cover - insecure love

ยอมตามเขาตลอดเวลา กลัวเขาจะไม่รักเรา ความสัมพันธ์ของคน Insecure

ถ้าพูดถึงเรื่องเรื่องความรักแล้ว เมื่อใครคนหนึ่งอ่อนแรงลง ก็ย่อมจะต้องมีอีกคนที่มั่นคงกว่า มาประคองความรักนี้ไว้ เพื่อให้ความสัมพันธ์ไปต่อได้
.
นี่คือหนึ่งในรูปแบบความสัมพันธ์หนึ่งในทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “ความผูกพันแบบมั่นคง (Secure)” หรือ ความสัมพันธ์ที่ใครคนหนึ่งจะรู้สึกสบายใจเมื่อมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เห็นคุณค่าในตนเองและให้ความสำคัญกับการเป็นตัวของตัวเอง
.
แล้วแบบนี้ถ้าในทางกลับกันเราไม่สบายใจกับรักครั้งนี้ จะทำอย่างไรดี? เรื่องนี้ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องของความรู้สึกที่ไม่มั่นคง (Insecure) ในจิตใจ ซึ่งแน่นอนว่าเกิดจากประสบการณ์ในวัยเด็ก หรือระหว่างการเติบโตมา เจอเรื่องราวที่กระทบกระเทือนจิตใจ
.
รูปแบบความสัมพันธ์ของคน Insecure คือต้องการความรักและอยากให้คนรักตอบแทนเราด้วยสิ่งเดียวกัน บุคคลจะมองหาพื้นที่ปลอดภัยจากคนรัก และกลัวการถูกทอดทิ้ง หลายๆ ครั้งจึงยอมทำตามใจคนรักตลอด เพื่อให้เขารักเราตอบ ไม่กล้าบอกความในใจเพราะกลัวเขาหนีเราไป หรือถ้ามีอะไรที่ผิดพลาด เราจะเริ่มต้นด้วยการโทษตัวเองก่อนเป็นอย่างแรก
.
ทั้งนี้ทั้งนั้น เรากลับมาดูเรื่อง “ความสัมพันธ์” กันก่อนดีกว่า
.

Cute couple in a city. Lady in a white dress. Pair sitting on a cafe


John Bowlby จิตแพทย์ชาวอังกฤษ เจ้าของทฤษฏี Attachment theory กล่าวว่า ในวัยเด็ก ความสัมพันธ์นั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เหมือนเป็นสิ่งปลอดภัยสิ่งเดียวที่จะทำให้ดำรงชีวิตต่อไปได้ การตอบสนองจากผู้เลี้ยงดูจะสร้างให้เด็กเกิดความคาดหวังในความสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงดู และสุดท้ายจะกลายเป็นความคาดหวังต่อบุคคลที่ผูกพันด้วยอย่างคงทนไปตลอดชีวิต
.
และ Kim Bartholomew ก็ได้พัฒนารูปแบบความผูกพันออกมาได้ 4 แบบ ได้แก่
1. รูปแบบความผูกพันแบบมั่นคง (Secure) บุคคลจะรู้สึกสบายใจเมื่อมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เห็นคุณค่าในตนเองและให้ความสำคัญกับการเป็นตัวของตัวเอง
2. รูปแบบความผูกพันแบบหมกมุ่น (Preoccupied) บุคคลจะมีความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า วิตกกังวลในความสัมพันธ์ และจะพยายามอย่างมากที่จะเข้าหารวมถึงการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้อื่น และอยากได้การยอมรับจากคนที่ใกล้ชิดด้วย ซึ่งรูปแบบความผูกพันแบบหมกมุ่นนี้แหละ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ไม่มั่นคง ที่เรากำลังพูดถึง
3. รูปแบบความผูกพันแบบหมางเมิน (Dismissing) บุคคลจะปฏิเสธและหลีกเลี่ยงที่จะใกล้ชิดกับผู้อื่น ให้คุณค่ากับความอิสระ และคิดว่าความสัมพันธ์ใกล้ชิดมันไม่จำเป็น
4. รูปแบบความผูกพันแบบหวาดกลัว (Fearful) บุคคลจะมีการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ หวาดกลัวที่จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเพราะกลัวจะถูกปฏิเสธ มีความวิตกกังวลในความสัมพันธ์อย่างมาก

