สังคมที่ให้คุณค่ากับความสวยงามหรือมีค่านิยมเกี่ยวกับการมีรูปร่างผอมบางแล้วกำหนดว่านั่นคือมาตรฐานความงาม (Beauty Standard) และการมีความดึงดูดใจทางร่างกาย ทำให้หลายคนต้องพยายามปรับเปลี่ยนตัวเองหรือภาพลักษณ์ทางร่างกาย (Body Image) ให้เข้ากับสิ่งที่คนอื่นบอกว่า “สวย ดูดี” และถ้าเรามีปัญหาในการรับรู้ Body Image เช่น มองตัวเองในกระจกแล้วรู้สึกไม่ดี เปรียบเทียบกับคนอื่นแล้วไม่ชอบตัวเอง ก็อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจได้

.

Body Dysmorphia หรือภาวะทางจิตที่ไม่สามารถหยุดคิดได้ว่าร่างกายตัวเองมีความผิดปกติทางรูปลักษณ์ต่าง ๆ เลยส่งผลไปถึงภาวะการกินผิดปกติ โดยต้นตอของปัญหามีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ความนับถือตนเอง (Self-Esteem) สภาพแวดล้อม (Environment) จินตนาการ (Imagination) ฯลฯ และถูกกระตุ้นด้วยสิ่งที่คนอื่นคาดหวังหรือพร่ำบอกเรา ยิ่งปัจจุบันเรามี Influencer มากมายบนโลกออนไลน์ เราเสพสื่อและแชร์ตัวตนให้คนอื่นเห็นมากขึ้น ความนิยมของภาพ full-body shots ได้รับความนิยม เราเปรียบเทียบตัวเองกับคนดังแล้วมีความสุขกับการเห็นยอดไลค์ยอดแชร์ รวมถึงหลาย ๆ คนก็สามารถสร้างรายได้จากการใช้ภาพลักษณ์หรือสร้างจุดเด่นของตัวเอง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมสังคมเราถึงให้คุณค่ากับรูปร่างหน้าตามากขึ้นเรื่อย ๆ

.

Eating Disorders (ED) โรคความผิดปกติด้านการกิน ลักษณะคือหมกมุ่นและกังวลกับน้ำหนักตัว (preoccupation with weight) จนส่งผลต่อพฤติกรรมการกินและพฤติกรรมอื่น ๆ รบกวนการใช้ชีวิตหรือการทำงานอย่างมาก พบมากในกลุ่มผู้หญิงวัยรุ่น 90% ของคนที่เป็น ED เป็นกลุ่มคนมีฐานะ (Upper Social Class) เพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งมักรู้สึกอยากผอม (Drive for thinness) คือคนที่มองว่าผอม = สวย หรือกลัวอ้วน (Fear of Fat) คือการที่เราเชื่อมโยงความอ้วนกับความรู้สึกเชิงลบ นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศก็เสี่ยงที่จะเป็น ED เนื่องจากรู้สึกไม่ดีกับร่างกายตัวเอง

.

ซึ่ง ED ประกอบด้วย

Anorexia Nervosa ภาวะไร้ความอยากอาหาร เริ่มจากนิสัยเข้มงวดกับการกิน จนกลายเป็นพยายามอดอาหาร เกิน 50% ของคนเป็นโรคนี้มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย

Bulimia Nervosa ภาวะความอยากอาหารมากผิดปกติ หลังจากกินไปแล้วจะรู้สึกผิดเลยพยายามเอาออก โดยการล้วงคอ อาเจียน เป็นต้น

Binge-eating Disorder ภาวะกินอาหารปริมาณมากจนผิดปกติ ควบคุมตัวเองไม่ได้ โดยเฉพาะพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน ไม่สนใจจะลดน้ำหนัก

Eating Disorder Not Otherwise Specified (EDNOS) ระบุไม่ได้ ไม่ใช่ทั้ง 3 แบบข้างต้น

.

ในส่วนของวิธีรักษา มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการและควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ยกตัวอย่าง เช่น

1. Drug Treatment เช่น ยาต้านเศร้า เพื่อช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเคมีในปริมาณที่สมดุล

2. การแก้ปัญหาบุคลิกภาพ (Personailty Theory) ด้วยการบำบัดแบบ CBT (Cognitive Behavioral Therapy)

3. Family Therapy เนื่องจากคนที่มีพฤติกรรมการกินปกติส่วนใหญ่มักมีปัญหาด้านครอบครัว ทำให้หมกมุ่นกับตัวเอง ครอบครัวจึงสำคัญมาก

โดยปกติคนที่เป็น ED มักไม่ยอมรับว่าตัวเองกำลังมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ ต้องอาศัยการสังเกตและช่วยเหลือจากคนรอบข้างอย่างมาก หากไม่แน่ใจว่าความเครียดของเรากำลังทำร้ายร่างกายทางอ้อมหรือเปล่า อาจลองสังเกตว่าน้ำหนักตัวเราขึ้นลงผิดปกติไหม มีพฤติกรรมการกินเปลี่ยนไปมากหรือเปล่า ถ้ารู้สึกว่าร่างกายมีความผิดปกติ ไม่มีความสุขหรือหมกมุ่นกับรูปร่างหน้าตาจนเกินไป และอาการดังกล่าวไม่ดีขึ้น สามารถปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาของอูก้าได้เสมอนะคะ เพราะทุกปัญหาสุขภาพใจไม่ควรถูกมองข้าม

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.psychiatry.org/patients-families/eating-disorders/what-are-eating-disordershttps://www.psychiatry.org/patients-families/eating-disorders/what-are-eating-disorders

https://www.nhs.uk/conditions/eating-disorders/