ชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น

“เหลือเชื่อเหมือนกันว่ายังคงมีชีวิตอยู่จนถึงตอนนี้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว และกำลังเกิดขึ้นอยู่จริงๆ”
.
ขอชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น เพราะวันนี้คือวันป้องกันการฆ่าตัวตายสากล (World Suicidal Prevention Day) ซึ่งเป็นวันสำคัญที่องค์กรอนามัยโลกและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะจิตกำหนดให้มีการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ⛅
.
สถิติระบุว่าในทุก ๆ วัน มีคนที่เลือกจะจบชีวิตด้วยตนเองวันละ 11-12 ราย นอกจากนี้ จากสำรวจของกรมสุขภาพจิต ยังพบว่า สาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย มาจากปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด (48.7%) ซึ่งในหลายครั้ง ความสูญเสียก็เกิดขึ้นโดยที่หลายๆ คน อาจไม่ทันได้ตั้งรับ และสังคมรวมถึงสื่อยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการมองว่า การฆ่าตัวตาย คือการ “คิดสั้น”

.

ไม่ว่าจะเป็นสื่อหรือสาธารณชน มักจะมองว่าการฆ่าตัวตาย คือ “การคิดสั้น” แต่แท้จริงแล้ว การฆ่าตัวตายมีกระบวนการถึง 3 ขั้นตอนก่อนจะนำมาสู่การตัดสินใจจบชีวิต อันได้แก่

.

  1. Suicidal Thought หรือ ความคิดทำร้ายตนเอง

2.Suicidal Plan คือ ขั้นตอนการวางแผนและหาวิธีที่จะทำร้ายตนเอง

3.Suicidal Attempt หรือ ขั้นตอนการพยายามฆ่าตัวตาย หรือ ทำร้ายตนเอง

.

ดังนั้น การจบชีวิตด้วยตนเอง เป็นกระบวนการที่ผ่านการคิดมาอย่างถี่ถ้วน และต้องตัดสินใจอยู่หลายตลบกว่าจะปะทุไปสู่ขั้นตอนสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้น การแปะป้ายว่า “การฆ่าตัวตาย = การคิดสั้น” เป็นการมองข้ามต้นตอของปัญหาและอาจสร้างภาพจำผิด ๆ แก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ

.

⛅ อาจารย์สิริพร เอมอ่อน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแอพลิเคชันอูก้า เผยว่า การฆ่าตัวตายนั้น ในทางจิตวิทยาได้อธิบายว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่

.

1) ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factors) เช่น สารเคมีในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน ฮอร์โมนคอร์ติซอล อยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล

.

2) ปัจจัยทางจิตวิทยา (psychological factors) ได้แก่ พฤติกรรมและบุคลิกภาพ เช่น คนที่มีนิสัยเป็น perfectionist ก็จะมีแนวโน้มกลัวความผิดพลาด และมีโอกาสเครียดง่ายกว่าคนกลุ่มอื่น

.

3) ปัจจัยทางสังคม (sociological factors) คือปัญหาที่มาจากสังคมภายนอกและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ สภาวะทางเศรษฐกิจ หรือความตึงเครียดจากภาระงาน เป็นต้น

.

ทั้งนี้ อาจารย์สิริพรยังเสริมอีกว่า ปัญหาการแม้ว่าจะมีปัจจัยไม่ครบทั้งสามด้าน เพียงแค่ปัจจัยเดียว ก็มากพอที่จะกระตุ้นให้คนหนึ่งคน เกิดความคิดทำร้ายตนเอง ดังนั้น การเฝ้าระวังและตระหนักถึงปัจจัยทาง 3 ด้าน อย่างถี่ถ้วน เป็นวิธีที่สำคัญที่จะป้องกันเพื่อน ๆ และคนรอบข้าง จากความคิดทำร้ายตัวเองซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

.

โดยที่อาจารย์สิริพรยังได้มอบคำแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถสังเกตอาการคนใกล้ชิดของเรา ผ่านการจับสัญญาณจาก 2 จุดหลัก ๆ ได้แก่ สัญญาณ verbal หรือ คำพูด และ สัญญาณ non-verbal หรือ ภาษากายและพฤติกรรม

.

⛅ หากเป็นสัญญาณ verbal เราอาจสังเกตว่า คนนั้นมักจะบ่นหรือระบายว่า “เบื่อโลก หรือ ท้อแท้” นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียถี่ขึ้นผิดปกติ การโพสต์สเตตัสระบาย หรือ การแชร์ข้อความหรือเพลงเศร้า ๆ ก็นับเป็นอีกสัญญาณที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
.

⛅ ในส่วนของสัญญาณ non-verbal อาจสังเกตได้ว่า คนใกล้ชิดของเรา มีอาการซึมเศร้า ไม่มีแรง หรือมีพฤติกรรมแยกตัวจากผู้อื่นอย่างผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้ หากพบรอยแผลตามร่างกายของคนนั้น ก็นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำคัญว่า เขากำลังต้องการความช่วยเหลือจากใครสักคนอยู่ก็เป็นได้

.

⛅ นอกจากนี้ อาจารย์สิริพรยังแนะนำว่า เมื่อไหร่ที่หลุดเข้าไปอยู่ในห้วงความเศร้าเป็นระยะเวลานาน จนไม่สามารถหาทางออกมาจากความรู้สึกเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง หากเราเริ่ม รู้เท่าทันความรู้สึกตัวเอง และตระหนักอยู่เสมอว่าความเศร้าจะไม่อยู่กับเราไปตลอด เราก็อาจมีโอกาสหาทางออกให้กับชีวิตได้

.

⛅ แม้ว่าการตกอยู่ในภวังค์แห่งความเศร้า จะเหมือนกับการว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรโดยมองไม่เห็นชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความช่วยเหลืออีกมากมายในโลกนี้ที่รอให้เราเดินเข้าไปหา ไม่ว่าจะจากคนแปลกหน้า คนที่เรารัก หรือผู้เชี่ยวชาญ

.

💙💙 โดยเนื่องในเดือนป้องกันการฆ่าตัวตายสากลนี้ ผู้ใช้บริการปรึกษาปัญหาใจกับอูก้าครั้งแรก จะได้รับส่วนลด 5% เมื่อจองนัดหมายและกรอกรหัส OOCACARES ผ่านแอปพลิเคชัน ooca 💙💙 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ https://ooca.page.link/fbnewcomer2 และใช้โค้ดได้ถึง 30 กันยายน 2565 (*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ) ⛅

Read More

งานจบ อารมณ์ไม่จบ: ความเครียดสะสม ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

“ก็มีเครียดบ้างแหละ ปกติของการทำงาน”

“มันก็คงเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ที่จะปวดหัวเรื่องงานแหละมั้ง”

“ทน ๆ ไปเถอะ เครียดนิดหน่อย เดี๋ยวก็หาย”

.

การละเลยสิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้ อาจนำพาเราไปสู่ “Minor stress” หรือความเครียดสะสมที่เกิดจากความรู้สึกในเชิงลบที่สะสมทีละเล็กละน้อยโดยไม่รู้ตัว โดยเจ้า Minor stress มักปรากฎตัวได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกเครียด กดดัน ผิดหวัง เศร้าหมอง และอื่น ๆ

.

และ Minor Stress นี่เองที่สามารถนำไปสู่ภาวะเครียดจนเกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ ซึ่งสาเหตุของความเครียดนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น ระดับฮอร์โมน การพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัญหาจุกจิกในชีวิตประจำวัน งาน หรือแม้กระทั่งการเมืองในที่ทำงานด้วยเช่นกัน

.

แล้วเราจะสามารถจัดการกับ Minor stress จากความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างไร?

.

👩🏻‍⚕️💙

คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในแอพอูก้า แนะนำกับเราว่า เมื่อมีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับความเครียดที่เรามี หากเลี่ยงปัจจัยการกระตุ้นความเครียดได้ก็ควรเลี่ยง เช่น ลองให้คนอื่นคุยงานนี้แทนเราแต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้เราอาจจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจก่อนไปเผชิญหน้ากับเขา หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ อย่างน้อยเราก็จะทำให้เราพอรู้ว่าต้องเจออะไร พยายามจัดการความรู้สึกของตัวเองหรือระบายให้เพื่อนฟัง บางทีเพื่อนอาจเคยเจอเหมือนกับเราก็ได้

.

อีกหนึ่งทางออกที่ดีคือ การลองปรึกษากับบุคคลภายนอก เพื่อให้ได้เห็นปัญหาในภาพที่กว้างมากขึ้น เพราะหลายครั้ง การมีแค่ HR หรือหัวหน้างาน ก็ไม่เพียงพอ ซึ่งที่จริง HR และเหล่าหัวหน้างาน ก็ต้องการผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเมื่อเผชิญภาวะเครียดเหมือนกัน เพราะความรู้สึกและความสัมพันธ์ในที่ทำงานเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้น “งานเยอะ” จึงอาจจะไม่ใช่ต้นตอของปัญหาทั้งหมด เมื่อปัญหาภายในองค์กรเรื้อรังรังเข้า จึงเกิดภาวะ “งานจบแล้ว แต่อารมณ์ยังไม่จบสักที”

.

