งานจบ อารมณ์ไม่จบ: ความเครียดสะสม ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

“ก็มีเครียดบ้างแหละ ปกติของการทำงาน”

“มันก็คงเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ที่จะปวดหัวเรื่องงานแหละมั้ง”

“ทน ๆ ไปเถอะ เครียดนิดหน่อย เดี๋ยวก็หาย”

.

การละเลยสิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้ อาจนำพาเราไปสู่ “Minor stress” หรือความเครียดสะสมที่เกิดจากความรู้สึกในเชิงลบที่สะสมทีละเล็กละน้อยโดยไม่รู้ตัว โดยเจ้า Minor stress มักปรากฎตัวได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกเครียด กดดัน ผิดหวัง เศร้าหมอง และอื่น ๆ

.

และ Minor Stress นี่เองที่สามารถนำไปสู่ภาวะเครียดจนเกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ ซึ่งสาเหตุของความเครียดนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น ระดับฮอร์โมน การพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัญหาจุกจิกในชีวิตประจำวัน งาน หรือแม้กระทั่งการเมืองในที่ทำงานด้วยเช่นกัน

.

แล้วเราจะสามารถจัดการกับ Minor stress จากความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างไร?

.

👩🏻‍⚕️💙

คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในแอพอูก้า แนะนำกับเราว่า เมื่อมีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับความเครียดที่เรามี หากเลี่ยงปัจจัยการกระตุ้นความเครียดได้ก็ควรเลี่ยง เช่น ลองให้คนอื่นคุยงานนี้แทนเราแต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้เราอาจจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจก่อนไปเผชิญหน้ากับเขา หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ อย่างน้อยเราก็จะทำให้เราพอรู้ว่าต้องเจออะไร พยายามจัดการความรู้สึกของตัวเองหรือระบายให้เพื่อนฟัง บางทีเพื่อนอาจเคยเจอเหมือนกับเราก็ได้

.

อีกหนึ่งทางออกที่ดีคือ การลองปรึกษากับบุคคลภายนอก เพื่อให้ได้เห็นปัญหาในภาพที่กว้างมากขึ้น เพราะหลายครั้ง การมีแค่ HR หรือหัวหน้างาน ก็ไม่เพียงพอ ซึ่งที่จริง HR และเหล่าหัวหน้างาน ก็ต้องการผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเมื่อเผชิญภาวะเครียดเหมือนกัน เพราะความรู้สึกและความสัมพันธ์ในที่ทำงานเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้น “งานเยอะ” จึงอาจจะไม่ใช่ต้นตอของปัญหาทั้งหมด เมื่อปัญหาภายในองค์กรเรื้อรังรังเข้า จึงเกิดภาวะ “งานจบแล้ว แต่อารมณ์ยังไม่จบสักที”

.

ซึ่งยุคนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีหลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงานมากขึ้น โดยหลายองค์กรเริ่มมีสวัสดิการให้พนักงานได้เข้ามาปรึกษาหรือพูดคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี

.

นอกจากนี้ คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้ากล่าวว่า การมีสวัสดิการเรื่องสุขภาพจิตในองค์กรถือเป็น “เรื่องที่ดี” และ ”สำคัญมาก” เพราะนอกจากจะมีคนที่คอยรับฟังและเข้าใจปัญหาของเราแล้ว สุขภาพใจจะดีขึ้น สุขภาพกายก็จะดีตามไปด้วย สิ่งนี้จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและทำให้คนทำงานอย่างเราใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

.

แน่นอนว่าอูก้าเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจ ที่คอยช่วยสนับสนุนเพื่อน ๆ ให้เอาชนะความเครียดจนสำเร็จ ไม่ว่าเพื่อน ๆ จะเข้ามาระบายเรื่องราวต่าง ๆ ให้เราฟังหรืออยากปรึกษากันแบบจริงจัง จะเป็นเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ เราก็พร้อมรับฟังและอยู่เคียงข้างเพื่อน ๆ เสมอนะ

.

มารับพลังใจในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

อ้างอิง: https://www.medicalnewstoday.com/articles/321450?fbclid=IwAR0MzoZxiUcaf4WO1Tp4V7juKoaJAQ0saencyE2KOyH2eyalUfObG-2dZFc

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth#stigma#selflove#expectation#ความคาดหวัง#OOCAfeelings#OOCAreminder

Read More

ต้องโตแค่ไหน ถึงเป็นผู้ใหญ่ในสายตาพ่อแม่

เคยไหม?

“อายุ 30 แล้ว จะไปทำงานที่ต่างประเทศแต่แม่ไม่ให้”

“จะไปไหนมาไหน ก็ต้องรายงานพ่อแม่ตลอดเวลา”

.

เพื่อน ๆ เคยรู้สึกแบบนี้ก็บ้างหรือเปล่า? รู้สึกอึดอัดกับการที่ต่อให้เราอายุ 30 40 แล้วก็ยังดูเป็นเด็ก 3 ขวบที่ทำอะไรไม่เป็นในสายตาของผู้(เคย)ปกครอง ทั้งที่ตอนอยู่ที่ทำงานก็ทำงานเหมือนคนทั่วไป เป็นเจ้าคนนายคนแบบที่พ่อแม่อยากให้เป็น แต่กลับบ้านทีไรก็รู้สึกตัวเล็กลีบแบน จะตัดสินใจเรื่องอะไรแต่ละทีก็ต้องมาปวดหัวว่าพ่อแม่จะว่ายังไง

.

“พ่อแม่เป็นห่วงนะเข้าใจไหม”

“งานบ้านปกติยังไม่ค่อยยอมทำเลยแล้วจะอยู่ยังไง”

“เป็นผู้หญิงอยู่คนเดียวได้ไง มันอันตราย”

พอโดนพูดแบบนี้บ่อย ๆ เข้าจากความเป็นห่วงก็กลายเป็นความอึดอัดใจ อย่างนั้นก็ไม่ได้ อย่างนี้ก็ไม่ดี พอปรึกษาใครก็บอกว่าอดทนหน่อย เขารัก เขาหวังดี ไม่งั้นเขาไม่พูดหรอก ด้วยแนวคิดและวัฒนธรรมแบบเอเชียทำให้เราต้องเป็นเด็กที่เชื่อฟังพ่อแม่ไปจนโต

.

ความรู้สึกเหล่านี้ยิ่งนานวันก็อาจกลายเป็นปัญหารบกวนจิตใจ ทั้งที่แค่อยากให้ไว้ใจกัน แต่ถ้าพูดออกไปก็กลัวว่าจะทำให้เสียใจจนกลายเป็นทะเลาะกัน

.

👩🏻‍⚕️💙

คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้า ยังสะท้อนว่า ได้เล่าถึงกรณีทั่ว ๆ ไปที่มาปรึกษาในเรื่องนี้ว่า หากเราอยากเป็นอิสระจากทางบ้าน บางทีก็อาจจะต้องรวบรวมความกล้าแล้วพูดออกไป ซึ่งมีวิธีการรับมือที่แตกต่างกันตามแต่ละบุคคล เช่น

.

