ชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น

“เหลือเชื่อเหมือนกันว่ายังคงมีชีวิตอยู่จนถึงตอนนี้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว และกำลังเกิดขึ้นอยู่จริงๆ”
.
ขอชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น เพราะวันนี้คือวันป้องกันการฆ่าตัวตายสากล (World Suicidal Prevention Day) ซึ่งเป็นวันสำคัญที่องค์กรอนามัยโลกและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะจิตกำหนดให้มีการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ⛅
.
สถิติระบุว่าในทุก ๆ วัน มีคนที่เลือกจะจบชีวิตด้วยตนเองวันละ 11-12 ราย นอกจากนี้ จากสำรวจของกรมสุขภาพจิต ยังพบว่า สาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย มาจากปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด (48.7%) ซึ่งในหลายครั้ง ความสูญเสียก็เกิดขึ้นโดยที่หลายๆ คน อาจไม่ทันได้ตั้งรับ และสังคมรวมถึงสื่อยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการมองว่า การฆ่าตัวตาย คือการ “คิดสั้น”

.

ไม่ว่าจะเป็นสื่อหรือสาธารณชน มักจะมองว่าการฆ่าตัวตาย คือ “การคิดสั้น” แต่แท้จริงแล้ว การฆ่าตัวตายมีกระบวนการถึง 3 ขั้นตอนก่อนจะนำมาสู่การตัดสินใจจบชีวิต อันได้แก่

.

  1. Suicidal Thought หรือ ความคิดทำร้ายตนเอง

2.Suicidal Plan คือ ขั้นตอนการวางแผนและหาวิธีที่จะทำร้ายตนเอง

3.Suicidal Attempt หรือ ขั้นตอนการพยายามฆ่าตัวตาย หรือ ทำร้ายตนเอง

.

ดังนั้น การจบชีวิตด้วยตนเอง เป็นกระบวนการที่ผ่านการคิดมาอย่างถี่ถ้วน และต้องตัดสินใจอยู่หลายตลบกว่าจะปะทุไปสู่ขั้นตอนสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้น การแปะป้ายว่า “การฆ่าตัวตาย = การคิดสั้น” เป็นการมองข้ามต้นตอของปัญหาและอาจสร้างภาพจำผิด ๆ แก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ

.

⛅ อาจารย์สิริพร เอมอ่อน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแอพลิเคชันอูก้า เผยว่า การฆ่าตัวตายนั้น ในทางจิตวิทยาได้อธิบายว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่

.

1) ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factors) เช่น สารเคมีในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน ฮอร์โมนคอร์ติซอล อยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล

.

2) ปัจจัยทางจิตวิทยา (psychological factors) ได้แก่ พฤติกรรมและบุคลิกภาพ เช่น คนที่มีนิสัยเป็น perfectionist ก็จะมีแนวโน้มกลัวความผิดพลาด และมีโอกาสเครียดง่ายกว่าคนกลุ่มอื่น

.

3) ปัจจัยทางสังคม (sociological factors) คือปัญหาที่มาจากสังคมภายนอกและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ สภาวะทางเศรษฐกิจ หรือความตึงเครียดจากภาระงาน เป็นต้น

.

ทั้งนี้ อาจารย์สิริพรยังเสริมอีกว่า ปัญหาการแม้ว่าจะมีปัจจัยไม่ครบทั้งสามด้าน เพียงแค่ปัจจัยเดียว ก็มากพอที่จะกระตุ้นให้คนหนึ่งคน เกิดความคิดทำร้ายตนเอง ดังนั้น การเฝ้าระวังและตระหนักถึงปัจจัยทาง 3 ด้าน อย่างถี่ถ้วน เป็นวิธีที่สำคัญที่จะป้องกันเพื่อน ๆ และคนรอบข้าง จากความคิดทำร้ายตัวเองซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

.

โดยที่อาจารย์สิริพรยังได้มอบคำแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถสังเกตอาการคนใกล้ชิดของเรา ผ่านการจับสัญญาณจาก 2 จุดหลัก ๆ ได้แก่ สัญญาณ verbal หรือ คำพูด และ สัญญาณ non-verbal หรือ ภาษากายและพฤติกรรม

.

