“ผิดเพศหน่ะมันเป็นเรื่องของบาปกรรม”
“สับสนทางเพศแบบนี้ แก่ตัวไปจะอยู่กับใคร”
“โชคดีนะที่ลูกเราปกติ ไม่เป็นเหมือนคนนั้น”
สารพัดอคติที่หลั่งไหล่เข้ามา จะกี่เดือนกี่ปี ก็ยังมีความข้อความเหล่านี้ให้ได้เห็นกันอยู่ แม้เราจะคิดว่าปัจจุบันโลกของเราก้าวหน้ามาไกลแล้ว รวมถึงเรื่องเพศหรืออัตลักษณ์ก็เปิดกว้างกว่าหลายปีก่อนมาก มีการ come out และมีบุคคลมีชื่อเสียงมากมายที่ออกมาพูดถึงเรื่อง LQBTQ+ ในสังคม ถึงแม้จะสามารถสร้างความตระหนักได้มากขึ้น แต่แน่นอนว่าอคติก็ไม่ได้หมดไป 😢
เพื่อนเราหลายคนเล่าให้ฟังว่าการพูดคุยกับที่บ้านก็ยังเป็นเรื่องยาก ความเชื่อหรือค่านิยมบางอย่าง ยังคงตอกย้ำอยู่เสมอว่าสังคมควรมีแค่ “เพศชาย” และ “เพศหญิง” ส่วนบุคคลที่นอกเหนือจากนี้ กลับถูกมองว่า “แปลก” อาจถูกเรียกด้วยคำจำกัดความต่าง ๆ ไปจนถึงตีตราว่า “วิปริตผิดเพศ” หรือถูกกีดกันให้อยู่ในกลุ่ม “อื่นๆ”
มันสำคัญมากแค่ไหนกับการแบ่งแยกมนุษย์ออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตาม “เพศ”
เพศ (Gender) เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าโลกนี้มีชายและหญิง การกำหนดเพศสภาพขึ้นมาเกิดจากหลายเหตุปัจจัย ถ้าพูดในแง่ของวิทยาศาสตร์ เราอาจแยกตามโครงสร้างร่างกาย หากพูดในเชิงสังคมก็คือการแบ่งกลุ่ม กำหนดบทบาท หน้าที่ สิ่งที่ตามมาจากการแบ่งเพศคือ เรามีคำศัพท์เฉพาะสำหรับชายหญิง เช่น “ค่ะ/ครับ” มีการตั้งชื่อที่รู้กันว่าชื่อนี้เหมาะกับเด็กผู้ชาย ชื่อนั้นเหมาะกับผู้หญิง มีการใช้สัญลักษณ์หรือสีแทนเพศ อย่างสีฟ้าสีชมพู ฯลฯ 😅
เพศไม่ได้จบแค่การแบ่งมนุษย์ออกเป็นกลุ่ม แต่เกี่ยวพันไปถึงการปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงต้องอ่อนหวาน รู้จักดูแลบ้าน ได้รับการอบรมให้เป็นแม่และภรรยาที่ดี ส่วนผู้ชายจะต้องปกป้องครอบครัว มีความเข้มแข็ง ห้ามร้องไห้ต่อหน้าคนอื่น สุดท้ายก็นำไปสู่ความคาดหวังต่อบุคคลหนึ่งตามเพศของเขา เมื่อเขาไม่เป็นไปตามสิ่งที่สังคมหรือคนรอบตัวคาดหวัง เรากลับมองว่าเขาล้มเหลวหรือผิดแปลกจากคนอื่น
เป็นเรื่องยากที่ต้องรับมือกับคำพูดและการกระทำที่สื่อไปในทางลบ ไม่ว่าจะคำล้อเลียนจากเพื่อน ความคาดหวังจากครอบครัว ไหนจะความกดดันในสังคมที่เราเติบโตมา ยิ่งต่างเชื้อชาติ วัฒนธรรม ทุกอย่างก็ยิ่งซับซ้อนไปหมด บางคนอาจถึงขั้นถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อกลับมาเป็นอย่างที่สังคมบอกว่าเรา ‘ควร’ เป็น มิฉะนั้นเราก็อาจถูกตีตราว่าเป็นคนโรคจิต วิปริตหรือครอบครัวอาจจะต้องอับอาย ทั้งที่ตัวตนข้างในเขาอาจมีคุณค่าอื่น ๆ ซ่อนอยู่มากมาย ถ้าเรามองเขาในฐานะ ‘มนุษย์’ คนหนึ่ง
เลิกเถอะ…การใช้คำพูดตีตราคนอื่น เพราะ ‘คุณค่าของมนุษย์คนหนึ่ง’ ไม่ควรถูกกำหนดด้วยอะไรเลย