ซึ่งยุคนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีหลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงานมากขึ้น โดยหลายองค์กรเริ่มมีสวัสดิการให้พนักงานได้เข้ามาปรึกษาหรือพูดคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี

.

นอกจากนี้ คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้ากล่าวว่า การมีสวัสดิการเรื่องสุขภาพจิตในองค์กรถือเป็น “เรื่องที่ดี” และ ”สำคัญมาก” เพราะนอกจากจะมีคนที่คอยรับฟังและเข้าใจปัญหาของเราแล้ว สุขภาพใจจะดีขึ้น สุขภาพกายก็จะดีตามไปด้วย สิ่งนี้จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและทำให้คนทำงานอย่างเราใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

.

แน่นอนว่าอูก้าเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจ ที่คอยช่วยสนับสนุนเพื่อน ๆ ให้เอาชนะความเครียดจนสำเร็จ ไม่ว่าเพื่อน ๆ จะเข้ามาระบายเรื่องราวต่าง ๆ ให้เราฟังหรืออยากปรึกษากันแบบจริงจัง จะเป็นเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ เราก็พร้อมรับฟังและอยู่เคียงข้างเพื่อน ๆ เสมอนะ

.

มารับพลังใจในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

อ้างอิง: https://www.medicalnewstoday.com/articles/321450?fbclid=IwAR0MzoZxiUcaf4WO1Tp4V7juKoaJAQ0saencyE2KOyH2eyalUfObG-2dZFc

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth#stigma#selflove#expectation#ความคาดหวัง#OOCAfeelings#OOCAreminder

Read More

#OOCAhowto วันศุกร์ที่โดนกองงานทับตาย เมื่อไหร่จะได้ THANK GOD IT’S FRIDAY

วันศุกร์แล้วหรอ? นี่คือวันศุกร์จริงๆ ไหม? เป็นวันศุกร์หลังวันหยุดยาวที่ไม่ได้รู้สึกสุขสมชื่อแม้แต่น้อย หันไปทางไหนก็เจอแต่ความเครียดเพราะงานมากมายที่กำลังรอให้เราจัดการ จะมีไหมที่จะได้สัมผัสกับวันสุขจริงๆ สักที

.

และเราก็ไม่ใช่ยอดมนุษย์สุดแกร่งที่จะรู้สึกยินดีกับกองงานมากมายในวันศุกร์แบบนี้

.

มีบทความดีๆ จาก Harvard Business ได้แนะนำวิธีที่มนุษย์ธรรมดาอย่างเราสามารถพูดขอบคุณอะไรก็ตามที่ทำให้เรามีวันศุกร์ที่แสนสุขได้เหมือนกัน

.

เริ่มต้นด้วยการตามหาสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกเครียด โดยการตั้งคำถามกับตัวเองว่าในกองงานนี้ มีงานอะไรที่ไม่ทำแล้วจะช่วยลดความเครียดได้ 80%  ถึงความจริงเราจะหนีมันไม่พ้นแต่การตั้งคำถามจะช่วยให้มองเห็นที่มาของความเครียดและทำให้เราตระหนักว่าเราควรทำอะไรต่อจากนี้ ถ้าเป็นงานชิ้นใหญ่จำเป็นต้องแบ่งและจัดลำดับความสำคัญจะช่วยให้เราเห็นว่าในตอนนี้ควรลงมือทำอะไรและมีใครที่จะพอช่วยลดภาระงานนี้บ้าง 

.

เมื่อเรารู้ว่าอะไรควรทำในตอนนี้และหลักจากนี้ต้องทำอะไรต่อ สิ่งต่อมาคือการเคารพเวลาที่เรากำหนดและหัด ‘ปฏิเสธ’ งานที่ไม่ใช่ความรับผิดชอบของเราให้เป็น

.

หลายครั้งที่เราดองงานเอาไว้จนถึงวันสุดท้ายของสัปดาห์อาจเกิดจากการความต้องการให้งานนี้สมบูรณ์แบบที่สุด แต่เราไม่สามารถทำให้งานเพอร์เฟกต์ได้ตลอดเวลา บางครั้งการทำให้เสร็จอาจดีกว่าการรอให้ครบ 100 % เพราะช่วงเวลาที่เราผัดงานออกไปก็ไม่ได้ทำให้งานเสร็จ

.

หรือเราอาจลองชาเลนจ์ตัวเองเพิ่มว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้วันศุกร์ของเราเต็มไปด้วยงาน หากมันเกิดจากปัจจัยภายนอกเช่นหัวหน้าที่ชอบเร่งงานหรือเปลี่ยนเดดไลน์กระทันหัน หากเป็นแบบนี้บ่อยๆ อาจต้องมีการพูดคุยและสร้างข้อตกลงร่วมกัน แต่หากเกิดจากปัจจัยภายในอย่างความรู้สึกติดขัดภายในใจที่เราเอง อาจลองหาเวลาคุยกับผู้เชียวชาญเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น

.

เพราะเป็นวันศุกร์หลังวันหยุดยาว เพื่อนๆ หลายคนอาจจะยังปรับตัวไม่ทันทำให้การทำงานในช่วงนี้อาจติดขัดกันบ้าง ลองทำวิธีที่อูก้าแนะนำมาไปปรับใช้กันดูนะ อูก้าเชื่อว่าวันศุกร์อื่น ๆ จะทำให้เพื่อนๆ ยิ้มได้และสามารถพูดได้เต็มปากว่า Thank God It’s Friday 😁

อ้างอิง

Zucker, R. (2019, October 10). How to deal with constantly feeling overwhelmed. Harvard Business Review. Retrieved April 16, 2022, from https://bit.ly/3JH7OAA

Read More

OOCAissue: How to ดูแลคนรักที่ป่วยใจ ด้วยโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล

โรคทางใจส่งผลต่อความสัมพันธ์หรือไม่ ?

ต้องยอมรับว่าคู่รักหลายคู่เดินมาถึงทางตันเพราะปัญหาสุขภาพใจ ไม่ใช่แค่ภาวะเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้าจะกัดกินแต่คนเป็นเท่านั้น คนรักที่อยู่ข้าง ๆ คอยดูแล คอยรับฟังก็ถูกบั่นทอนเช่นกัน เพราะการดูแลใจใครสักคนต้องใช้ทั้งความเข้าใจและพลังเป็นอย่างมาก เมื่อวันเวลาผ่านไปทั้งสองฝ่ายต่างอ่อนแอลง ทำให้ไปถึงจุดที่ไม่สามารถประคับประคองความสัมพันธ์ต่อไปได้ ฝ่ายที่ป่วยใจก็รู้สึกผิด เกิดการโทษตัวเองที่เป็นแบบนี้ ทำให้คนรักเหนื่อยล้า ในขณะที่อีกฝ่ายไม่อยากทอดทิ้งกันไปเวลาที่เขากำลังเปราะบาง แต่ตนเองก็ไม่รู้จะทำอย่างไรให้คนรักรู้สึกดีขึ้น จึงเป็นประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหวในความสัมพันธ์

.

แต่ถ้าเรามีความรู้เกี่ยวกับภาวะหรือโรคที่อีกฝ่ายกำลังเป็น รวมถึงเข้าใจในสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังรู้สึกและเผชิญอยู่ เราก็อาจดูแลและรักษาความสัมพันธ์นี้เอาไว้ได้

#คำตอบจากนักจิตวิทยา

#เรียนรู้และเข้าใจคนที่เรารัก ความคาดหวังของเราก็จะลดลง เมื่อเข้าใจก็สามารถช่วยดูแลคนที่คุณรักให้ฟื้นคืนได้ คนรักรู้สึกเศร้า ไร้ค่า สิ้นหวัง  ถอนตัว ภาวะซึมเศร้าอาจทำให้จมกับอารมณ์ความคิดลบ ลดความสนใจสังคมและกิจกรรมที่เคยมีความสุข ในเวลาที่เค้าซึมเศร้า เค้ากังวล ภาวะซึมเศร้าส่งผลให้เขาพูดหรือกระทำบางอย่างที่กล่าวโทษว่าคุณเป็นต้นเหตุ เข้าใจว่าคุณไม่ได้เป็นต้นเหตุทำแฟนซึมเศร้า ดังนั้นอย่าถือสากันและกันเลยนะ

.

#สื่อสารคำถามปลายเปิดและฟังคนรักอย่างใส่ใจ  การนั่งเคียงข้างและรับฟังโดยไม่ตัดสิน คุณสามารถจับมือ โอบกอด และสามารถตอบสนองด้วยคำพูด อาทิ “มีอะไรที่เราสามารถทำได้เพื่อช่วยเธอบ้าง” “เธอมีความสำคัญกับเรานะ” “เราอยู่ตรงนี้เสมอ” และ “เราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน”

.

