เมื่อไพ่ทาโรต์กลายเป็นที่พึ่งทางใจสำหรับใครหลาย ๆ คน

“ทำไมคุณถึงคิดว่าตัวเองไม่พร้อมที่จะมีความรักครั้งใหม่ล่ะคะ”

“หมอดูเคยทักว่าจะไม่มีเนื้อคู่ค่ะคุณหมอ อกหักครั้งนี้หนูเลยแอบคิดว่า หรือจะเป็นอย่างที่หมอดูทักจริงๆ”

มีหลาย ๆ ครั้งในชีวิตที่พวกเรารู้สึกอับจนหนทาง รู้สึกต้องการที่พึ่งทางใจ 

ต้องการปรึกษา “ใครสักคน” ที่สามารถบอกทางออกกับเราได้ และถ้าเป็นใครสักคนที่สามารถมองเห็นอนาคตเราได้ ว่ายังไม่ได้อับจนหนทางไปซะทีเดียว ก็พอจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราสู้กับปัญหาตรงหน้าไปได้ นั่นเป็นเหตุผลที่หลาย ๆ คนเลือกที่จะพูดคุยกับหมอดู


ส่วนบางคนก็เลือกจะหันหน้าเข้าหาหมอใจ (นักจิตวิทยา) เมื่อพบว่าการระบายกับเพื่อนไม่เพียงพอ

พฤหัสที่ 28 ก.ค. ที่ผ่านมา รายการ #MindPleasureLIVEtalk โดย #อูก้า ได้ชวนทั้งหมอดูและนักจิตวิทยามาสนทนากันในเรื่องนี้

 คุณเอม นักโหราศาสตร์ เจ้าของเพจเฟสบุ๊ค Your Beloved Witch ได้เล่าถึงการดูดวงว่า “คนส่วนใหญ่ชอบดูดวงเพราะว่าอยากรู้เรื่องของตนเอง ถึงพวกเราจะรู้อยู่เเล้วว่าตนเองเป็นอย่างไร บางทีเราก็อยากรู้ในเรื่องของตัวเองจากมุมมองคนอื่น มันสนุก ! และเมื่อได้ยินสิ่งดี ๆ ของตัวเราจากหมอดู เราก็จะรู้สึกสบายใจขึ้น หรือบางครั้งเค้าเลือกไม่ได้ หรือไม่มีความเชื่อมั่น การมาทบทวนความเชื่อเกี่ยวกับตัวเอง ก็เป็นส่วนที่ทำให้คนที่มาหาเรารู้สึกสบายใจ ”

ในขณะเดียวกัน ทั้งหมอดูและหมอใจ ก็เห็นพ้องต้องกันว่า การรู้อนาคต มีคนรับฟัง จะสร้างความสบายใจหรือความเชื่อมั่นได้ แต่ก็มีหลายกรณีที่แค่การรู้อนาคตและความเชื่อมั่นนั้นไม่เพียงพอ

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 ได้กล่าวว่า

“มีหลาย ๆ คน ที่อาจจะเลือกเล่าให้เพื่อนฟัง หรือใช้การพยากรณ์ เพราะไม่อยากรู้สึกว่าตัวเองป่วยจนต้องไปหาหมอ แต่ว่าอาการเจ็บป่วยทางใจที่เริ่มเกิดขึ้นต่อเนื่องแม้ไม่มีเหตุการณ์กระตุ้น เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับต่อเนื่องเกินสองสัปดาห์ หรือการคิดจบชีวิต ปัญหาประเภทนี้ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ก็อาจจะต้องใช้เครื่องมืออื่นที่พาเราไปในทิศทางที่ต่างจากการทำนาย”

รวมไปถึงบางครั้ง “หมอดูและนักเยียวยา” รุ่นใหม่ ต่างก็เคยพบเห็นคนที่มาปรึกษาเนื่องจากโดนตีตราจากคำทำนายทายทักเชิงลบ

คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เล่าว่า “เหตุผลที่เรามาเป็นหมอดู เพราะเราเคยถูกหมอดูทักตอนเด็กๆ ว่าเราจะเรียนไม่จบ ช่วงที่เรียนหนังสือมาตลอดก็จะมีความคิดนี้วนในหัวตลอดเวลาว่าเราจะเรียนได้ไหม จะสอบติดไหม แม้กระทั่งตอนอยู่มหาวิทยาลัยปีสุดท้ายทำทีสิส เรายังวิตกกังวลเลยว่างานของเราจะไม่ผ่านตามที่หมอดูเมื่อหลายสิบปีก่อนว่าไว้ จนมันผ่านไปจริงๆ ถึงพิสูจน์ว่าเออ ก็เรียนจบนี่นา สิ่งนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้เวลาเราดูให้คนอื่น เราจะคำนึงถึงผลกระทบในคำปรึกษาของเรา”

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 เสริมถึงกรณีผู้มาปรึกษาที่บางทีอาจจะเล่าไม่หมด และหาทางออกไม่พบ ส่วนหนึ่งเพราะไม่กล้าเล่าให้นักจิตวิทยาฟังว่าไปดูดวงมาก่อน 

“มีกรณีที่มีคนมาปรึกษาเรื่อง อยากมีความรัก แต่มีความคิดฝังหัวว่าตัวเองยังไงก็ไม่มีเนื้อคู่ ไม่มีคนรัก เพราะเคยมี #หมอดูทัก แรงจนเสียความมั่นใจ ซึ่งพอเค้าเล่าให้เราฟังแล้ว เราก็จะรู้ว่าอ๋อ มีความกังวลตรงนี้มาก่อน ทางนักจิตวิทยาก็จะสามารถถามถึงเรื่องคุณค่าในตัวเอง และพาไปสำรวจ Esteem ในหลายๆ มิติ – ซึ่งที่จริงทุกเรื่อง ทุกความเชื่อ เล่าให้ฟังได้หมดเลย ไม่ต้องกลัวจะถูกตัดสิน”

และสุดท้าย ไม่ว่าจะหมอดู หรือหมอใจ เรื่องหนึ่งที่มีร่วมกันคือเรามีโอกาสเลือกมองหาทางออก และความช่วยเหลือในแนวทางที่เราสบายใจ 

คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เล่าว่า “หมอดูก็มีหลายแนวนะ บางคนชอบหมอดูที่ฟันธงมาเลยว่าชีวิตจะเป็นยังไง แล้วก็เลือกที่จะเชื่อตามสิ่งที่หมอดูพูด บางคนชอบเปิดไพ่ บางคนดูตามราศี บางคนดู MBTI แต่สำหรับเราที่อ่าน Birth Chart เราคิดว่าสุดท้ายเจ้าของดวงมีสิทธิตัดสินใจเองว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร โดยคำปรึกษาของเราหมายถึงความเป็นไปได้ที่น่าจะเกิดขึ้น จากสิ่งที่เป็นมาในอดีต แต่สุดท้ายเขาเป็นคนเลือกเอง”

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 เสริมว่า “นักจิตวิทยา และจิตแพทย์ ก็มีคาร์แรคเตอร์ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือแนวทางในการคลี่คลายเรื่องที่มาปรึกษาต่างกัน เหมือนเวลาเราไปร้านอาหาร ถึงเป็นอาหารประเภทเดียวกัน เช่น อาหารญี่ปุ่น แต่ว่าแต่ละร้านก็จะมีรสชาติ มีความเชี่ยวชาญต่างกันออกไปตามความถนัดของเชฟ ซึ่งการอ่านรีวิวก็อาจจะไม่ได้ตอบได้ทั้งหมด เท่ากับการได้ลองเอง”

 คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เสริมว่า “ดังนั้นเราเลือกได้แหละ” 

