ขาดเขาไม่ได้ อยู่คนเดียวไม่เป็น: จิตวิทยาว่าด้วยเรื่องไม่อยากเป็นโสด

“ขาดเขาไม่ได้ อยู่คนเดียวไม่เป็น” 

เพื่อน ๆ เคยรู้สึกแบบนี้เหมือนกันไหม รู้สึกว่าตัวเองเหงา โดดเดี่ยว และเศร้าใจ อยากให้ใครสักคนมาเติมความหวานในใจตลอดเวลา แต่บางครั้งการหาแฟนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และไม่อาจเกิดขึ้นได้ในเวลาอันสั้น

บางครั้งเราก็ก้มหน้าก้มตา “ปัดซ้าย ปัดขวา”  อย่างไม่ลดละ แม้ความสัมพันธ์เก่าจะจบลงไม่นาน แต่เพราะไม่อยากปล่อยให้ตัวเองเป็นโสดนาน ๆ จึงอยากเริ่มความสัมพันธ์ใหม่กับใครสักคนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

ทว่า ความว้าวุ่นในหัวใจที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้มันอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของเพื่อน ๆ หลายคนก็เป็นได้ แล้วสาเหตุเหล่านี้เกิดจากอะไรกันแน่นะ? 

อาจารย์เลิศจรรยา เสมขำ นักจิตวิทยาจากอูก้าบอกถึงสาเหตุทางจิตวิทยาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ถ้าเป็นสาเหตุเชิงชีววิทยา อาจเกิดจากฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ในร่างกายของเราที่หลั่งเมื่อเวลาเรากอด สัมผัสคนรักของเราอย่างอบอุ่น เมื่อต้องเลิกลากันไป ระดับฮอร์โมนที่เคยสูงมาก เมื่อไม่คนมาคอยเพิ่ม Oxytocin ให้กับเราในระดับที่เคยเป็น เลยรู้สึกว่าต้องหาใครสักคนทดแทน จนเสพติดความรักหรือเสพติดความสัมพันธ์ขึ้นมาเลยก็ได้  เพราะสาร oxytocin ที่ถูกหลั่งมาเยอะมากจนเกินไปนั่นเอง

แต่ถ้าหากเป็นในเชิงจิตวิทยาจากทฤษฎี Maslow ว่าด้วยเรื่องลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ อันประกอบไปด้วย 3 สิ่งหลัก ๆ คือ

1.Physical needs เช่น อากาศ น้ำ และเครื่องนุ่งห่ม

2.Safety needs เช่น ความมั่นคงทางการเงิน การงาน และสุขภาพ

3.Love and belonging ความรัก ครอบครัว และความสัมพันธ์ต่าง ๆ

หากใครที่พื้นฐานตามทฤษฎี Maslow ไม่มั่นคง ก็อาจจะรู้สึกโหยหาสิ่งที่รู้สึกขาด เช่น ความรักอย่างที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่ ซึ่งอาจจะเกิดจากประสบการณ์ในอดีต เช่น ในวัยเด็กรู้สึกขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัว จึงส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองที่ทำให้เรารู้สึกว่าไม่อยากเป็นโสด และอยากจะมีคนรักมาเติมเต็มพื้นที่ในหัวใจตลอดเวลา นอกจากนี้ อาจารย์เลิศจรรยายังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า

“มนุษย์เกิดมาต้องการการยอมรับ แฟนหรือคนรักเป็นเหมือนคนที่ ‘ยอมรับเราได้ในทุก ๆ มิติ หรือหลายมิติ’ ตอนมีแฟน หลายคนเคยรู้สึกว่าเป็นที่ยอมรับโดยคนหนึ่ง ๆ พอเลิกกันไปเลยรู้สึกว่าไม่มีใครยอมรับเราแล้ว แต่ในความจริงอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย” 

