ชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น

“เหลือเชื่อเหมือนกันว่ายังคงมีชีวิตอยู่จนถึงตอนนี้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว และกำลังเกิดขึ้นอยู่จริงๆ”
.
ขอชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น เพราะวันนี้คือวันป้องกันการฆ่าตัวตายสากล (World Suicidal Prevention Day) ซึ่งเป็นวันสำคัญที่องค์กรอนามัยโลกและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะจิตกำหนดให้มีการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ⛅
.
สถิติระบุว่าในทุก ๆ วัน มีคนที่เลือกจะจบชีวิตด้วยตนเองวันละ 11-12 ราย นอกจากนี้ จากสำรวจของกรมสุขภาพจิต ยังพบว่า สาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย มาจากปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด (48.7%) ซึ่งในหลายครั้ง ความสูญเสียก็เกิดขึ้นโดยที่หลายๆ คน อาจไม่ทันได้ตั้งรับ และสังคมรวมถึงสื่อยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการมองว่า การฆ่าตัวตาย คือการ “คิดสั้น”

.

ไม่ว่าจะเป็นสื่อหรือสาธารณชน มักจะมองว่าการฆ่าตัวตาย คือ “การคิดสั้น” แต่แท้จริงแล้ว การฆ่าตัวตายมีกระบวนการถึง 3 ขั้นตอนก่อนจะนำมาสู่การตัดสินใจจบชีวิต อันได้แก่

.

  1. Suicidal Thought หรือ ความคิดทำร้ายตนเอง

2.Suicidal Plan คือ ขั้นตอนการวางแผนและหาวิธีที่จะทำร้ายตนเอง

3.Suicidal Attempt หรือ ขั้นตอนการพยายามฆ่าตัวตาย หรือ ทำร้ายตนเอง

.

ดังนั้น การจบชีวิตด้วยตนเอง เป็นกระบวนการที่ผ่านการคิดมาอย่างถี่ถ้วน และต้องตัดสินใจอยู่หลายตลบกว่าจะปะทุไปสู่ขั้นตอนสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้น การแปะป้ายว่า “การฆ่าตัวตาย = การคิดสั้น” เป็นการมองข้ามต้นตอของปัญหาและอาจสร้างภาพจำผิด ๆ แก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ

.

⛅ อาจารย์สิริพร เอมอ่อน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแอพลิเคชันอูก้า เผยว่า การฆ่าตัวตายนั้น ในทางจิตวิทยาได้อธิบายว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่

.

1) ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factors) เช่น สารเคมีในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน ฮอร์โมนคอร์ติซอล อยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล

.

2) ปัจจัยทางจิตวิทยา (psychological factors) ได้แก่ พฤติกรรมและบุคลิกภาพ เช่น คนที่มีนิสัยเป็น perfectionist ก็จะมีแนวโน้มกลัวความผิดพลาด และมีโอกาสเครียดง่ายกว่าคนกลุ่มอื่น

.

3) ปัจจัยทางสังคม (sociological factors) คือปัญหาที่มาจากสังคมภายนอกและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ สภาวะทางเศรษฐกิจ หรือความตึงเครียดจากภาระงาน เป็นต้น

.

ทั้งนี้ อาจารย์สิริพรยังเสริมอีกว่า ปัญหาการแม้ว่าจะมีปัจจัยไม่ครบทั้งสามด้าน เพียงแค่ปัจจัยเดียว ก็มากพอที่จะกระตุ้นให้คนหนึ่งคน เกิดความคิดทำร้ายตนเอง ดังนั้น การเฝ้าระวังและตระหนักถึงปัจจัยทาง 3 ด้าน อย่างถี่ถ้วน เป็นวิธีที่สำคัญที่จะป้องกันเพื่อน ๆ และคนรอบข้าง จากความคิดทำร้ายตัวเองซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

.

โดยที่อาจารย์สิริพรยังได้มอบคำแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถสังเกตอาการคนใกล้ชิดของเรา ผ่านการจับสัญญาณจาก 2 จุดหลัก ๆ ได้แก่ สัญญาณ verbal หรือ คำพูด และ สัญญาณ non-verbal หรือ ภาษากายและพฤติกรรม

.

⛅ หากเป็นสัญญาณ verbal เราอาจสังเกตว่า คนนั้นมักจะบ่นหรือระบายว่า “เบื่อโลก หรือ ท้อแท้” นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียถี่ขึ้นผิดปกติ การโพสต์สเตตัสระบาย หรือ การแชร์ข้อความหรือเพลงเศร้า ๆ ก็นับเป็นอีกสัญญาณที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
.

⛅ ในส่วนของสัญญาณ non-verbal อาจสังเกตได้ว่า คนใกล้ชิดของเรา มีอาการซึมเศร้า ไม่มีแรง หรือมีพฤติกรรมแยกตัวจากผู้อื่นอย่างผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้ หากพบรอยแผลตามร่างกายของคนนั้น ก็นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำคัญว่า เขากำลังต้องการความช่วยเหลือจากใครสักคนอยู่ก็เป็นได้

.

⛅ นอกจากนี้ อาจารย์สิริพรยังแนะนำว่า เมื่อไหร่ที่หลุดเข้าไปอยู่ในห้วงความเศร้าเป็นระยะเวลานาน จนไม่สามารถหาทางออกมาจากความรู้สึกเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง หากเราเริ่ม รู้เท่าทันความรู้สึกตัวเอง และตระหนักอยู่เสมอว่าความเศร้าจะไม่อยู่กับเราไปตลอด เราก็อาจมีโอกาสหาทางออกให้กับชีวิตได้

.

⛅ แม้ว่าการตกอยู่ในภวังค์แห่งความเศร้า จะเหมือนกับการว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรโดยมองไม่เห็นชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความช่วยเหลืออีกมากมายในโลกนี้ที่รอให้เราเดินเข้าไปหา ไม่ว่าจะจากคนแปลกหน้า คนที่เรารัก หรือผู้เชี่ยวชาญ

.

💙💙 โดยเนื่องในเดือนป้องกันการฆ่าตัวตายสากลนี้ ผู้ใช้บริการปรึกษาปัญหาใจกับอูก้าครั้งแรก จะได้รับส่วนลด 5% เมื่อจองนัดหมายและกรอกรหัส OOCACARES ผ่านแอปพลิเคชัน ooca 💙💙 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ https://ooca.page.link/fbnewcomer2 และใช้โค้ดได้ถึง 30 กันยายน 2565 (*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ) ⛅

Read More

4 เทคนิคจัดชีวิตให้มี Work Life Balance

หากช่วงนี้คุณรู้สึกว่า อยู่ๆงานที่เคยทำเสร็จเร็วกลับเสร็จช้าลง, อยากทำงานให้เสร็จ ๆ ไปมากกว่าผลิตงานที่มีคุณภาพ หรืองานที่เคยชอบกลับกลายเป็นงานที่เราไม่อยากแม้แต่จะเริ่มต้น – อาจแปลได้ว่าตอนนี้สมดุลการทำงาน การใช้ชีวิต และการพักผ่อนของเราไม่ได้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม และอาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าหรือบ่อนทำลาย self esteem ได้ ถ้าหากเรายังคงใช้ชีวิตแบบเดิมโดยไม่แก้ไข วันนี้อูก้าเลยอยากชวนเพื่อนๆ มาเติมเพลิงแห่งความสุขกับการทำงานของเรากันอีกครั้งผ่าน tips เล็กๆ น้อยๆ ที่จะสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานของเรา

.

ก่อนอื่นเรามาลองจัดการปัญหานี้ด้วยวิธีการจด  to do list โดยการเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ อะไรที่ต้องใช้เวลาทำมาก อะไรที่ต้องใช้เวลาทำน้อย จากนั้นเราขอชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมาลองฝึกการบาลานซ์ชีวิตเพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น โดยอูก้าได้ลองรวบรวมวิธีการเซ็ตสมดุลย์ชีวิตที่น่าจะเป็นประโยชน์มาฝากทุกคนกัน 

หาจุดที่พอดีให้กับตัวเราเอง

ก่อนอื่นอาจต้องปรับเปลี่ยน mind set ของตัวเรากันก่อนว่าการที่เราไม่ได้ทำงานหามรุ่งหามค่ำหรือพักดูหนังสัก 1-2 ชั่วโมงไม่ได้แปลว่าเราไม่ขยัน เช่นเดียวกับการที่เราตอบอีเมล 2-3 รายการในวันหยุดพักผ่อนก็ไม่ถือว่า Work-life Balance ของเราพังลง  ทุกคนสามารถหาจุดที่พอดีของตัวเองได้ตามขอบเขตการรับได้ และไม่ทำให้เรารู้สึกว่ากำลังรบกวนเวลาพักผ่อน ถึงแม้ว่าในความพอดีของเราในวันนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต เพราะเราเติบโตขึ้น กิจวัตรบางอย่างอาจทำได้ไม่เหมือนเดิม  ซึ่งเวลาที่เหลือจากการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องต่าง ๆ ของตัวเราเองนะ

ทำงานเมื่ออยู่ในเวลางานและให้เวลากับตัวเองเต็มที่เมื่อหมดเวลางาน

หลายคนอาจจะเคยนำเรื่องงานกลับมาคิดที่บ้านซ้ำไปซ้ำมา ทำให้สมองของเราเกิดการหลั่งฮอร์โมนความเครียด และพาลทำให้ทั้งสภาพจิตใจและร่างกายของเรารู้สึกเหมือนไม่ได้รับการพักผ่อน  ดังนั้นเราจึงควรแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัวออกจากกันให้ชัดเจนผ่านการวางขอบเขตการทำงานในแต่ละช่วงเวลาของเรา โดยตั้งใจทำงานเมื่ออยู่ในเวลางาน ขอความช่วยเหลือเมื่อไม่สามารถทำงานนั้นได้ และให้เวลากับตัวเองเยอะ ๆ เพราะร่างกายของเราต้องการพักผ่อนเพื่อเสริมสร้างพลังใจเหมือนกัน