Couple having an argument at the cafe


.
อย่างที่เกริ่นไปในตอนต้นว่า เมื่อใครคนหนึ่งอ่อนแรงลงในความสัมพันธ์ ก็ย่อมจะต้องมีอีกคนที่มั่นคงกว่า มาประคองความรักเอาไว้ เพื่อให้เดินหน้าไปต่อได้ แต่ปัญหาที่เกิดคือ คนที่ Insecure อาจจะเผลอทำให้คน Secure เริ่มไม่มั่นคงได้ ไม่ได้การซะแล้วแบบนี้!
.
• สร้าง Self-esteem ให้กับตัวเอง เพราะงานวิจัยต่างๆ บอกว่า คนที่ Insecure มักจะมีการเห็นคุณค่าในตนเองที่ต่ำ วิธีเพิ่ม Self-esteem ง่ายๆ อูก้าเคยนำเสนอไปบ้างแล้ว ลองมาอ่านโพสต์นี้กันดูนะ (มาเพิ่ม Self-Esteem กันเถอะ)
.
• ดูแลตัวเองให้ดี ทำให้ตัวเองมีสุขภาพทั้งกายและใจที่ดี ดูแลและใส่ใจความต้องการของตนเอง ไม่ใช่ว่าเราจะดูแลแต่คนรักแล้วไม่สนใจตัวเอง ทำให้ตัวเองดึงดูดและน่าสนใจโดยการหากิจกรรมอื่นๆ ทำ นอกจากการตามติดคนรักไปตลอด ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง กับกิจกรรมที่อยากทำ
.
• เชื่อมั่นในตัวเอง ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์แบบ Secure จะต้องเชื่อมั่น เชื่อใจในตัวคนรัก แต่อย่าลืมว่าสิ่งที่สำคัญกว่าคือเชื่อในตัวเราเอง รู้ว่าลึกๆ ความต้องการของตัวเองคืออะไร ไม่ลืมว่าเราเป็นใคร เชื่อมั่นในความรู้สึกที่ตัวเองมี อย่าหนีหรือเก็บมันไว้
.
• ให้อิสระกับคนรักบ้าง เราไม่จำเป็นจะต้องตามคนรักไปทุกๆ ที่ ตัวติดกันเป็นปาท่องโก๋ แต่ละคนย่อมมีชีวิตและสังคมของตัวเอง เราเองก็เช่นกัน การที่เราปล่อยคนรักไปพบปะเพื่อนฝูง ไม่ได้แปลว่าเขาจะไปมีคนอื่นจนทำให้เราคิดมาก เขาไม่ได้ทำร้ายจิตใจเรา อย่าให้ความคิดลบๆ มาอยู่เหนือความจริงเลยนะ
.
• อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ถ้าเรารู้สึกว่าใช้เวลาในโซเชียลมีเดียมากเกินไปแล้ว พยายามตามส่องดูคนรักเก่าของแฟน หรือเพื่อนๆ ที่เขาไปสังสรรค์ด้วยมากเกินไป จะทำให้เราวิตกกังวลมากขึ้นจนกระทบจิตใจเรา คุณคือคนที่ดีในแบบของตัวคุณเอง ไม่ต้องไปเทียบกับคนเก่าๆ หรือเพื่อนๆ ของเขาหรอกนะ
.
หากใครยังมีความรู้สึกกังวลในความสัมพันธ์ เครียด วิตกกับสิ่งต่างๆ รอบตัวจนรู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว เราอยากลองให้เข้ามาพูดคุยปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านแอปพลิเคชัน ooca นะ อูก้ายินดีที่จะรับฟังทุกคนเสมอ

Read More
cover ptsd

บางทีความทุกข์ก็เอื้อให้เกิดสิ่งดีๆได้นะ

เราจมอยู่กับความเศร้าตลอดเวลา แล้วเมื่อไหร่ถึงจะเดินหน้าต่อไปได้ ?
.

หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินชื่อของ ภาวะความเครียดหลังผ่านเหตุสะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder : PTSD) ซึ่งเป็นอาการความเครียดที่บุคคลมีหลังจากผ่านเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ กระทบกระเทือนจิตใจ หรือวิกฤตที่รุนแรงของชีวิต เช่น บุคคลสำคัญที่ใกล้ชิดเสียชีวิต ทหารผ่านศึก การถูกคุกคามทางเพศ แล้วมีผลต่อภาวะจิตใจ ทัศนคติ การปรับตัวของชีวิตในสังคม อาการที่มักพบร่วมด้วยคือซึมเศร้า มีการใช้สารเสพติด หรือมีปัญหาด้านความสัมพันธ์

Read More
cover guilty

ทำไมเรารู้สึกผิดตลอดเวลา โดยไม่มีสาเหตุ

เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยมีความรู้สึกที่ว่า ทำไมเราถึงได้ทำอะไรผิดพลาดบ่อยครั้ง แล้วก็หาสาเหตุไม่ได้ หรือเมื่อมีสิ่งที่ผิดพลาด ไม่ปกติเกิดขึ้นกับเหตุการณ์หรือบุคคลอื่น เราจะเป็นคนแรกที่บอกว่า มันเป็นความผิดของเราเอง หลายครั้งที่พยายามทำสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเพื่อตัวเองหรือคนอื่น เราไม่สามารถเอาความคิดที่ว่า เรามันดีไม่พอ เก่งไม่พอ ออกจากหัวได้เลย

Read More
cover expectations

บางทีเราก็เหนื่อยกับความคาดหวัง

เหนื่อยมั้ยกับความคิดของคนอื่นที่มามีอิทธิพลกับตัวเรา จนบางครั้งเราก็กดดันมากจนทำอะไรไม่ถูก
.
หลายๆ ครั้งที่เราเองสูญเสียความมั่นใจในการกระทำสิ่งต่างๆ เพียงเพราะคำพูดของคนรอบข้าง ความคิดเห็นของพวกเขาล้วนเกิดจากกรอบประสบการณ์ที่แต่ละคนมี ซึ่งก็มีไม่เหมือนกัน เขาไม่รู้หรอกว่าเราคิดหรือรู้สึกยังไง เราอาจจะทำดีที่สุดแล้ว แต่มันคงไม่ดีสำหรับคนอื่นๆ

Read More
cover atelophobia

Atelophobia โรคกลัวตัวเองดีไม่พอ

ในสังคมปัจจุบันการแข่งขันที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนเราต้องพยายามทำให้ตนเองพัฒนาและเอาชนะคนอื่นอยู่เสมอ สิ่งนี้เองทำให้หลายคนกดดันตัวเองและอยากทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ รู้สึกว่าตัวเองจะล้มเหลวไม่ได้ ทุกอย่างต้องเพอร์เฟค เมื่อเราคาดหวังกับความสมบูรณ์แบบ แต่สิ่งที่ได้กลับมามันไม่ใช่ เราจะเริ่มกังวล รู้สึกว่าตัวเองทำได้ไม่ดีพอ คอยโทษตัวเอง เราเรียกอาการนี้ว่า Atelophobia (โรคกลัวตัวเองดีไม่พอ) หรืออาการกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ

Read More
cover ฝันถึงแฟนเก่า

การฝันถึงแฟนเก่า หมายถึงอะไรในเชิงจิตวิทยา

วันนี้อูก้าอยากชวนเพื่อนๆ มาฟังและวิเคราะห์เพลง #ฝันถึงแฟนเก่า เพลงใหม่จากวงดนตรีป็อปร็อกอย่าง THREE MAN DOWN ที่บอกเล่าเรื่องราวของคนที่ฝันถึงแฟนเก่า โดยที่ยังลืมเขาไม่ได้สักที https://youtu.be/3O_Hxdtoyac