ทั้งนี้อาจารย์ยังแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นว่า “วิธีนี้อาจจะดูธรรมดามาก แต่ได้ผลจริง ๆ คือ การหางานอดิเรกอื่น ๆ มาทำทดแทน เพราะจะช่วยทำให้เราไม่คิดถึงคนรักเก่า และเรื่องความรักในช่วงเวลาหนึ่ง หรือลองหาคนที่เราสนิท คนในครอบครัว ลองพูดคุยกับพวกเขา อาจจะช่วยให้เรารู้สึกว่าไม่ได้โดดเดี่ยว และยังมีคนที่รักเราอยู่อีกมากมาย”

แน่นอนว่า ท้ายที่สุดแล้วพวกเราต่างก็โหยหาการถูกรัก เพราะการมีใครสักคนที่คอยเข้าอกเข้าใจ รับฟังเรื่องราวใด ๆ ในชีวิต และรักเราอย่างจริงใจก็คงจะดีไม่ใช่น้อย แต่การเป็นโสดก็ไม่ได้หมายว่าเราด้อยค่ากว่าคนมีคู่เลย บางคนอาจติดอยู่ในความเชื่อที่ว่า “ถ้าใครเป็นโสด แสดงว่าต้องมีอะไรผิดปกิ ถึงไม่มีใครอยากอยู่ด้วย” ซึ่งไม่จริงเลย อูก้าเชื่อว่าทุกคนมีคุณค่า และมี “ความน่ารัก” ในแบบของตนเอง ลองเป็นโสดอยู่สักเดือน สองเดือน หรือจะเป็นปี ก็ไม่เสียหายอะไร ได้มีอิสระทำอะไรตามใจชอบก็น่าจะดีเหมือนกันนะ

และอย่าลืมว่า ถ้าเพื่อน ๆ รู้สึกว่า “ความโสด” ในครั้งนี้ทำให้รู้สึกเหงา อยากมีใครสักคนที่รับฟังเพื่อน ๆ อย่างเข้าใจ ทีมนักจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจาก ooca พร้อม support เพื่อน ๆ ทุกคน โดยไม่ตัดสินว่า “ปัญหาความรัก” เป็นเรื่องน่าอาย เพราะฉะนั้นสบายใจได้เลยนะ อูก้ายังอยู่ตรงนี้เสมอ คอยเป็นกำลังใจให้เพื่อน ๆ ได้เอนจอยชีวิตโสดอย่างเฉิดฉาย และสนุกไปกับมันได้อย่างเต็มที่

อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak  #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

อ้างอิง

https://www.thoughtsonlifeandlove.com/why-cant-i-stay-single/8923/

Read More

“สู้ชีวิต อย่าให้ชีวิตสู้กลับ” มาสร้างกำลังใจให้ตัวเอง ยิ้มรับแรงกระแทกจากคลื่นลูกสุดท้ายของปีกันเถอะ

“กำลังใจที่สำคัญที่สุด คือกำลังใจที่มาจากตัวเราเอง” เรียนรู้วิธีสร้างกำลังใจให้ตัวเองเพื่อช่วยฟื้นฟูจิตใจได้อย่างยั่่งยืน เสริมความแข็งแกร่งเตรียมพร้อมรับทุกอุปสรรคในชีวิต แม้กระทั่งวิกฤติสิ้นปี เราก็จะพิชิตมันไปได้

โดยปกติแล้ว “กำลังใจ” เป็นสิ่งที่เรามักจะได้รับมาจากคนอื่น หรือมอบให้คนอื่น โดยกำลังใจเกิดจากความเห็นอกเห็นใจ เพื่อแสดงให้เห็นว่าอีกฝ่ายไม่ได้เผชิญความยากลำบากอยู่คนเดียว 

แล้วถ้าเราอยากจะให้กำลังใจตัวเองล่ะจะต้องทำอย่างไร? มันจะต่างจากการเห็นใจคนอื่นรึเปล่า? โดยเฉพาะเมื่อเราเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี ที่กว่าจะฝ่าฟันมาจนถึงตอนนี้ ทำเอาบอบช้ำทั้งกายและใจไปไม่น้อย ยิ่งใกล้จะหมดปีก็ยิ่งท้อ มีทั้งความเครียดสะสมและความเหนื่อยล้าจากการไม่ได้หยุดพัก ใกล้หมดแรงเต็มทีแล้วยังต้องมารับมือกับสามเดือนที่เหลืออีก 