“คิดว่าพอคุยกับพ่อแม่ได้อยู่”

ลองค่อย ๆ อธิบายให้เข้าใจว่าเราโตแล้ว เช่น ถ้ากังวลเรื่องที่พักที่ต้องแยกตัวออกไป ก็ลองพาไปดูสถานที่ พยายามแสดงให้เห็นว่าเราทำได้ ไม่ได้มีอะไรน่ากลัวอย่างที่กังวล แม้ในช่วงแรกอาจจะมีปะทะหรือทะเลาะกันบ้าง ก็อย่าเพิ่งเสียกำลังใจ เพราะหากไม่เริ่มหลุดจากกรอบที่พ่อกับแม่วางไว้ ก็คงไม่มีวันเห็นว่าลูกโตจนอยู่เลยระดับที่ชินสายตา

.

“ทำอย่างไร พ่อแม่ก็ไม่ยอมรับฟัง”

กรณีนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องดูเบื้องหลังของผู้ที่อยากได้รับคำปรึกษา อูก้าขอแนะนำให้คุณพักใจด้วยการมาปรึกษาใครสักคน คนนั้นอาจจะเป็นเพื่อนที่ไว้ใจได้ คนที่กำลังเจอปัญหาเหมือนกัน หรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะยิ่งเก็บไว้นาน ความอึดอัดก็อาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะไม่เข้าใจ เรารู้ว่าคุณไม่ใช่ลูกอกตัญญู คุณแค่เป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่อยากเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง

.

ใครที่กำลังเผชิญกับความรู้สึกแบบนี้แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอธิบายให้พ่อแม่เข้าใจอย่างไร หรือแรงปะทะมันเกินรับไหวจนใจพัง ลองแวะมาคุยกับอูก้าเพื่อมารับพลังบวกไปด้วยกันกับเราได้นะ

.

.

ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ไม่มีใครเข้าใจ

พวกเราก็พร้อมจะรับฟังเพื่อทำให้คุณเบาใจมากขึ้นนะ

.

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth#stigma#selflove#depression
#สุขภาพ#เครียด#รักตัวเอง#ซึมเศร้า#ความคาดหวัง#ความสัมพันธ์#ครอบครัว

Read More

ไขข้อข้องใจ ทำไมคนเราถึงเกลียดตัวเอง?

“ทุกคนคงเคยมีวันที่ไม่ชอบตัวเองกันบ้าง ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ปกติมากๆ เเต่ถ้าไม่มีสักวันที่เรารู้สึกชอบตัวเองเลยล่ะจะเกิดอะไรขึ้น?”

.
*ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนอาจสงสัยว่า สิ่งมีชีวิตโดยทั่วๆ ไป ควรจะมีสัญชาติญาณเอาชีวิตรอด ควรจะรักและปกป้องตัวเอง แต่ทำไมมนุษย์ถึงมีพฤติกรรมโกรธ เกลียดตัวเอง ไปจนถึงทำสิ่งต่างๆ ที่อาจเป็นภัยต่อตัวเองได้ ดังนั้น* วันนี้อูก้าจะมาเล่าเรื่อง **ความโกรธเกลียดตนเอง** (Self Hatred) ซึ่งหมายถึง *ความรู้สึกที่ว่าตัวเองไม่ดีพอ ไม่ควรค่าเเก่การได้รับความรักหรือสิ่งดีๆ จากสังคม*

เเต่เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมเราถึงมีความรู้สึกเเบบนั้นกัน?

การเกลียดตัวเองอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น บาดแผลทางใจในอดีต (Past Trauma), การเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น, การไม่ได้รับความรักหรือการยอมรับจากครอบครัวเเละเพื่อน ฯลฯ นอกจากนี้ ความเกลียดโกรธตัวเองนี้ยังขับเคลื่อนโดยเจ้าสิ่งที่เรียกว่า “Critical Inner Voice” คือ เสียงที่เกิดจากจิตใต้สำนึกลึกๆของเรา เสียงเหล่านี้จะสร้างมุมมองเเละทัศนคติของเราที่มีต่อตัวเองในเเง่ลบ เช่น “เราโง่จังเลย” “เราพูดไม่เก่ง” “เราคิดมากจัง” ซึ่งเสียงเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
.

#1 **ความทรงจำเเละประสบการณ์เลวร้ายที่เราพบเจอในอดีต:** ความทรงจำเเละประสบการณ์สร้างความเชื่อเเละความคิดของเรา (Values) เช่นคนที่เคยถูกบูลลี่ก็อาจกลัวการเข้าสังคมเเละรู้สึกไร้คุณค่า หรือคนที่เคยถูกคนรักทิ้งก็อาจคิดว่าตนเองดีไม่พอที่จะได้รับความรักเเละไม่กล้ามีความรักครั้งใหม่
.

#2 **ครอบครัวเเละการเลี้ยงดู:** ครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ วิธีการเลี้ยงดูของพ่อเเม่ก็มีผลต่อตัวเรา เช่นถ้าพ่อเเม่เป็น “Perfectionist” มีความคาดหวังในตัวลูกสูง เด็กก็จะเกิดความกดดัน เเละ กลัวว่าตนเองจะสร้างความผิดหวังให้กับผู้อื่น เมื่อทำผิดพลาดก็จะโทษตัวเอง หรือถ้าเด็กๆ อยู่ในสภาพเเวดล้อมที่คุกคามและควบคุม หรือไม่ได้รับความรักจากพ่อเเม่ ความรู้สึกนั้นก็จะสะสมไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นความรู้สึกเกลียดตัวเอง
.

#3 **การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น:** การเปรียบเทียบทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยเช่น “ทำไมเราทำงานไม่เก่งเท่าเพื่อน” “ทำไมเราไม่สวยเหมือนอย่างคนนั้น ไม่เป็นอย่างคนนี้ “ เมื่อเราสร้างภาพลักษณ์ที่เราคาดหวังไว้สูง เเต่ตัวตนจริงๆ เราไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวัง เราก็จะรู้สึกผิดหวังในตัวเอง เเละไม่รู้สึกชื่นชมในสิ่งที่เรามีหรือสิ่งที่เราเป็น

.

ทั้งหมดนี้รวมตัวกันกลายเป็น ภาพที่เรามองตัวเองโดยมี “เสียงวิจารณ์ภายใน” เหล่านี้วนเวียนซ้ำๆตอกย้ำเราจนเราเชื่อว่า “เสียงวิจารณ์ภายใน” เป็นความจริงเเละทำลายความมั่นใจของเราลงเรื่อยๆ จนเรากลายเป็นคนที่มี Self Esteem หรือความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ เเละจบลงด้วยการ “เกลียดตัวเอง” เพื่อเป็นการลงโทษตัวเองในท้ายที่สุด

.

