“การเป็นที่หนึ่งว่ายากแล้ว การรักษาตำแหน่งสูงสุดนั้นยากกว่า” เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินประโยคนี้เป็นร้อยเป็นพันครั้ง โดยเฉพาะเวลาที่ต้องแข่งขันหรือมีเป้าหมายบางอย่างที่ต้องทุ่มสุดตัว แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคำว่า ‘ที่หนึ่ง’ หรือคำว่า ‘ต้องชนะ’ เอาแต่หลอกหลอนเรา ทำให้เราต้องผลักดันตัวเองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

จริงอยู่ที่บอกว่ามันคือน้ำหนักที่ต้องแบกรับ เป็นตำแหน่งที่ต้องแลกด้วยอะไรหลาย ๆ อย่าง รวมถึง ‘ใจ’ เราด้วย ที่เจอทั้งความเครียด ความกดดัน บางครั้งก็เจ็บปวดกับการผิดหวังซ้ำ ๆ แต่เรากลับไม่เคยถามใจตัวเองเลยว่า ‘ไม่เหนื่อยหรอ ?’

‘ฉันยังไหวหรือเปล่า ?’

หากการเปรียบเทียบกับคนอื่นบ่อย ๆ ทำให้เราบั่นทอนตัวเอง ทั้งโทษ ทั้งตำหนิในความไม่สมบูรณ์แบบ แต่เรากลับลืมไปว่าคุณค่าของคนเราไม่ได้อยู่แค่การ ‘ต้องดีกว่า’ ไม่ใช่แค่ที่หนึ่งเท่านั้นที่จะมีค่า แต่การพ่ายแพ้ก็สอนอะไรเราเหมือนกัน กลับมามองดูตัวเองอีกครั้งว่าเรามีภูมิคุ้มกันสำหรับรับมือกับความพ่ายแพ้หรือเปล่า ? หรือไม่ว่ายังไงเราก็เป็นคนที่ ‘แพ้ไม่เป็น’

‘แพ้ไม่เป็น’ อันตรายต่อใจขนาดไหน ?

จิตใจและความคิดที่ขับเคลื่อนด้วยความกลัวที่จะเป็น “ผู้แพ้” หรือ Loser การแสดงออกของเราจะเชื่อมโยงกับ mindset ที่ว่าถ้าเราไม่สวย/หล่อพอ ไม่ฉลาดพอ หาเงินได้ไม่มากพอ เราก็ไม่มีอะไรดี ตัวตนของเราจะถูกโจมตีด้วยความกลัวเหล่านี้ตลอดเวลา Dr. Karl Albrecht นักเขียนด้าน business, psychology และ self-help ที่มีผลงานมากมาย ได้พูดว่าความกลัวนี้เป็นเรื่องของ “Ego-Death” ซึ่งทำให้คนเราทำอะไรหลาย ๆ อย่างเพียงเพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นเรียกพวกเขาว่า “ผู้แพ้” ยกตัวอย่างของคนที่ถูกขับด้วยความกลัวลักษณะนี้ เช่น

🎯 ไม่สามารถมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายที่แท้จริงได้

👀 มีแนวโน้มที่จะโกหก หรือมีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่ทุจริต

🤔 ตอบสนองและตัดสินใจด้วยความรู้สึกอยากเอาชนะ/ต่อสู้เสมอ

😡 ไม่โอนอ่อนหรือยืดหยุ่นกับผลลัพธ์ที่ตัวเองไม่พอใจ

😩 หลีกเลี่ยงการมองเห็นความผิดพลาดของตนเอง

😤 สร้างความขุ่นเคืองในใจต่อผู้อื่น

🤑 ใช้คนอื่นเพื่อประโยชน์ของตนเอง

☹️ มองไม่เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ที่เกิดจากการแข่งขัน

จากบทความของคุณอณุสรา ทองอุไร อธิบายว่า “โรคแพ้ไม่เป็นนี้จะเพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้นกับผู้ที่มีความรู้ การศึกษาที่สูงกว่า มีตำแหน่งที่สูงกว่า ตอนเป็นเด็กเราวิ่งเข้าเส้นชัยช้ากว่าเพื่อน เราแพ้ เสียใจแค่นั้น พอเป็นผู้ใหญ่เราแพ้เหมือนกัน แต่นอกจากเสียใจยังมีเสียหน้า เสียศักดิ์ศรี ผู้ที่เป็นโรคแพ้ไม่เป็น พอแพ้ขึ้นมาก็จะไม่ยอม จะหาทางเอาชนะให้ได้ และอาจทนไม่ได้ สุดท้ายจึงหาทางออกที่รุนแรง”

เพราะชัยชนะไม่ใช่ตัววัด ‘ความสุข’ เสมอไป

การเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากความผิดหวัง หรือเรียนรู้ความรู้สึกของการเป็นผู้แพ้ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว และบางครั้งก็อาจทำให้เราใช้ชีวิตง่ายขึ้นด้วยซ้ำ ยอมให้ตัวเองได้ผ่อนคลายและสนุกกับการเติบโตของผู้แพ้บ้าง เพราะนั่นคือความเป็นจริงของโลกใบนี้ ที่มีวันของเราและวันที่ไม่ใช่ของเรา แต่ถ้าเรายังมีความสุขกับเส้นทางของตัวเองได้ก็หมายถึงเรายังพัฒนาตัวเองต่อไปได้เรื่อย ๆ โดยไม่ปิดกั้น นอกจากนี้ถ้าเรายินดีกับชัยชนะของคนอื่นได้ ยิ่งเป็นเรื่องน่าชื่นชม

‘รักตัวเองให้มาก โดยเฉพาะเวลาที่ล้มเหลว’ ถ้าเราสามารถมอบความรักให้ตัวเองได้แม้ในช่วงเวลาที่เราอ่อนแอที่สุด หรือไม่เพอร์เฟกต์ที่สุด เราจะลดการตำหนิตัวเองและลดความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง เพราะเราได้โอบกอดทั้งส่วนที่ดีและไม่ดีของตัวเองไว้แล้ว ปลดล็อกความรู้สึก ‘ฉันแพ้ได้ ร้องไห้เป็น’ เพื่อเข้าใจตัวเองให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น จะนำไปสู่สุขภาวะทางใจที่แข็งแรงในระยะยาว

อาจจะเป็นเรื่องยากที่ต้องปรับความคิดให้รู้สึกโอเคการความพ่ายแพ้ เพราะขึ้นชื่อว่า ‘ผู้แพ้’ ก็มักจะตีความไปในทางลบเสมอ ทั้งดูอ่อนแอและน่าอาย แต่สิ่งสำคัญคือการก้าวผ่านความรู้สึกร้าย ๆ ที่เกิดขึ้นต่างหาก หากไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงกับการปรับเปลี่ยนมุมมอง หรือการเริ่มต้นรักตัวเอง ให้อูก้าเป็นเพื่อนคนหนึ่งที่จะช่วยดูแลสุขภาพใจให้คุณ เรื่องของใจให้เรารับฟังนะ

#OOCAstory


ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/scolblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca

.#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://get-kalm.com/en/2019/04/26/driven-to-win-or-scared-of-losing/

https://www.bangkokhospital.com/content/lost-some