ในช่วงเวลานี้หลาย ๆ คนมักจะหมดไฟในการทำงานได้ง่าย ๆ เพราะมัวแต่จดจ่อกับแพลนฉลองสิ้นปีที่เตรียมเอาไว้ เกิดความรู้สึกที่อยากจะข้ามผ่านช่วงเวลานี้ไปเร็วๆ อยากให้ถึงสิ้นปีไว ๆ จะได้พักเสียที ความรู้สึกเหล่านี้จะทำให้หมดกำลังใจในการทำงาน และไม่มีความสุขในการทำงาน 

หากตกอยู่ในสภาวะนี้ไม่ควรปล่อยไว้ให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต การให้กำลังใจตัวเองจึงเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยให้เราผ่านพ้นปีนี้ไปด้วยรอยยิ้ม แต่ถ้าถามว่า ทำไมเราต้องให้กำลังใจตัวเองด้วย? ในเมื่อเรามักจะได้รับกำลังใจมากจากคนอื่นอยู่แล้ว

คำตอบก็คือ กำลังใจจากคนอื่นเป็นสิ่งได้รับมาจากภายนอก นำไปใช้แล้วก็หมดไป หากต้องการอีกก็ต้องรอจากคนอื่น ต่างจากกำลังใจที่สร้างมาด้วยตัวเอง จะอยู่กับตัวเราได้ยาวนาน มีความมั่นคง และเป็นเสมือนเกราะป้องกันจิตใจเราให้แข็งแกร่ง ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คล้าย ๆ กับ “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ในทางพุทธศาสนานั่นเอง

กลไกการทำงานของกำลังใจเมื่อเราได้รับมา จะมีการปลอบประโลม เยียวยา ฟื้นฟูสภาพจิตใจให้ดีขึ้นพร้อมดำเนินชีวิตต่อไป การให้กำลังใจตัวเองเป็นการทำอะไรก็ตามที่เมื่อทำแล้วเรามีความสุข ดังนั้นวิธีการให้กำลังใจตัวเองของแต่ละคนจึงมีความแตกต่างกันไป

บางคนเลือกใช้วิธีเบสิกอย่าง “การพูดให้กำลังใจตัวเอง” อาจจะพูดกับตัวเองตอนส่องกระจก พูดกับตัวเองลงโซเชียลมีเดีย หรือเขียนลงในไดอารี่ ผ่านช่องทางไหนก็ได้ให้สารถูกส่งถึงตัวเอง โดยคำพูดนั้นเลือกเป็นคำพูดที่เราอยากได้ยิน 

อาจจะเป็นคำชมเชยทั่วไปที่สร้างพลังบวก เราสามารถชื่นชมตนเองและผู้อื่นได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยอย่างการเข้าทำงาน-เลิกงานตรงเวลา ทำยอดขายได้ดี เคลียร์งานเสร็จ ไปจนถึงจบงานได้อย่างราบรื่น 

หากไม่มีผลงานเกี่ยวกับทำงานเลย ก็ให้ชมเรื่องการแต่งตัวไปทำงาน เช่น “วันนี้แต่งตัวสวยจัง” สร้างบรรยากาศให้น่าไปทำงาน อย่าคิดว่าเป็นการพูดไปเรื่อยเปื่อย เพราะการที่เราชมตัวเอง หมายถึงเรามีความคิดดี ๆ เกี่ยวกับตัวเอง การใช้ชีวิตด้วยแนวคิดด้านบวกส่งผลดีต่อสุขภาพจิต 

นักจิตวิทยาของ OOCA กล่าวว่า “การชมเชยตัวเองเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนควรฝึกฝน ดัชนีวัดความสุขของคนเราเกิดจากความพึงพอใจ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเราได้รับคำชมเชย” และแน่นอนว่าคำชมเชยนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง