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเราจะต้องศิโรราบต่อ “เสียงวิจารณ์ภายใน” ตลอดไปกันสักหน่อย โดยคุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้า เล่าให้เราฟังเกี่ยวกับเคสที่มาหาจิตแพทย์ด้วยความรู้สึกเกลียดตัวเองว่า …

.
👩‍⚕️
“การเกลียดตนเองเกิดจากความคิดเเง่ลบกับตัวเอง ความคิดมันเยอะท่วมท้น จนไม่สามารถจัดการกับมันได้ เเละรู้สึกว่าไม่มีใครอีกเเล้วที่ช่วยเราได้ – เมื่อเกิดความรู้สึกว่าเราทำอะไรไม่ได้สักอย่าง อยู่ไปก็มีเเต่เป็นภาระให้คนอื่น เราก็จะรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการ บางคนมีปมในอดีตที่ฝังลึกในจิตใต้สำนึก เช่น คนที่เคยอกหัก อาจไม่กล้ามีความรักครั้งใหม่ เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ เอาเเต่โทษตัวเองกับเรื่องเก่าๆที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกนี้สามารถเปลี่ยนไปได้ ถ้าเราเท่าทันความคิดตัวเอง หรือลองคุยกับตัวเอง ซึ่งการจัดการอย่างละเอียด ไม่เร่งรีบลงโทษตัวเอง ก็จะเปิดมุมมองเเละเปิดโอกาสให้ตัวเรามากขึ้น”

.

ในวันไหนที่เรารู้สึกท้อเเท้ หมดกำลังใจหรือรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง เเละไม่รู้จะระบายให้ใครฟัง อูก้ายินดีเป็นที่พักพิงใจ ให้คำเเนะนำเเละเป็นเพื่อนที่เข้าใจ เพราะเพื่อนๆ ไม่ได้เป็นคนเดียวที่คิดแบบนั้น

.

มารับพลังใจในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย:

https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth #stigma #selflove #depression #SelfCare
#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues 

Read More

#OOCAhowto วันศุกร์ที่โดนกองงานทับตาย เมื่อไหร่จะได้ THANK GOD IT’S FRIDAY

วันศุกร์แล้วหรอ? นี่คือวันศุกร์จริงๆ ไหม? เป็นวันศุกร์หลังวันหยุดยาวที่ไม่ได้รู้สึกสุขสมชื่อแม้แต่น้อย หันไปทางไหนก็เจอแต่ความเครียดเพราะงานมากมายที่กำลังรอให้เราจัดการ จะมีไหมที่จะได้สัมผัสกับวันสุขจริงๆ สักที

.

และเราก็ไม่ใช่ยอดมนุษย์สุดแกร่งที่จะรู้สึกยินดีกับกองงานมากมายในวันศุกร์แบบนี้

.

มีบทความดีๆ จาก Harvard Business ได้แนะนำวิธีที่มนุษย์ธรรมดาอย่างเราสามารถพูดขอบคุณอะไรก็ตามที่ทำให้เรามีวันศุกร์ที่แสนสุขได้เหมือนกัน

.

เริ่มต้นด้วยการตามหาสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกเครียด โดยการตั้งคำถามกับตัวเองว่าในกองงานนี้ มีงานอะไรที่ไม่ทำแล้วจะช่วยลดความเครียดได้ 80%  ถึงความจริงเราจะหนีมันไม่พ้นแต่การตั้งคำถามจะช่วยให้มองเห็นที่มาของความเครียดและทำให้เราตระหนักว่าเราควรทำอะไรต่อจากนี้ ถ้าเป็นงานชิ้นใหญ่จำเป็นต้องแบ่งและจัดลำดับความสำคัญจะช่วยให้เราเห็นว่าในตอนนี้ควรลงมือทำอะไรและมีใครที่จะพอช่วยลดภาระงานนี้บ้าง 

.

เมื่อเรารู้ว่าอะไรควรทำในตอนนี้และหลักจากนี้ต้องทำอะไรต่อ สิ่งต่อมาคือการเคารพเวลาที่เรากำหนดและหัด ‘ปฏิเสธ’ งานที่ไม่ใช่ความรับผิดชอบของเราให้เป็น

.

หลายครั้งที่เราดองงานเอาไว้จนถึงวันสุดท้ายของสัปดาห์อาจเกิดจากการความต้องการให้งานนี้สมบูรณ์แบบที่สุด แต่เราไม่สามารถทำให้งานเพอร์เฟกต์ได้ตลอดเวลา บางครั้งการทำให้เสร็จอาจดีกว่าการรอให้ครบ 100 % เพราะช่วงเวลาที่เราผัดงานออกไปก็ไม่ได้ทำให้งานเสร็จ

.

หรือเราอาจลองชาเลนจ์ตัวเองเพิ่มว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้วันศุกร์ของเราเต็มไปด้วยงาน หากมันเกิดจากปัจจัยภายนอกเช่นหัวหน้าที่ชอบเร่งงานหรือเปลี่ยนเดดไลน์กระทันหัน หากเป็นแบบนี้บ่อยๆ อาจต้องมีการพูดคุยและสร้างข้อตกลงร่วมกัน แต่หากเกิดจากปัจจัยภายในอย่างความรู้สึกติดขัดภายในใจที่เราเอง อาจลองหาเวลาคุยกับผู้เชียวชาญเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น

.

เพราะเป็นวันศุกร์หลังวันหยุดยาว เพื่อนๆ หลายคนอาจจะยังปรับตัวไม่ทันทำให้การทำงานในช่วงนี้อาจติดขัดกันบ้าง ลองทำวิธีที่อูก้าแนะนำมาไปปรับใช้กันดูนะ อูก้าเชื่อว่าวันศุกร์อื่น ๆ จะทำให้เพื่อนๆ ยิ้มได้และสามารถพูดได้เต็มปากว่า Thank God It’s Friday 😁

อ้างอิง

Zucker, R. (2019, October 10). How to deal with constantly feeling overwhelmed. Harvard Business Review. Retrieved April 16, 2022, from https://bit.ly/3JH7OAA

Read More

#OOCAKnowledge ซึมเศร้าหลังเที่ยวจบมีจริง

ทำความรู้จักกับ Post-vacation blue ที่สายเที่ยวชิลแค่ไหนก็ซึมเศร้าได้เหมือนกัน

.

กลับมาทำงานได้ไม่กี่วัน ความรู้สึกเศร้าๆ ซึมๆ ก็ก่อตัวขึ้นในใจใครหลายคนเพราะตอนเที่ยวมันแสนจะสนุกและสบาย แค่ปล่อยตัวและใจไปกับบรรยากาศดีๆ แต่พอกลับมาสู่โลกความเป็นจริงที่ต้องนั่งทำงานก็เล่นเอารู้สึกแย่เหมือนกันนะ

.

Post-vacation blue คือชื่อเรียกกลุ่มอาการซึมเศร้า วิตกกังวลหรือขาดแรงจูงใจที่จะทำงานหลังจากผ่านวันหยุดพักผ่อนและเป็นอาการระยะสั้นๆ ไม่เกิน 3 อาทิตย์ก็จะรู้สึกดีขึ้น

.

