5 วิธี ปลอบหัวใจยังไง เมื่อฉันทั้ง “นอยด์ง่ายและเฟลเก่ง”

อะไรนิดอะไรหน่อยเราก็เฟลจนอย่างร้องไห้ ถ้ามันไม่เป็นแบบที่หวังก็นอยด์สุด ๆ

ไม่ว่าคนอื่นเขาจะทำอะไรก็ไม่เคยสะดุด แต่เรานี่สิกว่าจะทำสำเร็จแต่ละอย่าง เรียกว่า “เหนื่อยลากเลือด”

เบื่อตัวเองจังที่ “นอยด์ง่ายและเฟลเก่ง” แบบนี้ แถมกว่าจะกลับมารู้สึกเป็นปกติก็ใช้เวลานานเหลือเกิน

เหมือนว่าหลุมของความเฟลเรามันอยู่ลึกกว่าคนอื่น พาลรู้สึกไม่ชอบตัวเองที่เป็นแบบนี้เลย 😰

“เฟล” บ่อย ๆ การวิจารณ์ (Self-criticism) หรือการตำหนิตัวเอง (Self-blame) เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเราขาดความไว้วางใจในตัวเอง ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ เช่น เราเติบโตมาในครอบครัวที่ให้ความสำคัญกับ “ความถูกต้องและสมบูรณ์แบบ” บางบ้านสื่อสารแบบใช้คำพูดกล่าวโทษกัน หรือบางครั้งเมื่อเราเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากเกินไป (Hyper-empathy) และมีได้รับประสบการณ์ “เชือดไก่ให้ลิงดู” บ่อย ๆ เราก็มักจะหลีกเลี่ยงการลงโทษ ประสบการณ์ที่ไม่ดีด้วยการยอมรับและบอกว่า “ทุกอย่างเป็นความผิดของฉันเอง” 😥

สถานการณ์เช่นนี้ทำให้เรารู้สึกว่าต้องแบกความรับผิดชอบไปโดยอัตโนมัติ เมื่อเกิดความขัดแย้งหรือการปะทะกัน แม้แต่เรื่องเล็กน้อยเราก็จะพยายามแก้ไขปัญหาด้วยการตำหนิตัวเอง ซึ่งนิสัยเหล่านี้ทำให้เราขาดความมั่นใจ นำไปสู่นิสัยเฟลเก่ง นอยด์ง่าย และปัญหาสุขภาพจิตในภายหลัง ดังนั้นถ้าเรารู้ตัวว่าตกลงไปในห้วงอารมณ์ลบ ๆ เราเคล็ดลับในการปลอบโยนหัวใจมากฝากกัน 🥰

  • ปรับวิธีคิด

ใคร ๆ ก็เฟลได้ ทุกคนคือคนธรรมดาที่สับสน ผิดพลาด ล้มเหลว เพื่อที่จะเติบโต แล้วความเฟลนั้นก็ไม่ใช่ตัวตัดสินว่าสิ่งที่เป็นฉันนั้น “ไม่ดี” ตัวฉัน “บกพร่อง” หรืออะไร ลองเขียนสิ่งที่คุณชอบเกี่ยวกับตัวเอง เช่น คุณสมบัติที่น่าชื่นชมหรือความสามารถที่ค่อนข้างดีและใช้เวลากับสิ่งเหล่านั้นให้บ่อยขึ้น มองว่าเราเป็นเพื่อนกับตัวเอง เราชี้ข้อบกพร่องของตัวเองได้ เราก็ชี้ข้อดีของตัวเองได้เหมือนกัน มองตัวเองแบบที่เราเป็น ไม่ใช่ประเมินด้อยกว่าความเป็นจริง

  • ความเฟลเป็นเรื่องชั่วคราว

เฟลวันนี้ไม่ใช่เฟลตลอดไป แม้โมเมนต์ที่น่าเหนื่อยหน่ายทำท่าจะปักธงอยู่ในชีวิตเราซะแล้ว แต่ใครบอกว่ามันจะไม่มีทางออก เรากดดันตัวเองให้ต้องทำได้ ทำได้ ทำได้! แล้วถ้าทำไม่ได้นั่นหมายถึงเราหมดหนทางไปต่อแล้วหรือเปล่า เหมือนที่เราให้เวลากับการพยายาม เราก็สามารถให้เวลากับความเฟลได้ แต่สุดท้ายก็คือการให้เวลากับตัวเองในการหาทางออกด้วย