สำหรับวิธีการดูแลคนรักที่เหมาะสม ทำได้หลายวิธีด้วยกัน

#คำตอบจากนักจิตวิทยา

#หลีกเลี่ยงการพูดที่เป็นการกดดัน ในรูปประโยค You message เช่น “คุณไม่เคยทำอะไรเพื่อตัวเองเลย” “ทำไมเธอไม่รู้จักอดทนบ้าง” ให้ใช้ประโยค I message แทน ที่ไม่ต้อนหรือควบคุมอีกฝ่าย เช่น “ฉันเห็นคุณค่าในตัวเธอและอยากเห็นเธอทำสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจ”

.

#รู้สัญญาณเตือนการคิดสั้น เริ่มจากสังเกตเป็น เข้าใจสัญญาณอันตรายและรีบขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทันที ได้แก่ หากมีการวางแผน คิดสั้น มีอารมณ์ที่ขึ้นลงรุนแรง บุคลิกภาพเปลี่ยน การถอนตัวออกจากสิ่งที่ชอบทำและผู้คน รู้สึกสิ้นหวังอย่างมาก สำคัญที่สุดคือพยายามอยู่เคียงข้าง เพื่อลดการแยกตัว ลดการตัดสินใจที่เค้าจะทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด

.

#ปรับไลฟ์สไตล์และสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่ๆ มีประโยชน์มากในการฟื้นฟู ลองวางแผนออกกำลังกายร่วมกัน อยู่กับเขาเพื่อลดความเครียด วางแผนรายวันรายสัปดาห์ที่จะไปทำกิจกรรมต่างๆ โดยเริ่มต้นกิจกรรมเล็กๆก่อน เพื่อช่วยให้คนที่คุณรักค่อยๆปรับตัว ที่สำคัญแบ่งเป้าหมายใหญ่ให้เป็นเป้าหมายขนาดเล็ก การทำตามขั้นตอน เพื่อช่วยให้ทำสิ่งต่างๆ สำเร็จได้ง่ายขึ้นในทุกวัน เช่น การลุกขึ้นจากเตียง อาบน้ำ ทานอาหารสุขภาพ ออกกำลังกาย

.

#สนับสนุนคนรักเข้ารับบริการให้การปรึกษา รับการปรึกษาชีวิตคู่ ถ้าคู่ของคุณยินดีร่วมมือ เพื่อให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ของคุณก่อนที่จะยุติไป นักจิตวิทยาสามารถทำให้เห็นมุมมองที่คุณสามารถจัดการด้วยตัวคุณเอง และหลีกเลี่ยงรูปแบบที่มักเกิดปัญหาในความสัมพันธ์หรือในความสัมพันธ์ใหม่ ควรเน้นรับการปรึกษาอย่างต่อเนื่องแทนที่จะวินิจฉัยหรือรักษาด้วยตัวเอง

.

อย่างไรก็ตามใจของคนรักและใจของเราต่างสำคัญด้วยกันทั้งคู่ หมั่นฟังเสียงหัวใจตัวเอง ถ้าวันไหนมันบอกว่าไม่ไหว อย่าลังเลที่จะดูแลรักษา อูก้ามีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาพร้อมรับฟังทุกปัญหาและช่วยคุณก้าวข้ามทุกอุปสรรคไปได้ เพราะเราเชื่อว่าทุกความสัมพันธ์แข็งแรงได้

ขอขอบคุณคำแนะนำดีๆ จาก พี่พลีส กอบุญ เกล้าตะกาญจน์ นักจิตวิทยาการปรึกษาของอูก้าด้วยนะคะ

Read More
คลับเฮ้าส์ สุขภาพจิต ปรึกษาจิตแพทย์

Mindfully Dose #3 บ้านแตกเพราะเห็นต่าง ทางการเมือง…ทำยังไงดี ?

สรุปเนื้อหาจาก Clubhouse เมื่อวานนี้ Mindfully dose #3 “บ้านแตกเพราะเห็นต่างทางการเมือง…ทำยังไงดี ?” by ooca และอาจารย์ปาริชาต สุขศรีวงษ์ กับ อาจารย์อัจฉรา ปัญญามานะ

แม้ช่วงนี้จะดูเหมือนว่าการเมืองเข้มข้มพอสมควร แต่จริงๆ แล้วต้องบอกว่าคนไทยอยู่กับเรื่องนี้มานานมากๆ เราต่อสู้เพื่ออะไรหลายๆ อย่างมาตลอด ซึ่งอาจจะเห็นได้ชัดว่าตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาคนไทยหลายกลุ่มมีความเห็นต่าง ไม่ว่าจะเพราะเราตระหนักและกล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้นหรืออะไรก็ตาม แต่หลายคนได้รับผลกระทบทั้งในเรื่องความสัมพันธ์ กลายเป็นความเครียดที่สะสมและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพใจได้

.

อย่างในปัจจุบันอาจารย์อัจฉราได้แบ่งปันว่าอายุน้อยที่สุดที่เจอว่าสนใจเรื่องการเมือง คือป.3 สิ่งที่เกิดขึ้นคือครูบางคนแสดงออกไม่ดีกับเด็ก เช่น บอกว่าไม่ใช่เรื่องของเด็ก ส่วนผู้ปกครองก็พยายามห้ามปราม แม้แต่ป.6 ก็เริ่มมีการตั้งกลุ่มกันคุยเรื่องการเมืองแล้ว เรียกว่าวัยไหนก็สามารถเข้าถึงสื่อและมีความคิดเห็นทางการเมืองได้

.

สาเหตุที่เรามีความคิดเห็นไม่ตรงกันเป็นเพราะอะไร ? แล้วเราจะทำความเข้าใจกับเรื่องพวกนี้ได้อย่างไร ?

อ.อัจฉรา: ส่วนหนึ่งอาจมาจาก relationship ที่มีมาอยู่ก่อนนอกจากเรื่องการเมือง ความสัมพันธ์นั้น healthy หรือเปล่า หรือเปราะบางระหองระแหงอยู่แล้ว หากไม่ได้สื่อสารเพื่อทำความเข้าใจ แต่สื่อสารเพื่อเอาชนะ ถกเถียงจะทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข นำไปสู่ความเครียด อึดอัด ขับข้องใจ ถ้าเราพูดคุยบน emotional ทำให้อารมณ์นำ เริ่มขึ้นเสียง ใช้ภาษาไม่เหมาะสม นำไปสู่การทะเลาะ ทัศนคติเป็นตัวกำหนด โดยเฉพาะภาษากาย เช่น เบะปากมองบน คนที่ไม่เข้าใจอาจมองว่ามีการปะทะหรือเหยียดหยามเกิดขึ้น ควรแยกอารมณ์ออกจากความรัก ความคิด ทัศนคติที่ต่างจากเรา ถ้าเรายอมรับได้ทุกอย่างก็ดีขึ้น

อ.ปาริชาติ: ถ้าเราอยู่บนความต่างแต่เราเข้าใจและรับฟังก็อยู่ด้วยกันได้ “ยอมรับแม้เราไม่ชอบ” ไม่ว่าจะเรื่องการเมืองหรือเรื่องอะไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนกัน แต่หลายคนไม่สามารถเข้าใจกันได้ก็นำไปสู่การเลิกราหรือแยกย้ายในที่สุด

บางคนขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นทะเลาะกันบ้านแตก unfriend ตัดขาดกัน ทำไมเราถึงมองว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญมาก ?

อ.อัจฉรา: สำคัญเพราะมันเกิดจากความคาดหวังของเราเป็นหลัก ยิ่งคนใกล้ตัวเท่าไหร่ เป็นครอบครัวหรือคนรัก เรายิ่งต้องการการยอมรับ อยากให้เค้าคิดเหมือนเรา ยอมรับเรา เพราะเราอยากรู้สึกปลอดภัยในพื้นที่ของตัวเอง โดยเฉพาะสิ่งที่เราให้คุณค่าแล้วเราเชื่อว่าสิ่งนั้นถูกและดี แม้เราจะมีความเชื่อต่างกันแต่ถ้าเรามี empathy รู้จักรับฟังเราก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้

อ.ปาริชาติ: ความเป็นพวกเดียวกัน เราอยากให้เขาคล้อยตามเรา การที่เขายอมรับความคิดเห็นเราก็เหมือนยอมรับตัวเราไปด้วย พอเห็นต่างเลยกลายเป็นเหมือนเขายืนคนละข้างกับเรา

เมื่อเจอคนที่คิดต่าง เราควรแสดงออกอย่างไร ?