นอกจากนี้ การจัดโต๊ะทำงานหลังเลิกงานยังช่วยให้แยกพื้นที่การทำงานกับการพักผ่อนออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้เราไม่รู้สึกเหมือนต้องทำงานตลอดเวลา สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้อง Work From Home เรามาลองจัดมุมใดมุมหนึ่งของห้องให้เป็นสถานที่ทำงาน โดยพยายามเลือกที่สงบ จัดโต๊ะให้เหมือนกับโต๊ะที่ออฟฟิศและใช้มุมนี้ตลอด หากเปลี่ยนมุมไปเรื่อย ๆ จะทำให้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตในการทำงานปะปนกัน เมื่อถึงเวลาเลิกงานแล้ว ก็ชัตดาวน์คอมพิวเตอร์ ยืดเส้นยืดสายสักเล็กน้อย หาของอร่อย ๆ กิน ดูซีรี่ส์ที่ยังดูค้างไว้บนที่นอนของเรากันดีกว่า นอกจากนี้อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง และทานอาหารให้ให้ครบ 5 หมู่ กันด้วยนะ

พูดปฏิเสธในเรื่องที่ไม่สามารถทำได้

เป็นเรื่องปกติที่เราอาจถูกไหว้วานจากเพื่อนร่วมงานและงานบางอย่างที่ได้รับการไหว้วานอาจเป็นงานที่เราไม่ได้อยากทำ ซึ่งการปฏิเสธที่จะช่วยไม่ใช่เรื่องผิด ในทางกลับกัน เราสามารถลองชั่งน้ำหนักดูว่าสิ่งนั้นอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบเรามากเกินไปไหม จะทำให้เรากดดันหรือเครียดหรือเปล่า เราสามารถปฏิเสธอย่างนุ่มนวลได้ เพื่อไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานในภายหลัง และเพื่อดูแลจิตใจไม่ให้ต้องแบกรับความเหนื่อยล้ามากเกินไปของเราได้พร้อมๆ กัน

ใจดีกับตัวเองบ้าง

สิ่งสำคัญที่ควรปกป้องและรักษาไว้คือใจของตัวเราเอง เวลาที่รู้สึกว่าไม่ไหวควรฟังเสียงในใจตัวเองและหยุดพัก พยายามไม่ฝืน มันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรถ้าเราจะหยุดพักทำในสิ่งที่ชอบ ถึงแม้ว่าการทำงานหนักในตอนนี้อาจยังไม่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจมากนัก แต่ถ้าสะสมนาน ๆ ไปก็สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้เช่นกัน ทั้งนี้ เราสามารถหาแหล่งเพิ่มพลังงานให้ตัวเอง จากกิจกรรมเล็ก ๆ ที่เราชอบได้  เช่น การอยู่คนเดียวในที่เงียบ ๆ เพื่อทำให้ใจสงบ การขับรถชมวิวหลังเลิกงาน เป็นต้น

👩🏻‍⚕️💙

นอกจากนี้ อ.สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาคลินิกจากอูก้าก็อยากจะฝากกำลังใจเล็กน้อย ๆ ให้เพื่อน ๆ ทุกคนว่า “ของขวัญที่ดีที่สุดที่เราสามารถให้ตัวเองได้คือความสุขจากการพักผ่อนอย่างเพียงพอ มาเริ่มต้นมีความสุขด้วยการบาลานซ์ชีวิตของเรากันนะคะ”

.

ถ้าเพื่อน ๆ รู้สึกว่าปัญหาแต่ละอย่างมันหนักเกินจะรับไหว  รู้สึกว่ามีเรื่องราวอื่น ๆ ที่อยากระบาย หรือต้องการเพื่อนไว้รับฟังและคอยปลอบโยนอยู่ข้าง ๆ เวลาเหนื่อยและสับสน ทางอูก้ายินดีให้คำปรึกษาและพร้อมรับฟังเสมอ เพราะทุก ๆ เรื่องจากคุณสำคัญที่สุดสำหรับเรานะคะ

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

.

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

https://experience.dropbox.com/th-th/resources/work-life-balance

https://medium.com/the-logician/work-to-live-or-live-to-work-c8a1f6761e

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง #OOCAissues

#mentalhealth #stigma #selflove #expectation #WORKLIFEBALANCE #OOCAfeelings #OOCAreminder #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More

Baby (makes me) Blue ฝนตกในใจหลังกลายเป็นแม่

“ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องน่ายินดีเพราะจะได้เห็นหน้าลูกน้อย แต่กลับรู้สึกเศร้าหมองเหมือนกับวันฝนพรำ”

“กังวลใจเหลือเกิน กลัวว่าจะเป็นแม่ที่ไม่ดีพอ”

เพื่อน ๆ ที่มีลูกเคยรู้สึกแบบนี้บ้างไหม?

หรือเคยเห็นคนรู้จักมีอาการซึมเศร้าหลังคลอดลูกหรือเปล่า?

.

เมื่อไม่กี่ปีก่อน นิยายเรื่อง “คิมจียอง เกิดปี 82” เขียนโดยโชนัมจู ได้สร้างปรากฏการณ์ talk of the town ไปทั่วโลก “คิมจียอง เกิดปี 82” ได้ยกประเด็นเรื่อง “ภาวะและโรคซึมเศร้าหลังคลอด” ผ่านตัวละครเอกอย่าง “คิมจียอง” โดยอาการนี้ได้เปลี่ยนทั้งทัศนคติ และมุมมองที่มีต่อคนรอบตัวของเธอ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นจุดพลิกผันครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเธอก็ว่าได้ เนื่องในโอกาสวันแม่ อูก้าอยากชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับอาการ “baby blues” หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อที่จะได้เข้าใจทั้งตัวละครคิมจียองมากขึ้น และคุณแม่มือใหม่ในชีวิตของเพื่อน ๆ กัน

.

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ baby blues เป็นอาการที่พบบ่อยถึง 50-75% ในหมู่คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก  โดยภาวะซึมเศร้านี้ จะทำให้มีอารมณ์อ่อนไหวง่ายกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มาจากฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน จึงส่งผลให้เกิดความเครียด ความเหนื่อยหน่ายกับชีวิตและสิ่งที่เคยสนใจ ความวิตกกังวลต่าง ๆ เช่น กังวลว่าตัวเองจะไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ดีพอ รู้สึกไม่มั่นใจกับบทบาทการเป็นแม่ของตนเอง รู้สึกว่าตนไม่ผูกพันกับลูก

.

นอกจากนี้บางคนอาจรู้สึกห่างเหินกับคนรอบข้าง บางครั้งอาจเกิดอาการน้อยใจ  รู้สึกท้อแท้ และสิ้นหวังในชีวิต บางครั้งก็ร้องไห้ออกมาโดยไม่มีเหตุผล แพทย์หญิงศิริลักษณ์ ลอดทอน จิตแพทย์จากแอปอูก้ายังเสริมอีกว่า นอกจากอาการทางใจแล้ว อาจมีอาการทางกายควบคู่ไปด้วย เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง จนกระทบชีวิตประจำวันของเหล่าคุณแม่ได้ โดยภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ baby blues จะมีระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าฮอร์โมนจะกลับมาอยู่ในสภาวะปกติ

.

ทั้งนี้ เพื่อน ๆ อาจสงสัยว่า แล้วอาการ baby blues  ต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร แพทย์หญิงศิริลักษณ์ได้ให้คำตอบไว้ว่า  แม้ทั้งสองจะมีพื้นฐานของอาการที่คล้ายคลึงกับอาการโรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum Depression  แต่โรค Postpartum Depression ซึ่งในไทยพบประมาณ 16.8% (ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต) ของคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกมีอาการยาวกว่า 2 สัปดาห์ และมีอาการที่รุนแรงกว่า เช่น มีความคิดต้องการทำร้ายตัวเองและลูก ประสาทหลอน มีอาการฉุนเฉียวสลับกับคึกคักคล้ายไบโพลาร์ หรืออาการทางกาย เช่น นอนไม่หลับ น้ำหนักลด เป็นต้น ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นที่จะต้องพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัย อีกทั้งต้องมีการทำจิตวิทยาบำบัดไปพร้อม ๆ กัน และรับประทานยาเพื่อรักษาอาการของโรคซึมเศร้า

.

แต่ถ้าเป็นระยะแรกเริ่มอย่างภาวะ baby blues  สามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบา ๆ ทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่อดอาหาร เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เพราะหากระดับน้ำตาลในเลือดตก อาจทำให้อารมณ์ไม่สมดุลได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การเข้าใจกับสภาวะที่ตนกำลังเผชิญ ปรับเปลี่ยนทัศนคติให้มองโลกในแง่บวก งดรับข่าวสารที่จะทำให้เกิดความเครียด และอย่าปล่อยให้ตัวเองอยู่คนเดียวด้วยการพูดคุยกับคนใกล้ชิด หรือคุณแม่คนอื่น ๆ ที่กำลังเผชิญอยู่กับภาวะ baby blues เหมือนกัน การปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรมและทัศนคติเช่นนี้ จะช่วยทำให้ฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้าได้เร็วขึ้น และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

.