หลายคนหันมาสนับสนุนแนวคิด ‘Post Genderism’ หรือ ‘โลกหลังการมีเพศ’ ✨
อธิบายง่าย ๆ คือ การมองมนุษย์แบบไม่มีเพศ ไม่ใช่แค่ชายหญิงแต่รวมถึงการไม่ LGBTQ+ ด้วย อย่างที่ George Dvorsky เคยกล่าวในบทความวิชาการว่า “Post-genderist เชื่อว่าเพศสภาพนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและเป็นขีดจำกัดที่ไม่จำเป็นต่อการพัฒนาของมนุษย์” ซึ่งก็มีกลุ่มที่สนับสนุนแนวคิดนี้เพราะมองว่าการห้ามหรือบังคับให้กระทำบางสิ่งบางอย่าง เพียงเพราะเขาเป็นเพศนั้นเพศนี้ควรจะยุติเสียที รวมถึงอคติที่มองกลุ่ม LGBTQ+ ด้วย stereotype ที่ฝังรากลึกในสังคมก็ควรถูกแก้ไขด้วย 🤔
ในขณะเดียวกันก็ยังมีคนจำนวนมากที่เชื่อว่าคำว่า ‘เพศ’ ไม่มีทางหายไป เพราะจุดเริ่มต้นของมนุษย์ยังถูกกำหนดด้วยโครโมโซมและสภาพร่างกายตามที่ธรรมชาติให้มา รวมถึงประเด็นที่ละเอียดอ่อนอย่าง คนที่เกิดมามีสองเพศหรือคนที่เกิดมาไม่มีเพศ ไปจนถึงความแตกต่างระหว่าง Sex และ Gender และที่ถกเถียงกันมาตลอดอย่างเรื่อง “รสนิยมทางเพศ” หากจะพูดทั้งหมดนี้เชื่อว่าเราคงไม่มีทางหาข้อสรุปได้ รวมถึงไม่สามารถทำให้ทุกฝ่ายพึงพอใจในแนวคิดในแนวคิดหนึ่งได้
แต่สิ่งที่เราอยากสร้างความตระหนักมากที่สุดคือ “คุณค่าของมนุษย์” หรือ “ตัวเรา” ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นใดเลย ไม่ว่าจะเป็น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา สีผิว ฯลฯ แม้การแบ่งแยกจะยังไม่หมดไป แต่การใช้คำพูดรุนแรงเพื่อต่อว่าหรือลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ต่างหากที่สามารถแก้ไขได้
แน่นอนการต่อสู้กับอคติจะเป็นเรื่องเลวร้าย แต่เราเชื่อว่าความคิดและการกระทำของคนอื่นจะไม่มีผลกับใจ ถ้าวันนี้ “คุณยังชอบตัวเองอยู่” เริ่มต้นที่การยอมรับตัวเองอย่างไม่มีเงื่อนไข มอบความอ่อนโยนและอ้อมกอดให้ตัวเองบ้าง ความรู้สึกลบ ๆ ที่รบกวนใจจะได้เบาบางลง ไม่ต้องคาดหวังให้ทุกคนยอมรับ ไม่จำเป็นต้องโทษตัวเอง เราสามารถเป็นตัวเราที่สร้างสิ่งดี ๆ และมีความสุขได้เหมือนคนอื่น 🙂
อูก้าขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังค้นหาคุณค่าของตัวเองและต่อสู้เพื่อบางสิ่งบางอย่างอยู่ ไม่ว่าจะหนักหนาแค่ไหน อูก้าขอเป็นพื้นที่ปลอดภัยในคุณได้พูดคุยปรึกษาทุกปัญหาใจอย่างไม่มีเงื่อนไข เราพร้อมดูแลคุณเสมอ ❤️🧡💛💚💙💜
#OOCAstory #Pride
—————————————————
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/lgbtqstrfb
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ Ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca
#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์
Recent Comments