อ.อัจฉรา:  ถ้าในกรณีที่เป็นเด็ก เราควรพยายามทำความเข้าใจในมุมมองของเด็กก่อน เปิดใจรับฟัง อย่าเพิ่งตัดสินหรือ blaming เขา เพราะปัจจุบันการเข้าถึงเทคโนโลยีค่อนข้างไว เด็กอยากจะแชร์มุมมองไหนให้เรารับทราบ การปรับที่ผู้ใหญ่นั้นง่ายกว่าเพราะเรามีวุฒิภาวะมากกว่า ผู้ใหญ่ทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้ง่ายกว่า

อ.ปาริชาติ: วัยรุ่นมักรู้สึกว่าอยู่คนละโลกกับพ่อแม่ เหมือนอยู่คนละฝั่ง ทำให้ไม่อยากจะคุยกัน ทำให้เกิดความห่างเหิน ในมุมของผู้ใหญ่ที่ไม่รู้จะดีลกับลูกวัยรุ่นยังไง วิธีการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพนำไปสู่การทะเลาะได้ เราควรเริ่มที่ “การรับฟังโดยไม่ตัดสิน” อย่าพูดว่า “เด็กไม่รู้เรื่องพวกนี้ ไม่เข้าใจหรอก” นั่นคือเราได้ตัดสินเขาไปแล้ว เราไม่ควรกล่าวโทษหรือต่อว่าโดยที่เราไม่เข้าใจมุมมองของเขาจริงๆ

ราจะพูดคุยกับครอบครัวอย่างไร ?
วิธีสื่อสารที่ใช้ได้ผลกับคนที่เห็นต่างทางการเมืองกับเรา

อ.ปาริชาติ: ก่อนอื่นให้เข้าใจว่า “ความสัมพันธ์ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน” ไม่ว่าจะอยู่สถานะอะไร ทำงานอะไร อายุเท่าไหร่ เรามีความเป็นมนุษย์เท่ากัน คิดต่างได้ทำผิดพลาดได้

อ.อัจฉรา: แม้เรามักจะดึงดูดกันเพราะความเหมือน แต่ “คนเราเติบโตเพราะความแตกต่าง” ต่างในความคิด ต่างในมุมมอง เราสามารถเรียนรู้จากความต่างนั้นได้ ลองปรับมุมมองบ้าง ใช้ I – message มี empathy จะทำให้เราสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น แทนที่เราจะมัวมาหงุดหงิด ไม่พอใจ ให้เรามาสำรวจกันว่าจริงๆ เพราะเราเป็นคนสำคัญซึ่งกันและกัน เราอยากให้ความสัมพันธ์เดินไปต่อได้

คุณอิ๊ก: เวลาที่คุยกันแล้วมีอารมณ์ น้ำเสียงเปลี่ยน ก็อาจจะเตือนอีกฝ่ายให้รู้ตัว บอกตรงๆ เรียกว่าผลัดกันดูแล ทั้งนี้ก็แล้วแต่ข้อตกลงของแต่ละคู่ว่าจะมีวิธีแก้ยังไง ขึ้นอยู่กับ stage ของความสัมพันธ์ด้วย สามารถพูดเปิดใจได้ขนาดไหน

Q&A

1) เคยเจอความเห็นต่างด้านอื่นนอกจากเรื่องการเมืองด้วยไหม หรือเป็นเพราะในไทยเหมือนไม่ได้ถูกสอนให้คิดต่าง เราไม่ค่อยได้มีการปะทะกันของความคิด ทำให้คนมีภูมิคุ้มกันน้อยเมื่อเจอความเห็นต่าง

อ.ปาริชาติ:  จริงๆ ความเห็นต่างเป็นสิ่งที่มีมาเรื่อยๆ แม้หัวหน้ากับลูกน้อง เด็กกับครู แต่สังคมไทยเราถูกสั่งสอนมาด้วย “อย่าเถียงผู้ใหญ่” “เป็นเด็กต้องเชื่อฟัง” เลยกลายเป็นนิสัยที่เด็กต้องยอม ลูกน้องต้องยอมเจ้านาย ทำให้ความเห็นต่างไม่ได้ถูกสื่อออกมา มันถูกกดไว้ ไม่ได้รับโอกาส พอมีประเด็นทางการเมืองเข้ามา กลายเป็นความเห็นต่างที่ปะทุขึ้นมาอย่างชัดเจน หลายคนไม่เคยมีโอกาสได้แสดงความเห็นต่าง ตอนนี้มีเวทีมากมายให้แสดงความเห็นได้

คุณอิ๊ก : การเห็นต่างมันคือความหลากหลายทางความคิด เป็นธรรมดาของมนุษย์ ต้องมีการคิดต่างเพื่อให้ได้มุมมองที่ครบถ้วน

2. ถ้าสมมติว่าเรากระตุ้นให้ความเห็นต่างเพิ่มมากขึ้นในสังคม อาจทำให้ไทยมีภูมิคุ้มกันและอยู่ในสังคมที่คิดต่างได้มากขึ้นไหม ?

อ.ปาริชาติ: ภูมิคุ้มกันสร้างขึ้นมาตั้งแต่ในหน่วยย่อยเล็กๆในสังคมตั้งแต่ในครอบครัว ถ้าทุกบ้านสามารถช่วยให้เด็กสามารถกล้าพูดและยอมรับซึ่งกันและกัน

อ.อัจฉรา: ความต่างมีมานานและมีอยู่เสมอ แต่ต้องตามมาด้วย social movement ความต่างนั้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไร ที่เรารู้สึกถึงความต่างได้เยอะในยุคนี้ เกิดการตั้งคำถามเพราะพื้นที่เปิดกว้าง แต่ถ้ามองย้อนกลับไป ณ ตอนนั้นในอดีตการที่เขาเลือกที่จะเงียบอาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดแล้ว เรื่องที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายคือเรื่องที่มันส่งผลกับทุกคน

อ.ศิริพร : วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง ความคิดเห็นที่ต่างกัน หลายครอบครัวมีการเขียนข้อตกลงร่วมกันว่าจะแสดงความคิดเห็นได้ระดับไหน ระหว่างในครอบครัว ภูมิคุ้มกัน ความคิดเห็นต่าง กระแสสังคมตอนนี้เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเกิดขึ้น มีทั้งคนที่ยืนกรานความคิดเห็นของตัวเองและคนที่สมยอม

3. แต่ก่อนสนิทกับแม่มาก เห็นต่างเรื่องเดียวคือการเมือง มีการกระทบกระทั่งกันในโลกออนไลน์ รู้สึกสะเทือนใจกับเรื่องนี้ ควรจะทำยังไงดี ? จะบล็อกแม่ หรือคุยให้เขาเข้าใจเรา แสดงความเชื่อของเราออกไปเลยดี ?

อ.อัจฉรา: พ่อแม่ก็มีความเชื่อในมิติของเขา เข้าใจและลองยืนในมุมของเขาบ้าง ถ้าเรายืนแต่มุมของเรา เราจะเห็นแต่ความต้องการของตัวเอง ถ้าเป็นคนใกล้ตัว relationship ที่มีจะทำให้เรารู้ว่าเวลานี้ควรผ่อน ควรหย่อน ถ้าเห็นว่าอารมณ์แม่เริ่มไม่โอเค เราถอยก่อนมั๊ย ถามตัวเองก่อนว่าเราให้คุณค่าจะไหนมากกว่ากันระหว่างความสัมพันธ์กับแม่หรือความเชื่อของเรา

อ.ปาริชาติ: เรารักกันใช่มั๊ย ? แล้วอยากให้เรื่องนี้มาทำลายความสัมพันธ์ของเรากลับแม่หรือเปล่า ถ้าเรารับฟังโดยไม่ตัดสินก่อน เขาก็จะเริ่มรับฟังเราบ้างเหมือนกัน

4. เวลาที่ไปม็อบก็อยากแชร์ในโลกออนไลน์ อยากให้คนอื่นทราบว่าเราอยู่ในสถานการณ์ไหน เผื่อมีอันตรายจะได้มาช่วยเหลือ แต่กลายเป็นว่าครอบครัวต่อว่าหรือด่าทอ รู้สึกโดดเดี่ยวเพราะไม่มีใครเข้าใจเราเลย

อ.อัจฉรา: เจตนาจริงๆ พ่อแม่ก็เป็นห่วงเรานี่แหละ ให้รู้ว่าความปลอดภัยของเรามาเป็นอันดับหนึ่งเสมอ แต่คนสมัยก่อนจะไม่มีทางสื่อตรงๆ อย่าง I – message (บอกว่าฉันต้องการอะไร แม่เป็นห่วงนะ) แต่เขาจะใช้บ่น ต่อว่า ตำหนิแทน เช่น เธอทำแบบนั้นสิ เธอทำแบบนี้สิ เธอห้ามทำอย่างนั้น อันนี้คือวิธีของคนรุ่นก่อน จะอ้อม 234 เผื่อให้เข้าประเด็น

อ.ปาริชาติ: ให้เราเริ่มเปลี่ยนตัวเองก่อน ลองบอกความต้องการของเรา เช่น อยากคุยทำความเข้าใจเพื่ออยากให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้น เพราะเรื่องนี้ทำให้ความสัมพันธ์ที่เคยดีมาของเราเริ่มสั่นคลอน อยากฟังความเห็นแม่ด้วย เพราะอะไรแม่ถึงไม่อยากให้ผมทำแบบนั้น จะได้เห็นว่าแม่มองในมุมไหนบ้าง มีคล้ายกับมุมของเราบ้างไหม ที่แม่พูดอย่างนี้ ผมเข้าใจถูกไหม พอถึงจุดหนึ่งผมเข้าใจแม่มากขึ้นแล้ว ผมอยากแชร์มุมของตัวเองให้แม่ฟังบ้าง ไม่รู้ว่าแม่พร้อมจะรับฟังหรือเปล่า ? ถ้าต่างฝ่ายต่างใช้ You-message เหมือนถูกกล่าวหา ถูกตำหนิ กลายเป็นต่อต้าน ไม่อยากทำตาม

คุณอิ๊ก : จุดประสงค์คืออะไร อยากให้พ่อแม่เข้าใจเรื่องการเมืองมุมเรา หรือแค่ไม่อยากให้เขาไม่สบายใจ เราต้องการระดับไหน การกระทำหรือคำพูดระดับไหนที่สามารถบอกออกไปได้ อาจแก้ปัญหาด้วยการหลีกเลี่ยงจุดที่เป็นประเด็น ถ้าทะเลาะบนโซเชียลก็ตั้งค่าไม่ให้เขาเห็น ให้เห็นแค่คนที่เราสบายใจ

5. หน้าที่การงานของพ่อแม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองค่อนข้างเยอะ แต่เราเห็นต่างและอยากให้เขารับฟังเพราะเราชอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่น แต่เขาไม่ยอมคุยเรื่องนี้เลย อยากรู้ว่าเขาคิดยังไง ?