ทั้งนี้ แพทย์หญิงศิริลักษณ์  ยังได้ฝากกำลังใจให้แก่คุณแม่มือใหม่ทุกคนว่า

“อยากจะให้คุณแม่เชื่อในตัวเองว่า อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีวิธีการรักษาและสามารถหายไปได้ ขอให้คุณแม่ทุกคนเชื่อในตัวเองว่ามีความสามารถในการเลี้ยงลูก พยายามมองโลกในแง่บวก อีกทั้งยังควรระลึกว่า ตนไม่ได้เผชิญปัญหานี้อยู่คนเดียว แต่ยังมีคนรอบข้างที่คอยมอบความรักและความห่วงใยอยู่เสมอ”

.

หากใครที่ได้อ่านเรื่องคิมจียอง จะเห็นว่า คิมจียองดีขึ้นจากภาวะนี้ได้ เพราะว่ามีสามีของเธอที่พยายามทำความเข้าใจและดูแลอยู่เคียงข้างเธอเสมอ ดังนั้น ทั้งภาวะ baby blues และโรคซึมเศร้าหลังคลอด ยาใจสำคัญที่จะทำให้คุณแม่มือใหม่ทุกคนสามารถผ่านพ้นความยากลำบากนี้ และกลับมามีรอยยิ้มที่สดใสอีกครั้งคือ  “กำลังใจจากครอบครัวและคนรอบข้าง”

.

เนื่องในโอกาสวันแม่ปีนี้ อูก้าจึงอยากชวนเพื่อน ๆ มาขอบคุณคุณแม่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ของเพื่อน ๆ เอง หรือคนรอบตัวที่กำลังเป็นคุณแม่ อูก้าเข้าใจดีว่าการเป็นแม่นั้นต้องผ่านอะไรมามากมาย อูก้าขอขอบคุณคุณแม่ทุกคนที่คอยดูแลพวกเราด้วยความรักตลอดมา และแน่นอนว่าอูก้าพร้อมรับฟังทุกเรื่องราวที่คุณแม่กำลังรู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจอยู่เสมอ เพื่อร่วมกันฝ่าฟันวันฝนพรำอันหนาวเหน็บนี้ไปด้วยกัน

ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง

#mentalhealth #depression #ซึมเศร้า #babyblue #PostpartumDepression #ซึมเศร้าหลังคลอด

#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues

#นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Sources:

Read More

เซโรโทนินต่ำเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า จริงหรือ…?

เพื่อน ๆ เคยได้ยินประโยคที่ว่า “เป็นซึมเศร้าเพราะเซโรโทนินต่ำ” กันบ้างไหม บทความจิตวิทยาหลายชิ้น งานวิจัยหลายฉบับ รวมทั้งรูปแบบการศึกษาที่อ้างอิงกับงานวิจัยในทฤษฎีซึมเศร้าดั้งเดิม มักจะพยายามหาวิธีเพื่อที่จะรักษาสมดุลของเจ้าฮอร์โมนนี้ และหาวิธีลดอัตราการเกิดของโรคซึมเศร้า แต่เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว เซโรโทนินต่ำไม่ได้ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า วันนี้อูก้าจะมาพาทุกคนมาไขคำตอบกันว่า เซโรโทนินต่ำเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า จริงหรือ…?

.

โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะได้ยินกันว่า อาการซึมเศร้าสัมพันธ์กับความผิดปกติของสารเคมีในสมองโดยเฉพาะสารที่ชื่อ “เซโรโทนิน” หรือสารเคมีแห่งอารมณ์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทที่เชื่อมโยงกับร่างกายและการควบคุมอารมณ์ โดยทฤษฎีดังกล่าวได้เป็นที่แพร่หลายในวงการแพทย์และจิตวิทยามาจนถึงปัจจุบัน  อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีดังกล่าวเริ่มถูกตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งมีผู้รวบรวมข้อโต้แย้งเหล่านั้นมาเป็นงานวิจัย ที่อูก้าจะพาพวกเราจะไปค้นหาคำตอบกันในวันนี้

.

งานวิจัย umbrella review ของ Joanna Moncrieff และคณะ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Molecular Psychology เมื่อปี 2022  ได้สำรวจงานวิจัยในช่วงเวลา 10 ปีที่มาผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเซโรโทนิน ยาต้านซึมเศร้า และโรคซึมเศร้า ทางทีมวิจัยศึกษาประเด็นดังกล่าวโดยพิจารณาจาก 

1. ระดับสารเซโรโทนินและเซโรโทนินเมตาโบไลต์ 5-HIAA ในโรคซึมเศร้า

2. การเปลี่ยนแปลงของการจับตัวบนผิวเซลล์ของเซโรโทนินในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 

3. ระดับของยีน SERT หรือตัวขนส่งเซโรโทนินในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 

4. ระดับของตัวขนส่งเซโรโทนิน ซึ่งจะทำให้การรับส่งเซโรโทนินที่ปลายประสาทลดลง

5. งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะการขาดทริปโตเฟน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยรักษาสมดุลทางอารมณ์และการกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้า 

6. ความสัมพันธ์ของยีน SERT กับความเครียดในโรคซึมเศร้า 

.

เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ต่าง ๆ แล้ว งานวิจัยพบว่า งานวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเซโรโทนินและเมตาบอไลต์ชี้ให้เห็นว่า การทำงานที่ลดลงของสารเซโรโทนินและโรคซึมเศร้าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะการขาดทริปโตเฟน และการกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้ายังแสดงหลักฐานที่น้อยมากเกี่ยวกับการทำงานที่ลดลงของเซโรโทนิน ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากผลในภาพรวมของกลุ่มงานวิจัยดังกล่าว เราจะเห็นได้ว่า ความเข้มข้นของเซโรโทนินกับโรคซึมเศร้าไม่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งตรงกันข้ามทฤษฎีดั้งเดิมของโรคซึมเศร้า

.

นอกจากนี้ ตัวงานวิจัยยังตั้งคำถามกับความเชื่อที่ว่า โรคซึมเศร้าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งเป็นองค์ความรู้จากการใช้ยาต้านเศร้า โดยที่งานวิจัยเผยข้อโต้แย้งที่น่าสนใจว่า การใช้ยาต้านเศร้า (antidepresssants) ในระยะยาวกลับส่งผลให้การหลั่งสารเซโรโทนินลดต่ำลง ดังนั้น หากจะกล่าวว่าการลดลงของสารเซโรโทนินเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าอาจจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว

.

อูก้าเข้าใจว่า สำหรับเพื่อน ๆ ที่กำลังต่อสู้อยู่กับโรคซึมเศร้าต้องใช้แรงกายแรงใจ เพื่อที่จะฝ่าฟันและข้ามผ่านมันไปได้ แม้จะต้องใช้เวลานานมากแค่ไหน อูก้าจะคอยอยู่เคียงข้างและเปลี่ยนให้ทุก ๆ วันเป็นวันที่สดใสสำหรับทุกคนนะ 

.

ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง

#mentalhealth #depression #ซึมเศร้า #เซโรโทนิน #scientificNEWS 

#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues

#นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Resource:

Moncrieff, J., Cooper, R.E., Stockmann, T. et al. The serotonin theory of depression: a systematic umbrella review of the evidence. Mol Psychiatry (2022). https://doi.org/10.1038/s41380-022-01661-0

Read More

งานจบ อารมณ์ไม่จบ: ความเครียดสะสม ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

“ก็มีเครียดบ้างแหละ ปกติของการทำงาน”

“มันก็คงเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ที่จะปวดหัวเรื่องงานแหละมั้ง”

“ทน ๆ ไปเถอะ เครียดนิดหน่อย เดี๋ยวก็หาย”

.

การละเลยสิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้ อาจนำพาเราไปสู่ “Minor stress” หรือความเครียดสะสมที่เกิดจากความรู้สึกในเชิงลบที่สะสมทีละเล็กละน้อยโดยไม่รู้ตัว โดยเจ้า Minor stress มักปรากฎตัวได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกเครียด กดดัน ผิดหวัง เศร้าหมอง และอื่น ๆ

.

และ Minor Stress นี่เองที่สามารถนำไปสู่ภาวะเครียดจนเกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ ซึ่งสาเหตุของความเครียดนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น ระดับฮอร์โมน การพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัญหาจุกจิกในชีวิตประจำวัน งาน หรือแม้กระทั่งการเมืองในที่ทำงานด้วยเช่นกัน

.

แล้วเราจะสามารถจัดการกับ Minor stress จากความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างไร?

.

👩🏻‍⚕️💙

คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในแอพอูก้า แนะนำกับเราว่า เมื่อมีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับความเครียดที่เรามี หากเลี่ยงปัจจัยการกระตุ้นความเครียดได้ก็ควรเลี่ยง เช่น ลองให้คนอื่นคุยงานนี้แทนเราแต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้เราอาจจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจก่อนไปเผชิญหน้ากับเขา หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ อย่างน้อยเราก็จะทำให้เราพอรู้ว่าต้องเจออะไร พยายามจัดการความรู้สึกของตัวเองหรือระบายให้เพื่อนฟัง บางทีเพื่อนอาจเคยเจอเหมือนกับเราก็ได้

.

