“เรื่องโกหกฉันไม่เสียเวลาอ่านหรอก”
“ฉันไม่เถียงกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง”
“ที่แชร์กันไม่จริงสักอย่าง แหล่งข่าวเชื่อถือไม่ได้”
ถ้าเราเคยมีความคิดทำนองนี้กับข่าวหรือโพสต์อะไรก็ตามที่คนแชร์ต่อหรือถกเถียงกันในสังคม ที่จริงมันอาจเป็นเรื่องดีที่เรารู้จักตั้งคำถามก่อนที่จะหาคำตอบ แต่ถ้าเราปฏิเสธบางสิ่งบางอย่างหรือผลัก ‘ความจริง’ ออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะการ ‘ยอมรับ’ จะทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจหรือรู้สึกเหมือนถูกคุกคามทางใจ การเผชิญหน้ากับสิ่งที่เราอาจทนไม่ได้นั้น อาจเป็นกลไกทางจิตที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันตัวเอง
เจ้าของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ซิกมุนด์ ฟรอยด์ได้เรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่า ‘กลไกการป้องกันทางจิต’ (Defense mechanism) แต่ไม่ใช่ทุกคนจะปฏิเสธด้วยวิธีแบบที่ฟรอยด์บอก เพราะเราทุกคนต่างมีรูปแบบในการปฏิเสธแตกต่างกันไป ตามความสบายใจหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้มา ซึ่งการปฏิเสธในระยะสั้นมักถูกนำมาใช้บ่อย ๆ เพราะเป็นประโยชน์ในการทำลายความตึงเครียดหรือสถานการณ์ที่รุนแรง เพื่อช่วยไม่ให้ร่างกายเราตกใจและติดหลุมของความทุกข์ในระยะยาว จนเราเคยชินกับการปฏิเสธความจริงซ้ำ ๆ หากติดเป็นนิสัยเราอาจละทิ้งความจริงไปเลย สุดท้ายเราจะเจอกับปัญหาการปรับตัว (Unhealthy adaptive pattern)
หลีกหนีข้อเท็จจริงแม้จะมีหลักฐานมากมาย อาจเป็นเพราะพวกเขากำลังตัดสินใจว่า
🤔 เมินดีไหม ?
“มองไม่เห็น เท่ากับมันไม่มี” หรือเป็นการปฏิเสธในเชิง “out of sight, out of mind” เมื่อเราไม่พอใจหรือมีอะไรที่รบกวนความรู้สึกก็แค่วางมันไว้ที่เดิม ดันออกไปด้านข้าง หรือจับมันโยนออกจากตัวเราไปซะ เท่านี้ก็แปลว่ามันไม่ได้เกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องยอมรับการมีอยู่ของก้อนความจริงที่เราไม่ต้องการ
🙈 ย่อขนาดความจริงให้เล็กที่สุด
“มันเป็นเรื่องส่วนบุคคล…ไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นเรื่องใหญ่หรือส่งต่อความกังวลให้คนอื่น” การย่อปัญหาให้เล็กที่สุดเกิดขึ้น แปลได้ว่าพวกเขามีคนมีสติพอที่จะรับรู้ว่ามันเกิดขึ้นแล้ว แต่มีแนวโน้มที่จะมองข้ามผลกระทบ หรือยอมรับว่ามันเป็นปัญหา เพราะต้องการลดความรุนแรงทางจิตใจ
☹️ ถ่ายโอนความรับผิดชอบ
“รู้ว่ามันเป็นปัญหา แต่ฉันไม่สามารถทำอะไรกับมันได้”
“ไม่เป็นไร ทุกอย่างจะต้องออกมาดี”
การปฏิเสธประเภทนี้พบได้เมื่อเรายอมรับปัญหาที่มีอยู่ แต่ปฏิเสธบทบาทและความรับผิดชอบในการแก้ไข รู้ว่ามันเป็นเรื่องจริงจังและสิ่งที่เกิดมีข้อเท็จจริงพิสูจน์ แต่ไม่อยากเผชิญกับการถูกตำหนิหรือความเสี่ยงที่จะตามมา
ปัญหาของความคิดเหล่านี้คือปัญหาจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงและมักจะทับถมขึ้นเรื่อย ๆ อะไรที่เราไม่แก้ไข มนุษย์จะตกหลุมของความเคยชินและทำซ้ำ ในขณะที่การเอาตัวรอดด้วยการหลีกเลี่ยงเหมือนจะง่ายกว่า แต่สุดท้ายการปกป้องใจตัวเองแบบผิด ๆ อาจผลักไสความช่วยเหลือออกไป เมื่อไรที่เราหนีไม่พ้นหรือใช้วิธีปฏิเสธความจริงแบบเดิม ๆ ไม่ได้ เราก็มองหาทางใหม่ไปเรื่อย ๆ จนเราเริ่มแยกแยะความเป็นจริงกับสิ่งที่เป็นเท็จไม่ออก สุดท้ายกลายเป็นวงจรที่นำความทุกข์มาให้ใจเรา