เบื้องหลังของความรู้สึกเหล่านี้มาจากการปรับตัวของร่างกายที่ดึงพลังงานภายในเพื่อรับมือสถานการณ์ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย เมื่อต้องกลับมาอยู่สถานการณ์เดิมๆ ร่างกายก็ปรับตัวไม่ทันซะแล้ว หรือบ้างก็พูดถึงปรากฏการณ์ The Contrast Effect ที่เกิดจากเราเปรียบเทียบในใจว่าการได้เที่ยวมันดีกว่าการนั่งทำงานทำให้กลายเป็นกับดักทางความคิดที่เมื่อเรากลับไปใช้ชีวิตเดิมๆ ก็รู้สึกห่อเหี่ยวขึ้นมาตามที่คิดไว้ทันที

.

ไม่ว่าจะถูกอธิบายด้วยแนวคิดแบบใด แต่ความเศร้าและเบื่อหน่ายที่เรารู้สึกเป็นเรื่องจริงเสมอ วันนี้อูก้าขอยกเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยเยียวยาหัวใจหลังวันหยุดยาวให้กลับมาสดชื่นได้อีกครั้ง

.

1.เปลี่ยนความทรงจำให้จับต้องได้

  1. แทนที่จะให้ประสบการณ์ของการไปเที่ยวเป็นเพียงความทรงจำดีๆ ในหัวใจ เปลี่ยนให้มันเกิดขึ้นจริง เอาสิ่งที่ได้จากมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันไปเลย เช่น ลงเรียนภาษาของประเทศที่เราไปมา หรือลองทำอาหารที่เราประทับใจจากทริปในครั้งนี้

2.ตัวจริงยังไปไม่ได้ ส่งใจไปก่อนละกัน

  1. ถึงตัวเราจะไม่สามารถหนีความจริงที่ว่าเราต้องทำงาน แต่เราสามารถส่งความคิดและใจให้จินตนาการถึงความรู้สึกดีๆ ที่ได้รับจากการเดินทางในครั้งนี้ ลองนึกว่าภาพตอนที่เราได้เห็นวิวสวยๆ อาหารน่ากิน เพียงเท่านี้ก็ปลุกหัวใจที่กำลังเซ็งให้ตื่นได้อีกครั้ง

3.มองคนรอบตัว

  1. ความรู้สึกเศร้าที่ตีตื้นอาจทำให้เราเลือกที่จะตีตัวออกห่างจากคนอื่น ลองหันมาโฟกัสคนที่เรารัก พูดคุยหรือชื่นชมในสิ่งที่พวกเขาทำ เพราะการเห็นคุณค่ากันและกันจะตามมาด้วยความรู้สึกดีๆ เหมือนที่เราได้เจอในระหว่างการเดินทางนั้นแหละ

.

อูก้าเชื่อว่างานเลี้ยงไม่ได้มีวันเดียวฉันใด วันหยุดก็ไม่ได้มีแค่นี้ฉันนั้น ยังมีวันหยุดอื่นๆ ที่ให้เพื่อนๆ ได้เตรียมตัววางแผนและตั้งตารอคอยเหมือนกัน แต่ถ้าเพื่อนๆ รู้สึกว่าความเศร้าที่มีไม่หายไปไหนสักที การต่อสู้เพียงลำพังอาจเป็นเรื่องยาก ลองหาเพื่อนที่ไว้ใจอย่างอูก้า เพื่อเล่าทุกความรู้สึก คลายความซึมได้เลยนะ

อ้างอิง

Spiegel, J. (2010, March 15). Post-vacation blues. Psychology Today. Retrieved April 13, 2022, from https://bit.ly/3KJVgd8

รู้จักอาการ Post-Vacation Blues เมื่อหยุดยาวฉันสุขล้นปรี่ และเศร้า หลังวันหยุดพักผ่อน มีอาการ วิธีการรักษาอย่างไร. (2022, January 7). กรมสุขภาพจิต, Retrieved April 13, 2022, from https://bit.ly/3uGEHcm

Read More

#OWPKnowledge: The Great Resignation ลาออกครั้งใหญ่ ทำไมต้องตื่นตัว

การเกิดขึ้นของสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดไม่เพียงทำให้การใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไปเท่านั้นยังส่งผลให้เกิดปรากฏที่ทำให้องค์กรต้องตื่นตัว อย่าง ‘ปรากฏการณ์การลาออกครั้งใหญ่’ (The Great resignation) ที่พนักงานพร้อมใจกันตบเท้าลาออกจากบริษัทมากเป็นประวัติการณ์ทั่วโลก

.

จากผลสำรวจของ Microsoft work trend พบว่า 41% ของพนักงานทั่วโลกมีความคิดอยากลาออกจากงานที่ทำอยู่ในตอนนี้ สถิติในสหรัฐอเมริกาพบว่าในปี 2021 มีสถิติพนักงานลาออกสูงที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกเฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 3.95 ล้านคน ในขณะที่ปีอื่น ๆ มากสุดอยู่ 3.5 ล้านคนต่อเดือนเท่านั้น หรือประเทศแถบยุโรปอย่างเยอรมันนีหรืออังกฤษที่พบกับภาวะขาดแคลนแรงงาน ส่วนประเทศไทยพบว่าสถานการณ์การว่างงานในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาเกือบ 70% มาจากการลาออก เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติการลาออกของประเทศอื่นแล้วสำหรับประเทศไทยอาจยังไม่โดดเด่นมากนัก แต่อย่างไรตามตัวเลขการลาออกที่สูงรวมกับการระบาดเป็นระลอก ๆ ภายในประเทศ HR ก็ไม่อาจนิ่งนอนใจได้อีกต่อไป

.

ผลการสำรวจในต่างประเทศพบ เหตุผลสำคัญที่ทำให้พนักงานตัดสินใจลาออกคือ

1. การดูแลพนักงานในช่วงที่มีการระบาดโควิด-19

2.ผลตอบแทนหรือสวัสดิการ

3. ขาดสมดุลชีวิตและงาน (Work-life balance) คล้าย ๆ กับผลสำรวจในประเทศของ JobsDB พบว่าสิ่งสำคัญที่พนักงานมองหาในงานใหม่หลังเกิดโรคระบาดคือผลตอบแทนหรือความมั่นคงมากที่สุด รองลงมาคือเพื่อนร่วมงานที่ดี งานที่มีคุณค่า หัวหน้าที่เอาใจใส่และความสมดุลของชีวิตและการทำงานตามลำดับ แตกต่างกับก่อนหน้าที่จะมีการระบาดที่ยึดความสุขในการใช้ชีวิตของตัวเองเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นช่วงที่สภาพบ้านเมืองและเศรษฐกิจไม่มั่นคง การได้ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลจึงจูงใจคนให้เลือกทำงานต่อ

.