อีกหนึ่งทางออกที่ดีคือ การลองปรึกษากับบุคคลภายนอก เพื่อให้ได้เห็นปัญหาในภาพที่กว้างมากขึ้น เพราะหลายครั้ง การมีแค่ HR หรือหัวหน้างาน ก็ไม่เพียงพอ ซึ่งที่จริง HR และเหล่าหัวหน้างาน ก็ต้องการผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเมื่อเผชิญภาวะเครียดเหมือนกัน เพราะความรู้สึกและความสัมพันธ์ในที่ทำงานเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้น “งานเยอะ” จึงอาจจะไม่ใช่ต้นตอของปัญหาทั้งหมด เมื่อปัญหาภายในองค์กรเรื้อรังรังเข้า จึงเกิดภาวะ “งานจบแล้ว แต่อารมณ์ยังไม่จบสักที”

.

ซึ่งยุคนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีหลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงานมากขึ้น โดยหลายองค์กรเริ่มมีสวัสดิการให้พนักงานได้เข้ามาปรึกษาหรือพูดคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี

.

นอกจากนี้ คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้ากล่าวว่า การมีสวัสดิการเรื่องสุขภาพจิตในองค์กรถือเป็น “เรื่องที่ดี” และ ”สำคัญมาก” เพราะนอกจากจะมีคนที่คอยรับฟังและเข้าใจปัญหาของเราแล้ว สุขภาพใจจะดีขึ้น สุขภาพกายก็จะดีตามไปด้วย สิ่งนี้จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและทำให้คนทำงานอย่างเราใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

.

แน่นอนว่าอูก้าเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจ ที่คอยช่วยสนับสนุนเพื่อน ๆ ให้เอาชนะความเครียดจนสำเร็จ ไม่ว่าเพื่อน ๆ จะเข้ามาระบายเรื่องราวต่าง ๆ ให้เราฟังหรืออยากปรึกษากันแบบจริงจัง จะเป็นเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ เราก็พร้อมรับฟังและอยู่เคียงข้างเพื่อน ๆ เสมอนะ

.

มารับพลังใจในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

อ้างอิง: https://www.medicalnewstoday.com/articles/321450?fbclid=IwAR0MzoZxiUcaf4WO1Tp4V7juKoaJAQ0saencyE2KOyH2eyalUfObG-2dZFc

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth#stigma#selflove#expectation#ความคาดหวัง#OOCAfeelings#OOCAreminder

Read More

ไขข้อข้องใจ ทำไมคนเราถึงเกลียดตัวเอง?

“ทุกคนคงเคยมีวันที่ไม่ชอบตัวเองกันบ้าง ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ปกติมากๆ เเต่ถ้าไม่มีสักวันที่เรารู้สึกชอบตัวเองเลยล่ะจะเกิดอะไรขึ้น?”

.
*ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนอาจสงสัยว่า สิ่งมีชีวิตโดยทั่วๆ ไป ควรจะมีสัญชาติญาณเอาชีวิตรอด ควรจะรักและปกป้องตัวเอง แต่ทำไมมนุษย์ถึงมีพฤติกรรมโกรธ เกลียดตัวเอง ไปจนถึงทำสิ่งต่างๆ ที่อาจเป็นภัยต่อตัวเองได้ ดังนั้น* วันนี้อูก้าจะมาเล่าเรื่อง **ความโกรธเกลียดตนเอง** (Self Hatred) ซึ่งหมายถึง *ความรู้สึกที่ว่าตัวเองไม่ดีพอ ไม่ควรค่าเเก่การได้รับความรักหรือสิ่งดีๆ จากสังคม*

เเต่เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมเราถึงมีความรู้สึกเเบบนั้นกัน?

การเกลียดตัวเองอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น บาดแผลทางใจในอดีต (Past Trauma), การเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น, การไม่ได้รับความรักหรือการยอมรับจากครอบครัวเเละเพื่อน ฯลฯ นอกจากนี้ ความเกลียดโกรธตัวเองนี้ยังขับเคลื่อนโดยเจ้าสิ่งที่เรียกว่า “Critical Inner Voice” คือ เสียงที่เกิดจากจิตใต้สำนึกลึกๆของเรา เสียงเหล่านี้จะสร้างมุมมองเเละทัศนคติของเราที่มีต่อตัวเองในเเง่ลบ เช่น “เราโง่จังเลย” “เราพูดไม่เก่ง” “เราคิดมากจัง” ซึ่งเสียงเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
.

#1 **ความทรงจำเเละประสบการณ์เลวร้ายที่เราพบเจอในอดีต:** ความทรงจำเเละประสบการณ์สร้างความเชื่อเเละความคิดของเรา (Values) เช่นคนที่เคยถูกบูลลี่ก็อาจกลัวการเข้าสังคมเเละรู้สึกไร้คุณค่า หรือคนที่เคยถูกคนรักทิ้งก็อาจคิดว่าตนเองดีไม่พอที่จะได้รับความรักเเละไม่กล้ามีความรักครั้งใหม่
.

#2 **ครอบครัวเเละการเลี้ยงดู:** ครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ วิธีการเลี้ยงดูของพ่อเเม่ก็มีผลต่อตัวเรา เช่นถ้าพ่อเเม่เป็น “Perfectionist” มีความคาดหวังในตัวลูกสูง เด็กก็จะเกิดความกดดัน เเละ กลัวว่าตนเองจะสร้างความผิดหวังให้กับผู้อื่น เมื่อทำผิดพลาดก็จะโทษตัวเอง หรือถ้าเด็กๆ อยู่ในสภาพเเวดล้อมที่คุกคามและควบคุม หรือไม่ได้รับความรักจากพ่อเเม่ ความรู้สึกนั้นก็จะสะสมไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นความรู้สึกเกลียดตัวเอง
.

#3 **การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น:** การเปรียบเทียบทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยเช่น “ทำไมเราทำงานไม่เก่งเท่าเพื่อน” “ทำไมเราไม่สวยเหมือนอย่างคนนั้น ไม่เป็นอย่างคนนี้ “ เมื่อเราสร้างภาพลักษณ์ที่เราคาดหวังไว้สูง เเต่ตัวตนจริงๆ เราไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวัง เราก็จะรู้สึกผิดหวังในตัวเอง เเละไม่รู้สึกชื่นชมในสิ่งที่เรามีหรือสิ่งที่เราเป็น

.

ทั้งหมดนี้รวมตัวกันกลายเป็น ภาพที่เรามองตัวเองโดยมี “เสียงวิจารณ์ภายใน” เหล่านี้วนเวียนซ้ำๆตอกย้ำเราจนเราเชื่อว่า “เสียงวิจารณ์ภายใน” เป็นความจริงเเละทำลายความมั่นใจของเราลงเรื่อยๆ จนเรากลายเป็นคนที่มี Self Esteem หรือความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ เเละจบลงด้วยการ “เกลียดตัวเอง” เพื่อเป็นการลงโทษตัวเองในท้ายที่สุด

.

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเราจะต้องศิโรราบต่อ “เสียงวิจารณ์ภายใน” ตลอดไปกันสักหน่อย โดยคุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้า เล่าให้เราฟังเกี่ยวกับเคสที่มาหาจิตแพทย์ด้วยความรู้สึกเกลียดตัวเองว่า …

.
👩‍⚕️
“การเกลียดตนเองเกิดจากความคิดเเง่ลบกับตัวเอง ความคิดมันเยอะท่วมท้น จนไม่สามารถจัดการกับมันได้ เเละรู้สึกว่าไม่มีใครอีกเเล้วที่ช่วยเราได้ – เมื่อเกิดความรู้สึกว่าเราทำอะไรไม่ได้สักอย่าง อยู่ไปก็มีเเต่เป็นภาระให้คนอื่น เราก็จะรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการ บางคนมีปมในอดีตที่ฝังลึกในจิตใต้สำนึก เช่น คนที่เคยอกหัก อาจไม่กล้ามีความรักครั้งใหม่ เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ เอาเเต่โทษตัวเองกับเรื่องเก่าๆที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกนี้สามารถเปลี่ยนไปได้ ถ้าเราเท่าทันความคิดตัวเอง หรือลองคุยกับตัวเอง ซึ่งการจัดการอย่างละเอียด ไม่เร่งรีบลงโทษตัวเอง ก็จะเปิดมุมมองเเละเปิดโอกาสให้ตัวเรามากขึ้น”

.

ในวันไหนที่เรารู้สึกท้อเเท้ หมดกำลังใจหรือรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง เเละไม่รู้จะระบายให้ใครฟัง อูก้ายินดีเป็นที่พักพิงใจ ให้คำเเนะนำเเละเป็นเพื่อนที่เข้าใจ เพราะเพื่อนๆ ไม่ได้เป็นคนเดียวที่คิดแบบนั้น

.

มารับพลังใจในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย:

https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth #stigma #selflove #depression #SelfCare
#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues 

Read More

#OOCAKnowledge ซึมเศร้าหลังเที่ยวจบมีจริง

ทำความรู้จักกับ Post-vacation blue ที่สายเที่ยวชิลแค่ไหนก็ซึมเศร้าได้เหมือนกัน

.

กลับมาทำงานได้ไม่กี่วัน ความรู้สึกเศร้าๆ ซึมๆ ก็ก่อตัวขึ้นในใจใครหลายคนเพราะตอนเที่ยวมันแสนจะสนุกและสบาย แค่ปล่อยตัวและใจไปกับบรรยากาศดีๆ แต่พอกลับมาสู่โลกความเป็นจริงที่ต้องนั่งทำงานก็เล่นเอารู้สึกแย่เหมือนกันนะ

.