อ.อัจฉรา: อาจมาจากทัศนคติตั้งต้น ถ้าเราใช้ความรุนแรงในการสื่อสาร บางทีเรามีอารมณ์มากไปก็ต้องพัก ไม่เราก็พ่อแม่ต้องเบรกก่อน การสื่อสารที่ผ่านมาบ่งบอกว่าไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ้าเราใช้อารมณ์และความรุนแรง กลายเป็นเราตัดสินไปแล้วว่าเขาผิด ซึ่งคนรุ่นก่อนเขายอมรับยากอยู่แล้วว่าเขาผิด

จริงๆ เริ่มตั้งแต่พูดดีๆ แต่พ่อแม่เมินเฉยมาตลอดจนบางทีกลายเป็นก้าวร้าวเพราะอยากให้เขาฟัง ผมเคยไปปรึกษาหมอมาแล้ว ลึกๆ ก็รู้สึกเห็นใจพ่อแม่ แต่ก็เห็นใจตัวเองด้วยที่อยากมีพื้นที่คุยกับคนใกล้ชิด แต่มันไม่เกิดขึ้น

อ.ปาริชาติ: ที่เรารู้สึกไม่ดี เพราะเขาไม่คุยกับเราใช่ไหม ? แล้วเรารู้สึกยังไงกับความรู้สึกไม่ดีนั้น จริงๆ มันมีความรู้สึกซ้อนความรู้สึกอยู่ ความรู้สึกหลายอย่างที่เกิดขึ้น เช่น อึดอัด โมโห หลายคนไม่เคยถูกถามแบบนี้เลย ไม่ได้ทบทวนตัวเอง อยากให้ลองไปคิดต่อ ที่เขาไม่อยากคุยกับเรา เขากำลังคิดอะไรอยู่ ?

คิดว่าเขาคิดไม่เหมือนเรา

อ.ปาริชาติ: เราอาจจะรู้สึกว่าทำไมเขาไม่ฟัง ทั้งที่เราเจตนาดี ลองมองอีกมุม เป็นไปได้ไหมว่าพ่อแม่อาจจะกลัว เขาไม่รู้จะพูดยังไงกับเรา หรือทำยังไงให้เราเข้าใจ เขาเลี่ยงตลอดเพราะกลัวการปะทะ เลยเลือกที่จะไม่พูด

อ.อัจฉรา: เราหาทางออกเพราะเราอยากรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้ เพื่อความรักของครอบครัว ความเป็นเพื่อน เพราะยังอยากให้พวกเขาอยู่ในชีวิตของเรา

คุณอิ๊ก : อยากให้เข้าใจว่าพ่อแม่เคยเป็นพ่อแม่คนครั้งแรก เพิ่งเคยมีลูกเป็นวัยรุ่น  เพิ่งเจอกับปัญหาครั้งแรก จริงๆ ก็ไม่ได้ต่างจากเราเลย เขาก็เป็นคนหนึ่งที่มีสิทธิ์จะทำผิดบ้างพลาดบ้าง เขาไม่เคยตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้เลยไม่รู้จะรับมือยังไง ถ้าท้ายที่สุดถ้าเรามองว่าเขาเป็นพ่อแม่ที่เรารัก เราควรให้โอกาสเขา เรื่องบางเรื่องต้องเคยเจอถึงจะรู้ว่าเราทำถูกหรือผิดหรือทำแบบไหนมันดีกว่า และเรื่องใหญ่ที่มนุษย์ไม่อยากพลาดคือการเลี้ยงลูก ทำให้เขาลังเลและตัดสินใจได้ยากในหลายๆ ครั้ง อาจจะต้องให้อภัยกันมากๆ อาจจะไม่ยอมเรียนรู้จริงๆ หรือเรียนรู้กันแบบมี pain แต่ท้ายที่สุดมันจะอยู่ร่วมกันยังไงให้มีความสุข

ขอขอบคุณ

อาจารย์ปาริชาต สุขศรีวงษ์ เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงดูเด็ก ครอบครัว ความสัมพันธ์

อาจารย์อัจฉรา ปัญญามานะ เชี่ยวชาญพัฒนาการเด็ก วัยรุ่น ให้คำปรึกษาพ่อแม่ ครู ความเครียดในโรงเรียน

Read More
เพื่อนทะเลาะกับแฟน จิตวิทยาความรัก ooca

OOCAstory: เขากลับไปคืนดีกัน ส่วนเรานั้น “เป็นหมาอีกแล้ว”

“ฉันจะเลิกจริงๆ แก มันทำตัวแย่ๆ อีกแล้ว”

“พอแล้ว รอบนี้ไม่รีเทิร์นแน่ ฉันไม่เอาแล้วแก”

ภาพเพื่อนที่โทรมาโวยวายหรือร้องไห้ฟูมฟายให้กับรักห่วยๆ เชื่อว่าในกลุ่มเพื่อนจะต้องมีอย่างน้อยคนหนึ่งที่พูดซ้ำๆ แต่ก็ติดอยู่ในความสัมพันธ์ที่ดูไม่ต่างจากคู่เวรคู่กรรม แม้จะด่ากันเป็นพันครั้ง สุดท้ายก็ตัดไม่ได้อยู่ดี แล้วพอเขากลับไปคีนดีกัน ฉันล่ะ?

.

ฉันที่คอยปลอบมัน บอกให้มันรักตัวเอง บอกให้ทิ้งคนแย่ๆ ออกจากความรักที่ทำร้ายมัน

หนักกว่านั้น ครั้งที่แย่ๆ ฉันทักไปด่าแฟนมันให้ด้วยที่มาทำให้เพื่อนเสียใจ

“ฉันจะกลายเป็นอะไร ‘หมาเลย’ ไง” นี่คงเป็นสิ่งที่คิดกันในใจ บางทีก็โมโหเพื่อนนะ ที่มาหาเราแต่เวลาทุกยาก ตอนแฮปปี้นี่เงียบหายไปเลย จนเผลอแอบคิดไปว่า “อย่าให้เห็นว่าคืนดีกันนะ จะด่าให้” แต่พอเอาเข้าจริง เราก็ใจแข็งเวลาเห็นเพื่อนทุกข์ใจไม่ลง ได้แต่ประคับประคองกันไป รับตำแหน่ง “ที่ปรึกษาคนสนิท” เหมือนเดิม

.

แล้วเราเบื่อมั๊ย ? ที่ต้องเป็นหมาในความสัมพันธ์ของเพื่อน แม้เราจะรู้สึกขำๆ กับประโยคนี้เหมือนเป็นแค่ตลกร้าย แต่ฉากเดิมๆ ที่ถูกฉายซ้ำ แน่นอนว่าคนฟังคงเหนื่อยใจไม่น้อย รับฟังก็แล้ว แนะนำก็แล้ว ยังพาตัวเองกลับไปเจอ toxic relationship อยู่อีก เราคงอึดอัดกับเพื่อนเวลาที่มันมาเล่าในครั้งต่อๆ ไป เพราะคงจะเดาผลลัพธ์ออกว่าเพื่อนจะเลือกทางไหน

.

เราอยากบอกว่าเรื่องแบบนี้ไม่มีใครเป็น “หมา” หรอก ความเป็นห่วงและความจริงใจที่เรามีให้ไม่ได้หายไป อย่างน้อยการมีอยู่ของเราในช่วงที่เพื่อนดาวน์มากๆ ก็เพียงพอแล้ว อย่าคาดหวังว่าคำแนะนำที่ให้ไปจะนำไปสู่ปลายทางที่เราต้องการ เพราะการตัดสินใจเป็นหน้าที่ของเพื่อนที่จะต้องเลือกชีวิตของเขา ส่วนเราคือคนที่จะจับมือมันไว้ในวันที่ต้องการ

.