  • รับมือความไม่ได้ดั่งใจ

ลองถามตัวเองสิว่า “ทำไมเราถึงจะพลาดไม่ได้” เพราะจริง ๆ แล้วทุกคนบนโลกนี้ก็ต้องเรียนรู้ด้วยกันทั้งนั้น เราต่างเพิ่งได้ลองใช้ชีวิต เราไม่มีทางรู้หรอกว่าสิ่งที่เราทำจะได้ผลอย่างที่ต้องการหรือเปล่า เราทำได้แค่พยายามและพยายามเท่านั้น ต่อให้ไม่เป็นดั่งใจแล้วมันเลวร้ายตรงไหน อะไรที่กดดันเราอยู่ ? เราถึงได้รู้สึกว่าความผิดพลาดนั้นมันเลวร้าย หรือเราแค่มองก้อนความผิดพลาดของตัวเองใหญ่กว่าที่มันเป็น

  • พูดกับตัวเองอย่างอ่อนโยน

หากเป็นคนอื่นที่เฟลในเรื่องเดียวกัน หรือเวลาที่ครอบครัวหรือเพื่อนเรามีอาการนอยด์ ทำไมเราถึงสามารถรับฟังและปลอบเขาได้อย่างอ่อนโยน แต่เรากลับเข้มงวดกับความผิดพลาดของตัวเองเหลือเกิน การเห็นอกเห็นใจตนเอง (Self-Compassion) เป็นเรื่องยาก อันดับแรกเราต้องตระหนักถึงความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับใจเราแต่ไม่ถูกครอบงำโดยความรู้สึกนั้นหรือให้คุณค่ากับความล้มเหลวมากจนเกินไป เราสามารถฝึกฝนที่จะอ่อนโยนกับตัวเองได้ แล้วการตำหนิตัวเองจะค่อย ๆ ลดลง

  • ให้โอกาสตัวเองได้เสมอ

คนส่วนใหญ่มักจะเฟลและนอยด์กับเรื่องที่เป็น “อดีต” ซึ่งหมายความว่าสิ่งนั้นได้ผ่านไปแล้ว เรานึกเสียใจได้แต่สุดท้ายเราก็ย้อนเวลาไม่ได้อยู่ดี สิ่งที่เราทำได้คือพาตัวเองกลับมาอยู่ที่ “here & now” แล้ววางแผนรับมือกับอนาคต “นอยด์แล้วเอายังไงต่อ ?” เมื่อรู้สึกโอเคขึ้นแล้ว อย่าลืมลุกขึ้นเดินต่อ

ถ้าเราเชื่อว่าเราเปลี่ยนแปลงได้ เราก็จะทำได้ งานวิจัยของ Carol Dweck ผู้นำเสนอเรื่อง Growth Mindset และนักวิจัยอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่านอกจากความเชื่อที่เรามีต่อตัวเองจะส่งผลต่อความคิดและการกระทำแล้ว ความเชื่อนี้ยังส่งผลต่อการฟื้นตัวจากการถูกปฏิเสธและความเฟลอีกด้วย เหมือนที่ Winston Churchill นายกรัฐมนตรีของอังกฤษในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยกล่าวว่า “ความสำเร็จ ไม่ใช่บทสรุปทุกอย่าง ความล้มเหลวก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย ความกล้าหาญที่จะเดินต่อไปต่างหากที่สำคัญ”

วันนี้มาเริ่มต้นใหม่โดยการปลอบหัวใจตัวเองด้วยความรู้สึกที่อ่อนโยนที่สุดกันนะ อูก้าจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยเพื่อคุณ ไม่ว่าจะเฟลเก่งหรือนอยด์ง่ายก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ปล่อยให้ใจตัวเองได้ระบายความเศร้ากับคนที่พร้อมรับฟังกันเถอะ เมื่อต้องการเยียวยาหัวใจ สามารถปรึกษาอูก้าได้ทุกที่ทุกเวลา 💙