นอกจากความมั่นคงภายนอกที่ตามหา ภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานทำให้พนักงานหลายคนตามความมั่นคงภายในใจ จากผลสำรวจในปีที่แล้วของ The Adecco Group พบว่าพนักงานมีแรงจูงใจลดลง พนักงาน 4 ใน 10 คนกำลังเจอกับภาวะหมดไฟ มองไม่เห็นความก้าวหน้าในอาชีพหรือรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร กลายเป็นความเครียดในการทำงานและตัดสินใจลาออกในท้ายที่สุด

.

‘ปรากฏการณ์ลาออกครั้งใหญ่’ คือปรากฏการณ์ที่สะท้อนแนวคิดการทำงาน การสร้างสมดุลในชีวิตไปจนถึงการกำหนดเป้าหมายในชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิม สร้างความท้าทายใหม่ให้กับองค์กรหากยังทำงานในรูปแบบเดิมหรือฝ่าย HR หากยังไม่สามารถมองเห็นในความต้องการใหม่ ๆ ที่พนักงานเหล่านี้มองหา การลาออกของพนักงานอาจกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในอีกไม่ช้า

ข้อมูลอ้างอิง

20 แนวโน้มตลาดงานปี ’64 – ’65 “จ้างงานลดลง-เงินเดือนสำคัญกว่า Work-Life balance-ต้อง Upskill-Reskill” -. (2021, August 5). Brand Buffet. Retrieved March 6, 2022, from https://bit.ly/3MxvAli

.

สำนักงานประกันสังคม. (n.d.). สถานการณ์การว่างงานและการเลิกจ้าง. Retrieved March 6, 2022, from https://bit.ly/37bZrzx

.

Cook, I. (2021, November 10). Who is driving the great resignation? Harvard Business Review. Retrieved March 6, 2022, from https://bit.ly/3MwS9Gu

.

Joblist. (2021, October 7). Q3 2021 united states job market report. Retrieved March 6, 2022, from https://bit.ly/3tuZ4Hy

.

Microsoft work trend index. (2021, March 22). The next great disruption is hybrid Work—Are we ready? Microsoft. Retrieved March 6, 2022, from https://bit.ly/3IQVqOV

.

The Adecco Group. (2021, October 27). The great resignation การลาออกครั้งใหญ่ของมนุษย์เงินเดือน. Retrieved March 6, 2022, from https://bit.ly/3sPvNIC

.

S. (2022, February 1). Interactive Chart: How Historic Has the Great Resignation Been? SHRM. Retrieved March 6, 2022, from https://bit.ly/3HNvPF1

Read More

OWPKnowledge: Checklist 5 เหตุผลที่ทำให้พนักงานลาออก

Checklist 5 เหตุผลที่ทำให้พนักงานลาออก

งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกลา การลาออกของพนักงานจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงและเป็นสิ่งสุดท้ายที่ HR หรือองค์กรอยากให้เกิดขึ้นเพราะไม่เพียงเป็นการสูญเสียพนักงานที่มีศักยภาพ มันยังรวมถึงเวลาและค่าใช้จ่ายที่มากับการรับสมัครและฝึกอบรมพนักงานคนใหม่อีกครั้ง และหากจำนวนการลาออกยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พนักงานที่ยังอยู่จะเกิดความไม่สบายใจและผู้สมัครเกิดความลังเลในการตัดสินใจเข้าทำงาน

ดังนั้นยิ่ง HR รู้สาเหตุเบื้องหลังได้เร็วเท่าไรจะสามารถแก้ไขได้เร็วเท่านั้น วันนี้อูก้าเลยขอแชร์ผลสำรวจในปี 2021 ของ CareerPlug ที่พบ 5 สาเหตุสำคัญที่ทำให้พนักงานตัดสินลาออก 

1. ค่าตอบแทนที่ได้ไม่คุ้มกับสิ่งที่ทำ

เมื่อค่าตอบแทนคือสิ่งหลักที่หลายคนต้องการและถ้าพบว่าเงินที่ได้ไม่สอดคล้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย หลาย ๆ คนจึงตัดสินใจลาออกเพื่อหาองค์กรอื่นที่ให้เงินสูงขึ้นหรือสมเหตุสมผลกับงานที่ทำ

2. ไม่มีสวัสดิการน่าดึงดูด

องค์กรไหนที่มีสวัสดิการคุ้มค่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้พนักงานอยากอยู่ต่อ จากงานวิจัยพบว่าองค์กรที่ให้ความสำคัญกับประเด็นสุขภาพจิตหรือมีการรับมือกับความเครียดมีแนวโน้มที่พนักงานเลือกตัดสินใจอยู่ต่อมากขึ้น

3. ระบบการทำงานไม่ยืดหยุ่น

ในช่วงที่สถานการณ์โควิดระบาด การทำงานรูปแบบเดิมอาจไม่ได้ผลอีกต่อไป องค์กรไหนที่ปรับตัวได้ช้าหรือไม่ยืดหยุ่นจะส่งผลให้พนักงานเกิดความกังวลใจกับการเปลี่ยนแปลงและนำมาสู่การลาออกในที่สุด

4. บรรยากาศทำงานชวนอึดอัดใจ

เพื่อนร่วมงาน รูปแบบในการทำงานหรือวัฒนธรรมขององค์กรเป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าทำงานแล้ว เมื่อพบว่าองค์กรที่กำลังทำอยู่ไม่มีสิ่งที่เหมาะกับตัวเอง พนักงานหลายคนเลยขอเป็นฝ่ายที่เดินจากไป

5. ความรับผิดชอบอื่นในชีวิตเยอะเกินที่จะรับไหว

เพราะชีวิตคนเราไม่ได้มีแค่เรื่องการทำงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีบทบาทอื่นในชีวิตจริงที่ต้องรับผิดชอบ บางครั้งก็ทำให้พนักงานเลือกลาออกจากงานที่ทำเพื่อรับผิดชอบในบทบาทอื่นให้เต็มที่

การตัดสินใจลาออกของพนักงานคนหนึ่งอาจมีหลายเหตุผลและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ในฐานะของ HR หรือองค์กรการตระหนักถึงปัจจัยเหล่านี้จะช่วยแก้ไขจุดอ่อนเสริมจุดแข็งที่ทำให้พนักงานเลือกที่จะอยู่ต่อไปนานยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามเนื่องการเกิดขึ้นของสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดมาอย่างต่อเนื่องเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้พนักงานพิจารณาสาเหตุเหล่านี้เร็วขึ้น กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ HR ต้องระวังคือ ‘ปรากฏการณ์การลาออกครั้งใหญ่’ (The great resignation) เมื่อพนักงานพร้อมใจกันลาออกสูงเป็นประวัติการณ์ เพราะอะไรและทำไมถึงเกิดขึ้นสามารถติดตามอูก้าในบทความครั้งหน้าได้เลย

ข้อมูลอ้างอิง

Why Do Employees Quit? 6 Reasons Employees Leave Their Jobs. (2022, February 14). CareerPlug. Retrieved March 6, 2022, from https://www.careerplug.com/blog/reasons-employees-quit/

Read More
เครียด ซึมเศร้า พบจิตแพทย์ ไฮเปอร์เวน โรคเรียกร้องความสนใจ

OOCAknowledge: Hyperventilation Syndrome ไม่ได้เรียกร้องความสนใจ แต่ร่างกายมันไปเอง

การบ้านเยอะจนเครียด เรียนออนไลน์ก็ไม่รู้เรื่อง

หัวหน้าดุอีกแล้ว งานที่ทำกำลังฆ่าเราอย่างช้า ๆ

คนที่รักกลับกลายเป็นเฉยชา ครอบครัวก็ไม่สนใจ

.

