หลายคนคุ้นหูกับคำว่า LGBTQ+ หรือกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งการจำแนกสถิติระหว่างประเทศของโลกและปัญหาสุขภาพฉบับที่ 10 (ICD10) ขององค์การอนามัยโลก ( WHO) ได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยนำเอาหัวข้อ ” การมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกําเนิด” ราชูปถัมภ์ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม และย้าย LGBTQ+ ไปอยู่ในหมวด ” กรณีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางเพศ” ด้วยสาเหตุที่ว่าการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิดนั้น ไม่ถือว่าเป็นอาการป่วยทางจิต ดังนั้นจึงเริ่มมีคนหันมาสนใจว่าแท้จริงแล้ว LGBTQ+ คืออะไร ?
ความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ คือ
🏳️🌈 กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือเพศทางเลือก ซึ่ง LGBTQ+ ย่อมาจาก
L – Lesbian กลุ่มหญิงรักหญิง
G – Gay กลุ่มชายรักชาย
B – Bisexual กลุ่มที่รักได้ทั้งชายและหญิง
T – Transgender กลุ่มคนข้ามเพศจากชายเป็นหญิง จากหญิงเป็นชาย
Q – Queer กลุ่มคนที่ไม่จำกัดในเรื่องเพศและความรัก
เพศทางเลือกเป็นความผิดปกติหรือไม่ ?
ในยุคก่อน คนมักให้ความสำคัญกับเพศที่ตรงกำเนิดและมักมีความเชื่อว่าคนที่มีลักษณะไม่ตรงกับเพศกําเนิดมีความผิดปกติ ซึ่งความคิดเหล่านี้มักถูกกำหนดด้วยความเชื่อพื้นฐานที่มาจากบรรทัดฐานทางสังคมหรือวัฒนธรรม จนทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ และเกิดการเหลื่อมล้ำในสิทธิเสรีภาพของบุคคล
แต่ในยุคปัจจุบัน อิทธิพลของชาติตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อสังคมไทยมากขึ้น ความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเราจึงสามารถพบเห็นกลุ่มคนที่เป็นเพศทางเลือกได้ทั่วไป ทั้งจากสื่อมัลติมีเดีย สื่อโซเชียล ทางโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ เป็นต้น
ซึ่งในทางการแพทย์บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไม่ได้เป็นโรค หรือมีความผิดปกติทางจิตใจ เพียงแต่เกิดจากการผสมผสานที่มาจากภายในและภายนอกที่หลากหลาย เช่น ฮอร์โมน สารเคมีในสมอง การเลี้ยงดู วัฒนธรรมและพื้นฐานทางสังคมที่หล่อหลอมตัวบุคคล จึงไม่ใช่เกิดจากความผิดปกติแต่อย่างใด 🙂
🏡 สำหรับครอบครัวที่มีบุตรหลานอยู่ในกลุ่ม LGBTQ+
นอกจากบุคคลในกลุ่ม LGBTQ+ จะต้องเผชิญกับบุคคลทั่วไปแล้ว ปัญหาเรื่องการยอมรับจากคนในครอบครัวก็เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากคนในกลุ่มนี้มักถูกคาดหวังจากพ่อแม่หรือคนในครอบครัว ซึ่งส่วนใหญ่มักจะสวนทางกับกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ดังนั้น ครอบครัว และคนรอบข้างจึงควรเรียนรู้และทำความเข้าใจเมื่อพบว่ามีสมาชิกในครอบครัวอยู่ในกลุ่ม LGBTQ+
💙 เน้นการสื่อสารเชิงบวก หมั่นพูดคุย เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้อธิบายและรับฟังความคิดเห็นด้วยความเข้าใจ
💙 ไม่เปรียบเทียบ ไม่ควรเปรียบเทียบลูกหลานกับใคร เพราะจะเป็นการสร้างความกดดันและทำให้ไม่อยากเปิดใจ
💙 ให้โอกาสได้เรียนรู้ ครอบครัวควรคอยดูแลอยู่ห่างๆและให้ความช่วยเหลือเมื่อลูกหลานต้องการ
💙 หมั่นคอยสังเกตพฤติกรรม ยิ่งหากเป็นช่วงวัยรุ่นแล้ว มักเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้งทางด้านสรีระร่างกาย ความคิด ดังนั้นคนในครอบครัวจึงต้องคอยสังเกตพฤติกรรมที่อาจเป็นสัญญาณอันตราย เช่น เริ่มมีการใช้ความรุนแรงมากขึ้น หรือเริ่มแยกตัว และมีอาการซึมเศร้า เป็นต้น
ท้ายที่สุดการยอมรับกลุ่มคน LGBTQ+ ไม่ได้มาจากการตัดสินใจของสังคม แต่มาจากการยอมรับตัวตนของตนเองและได้รับความเข้าใจจากคนในครอบครัวและคนรอบข้าง เหล่านี้จึงจะสามารถทำให้บุคคลกลุ่ม LGBTQ+ ได้แสดงออกอย่างอิสระและใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข 🥰
หากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร อูก้าพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนได้พูดคุยโดยไม่ถูกตัดสิน ทุกเรื่องราวทุกปัญหา สามารถปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาได้เสมอ ✨
บทความโดยดร. จุฑารัตน์ จีนจรรยา นักจิตวิทยาคลินิกจากแอปพลิเคชันอูก้า
ผู้ให้คำปรึกษาและบำบัดช่วยเหลือด้านจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น ครอบครัว เด็กพิเศษ บำบัดคู่สมรส
#OOCAprovider
________________________________⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/TdnH
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์
Recent Comments