อีกหนึ่งวิธีที่นิยมใช้เพื่อให้กำลังใจคือ “การให้รางวัล” แต่ต้องไม่ให้รางวัลพร่ำเพรื่อเพราะจะทำให้รางวัลไม่พิเศษ ที่สำคัญรางวัลต้องเป็นสิ่งที่สามารถได้รับในทันที ไม่รอนานจนเกินไปเพราะสมาธิอาจจะไปจดจ่อกับการรอรางวัล ดังนั้นรางวัลที่ให้ก็อาจจะเป็นอะไรง่าย ๆ อย่าง การไปทานของอร่อย การชอปปิ้ง การไปดูหนัง หรือทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่สร้างความสุขให้ตัวเอง

สุดท้าย เราไม่สามารถให้กำลังใจตัวเองได้ตลอดไป  “การอยู่ในสังคมที่ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน” จึงเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะสังคมแบบนี้จะสร้างพลังงานบวกให้กับผู้คน การให้กำลังใจตัวเองโดยการพาตัวเองไปอยู่ในที่ดี ๆ จะสามารถรับพลังงานบวกนั้นมาจัดการพลังงานลบที่มาจากการทำงานได้ 

หากสังคมที่คุณอยู่ไม่มีอะไรแบบนี้ ก็สร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเองโดยการเป็นฝ่ายเริ่มให้กำลังใจผู้อื่นก่อน ตามหลักการ “Give and Take” เราส่งกำลังใจไปเราก็จะได้รับมันกลับมา เพียงเท่านี้ก็จะได้บรรยากาศที่เต็มไปด้วยการให้กำลังใจกัน ความคิดที่จะให้กำลังใจตัวเองก็เกิดขึ้นตามไปด้วย

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีการให้กำลังใจตัวเองเท่านั้น ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถทำได้ ขอเพียงแค่เป็นสิ่งที่ “ทำโดยตัวเองเพื่อตัวเอง และที่สำคัญต้องสร้างความสุขให้ตัวเอง” เท่านี้ก็จะมีกำลังใจไว้ใช้หล่อเลี้ยงจิตใจยามท้อแท้แล้ว

ดังที่กวีชาวกรีกคนหนึ่งเคยกล่าวเอาไว้ว่า

“The best of healers is good cheer” 

“ผู้เยียวยารักษาที่ดีที่สุดคือกำลังใจดี ๆ ” 

มาร่วมสร้างกำลังใจให้ทั้งตัวเองและคนรอบข้าง จับมือกันข้ามผ่านปีที่ทรหดนี้ไปด้วยกัน 🙂

อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak  #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More

รู้หรือไม่ ประเทศไทยมี 6 จังหวัดที่ไม่มีนักจิตวิทยาเลยสักคน

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่อาจจะยังตอบง่าย ๆ ไม่ได้ในทันที แต่ข้อมูลเหล่านี้ และข่าวเศร้ามากมายที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมานี้ คงจะเป็นธงแดงที่เตือนให้ “เรา” ควรจะหันมา “เตรียมรับมือ” กับวิกฤติสุขภาพจิตที่กำลังฟักตัวในประชากรทุกช่วงอายุ …. และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิกฤตินี้ไม่สามารถแก้ได้ในชั่วพริบตา 

.

ปี 2565 รายงานจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าประเทศไทยมีจิตแพทย์รวม 845 คน ซึ่งถือว่าเรามีจิตแพทย์ 1.28 คน ต่อประชากรจำนวนหนึ่งแสนคน [1] ซึ่งถ้าเทียบกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่มีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อประชากรมากที่สุดในโลก จะพบว่าสวิตเซอร์แลนด์มีจิตแพทย์อยู่ที่ที่ 47.17 คนต่อแสนประชากร

.