⛅ หากเป็นสัญญาณ verbal เราอาจสังเกตว่า คนนั้นมักจะบ่นหรือระบายว่า “เบื่อโลก หรือ ท้อแท้” นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียถี่ขึ้นผิดปกติ การโพสต์สเตตัสระบาย หรือ การแชร์ข้อความหรือเพลงเศร้า ๆ ก็นับเป็นอีกสัญญาณที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
.

⛅ ในส่วนของสัญญาณ non-verbal อาจสังเกตได้ว่า คนใกล้ชิดของเรา มีอาการซึมเศร้า ไม่มีแรง หรือมีพฤติกรรมแยกตัวจากผู้อื่นอย่างผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้ หากพบรอยแผลตามร่างกายของคนนั้น ก็นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำคัญว่า เขากำลังต้องการความช่วยเหลือจากใครสักคนอยู่ก็เป็นได้

.

⛅ นอกจากนี้ อาจารย์สิริพรยังแนะนำว่า เมื่อไหร่ที่หลุดเข้าไปอยู่ในห้วงความเศร้าเป็นระยะเวลานาน จนไม่สามารถหาทางออกมาจากความรู้สึกเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง หากเราเริ่ม รู้เท่าทันความรู้สึกตัวเอง และตระหนักอยู่เสมอว่าความเศร้าจะไม่อยู่กับเราไปตลอด เราก็อาจมีโอกาสหาทางออกให้กับชีวิตได้

.

⛅ แม้ว่าการตกอยู่ในภวังค์แห่งความเศร้า จะเหมือนกับการว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรโดยมองไม่เห็นชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความช่วยเหลืออีกมากมายในโลกนี้ที่รอให้เราเดินเข้าไปหา ไม่ว่าจะจากคนแปลกหน้า คนที่เรารัก หรือผู้เชี่ยวชาญ

.

💙💙 โดยเนื่องในเดือนป้องกันการฆ่าตัวตายสากลนี้ ผู้ใช้บริการปรึกษาปัญหาใจกับอูก้าครั้งแรก จะได้รับส่วนลด 5% เมื่อจองนัดหมายและกรอกรหัส OOCACARES ผ่านแอปพลิเคชัน ooca 💙💙 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ https://ooca.page.link/fbnewcomer2 และใช้โค้ดได้ถึง 30 กันยายน 2565 (*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ) ⛅

Read More

#OOCAKnowledge ซึมเศร้าหลังเที่ยวจบมีจริง

ทำความรู้จักกับ Post-vacation blue ที่สายเที่ยวชิลแค่ไหนก็ซึมเศร้าได้เหมือนกัน

.

กลับมาทำงานได้ไม่กี่วัน ความรู้สึกเศร้าๆ ซึมๆ ก็ก่อตัวขึ้นในใจใครหลายคนเพราะตอนเที่ยวมันแสนจะสนุกและสบาย แค่ปล่อยตัวและใจไปกับบรรยากาศดีๆ แต่พอกลับมาสู่โลกความเป็นจริงที่ต้องนั่งทำงานก็เล่นเอารู้สึกแย่เหมือนกันนะ

.

Post-vacation blue คือชื่อเรียกกลุ่มอาการซึมเศร้า วิตกกังวลหรือขาดแรงจูงใจที่จะทำงานหลังจากผ่านวันหยุดพักผ่อนและเป็นอาการระยะสั้นๆ ไม่เกิน 3 อาทิตย์ก็จะรู้สึกดีขึ้น

.

เบื้องหลังของความรู้สึกเหล่านี้มาจากการปรับตัวของร่างกายที่ดึงพลังงานภายในเพื่อรับมือสถานการณ์ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย เมื่อต้องกลับมาอยู่สถานการณ์เดิมๆ ร่างกายก็ปรับตัวไม่ทันซะแล้ว หรือบ้างก็พูดถึงปรากฏการณ์ The Contrast Effect ที่เกิดจากเราเปรียบเทียบในใจว่าการได้เที่ยวมันดีกว่าการนั่งทำงานทำให้กลายเป็นกับดักทางความคิดที่เมื่อเรากลับไปใช้ชีวิตเดิมๆ ก็รู้สึกห่อเหี่ยวขึ้นมาตามที่คิดไว้ทันที

.