Post-vacation blue คือชื่อเรียกกลุ่มอาการซึมเศร้า วิตกกังวลหรือขาดแรงจูงใจที่จะทำงานหลังจากผ่านวันหยุดพักผ่อนและเป็นอาการระยะสั้นๆ ไม่เกิน 3 อาทิตย์ก็จะรู้สึกดีขึ้น

.

เบื้องหลังของความรู้สึกเหล่านี้มาจากการปรับตัวของร่างกายที่ดึงพลังงานภายในเพื่อรับมือสถานการณ์ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย เมื่อต้องกลับมาอยู่สถานการณ์เดิมๆ ร่างกายก็ปรับตัวไม่ทันซะแล้ว หรือบ้างก็พูดถึงปรากฏการณ์ The Contrast Effect ที่เกิดจากเราเปรียบเทียบในใจว่าการได้เที่ยวมันดีกว่าการนั่งทำงานทำให้กลายเป็นกับดักทางความคิดที่เมื่อเรากลับไปใช้ชีวิตเดิมๆ ก็รู้สึกห่อเหี่ยวขึ้นมาตามที่คิดไว้ทันที

.

ไม่ว่าจะถูกอธิบายด้วยแนวคิดแบบใด แต่ความเศร้าและเบื่อหน่ายที่เรารู้สึกเป็นเรื่องจริงเสมอ วันนี้อูก้าขอยกเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยเยียวยาหัวใจหลังวันหยุดยาวให้กลับมาสดชื่นได้อีกครั้ง

.

1.เปลี่ยนความทรงจำให้จับต้องได้

  1. แทนที่จะให้ประสบการณ์ของการไปเที่ยวเป็นเพียงความทรงจำดีๆ ในหัวใจ เปลี่ยนให้มันเกิดขึ้นจริง เอาสิ่งที่ได้จากมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันไปเลย เช่น ลงเรียนภาษาของประเทศที่เราไปมา หรือลองทำอาหารที่เราประทับใจจากทริปในครั้งนี้

2.ตัวจริงยังไปไม่ได้ ส่งใจไปก่อนละกัน

  1. ถึงตัวเราจะไม่สามารถหนีความจริงที่ว่าเราต้องทำงาน แต่เราสามารถส่งความคิดและใจให้จินตนาการถึงความรู้สึกดีๆ ที่ได้รับจากการเดินทางในครั้งนี้ ลองนึกว่าภาพตอนที่เราได้เห็นวิวสวยๆ อาหารน่ากิน เพียงเท่านี้ก็ปลุกหัวใจที่กำลังเซ็งให้ตื่นได้อีกครั้ง

3.มองคนรอบตัว

  1. ความรู้สึกเศร้าที่ตีตื้นอาจทำให้เราเลือกที่จะตีตัวออกห่างจากคนอื่น ลองหันมาโฟกัสคนที่เรารัก พูดคุยหรือชื่นชมในสิ่งที่พวกเขาทำ เพราะการเห็นคุณค่ากันและกันจะตามมาด้วยความรู้สึกดีๆ เหมือนที่เราได้เจอในระหว่างการเดินทางนั้นแหละ

.

อูก้าเชื่อว่างานเลี้ยงไม่ได้มีวันเดียวฉันใด วันหยุดก็ไม่ได้มีแค่นี้ฉันนั้น ยังมีวันหยุดอื่นๆ ที่ให้เพื่อนๆ ได้เตรียมตัววางแผนและตั้งตารอคอยเหมือนกัน แต่ถ้าเพื่อนๆ รู้สึกว่าความเศร้าที่มีไม่หายไปไหนสักที การต่อสู้เพียงลำพังอาจเป็นเรื่องยาก ลองหาเพื่อนที่ไว้ใจอย่างอูก้า เพื่อเล่าทุกความรู้สึก คลายความซึมได้เลยนะ

อ้างอิง

Spiegel, J. (2010, March 15). Post-vacation blues. Psychology Today. Retrieved April 13, 2022, from https://bit.ly/3KJVgd8

รู้จักอาการ Post-Vacation Blues เมื่อหยุดยาวฉันสุขล้นปรี่ และเศร้า หลังวันหยุดพักผ่อน มีอาการ วิธีการรักษาอย่างไร. (2022, January 7). กรมสุขภาพจิต, Retrieved April 13, 2022, from https://bit.ly/3uGEHcm

Read More

#OWPKnowledge: The Great Resignation ลาออกครั้งใหญ่ ทำไมต้องตื่นตัว

การเกิดขึ้นของสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดไม่เพียงทำให้การใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไปเท่านั้นยังส่งผลให้เกิดปรากฏที่ทำให้องค์กรต้องตื่นตัว อย่าง ‘ปรากฏการณ์การลาออกครั้งใหญ่’ (The Great resignation) ที่พนักงานพร้อมใจกันตบเท้าลาออกจากบริษัทมากเป็นประวัติการณ์ทั่วโลก

.

จากผลสำรวจของ Microsoft work trend พบว่า 41% ของพนักงานทั่วโลกมีความคิดอยากลาออกจากงานที่ทำอยู่ในตอนนี้ สถิติในสหรัฐอเมริกาพบว่าในปี 2021 มีสถิติพนักงานลาออกสูงที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกเฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 3.95 ล้านคน ในขณะที่ปีอื่น ๆ มากสุดอยู่ 3.5 ล้านคนต่อเดือนเท่านั้น หรือประเทศแถบยุโรปอย่างเยอรมันนีหรืออังกฤษที่พบกับภาวะขาดแคลนแรงงาน ส่วนประเทศไทยพบว่าสถานการณ์การว่างงานในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาเกือบ 70% มาจากการลาออก เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติการลาออกของประเทศอื่นแล้วสำหรับประเทศไทยอาจยังไม่โดดเด่นมากนัก แต่อย่างไรตามตัวเลขการลาออกที่สูงรวมกับการระบาดเป็นระลอก ๆ ภายในประเทศ HR ก็ไม่อาจนิ่งนอนใจได้อีกต่อไป

.

ผลการสำรวจในต่างประเทศพบ เหตุผลสำคัญที่ทำให้พนักงานตัดสินใจลาออกคือ

1. การดูแลพนักงานในช่วงที่มีการระบาดโควิด-19

2.ผลตอบแทนหรือสวัสดิการ

3. ขาดสมดุลชีวิตและงาน (Work-life balance) คล้าย ๆ กับผลสำรวจในประเทศของ JobsDB พบว่าสิ่งสำคัญที่พนักงานมองหาในงานใหม่หลังเกิดโรคระบาดคือผลตอบแทนหรือความมั่นคงมากที่สุด รองลงมาคือเพื่อนร่วมงานที่ดี งานที่มีคุณค่า หัวหน้าที่เอาใจใส่และความสมดุลของชีวิตและการทำงานตามลำดับ แตกต่างกับก่อนหน้าที่จะมีการระบาดที่ยึดความสุขในการใช้ชีวิตของตัวเองเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นช่วงที่สภาพบ้านเมืองและเศรษฐกิจไม่มั่นคง การได้ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลจึงจูงใจคนให้เลือกทำงานต่อ

.

นอกจากความมั่นคงภายนอกที่ตามหา ภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานทำให้พนักงานหลายคนตามความมั่นคงภายในใจ จากผลสำรวจในปีที่แล้วของ The Adecco Group พบว่าพนักงานมีแรงจูงใจลดลง พนักงาน 4 ใน 10 คนกำลังเจอกับภาวะหมดไฟ มองไม่เห็นความก้าวหน้าในอาชีพหรือรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร กลายเป็นความเครียดในการทำงานและตัดสินใจลาออกในท้ายที่สุด

.

‘ปรากฏการณ์ลาออกครั้งใหญ่’ คือปรากฏการณ์ที่สะท้อนแนวคิดการทำงาน การสร้างสมดุลในชีวิตไปจนถึงการกำหนดเป้าหมายในชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิม สร้างความท้าทายใหม่ให้กับองค์กรหากยังทำงานในรูปแบบเดิมหรือฝ่าย HR หากยังไม่สามารถมองเห็นในความต้องการใหม่ ๆ ที่พนักงานเหล่านี้มองหา การลาออกของพนักงานอาจกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในอีกไม่ช้า

ข้อมูลอ้างอิง

20 แนวโน้มตลาดงานปี ’64 – ’65 “จ้างงานลดลง-เงินเดือนสำคัญกว่า Work-Life balance-ต้อง Upskill-Reskill” -. (2021, August 5). Brand Buffet. Retrieved March 6, 2022, from https://bit.ly/3MxvAli

.

สำนักงานประกันสังคม. (n.d.). สถานการณ์การว่างงานและการเลิกจ้าง. Retrieved March 6, 2022, from https://bit.ly/37bZrzx

.

Cook, I. (2021, November 10). Who is driving the great resignation? Harvard Business Review. Retrieved March 6, 2022, from https://bit.ly/3MwS9Gu

.

Joblist. (2021, October 7). Q3 2021 united states job market report. Retrieved March 6, 2022, from https://bit.ly/3tuZ4Hy

.

Microsoft work trend index. (2021, March 22). The next great disruption is hybrid Work—Are we ready? Microsoft. Retrieved March 6, 2022, from https://bit.ly/3IQVqOV

.

The Adecco Group. (2021, October 27). The great resignation การลาออกครั้งใหญ่ของมนุษย์เงินเดือน. Retrieved March 6, 2022, from https://bit.ly/3sPvNIC

.