,

ในขณะที่ถ้าเทียบกับประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นลำดับต้น ๆ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ญี่ปุ่นมีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อแสนประชากรอยู่ที่ 12.55 และเทียบกับเกาหลีใต้มีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อแสนประชากรอยู่ที่ 7.91 ซึ่งถือว่ามากกว่าไทยหลายเท่า และในส่วนของนักจิตวิทยา ประเทศไทยมีมีนักจิตวิทยาเพียง 1,037 คนต่อคนทั้งประเทศ คิดเป็น 1.57 คนต่อแสนประชากรด้วยกัน

.

.

หากไม่นับสาเหตุเรื่องระยะเวลาในการเรียนจบด้านจิตแพทย์ (ที่สามารถจ่ายยาได้) ต้องใช้เวลานานกว่าจะจบหลักสูตร แล้วนั้น (9-10 ปี) แม้เราจะโชคดีที่ประเทศไทยยังมีวิชาชีพร่วมทั้ง นักจิตวิทยาคลินิก พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาให้คำปรึกษา แต่อย่างไรก็ตามการกระจายบุคลากรด้านสุขภาพจิตไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ยังต้องคำนวณจากหลายปัจจัยด้วยกัน 

.

.

ความท้าทายในการกระจายการให้บริการ สะท้อนผ่านข้อมูลที่ว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา ยโสธร กลายเป็นจังหวัดที่ไม่มีจิตแพทย์เลยสักคน (เพิ่งมีเพิ่ม 2 คนในปีที่ผ่านมา) ส่วนนักจิตวิทยา ยังมีอีก 6 จังหวัดที่ไม่มีนักจิตวิทยาเลยสักคน (ได้แก่ตราด แพร่ สมุทรสงคราม สิงห์บุรี หนองบัวลำภู และอ่างทอง)

.

.

ยิ่งเมื่อเจอกับวิกฤติโรคระบาด เศรษฐกิจ อัตราความเสี่ยงฆ่าตัวตาย และความต้องการที่จะเข้ารับการรักษาก็มีสูงขึ้นทั่วโลก ในขณะที่การผลิตบุคลากรในด้านนี้ต้องใช้เวลาเตรียมล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 5 ปี – คำถามคือ แล้วโลกปรับตัวเพื่อหาทางบรรเทาทุกข์นี้อย่างไร ?

.

.

เนื่องใน #วันสุขภาพจิตโลก #WorldMentalHealthDay2022 อูก้าจึงได้รวบรวมแนวคิดที่น่าสนใจจากทั่วโลก เช่นว่า แพทย์ในกรุบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยมจ่ายยาด้วยการให้ผู้ใช้บริการไปเข้าพิพิธภัณฑ์ในเมือง [2] / นักวิจัยทั่วโลกได้สร้างความร่วมมือกันสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมที่ครอบคลุมความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากขึ้น [3] / การใช้ปัญญาประดิษฐ์คัดกรองเนื้อหาหรือคำศัพท์ที่นำไปสู่การกระตุ้นให้คนทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย [4] / การใช้แพทย์ทางไกล (Telehealth) มาช่วยให้บริการผู้ป่วยนอกในช่วงโรคระบาดโควิด [5] และอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นการเฝ้าระวังหรือป้องกันก่อนจะสาย เช่น การปรับวัฒนธรรมองค์กรให้ยืดหยุ่นและเป็นมิตรต่อผู้ที่กำลังรักษาอาการทางจิตเวชให้มากขึ้น

.

.

นอกจากนี้เทรนด์การใช้แอพลิเคชันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกัน / ประเมิน / เรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือรับบริการสุขภาพจิต ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก โดยในปัจจุบันนี้ ใน App Store และ Play Store มีแอพลิเคชันด้านสุขภาพจิตมากกว่า 10,000+ แอพลิเคชันด้วยกัน ส่งผลให้องค์กรอย่าง Onemind, Health Navigator และ World Economic Forums เริ่มที่จะพัฒนาการคัดกรองมาตรฐานและให้ “การรับรอง” ในแง่จริยธรรมในการให้บริการ, ผ่านการทดสอบทางคลินิก, ความปลอดภัย และความมีประสิทธิภาพ [6]

.

.