ถ้าเพื่อน ๆ กำลังเผชิญกับอารมณ์ที่เปลี่ยนเเปลงเล็กน้อย (Mood Swing) ในช่วงนี้ ลองนัดคุยกับคนที่เพื่อนๆ ที่เราไว้ใจ หรือถ้าไม่อยากให้คนใกล้ตัวรู้สึกหนักตามไปด้วย ลองหาคนอื่นหรือสิ่งอื่นที่อยู่นอกวงโคจรของเราในการปลดปล่อยก็ได้ 

เเต่ถ้าปัญหาเริ่มบานปลายจนกระทบชีวิตประจำวัน เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ รู้สึกหม่นหมองและจมดิ่งไปกับความเศร้านั้น ก็อาจเริ่มเป็นสัญญาณว่า เราควรเริ่มปรึกษาจิตเเพทย์ เพื่อร่วมหาทางออกไปพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญ

ท้ายที่สุดแล้วหากเพื่อนๆ คนไหนรู้สึกอัดอั้นตันใจ มองหาทางออกไม่เจอ อูก้าพร้อมอยู่ตรงนี้เสมอ เพื่อช่วยคลี่คลายปมปัญหาที่ค้างคาในใจ พร้อมรับฟัง และทำความเข้าใจความรู้สึกของเพื่อน ๆ ทุกคนนะ

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาจากทางบ้าน

ดาวน์โหลดเลย:

https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

อ้างอิง

https://www.idiva.com/health-wellness/mental-health/how-tarot-card-reading-and-mental-health-are-connected/18025989

https://voicetv.co.th/read/INxD79HhO

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth #selflove #tarotreading #SelfCare
 #OOCAask #oocadiscussion #ที่พึ่งทางใจ #ดูดวง #วิตกกังวลล่วงหน้า

Read More

ไขข้อข้องใจ ทำไมคนเราถึงเกลียดตัวเอง?

“ทุกคนคงเคยมีวันที่ไม่ชอบตัวเองกันบ้าง ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ปกติมากๆ เเต่ถ้าไม่มีสักวันที่เรารู้สึกชอบตัวเองเลยล่ะจะเกิดอะไรขึ้น?”

.
*ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนอาจสงสัยว่า สิ่งมีชีวิตโดยทั่วๆ ไป ควรจะมีสัญชาติญาณเอาชีวิตรอด ควรจะรักและปกป้องตัวเอง แต่ทำไมมนุษย์ถึงมีพฤติกรรมโกรธ เกลียดตัวเอง ไปจนถึงทำสิ่งต่างๆ ที่อาจเป็นภัยต่อตัวเองได้ ดังนั้น* วันนี้อูก้าจะมาเล่าเรื่อง **ความโกรธเกลียดตนเอง** (Self Hatred) ซึ่งหมายถึง *ความรู้สึกที่ว่าตัวเองไม่ดีพอ ไม่ควรค่าเเก่การได้รับความรักหรือสิ่งดีๆ จากสังคม*

เเต่เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมเราถึงมีความรู้สึกเเบบนั้นกัน?

การเกลียดตัวเองอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น บาดแผลทางใจในอดีต (Past Trauma), การเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น, การไม่ได้รับความรักหรือการยอมรับจากครอบครัวเเละเพื่อน ฯลฯ นอกจากนี้ ความเกลียดโกรธตัวเองนี้ยังขับเคลื่อนโดยเจ้าสิ่งที่เรียกว่า “Critical Inner Voice” คือ เสียงที่เกิดจากจิตใต้สำนึกลึกๆของเรา เสียงเหล่านี้จะสร้างมุมมองเเละทัศนคติของเราที่มีต่อตัวเองในเเง่ลบ เช่น “เราโง่จังเลย” “เราพูดไม่เก่ง” “เราคิดมากจัง” ซึ่งเสียงเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
.

#1 **ความทรงจำเเละประสบการณ์เลวร้ายที่เราพบเจอในอดีต:** ความทรงจำเเละประสบการณ์สร้างความเชื่อเเละความคิดของเรา (Values) เช่นคนที่เคยถูกบูลลี่ก็อาจกลัวการเข้าสังคมเเละรู้สึกไร้คุณค่า หรือคนที่เคยถูกคนรักทิ้งก็อาจคิดว่าตนเองดีไม่พอที่จะได้รับความรักเเละไม่กล้ามีความรักครั้งใหม่
.