S. (2022, February 1). Interactive Chart: How Historic Has the Great Resignation Been? SHRM. Retrieved March 6, 2022, from https://bit.ly/3HNvPF1

Read More
เครียด ซึมเศร้า พบจิตแพทย์ ไฮเปอร์เวน โรคเรียกร้องความสนใจ

OOCAknowledge: Hyperventilation Syndrome ไม่ได้เรียกร้องความสนใจ แต่ร่างกายมันไปเอง

การบ้านเยอะจนเครียด เรียนออนไลน์ก็ไม่รู้เรื่อง

หัวหน้าดุอีกแล้ว งานที่ทำกำลังฆ่าเราอย่างช้า ๆ

คนที่รักกลับกลายเป็นเฉยชา ครอบครัวก็ไม่สนใจ

.

เคยไหมทุกสิ่งที่เข้ามาทำให้เรารู้สึกเครียดจนทนไม่ไหว ?

รู้สึกเครียดและวิตกกังวลกับอะไรบางอย่างจนหายใจไม่ออก เคลื่อนไหวร่างกายไม่ถนัด หายใจเข้าไปเท่าไหร่อากาศก็ไม่ลงปอดเสียที มีอาการหูอื้อ หน้ามืด เวียนหัวเหมือนจะเป็นลม มือเย็นเท้าเย็น บางทีก็เกิดอาการมือจีบ ตัวเกร็งไปหมด และอาการเหล่านี้มักจะมาในช่วงที่คุณรู้สึกเครียดหรือวิตกกังวลมาก ๆ ซ้ำร้ายคนรอบตัวยังไม่เข้าใจ และคิดว่าคุณอาจกำลัง ‘เรียกร้องความสนใจ’ ทั้ง ๆ ที่มันไม่ใช่แบบนั้นเลย นี่เราเป็นอะไรกันแน่นะ ?

.

Hyperventilation Syndrome ภาวะหายใจหอบเพราะอารมณ์

สิ่งที่คุณเป็นอยู่ (หรือคนใกล้ตัวของคุณกำลังเป็น) อาจจะเป็นอาการของ ‘Hyperventilation Syndrome’ หรือ ‘ภาวะหายใจหอบเพราะอารมณ์’ ซึ่งมีสาเหตุมาจากด้านอารมณ์และจิตใจ ส่วนใหญ่เกิดจากความเครียด ความวิตกกังวล รู้สึกกลัว ประหม่า โดยก่อนเกิดอาการพบว่าผู้ป่วยมักประสบภาวะกดดันทางจิตใจ เช่น ปัญหาการเรียน รู้สึกเครียดจากที่ทำงาน ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หรือเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกตื่นกลัว เครียด กังวลมาก ๆ จนทำให้เกิดภาวะ Hyperventilation ขึ้น

.

ภาวะหายใจหอบเพราะอารมณ์นี้เกิดขึ้นเป็นช่วงสั้น ๆ ประมาณ 20-30 นาทีเท่านั้น พบว่าเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เมื่อมีอาการ ร่างกายจะหายใจเร็ว หอบลึก ทำให้มีออกซิเจนในเลือดมากกว่าปกติ และระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ตามมาคือ รู้สึกหายใจลำบาก เหมือนหายใจเท่าไหร่ก็ไม่พอ หัวใจเต้นแรง ใจสั่น รู้สึกหวิว ๆ หน้ามืดและเวียนหัว และเมื่อออกซิเจนในเลือดมากเกินไปฉับพลันก็นำไปสู่ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ทำให้มือเท้าจีบเกร็ง มือเท้าเย็น ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า

.

ไม่ได้เรียกร้องความสนใจ แต่ร่างกายมันไปเอง

ถึงแม้ว่าอาการนี้จะไม่ส่งผลอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็อาจจะรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่สำคัญคือสภาพจิตใจที่อาจจะเหนื่อยล้ากับอาการที่เป็นอยู่ หลายคนที่มีอาการนี้ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นอะไร แถมยังถูกตัดสินด้วยอคติ ว่าเรียกร้องความสนใจบ้างแหละ ทำตัวนางเอกบ้างแหละ

.

อย่างเช่นกรณีของบางมหาวิทยาลัยที่มีการรับน้อง นิสิตนักศึกษาปีหนึ่งที่พึ่งผ่านพ้นวัยมัธยมมาสด ๆ ร้อน ๆ ปรับตัวกับวัฒนธรรมและบรรยากาศใหม่ ๆ ไม่ทัน จนเกิดภาวะหายใจหอบเพราะอารมณ์ หน้ามืด จะเป็นลม มือจีบกันอยู่บ่อยครั้ง หรืออย่างวัยทำงานช่วงที่ต้องเตรียมนำเสนองานกับลูกค้าแล้วรู้สึกเครียด วิตกกังวลมากจนหายใจไม่ทัน แม้กระทั่งในเด็กเล็กเองก็มีอาการนี้ได้เช่นกัน เมื่อรู้สึกขัดใจ ตกใจ เครียดกับสถานการณ์ตรงหน้า จนทำให้เกิดอาการนี้ขึ้น

.

น่าเศร้าที่หลายครั้งคนเหล่านี้กลับถูกมองว่าเป็นพวกชอบเรียกร้องความสนใจ หรือ ‘Attention Seeker’ เนื่องจากภาวะนี้เกิดขึ้นจากใจที่โดนกระทบกะทันหัน หรือจากอารมณ์ที่กดดัน บางครั้งใจพยายามควบคุมแล้ว แต่ร่างกายดันตอบสนองออกมาเป็นอาการที่แม้แต่คนที่เป็นบางคนก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็น ซึ่งภาวะนี้หากเป็นหลาย ๆ ครั้ง ร่างกายอาจกระตุ้นให้เกิดอาการขึ้นมาเองได้แม้จะไม่ได้เครียด เช่น บางครั้งแค่ถอนหายใจลึก ๆ ก็เริ่มเกิดอาการหายใจหอบได้จนคล้ายกับแกล้งทำ คนรอบข้างเลยคิดว่าเป็นเพราะต้องการเรียกร้องความสนใจ และทำให้คนที่มีภาวะนี้รู้สึกเครียดและวิตกกังวลเพิ่มขึ้นจนทำให้อาการแย่กว่าเดิม

.

ถ้าเกิดอาการแบบนี้ ควรทำอย่างไรดี?

1.พยายามควบคุมสติและหายใจให้ช้าลง เพราะอาการที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการหายใจเร็วเป็นหลัก พยายามนับจังหวะหายใจเข้าออก หากควบคุมลมหายใจได้ก็จะทำให้อาการค่อย ๆ ดีขึ้น

2.คลายเคียด หาทางป้องกันด้วยการเสริมสร้างสุขภาพจิตให้แข็งแรงขึ้น และเสริมความแข็งแรงของร่างกาย ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อลดโอกาสในการเกิดอาการ

3.ควรพบจิตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการรักษาหรือการใช้ยาช่วยเหลือตามความจำเป็น

.

เพราะร่างกายรู้ดี…สิ่งสำคัญคือการ ‘ดูแลใจ’

นอกจากวิธีการดูแลร่างกายแล้ว การดูแลตัวเองทางใจก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากเราพิจารณาสาเหตุของการเกิด Hyperventilation จะเห็นได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับสภาวะของจิตใจเป็นหลัก โดยเฉพาะความเครียดและความรู้สึกวิตกกังวล สิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้คือ “การดูแลใจ” ให้ดี หมั่นตรวจสอบอารมณ์ความรู้สึกตัวเองบ่อย ๆ พูดคุยปรึกษากับเพื่อน คนในครอบครัว หรือคนที่ไว้ใจ เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล ที่สำคัญคือ “การปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ” ที่จะช่วยให้ตัวเราเข้าใจภาวะนี้ได้ดีขึ้น รู้วิธีจัดการกับอารมณ์และความเครียดที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะควบคุมภาวะดังกล่าวได้

.

นอกจากการดูแลตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจ อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญกับใจก็คือแรงสนับสนุนจากคนรอบข้าง หากเราเป็นคนหนึ่งที่มีอาการนี้หรือมีคนใกล้ตัวประสบปัญหาเหล่านี้ อย่าลืมว่าเขาต้องได้รับการดูแลรักษา ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะพวกเขา ‘แกล้งทำ’ แต่เป็นเพราะจิตใจกำลังส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ดังนั้นเราต้องเข้าใจและรับฟัง รวมถึงเป็นที่พักพิงทางใจในเวลาที่พวกเขาต้องการใครสักคนเคียงข้าง

.

หากคุณจะกำลังเผชิญกับความเครียดและความวิตกกังวลแบบไหน หรือคุณอาจจะกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่หรือไม่ ทางอูก้ามีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาพร้อมช่วยเหลือและรับฟังคุณอยู่เสมอ มาดูแลใจไปด้วยกันนะ

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.manarom.com/blog/Hyperventilation_Syndrome.html

https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/Hyperventivation syndrome.PDF

https://www.pobpad.com/hyperventilation

Read More
คลับเฮ้าส์ โรคซึมเศร้า

Mindfully Dose #5 “สวัสดีซึมเศร้า” ฉันไหวอยู่…แต่ก็รู้สึก

โรคซึมเศร้าเรียกว่าเป็นโรคฮิตเลยก็ว่าได้ ใคร ๆ ก็บอกว่าฉันเครียด ฉัน sensitive ไปจนถึงฉันเป็นซึมเศร้า แต่จริงๆ เรารู้ได้ยังไงว่าเราเป็นโรคซึมเศร้า หรือเราควรต้องไปหาจิตแพทย์ได้แล้ว เราได้เจาะลึกโรคซึมเศร้าไปพร้อม ๆ กับพญ. ชัชชญา เพียรจงกล จิตแพทย์ทั่วไป จากแอปพลิเคชันอูก้า และแขกรับเชิญสุดพิเศษ คุณอแมนด้า ชาลิสา ออบดัม MUT 2020 ที่จะมาช่วยตอบคำถามเรื่องของสุขภาพจิต

โรคซึมเศร้าคืออะไร ?