ไม่ว่าจะถูกอธิบายด้วยแนวคิดแบบใด แต่ความเศร้าและเบื่อหน่ายที่เรารู้สึกเป็นเรื่องจริงเสมอ วันนี้อูก้าขอยกเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยเยียวยาหัวใจหลังวันหยุดยาวให้กลับมาสดชื่นได้อีกครั้ง

.

1.เปลี่ยนความทรงจำให้จับต้องได้

  1. แทนที่จะให้ประสบการณ์ของการไปเที่ยวเป็นเพียงความทรงจำดีๆ ในหัวใจ เปลี่ยนให้มันเกิดขึ้นจริง เอาสิ่งที่ได้จากมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันไปเลย เช่น ลงเรียนภาษาของประเทศที่เราไปมา หรือลองทำอาหารที่เราประทับใจจากทริปในครั้งนี้

2.ตัวจริงยังไปไม่ได้ ส่งใจไปก่อนละกัน

  1. ถึงตัวเราจะไม่สามารถหนีความจริงที่ว่าเราต้องทำงาน แต่เราสามารถส่งความคิดและใจให้จินตนาการถึงความรู้สึกดีๆ ที่ได้รับจากการเดินทางในครั้งนี้ ลองนึกว่าภาพตอนที่เราได้เห็นวิวสวยๆ อาหารน่ากิน เพียงเท่านี้ก็ปลุกหัวใจที่กำลังเซ็งให้ตื่นได้อีกครั้ง

3.มองคนรอบตัว

  1. ความรู้สึกเศร้าที่ตีตื้นอาจทำให้เราเลือกที่จะตีตัวออกห่างจากคนอื่น ลองหันมาโฟกัสคนที่เรารัก พูดคุยหรือชื่นชมในสิ่งที่พวกเขาทำ เพราะการเห็นคุณค่ากันและกันจะตามมาด้วยความรู้สึกดีๆ เหมือนที่เราได้เจอในระหว่างการเดินทางนั้นแหละ

.

อูก้าเชื่อว่างานเลี้ยงไม่ได้มีวันเดียวฉันใด วันหยุดก็ไม่ได้มีแค่นี้ฉันนั้น ยังมีวันหยุดอื่นๆ ที่ให้เพื่อนๆ ได้เตรียมตัววางแผนและตั้งตารอคอยเหมือนกัน แต่ถ้าเพื่อนๆ รู้สึกว่าความเศร้าที่มีไม่หายไปไหนสักที การต่อสู้เพียงลำพังอาจเป็นเรื่องยาก ลองหาเพื่อนที่ไว้ใจอย่างอูก้า เพื่อเล่าทุกความรู้สึก คลายความซึมได้เลยนะ

อ้างอิง

Spiegel, J. (2010, March 15). Post-vacation blues. Psychology Today. Retrieved April 13, 2022, from https://bit.ly/3KJVgd8

รู้จักอาการ Post-Vacation Blues เมื่อหยุดยาวฉันสุขล้นปรี่ และเศร้า หลังวันหยุดพักผ่อน มีอาการ วิธีการรักษาอย่างไร. (2022, January 7). กรมสุขภาพจิต, Retrieved April 13, 2022, from https://bit.ly/3uGEHcm

Read More
เหงา กักตัว ooca

OOCAissue: Stay-at-home Isolation อยู่คนเดียวนาน ๆ ทำให้เรารู้สึกไม่มีค่าหรือเปล่า?

หลังจากเราใช้เวลาทำงานอยู่คนเดียวมาเกือบปี ในใจก็มีความรู้สึกอย่างหนึ่งขึ้นมา มันไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มันหนักหนามากกว่าที่เราเคยเป็นมาทั้งชีวิต เรารู้สึกถึงความ “ไม่ดีพอ” ในตัวเอง ความรู้สึกว่าเรายังทำงานไม่มากพอ เราเสียเวลาไปกับการเล่นมือถือบนที่นอน แทนที่จะเอาไปอ่านหนังสือที่ค้างไว้ และความคิดอีกมากมายที่เข้ามาช่วงที่เราไม่ได้ทำอะไร เราเลยตั้งคำถามว่า “อยู่คนเดียวนาน ๆ ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าหรือเปล่า” ไปถามนักจิตวิทยาของอูก้า คุณกอบุญ เกล้าตะกาญจน์ หรือพี่พลีส แล้วเราก็ได้ฟังคำตอบที่น่าสนใจแล้วยังได้คำแนะนำดี ๆ จากเขามากมายเลย