จริงๆ อยากให้มองทั้งสองมุม ถ้าเราเป็นฝ่ายอกหักแล้วกลับไปคืนดีกับแฟน พอเพื่อนหยอกว่า “แหม เอาซะกูเป็นหมาเลย” ต่อไปเราจะกล้าเล่าปัญหาให้เพื่อนฟังอีกมั๊ย ? อย่างน้อยเราคงเกรงใจเพื่อนอยู่บ้าง ไม่รู้ว่ามันคิดเล่นหรือคิดจริงว่าตัวเองเป็นหมา กลัวเพื่อนจะรำคาญ สุดท้ายถ้ามีปัญหาความรักอีกก็ขอเลือกเก็บไว้กับตัวเองอาจจะดีกว่า ไม่อยากให้เพื่อนมองว่าเราอ่อนแอหรือโง่ที่จมอยู่กับความสัมพันธ์แย่ๆ ยึดติดกับอะไรไม่เข้าเรื่อง

.

คนที่ติดอยู่ในลูปเดิมก็ไม่ใช่หมา มีแค่คนที่พร้อมจะเดินต่อกับคนที่ยังไม่พร้อมจะตัด เพียงแต่ติดอยู่ในขั้นรักๆ เลิกๆ ยังไม่รู้จะเลือกทางไหนดี การที่เพื่อนมาปรึกษาเราซ้ำๆ แต่ก็เลือกทางออกเดิมๆ ไม่ใช่เพื่อนไม่ฟังเรา หรือไม่เห็นความหวังดีที่เรามอบให้ แต่บางคนอาจจะพร้อมตัดสินใจตั้งแต่ครั้งแรกที่เล่า ในขณะที่บางคนอาจต้องการเพิ่มความมั่นใจอีกครั้งและอีกครั้ง จนพร้อมในครั้งที่สิบก็เป็นได้

.

ถ้าใครเจอความสัมพันธ์ที่วนอยู่แต่ปัญหาเดิมๆ หรือถ้าคุณเหนื่อยกับการเป็นที่ปรึกษา ลองให้อูก้าทำหน้าที่แทนคุณได้ ไม่ว่าจะความรัก ชีวิตคู่ เพื่อน หรือความสัมพันธ์แบบไหน นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของเราก็พร้อมรับฟังคุณอยู่นะ ทักเข้ามาได้เลย

Read More
อาถรรพ์ 7 ปี จิตวิทยาความรัก ooca

OOCAknowledge : อาถรรพ์ 7 ปีมีจริงไหม ? จิตวิทยาบอกได้ว่าทำไม รักเรามาถึงทางตัน

เลข 7 นี้เหมือนมีอาถรรพ์ ว่ากันว่าหลายๆ อย่างถ้าเข้าสู่ปีที่ 7 ก็จะเกิดอุปสรรคบางอย่าง จนเกิดเป็นคำว่า “อาถรรพ์ 7 ปี” หรือ Seven Year Itch จริงๆ แล้วต้นตอของปัญหาคืออะไรกันแน่ ทำไมสิ่งที่เราทำหรือแม้แต่ความรู้สึกถึงมีวันหมดอายุ ? มันเกิดขึ้นเพราะอะไรกันแน่ ?

.

ต้องบอกว่าสาเหตุหลักเลยคือ “ภาวะเหนื่อยล้าต่อความสุนทรีย์” (aesthetic fatigue) ง่ายๆ เลย “เราเบื่อหน่าย” กับความสัมพันธ์นี้ กับสิ่งที่ทำเป็นประจำ คนที่เจอทุกวัน ปัญหาที่เข้ามา ต่อให้รู้สึกดีต่อกันมากเท่าไหร่ ก็หลีกเลี่ยงความรู้สึกแย่ๆ ไม่ได้อยู่ดี ข้อดีที่เคยมองเห็น กลับกลายเป็นรับรู้ข้อเสียมากขึ้น สุดท้ายถ้าความคาดหวังที่มีต่ออีกฝ่ายไม่สอดคล้องกับสิ่งที่อีกฝ่ายเป็นจริงๆ ทั้งสองคนก็จะไปคนละทางและจบลงด้วยการเลิกรา

.

อาจเคยได้ยิน “ทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งความรัก” (Triangular theory of love) ของ Sternberg กันอยู่บ้าง เขาบอกว่าความรักมีองค์ประกอบด้วยกัน 3 อย่าง คือ ความใกล้ชิด (Intimacy) ความเสน่หา (Passion) และความผูกพัน (Commitment) ซึ่งความรักสำหรับบางคู่ก็มีครบทั้ง 3 ข้อ แต่บางคู่ก็มีแค่ 1-2 ข้อ หรือเพิ่มลดตามช่วงเวลา ทำให้ความสัมพันธ์นั้นมีขึ้นมีลง

ความรักบทจะยากก็ยาก จะให้นิยามด้วยคำไม่กี่คำคงไม่ได้ ในบทความนี้เราขอมองภาพความรักเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ 1) ความรักแบบโรแมนติก (Romantic Love) คือมีความใกล้ชิดและความสเน่หาอยู่ในนั้น เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก ทั้งอ่อนโยนแต่บางครั้งก็รุนแรง ซึ่งความสเน่หาจะจืดจางไปเองตามกาลเวลา แบบที่ 2) ความรักแบบมิตรภาพ (Compassionate Love) หากพัฒนาความใกล้ชิดและความผูกพันต่อกันด้วย ความรักก็จะยืนยาว มีความเข้าใจและห่วงใยในลักษณะครอบครัว พร้อมจะเคียงข้างในเวลาทุกข์และสุข

.

แม้จะบอกว่าอาการคลั่งรักเป็นเรื่องของอารมณ์ แต่เราปฏิเสธไม่ได้ว่าวิทยาศาสตร์ก็มีส่วน สารโดพามีน (Dopamine) ที่มาพร้อมความรักโรแมนติกจะมีอายุประมาณ 1-3 ปี พอเข้าปีที่ 4 โดพามีนและความดึงดูดซึ่งกันและกันจะลดลง งานวิจัยพบว่าหลังจาก 3 ปีแรกของการแต่งงานเป็นเรื่องธรรมดาที่ความรัก ความใกล้ชิดและความพึงพอใจในชีวิตสมรสจะเริ่มลดลงไม่ว่าจะมีลูกหรือไม่มีก็ตาม อีกทั้งสถิติการหย่าร้างก็ขึ้นสูงสุดในช่วงปีที่ 2-4 คือหลังจาก Honey Moon Period (2 ปีแรก) และอีกทีปีที่ 7 ซึ่งว่ากันว่าความพึงพอใจในชีวิตแต่งงานลดลงมากที่สุด ทั้งนี้ก็มีงานวิจัยโต้เถียงกันมากมายว่าแท้จริงแล้วควรเป็นอาถรรพ์ 4 ปี หรืออาถรรพ์ 5 ปีแทน อย่างไรก็ตาม นี่แหละคือคำตอบว่าทำไมความรักถึงมีวันจางหาย

.

หากสิ่งต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยดีฮอร์โมนออกซิโทซินและวาโซเพรสซินจะเข้ามาแทนที่โดพามีน ซึ่งจะกระตุ้นให้เราอยากสร้างความผูกพันและอยากดูแลคู่ของเราต่อไป ทำให้อยากใกล้ชิดและแบ่งปันความลึกซึ้งในชีวิตของเรากับคนรัก ใช่ว่าจะโทษแต่ตัวเลขเพียงอย่างเดียวแล้วบอกว่า “รักล่มในปีที่ 7” เป็นเรื่องปกติ เพราะปัญหานั้นได้ทับถมมาตั้งแต่ปีแรกจนถึงปีที่ 6 แล้ว ประกอบกับภาพความสวยงามถูกบีบด้วยโลกความจริงอันโหดร้ายและปัญหาวัยกลางคน (Midlife Crisis) ที่ถาโถมเข้ามา ทำให้ชีวิตคู่หมดหวัง หลายคนจึงเริ่มหนีจากความทุกข์ตรงหน้าไปตามหารักครั้งใหม่ เพื่อกลับไปจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์เพราะอยากสัมผัสความโรแมนติกอีกครั้ง

.

ตราบใดที่เรารู้สึกว่าความสัมพันธ์เริ่มสั่นคลอนและไม่พยายามแก้ปัญหา จะคบเป็นแฟนหรือแต่งงานแล้วก็ย่อมแพ้เลขอาถรรพ์นี้ได้ ทุกๆ ความสัมพันธ์เราต้องคำนึงเสมอว่าความพึงพอใจในชีวิตคู่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตามระยะเวลา ไม่ใช่ว่าความรักในช่วงเริ่มต้นจะคงที่เสมอไป หากไม่ให้ความสำคัญมันก็น้อยลงได้เป็นธรรมดา ทั้งสองฝ่ายจึงต้องช่วยกันประคับประคองและหมั่นสร้างความรักมาคอยเติมเต็มกันและกัน

.