อย่างไรก็ตาม คำถามที่ว่านวัตกรรมต่อไปนี้ได้เกิดขึ้น (มาสักระยะแล้ว) แต่จะ “ใช้ได้จริง” เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการให้บริการได้อย่างไร ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ทั้งสังคมต้องบูรณาการร่วมกันนอกเหนือไปจากส่วนของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เช่น

.

–  เราจะสั่งยาให้คนไข้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไรหากจังหวัดนั้น ๆ ไม่มีพื้นที่สาธารณะ หรือไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่สร้างแรงบันดาลใจ? 

.

– ปัญญาประดิษฐ์ที่อ่านข้อความภาษาไทยถูกส่งเสริมและถูกนำไปใช้ประโยชน์มากแค่ไหน? 

.

– ผู้มีรายได้น้อยจะเข้าถึงบริการสุขภาพจิตผ่านสวัสดิการต่าง ๆ ได้อย่างไร ? เราจะป้องกันให้ประชากรเกิดความเสี่ยงทางสุขภาพจิตน้อยลงตั้งแต่ตอนอายุน้อยได้ไหม เพราะในปีที่ผ่านมานี้ ข้อมูลจากยูนิเซฟระบุว่า เด็กไทยอายุ 5-9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน และ วัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี ประมาณ 1 ใน 7 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ [7] ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

.

– ฯลฯ

.

.

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่อาจจะยังตอบง่าย ๆ ไม่ได้ในทันที แต่ข้อมูลเหล่านี้ และข่าวเศร้ามากมายที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมานี้ คงจะเป็นธงแดงที่เตือนให้ “เรา” ควรจะหันมา “เตรียมรับมือ” กับวิกฤติสุขภาพจิตที่กำลังฟักตัวในประชากรทุกช่วงอายุ …. และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิกฤตินี้ไม่สามารถแก้ได้ในชั่วพริบตา 

.

.

การฝ่าปัญหานี้ จะต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และอูก้าเชื่อว่า เราทุกคนสามารถเป็นส่วนร่วมในการให้ความรู้ที่ถูกต้อง การสร้างความตระหนัก และการส่งเสียงให้เกิดการจัดสวัสดิการด้านสุขภาพจิตให้กับผู้ที่ต้องการ

.

.

สุขสันต์วัน #วันสุขภาพจิตโลก #WorldMentalHealthDay2022 โดยอูก้าขอเชิญชวนมาคุยกันกับ ‘อิ๊ก’ กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ ผู้ก่อตั้ง Ooca แพลตฟอร์มให้บริการด้านสุขภาพจิต ในหัวข้อ “ถอดรหัสอนาคตสุขภาพจิตคนไทย” โดยเล่าจากประสบการณ์บริหารแพลตฟอร์มอูก้ามาตั้งแต่ปี 2017 จนมาถึงปัจจุบันที่อูก้าได้ให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน ดูแลผู้ใช้บริการหลายหมื่นคน รวมถึงได้ขยายผลไปยังการให้บริการทางสังคมผ่านโครงการ Wall of Sharing ที่ช่วยดูแลสุขภาพใจให้กับนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในยามวิกฤติ ผ่านทาง Twitter Space ในวันที่ 10 ตุลาคม 2022 เวลา 20.00 เป็นต้นไป

.

-ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะได้หาแนวทางในการรักษาเยียวยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy .

– สนใจปรึกษานักจิตวิทยา ดาวน์โหลดได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

.

.

#OOCAitsOK #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

——- 

[1] https://data.go.th/dataset/specialist และข้อมูลรวบรวมโดย Rocketmedialab

[2] https://www.weforum.org/videos/doctors-in-brussels-prescribe-free-museum-visits-to-boost-mental-health

[3] https://www.weforum.org/agenda/2022/09/diverse-genetic-data-tools-factors-causing-mental-illness/

[4] https://www.scientificamerican.com/article/mining-social-media-reveals-mental-health-trends-and-helps-prevent-self-harm/

[5] https://news.ohsu.edu/2022/04/04/pandemic-drives-use-of-telehealth-for-mental-health-care

