“พระคุ้มครองนะ ถือว่าเราโชคดีแล้ว”

“อย่าไปคิดมาก เข้มแข็งต่อไป”

“ถือว่าฟาดเคราะห์ไป ไม่เป็นไรก็ดีแล้ว”

หลังจากผ่านเรื่องร้ายๆ มาได้ เราอาจได้ยินถ้อยคำปลอบใจที่สื่อถึงความดีใจที่เห็นเรายังมีชีวิตอยู่ แต่ใครจะรู้ว่าคนที่รอด เขาอาจไม่ได้รู้สึกมีความสุขกับการรอดชีวิตก็ได้

.

ย้อนกลับไปช่วงสงครามโลกในเหตุการณ์ระหว่างนาซีและชาวยิว กว่า 1 ใน 3 ของผู้รอดชีวิตได้กล่าวถึง “ความรู้สึกผิดของผู้รอดชีวิต” หรือ Survivor Guilt ซึ่งเคยถือเป็นโรคหนึ่ง แต่ถูกนิยามใหม่เป็นโรค Post-Traumatic Stress Disorder (PSTD) แทน (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/oocaok/photos/957158848021024) ถือเป็นความรู้สึกที่ซับซ้อนและยากจะเข้าใจว่า “ทำไมคนเราต้องรู้สึกผิดที่รอดจากเหตุร้ายๆ มาด้วย”

.

ในเวลาที่ความตายอยู่ตรงหน้า ใครๆ ก็อยากมีชีวิตอยู่ เพราะลึกๆ มนุษย์ล้วนกลัวตาย แต่เมื่อรอดกลับรู้สึกผิดจนอยากตาย ผลกระทบทางใจที่ได้รับทำให้เฝ้าถามตัวเองว่า “ทำไมไม่เป็นฉัน” กลายเป็นความคิดวนเวียนในหัวว่า “ทำไมฉันถึงรอด ทั้งที่เพื่อนฉันถูกทำร้าย”

“ฉันทิ้งคนอื่นไว้ข้างหลังแล้วเอาตัวรอดหรือเปล่า”

“คนอื่นเดือดร้อนเพราะการตัดสินใจของเราผิดใช่ไหม”

“ทำไมเขาต้องมาบาดเจ็บคนเดียว”

“จริงๆ ฉันควรเป็นคนที่อยู่ในเหตุการณ์วันนั้น”

.

ทำไมเราจึงโทษตัวเองหรือรู้สึกผิดแบบนี้ หลักๆ คือ เขารู้สึกว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่รู้ว่าการตัดสินของตัวเองนั้นถูกหรือผิด ที่แน่ๆ ตัวเองรอดมาได้แต่บางคนบาดเจ็บหรือตายจากไป

.

นอกจากนี้สังคมก็มีส่วนทำให้คนเกิดความรู้สึกผิดได้ ถ้ามีการกดดันหรือเรียกร้องให้เกิดความรับผิดชอบ มีการต่อว่า ตำหนิจากคนในสังคม เมื่อถูกกล่าวโทษซ้ำๆ ผู้ที่รอดจะรู้สึกว่า “การมีอยู่ของฉันเป็นเรื่องผิด”

.

แต่ไม่ใช่ทุกคนจะรู้สึกผิดนะ บางคนอาจไม่มีละอายใจเลยแม้จะทำเรื่องเลวร้ายแค่ไหน ซึ่งในทางจิตวิทยาบอกว่าถูกปลูกฝังให้เป็นคนที่มีคุณธรรม (Moral) มีความรับผิดชอบ (Responsibility) มีจิตสำนึก (Accountability) มีความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) และมีความรู้สึกว่าต้องช่วยคนอื่น (Altruism) นั้น จึงจะเกิดความรู้สึกผิดต่อเหตุการณ์บางอย่างได้

.

ถ้ารู้สึกผิดในระดับที่นึกถึงใจเขาใจเรานั่นเป็นเรื่องที่ดีมากๆ แต่หากทำให้ลำบากหรือทุกข์ใจอาจกลายเป็นการทำร้ายตัวเอง (Self- criticism) จนขาดความยืดหยุ่น รู้สึกว่าทุกอย่างมีแค่ ขาวหรือดำ สุดท้ายจึงไม่สามารถให้อภัยตัวเองหรือคนอื่นได้ เมื่อมีความสุขหรือได้รับอะไรดีๆ ก็มักจะฉุดรั้งตัวเองไว้แล้วคิดว่าเราไม่สมควรได้รับมัน เพื่อชดเชยความรู้สึกผิดนั้น

.

สิ่งสำคัญคือ การรับฟังอย่างเข้าใจ ก่อนอื่นต้องหาสาเหตุของความรู้สึกผิดนั้นให้เจอและพยายามแก้ไข เวลาจะช่วยให้เราเข้าใจว่าการสูญเสียเป็นสิ่งที่หลีกหนีไม่ได้ ปล่อยให้ตัวเองได้เสียใจให้พอแล้วค่อยให้โอกาสตัวเองได้เริ่มต้นใหม่ ถ้าไม่ดีขึ้นควรปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์

.

เลิกคิดว่าเราต้องคิดหรือทำถูกทุกอย่างเพราะทุกคนสามารถทำผิดพลาดได้ เป็นไปไม่ได้ที่เราจะควบคุมให้ทุกอย่างเป็นอย่างที่เราต้องการ เพราะเราคือคนธรรมดาที่เรียนรู้อยู่ทุกวัน อย่าให้อะไรหรือใครมาตัดสินคุณค่าในชีวิตเรา

.

รู้สึกผิดได้นะ แต่ต้อง “กอด” ตัวเองด้วย เพราะทางออกของเรื่องนี้ไม่ใช่ว่าเราต้องเจอเรื่องร้ายๆ ต้องบาดเจ็บหรือจากไป ไม่มีคำตอบตายตัวสำหรับเรื่องของ “ชีวิต” เมื่อบางอย่างมันเกิดไปแล้วเราอาจจะต้องปล่อยวางภาระในใจ ส่วนที่เราจะทำได้คือการดีลกับความรู้สึกผิดในใจตัวเอง และบอกตัวเองว่า “ไม่มีใครผิดที่มีชีวิตอยู่หรอกนะ”

.

เพราะอูก้าเชื่อว่าทุกชีวิตมีค่า ถ้าคุณกำลังต่อสู้กับความรู้สึกผิดในใจ ลองทักมาพูดคุยกับพี่ๆนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของเราได้เสมอ เราพร้อมที่จะรับฟังทุกปัญหานะ

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth