“คนอื่นอยู่ได้เราก็ต้องอยู่ได้” แม้จะบอกว่าในสถานการณ์โควิดแบบนี้ใครๆ ก็รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวังด้วยกันทั้งนั้น แต่จะทำยังไงได้ ในเมื่อความทุกข์ของคนเรามีขนาดไม่เท่ากัน ความท้อแท้ในวัยเรียน ความเครียดของคนทำงาน และความสิ้นหวังของคนที่สูญเสียต่างก็ทำให้เราประคับประคองชีวิตให้ไปต่อได้ยากเหลือเกิน
‘ความเข้มแข็ง’ ที่ถูกพรากไปพร้อม ๆ กับการมีอยู่ของ ‘โควิด’
เพราะการเว้นระยะห่างทางสังคมคือจุดเริ่มต้นของความรู้สึกเครียด กังวลและโดดเดี่ยว ถึงเราจะรู้ดีว่านี่เป็นมาตรการสำคัญและจำเป็นที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง แต่คงไม่มีใครคาดคิดว่าการแพร่ระบาดของโควิดจะยืดเยื้อเกือบสองปีและยังต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ต่อให้โควิดหมดไปการฟื้นฟูสิ่งต่าง ๆ ให้กลับมาสู่สภาพเดิมก็ใช้เวลาไม่น้อย
แล้วเราจะต้องสิ้นหวังเพราะโควิดไปอีกนานแค่ไหน ?
บางคนต้องกักตัวหลายครั้ง พนักงานก็เปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน นักเรียนต้องนั่งเรียนออนไลน์ เด็กจบใหม่ท้อแท้กับการหางาน ในขณะที่อีกหลายชีวิตตกงานอย่างสิ้นหวัง หรือแม้แต่คนที่กำลังต่อสู้กับสถานการณ์โควิด สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความรู้สึกราวกับถูกทอดทิ้ง และเมื่ออยู่อย่างสิ้นหวังก็นำไปสู่การขาดความรู้สึกสนใจ (loss of interest) สูญเสียความตั้งใจ (loss of attention) ได้
การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกว่า 1,700 คน ในหัวข้อ “สภาพจิตใจของคนไทยในยุค โควิด-19” จากสวนดุสิตโพล ระบุว่า 75.35 % รู้สึกเครียดและวิตกกังวล อันดับสองคือรู้สึกแย่และสิ้นหวัง 72.95 % โดยการแพร่ระบาดของโควิดระลอกล่าสุดทำให้สภาพจิตใจย่ำแย่ นอกจากนี้เกือบ 90 % รู้สึกสิ้นหวังกับการทำมาหากินเพราะสภาพเศรษฐกิจ ซึ่ง 3 ใน 4 อยากให้เร่งการฉีดวัคซีน อีก 60.52 % ต้องการให้ภาครัฐและเอกชนช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจและ 41.97 % บอกว่ากำลังพยายามอดทนและแก้ปัญหาเพื่อให้อยู่ได้
ท้อแท้กับการหาเลี้ยงปากท้อง จนรู้สึกสิ้นหวังไม่อยากมีชีวิตอยู่
สิ่งที่น่ากังวลคือ มีประชาชน 3.79 % ที่รู้สึกว่าสถานการณ์ตอนนี้ “รู้สึกท้อแท้ที่สุด/เกินจะรับมือได้” อาจดูเหมือนไม่มาก แต่หากเทียบดูประชาชน 4 จาก 100 คน กำลังสิ้นหวังจนไม่รู้จะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร ที่สำคัญหากเราทำการสำรวจมากขึ้น จำนวนตัวเลขของคนที่รู้สึกท้อแท้สิ้นหวังก็จะยิ่งมีให้เห็นเพิ่มขึ้นด้วย
สถานการณ์โควิดทำให้เกิดการฆ่าตัวตายรายวันเพราะรู้สึกสิ้นหวังในชีวิต หากย้อนกลับไปสมัยวิกฤติต้มยำกุ้งก็เคยมีสถิติการฆ่าตัวตายที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน มองเผิน ๆ อาจดูเหมือนโควิดเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ในชีวิต แต่เบื้องลึกเราล้วนมีภาระมากมายในใจที่แบกรับอยู่ ไม่ว่าจะการงาน การเงิน ความสัมพันธ์ สุขภาพ ฯลฯ เมื่อโควิดเข้ามาจะกลายเป็นความเครียดกังวลที่ถาโถม
ความรู้สึกสิ้นหวังต้องระวังมากกว่าที่คิด ผู้ที่มีแนวโน้มจะทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายมีสิ่งที่เราสังเกตได้คือ
- รู้สึกทุกข์ทรมานจนยากจะทนต่อไปได้ (suffer)
- ท้อแท้ผิดหวังกับสิ่งต่าง ๆ (disappoint)
- รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า (worthless)
- ไม่มีใครช่วยเหลือ (helpless)
- รู้สึกสิ้นหวังหมดหนทาง (hopeless)
“ไม่ใช่แค่เราที่ลำบาก” นี่คือคำปลอบใจที่เราอยากได้รับจริงเหรอ ? ใครจะเข้าใจว่าก้อนความสิ้นหวังตรงหน้ามีขนาดใหญ่กว่าที่คิด จริงอยู่ที่โควิดทำให้ทุกคนต้องปรับ แต่ระยะเวลาที่นานร่วมปีย่อมไม่ใช่ภาวะปกติที่ใจเราจะรับไหว เราต่างเครียดกังวลกับการใช้ชีวิตประจำวัน แม้แต่พื้นที่ของความสุขก็ถูกจำกัด พลังใจลดลงสวนทางกับความท้อแท้ที่มากขึ้น เราคงบอกตัวเองให้เดินหน้าได้ยากลำบาก การเยียวยาจิตใจอย่างถูกวิธีจึงสำคัญมาก
นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ช่วยได้อย่างไร ?
เมื่อรู้สึกเครียด ท้อแท้ สิ้นหวัง หรือมีความคิดในเชิงลบอย่างมาก ควรรีบหาทางรับมือกับอารมณ์ความรู้สึกที่เข้ามา ซึ่งการเข้ารับบริการปรึกษาจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนจิตใจได้อย่างดี เพราะสุขภาพใจก็เหมือนสุขภาพกายที่ไม่ควรถูกมองข้าม หากไม่เคยโยนขยะในใจทิ้งไป วันหนึ่งสิ่งที่สั่งสมอยู่ภายในอาจกดทับจนเรารับมือไม่ไหว
ไม่ต้องกังวลกับการกำจัดภาระที่หนักอึ้ง เพราะ #อูก้ามีทางออก
อูก้าเป็นแพลตฟอร์มดูแลสุขภาพใจทางออนไลน์ที่มีทั้งนักจิตวิทยาและจิตแพทย์กว่า 90 ท่าน ที่ผ่านการคัดสรรมาโดยเฉพาะ ใช้การพูดคุยปรึกษาในรูปแบบของวิดีโอคอล สะดวกทุกที่ทุกเวลา ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัว สามารถเลือกผู้เชี่ยวชาญและเลือกช่วงเวลาที่อยากพูดคุยได้โดยไม่ต้องรอคิว ไม่ว่าจะเรื่องอะไรอูก้าก็ยินดีแบ่งเบาทุกปัญหาใจของทุกคน
ซึ่งจิตแพทย์และนักจิตวิทยาของอูก้านั้น สามารถให้คำปรึกษาได้ในทุก ๆ ด้าน ยกตัวอย่างเช่น
- ภาวะซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล หดหู่
- ความรัก ความสัมพันธ์
- ความเครียดในองค์กร
- ภาวะหมดไฟ หางาน เลิกจ้าง
- ปัญหาการปรับตัว
- ปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์
- โรคทางจิตเวชต่าง ๆ
ในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่โควิดเริ่มแพร่ระบาด สถิติการเข้ารับคำปรึกษาด้านสุขภาพใจเพิ่มมากขึ้น อาจดูเหมือนน่ากังวล แต่แท้จริงแล้วถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะนั่นหมายถึงมีการตระหนักรู้ถึงความเครียดที่เกิดขึ้นและเรากำลังพยายามจะแก้ไขมัน เพราะอาการซึมเศร้าอาจนำไปสู่ความคิดแง่ร้าย แต่ถ้าเราตระหนักว่าโควิดเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากสำหรับทุกคนและรับรู้ความซึมเศร้าที่เกิดขึ้น
แทนที่จะอารมณ์เสียหรือกล่าวโทษตัวเอง สุดท้ายแม้จะไม่พอใจแต่เราก็จะยอมรับความจริงได้ เมื่อรู้ตัวว่าความเครียดและอาการซึมเศร้าเกิดกับเราแล้ว การรับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไร หากแต่เป็นทางออกในการจัดการชุดความคิดแง่ลบให้เรา โดยการวางแผนและดำเนินกิจวัตรประจำวันที่เป็นวิถีใหม่ เน้นที่ความยืดหยุ่นเป็นหลัก คือสามารถปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม
4 วิธีสร้างเกราะป้องกันให้ใจในวันที่ท้อแท้สิ้นหวัง
- มองหาตัวช่วยสนับสนุน
อย่ากังวลเกินไปเมื่อต้องมองหาตัวช่วย บางครั้งเราติดอยู่กับความคิดที่ว่า “ฉันต้องพึ่งพาตนเองให้ได้” หรือคนไทยมักจะถูกสอนให้ “ยืนด้วยลำแข้ง” โดยลืมไปว่าเราเป็นมนุษย์ที่สามารถเจ็บปวดได้ ร้องไห้เป็น และสามารถท้อแท้สิ้นหวังได้เช่นกัน แต่เราก็สามารถก้าวผ่านความรู้สึกเหล่านี้ไปได้ หากมีทรัพยากรทางใจที่ดี ในที่นี้อาจจะเพื่อน ครอบครัว หรือสิ่งรอบตัวที่ให้ความสุขกับเรา ทำให้เราปล่อยวางความทุกข์ลงได้ หรือลำบากใจในการปรึกษาคนรู้จักก็สามารถเลือกปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาได้เช่นกัน ยิ่งถ้าเราเครียดกังวลสูงอาจต้องใช้การบำบัดเพื่อช่วยบรรเทาความรู้สึกสิ้นหวังและร่วมกันหาหนทางเพื่อใช้ชีวิตต่อไป
- เปิดรับการเปลี่ยนแปลง
ฟังดูเหมือนเราได้ยินประโยคนี้มานับพันครั้ง แต่เราทำได้จริงหรือไม่ ? การออกจาก comfort zone อาจไม่ง่ายขนาดนั้นและเป็นอะไรที่หลายคนรู้สึกกลัวที่จะก้าวออกมา (fear of stepping out) สิ่งที่แย่ที่สุดคือวันหนึ่ง comfort zone ของเราอาจหายไป เหมือนเช่นวันนี้ที่โควิดอาจพรากบางอย่างไปจากเรา บางครั้งเราต้องยอมรับว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรอยู่กับเราตลอดไป แม้จะทำใจได้ยากแต่ความสิ้นหวังนี้ก็ไม่ได้คงอยู่ถาวรเช่นกัน “ทุก ๆ อย่างจะดีขึ้น”
การมอบความหวังเล็ก ๆ ให้ตัวเองไม่ใช่เรื่องผิดและไม่ใช่การหลอกตัวเอง แต่เราแค่อ่อนโยนกับตัวเองที่กำลังเหนื่อยล้าและท้อแท้ ไม่จำเป็นเพิ่มความกดดันให้ชีวิตสิ้นหวังลงไปมากกว่าเดิม อนุญาตให้ตัวเองได้มีความสุขกับการเปลี่ยนแปลงและผ่อนคลายดูบ้าง
- ความทรงจำดี ๆ มีคุณค่า