Read More
เพิ่ม self esteem

มาเพิ่ม Self-Esteem ให้ตัวเราเองกันเเถอะ

เคยไหม ? รู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ ไร้ค่า ไม่ชอบตัวเอง ไม่มีความมั่นใจที่จะทำอะไร กลัวการทำผิดพลาด กังวลง่าย อาการทั้งหมดที่กล่าวมา อาจเป็นสัญญาณบอกว่าคุณกำลังมี การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ (Low Self-Esteem) ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจได้นะ
.

วันนี้อูก้าจึงอยากชวนเพื่อนๆ มาเพิ่ม Self-Esteem ของตัวเองกัน ด้วยวิธีง่ายๆ ตามลิสต์นี้ที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถก้าวผ่านความรู้สึกเหล่านี้ไปได้ เรามาดูกันเลยยยย

Read More
เมื่อพ่อแม่เผลอรังแกฉัน

เมื่อพ่อแม่ เผลอรังแกฉัน

พ่อแม่เผลอรังแกฉัน
.

หมอเพิ่งเห็นข่าวจากเว็บไซต์หนึ่งว่ามีเด็กเลือกคณะที่จะเรียนต่อมหาวิทยาลัย จาก TCAS ปรากฏว่าถูกเปลี่ยนคณะโดยไม่ทันตั้งตัว​ โดยแม่เป็นคนเลือกคณะที่เด็กไม่ชอบให้ พอเห็นข่าวแล้วหมอรู้สึกสงสารเด็กจับใจ เพราะหมอมีประสบการณ์ตรงที่พบเพื่อน​ รุ่นน้อง​ นักศึกษา​ และคนไข้มากมายที่ต้องเรียนคณะที่ตนเองไม่ได้เลือกและไม่ได้ชอบ แล้วต้องฝืนเรียนจนจบ เพื่อตอบสนองความต้องการของพ่อแม่ แต่ตนเองก็เกิดความเครียดจนเป็นโรคซึมเศร้า เสียโอกาสในชีวิตไปนานหลายปีในการค้นหาตัวเองเพื่อเลือกอาชีพใหม่

Read More
how to stop imposter syndrome

วิธีหยุดคิดว่าตัวเอง ไม่เก่งพอ

เชื่อว่าหลายๆคนน่าจะ คุ้นเคยกับคำว่า Imposter Syndrome ที่หมายถึง ความรู้สึกที่ว่าตัวเองไม่เก่ง ตัวเองยังดีไม่พอ แล้วกลัวว่าคนรอบๆข้างจะจับได้ อาจจะคาดหวังในตัวเองสูงมาก พอทำอะไรไม่สำเร็จบ้างก็โทษตัวเองมากเกินไป จนบางทีเราไม่สามารถ appreciate ความสำเร็จที่ผ่านๆมาของตัวเองจนไม่มีความสุขเลย ซึ่งสิ่งที่อูก้าอยากจะมานำเสนอในวันนี้คือ เป็นลิสต์สำหรับเตือนใจเพื่อนๆทุกครั้งที่กำลังรู้สึกแบบนี้อยู่นั่นแหล่ะ

Read More
cover - บาดแผล

บาดแผลในวัยเรียนที่ไม่เคยหายไป‬

เป็นที่ทราบกันดีว่าในวัยเด็กนั้นเด็กหลายคนอาจจะมีปมจากการถูกกลั่นแกล้ง​ รวมทั้งการถูกทารุณ​กรรมทางร่างกายและจิตใจ​ ไม่ว่าเหตุจะเป็นจากรูปร่างหน้าตาที่แตกต่าง เช่น​ น้ำหนัก​ สีผิว​ ความสูง​ หน้าตา หรือมีปัญหาทางพัฒนาการ​ ปัญหาการเรียน​ เช่นซนสมาธิสั้น​ ปัญหาการเรียนรู้ช้าในบางวิชา

Read More