เคยไหมทุกสิ่งที่เข้ามาทำให้เรารู้สึกเครียดจนทนไม่ไหว ?

รู้สึกเครียดและวิตกกังวลกับอะไรบางอย่างจนหายใจไม่ออก เคลื่อนไหวร่างกายไม่ถนัด หายใจเข้าไปเท่าไหร่อากาศก็ไม่ลงปอดเสียที มีอาการหูอื้อ หน้ามืด เวียนหัวเหมือนจะเป็นลม มือเย็นเท้าเย็น บางทีก็เกิดอาการมือจีบ ตัวเกร็งไปหมด และอาการเหล่านี้มักจะมาในช่วงที่คุณรู้สึกเครียดหรือวิตกกังวลมาก ๆ ซ้ำร้ายคนรอบตัวยังไม่เข้าใจ และคิดว่าคุณอาจกำลัง ‘เรียกร้องความสนใจ’ ทั้ง ๆ ที่มันไม่ใช่แบบนั้นเลย นี่เราเป็นอะไรกันแน่นะ ?

.

Hyperventilation Syndrome ภาวะหายใจหอบเพราะอารมณ์

สิ่งที่คุณเป็นอยู่ (หรือคนใกล้ตัวของคุณกำลังเป็น) อาจจะเป็นอาการของ ‘Hyperventilation Syndrome’ หรือ ‘ภาวะหายใจหอบเพราะอารมณ์’ ซึ่งมีสาเหตุมาจากด้านอารมณ์และจิตใจ ส่วนใหญ่เกิดจากความเครียด ความวิตกกังวล รู้สึกกลัว ประหม่า โดยก่อนเกิดอาการพบว่าผู้ป่วยมักประสบภาวะกดดันทางจิตใจ เช่น ปัญหาการเรียน รู้สึกเครียดจากที่ทำงาน ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หรือเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกตื่นกลัว เครียด กังวลมาก ๆ จนทำให้เกิดภาวะ Hyperventilation ขึ้น

.

ภาวะหายใจหอบเพราะอารมณ์นี้เกิดขึ้นเป็นช่วงสั้น ๆ ประมาณ 20-30 นาทีเท่านั้น พบว่าเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เมื่อมีอาการ ร่างกายจะหายใจเร็ว หอบลึก ทำให้มีออกซิเจนในเลือดมากกว่าปกติ และระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ตามมาคือ รู้สึกหายใจลำบาก เหมือนหายใจเท่าไหร่ก็ไม่พอ หัวใจเต้นแรง ใจสั่น รู้สึกหวิว ๆ หน้ามืดและเวียนหัว และเมื่อออกซิเจนในเลือดมากเกินไปฉับพลันก็นำไปสู่ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ทำให้มือเท้าจีบเกร็ง มือเท้าเย็น ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า

.

ไม่ได้เรียกร้องความสนใจ แต่ร่างกายมันไปเอง

ถึงแม้ว่าอาการนี้จะไม่ส่งผลอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็อาจจะรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่สำคัญคือสภาพจิตใจที่อาจจะเหนื่อยล้ากับอาการที่เป็นอยู่ หลายคนที่มีอาการนี้ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นอะไร แถมยังถูกตัดสินด้วยอคติ ว่าเรียกร้องความสนใจบ้างแหละ ทำตัวนางเอกบ้างแหละ

.

อย่างเช่นกรณีของบางมหาวิทยาลัยที่มีการรับน้อง นิสิตนักศึกษาปีหนึ่งที่พึ่งผ่านพ้นวัยมัธยมมาสด ๆ ร้อน ๆ ปรับตัวกับวัฒนธรรมและบรรยากาศใหม่ ๆ ไม่ทัน จนเกิดภาวะหายใจหอบเพราะอารมณ์ หน้ามืด จะเป็นลม มือจีบกันอยู่บ่อยครั้ง หรืออย่างวัยทำงานช่วงที่ต้องเตรียมนำเสนองานกับลูกค้าแล้วรู้สึกเครียด วิตกกังวลมากจนหายใจไม่ทัน แม้กระทั่งในเด็กเล็กเองก็มีอาการนี้ได้เช่นกัน เมื่อรู้สึกขัดใจ ตกใจ เครียดกับสถานการณ์ตรงหน้า จนทำให้เกิดอาการนี้ขึ้น

.

น่าเศร้าที่หลายครั้งคนเหล่านี้กลับถูกมองว่าเป็นพวกชอบเรียกร้องความสนใจ หรือ ‘Attention Seeker’ เนื่องจากภาวะนี้เกิดขึ้นจากใจที่โดนกระทบกะทันหัน หรือจากอารมณ์ที่กดดัน บางครั้งใจพยายามควบคุมแล้ว แต่ร่างกายดันตอบสนองออกมาเป็นอาการที่แม้แต่คนที่เป็นบางคนก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็น ซึ่งภาวะนี้หากเป็นหลาย ๆ ครั้ง ร่างกายอาจกระตุ้นให้เกิดอาการขึ้นมาเองได้แม้จะไม่ได้เครียด เช่น บางครั้งแค่ถอนหายใจลึก ๆ ก็เริ่มเกิดอาการหายใจหอบได้จนคล้ายกับแกล้งทำ คนรอบข้างเลยคิดว่าเป็นเพราะต้องการเรียกร้องความสนใจ และทำให้คนที่มีภาวะนี้รู้สึกเครียดและวิตกกังวลเพิ่มขึ้นจนทำให้อาการแย่กว่าเดิม

.

ถ้าเกิดอาการแบบนี้ ควรทำอย่างไรดี?

1.พยายามควบคุมสติและหายใจให้ช้าลง เพราะอาการที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการหายใจเร็วเป็นหลัก พยายามนับจังหวะหายใจเข้าออก หากควบคุมลมหายใจได้ก็จะทำให้อาการค่อย ๆ ดีขึ้น

2.คลายเคียด หาทางป้องกันด้วยการเสริมสร้างสุขภาพจิตให้แข็งแรงขึ้น และเสริมความแข็งแรงของร่างกาย ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อลดโอกาสในการเกิดอาการ

3.ควรพบจิตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการรักษาหรือการใช้ยาช่วยเหลือตามความจำเป็น

.

