“จำนวนการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของความทุกข์ทางอารมณ์ที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ” – David Gunnell นักระบาดวิทยาจาก University of Bristol
เรารู้กันดีว่าวิกฤตเศรษฐกิจทำให้คนมีความเครียดในระดับสูง แต่เราอาจนึกไม่ถึงว่าตัวเลขของคนที่ฆ่าตัวตายจะสูงมากขึ้นทุกปี แม้แต่คนที่อยู่รอบตัวเราหรือในโลกออนไลน์ต่างก็พร่ำบ่นถึงสิ่งที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่ และดูเหมือนว่าความเครียดนี้ได้กดทับทุกคนจนกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต มีคนมากมายที่หันไปพึ่งพาแอลกอฮอล์หรือตัดสินใจฆ่าตัวตาย
📉 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ สุขภาพจิตก็เลยพังสุด ๆ !
เพราะสุขภาพจิตที่แข็งแรงต้องมาจาก “ความเป็นอยู่ที่ดี” เมื่อเราตระหนักถึงความสามารถของตนเอง ซึ่งสามารถรับมือกับความเครียดในชีวิตประจำวันได้ และรู้สึกถึงคุณค่าในตนเอง ก็จะทำให้เรามีสติปัญญา (Cognitive) และอารมณ์ (Emotional) ที่ยืดหยุ่น ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างทักษะการเข้าสังคมและการรับมือกับความเครียด ทุนทางจิตใจนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเป็นคนที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม
อัตราการฆ่าตัวตายจึงมักจะเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่สังคมไม่มั่นคง โดยเฉพาะทางเศรฐกิจ เห็นได้จากงานวิจัยที่เคยพูดถึงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2550 ในยุโรปและอเมริกาเหนือที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายมากกว่า 10,000 คน และผลการวิจัยในช่วงหลัง ๆ ก็แสดงให้เห็นว่าการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นในปีที่ดัชนีหุ้นตกต่ำอย่างมีนัยสำคัญ
ในทางจิตวิทยา ผลกระทบด้านสุขภาพจิตจากวิกฤตการณ์ทางการเงินอันเกิดจากการระบาดใหญ่นั้น เป็นความทุกข์ที่เกี่ยวพันกับ “ความยืดหยุ่นทางใจ” ที่เป็นเหมือนบ่อกักเก็บความสุขภายในตัวเรา (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3ol7WPi ) ซึ่งรวมถึงการตั้งเป้าหมายและการเติบโตของคนเรา
ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจต่อสุขภาพจิตที่พบบ่อยที่สุด คือ ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า เพราะเราสัมผัสได้ถึงความไม่ปลอดภัย ความไม่มั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน อนาคตที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัวนั้นอาจเลวร้ายเกินไป เพราะเรามองเห็นแต่ความเสี่ยงที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นด้านการงาน การเงิน สุขภาพกายและใจของคนในบ้าน และการสนับสนุนทางสังคม รายได้ที่เพียงพอ และต้นทุนต่าง ๆ โดยเฉพาะทุนทางสังคม ซึ่งก็คือ การที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ เรารู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่เราอยู่ ถ้าในชีวิตเรามีแรงสนับสนุนเหล่านี้จากสังคม (Social Support) ก็จะช่วยคลายความกังวลได้ในระดับหนึ่ง
ในทางกลับกัน ความยากจน ปัญหาทางการเงิน และการกีดกันทางสังคมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระทบกับปัญหาสุขภาพจิตและความผิดปกติอย่างที่กล่าวไป พฤติกรรมที่พบบ่อยคือการพึ่งพอแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีบทบาทสำคัญในการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ “ปัญหาความไม่เท่าเทียม” ถือเป็นเรื่องใหญ่ มีงานวิจัยมากมายยืนยันว่า ความไม่เท่าเทียมด้านรายได้และการศึกษาเชื่อมโยงกับอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น ความเปราะบางในจิตใจของคนเราก็มากขึ้นเช่นกัน ไม่ใช่แค่ในประเทศที่ยากลำบาก แต่สำหรับคนทุกคนที่เผชิญกับความไม่มั่นคงในชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่มนุษย์ต้องการสำหรับการสร้างเกราะป้องกันใจที่แข็งแรง เพราะอัตราการฆ่าตัวตายก็เพิ่มขึ้นแม้กระทั่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว นี่แสดงให้เห็นว่าเส้นทางสู่การสร้างรายได้นั้นไม่มีที่สิ้นสุดและมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนทั่วโลก