#2 **ครอบครัวเเละการเลี้ยงดู:** ครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ วิธีการเลี้ยงดูของพ่อเเม่ก็มีผลต่อตัวเรา เช่นถ้าพ่อเเม่เป็น “Perfectionist” มีความคาดหวังในตัวลูกสูง เด็กก็จะเกิดความกดดัน เเละ กลัวว่าตนเองจะสร้างความผิดหวังให้กับผู้อื่น เมื่อทำผิดพลาดก็จะโทษตัวเอง หรือถ้าเด็กๆ อยู่ในสภาพเเวดล้อมที่คุกคามและควบคุม หรือไม่ได้รับความรักจากพ่อเเม่ ความรู้สึกนั้นก็จะสะสมไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นความรู้สึกเกลียดตัวเอง
.

#3 **การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น:** การเปรียบเทียบทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยเช่น “ทำไมเราทำงานไม่เก่งเท่าเพื่อน” “ทำไมเราไม่สวยเหมือนอย่างคนนั้น ไม่เป็นอย่างคนนี้ “ เมื่อเราสร้างภาพลักษณ์ที่เราคาดหวังไว้สูง เเต่ตัวตนจริงๆ เราไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวัง เราก็จะรู้สึกผิดหวังในตัวเอง เเละไม่รู้สึกชื่นชมในสิ่งที่เรามีหรือสิ่งที่เราเป็น

.

ทั้งหมดนี้รวมตัวกันกลายเป็น ภาพที่เรามองตัวเองโดยมี “เสียงวิจารณ์ภายใน” เหล่านี้วนเวียนซ้ำๆตอกย้ำเราจนเราเชื่อว่า “เสียงวิจารณ์ภายใน” เป็นความจริงเเละทำลายความมั่นใจของเราลงเรื่อยๆ จนเรากลายเป็นคนที่มี Self Esteem หรือความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ เเละจบลงด้วยการ “เกลียดตัวเอง” เพื่อเป็นการลงโทษตัวเองในท้ายที่สุด

.

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเราจะต้องศิโรราบต่อ “เสียงวิจารณ์ภายใน” ตลอดไปกันสักหน่อย โดยคุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้า เล่าให้เราฟังเกี่ยวกับเคสที่มาหาจิตแพทย์ด้วยความรู้สึกเกลียดตัวเองว่า …

.
👩‍⚕️
“การเกลียดตนเองเกิดจากความคิดเเง่ลบกับตัวเอง ความคิดมันเยอะท่วมท้น จนไม่สามารถจัดการกับมันได้ เเละรู้สึกว่าไม่มีใครอีกเเล้วที่ช่วยเราได้ – เมื่อเกิดความรู้สึกว่าเราทำอะไรไม่ได้สักอย่าง อยู่ไปก็มีเเต่เป็นภาระให้คนอื่น เราก็จะรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการ บางคนมีปมในอดีตที่ฝังลึกในจิตใต้สำนึก เช่น คนที่เคยอกหัก อาจไม่กล้ามีความรักครั้งใหม่ เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ เอาเเต่โทษตัวเองกับเรื่องเก่าๆที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกนี้สามารถเปลี่ยนไปได้ ถ้าเราเท่าทันความคิดตัวเอง หรือลองคุยกับตัวเอง ซึ่งการจัดการอย่างละเอียด ไม่เร่งรีบลงโทษตัวเอง ก็จะเปิดมุมมองเเละเปิดโอกาสให้ตัวเรามากขึ้น”

.

ในวันไหนที่เรารู้สึกท้อเเท้ หมดกำลังใจหรือรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง เเละไม่รู้จะระบายให้ใครฟัง อูก้ายินดีเป็นที่พักพิงใจ ให้คำเเนะนำเเละเป็นเพื่อนที่เข้าใจ เพราะเพื่อนๆ ไม่ได้เป็นคนเดียวที่คิดแบบนั้น

.

มารับพลังใจในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย:

https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth #stigma #selflove #depression #SelfCare
#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues 

Read More
คิดได้ในวันที่สายไป จิตวิทยาความรัก ooca

OOCAinsight: กด Undo ตรงไหน? มีทางใดไหมให้แก้ตัว คนๆนี้เพิ่งรู้สึกตัวในวันที่สายไป

ว่ากันว่าความสัมพันธ์ก็เหมือนหนังสือ “อ่านซ้ำเรื่องเดิม ตอนจบก็เหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยน” เราจึงเชื่อว่าถ้ามันผิดพลาดไปแล้วคงแก้ไขได้ยาก การทำผิดซ้ำๆ เลยเป็นเรื่องที่น่าเหนื่อยใจสำหรับทั้งสองฝ่าย ต่อให้จะรักกันมากแค่ไหน ถ้าไม่อยากเจ็บแบบเดิมก็ควรเดินหน้าต่อไป ไม่ย้อนกลับมารักกันอีก

.

กด Undo ตรงไหน มีทางใดไหมให้แก้ตัว

คนคนนี้เพิ่งรู้สึกตัวในวันที่สายไป

มารู้ตัววันที่ไม่มี ที่ตรงนี้เงียบเหงาเท่าไร

โอ้..เธอ กลับมาเริ่มต้นใหม่ได้หรือเปล่า

.

บังเอิญได้ยินเพลง Undo ของ POP PONGKOOL X WONDERFRAME ซึ่งเราไม่เคยฟังมาก่อน ต้องบอกว่าเป็นเพลงที่เชื่อมโยงได้กับทุกคนจริงๆ พูดถึงความอ้างว้างในวันที่คนสำคัญหล่นหายไป ได้แต่นั่งเสียใจและอยากย้อนเวลากลับไปแก้ไขให้ทุกอย่างเหมือนเดิม เข้าข่าย “รู้ตัวเมื่อสาย” ถือเป็นเรื่องที่พบเจอบ่อยในเรื่องความรัก หลายคนกว่าจะเจอจุดที่ความสัมพันธ์ลงตัว ย่อมผ่านความผิดหวัง เจ็บปวด สารพัดเรื่องงี่เง่าที่เราทำไปโดยไม่มีเหตุผล รู้ตัวอีกทีเราก็ตอนที่รักษาคนข้างตัวไว้ไม่ได้แล้ว

.

แค่เสี้ยวนาทีที่ไม่ทันห้ามใจ ปล่อยใจไปให้มันทำผิด

ไม่เคยจะคิดว่ามันจะทำให้เรามีวันสุดท้าย

ผิดที่ฉันที่มันไม่รู้ตัว ว่าตัวเองรักเธอเท่าไร

และได้ทำร้ายเธอไปอย่างนั้น

.

แน่นอนว่าเราอยากทำให้ดีที่สุดในทุกๆ ความสัมพันธ์ รู้สึกรักก็อยากจะรักให้หมดใจ แต่ใช่ว่าเราจะไม่เผลอทำอะไรพลาดไป อะไรที่เราไม่เคยรู้ ไม่เคยเข้าใจมาก่อน แม้จะเกิดขึ้นในเสี้ยววินาทีหรือเป็นเรื่องเล็กๆ สำหรับบางคน แต่อาจนำไปสู่การเลิกราได้เหมือนกัน บางคนโชคดีอาจจะได้โอกาสแก้ตัว ชดเชยสิ่งที่ทำพลาดไป ในขณะที่บางคนก็ต้องเดินจากกันไปตลอดกาล

.