เหมือนกับต้นไม้ที่ต้องรักและเอาใจใส่ ถ้ายังอยากรักษาความสัมพันธ์ไว้เราก็ต้องสื่อสารกับคนรักให้มีประสิทธิภาพ ปรับสมดุลความคาดหวังให้อยู่ในระดับที่เป็นไปได้ นี่จึงเป็นความท้าทายสำหรับคู่รักว่าคุณจะดูแลความรักของตัวเองได้ยาวนานแค่ไหน ? ถ้าต่างฝ่ายต่างปรับเข้าหากัน ไว้ใจกันก็ไม่ยากที่จะเจอความมั่นคงในชีวิตคู่ หากเลือกได้ใครๆ ก็อยากมีรักที่มั่นคงตลอดไป จริงไหม ?

อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือคู่มือข้างหมอน จิตวิทยาความรัก เขียนโดย เฉิน ซู่ เจวียน ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็กและครอบครัว

Sternberg, Robert J. (2004). “A Triangular Theory of Love”. In Reis, H. T.; Rusbult, C. E. Close Relationships. New York: Psychology Press. p. 258.

https://www.psychologytoday.com/us/blog/meet-catch-and-keep/202002/is-the-7-year-itch-myth-or-reality

https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/67522/-blo-womlov-wom-laneng-lan-

https://www.goodtherapy.org/blog/after-the-thrill-is-gone-the-science-of-long-term-love-1205147

Read More
คิดได้ในวันที่สายไป จิตวิทยาความรัก ooca

OOCAinsight: กด Undo ตรงไหน? มีทางใดไหมให้แก้ตัว คนๆนี้เพิ่งรู้สึกตัวในวันที่สายไป

ว่ากันว่าความสัมพันธ์ก็เหมือนหนังสือ “อ่านซ้ำเรื่องเดิม ตอนจบก็เหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยน” เราจึงเชื่อว่าถ้ามันผิดพลาดไปแล้วคงแก้ไขได้ยาก การทำผิดซ้ำๆ เลยเป็นเรื่องที่น่าเหนื่อยใจสำหรับทั้งสองฝ่าย ต่อให้จะรักกันมากแค่ไหน ถ้าไม่อยากเจ็บแบบเดิมก็ควรเดินหน้าต่อไป ไม่ย้อนกลับมารักกันอีก

.

กด Undo ตรงไหน มีทางใดไหมให้แก้ตัว

คนคนนี้เพิ่งรู้สึกตัวในวันที่สายไป

มารู้ตัววันที่ไม่มี ที่ตรงนี้เงียบเหงาเท่าไร

โอ้..เธอ กลับมาเริ่มต้นใหม่ได้หรือเปล่า

.

บังเอิญได้ยินเพลง Undo ของ POP PONGKOOL X WONDERFRAME ซึ่งเราไม่เคยฟังมาก่อน ต้องบอกว่าเป็นเพลงที่เชื่อมโยงได้กับทุกคนจริงๆ พูดถึงความอ้างว้างในวันที่คนสำคัญหล่นหายไป ได้แต่นั่งเสียใจและอยากย้อนเวลากลับไปแก้ไขให้ทุกอย่างเหมือนเดิม เข้าข่าย “รู้ตัวเมื่อสาย” ถือเป็นเรื่องที่พบเจอบ่อยในเรื่องความรัก หลายคนกว่าจะเจอจุดที่ความสัมพันธ์ลงตัว ย่อมผ่านความผิดหวัง เจ็บปวด สารพัดเรื่องงี่เง่าที่เราทำไปโดยไม่มีเหตุผล รู้ตัวอีกทีเราก็ตอนที่รักษาคนข้างตัวไว้ไม่ได้แล้ว

.

แค่เสี้ยวนาทีที่ไม่ทันห้ามใจ ปล่อยใจไปให้มันทำผิด

ไม่เคยจะคิดว่ามันจะทำให้เรามีวันสุดท้าย

ผิดที่ฉันที่มันไม่รู้ตัว ว่าตัวเองรักเธอเท่าไร

และได้ทำร้ายเธอไปอย่างนั้น

.

แน่นอนว่าเราอยากทำให้ดีที่สุดในทุกๆ ความสัมพันธ์ รู้สึกรักก็อยากจะรักให้หมดใจ แต่ใช่ว่าเราจะไม่เผลอทำอะไรพลาดไป อะไรที่เราไม่เคยรู้ ไม่เคยเข้าใจมาก่อน แม้จะเกิดขึ้นในเสี้ยววินาทีหรือเป็นเรื่องเล็กๆ สำหรับบางคน แต่อาจนำไปสู่การเลิกราได้เหมือนกัน บางคนโชคดีอาจจะได้โอกาสแก้ตัว ชดเชยสิ่งที่ทำพลาดไป ในขณะที่บางคนก็ต้องเดินจากกันไปตลอดกาล

.

เรื่องวันนั้นที่ฉันได้ทำพลาดไป เพราะฉันที่ทำให้เธอเสียใจ

ถ้าได้ย้อนกลับไปอีกครั้ง จะไม่ยอมให้เธอจากไป

บางอย่างกว่าจะรู้ว่าสำคัญก็คือวันที่เราไม่มีสิ่งนั้นแล้ว เพราะความรักไม่ได้มีแต่ด้านที่สวยงาม นอกจากจดจำเรื่องดีๆ บาดแผลที่สร้างให้กันก็ถูกเก็บไว้เหมือนกัน ถ้าเรื่องราวที่ใจเรารู้ตอนจบว่าจะเป็นยังไง เราคงเลือกที่จะปล่อยให้มันผ่านไปดีกว่า ต่อให้ความรักจะยังอยู่แต่สุดท้ายเราอาจทำได้แค่โหยหากันและกัน

.

ถ้าวันนี้เรามีใครให้รัก ให้ดูแล ขอให้รักษาเขาไว้ดีๆ บอกให้เขารู้ตัวว่าเขามีค่าสำหรับเรา เพราะชีวิตจริงมีแต่เดินไปข้างหน้า ไม่มีปุ่ม Undo ให้แก้ไข ความรู้สึกที่เสียไปก็ไม่มีวันเหมือนเดิม

อูก้าขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ ความสัมพันธ์ ดูแลใจตัวเองแล้ว อย่าลืมดูแลใจคนสำคัญด้วยนะ

ฟังเพลง Undo ของ POP PONGKOOL X WONDERFRAME ได้ที่: https://www.youtube.com/watch?v=tm2N4gntigI

Read More
เขารั้งเราไว้ทำไม move on จิตวิทยาความรัก ooca

OOCAstory: เขารั้งเราไว้หรือเป็นฉันเองที่ move on อยู่ที่เดิม

ใครๆ ก็บอกว่าเรื่องความสัมพันธ์นั้นซับซ้อน เข้าใจยาก

ถ้าไม่เจอกับตัวคงไม่รู้ แต่ถึงจะรู้ ก็ยังทำควบคุมได้ยาก

.

เพื่อนเล่าให้เราฟังว่า

ในช่วงปีแรกที่คบกัน เธอจับได้ว่าแฟนโกหก

แล้วก็ตัดสินใจเลิกลา ห่างกันไปสักพักจนทำใจได้

แต่จังหวะเวลาบางทีก็เล่นตลก เพื่อนเรากลับไปคบกับเขา

ด้วยคำสัญญาว่าจะไม่ทำให้เสียใจ เหตุการณ์เดิมๆจะไม่เกิดขึ้น

.

แต่เพราะไม่มีใครรู้อนาคต

ครั้งนี้เขานอกใจเพื่อนเรา สร้างบาดแผลที่เจ็บปวดยิ่งกว่าเดิม

เพื่อนเราพยายามบอกตัวเองให้ปล่อยเขาไป

เพราะถือว่าการนอกใจหมายความว่าอีกฝ่ายได้เลือกคนอื่นที่ไม่ใช่เรา

.

แต่บางทีคนเราก็ใจร้ายกว่านั้น

เขาไม่ปล่อยเพื่อนเรา เขาอยากคบทั้งสองคน

เพื่อนเราตัดช่องทางการติดต่อทุกอย่าง

บางครั้งก็ยอมรับว่ายังคิดถึง ภาพช่วงเวลาดีๆยังชัดเจน

.

หลังจากอยู่ในความสัมพันธ์ที่ยื้อกันกว่าสามปี

ครั้งสุดท้ายทั้งสองคนทะเลาะกันทางโทรศัพท์

เพื่อนเราร้องไห้เสียใจ … ทำไมเป็นแบบนี้อีกแล้ว

.

ตอนที่ร้องไห้เพื่อนเราอยู่กับหลาน

หลานถามว่า “ร้องไห้หรอ เป็นอะไร”

เพื่อนเราบอก “ทะเลาะกับเพื่อน”

“ถ้าเขานิสัยไม่ดีก็อย่าไปคบเขา ก็แค่นั้น” หลานบอกอย่างไม่ใส่ใจนัก

.

แต่ใครจะเชื่อ…เพื่อนเราปลดล็อกตัวเองจากประโยคนั้น

ประโยคสั้นๆ ที่ทำให้รู้ว่า มันง่ายๆแค่นี้เอง

.

