ทำไมหิวอีกแล้ว ดึก ๆ ต้องลุกมาเปิดตู้เย็นตลอด 😂

วันนี้ยังไม่ได้กินชานมไข่มุกรู้สึกหงุดหงิดเหมือนต้องการน้ำตาล

ทำไมน้ำหนักเพิ่มขึ้นเยอะกว่าปกติ นี่ไม่ใช่แค่โลฯ สองโลฯ แล้ว

มีแต่คนทักว่าอ้วนขึ้นจนนอยด์ แต่กลับหยุดกินไม่ได้เลย 😥

นี่เราหิว เราเครียด หรือเรากำลังป่วยเป็นโรคกันแน่ ?

เราเคยพูดถึงโรคความผิดปกติด้านการกิน หรือ Eating Disorders (ED) กันไปแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะคือหมกมุ่นและกังวลกับน้ำหนักตัว จนส่งผลต่อพฤติกรรมการกินและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก อาจรู้สึกอยากผอม (Drive for thinness) หรือกลัวอ้วน (Fear of Fat) คือการที่เราเชื่อมโยงความอ้วนกับความรู้สึกเชิงลบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

🥯 Anorexia Nervosa ภาวะไร้ความอยากอาหาร หรือคนที่เข้มงวดกับการกินจนกลายเป็นอดอาหาร

🥯 Bulimia Nervosa ภาวะความอยากอาหารมากผิดปกติ แต่มักรู้สึกผิดหลังจากกินไปเลยพยายามเอาออก

🥯 Binge eating Disorder ภาวะกินอาหารปริมาณมากจนผิดปกติ ควบคุมตัวเองไม่ได้ โดยเฉพาะพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน ไม่สนใจจะลดน้ำหนัก

🥯 Eating Disorder Not Otherwise Specified (EDNOS) ระบุไม่ได้

เราคุ้นเคยกับ Anorexia และ Bulimia แต่ใครจะรู้ว่าทุกวันนี้มีคนจำนวนมากกำลังเป็นโรค Binge eating disorder โรงพยาบาลรามาธิบดีได้อธิบายอาการของโรคนี้ว่าเป็นโรคที่มีการรับประทานอาหารเป็นปริมาณมาก ๆ ผิดปกติ ซ้ำ ๆ หลายครั้งโดยควบคุมไม่ได้และไม่มีการใช้พฤติกรรมลดน้ำหนักทดแทนเลย อย่างการล้วงคอ อดอาหาร ใช้ยา หรือ ออกกําลังกายอย่างหนัก ต่างจากที่พบในโรค Bulimia nervosa หรือ Anorexia nervosa

ที่สำคัญคือผู้ที่มีอาการมักจะมีพฤติกรรมกินอาหารปริมาณมากทั้งที่ไม่หิว เพราะยากที่จะระบุว่าตนเองหิวหรืออิ่ม ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นรวดเร็วในระยะเวลาสั้น ๆ  และอาจอ้วนตั้งแต่อายุยังน้อย ส่วนใหญ่พบร่วมกับภาวะอ้วน (obesity) และภาวะน้ำหนักเกิน (over weight) โดยพบว่าผู้ที่เป็น Binge eating จะมีน้ำหนักในช่วงที่คงที่มากกว่าในคนอ้วนปกติที่ไม่มีพฤติกรรม Binge eating

ในสมัยก่อนมีผู้ป่วยที่ต้องการรักษาภาวะ Binge eating แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องเพราะผู้รักษาเน้นแต่โรค Anorexia และ Bulimia ซึ่ง Binge eating  ไม่เข้าข่ายทั้งสองอย่าง ทำให้ไม่มีแนวทางการรักษาที่เหมาะสม สิ่งที่ต้องระวังคือการเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) เนื่องจากผู้ป่วยมักไวต่อความรู้สึกเชิงลบ สูญเสียความมั่นใจเมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้น

ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจาก 1. ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factor) อย่างพันธุกรรมหรือสารเคมีในร่างกาย 2. ปัจจัยทางจิตวิทยา (Psychological factor) เช่นการเลี้ยงดูที่เหมาะสม บุคลิกภาพที่คิดลบ ภาวะซึมเศร้า low self-esteem เป็นต้น หลายคนทุกข์ทรมาณจากภาวะทางใจ เป็นโรคเครียด ซึมเศร้า ไบโพลาร์ ภาวะป่วยทางใจจากเหตุการณ์รุนแรง (Post-traumatic Stress Disorder) ก็อาจพบโรค Binge eating Disorder ร่วมด้วยได้

🚨 อาการที่พบบ่อยของโรคนี้ ได้แก่ 🚨

☑️ ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการกินได้

☑️ ทานอาหารมากจนถึงจุดที่ไม่สบายตัวหรือรู้สึกทรมาน

☑️ ทานอาหารได้เรื่อย ๆ โดยไม่รู้สึกอิ่ม

☑️ น้ำหนักตัวขึ้นลงไม่คงที่

☑️ รู้สึกผิดหรือรังเกียจตัวเองหลังจากทานอาหารปริมาณมาก

☑️ มีการซุกซ่อนอาหารไว้รอบ ๆ

☑️ ชอบรับประทานอาหารในช่วงดึก กินจุกจิกบ่อย ๆ

☑️ มีอารมณ์ซึมเศร้าหรือวิตกกังวล

☑️ ความมั่นใจลดลงผิดปกติ รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง

☑️ ส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศ

สำหรับการรักษานั้นนอกจากจะใช้ยาเพื่อปรับสภาพร่างการแล้ว การรักษาทางจิตใจก็สำคัญไม่แพ้กัน จึงควรใช้วิธีนี้ควบคู่ไปด้วย อย่างแรกคือการรักษาแบบ Cognitive behavioral therapy (CBT) เน้นปรับเปลี่ยนที่แนวคิดและพฤติกรรม ในที่นี้ก็คือพฤติกรรมการกินโดยพยายามลดความถี่ของการ Binge eating ลดการกินอาหารที่พลังงานสูง ปรับการมองภาพลักษณตนเอง (Self-image)

อย่างที่สองคือ Individual Psychotherapy โดยใช้การรักษาแบบ psycho-dynamically oriented ที่จัดการ กับปัญหาเกี่ยวกับสภาพจิตใจขณะนั้น ซึ่งมันใช้วิธีรักษานี้ร่วมกับ CBT เช่น หากพบภาวะซึมเศร้าก็รักษาที่อาการซึมเศร้า และจัดการความขัดแย้งในจิตใจของตนเอง หาสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างผู้ป่วยกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างและหาแหล่งสนับสนุนทางใจที่จะช่วยพวกเขาได้

ถ้าภาวะการกินของเราเริ่มเปลี่ยนไป อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าใจเรากำลังเป็นกังวล ลองสังเกตตัวเองว่าการกินและการนอนของเรายังปกติอยู่ไหม ถ้าไม่แน่ใจสามารถปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาของอูก้าได้เสมอ เรายินดีรับฟังทุกปัญหา ช่วยคุณดูแลทั้งสุขภาพกายและใจให้พร้อมใช้ชีวิตอย่างมีความสุข 🙂

#OOCAknowledge

—————————————————
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/bingeeatingblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ Ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca
.
.
#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

https://www.springnews.co.th/news/810881

https://www.pobpad.com/binge-eating-disorder

https://med.mahidol.ac.th/ramamental/psychiatristknowledge/generalpsychiatrist/06132015-1342