เรื่องวันนั้นที่ฉันได้ทำพลาดไป เพราะฉันที่ทำให้เธอเสียใจ

ถ้าได้ย้อนกลับไปอีกครั้ง จะไม่ยอมให้เธอจากไป

บางอย่างกว่าจะรู้ว่าสำคัญก็คือวันที่เราไม่มีสิ่งนั้นแล้ว เพราะความรักไม่ได้มีแต่ด้านที่สวยงาม นอกจากจดจำเรื่องดีๆ บาดแผลที่สร้างให้กันก็ถูกเก็บไว้เหมือนกัน ถ้าเรื่องราวที่ใจเรารู้ตอนจบว่าจะเป็นยังไง เราคงเลือกที่จะปล่อยให้มันผ่านไปดีกว่า ต่อให้ความรักจะยังอยู่แต่สุดท้ายเราอาจทำได้แค่โหยหากันและกัน

.

ถ้าวันนี้เรามีใครให้รัก ให้ดูแล ขอให้รักษาเขาไว้ดีๆ บอกให้เขารู้ตัวว่าเขามีค่าสำหรับเรา เพราะชีวิตจริงมีแต่เดินไปข้างหน้า ไม่มีปุ่ม Undo ให้แก้ไข ความรู้สึกที่เสียไปก็ไม่มีวันเหมือนเดิม

อูก้าขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ ความสัมพันธ์ ดูแลใจตัวเองแล้ว อย่าลืมดูแลใจคนสำคัญด้วยนะ

ฟังเพลง Undo ของ POP PONGKOOL X WONDERFRAME ได้ที่: https://www.youtube.com/watch?v=tm2N4gntigI

Read More
Art Therapy ศิลปะบำบัด

OOCAinterview: ART THERAPY ศิลปะทำให้เรา ‘เลือก’ แสดงออกถึงความเป็นตัวเองได้

การวาดภาพด้วยสีชอล์ค ระบายสีด้วยสีน้ำ เป็นสื่อกลางหรือ mediums ที่นิยมใช้เพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะสักชิ้น ในศิลปะบำบัดก็เช่นกัน ทั้งสองสิ่งนี้ก็เป็น mediums ที่นิยมใช้ในการเรียนรู้และเข้าใจตนเอง

คุณปัท ปรัชญพร วรนันท์ เจ้าของ Studio Persona เล่าว่าการทำศิลปะบำบัดที่คุณปัทเลือกใช้นั้นคือ Expressive art therapy ซึ่งเป็นกระบวนการศิลปะบำบัดที่ใช้ mediums หลากหลายรูปแบบ ทั้งการวาด ระบายสี การเคลื่อนไหว การเขียน เปล่งเสียง หรือการปั้น

วันนี้อูก้าจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ mediums ที่น่าสนใจกัน

เริ่มต้นที่ ดิน (clay) ซึ่งสามารถทำงานได้ดีกับ sensory expression คนที่มีอารมณ์โกรธหรือคนที่ไม่ค่อยได้แสดงออกถึงความรู้สึก เพราะดินสามารถหยิบ จับ โยน ทุบ ดึงออกมา ปั้น ทำได้หมด สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ มีทั้งความนิ่มและความแข็งในเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกัน การใช้ดินก็มีความท้าทาย เมื่อเราใส่น้ำให้กับดินมากเกินไป สิ่งที่เราต้องเจอคือ มันจะควบคุมได้ยาก แต่ถ้าเกิดเราเรียนรู้ เลือกใช้น้ำที่พอดี เราก็จะคุ้นชินและใช้ดินแบบที่ไม่กลัว ในขณะเดียวกันก็จะมี clay field ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการทำศิลปะบำบัด การใส่น้ำลงไปในถาดเป็นได้ทั้ง resource และ challenge บางคนความรู้สึกเยอะ ก็จะใช้น้ำเยอะ การที่น้ำเยอะเต็มถาดก็จะหยิบจับอะไรได้ยาก ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ในการบำบัดคือ ในเมื่อมันหยิบจับยาก ทำให้เกิดความไม่ชอบในความรู้สึกนี้ เราจะรับมือกับความรู้สึกและสิ่งเหล่านี้อย่างไร ตัวผู้เข้ารับบริการก็จะเรียนรู้เองว่าสิ่งนี้คือการที่เรามีและสะสมความรู้สึกเอาไว้นะ การแก้ปัญหาก็คือ ถ้ามีน้ำในถาดเยอะ เราก็สามารถเอาผ้ามาซับน้ำออกได้ แล้วมันดีขึ้นไหม ก็ดีขึ้น นี่แหละคือการเปลี่ยนผ่านของความรู้สึกที่ตัวเรา ร่างกายเราทำไม่ได้ แต่เราสร้างประสบการณ์ใหม่ผ่านศิลปะในพื้นที่หนึ่ง