คุณหมอ : ขึ้นชื่อว่า “โรค” ก็บ่งบอกว่าเป็นความผิดปกติทางการแพทย์ ส่งผลให้สารสื่อประสาทในสมองเปลี่ยนแปลงไป ทำให้อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม ไปจนถึงความจำของเราทำงานผิดปกติ กระทบกิจวัตรประจำวัน ทำอะไรต่าง ๆ ได้ไม่ดีเท่าเดิม ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อได้ ควรได้รับการดูแลรักษาเพื่อให้ทุเลาลง ซึ่งต่างจากความเศร้าทั่วไปที่หายดีด้วยตัวเองได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่เป็นอ่อนแอ ไม่สู้ แต่เขากำลังเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษา บางคนมีอารมณ์เศร้าจนไม่อยากมีชีวิตอยู่ สำคัญเลยคือสังเกตตัวเองได้ ทำแบบทดสอบได้ แต่ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเพื่อปรึกษา ประเมินและวินิจฉัย

จะสังเกตได้อาการของโรคซึมเศร้าได้อย่างไร แล้วรักษาให้หายขาดได้ไหม หรือสามารถหายแล้วกลับมาเป็นอีกได้หรือเปล่า ?

คุณหมอ : ลักษณะคือมีอารมณ์เศร้าเบื่อ เป็นทั้งวัน ติดต่อกันเกินสองสัปดาห์ มีความคิดลบมากขึ้น ส่วนใหญ่หากตรวจพบแล้วก็ทานยา พันธุกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถ่ายทอดโรคนี้ แต่พบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่ 80-90% มาจากสิ่งรอบตัว ความเครียดมากกว่า โรคซึมเศร้าหายได้แต่ต้องอาศัยหลายๆ อย่าง อาจจะกลับมาเป็นใหม่หรือเป็นต่อเนื่องก็ได้เหมือนกัน บางคนหายไปสองสามปีแล้วเป็นอีก บางคนก็หายไปสิบปีละกลับมาเป็นอีก ครั้งแรกอาจจะทานยาต่อ 6-9 เดือนหลังจากหายเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ แต่ถ้าเป็นซ้ำ ต่อไปอาจจะเรื้อรัง ทำให้ต้องรักษาหรือทานยานานกว่าเดิม สิ่งกระตุ้นคือความเครียด คนรอบข้าง การงาน การเงินหรือสิ่งแวดล้อม จริงๆแล้วปัจจัยเสี่ยงก็มาจากเรื่องใกล้ตัวคนไข้

Eating Disorder คืออะไร ?

คุณหมอ : Eating Disorder เกิดกับการรับรู้ของเราที่มักจะกังวลเรื่องรูปร่างเป็นพิเศษ มีความเชื่อผิดๆ ทำให้เกิดพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติไป เช่น อยากผอมมากๆ ไม่อยากทานอาหาร ไปจนถึงล้วงคอ บางเคสของคนที่เป็น ED พบโรคซึมเศร้าร่วมด้วยบ่อยมาก เพราะเราอยู่กับความทุกข์ใจมาเป็นเวลานาน

คุณอแมนด้า : เคยมีประสบการณ์ถูก body shaming ทำให้อยากลดน้ำหนัก เริ่มเข้ายิม มองอาหารเป็นศัตรู แล้วน้ำหนักก็ลดลงอย่างน่ากลัว แต่เรารู้สึกว่าลดเท่าไหร่ก็ไม่พอ มองในกระดูกที่โผล่ออกมายังไม่มากพอ มีอาการล้วงคอ ทานแล้วรู้สึกผิด เหมือนต่อสู้กับตัวเองตลอด ใจนึงก็บอกว่าต้องทาน แต่อีกใจก็อยากผอม ตอนนั้นคนรอบตัวสังเกตเห็นทำให้เรารู้สึกตัว เพื่อนถามว่า เราต้องการความช่วยเหลืออะไรไหม ? ตอนนั้นเราก็บอกว่าเราโอเค เหมือนลึกๆเรารู้ว่าเราไม่เหมือนเดิมแต่เราไม่อยากหาย เพราะถ้าหายเราจะไม่ผอมอย่างที่เราตั้ง goal ไว้

เข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างไร ? โรค ED สามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม ?

คุณอแมนด้า : ตอนนั้นเรากลับมาที่เมืองไทย ครอบครัวคอยให้กำลังใจเรา ไม่เคยใช้คำพูดที่ต่อว่าให้เราไปรักษาเลย เราก็เริ่มคิดได้ว่าคนรอบตัวรักเราขนาดนี้ เราต้องดูแลตัวเอง เราต้องหาย ใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะกลับมากินอาหารได้ปกติ เหมือนเราต้องสร้าง relationship กับอาหารใหม่ทุกครั้งที่เราตักข้าวเข้าปาก เราต้องต่อสู้กับความคิดของตัวเองตลอดเวลา แต่กำลังใจสำคัญมากๆ

คุณหมอ : โรคทางจิตเวชมีปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เราอาจรู้สึกหายขาดอยู่ช่วงเวลานึง แต่อาการก็อาจจะกลับมาได้ตลอดถ้ามีอะไรเข้ามากระทบ เพราะฉะนั้นเราต้องดูแลตัวเอง หมั่นสังเกต อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและคนรอบข้างก็อาจจะคอยช่วยเหลือด้วย

ในประเทศไทยคิดว่าคนเข้าใจเรื่องสุขภาพจิตมากน้อยแค่ไหน รวมถึงโรคซึมเศร้าด้วย ?

คุณอแมนด้า : โรคซึมเศร้าเป็นคำที่เราได้ยินบ่อย แต่คนส่วนใหญ่อาจยังไม่เข้าใจความหมาย ส่วนตัวเราไม่เคยเป็นโรคซึมเศร้า แต่จากประสบการณ์ของเรา ก็คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก สุขภาพจิตเป็นเรื่องกว้างมาก บางทีคนก็พูดไปในเชิงล้อเล่น

คุณหมอ : ปัจจุบันหมอรู้สึกว่าคนกล้าเข้ามาหามากขึ้น จำนวนคนมาโรงพยาบาลก็เยอะขึ้น หรือแม้แต่ในแอปฯ อูก้าก็ด้วย คิดว่าคนเริ่มเข้าใจมากขึ้นแล้ว จริงๆ สื่อมีส่วนช่วยในการสร้างความตระหนักมากเหมือนกัน

ในมุมของคนที่อยู่ท่ามกลางสื่อ เป็นจุดสนใจ มีความเครียดหรือรู้สึกกดดันมากกว่าคนทั่วไปไหม ?

คุณอแมนด้า : จริงๆ ด้ามองว่าทุกคนมีความเสี่ยงเท่ากัน เพราะทุกคนต่างต้องเจอแรงกดดัน อยากให้เอาแรงกดดันมาทำให้เป็นเรื่อง positive เราจะดูว่าหน้าที่ของเราความผิดชอบของเราคืออะไร ด้ามีสองวิธีด้วยกัน อย่างแรกโฟกัสที่เป้าหมาย เรารู้ว่าเรากำลังทำอะไร อย่างที่สองหา support system ที่ดี คนรอบข้างที่รักและเป็นกำลังใจให้เรา

ในฐานะคนใกล้ชิดคนที่เป็นโรคซึมเศร้า เราจะทำอย่างไร ? พฤติกรรมหรือคำพูดอะไรที่เราต้องระวังเป็นพิเศษ ?

คุณหมอ : ก่อนอื่นเราต้องพยายามทำความเข้าใจว่า เขากำลังคิดอะไร รู้สึกอะไรอยู่ แล้วก็รับฟังเขาอย่างไม่ตัดสิน อยู่ข้างๆ และเป็นกำลังใจให้เขา ส่วนคำพูดและการกระทำสำคัญที่ “เจตนา” ความตั้งใจและความหวังดีของเราจะทำให้เขารับรู้ได้ บางคนอาจจะหวังดีแต่พูดไม่เป็น หมอคิดว่าบางคำอาจจะไม่ดี เช่น บอกปัด ให้ไปเข้าวัดฟังธรรม ให้ปลง หรือบอกเขาว่า “เลิกเศร้าได้แล้ว อย่าคิดมาก” บางทีมันเป็นโรค เขาเลิกคิดไม่ได้ “ทำไมไม่หาย” “ทำไมเลิกคิดไม่ได้” จะทำให้เขารู้สึกไม่ดี

อย่างคำว่า “สู้ๆ” ทำไม่ควรใช้ ? เพราะเหมือนให้เขาสู้อยู่ลำพัง รู้สึกโดดเดี่ยว แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบางคน สำหรับคำนี้ บางคนก็รู้สึกว่าเพื่อนเป็นห่วง พูดได้ อีกอย่างที่ต้องระวัง คือ เรารู้สึกว่าเราพูดดีแล้ว ให้กำลังใจเต็มที่แล้ว แต่ด้วยโรคทำให้คนเป็นซึมเศร้าตีความไปทางลบได้ ซึ่งเราก็ไม่ได้พูดอะไรผิดเพียงแต่เขาไม่สามารถมองในทางบวกได้ อาจบอกเขาตรง ๆ ว่าเราเป็นห่วงและอยากให้เขาได้รับความช่วยเหลือ

Q&A

ถาม : ครอบครัวมีคนเป็น depression , anxiety , bipolar ในต่างประเทศการไปหาหมอหรือนักจิตฯ เป็นเรื่องปกติมาก อยากถามว่าในประเทศไทยมีการแยกชัดเจนไหมระหว่างหมอกับนักจิตฯ แล้วจะไปหานักจิตวิทยาที่ไหนดี ?