สิ่งที่น่ากังวลคือกลไกป้องกันตัวเองแบบนี้ เชื่อมโยงกับพฤติกรรมอันตราย เช่น การเสพติด การทำร้ายร่างกาย และปัญหาทางใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความนับถือตนเองต่ำ (Low self-esteem) ปัญหาความสัมพันธ์ (Relationship issues) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality disorders) ภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวล
🤔 เราต่อสู้กับความจริงหรือต่อสู้กับ “ความเชื่อ” ในใจตัวเอง
การปฏิเสธเป็นรากฐานที่สำคัญของความเป็นจริงทางเลือก (Alternative reality) คือเราเลือกได้ว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ การให้เหตุผลที่มีแรงจูงใจ การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง ความไม่ลงรอยกันทางปัญญา (Cognitive dissonance) การคิดแบบเหมารวม และอคติในการยืนยัน (Confirmation bias) ซึ่งทำให้เราเปิดรับแต่ชุดข้อมูลที่จะมายืนยันความเชื่อของเราเท่านั้น ความชอบไม่ชอบจะทำให้เราเลือกวิธีหาหลักฐานและตีความในแบบที่เราสบายใจ การหลีกเลี่ยงอารมณ์เชิงลบกระตุ้นให้เราปรับสิ่งต่าง ๆ ตามใจตัวเองและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงหรืออะไรที่ขัดกับใจเรา
👀 ลืมตาเพื่อรับรู้ แม้จะเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้
การยอมรับความจริงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ “ความจริง” ไม่ได้ถูกลดทอนคุณค่าจากคนที่ทำลายมันเท่านั้น แต่คนที่ปฏิเสธความจริงด้วยกลไกป้องตนเองก็กำลังเพิกเฉยมันเช่นกัน เพราะนั่นอาจเท่ากับเรากำลังสนับสนุนคนที่พยายามล้มล้าง “ความจริง”
พวกเราไม่มีใครอยากเผชิญความเจ็บปวดทางอารมณ์ ดังนั้นการปฏิเสธความจริงจึงถือเป็นความตั้งใจเริ่มต้นของเรา บางครั้งมันก็คือ “หนทางรอด” อย่างไรก็ตามการเรียนรู้วิธีรับมือและจัดการกับความรู้สึก ปัญหา และสถานการณ์ที่ไม่สบายใจในชีวิต เป็นการถนอมสุขภาพจิตของเราอย่างถูกวิธีมากกว่าและทำให้เราก้าวข้ามการปฏิเสธความจริงแบบผิด ๆ ได้
บางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่จริงอาจตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราเชื่อ เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าเราอยากเชื่อในแบบที่ต่างออกไป จะให้ยอมรับทั้งที่ไม่ชอบมันได้อย่างไร ? วิธีที่ง่ายที่สุดอาจเริ่มจากการถามตัวเองว่าถ้าเราไม่ตอบสนองต่อสิ่งนั้น จะมีผลกระทบหรืออันตรายต่อตัวเองและคนรอบข้างมากน้อยเพียงใด ?
ในวันนี้ที่เราใช้เวลาอยู่กับตัวเองมากกว่าที่เคย แต่ข้อมูลข่าวสารกับล้นหลามจนรับไม่ไหว ถ้าจิตใจของคุณกำลังเหนื่อยล้าหรือต่อสู้กับอะไรบางอย่างที่รบกวนใจ ลองเริ่มต้นด้วยการถ่ายเทภาระทางใจมาให้อูก้า เพื่อนรู้ใจที่พร้อมดูแลคุณทุกที่ทุกเวลากับบริการปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาออนไลน์ เรายินดีรับฟังทุกปัญหาและหาทางออกร่วมกันกับคุณ เพราะสุขภาพใจไม่ควรถูกละเลย 💙💚
#OOCAknowledge
________________________________⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/v1W7
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์
อ้างอิงจาก
https://www.psychalive.org/denial-the-danger-in-rejecting-reality/
https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/denial/art-20047926
https://www.betterhelp.com/advice/general/what-is-denial-psychology-how-to-address-it/
Recent Comments