[6] https://www.scientificamerican.com/article/how-consumers-and-health-care-providers-can-judge-the-quality-of-digital-mental-health-tools/

[7] https://www.unicef.org/thailand/th/press-releases/ยูนิเซฟและกรมสุขภาพจิตชี้สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยน่าเป็นห่วง

Read More

ให้นักจิตวิทยาฮีลใจ ในวันที่ต้องมูฟออนต่อไปโดยไม่มีเขา

ผลวิจัยจากอาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเมื่อปี 2021 ระบุว่าประชากรกว่า 80% เคย “อกหัก” มาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต! เพราะอาการอกหักเป็นเรื่องปกติที่มักตามมาหลังพบเจอรักที่ไม่สมหวังแบบนี้ 

คนเราเลยอาจคิดว่า “แค่อกหักไม่จำเป็นต้องถึงมือนักจิตวิทยาหรอก” หรือ “อกหักเดี๋ยวก็หายเองได้” จริงอยู่ที่ในหลายๆ ครั้ง ความเศร้าหลังอกหักจะลดน้อยลงไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังมีเพื่อนๆ อีกหลายคนที่ไม่สามารถ “มูฟออน” หรือก้าวออกมาจากความสัมพันธ์ครั้งก่อนได้ด้วยตัวเองจนกลายเป็นปัญหาสะสมในระยะยาว เพราะฉะนั้นแล้ว เพื่อนๆ ที่กำลังรู้สึกอกหักอยู่ หากนานไปแล้วยังไม่รู้สึกดีขึ้น อูก้าไม่อยากให้นิ่งนอนใจนะ!

สภาวะ “อกหัก” คืออะไรกันแน่

เวลาคนเราสูญเสียคนที่เรารัก ก็ย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดความรู้สึกเศร้าตามมา ความรู้สึกเศร้าหลังอกหักนั้นเกิดจากการที่สมองสั่งไม่ให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขที่เราอาจคุ้นๆ ชื่อกันดีออกมา ไม่ว่าจะเป็น เซโรโทนิน โดพามีน หรือเอ็นโดรฟิน ในทางกลับกันยังผลิตสารแห่งความเครียดอย่าง “คอร์ติซอล” ออกมาแทนที่เป็นจำนวนมาก สารแห่งความเครียดนี้นอกจากจะทำให้รู้สึกเศร้าแล้ว ยังก่อให้เกิดความผันผวนทางอารมณ์ตามมาอีกหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความสับสน ความกังวลใจ หรือกระทั่งความต้องการกลับไปคืนดีกับคนรักที่เลิกกันมา ทั้งหมดนี้คืออารมณ์ที่คนที่ตกอยู่ในสภาวะอกหักมักพบเจอ เราจึงอาจรู้สึกว่าตัวเองเอาแต่วนเวียนอยู่กับอารมณ์เหล่านี้จนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน และไม่สามารถเอาตัวเองออกมาจากความเศร้าได้

นักจิตวิทยาสามารถช่วยเราจากสภาวะอกหักได้อย่างไรบ้าง

เมื่อสังเกตตัวเองได้ว่ารู้สึกอกหักแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น การได้พูดคุยเพื่อระบายความรู้สึกที่อัดอั้นออกมาให้ผู้อื่นฟังจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะการเก็บความทุกข์ไว้กับตัวเองนั้นอาจส่งผลให้เพื่อนๆ คิดมากและเกิดผลเสียกับสุขภาพจิตมากกว่าเดิม นอกจากการเล่าเรื่องราวให้เพื่อนและครอบครัวฟังแล้ว การอธิบายความรู้สึกไม่ดีในใจให้นักจิตวิทยาฟังก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี อูก้าอยากให้เพื่อน ๆ มองนักจิตวิทยาเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ปลอดภัยที่พร้อมจะร่วมทำความเข้าใจกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นหลังเกิดสภาวะอกหักไปด้วยกัน อีกทั้งยังสามารถเสนอวิธีรับมือกับความรู้สึกเศร้าดังกล่าวได้อย่างเชี่ยวชาญ รวมไปถึงคอยไกด์แนวทางการมูฟออนจากสภาวะอกหักได้อีกด้วย คุณกอบุญ เกล้าตะกาญจน์ นักจิตวิทยาการปรึกษาจากแอปฯ อูก้า กล่าวว่า เมื่อเพื่อนๆ ตัดสินใจมาพูดคุยกับนักจิตวิทยา นักจิตวิทยาจะช่วยเพื่อนๆ สำรวจตัวเองและปัญหาผ่าน 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