เพราะร่างกายรู้ดี…สิ่งสำคัญคือการ ‘ดูแลใจ’

นอกจากวิธีการดูแลร่างกายแล้ว การดูแลตัวเองทางใจก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากเราพิจารณาสาเหตุของการเกิด Hyperventilation จะเห็นได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับสภาวะของจิตใจเป็นหลัก โดยเฉพาะความเครียดและความรู้สึกวิตกกังวล สิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้คือ “การดูแลใจ” ให้ดี หมั่นตรวจสอบอารมณ์ความรู้สึกตัวเองบ่อย ๆ พูดคุยปรึกษากับเพื่อน คนในครอบครัว หรือคนที่ไว้ใจ เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล ที่สำคัญคือ “การปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ” ที่จะช่วยให้ตัวเราเข้าใจภาวะนี้ได้ดีขึ้น รู้วิธีจัดการกับอารมณ์และความเครียดที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะควบคุมภาวะดังกล่าวได้

.

นอกจากการดูแลตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจ อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญกับใจก็คือแรงสนับสนุนจากคนรอบข้าง หากเราเป็นคนหนึ่งที่มีอาการนี้หรือมีคนใกล้ตัวประสบปัญหาเหล่านี้ อย่าลืมว่าเขาต้องได้รับการดูแลรักษา ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะพวกเขา ‘แกล้งทำ’ แต่เป็นเพราะจิตใจกำลังส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ดังนั้นเราต้องเข้าใจและรับฟัง รวมถึงเป็นที่พักพิงทางใจในเวลาที่พวกเขาต้องการใครสักคนเคียงข้าง

.

หากคุณจะกำลังเผชิญกับความเครียดและความวิตกกังวลแบบไหน หรือคุณอาจจะกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่หรือไม่ ทางอูก้ามีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาพร้อมช่วยเหลือและรับฟังคุณอยู่เสมอ มาดูแลใจไปด้วยกันนะ

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.manarom.com/blog/Hyperventilation_Syndrome.html

https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/Hyperventivation syndrome.PDF

https://www.pobpad.com/hyperventilation

Read More
ยอมแพ้กับชีวิต

OOCAstory: ‘อ่อนแอก็แพ้ไป’ ทำไมความอ่อนแอถึงถูกมองว่าพ่ายแพ้

หากจะตัดสินว่าใครอ่อนแอ ลองถามใจตัวเองก่อนว่า “เรากล้าหาญพอจะโอบกอดความเจ็บปวดหรือยัง?” เส้นทางที่เราจะชนะไปตลอดมันไม่มีจริงหรอกนะ

มีแต่มนุษย์ที่ยอมรับความอ่อนแอเท่านั้นแหละ ที่จะเข้มแข็งและไปต่อได้

“อย่าอ่อนแอสิ”

“แค่นี้ก็ทนไม่ไหว แล้วจะไปรอดหรอ?”

“เข้มแข็งหน่อย ทำไมยอมแพ้ง่ายจัง”

เหมือนจะเป็นคำกึ่งพูดเล่นพูดจริงที่ใช้หยอกกัน แต่สำหรับใครบางคนคำนี้เป็นเหมือนคำดูถูก บั่นทอนและตอกย้ำให้เจ็บปวด จากการสอบถามในเพจและไอจีของอูก้าว่า “คำพูดไหนที่ได้ยินแล้วไม่เคยลืม” หลายคนตอบว่า “อ่อนแอ” เพราะทำให้เสียความรู้สึกมากๆ ไม่รู้ว่านับเป็นการบูลลี่ไหม แต่ได้ยินทีไรก็อยากจะร้องไห้ทุกที

.

แล้วทำไมคนเราจะ “อ่อนแอ” บ้างไม่ได้ เพราะเป็นมนุษย์นี่แหละถึงอ่อนแอได้ ร้องไห้เป็น

การฝืนทำตัวเข้มแข็งก็เหนื่อยเหมือนกันนะ คนเราต้องมีวันที่เสียน้ำตากันบ้างแหละ

แต่กลับเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆคนที่จะยอมรับว่าตัวเองกำลัง “อ่อนแอ”

.

เพราะชีวิตคือการแข่งขัน เราถูกสอนให้เป็นคนดี เป็นคนเก่ง ถ้ายังไม่เป็นที่หนึ่ง

ก็ต้องพยายามให้มากขึ้นอีก เพราะจุดหมายที่ทุกคนอยากจะไปถึงมีพื้นที่จำกัด

ไม่ใช่ทุกคนที่จะไปถึงและคนที่เข้มแข็งเท่านั้น ถึงจะขึ้นไปได้

.

นี่เป็นภาพจำและความคิดที่ฝังอยู่ในหัวเรามาตั้งแต่เด็ก เราถูกเปรียบเทียบกับคนอื่นเสมอ

เรามีภาพที่เราอยากจะเป็น แต่เราผิดไหม ถ้าวันหนึ่งเราไปไม่ถึงจุดที่ทุกคนคาดหวัง

หรือถ้าสุดท้ายเราเปลี่ยนใจไปเลือกทางอื่น นั่นคือเรา “พ่ายแพ้” แล้วหรอ?

.

ใครเป็นคนตัดสินกัน ว่าคนนี้ “อ่อนแอ” ส่วนเธอหน่ะ “พ่ายแพ้”

จริงๆ เป็นการนิยามขึ้นมาเองทั้งนั้น ไม่มีอะไรตายตัวหรอกว่าเส้นทางชีวิตแบบไหนคือชนะ แบบไหนคือแพ้ ทุกคนแค่ต้องเรียนรู้กันต่อไป

.

น่าดีใจเสียอีกที่เรารู้ตัวว่าเรา “อ่อนแอ” ได้ เพราะหลังจากนี้เรามีแต่จะเข้มแข็งขึ้น

คนอ่อนแอเท่านั้นที่จะรู้วิธีเยียวยาใจตัวเองและดูแลใจคนอื่น

อย่าพยายามเข้มแข็ง ทั้งที่ในใจแตกสลายเลย ไม่อย่างนั้นข้างในคงได้พังเข้าสักวัน

.

ไม่มีใครอยากอ่อนแอหรอกนะ อย่าผลักไสพวกเขาออกไปเพียงเพราะเราได้เห็นบางมุมที่เขาเปราะบาง

ที่จริงเขากล้าหาญมากต่างหากที่แสดงออกว่า “ไม่ไหว” กล้าที่จะยื่นมือออกมาขอความช่วยเหลือ

อย่าตัดสินคนอื่นสิ่งที่เราเห็นเพราะเราไม่ได้รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับชีวิตเขา เขาอาจจะเลือกให้เราเห็นแค่บางมุมก็ได้

.

เปลี่ยนจากคำว่า “อย่าอ่อนแอสิ” เป็น “เธอเก่งมากแล้ว” หรือคำพูดอื่นๆ ที่อบอุ่นใจดีกว่านะ

ทุกคนจะได้รู้สึกมีกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อ “อ่อนแอไม่แพ้หรอก…ชนะใจตัวเองแล้วต่างหาก”

.