ต่อมาจะเป็นการเคลื่อนไหว (movement) ซึ่งใช้ความเป็นธรรมชาติของบุคคล อาจไม่ใช่การเต้น แต่เป็นการเคลื่อนไหวเมื่อตัวบุคคลก้าวเข้ามาในโลกของศิลปะ โลกของการบำบัด เช่น ท่านั่ง ไหล่ยก เท้ายกไหม กำลังอยู่ในขั้น freeze หรือเปล่า รวมถึงการชวนมาหายใจ ชวนมาขยับตัว หรือถ้าบุคคลรู้สึกไม่ปลอดภัย ก็สามารถวางข้อศอกลงบนโต๊ะได้นะ มันจะรู้สึกมั่นคงกว่าหรือเปล่า ต่อมาก็จะชวนเขามาค้นหาความรู้สึกของตัวบุคคลผ่านการเคลื่อนไหว อาจกลับมาเชื่อมโยงกับความรู้สึกเจ็บปวด หรือบาดแผลบางอย่างที่มีภายในร่างกายแต่เขาไม่เคยรับรู้ถึงสิ่งนั้น ซึ่งการรับรู้นี่เองเป็นขั้นตอนแรกๆ ของการเยียวยาเพื่อนำมาสู่การเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้งาน craft การทำ collage (เป็นงานศิลปะที่เกิดจากการรวมกันของรูปหลายๆ รูป) การบำบัดในถาดทราย (sand tray therapy) การนำตุ๊กตารูปปั้นสัตว์มาจัดเรียง การทำหน้ากาก หรือเพียงนำเศษผ้ามาทำกล่อง ทำตุ๊กตา ก็จะทำให้เขารู้สึกว่าพื้นที่ตรงนี้มันโอเคนะ สำหรับความรู้สึกต่างๆ ที่เขามี

ศิลปะมีประโยชน์ตรงที่มีความหลากหลาย เป็นทางเลือกให้กับบุคคล

หลายๆ ครั้งเรามักคิดว่าชีวิตเราไม่มีทางเลือก แต่พื้นที่ของศิลปะบำบัดเปิดโอกาสให้เราได้มีทางเลือกในการทำสิ่งต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อแสดงออกถึงการเป็นตัวเองได้

หากเพื่อนๆ คนไหนกำลังอึดอัดและไม่ชอบกับสิ่งที่เป็นอยู่ อยากได้คนมารับฟัง อยากให้คนมาเข้าใจเรา อูก้าอยากชวนให้เข้ามาพูดคุยปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านแอปพลิเคชัน ooca ได้เลย อูก้าจะยินดีดูแลจิตใจและรับฟังเสมอนะ ❤️

Read More
ศิลปะบำบัด ไม่ยึดติด

OOCAinterview: ART THERAPY การไม่ยึดติด ทำให้เราได้เรียนรู้มากกว่าที่คิด

หลังจากที่เพื่อนๆ ได้ทำความรู้จักกับศิลปะบำบัดไปบ้างแล้ว ก่อนจะปิดท้ายสำหรับธีมศิลปะบำบัดของเรา อูก้าชวน คุณปัท เจ้าของ Studio Persona มาพูดคุยกันถึงเรื่องสุดท้าย ซึ่งเป็นคำถามที่หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินหรือได้ตอบกันว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดในการมีชีวิตอยู่ของคุณคืออะไร” เรามาอ่านกันดีกว่าว่าในมุมของนักศิลปะบำบัดคนหนึ่ง คุณปัทมองว่าอะไรสำคัญที่สุดในชีวิต

