Nervous Breakdown แปลตรงตัวว่า “อาการทางประสาท” หรือ “อาการทางจิต” เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงช่วงเวลาที่เรามีความทุกข์ทางจิตใจอย่างรุนแรง เป็นช่วงที่เราไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ แต่ไม่ใช่การวินิจฉัยทางเทคนิคเพราะไม่ใช่ความเจ็บป่วยทางจิตที่เฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ร่างกายและจิตใจไม่สามารถอดทนต่อความเครียดได้ ไปจนถึงกระทบต่อความสุข ความรื่นรมย์ในชีวิต
ในอดีตเมื่อเราเกิดวิกฤตสุขภาพจิตที่คล้ายกับอาการทางจิตหรือทางประสาท คำนี้เคยใช้เพื่ออธิบายถึงอาการเจ็บป่วยทางจิตที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล โรคเครียดเฉียบพลัน ภาวะหมดไฟ ซึ่งอาการทางประสาทนี้ก็แตกต่างไปตามระดับความเครียดและรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เราพบเจอ
แม้ว่า “อาการทางประสาท” จะไม่ถือเป็นคำศัพท์ทางการแพทย์อีกต่อไป แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากใช้คำนี้เพื่อพูดถึงอาการเครียดรุนแรง ภาวะที่ไม่สามารถรับมือกับความท้าทายในชีวิตได้ ดังนั้นสิ่งที่คนอื่นมองว่าเป็นอาการทางจิตอาจเป็นเพียงความเจ็บป่วยทางจิตที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง แต่ถูกนำไปเรียกกันแบบผิด ๆ เท่านั้นเอง ซึ่งขอบเขตของอาการทางประสาทไม่ได้มีกำหนดไว้ชัดเจน
อาการที่สังเกตได้ว่าเข้าข่าย Nervous Breakdown
เราอาจพบอาการผิดปกติทั้งทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม สัญญาณของอาการทางประสาทแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เนื่องจากคำนี้ไม่ได้ใช้ในวงการแพทย์อีกต่อไปแล้ว จึงมีการอธิบายอาการผิดปกติทางประสาทโดยใช้อาการต่าง ๆ มากมายมาพูดถึง ไม่ว่าจะเป็น
- กลุ่มอาการซึมเศร้า (Depressive symptoms) เช่น การสูญเสียความหวังและความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตนเอง
- ความวิตกกังวลที่มาร่วมกับความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อตึง มือชื้น เวียนศีรษะ ปวดท้อง ตัวสั่น
- อาการนอนผิดปกติ เช่น นอนไม่หลับ
- เห็นภาพหลอน
- อารมณ์แปรปรวน หรือระเบิดอย่างไม่มีสาเหตุ
- อาการแพนิก (Panic attacks) ซึ่งรวมถึงอาการเจ็บหน้าอก การหลุดออกจากโลกของความเป็นจริง ความกลัวอย่างรุนแรง และอาการหายใจลำบาก
- ความหวาดระแวง (Paranoia) เช่น เชื่อว่ามีคนเฝ้าดูหรือสะกดรอยตาม
- การนึกถึงเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ โรคเครียดหลังจากได้รับ บาดแผลที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่าง Post-traumatic stress disorder (PTSD)
ซึ่งก่อนที่จะมีอาการรุนแรง คนที่มีอาการทางประสาทมักถอนตัวจากครอบครัว เพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมงาน สัญญาณเบื้องต้นดังกล่าว อาจรวมถึง
- หลีกเลี่ยงหน้าที่และการมีส่วนร่วมทางสังคม
- พฤติกรรมการกิน / นอนเปลี่ยนไป
- ไม่ค่อยดูแลตัวเองหรือรักษาสุขอนามัย
- ป่วยบ่อย เจ็บปวดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีปัญหาในการคิด สมาธิ ตัดสินใจ หรือทำงานให้เสร็จ
- ความรับผิดชอบลดลง ขาดงานหรือไม่มาทำงานเลย
- เก็บตัวอยู่คนเดียวเป็นระยะเวลานาน
- เหนื่อยล้า เฉื่อยชา ง่วงตลอดเวลา
- อาจมีอารมณ์แปรปรวนแบบสุดขั้ว
ต้นตอของอาการทางประสาทนั้นมาจากสาเหตุที่แตกต่างกันก็จริง แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ มีความเครียดเกิดขึ้นและเราประสบกับความล้มเหลวในการรับมือกับความเครียด สำหรับคนที่รับมือกับความเครียดได้ดีและมีวิธีในการจัดการจะประคองตัวเองไว้ได้ก่อนที่จะเข้าสู่วิกฤตสุขภาพจิต ตรงกันข้ามกับผู้ที่รับมือได้ไม่ดีอาจจะสติแตกแม้แต่กับสิ่งที่คนอื่นมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย
หลายคนสงสัยว่าอาการทางประสาทนั้นเกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้าหรือไม่ ?
ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดก็คืออาการทางประสาทนั้น เป็นจุดเริ่มต้นก่อนที่ทางการแพทย์จะบัญญัติแยกอาการต่าง ๆ ออกมาเป็นแต่ละโรค เหมือนกับการศึกษาอาการป่วยทางกายที่มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ โดย สำหรับ “โรคซึมเศร้า” (Major depressive disorder : MDD) ในทางการแพทย์นั้นหมายถึง ภาวะซึมและเศร้าที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้าทั่ว ๆ ไป ถือเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง เกิดจาก 2 สาเหตุหลักคือ 1) ปัจจัยทางชีวภาพหรือพันธุกรรม 2) ปัจจัยด้านจิตใจหรือสิ่งแวดล้อม เช่น สารสื่อประสาทในสมองหรือความผันผวนของระดับฮอร์โมน
อาการทางประสาทที่เกิดจากความวิตกกังวลหรืออาการซึมเศร้า
บ่อยครั้งเราพบว่าอาการทางประสาทจะเกิดขึ้นกับคนที่มีความเจ็บป่วยทางจิตแฝงอยู่ แต่อาจไม่ได้รับการวินิจฉัยและไม่ได้รับการรักษา โรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด แล้วถ้าอยู่ในขั้นรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการทางประสาทได้ ซึ่งโรควิตกกังวลที่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ ภาวะวิตกกังวลทั่วไป ภาวะวิตกกังวลทางสังคม และโรคตื่นตระหนก ลักษณะเด่นคืออาการกังวลมากเกินไปและความรู้สึกวิตกกังวลแทบจะตลอดเวลา จนอาจทำให้เกิดความทุกข์ ความผิดปกติ อาการทางร่างกาย และปัญหาในการคิดตามมา การไม่จัดการความวิตกกังวลและความเครียดมักนำไปสู่อาการทางประสาท
และในส่วนของอาการซึมเศร้าเป็นภาวะสุขภาพจิตที่พบเป็นอันดับต้น ๆ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะรู้สึกเหนื่อยล้า เศร้าและสิ้นหวังอยู่เสมอ โดยที่ไม่สามารถดึงความสนใจกลับมาเพื่อทำกิจกรรมตามปกติได้ เช่นเดียวกับโรควิตกกังวล ภาวะเช่นนี้ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันหรือจดจ่อกับการทำงานได้ลำบาก เมื่อไม่ได้รับการรักษา การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเยียวยาตัวเองหรือการรับมือกับอารมณ์ก็เป็นไปได้ยาก และความเครียดที่เพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่อาการทางประสาทได้ง่าย
เป็นซึมเศร้าก็หายได้ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
เมื่อเกิดจากภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลจึงจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเพื่อจัดการกับภาวะที่เป็นต้นเหตุ การรักษาอย่างต่อเนื่องและการดูแลตนเองจะช่วยให้บุคคลที่วิตกกังวลหรือซึมเศร้าฟื้นตัวเร็วขึ้นจากอาการทางประสาท และยังให้ปรับวิธีคิดให้สอดคล้องกับการเผชิญปัญหาเพื่อช่วยป้องกันในอนาคตได้อีกด้วย
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยป้องกันอาการทางประสาทได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของการเกิดได้ด้วย
เนื่องจากอาการทางประสาทอาจเกิดขึ้นได้จากระดับความเครียดที่แตกต่างกัน ทั้งภาวะสุขภาพจิตและความผิดปกติที่เกิดขึ้นร่วมกัน และความผิดปกติจากการใช้สารเสพติด แอลกอฮอล์ การวินิจฉัยและการประเมินที่ครอบคลุมจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถือเป็นเรื่องจำเป็นในการจัดเตรียมแผนการรักษาเฉพาะบุคคล รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยป้องกันอาการทางประสาทได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของการเกิดได้ด้วย เริ่มจากการคำนึงถึง 4 ข้อดังต่อไปนี้
- การบำบัด การทำงานร่วมกับนักบำบัดโรคอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยให้ผู้ป่วยจัดการและลดความเครียด เรียนรู้กลไกการเผชิญปัญหาที่ดีต่อสุขภาพ ดำเนินการตามขั้นตอนสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่จำเป็น การบำบัดแบบกลุ่มอาจช่วยให้ผู้ป่วยแบ่งปันและทำความเข้าใจว่าคนอื่น ๆ ที่เผชิญปัญหาใกล้เคียงกันฟื้นตัวอย่างไร
- ยา หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิต เช่น โรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวล การรักษาด้วยยาเพื่อช่วยรักษาอาการต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องจำเป็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและความร่วมมือของผู้เข้ารับการรักษาด้วย
- เปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ วิธีนี้คือการพิจารณาลึกลงไปถึงต้นตอของความเครียดในชีวิตที่อาจมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นอาการเจ็บป่วยทางใจ บางครั้งอาจหมายถึงการปรับตัว การหางานใหม่ การยุติความสัมพันธ์ หรือการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่