อูก้าขอส่งพลังบวกให้ทุกๆ คนที่กำลังต่อสู้กับสิ่งรอบตัว ถ้าวันไหนรู้สึกไม่ไหว นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของเราพร้อมเสมอที่จะรับฟังปัญหาใจของคุณ นัดหมายได้ตามวันและเวลาที่สะดวกเลยนะคะ

Read More

OOCAissue: How to ดูแลคนรักที่ป่วยใจ ด้วยโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล

โรคทางใจส่งผลต่อความสัมพันธ์หรือไม่ ?

ต้องยอมรับว่าคู่รักหลายคู่เดินมาถึงทางตันเพราะปัญหาสุขภาพใจ ไม่ใช่แค่ภาวะเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้าจะกัดกินแต่คนเป็นเท่านั้น คนรักที่อยู่ข้าง ๆ คอยดูแล คอยรับฟังก็ถูกบั่นทอนเช่นกัน เพราะการดูแลใจใครสักคนต้องใช้ทั้งความเข้าใจและพลังเป็นอย่างมาก เมื่อวันเวลาผ่านไปทั้งสองฝ่ายต่างอ่อนแอลง ทำให้ไปถึงจุดที่ไม่สามารถประคับประคองความสัมพันธ์ต่อไปได้ ฝ่ายที่ป่วยใจก็รู้สึกผิด เกิดการโทษตัวเองที่เป็นแบบนี้ ทำให้คนรักเหนื่อยล้า ในขณะที่อีกฝ่ายไม่อยากทอดทิ้งกันไปเวลาที่เขากำลังเปราะบาง แต่ตนเองก็ไม่รู้จะทำอย่างไรให้คนรักรู้สึกดีขึ้น จึงเป็นประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหวในความสัมพันธ์

.

แต่ถ้าเรามีความรู้เกี่ยวกับภาวะหรือโรคที่อีกฝ่ายกำลังเป็น รวมถึงเข้าใจในสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังรู้สึกและเผชิญอยู่ เราก็อาจดูแลและรักษาความสัมพันธ์นี้เอาไว้ได้

#คำตอบจากนักจิตวิทยา

#เรียนรู้และเข้าใจคนที่เรารัก ความคาดหวังของเราก็จะลดลง เมื่อเข้าใจก็สามารถช่วยดูแลคนที่คุณรักให้ฟื้นคืนได้ คนรักรู้สึกเศร้า ไร้ค่า สิ้นหวัง  ถอนตัว ภาวะซึมเศร้าอาจทำให้จมกับอารมณ์ความคิดลบ ลดความสนใจสังคมและกิจกรรมที่เคยมีความสุข ในเวลาที่เค้าซึมเศร้า เค้ากังวล ภาวะซึมเศร้าส่งผลให้เขาพูดหรือกระทำบางอย่างที่กล่าวโทษว่าคุณเป็นต้นเหตุ เข้าใจว่าคุณไม่ได้เป็นต้นเหตุทำแฟนซึมเศร้า ดังนั้นอย่าถือสากันและกันเลยนะ

.

#สื่อสารคำถามปลายเปิดและฟังคนรักอย่างใส่ใจ  การนั่งเคียงข้างและรับฟังโดยไม่ตัดสิน คุณสามารถจับมือ โอบกอด และสามารถตอบสนองด้วยคำพูด อาทิ “มีอะไรที่เราสามารถทำได้เพื่อช่วยเธอบ้าง” “เธอมีความสำคัญกับเรานะ” “เราอยู่ตรงนี้เสมอ” และ “เราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน”

.

สำหรับวิธีการดูแลคนรักที่เหมาะสม ทำได้หลายวิธีด้วยกัน

#คำตอบจากนักจิตวิทยา

#หลีกเลี่ยงการพูดที่เป็นการกดดัน ในรูปประโยค You message เช่น “คุณไม่เคยทำอะไรเพื่อตัวเองเลย” “ทำไมเธอไม่รู้จักอดทนบ้าง” ให้ใช้ประโยค I message แทน ที่ไม่ต้อนหรือควบคุมอีกฝ่าย เช่น “ฉันเห็นคุณค่าในตัวเธอและอยากเห็นเธอทำสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจ”

.

#รู้สัญญาณเตือนการคิดสั้น เริ่มจากสังเกตเป็น เข้าใจสัญญาณอันตรายและรีบขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทันที ได้แก่ หากมีการวางแผน คิดสั้น มีอารมณ์ที่ขึ้นลงรุนแรง บุคลิกภาพเปลี่ยน การถอนตัวออกจากสิ่งที่ชอบทำและผู้คน รู้สึกสิ้นหวังอย่างมาก สำคัญที่สุดคือพยายามอยู่เคียงข้าง เพื่อลดการแยกตัว ลดการตัดสินใจที่เค้าจะทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด

.

#ปรับไลฟ์สไตล์และสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่ๆ มีประโยชน์มากในการฟื้นฟู ลองวางแผนออกกำลังกายร่วมกัน อยู่กับเขาเพื่อลดความเครียด วางแผนรายวันรายสัปดาห์ที่จะไปทำกิจกรรมต่างๆ โดยเริ่มต้นกิจกรรมเล็กๆก่อน เพื่อช่วยให้คนที่คุณรักค่อยๆปรับตัว ที่สำคัญแบ่งเป้าหมายใหญ่ให้เป็นเป้าหมายขนาดเล็ก การทำตามขั้นตอน เพื่อช่วยให้ทำสิ่งต่างๆ สำเร็จได้ง่ายขึ้นในทุกวัน เช่น การลุกขึ้นจากเตียง อาบน้ำ ทานอาหารสุขภาพ ออกกำลังกาย

.

#สนับสนุนคนรักเข้ารับบริการให้การปรึกษา รับการปรึกษาชีวิตคู่ ถ้าคู่ของคุณยินดีร่วมมือ เพื่อให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ของคุณก่อนที่จะยุติไป นักจิตวิทยาสามารถทำให้เห็นมุมมองที่คุณสามารถจัดการด้วยตัวคุณเอง และหลีกเลี่ยงรูปแบบที่มักเกิดปัญหาในความสัมพันธ์หรือในความสัมพันธ์ใหม่ ควรเน้นรับการปรึกษาอย่างต่อเนื่องแทนที่จะวินิจฉัยหรือรักษาด้วยตัวเอง

.

อย่างไรก็ตามใจของคนรักและใจของเราต่างสำคัญด้วยกันทั้งคู่ หมั่นฟังเสียงหัวใจตัวเอง ถ้าวันไหนมันบอกว่าไม่ไหว อย่าลังเลที่จะดูแลรักษา อูก้ามีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาพร้อมรับฟังทุกปัญหาและช่วยคุณก้าวข้ามทุกอุปสรรคไปได้ เพราะเราเชื่อว่าทุกความสัมพันธ์แข็งแรงได้

ขอขอบคุณคำแนะนำดีๆ จาก พี่พลีส กอบุญ เกล้าตะกาญจน์ นักจิตวิทยาการปรึกษาของอูก้าด้วยนะคะ

Read More