#OOCAhowto


ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/5stthlblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ Ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://thestandard.co/podcast/knd455/

https://www.psychologytoday.com/us/blog/tech-support/201801/tackling-self-blame-and-self-criticism-5-strategies-try

Read More
การใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

OOCAstory: ฉันอยากให้เธอสบายใจกับการมีชีวิตอยู่

ฉันอยากให้เธอสบายใจกับการมีชีวิตอยู่

ใครก็ตามที่ผ่านมาอ่านเรื่องนี้ เราหมายความตามชื่อเรื่องจริงๆนะ

ไม่ว่าจะเจอเรื่องอะไร แย่แค่ไหน อย่างน้อยที่สุด อยากให้สบายใจกับการมีชีวิตอยู่

“ทำไมสิ่งที่เราทำดูเหมือนจะผิดไปหมดเลย” นี่คือประโยคที่เราถามเพื่อนทางโทรศัพท์

หลังจากร้องไห้มาสามชั่วโมงกับความรู้สึกผิดหวัง เสียใจ จนอยากจะหายไป

เราเล่าเรื่องทุกอย่างให้เพื่อนสนิทฟัง ทั้งความอึดอัดเรื่องงาน ครอบครัว ความสัมพันธ์และอนาคต

คำพูดทำร้ายใจที่เราเจอมาทำเอาตั้งหลักแทบไม่อยู่…ก็ไม่อยู่จริงๆ แหละ

เมื่อสิ่งที่ทุ่มเทมากๆ มันทลายไปตรงหน้า เรารู้สึกเหมือนชีวิตเราไม่เหลืออะไรเลย

คนเรามีความใส่ใจไม่เท่ากัน เรื่องที่ให้ความสำคัญมากน้อยก็ต่างกัน

สำหรับบางคนคือครอบครัว บางคนคืองาน บางคนคือความรัก

สิ่งใดหรือใครที่เราคาดหวังมาก ย่อมเสียใจมากและทำให้เจ็บปวด

เพื่อนบอกกับเราว่าอย่างอื่นพังแล้ว ให้มันแล้วไป

เพราะอะไร เราไม่ดียังไง ทำผิดพลาดตรงไหน คือคำถามที่เราใช้ตอกย้ำตัวเอง

ถ้าเราทุ่มไปร้อย แต่ได้กลับมาไม่ครบ เราจะมัวเสียดายส่วนที่มันหายไป

หรือจะโฟกัสในสิ่งที่ยังอยู่กับเรา โอบกอดสิ่งที่ดีกับเราเอาไว้ให้นาน

“อย่างน้อยเราอยากให้แกสบายใจกับการมีชีวิตอยู่”

ในโลกนี้ไม่ควรมีใครต้องลำบากใจกับการมีชีวิตอยู่ของตัวเอง

แต่น่าแปลกที่เรามักรู้สึกอยากหายไปและเฝ้าโทษตัวเองในทุกๆ เรื่องที่มันเกิด

หลังจากผ่านความเสียใจเรื่องครอบครัวมา

ตอนนี้เพื่อนเรากลายเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับ “ความสุข” มากๆ

ไม่มีใครรู้อนาคต อะไรที่ปล่อยได้ให้รีบปล่อย

เพราะชีวิตเราก็สำคัญ ทำไมไม่ให้โอกาสตัวเองได้มีความสุขล่ะ

สุดท้าย…ไม่ใช่เรื่องผิดถ้าเราจะทำเพื่อตัวเองก่อนคนอื่นบ้าง

และขอบคุณเพื่อนมากที่พูดประโยคนี้กับเรา ทำให้เราสบายใจกับการมีชีวิตอยู่

อูก้าอยากเป็นคนหนึ่งที่ช่วยรับฟังเรื่องราวของคุณและเป็นกำลังใจให้คุณ ทุกปัญหาเรายินดีจะรับฟังเสมอ สามารถติดตามเข้ามาพูดคุยกับพี่ๆนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของอูก้าได้เลยนะคะ

Read More
เพลงที่ทำให้คิดถึงเธอ

OOCAstory ได้ยินเพลงนี้ทีไร ทำไมต้องคิดถึง “เธอ”

