพราะเรื่องนี้ทำให้ความสัมพันธ์ที่เคยดีมาของเราเริ่มสั่นคลอน อยากฟังความเห็นแม่ด้วย เพราะอะไรแม่ถึงไม่อยากให้ผมทำแบบนั้น จะได้เห็นว่าแม่มองในมุมไหนบ้าง มีคล้ายกับมุมของเราบ้างไหม ที่แม่พูดอย่างนี้ ผมเข้าใจถูกไหม พอถึงจุดหนึ่งผมเข้าใจแม่มากขึ้นแล้ว ผมอยากแชร์มุมของตัวเองให้แม่ฟังบ้าง ไม่รู้ว่าแม่พร้อมจะรับฟังหรือเปล่า ? ถ้าต่างฝ่ายต่างใช้ You-message เหมือนถูกกล่าวหา ถูกตำหนิ กลายเป็นต่อต้าน ไม่อยากทำตาม

คุณอิ๊ก : จุดประสงค์คืออะไร อยากให้พ่อแม่เข้าใจเรื่องการเมืองมุมเรา หรือแค่ไม่อยากให้เขาไม่สบายใจ เราต้องการระดับไหน การกระทำหรือคำพูดระดับไหนที่สามารถบอกออกไปได้ อาจแก้ปัญหาด้วยการหลีกเลี่ยงจุดที่เป็นประเด็น ถ้าทะเลาะบนโซเชียลก็ตั้งค่าไม่ให้เขาเห็น ให้เห็นแค่คนที่เราสบายใจ

5. หน้าที่การงานของพ่อแม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองค่อนข้างเยอะ แต่เราเห็นต่างและอยากให้เขารับฟังเพราะเราชอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่น แต่เขาไม่ยอมคุยเรื่องนี้เลย อยากรู้ว่าเขาคิดยังไง ?

อ.อัจฉรา: อาจมาจากทัศนคติตั้งต้น ถ้าเราใช้ความรุนแรงในการสื่อสาร บางทีเรามีอารมณ์มากไปก็ต้องพัก ไม่เราก็พ่อแม่ต้องเบรกก่อน การสื่อสารที่ผ่านมาบ่งบอกว่าไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ้าเราใช้อารมณ์และความรุนแรง กลายเป็นเราตัดสินไปแล้วว่าเขาผิด ซึ่งคนรุ่นก่อนเขายอมรับยากอยู่แล้วว่าเขาผิด

จริงๆ เริ่มตั้งแต่พูดดีๆ แต่พ่อแม่เมินเฉยมาตลอดจนบางทีกลายเป็นก้าวร้าวเพราะอยากให้เขาฟัง ผมเคยไปปรึกษาหมอมาแล้ว ลึกๆ ก็รู้สึกเห็นใจพ่อแม่ แต่ก็เห็นใจตัวเองด้วยที่อยากมีพื้นที่คุยกับคนใกล้ชิด แต่มันไม่เกิดขึ้น

อ.ปาริชาติ: ที่เรารู้สึกไม่ดี เพราะเขาไม่คุยกับเราใช่ไหม ? แล้วเรารู้สึกยังไงกับความรู้สึกไม่ดีนั้น จริงๆ มันมีความรู้สึกซ้อนความรู้สึกอยู่ ความรู้สึกหลายอย่างที่เกิดขึ้น เช่น อึดอัด โมโห หลายคนไม่เคยถูกถามแบบนี้เลย ไม่ได้ทบทวนตัวเอง อยากให้ลองไปคิดต่อ ที่เขาไม่อยากคุยกับเรา เขากำลังคิดอะไรอยู่ ?

คิดว่าเขาคิดไม่เหมือนเรา

อ.ปาริชาติ: เราอาจจะรู้สึกว่าทำไมเขาไม่ฟัง ทั้งที่เราเจตนาดี ลองมองอีกมุม เป็นไปได้ไหมว่าพ่อแม่อาจจะกลัว เขาไม่รู้จะพูดยังไงกับเรา หรือทำยังไงให้เราเข้าใจ เขาเลี่ยงตลอดเพราะกลัวการปะทะ เลยเลือกที่จะไม่พูด

อ.อัจฉรา: เราหาทางออกเพราะเราอยากรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้ เพื่อความรักของครอบครัว ความเป็นเพื่อน เพราะยังอยากให้พวกเขาอยู่ในชีวิตของเรา

คุณอิ๊ก : อยากให้เข้าใจว่าพ่อแม่เคยเป็นพ่อแม่คนครั้งแรก เพิ่งเคยมีลูกเป็นวัยรุ่น  เพิ่งเจอกับปัญหาครั้งแรก จริงๆ ก็ไม่ได้ต่างจากเราเลย เขาก็เป็นคนหนึ่งที่มีสิทธิ์จะทำผิดบ้างพลาดบ้าง เขาไม่เคยตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้เลยไม่รู้จะรับมือยังไง ถ้าท้ายที่สุดถ้าเรามองว่าเขาเป็นพ่อแม่ที่เรารัก เราควรให้โอกาสเขา เรื่องบางเรื่องต้องเคยเจอถึงจะรู้ว่าเราทำถูกหรือผิดหรือทำแบบไหนมันดีกว่า และเรื่องใหญ่ที่มนุษย์ไม่อยากพลาดคือการเลี้ยงลูก ทำให้เขาลังเลและตัดสินใจได้ยากในหลายๆ ครั้ง อาจจะต้องให้อภัยกันมากๆ อาจจะไม่ยอมเรียนรู้จริงๆ หรือเรียนรู้กันแบบมี pain แต่ท้ายที่สุดมันจะอยู่ร่วมกันยังไงให้มีความสุข

ขอขอบคุณ

อาจารย์ปาริชาต สุขศรีวงษ์ เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงดูเด็ก ครอบครัว ความสัมพันธ์

อาจารย์อัจฉรา ปัญญามานะ เชี่ยวชาญพัฒนาการเด็ก วัยรุ่น ให้คำปรึกษาพ่อแม่ ครู ความเครียดในโรงเรียน