#คำตอบจากนักจิตวิทยา

“การ Stay-at-home Isolation คนเดียวนาน ๆ เชื่อมโยงกับเรื่องการมองตัวเองด้อยค่าจริง ๆ “

ตามรายงานภาวะสังคมไทยปี 2563 โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่า “ความเครียด ภาวะหมดไฟ ภาวะซึมเศร้าและความคิดทำร้ายตัวเองของคนไทยเพิ่มขึ้น เพราะพยายามต่อสู้กับความยากลำบากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าหมดไฟ ทั้งด้านอารมณ์และจิตใจ  ด้านมองความสามารถในการทำงานลดลง รู้สึกไม่สำเร็จ และด้านการมองความสัมพันธ์ในที่ทำงานในทางลบ ระแวงง่ายขึ้น รู้สึกเหินห่างจากคนอื่น”

.

ซึ่งยิ่งเราเจอเรื่องแบบนี้ไปอย่างไม่รู้ว่ามันจะเป็นเช่นนี้อีกนานเท่าไร บวกกับความรู้สึกไม่แน่นอนทั้งจากการงาน สถานะทางสังคม และสุขภาพ ความสามารถในการเห็นคุณค่าในตัวเองของเราจะลดลงไปด้วย นี่ยังไม่รวมกับสถิติการบริโภคที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก แสดงให้เห็นถึงภาวะการกินอาหารที่ไม่ปกติ เช่น การกินอาหารมากขึ้นเพราะมนุษย์จำนวนมากใช้การกินเป็นวิธีลดความไม่สบายใจ ความกังวล ว้าเหว่และเบื่อหน่าย ทำให้เรารู้สึกไม่โอเคกับรูปร่างของตัวเอง ส่งผลต่อความมั่นใจและการมองที่เรามองตัวเองว่ามีคุณค่าหรือไม่มีคุณค่า

.

ทุกอย่างที่กล่าวไปข้างต้นจะทวีคูณขึ้นเมื่อเราเอา Social Media เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสมการ ในแง่หนึ่งมันเป็นช่องทางเดียวที่เราสามารถเข้าถึงคนรอบตัวในชีวิตของเราได้ แต่ในทางขณะเดียวกัน เมื่อเราเห็นเพื่อนของเรา รุ่นพี่ของเรา รุ่นน้องของเรา หรือใครก็ตามที่เราติดตามกำลังมี “ชีวิตที่ดีกว่าเรา” เราจะเริ่มเปรียบเทียบตัวเองกับพวกเขา “ทำไมเขาทำแบบนั้นได้ทั้ง ๆ ที่เขาอายุน้อยกว่าเราตั้งเยอะ ตอนนั้นฉันทำอะไรอยู่” หรือ “ทำไมฉันไม่หน้าตาดีแบบเขาบ้างนะ” ไปจนถึงไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกับเราอย่างเช่น “ฉันอยากไปอยู่ในประเทศของเขาคนนั้นบ้างจังเลย”

.

แล้วทำยังไงดีเมื่อเราประสบปัญหานี้ ?

#คำตอบจากนักจิตวิทยา

ความโดดเดี่ยวอาจกลายเป็นความเครียด ข้อเสนอแนะรักษาใจในขณะอยู่บ้านและทำงานที่บ้าน

  1. ติดต่อกับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อน ๆ ผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล หรือโซเชียลมีเดียบ้าง
  2. เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Covid-19 และพูดคุยกับผู้อื่น การทําความเข้าใจอย่างถูกต้องในเรื่องการป้องกัน Covid-19 ช่วยลดความวิตกกังวลได้
  3. หากเป็นไปได้ให้ทำกิจวัตรประจําวันตามปกติเช่น การกิน การนอน การทำงาน การพักผ่อน การออกกําลังกาย ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าลดความเครียดและภาวะซึมเศร้า
  4. จากประสบการณ์และวิธีการที่คุณรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลําบากในอดีต ทำให้ตระหนักได้ว่าการแยกตัวจะเกิดขึ้นอีกไม่นานนัก และไม่ได้น่ากลัวเท่าที่คิด
  5. การทำงานที่บ้านและได้ใช้เวลาอยู่บ้าน เป็นโอกาสที่จะทํากิจกรรม ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ จะช่วยให้คุณผ่อนคลายจากความเบื่อหน่ายกังวล