- ครอบครัวบำบัดและการศึกษา ไม่ใช่แค่การดูแลตัวเองแต่การบำบัดอาจเกี่ยวข้องกับครอบครัวและคนรอบตัวด้วย เป็นวิธีที่ดีในการให้ความรู้กับคนที่สำคัญที่สุดทางความรู้สึก เพื่อให้พวกเขาเข้าใจอาการเจ็บป่วยทางใจที่เกิดขึ้นและเรียนรู้วิธีที่พวกเขาจะสามารถช่วยเหลือคุณได้ดีที่สุด
การพบแพทย์เพราะปัญหาทางใจไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะรับมือกับความเครียดในชีวิตบางเรื่องไม่ได้ แต่ถ้าไม่ได้จัดการกับความเครียดอย่างถูกวิธีก็อาจกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน หากเรารู้สึกว่าอารมณ์ความรู้สึกเปลี่ยนไป สังเกตเห็นอาการที่ได้กล่าวไปข้างต้น นอกจากแพทย์จะช่วยรักษาอาการทางร่างกายได้ ยังสามารถแนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ได้อีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเหล่านี้จะช่วยรักษาอาการทางอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรมโดยรวมได้
แล้วในปัจจุบันการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตก็ไม่ใช่เรื่องยาก มีบริการให้คำปรึกษาทางออนไลน์มากมาย สามารถนัดหมายได้ตามวันและเวลาที่สะดวกโดยไม่ต้องเดินทางอย่าง “อูก้าแอปพลิเคชันคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านวีดีโอคอล” #อูก้ามีทางออก #ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์
- มีผู้เชี่ยวชาญที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี
- ปรึกษาได้ทุกปัญหาส่วนตัวและอาการของความเครียด
- สะดวก ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวสูง
- มีแบบทดสอบความเครียดเพื่อการประเมินที่เชื่อถือได้
- แพ็กเกจบริการหลากหลายที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าองค์กร
- มีการประเมินผลความเครียดเป็นตัวเลขเพื่อให้เห็นผลได้ชัดเจน
- มีระบบรายงานความเครียดและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเฉพาะรายบุคคล
นอกจากนี้เรายังสามารถดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอได้ด้วยการ
- ใช้เทคนิคการผ่อนคลายและควบคุมสติ การบำบัดทางเลือกและการรักษาแบบองค์รวมอาจใช้เพื่อรักษาอาการทางประสาท แต่ทั่วไปเราสามารถทำสมาธิ โยคะ การออกกำลังกาย ฯลฯ
- ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อย่างการเดินไปรอบ ๆ เป็นเวลา 30 นาที
- เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การกำหนดลมหายใจเข้าออก ฝึกคลายความโกรธ
- ใส่ใจการนอนหลับให้เป็นปกติ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงทุกคืน
- หลีกเลี่ยงยาเสพติด แอลกอฮอล์ คาเฟอีน และสารอื่นๆ ที่สร้างความเครียดให้กับร่างกาย
- ไปพบแพทย์หรือเข้าร่วมการให้คำปรึกษาเพื่อจัดการกับความเครียด
- อย่าลืมพักผ่อน ลดระดับความเครียดของคุณด้วยการเว้นจังหวะชีวิตบ้าง อย่างการพักช่วงสั้นๆ จัดระเบียบสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยและกิจกรรมประจำวันของคุณให้ดีขึ้น
มีคนจำนวนไม่น้อยที่ประสบกับช่วงเวลาของความเครียด ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ไปจนถึงรู้สึกสิ้นหวังในบางครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจ หรืออย่างช่วงนี้ที่เราเผชิญกับการแพร่ระบาดที่ร้ายแรง หากปล่อยให้จุดเริ่มต้นของความเจ็บป่วยนี้ลุกลาม เราอาจเข้าสู่อาการดังกล่าวและเข้าสู่ภาวะเจ็บป่วยทางใจ แต่ไม่ต้องกลัวหากมันเกิดขึ้น เพราะเราสามารถรักษาสภาพจิตใจของเราให้กลับมาแข็งแรงได้ ด้วยการเข้ารับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ การรับคำปรึกษา และการรักษาอื่น ๆ เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติเหมือนเดิม
อย่าให้สุขภาพจิตรบกวนใจ ไม่ว่าอาการทางใจจะเล็กหรือใหญ่ก็ใช้บริการดูแลใจกับอูก้าได้ เรายินดีอยู่เคียงข้างและเป็นเพื่อนที่คอยรับฟังเสมอ เพราะการมอบความสุขให้ตัวเองนั้นเป็นเรื่องสำคัญ อูก้าสนับสนุนให้ทุกคนมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงพร้อมเดินต่อไปด้วยกันนะ
________________________________⠀⠀⠀⠀⠀
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/U781⠀
#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์
อ้างอิงจาก
https://www.manarom.com/blog/depression_disorder.html
https://www.medicalnewstoday.com/articles/321018#when-to-see-a-doctor
https://www.healthline.com/health/mental-health/nervous-breakdown#symptoms
https://www.bridgestorecovery.com/nervous-breakdown/types-nervous-breakdowns/
Recent Comments