💲ยิ่งเศรษฐกิจย่ำแย่ ก็ยิ่งมองข้ามปัญหาสุขภาพจิตไม่ได้
เรารู้ชัดว่าเศรษฐกิจไม่ดีทำให้คนเครียด แต่จริง ๆ แล้วปัญหาสุขภาพจิตที่คนมากมายกำลังต่อสู้อยู่ก็ทำให้ประเทศสูญเสียกำลังแรงงานไปมากมายเช่นกัน ดังนั้นสุขภาพจิตจึงเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญ การเปลี่ยนจากการสร้างผลผลิตไปสู่สังคมแห่งความรู้เน้นย้ำถึงความสำคัญของสุขภาพจิตเพื่อความยั่งยืนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สุขภาพจิตของประชากรที่ดีมีส่วนทำให้เกิดผลผลิตและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ สำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ หากสุขภาพจิตของคนย่ำแย่ ทุกอย่างก็จะหยุดชะงักได้โดยง่าย
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จนั้นล้วนเริ่มจากการช่วยเหลือผู้คนในด้านสุขภาพใจเป็นพื้นฐานอย่างการชดเชยให้ประชาชนด้วยสวัสดิการสังคมและนโยบายอื่น ๆ ไม่ว่าจะการสนับสนุนการโอกาสทางการศึกษา การชะลอหนี้ รวมถึงการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข นอกจากนี้ความเชื่อมั่นที่ได้รับจากการรายงานสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่จำเป็นต่อการวางแผนชีวิตของประชาชนก็สำคัญ เพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอาจเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตร้ายแรง ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ที่เคยประสบกับความลำบากในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย ไม่ว่าจะด้านการเงิน ที่อยู่อาศัย หรือที่เกี่ยวข้องกับงาน พบว่ามีภาวะตื่นตระหนก ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และการใช้สารเสพติดที่เป็นปัญหามากกว่าคนทั่วไป
Miriam Forbes, PhD, นักวิจัยอาวุโสด้านจิตวิทยาที่ Center for Emotional Health ที่ Macquarie University กล่าวว่า “การระบาดใหญ่ของ COVID-19 กำลังส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วต่อเศรษฐกิจ โดยบ่งชี้ว่าเรากำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้งทั่วโลก การที่หลายคนตกงาน ประสบปัญหาทางการเงินและความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัยในสภาพปัจจุบัน ชี้ให้เห็นชัดเลยว่าประสบการณ์เลวร้ายทั้งหมดนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อ “การเสื่อมถอยของสุขภาพจิตในระยะยาว” ซึ่งสามารถเกิดการสะสมและยืดเยื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เราอาจเสียกำลังคนที่เป็นแรงงานสำคัญ เพราะต้องให้เวลาคนเหล่านี้ในการฟื้นฟูสุขภาพใจให้กลับมาแข็งแรง
รู้แบบนี้แล้วอย่ารอช้ากับปัญหาความเครียดที่กวนใจ ดูแลสุขภาพจิตตั้งแต่วันนี้กับอูก้า พูดคุยปรึกษากับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาของเราได้เลย ด้วยบริการแบบออนไลน์ที่เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเรื่องอะไรเราพร้อมเป็นเพื่อนใจคอยดูแลคุณ 🙂
#OOCAknowledge
รับแบบทดความความเครียดฟรี ! ที่มาพร้อมกับโปรโมชั่นและสารพัดวิธีดูแลใจตนเองอีกมากมายได้ที่ Line Official https://lin.ee/6bnyEvy.
หรือดาวน์โหลดเลย ได้ทั้ง IOS และ Android https://ooca.page.link/MPyr
อ้างอิงจาก
https://www.apa.org/news/apa/2020/financial-crisis-covid-19
https://theconversation.com/bad-economic-news-increases-suicide-rates-new-research-117228
Recent Comments