#คำตอบจากทีมงานของอูก้า

คุณค่าในตัวเองนั้นไม่สามารถวัดได้จากการเอาความสำเร็จของเราไปเทียบกับความสำเร็จของคนอื่น ฉะนั้นไม่ว่าเราจะรู้สึกว่าคนนั้นคนนี้ดีกว่าเราขนาดไหน อูก้าอยากให้ทุกคนทดลองปรับมุมมองเป็น “ข้อดีของฉันคืออะไร” แล้วตามหาสิ่งนั้นจนกว่าจะพบหรือใช้เวลาค่อยๆ สร้างมันขึ้นมา ให้จุดเด่นในตัวเองของทุกคนเปล่งประกายออกมา

.

คุณค่าในตัวเองของเราเมื่อไม่ต้องเอาไปเทียบกับคนอื่นนั้น มันจะเล็กหรือใหญ่ขนาดไหนก็ได้ เริ่มได้จาก “วันนี้ฉันทำงานเสร็จไปตั้งสองอย่างแล้ว” ไปจนถึง “วันนี้ฉันอ่านหนังสือจบตั้งหนึ่งบท เยอะกว่าที่อ่านเมื่ออาทิตย์ที่แล้วอีก” คนเดียวที่เรารู้แน่ ๆ ว่าชีวิตเขาดี ไม่ดียังไงคือตัวเราเอง ฉะนั้นไม่ต้องเอาความสำเร็จของใครมาเป็นหมุดหมายที่ต้องไปให้ถึงเลย

.

แล้วคุณกำลังประสบปัญหาแบบนี้อยู่เหมือนกันหรือเปล่า ? ถ้าใช่ล่ะก็ มาเล่าให้อูก้าฟังได้เสมอเลย เรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมรับฟังและคอยอยู่เคียงข้างคุณนะ

Read More
จิตวิทยาโปรโมชั่น โปรมาเป็นคู่

OOCAstory: บรรยากาศ festive ที่ยิ่งเห็นยิ่งเหงากับโปรมาเป็นคู่

“ซื้อ 1 แถม 1 นะคะ”

“ถ้ารับเป็นเซ็ตคู่ ลดเพิ่มอีก 10% ค่ะ”

“มีทั้งของผู้ชายผู้หญิงเลยน้า”

อยากดื่มชานมไข่มุกแต่ซื้อ 2 แก้วดันคุ้มกว่า พอจะซื้อสกินแคร์ เขาก็จัดไว้เป็นเซต

โปรฯ ร้านอาหารเยอะแยะไปหมด แต่ใครจะไปทานหมด ทำไมน้าทำไม อะไรๆ ก็ต้องจัดเป็นคู่ แล้วคนอย่างเราที่อยากจะแฮปปี้ลั้นลาด้วยการช้อปปิ้งบ้างจะได้ไหมนะ

ว่ากันว่าการช้อปปิ้งช่วยให้คลายเหงา แต่ทำไมบางครั้งกลับรู้สึกหวิวมากกว่าเดิม จากที่เดินห้างคนเดียวได้สบายมาก กลับอยากให้มีเพื่อนมาเดินด้วยกัน เพราะบรรยากาศช่วง festive หรือเปล่าที่พาให้เราเหงาโดยไม่รู้ตัว แถมยังต้องซื้อของหอบหิ้วมากมายแต่บางอย่างอาจจะไม่ได้ใช้กลับไปวางกองไว้ที่บ้านอีก กลายเป็นสิ้นเปลืองเปล่าๆ

ในช่วงอากาศเย็นๆ บรรยากาศแห่งความสุขแบบนี้ ทุกที่ต่างสรรหาโปรโมชั่นมาดึงดูดใจลูกค้า เพื่อแข่งขันกันในช่วงเทศกาล แต่ยิ่งซื้อยิ่งคุ้มอาจไม่ได้มีประโยชน์เสมอไป ยังมีลูกค้าจำนวนหนึ่งที่เกิดคำพูดในใจว่า “ฉันไม่ได้อยากซื้อเยอะขนาดนั้น” หรือ “ต้องไปหาเพื่อนมาหารอีกแล้ว” กลายเป็นโมเมนต์เศร้าๆ ของคนที่อยู่คนเดียว