เราได้ยินแต่คนบอกให้โฟกัสอยู่กับปัจจุบัน แต่อย่าลืมว่าช่วงเวลาดี ๆ ในชีวิตก็ช่วยหล่อเลี้ยงจิตใจที่สิ้นหวังได้เหมือนกัน เชื่อว่าโควิดคงไม่ใช่สถานการณ์เดียวที่ทำให้เราท้อแท้สิ้นหวังหรือประสบกับความรู้สึกด้านลบ เพราะฉะนั้นอะไรที่เคยช่วยให้เราผ่านมาได้หรือเป้าหมายอะไรพาเราเดินต่อ นี่ไม่ใช่การยึดติดกับอดีตจนละเลย เพียงแต่อย่าหลงลืมตัวเองในอดีตไปจนหมด เพราะเราสามารถหยุดพักและถอยหลังได้เมื่อเราต้องการ เมื่อเริ่มมีความหวังอีกครั้งก็ค่อย ๆ เดินหน้าใหม่
ให้เราใช้สิ่งต่าง ๆ มาเสริมสร้างกำลังใจให้ตัวเองอีกครั้ง แม้ในวันที่เลวร้าย ข้อดีของเราก็ยังอยู่ เรายังมีคุณค่าไม่เปลี่ยนแปลง แค่สถานการณ์อาจจะไม่เอื้อให้ถูกมองเห็น ลองให้เวลากับตัวเองเพื่อหาว่าสร้างความหวังในชีวิตขึ้นอีกครั้ง
- ย่อขนาดของเป้าหมาย
ใจเราไม่ได้แข็งแกร่งทุกวัน ในเวลาที่เราท้อแท้สิ้นหวัง ขนาดของใจก็อาจเล็กลงไปด้วย เป้าหมายที่เคยวางไว้อาจไปไม่ถึง ทำให้เรารู้สึกท้อแท้มากกว่าเดิม เมื่อเราต้องต่อสู้กับเวลาและการทำงานของจิตใจ ให้เราปรับขนาดและระยะเวลาของเป้าหมายให้พอดีกับภาวะของใจในขณะนั้น การวางขั้นตอนสั้น ๆ ทำเป้าหมายเล็ก ๆ สำเร็จในแต่ละวัน ถือเป็นกำลังใจชั้นดีที่จะช่วยให้เรามีความหวังอีกครั้ง ความสำเร็จที่ได้สัมผัสไม่สำคัญว่าเล็กหรือใหญ่ แต่อย่างน้อยเราได้สร้างโอกาสใหม่ ๆ และผลักดันตัวเองให้เดินต่อไปข้างหน้า
อย่างที่เรารู้ว่า ‘ความสิ้นหวัง’ ก็เป็นเหมือนหลุมลึก เมื่อตกลงไปก็ยากที่จะขึ้นมาได้ ต้องใช้พลังกายและพลังใจอย่างมาก ระหว่างที่พยายาม ‘ความรู้สึกท้อแท้’ ก็อาจเกิดขึ้นเป็นระยะ วนเวียนซ้ำๆ ในใจของเรา จึงไม่ใช่แค่บอกตัวเองให้มีความหวัง แล้วมันจะเกิดขึ้นทันที่ แต่เป็นเกราะที่เราต้องสร้างให้ตัวเองโดยเฉพาะช่วงที่โควิดกำลังแพร่ระบาดอยู่
ภูมิคุ้มกันทางใจสร้างได้ด้วยการเติบโตจากภายใน เมื่อเราไม่ยอมแพ้ความท้อแท้ในใจก็จะเบาบางลง การมีสติในการใช้ชีวิตจะช่วยให้เรารักษาสมดุลของใจไว้ ไม่ก้าวเข้าไปในหลุมของความสิ้นหวัง แต่ถ้าหากเหนื่อยล้าท้อแท้ใจ อย่าลืมให้อูก้าช่วยดูแลสุขภาพใจของคุณ
.________________________________
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/m95x
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca
.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์
อ้างอิงจาก
https://siamrath.co.th/n/248678
https://psychcentral.com/blog/3-ways-to-cultivate-hope#1
https://wellness.chula.ac.th/?q=th/content/ดูแลใจในช่วง-covid-19-สิ้นหวังอย่างไรให้มีหวัง
http://164.115.42.194/e_doc/views/uploads/5cf7930fad074-820449b051214e4506acd7b594ebb06c-509.pdf
Recent Comments