คุณหมอ : อย่างประเด็นแรกจิตแพทย์ต้องเรียนจบหมอ ต่อเฉพาะทาง จะสามารถจ่ายยาและทำจิตบำบัดได้ แต่ด้วยความที่ภาระงานเยอะ (ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล) ทำให้จิตแพทย์ไม่ค่อยมีเวลาทำจิตบำบัด ส่วนนักจิตวิทยาจะเชี่ยวชาญเรื่องการทำจิตบำบัดในรูปแบบต่าง ๆ ปกติแล้วหมอจะทำงานร่วมกับนักจิตวิทยา อ่านแฟ้มคนไข้จากนักจิตวิทยา มีการประสานงานกัน ทำ conference ร่วมกัน ขึ้นอยู่กับเคสด้วย จริงๆ ถ้าเทียบกับต่างประเทศต้องบอกว่าเราเข้าถึงจิตแพทย์และนักจิตวิทยาได้ง่ายกว่ามาก อย่างในแอปฯ อูก้าก็ถือว่ามีจำนวนเยอะมากๆ

ถาม : เราเคยคิดว่าพอเราเศร้าก็หายเศร้าสิ แต่จริงๆเราเข้าใจผิด เราเริ่มมาศึกษาและสนใจเรื่องนี้ มันจะเป็นไปได้ไหมที่จะมี platform ทำให้เรื่องสุขภาพจิตเข้าถึงได้กับทุกคน มีการวางแผนหรือจะทำอะไรในอนาคตได้บ้างเพื่อทุกคนเห็นความสำคัญเรื่องนี้?

คุณอิ๊กตอบ : คนไทยส่วนใหญ่กังวลเรื่อง stigma การถูกอคติว่าเป็น “โรคจิต” กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวด้วย คำถามนี้คือเหตุผลที่เราก่อตั้งอูก้าขึ้นมาเลย เราเองก็เป็นคนที่ป่วยเหมือนกันตั้งแต่อายุ 15 แต่กว่าจะกล้ายอมรับและไปหาหมอต้องใช้เวลานานเกือบสิบปี โรงพยาบาลทั่วไปเองก็มีความลำบากในการรักษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็มีน้อย เราเลยอยากจะเปลี่ยนแปลงให้เรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญที่พูดถึงได้ อยากให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาที่ไหนก็ได้ที่เขารู้สึกปลอดภัย อูก้าอยากช่วยทำลายกำแพงตรงนี้ คิดว่าทุกคนสามารถแบ่งเบากันได้ ช่วยกันได้ ลุกขึ้นมาช่วยสนับสนุน นอกจากนี้เราก็มีโครงการ wall of sharing ที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย มุ่งเน้นช่วยนักศึกษาให้ได้พบจิตแพทย์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถาบันใดๆ นักศึกษาทุกมหาวิทยาลัยสามารถใช้บริการได้

คุณหมอ : platform ที่เพิ่มขึ้นมาช่วยได้มาก เพราะมีคนไข้ที่ไม่กล้าเดินไปหาหมอใช้บริการค่อนข้างเยอะเลย ทำให้เขามีพื้นที่จัดการความเครียด เพราะบางคนไม่ได้เป็นซึมเศร้า แต่หาทางจัดการความเครียดไม่ได้ ต้องการความช่วยเหลือ อย่างการพบจิตแพทย์ต่างประเทศก็ยากมาก ทำให้การหาหมออนไลน์ช่วยได้มากเลย เพราะการไปโรงพยาบาลอาจจะต้องบอกว่าจำนวนหมอกับคนไข้ไม่ค่อยสัมพันธ์กัน

ถาม : เราป่วยเป็นไบโพลาร์ ช่วงที่ดาวน์มากแบบติดเตียง ควรดึงอารมณ์ตัวเองกลับมายังไงดี ?

คุณหมอ : อย่างแรกคือ สังเกตอารมณ์เราให้บ่อยมากขึ้น ลองให้คะแนน 1-10 เมื่อรู้ว่าดาวน์มากขึ้น ให้พยายามกลับมาอยู่กับปัจจุบัน หาอะไรช่วยเบี่ยงเบนเรา แม้เราจะเบื่อหน่ายจนไม่อยากทำ แต่ดีกว่าปล่อยให้ตัวเองดิ่งลงไป หรือหาใครสักคนคุยด้วย อยู่ข้างๆ เพื่อดึงความสนใจ อย่าปล่อยให้เราดาวน์มากๆ แล้วค่อยเบี่ยงเบน ต้องดึงตัวเองตั้งแต่ระดับต้นๆ เข้าใจว่าอาจจะยาก แต่ต้องฝึกเรื่อยๆ

ถาม : เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น MDD และ PTSD อยากทราบว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะดีขึ้นหรือกลับมาเป็นเหมือนเดิม ?

คุณหมอ : ปกติจะเน้นการพูดคุยทำจิตบำบัดและใช้ยาร่วมด้วย จิตแพทย์และนักจิตฯ สามารถช่วยได้ค่ะ อาจจะกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนไม่ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละเคส ถ้าเป็นสองโรคร่วมกันอาจใช้เวลานานขึ้นในการรักษา แต่ถ้ารักษาอย่างต่อเนื่องสามารถหายได้แน่นอน

ถาม : มีโรคทางจิตเวช แต่อยากประกอบอาชีพทางจิตวิทยา สามารถทำได้ไหม ?

คุณหมอ : ไม่ได้มีข้อห้าม สามารถเรียนเพื่อเป็นจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาได้ แต่ข้อควรระวังคือใจเราต้องพร้อม เพราะในการทำงานหรือว่าให้คำปรึกษา เราอาจจะซึมซับอารมณ์ความรู้สึกของคนไข้มา ด้วยความ sensitive หรือรู้สึกเปราะบาง ซึ่งทำให้ใจเราไม่พร้อมที่จะรับปัญหาหนักๆ แต่ถ้ารักษาให้หายดีน่าจะพร้อมมากขึ้น จะทำให้เราแยกแยะอารมณ์ได้

ถาม : โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) มีอาการ เช่น กังวลว่าลืมปิดแก็ส ขับรถกลับไปดู ห้ามความคิดไม่ได้ แต่ไม่กล้าไปพบหมอเพราะกลัวมีประวัติ เลยใช้วิธีอ่านหนังสือ ศึกษาและพยายามดูแลตัวเอง

คุณหมอ : สำหรับคนที่กำลังฟังอยู่ ถ้ามีอาการคล้ายกัน แนะนำทำพฤติกรรมบำบัดและทานยา ควรรีบไปพบจิตแพทย์รักษา อย่าปล่อยไว้แล้วคิดว่าไม่เป็นอะไร ถ้ารักษาอย่างเหมาะสมจะหายเร็วขึ้น

ถาม : เวลาที่เราได้เจอคนหรือได้ยินคนพูดเรื่องไปโรงพยาบาล พบจิตแพทย์ เป็นโรคนี้อยู่ เราควร ตอบสนองยังไงถึงจะเหมาะสม ? แล้วเวลาเพื่อนไม่สบายใจ ถ้าเรารับฟังไม่ไหวจะบอกให้เพื่อนไปหาจิตแพทย์ยังไงดี ?

คุณหมอ : หลักๆ คือ รับฟัง แสดงความเห็นอกเห็นใจได้ แต่ไม่มากเกินไป คิดกลับว่าถ้าเป็นตัวเรา เราอยากได้กำลังใจประมาณไหนที่จะทำให้รู้สึกดี เราก็ทำกับเพื่อนแบบนั้น ส่วนเพื่อนเราอาจจะบอกว่ามีอะไรให้ช่วยก็บอกนะ ถ้าเรามีอารมณ์ร่วมมากไปก็อาจจะทุกข์ไปด้วย ลองถอยออกมานิดนึง ถ้าเขาต่อต้านการไปหาหมอก็อาจจะบังคับได้ยาก แต่เราช่วยเขาได้เท่าที่เราไหว เต็มที่แล้ว ไม่ต้องรู้สึกผิด

ถาม : เราเป็น PTSD มา 4-5 ปี แล้ว ปลายปีที่ผ่านมาแม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ แล้วต้องอยู่ด้วยกันทุกวัน ทั้งวัน เรารู้ว่าเราเป็น trigger ของแม่ ถ้าเขารู้สึกว่าเราไม่รักก็จะน้อยใจรุนแรง จะทำยังไงให้เป็นผู้ฟังที่ดีแต่ไม่ให้เราดาวน์ไปมากกว่าที่เป็นอยู่ ?

คุณหมอ : อยากให้บอกแม่ว่าจริงๆ เรารู้สึกยังไง ปรับที่ “การสื่อสาร” แน่นอนว่ารักและเป็นห่วง หมอรู้สึกว่าแม่คงน้อยใจเหมือนกัน แล้วอยากให้กลับมาดูแลจิตใจตัวเองด้วย พยายามเลี่ยงออกมาเวลาที่มีอารมณ์กันทั้งคู่ เราจะได้ไม่แสดงอารมณ์ออกไป แม่ก็จะได้ไม่เสียใจ

Read More