มันอาจจะไม่ใช่ความเหงา แต่เป็นความลำบากใจเล็กๆ น้อยๆ ที่ไปทางไหนก็มีแต่โปรโมชั่นเอาใจคนมาเป็นคู่ แล้วตัวเราที่อยากได้ของชิ้นเดียวเลยรู้สึกว่าไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย ครั้นจะเสียเงินเพิ่มซื้อหลายชิ้นก็ไม่เห็นความจำเป็นขนาดนั้น ในใจเลยได้แต่คิดว่าถ้าเปลี่ยนให้มีโปรเอาใจคนโสดมากขึ้นก็คงจะดีเหมือนกันนะ

อย่างเช่น “วัฒนธรรมคนโสด” ในวันที่ 11.11  ของประเทศจีน ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 2009 ถือเป็นวันช้อปปิ้งทางออนไลน์และออฟไลน์ยิ่งใหญ่มากๆ คนโสดทั้งหลายต่างก็เฝ้ารอที่จะเห็นโปรโมชั่นดีๆ ในวันนี้ ต่อมาไทยก็ได้รับเอากระแสนี้มาเช่นกัน จะเห็นได้ว่าในวันต่างๆ ที่มีตัวเลขพิเศษเรามักจะเห็นการลดแลกแจกแถมเต็มไปหมด

คงดีไม่น้อยถ้าในช่วงปลายปีที่มีบรรยากาศ Festive มีโปรโมชั่นให้เลือก เพื่อเอาใจลูกค้าหลายๆ กลุ่ม ทุกคนจะได้มีแฮปปี้กันถ้วนหน้า ไม่ต้องรู้สึกเหงากับการเดินซื้อของหรือต้องไปหาลากเพื่อนมาเป็นคู่

ขอให้ทุกคนมีความสุขในช่วงปลายปีนี้ พักผ่อนให้เต็มที่ ส่วนเรื่องของใจให้อูก้าช่วยดูแลได้ ไม่เว้นแม้แต่ช่วงเทศกาลเลยนะ ทักมาพูดคุยกันได้หลากหลายช่องทาง อูก้ายินดีให้บริการเสมอจ้า

Read More
ไม่ค่อยมีแรงทำงาน ใช้ชีวิต

OOCAstory: Dead inside ที่ยังอยู่ก็แค่กายหยาบ

เวลาที่เจอเรื่องแย่ๆ ถ้าไม่กี่ครั้งก็ยังพอทนไหว แต่ถ้าเจอบ่อยจนรับความเจ็บปวด ไม่ไหว อาจกลายเป็นความรู้สึก “ชินชา” ไม่ต่างจากคนไร้หัวใจ

ไม่ว่าจะเจอเรื่องอะไรก็ตาม เราพร้อมจะก้มหน้ายอมรับสิ่งเลวร้าย เอาแต่บอกว่า “ไม่เป็นไร” ทั้งที่ข้างในแหลกสลายไปหมด เราไม่แสดงอารมณ์เสียใจ เศร้า โกรธ หรือร้องไห้ ปล่อยให้มันทำร้ายเราอยู่อย่างนั้น เราอาจกำลัง “Dead inside”

เราอาจเหมือนอยู่กับปัจจุบัน แต่จริงๆ แล้วที่ทุกคนมองเห็นอาจเป็นแค่ “กายหยาบ” ที่ไม่รู้จะตอบสนองอะไรได้อีก อาจเหมือนคนไม่รู้ร้อนรู้หนาว แต่ที่เป็นอย่างนั้นเพราะเรากำลัง “เอาตัวรอด” จากความรู้สึกที่บีบคั้นต่างหาก

มันไม่ใช่การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้รอด แต่เราเลือกใช้วิธีนิ่งเฉยและยอมจำนนกับปัญหาเพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดที่จะเข้ามา แม้เราจะไม่เห็นด้วยหรือไม่อยากทำแบบนั้นก็ตาม