ที่ผ่านมา เพื่อนเราหลอกตัวเองว่าเขารั้งเอาไว้

ทั้งๆที่เดินออกมาจากความสัมพันธ์ตั้งนานแล้ว

แต่เปล่าเลย ตัวเองต่างหากที่ไม่ยอมเดินออกมา

แม้จะรู้ว่าความสัมพันธ์นี้มัน “ไม่ดี” เอาเสียเลย

.

แล้วคุณล่ะ พร้อมจะปลดล็อกตัวเองหรือยัง

ให้อูก้าเป็นเพื่อนคู่คิด ช่วยคุณปลดปล่อยสิ่งที่ค้างคาใจ เรามีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญที่พร้องจะดูแลคุณมากมาย สามารถติดต่อเข้ามาได้ ที่ไหน เมื่อไหร่ เราก็พร้อมรับฟังคุณเสมอ

Read More
ทฤษฎี ถ่านไฟเก่า จิตวิทยาความรัก

OOCAknowledge: “ทฤษฎีถ่านไฟเก่า” ถ้ายังมีไฟ ยิ่งเข้าใกล้ยิ่งรื้อฟื้น

ในฐานะคนรักบางครั้งความสัมพันธ์ที่จบลงไปแล้ว จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าความรู้สึกทุกอย่างจะกลับไปเป็นศูนย์ แม้จะจางหรือเบาบางลงไปมากจนกลายเป็นความทรงจำ เมื่อเวลาผ่านไปความรู้สึกที่เราคิดว่าหมดไปกลับหวนมาอีกครั้ง โหยหาและคิดถึงจนทนไม่ไหวที่จะทักทายหรือถ้ามีโอกาสได้วนกลับมาเจอกัน เราก็ยังเลือกตกหลุมรักคนๆเดิม นั่นเป็นเพราะ “คนเก่าเขาทำไว้ดี” หรือเราแค่ยึดติดกับบางอย่างที่หายไป

.

จริงๆ เราสามารถอธิบายเรื่องนี้ได้ด้วยวิทยาศาสตร์เหมือนกันนะ การปรับพฤติกรรม (Behavioral Modification) มีเรื่องเกี่ยวกับการวางเงื่อนไข (Conditioning) พฤติกรรมไหนที่เราอยากให้มันเกิดเราก็แค่วางเงื่อนไขมันซะ อยากให้หมาน้ำลายไหลเวลาได้ยินเสียงกระดิ่งเราก็ฝึกมันได้ แค่สั่นกระดิ่งพร้อมให้อาหาร ทำซ้ำๆ จนเคยชิน ต่อมาให้เอาอาหารออก เหลือแค่ได้ยินเสียงกระดิ่งหมาก็น้ำลายไหลโดยอัตโนมัติแล้ว ความรักก็มีบางมุมที่ไม่ต่างจากการวางเงื่อนไข มันมักจะมีพฤติกรรมบางอย่างที่เราทำไปด้วยความรู้สึกคุ้นชิน ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

.

เมื่อมาถึงประเด็นแฟนเก่า หรือถ่านไฟเก่าเนี่ยก็เชื่อมโยงกับพฤติกรรมที่เคยได้รับการเสริมแรง (Reinforcement) เช่น เคยทำอาหารให้แฟน แล้วเขาชมว่าอร่อยมาก ถ้าเรามีความสุขกับคำชมนั้น เราก็จะอยากทำอาหารให้เขากินบ่อยๆ เรียกว่า “คำชม” คือการเสริมแรง แต่เมื่อไหร่ที่เราเลิกเสริมแรงพฤติกรรมทำอาหาร ก็คือเราหยุดยั้ง (Extinction) หรือถอนตัวเสริมแรงออก คล้ายๆ กับการเพิกเฉย (ignore)

.

เหมือนเวลาเราทำอาหารแต่ไม่มีคนชมอีกแล้วเพราะเราเลิกรากับแฟนไป ไม่มีคนตอบสนองสิ่งที่เราทำเราก็จะหยุดทำอาหารไปเองหรือค่อยๆ ลดลง ผลข้างเคียงของการหยุดยั้งคือพฤติกรรมนั้นอาจหายไปเลย แต่จะค่อยๆ กลับมาดีขึ้นตามระยะเวลา วันหนึ่งต่อให้ไม่มีตัวเสริมแรงนั้นแล้วก็ไม่มีผลอะไรกับใจเราแล้ว อย่างไรก็ตามทางจิตวิทยาว่ากันว่าการหยุดยั้ง (Extinction) เป็นเรื่องอันตราย อย่าใช้ในการปรับพฤติกรรมโดยไม่จำเป็น สิ่งที่จะช่วยได้คือต้องสร้างพฤติกรรมใหม่ๆ

.

แต่ถ้าวันหนึ่งตัวเสริมแรงนั้นกลับมาจะเกิดอะไรขึ้น ? เราก็เข้าสู่ “การฟื้นกลับหรือการกลับสู่สภาพเดิม (Spontaneous Recovery)” ยังไงล่ะ หรือบางคนก็เรียกว่า “ทฤษฎีถ่านไฟเก่า”

.

ทำไมสำหรับบางคนถ่านไฟเก่าถึงน่ากลัว

อาจเพราะว่ามันจุดติดง่ายหรือเปล่า? ไม่ใช่แค่ความรู้สึกดีๆที่หลงเหลืออยู่หรือคำถามที่ยังค้างคาอยู่ในใจ แต่เพราะว่าสมองของเราถูกวางเงื่อนไขเหมือนกับสถานการณ์ที่เราเจอคนรักเก่าเลย บางอย่างหรือความรู้สึกที่ดับหรือการหยุดยั้ง (Extinction) ไปแล้ว เมื่อเว้นระยะไปสักพักหนึ่ง เราจึงคิดว่ามันจบแล้วจริงๆ แต่แล้ววันหนึ่งเราดันเผลอไปเจอตัวกระตุ้น (ในที่นี้อาจจะหมายถึงแฟนเก่า สิ่งของหรือสถานที่ที่เคยไป) ก็จะเกิดความรู้สึกเดิม ทำให้เราตอบสนองแบบเดิมโดยอัตโนมัติ เช่น ใจเต้นแรง มีความสุข คิดถึงโมเมนต์ที่เคยมีร่วมกัน

.

น่าเศร้าที่ต้องยอมรับว่า หากความสัมพันธ์ในอดีตมีอะไรบางอย่างที่เติมเต็มเราแล้วปัจจุบันเราก็ยังโหยหาสิ่งนั้น ใจเราจะยิ่งถูกกระตุ้นให้ต้องการมันมากขึ้น ดังนั้นเขาถึงบอกว่าถ้าใจไม่แข็งพออย่ากลับไปเจอหน้าแฟนเก่าหรือติดต่อกันเลย เมื่อเราเข้าใจที่มาที่ไป ก็จะตอบคำถามได้ว่า “ทำไมหลายความสัมพันธ์อาจถูกสั่นคลอนด้วย ‘แฟนเก่า’ หรือ ‘ความทรงจำเก่าๆ’ ?” มันอาจไม่ใช่ความรัก แต่เราแค่ต้องการในสิ่งที่เคยได้รับ ไม่แปลกถ้าคนรักในปัจจุบันจะน้อยใจหรือหึงหวงเวลาหัวข้อหรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวกับคนรักเก่าโผล่เข้ามาในบทสนทนา เพราะการรู้สึกถูกเปรียบเทียบตลอดเวลามันโหดร้ายยังไงล่ะ

.

ถ้าถ่านไฟเก่ามีพลังขนาดนี้ คำถามคือถ้าอย่างนั้นเราต้องอยู่กับความระแวงไปตลอดเลยเหรอ อยากจะบอกว่าไม่เสมอไป อยากให้ทุกคนโฟกัสและทำเต็มที่กับปัจจุบัน ความสัมพันธ์ที่แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญ ต้องช่วยกันสร้างช่วยกันเติมเต็ม เพราะเราแค่อยากเป็นคนสำคัญที่สุดในความสัมพันธ์ของตัวเอง มีคนจำนวนมากที่เขาสามารถ move on ได้จริงๆ และเรื่องในอดีตก็ไม่ได้มีผลอะไรกับปัจจุบันเลย

.

หากความรักต้องจบลงจะโทษถ่านไฟเก่าอย่างเดียวก็คงไม่ได้ ถ้าคนสองคนไม่ได้พยายามในความสัมพันธ์ในระดับที่เท่าๆกัน ไม่ว่าจะเหตุผลอะไรก็ยากทั้งนั้น ถ้าใครยังติดอยู่ในความสัมพันธ์ที่ค้างคาใจ ลองให้อูก้าเป็นที่ปรึกษาปัญหาความรักของคุณดูนะ

อ้างอิงจาก

https://www.verywellmind.com/what-is-extinction-2795176

https://www.verywellmind.com/spontaneous-recovery-2795884

https://fiveable.me/ap-psych/unit-4/classical-conditioning/study-guide/QGn54mzLKcXn3LKcabkL

Read More