1. ความเข้าใจกับสภาพจิตใจของตัวเอง – ในเบื้องต้นนักจิตวิทยาจะช่วยซักถามให้เพื่อนๆ ได้สำรวจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง เพื่อดูว่าเรารู้สึกเศร้าจากสภาวะอกหักมากน้อยแค่ไหน และตอบสนองต่อความเศร้านั้นอย่างไรบ้าง
2. ทำความเข้าใจกับสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา – ต่อมานักจิตวิทยาจะชวนมองย้อนไปยังปัญหาและสาเหตุของปัญหา ซึ่งจะช่วยให้เพื่อนๆ ยอมรับสภาพของปัญหา และนำไปสู่การรับมือกับสภาวะอกหักได้ดีขึ้น
3. ทบทวนสถานการณ์ความรักและหาทางออก – ในตอนท้าย นักจิตวิทยาจะช่วยประเมินและพิจารณาทางเลือกที่เกิดขึ้นเมื่อความสัมพันธ์จบลง ว่าเหมาะสมกับสิ่งที่เพื่อนๆ ต้องการหรือไม่ และส่งผลดีต่อสภาพจิตใจของเพื่อนๆ หรือไม่ เพื่อสร้างกำลังใจให้สามารถมูฟออนต่อไปได้

ทั้งนี้ คุณกอบุญยังได้เน้นย้ำว่า การให้คำปรึกษาจะเป็นแบบ Client-centered หรือให้ความสำคัญกับผู้ที่มาปรึกษาเป็นหลัก ตามนโยบายของอูก้า กล่าวง่ายๆ คือ บทบาทของนักจิตวิทยาจะเป็นเหมือน “เพื่อนคู่คิด” ที่คอยชวนเพื่อนๆ ทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยกันประเมินทางเลือกที่ดีที่สุด โดยคำนึกถึงความสบายใจ ความสามารถ และความต้องการของเพื่อนๆ เป็นหลัก

สุดท้ายนี้ คุณกอบุญยังได้กล่าวให้กำลังใจเพื่อนๆ ที่กำลังอกหักว่า การหาคนพูดคุยด้วยเกี่ยวกับสภาวะอกหักไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย เนื่องจากคนเราต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ เป็นปกติอยู่แล้ว สภาวะอกหักก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่นักจิตวิทยาพร้อมรับฟังและเสนอแนวทางที่จะช่วยให้เพื่อนๆ มูฟออนต่อไปได้ และที่สำคัญ นักจิตวิทยาจะทำงานโดยยึดจรรยาบรรณและความเป็นส่วนตัวของเพื่อนๆ เป็นหลัก เพราะฉะนั้น อูก้าจึงอยากให้เพื่อนๆ รู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่จะเข้ามาพูดคุยกับนักจิตวิทยานะ

เพราะการได้ระบายความรู้สึกด้านลบในใจออกมาให้ใครสักคนฟัง นอกจากจะช่วยรับฟังเรื่องความสัมพันธ์ครั้งก่อนได้แล้ว ยังสามารถช่วยต่อยอดโครงสร้างความคิดที่เหมาะสมต่อการสร้างความสัมพันธ์ครั้งใหม่ของเพื่อนๆ ได้ด้วย อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak  #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

อ้างอิง

[1] https://www.psychologytoday.com/intl/blog/finding-new-home/202105/the-most-common-causes-heartbreak

[2] https://mywellbeing.com/therapy-101/breakup

[3] https://www.alljitblog.com/?p=1449

Read More