คนที่เหลือแค่กายหยาบอาจคล้ายไม่สนใจอะไร เหมือนยอมแพ้ต่อโลกใบนี้ แต่ Dead inside นั้นต่างจาก “การปล่อยวาง” อยู่มากเพราะการปล่อยวางคือการที่เราเข้าใจและมองโลกในแบบที่มันเป็น พร้อมกับยอมรับว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิดแล้วพยายามหาทางแก้ไข แต่ความรู้สึกด้านชาแบบคนที่ Dead inside คือการฝืนใจให้ปล่อยไป ไม่สนใจ ไม่รับรู้แล้วตัดจบทุกอย่างเพื่อใช้ชีวิตต่อไป

บางครั้งการที่เราไม่ใส่ความรู้สึกลงไปในสิ่งที่เจอ ก็ช่วยเราไว้เหมือนกัน เพราะเราจะได้ไม่ต้องบังคับตัวเองให้ฝืนใจทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว หรือความสัมพันธ์ เมื่อพาตัวเองออกมาได้ก็ไม่มีอะไรทำร้ายเราได้อีกแล้ว

แต่ถ้าเราปล่อยให้ความชินชานี้อยู่กับเราต่อไป มันอาจทำลายความสดใสและแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตของเราได้ ทำให้เราสูญเสียจุดมุ่งหมาย ใส่ใจสิ่งรอบตัวน้อยลง จนสุดท้ายเราอาจยอมแพ้ก่อนที่จะเริ่มต้นด้วยซ้ำ

ถ้าเมื่อไรเราสังเกตตัวเองว่า “ความรู้สึก” เริ่มหายไป เหลือแต่กายหยาบที่ยังอยู่ตรงนี้ อย่าปล่อยให้ความนิ่งเฉยกลายเป็นเรื่องธรรมดา ลองหาทางดึงความรู้สึกของเรากลับมา ระบายหรือแสดงออกให้มากขึ้น แม้มันจะงี่เง่าหรือบ้าบอขนาดไหน ขอให้ระบายออกมา

ชีวิตที่มีความรู้สึกคือ การบอกตัวเองว่าเรายังอยู่ ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ก็จงปล่อยให้ตัวเองรับรู้มัน อย่าให้สิ่งต่างๆ กัดกินเราจากข้างใน อย่ากักเก็บความรู้สึกเอาไว้เลยนะ เพราะเราทุกคนคู่ควรกับการมีความสุขเสมอ

ถ้าต้องการเติมพลังใจ ลองพักผ่อนให้เต็มที่แล้วออกไปหาความสุขให้ตัวเอง อูก้าอยากเห็นทุกคนมีรอยยิ้มและมีพลัง หากเหนื่อยล้าสามารถแวะมาพูดคุยกับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของอูก้าได้เสมอนะคะ

Read More
cover ฝันถึงแฟนเก่า

การฝันถึงแฟนเก่า หมายถึงอะไรในเชิงจิตวิทยา

วันนี้อูก้าอยากชวนเพื่อนๆ มาฟังและวิเคราะห์เพลง #ฝันถึงแฟนเก่า เพลงใหม่จากวงดนตรีป็อปร็อกอย่าง THREE MAN DOWN ที่บอกเล่าเรื่องราวของคนที่ฝันถึงแฟนเก่า โดยที่ยังลืมเขาไม่ได้สักที https://youtu.be/3O_Hxdtoyac

Read More
cover ความเหงาพาไป

เมื่อความเหงามันพาไป และเราเริ่มพูดคุยกับ “สิ่งของ”

“มันคือความเหงาที่เกิดขึ้นในใจ และมันออกมาจากข้างใน”

.

เราอาจไม่เคยเผชิญกับความเหงาที่โจมตีเราอย่างร้ายกาจขนาดนี้มาก่อน เลยไม่รู้ว่าพลังของความเหงามันส่งผลกับเรามากขนาดไหน จนกระทั่ง “เราเริ่มพูดคุยกับสิ่งของ” ดอกไม้ ประตู แจกัน รถยนต์ กลายเป็นเพื่อนน่าตาแปลกประหลาดที่มีชีวิตขึ้นมาทันตาเห็น สิ่งที่เกิดขึ้นจะไปจบที่ตรงไหน และมันเกิดขึ้นมาจากความเหงาได้ยังไงกัน

Read More