ทำไมบางเพลงถึงคอยเตือนเราให้นึกถึงช่วงเวลาต่างๆในชีวิตได้ อย่างเพลงที่ฟังในรถกับพ่อ เพลงที่ร้องกับเพื่อนที่โรงเรียน เพลงที่ส่งให้คนสำคัญ หรือแม้แต่เพลงอกหักฟังแล้วร้องไห้ เรารู้สึกอินไปกับมันได้ ทั้งเนื้อร้องดนตรีและท้วงทำนอง

เพลงส่วนใหญ่บนโลกนี้ต่างเขียนขึ้นมาเพื่อใครสักคนหนึ่ง เวลาที่ได้ฟังเราจึงสัมผัสได้ถึง “ตัวตน” ที่อยู่ในเพลงนั้ แค่ได้ยินเพลงที่คุ้นหูก็เหมือนเราถูกดึงเข้าไปอยู่ในช่วงเวลานั้นเลย ยิ่งถ้าเคยฟังเทป ซีดี mp3 จนมาถึงยุคดิจิทัลอย่างทุกวันนี้ ภาพความทรงจำบางอย่างคงกลับมาแน่ๆ

ทุกคนคงมีเพลงที่เราฟังแล้วรู้สึก “ใช่”

ถ้าเป็นเพลง “รัก” เวลาที่มีความสุขเราก็คงคิดถึงใครบางคนแล้วเผลอยิ้มตาม

แต่ถ้าฟังแล้ว “เศร้า” ตอนที่อกหักคงกลายเป็นฉากที่เดินตากฝนแบบใน MV

หรือตอนที่ “เหงา” เพลงเพราะๆ นี่แหละที่คอยโอบกอดเราเอาไว้

ว่ากันว่าเพลงเศร้าจะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่กระตุ้นความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ ถ้าเผลอร้องไห้ตอนฟังเพลงเศร้าก็ไม่ต้องแปลกใจ อีกทั้งเรายังมีความสามารถในการเชื่อมโยงเนื้อเพลงกับชีวิตตัวเองด้วย ดังนั้นเพลงรักที่ดีจะทำให้คนฟังรู้สึกว่า “เพลงนี้แต่งมาเพื่อเราแน่ๆ” เพราะคนส่วนใหญ่ไม่สามารถอธิบายหรือแสดงความรู้สึกในใจของพวกเขาได้

หลายคนเลยเลือกที่จะใช้เพลงแทนการบอกรักด้วยคำพูดเพราะมันมีทั้งความสวยงาม อ่อนโยนและกลมกล่อมอยู่ในนั้น ตรงกันข้ามกับบางเพลงที่เหมือนตอกย้ำให้ยิ่งรู้สึกเจ็บปวดจนเราไม่อยากฟังเพราะมันตรงกับชีวิตมากเกินไป

แล้วถ้าเราพยายามเลี่ยงเพราะ “มีคนบางคนชอบฟัง” ล่ะ เวลาได้ยินก็อดนึกถึงคนๆนั้นไม่ได้ คงเพราะเราดันผูกคนกับเพลงเข้าด้วยกัน ทุกครั้งที่ได้ยินเลยเห็นแต่ภาพ “เขา” เสมอ มันอาจเป็นได้ทั้งความคิดถึง โหยหา เจ็บปวดหรือแม้แต่เป็นความสุข

เขาถึงบอกว่าในโลกนี้ไม่มีเพลงที่ไม่เพราะหรอก มีแต่เพลงที่เราอาจจะไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง ถ้าเรารู้ว่ามันถูกแต่งเพื่อใครเพลงนั้นอาจจะเพราะที่สุดที่เคยฟังมาเลยก็ได้และเพลงที่ตรงกับจินตนาการหรือประสบการณ์ของเรา ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราจริงๆ

แล้วสำหรับคุณล่ะ … เขาเป็นเพลงไหน ?

วันนี้ก่อนนอนลองเลือกเปิดเพลงที่คุณชอบฟังสักเพลง ไม่แน่นะการได้คิดถึงความทรงจำบางอย่างอาจช่วยเติมพลังให้เราได้ ลองมาพูดคุยปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านแอปพลิเคชัน ooca ได้เลย อูก้ายินดีที่จะดูแลจิตใจและรับฟังคุณเสมอนะ

Read More