“การได้รับรู้ว่าตัวเองจะเปลี่ยนไป” คือประโยคแรกที่คุณปัทบอกกับเรา

ไม่ยึดติดกับตัวเองทั้งในด้านอาชีพ พื้นที่ ตัวตนของเรา การได้รับรู้ว่าตัวเราจะเปลี่ยนไป มันเป็นความรู้สึกลึกๆ ของว่าเราได้รับอิสรภาพ ซึ่งสำหรับคุณปัทมองว่าสิ่งนี้เองสำคัญกับตัวเองมาก เพราะอิสรภาพทำให้ได้เจอคนที่หลากหลาย จึงอยากขอบคุณชีวิตที่ได้เจอทุกคนที่ทำให้ได้แลกเปลี่ยนมุมมอง ความรู้ ประสบการณ์

เราเรียนรู้อะไรมากมายจากผู้คนที่ผ่านเข้ามาให้เราได้เจอ ถ้าเรายึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราก็จะหยุดตัวเองอยู่แค่นั้น แต่พอไม่ยึดติด คุณปัทมองว่าเราได้เรียนรู้อะไรในทุกๆ วันได้มากขึ้น การเรียนรู้ทั้งจากตัวเอง จากผู้อื่น สังคม โลกใบนี้ ทุกอย่างมันสดใหม่และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึงตัวเราเองมันก็เปลี่ยนแปลงตลอด

ทำให้การที่เรารู้ตัวว่าสิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงตลอด ทุกๆ วันเราไม่เหมือนเดิม สิ่งรอบข้างก็ไม่เหมือนเดิม สิ่งเหล่านี้จึงสำคัญต่อการมีชีวิตอยู่ของคุณปัทมากๆ

วันหนึ่งเราจะเข้าใจโลกและธรรมดาของชีวิตมากขึ้นว่า สักวันหนึ่งเราก็คงต้องสูญเสียอะไรบางสิ่งบางอย่างไปจากชีวิต ทั้งครอบครัว เพื่อน คนรอบข้าง หรือสัตว์เลี้ยง สิ่งของที่เรารัก ซึ่งการที่คุณปัทไม่ยึดติดกับบทบาทใดบทบาทหนึ่งนี่เอง ทำให้ตัวเองเหมือนเชื่อมโยงกับทุกคนและธรรมชาติ เรารู้บางอย่าง เข้าใจบางอย่าง แต่เราไม่ได้รู้ทุกๆ อย่าง เราเป็นคนธรรมดาๆ คนหนึ่งบนโลกใบนี้เหมือนกัน ไม่ได้รู้สึกว่าเราเก่งกว่าใคร หรือเป็นที่สุดในด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งมันทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเองได้ตลอดเวลา ทั้งยังได้เรียนรู้จากบุคคลที่มาทำศิลปะบำบัดซึ่งก็มีความหลากหลายมากๆ หรือแม้กระทั่งตัวศิลปะเอง ทั้งผู้คนและศิลปะจึงเหมือนเป็นครูผู้สอนวิชาชีวิตให้กับเรา

การไม่ยึดติดกับการเป็นนักบำบัด ทำให้คุณปัทสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้หลากหลายขึ้น รวมถึงสิ่งที่คุณปัทชอบมากที่สุดคือ การเป็น “ครู” เพราะนักเรียนมอบอะไรให้กับคุณปัทมากมาย แง่มุมความคิดหรืออะไรต่างๆ บทบาทหรือสเตตัสที่มี คุณปัทจะไม่ยึดติด บางวันอาจเป็นครู บางวันเป็นนักบำบัด บางวันเป็นนักเรียน บางวันเป็นแค่ลูกสาวของคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้นการไม่ยึดติดนี่แหละ คือสิ่งสำคัญในชีวิต

“การไม่ยึดติด ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรมากขึ้นกว่าที่ตัวเราคิด”

มีอะไรอีกหลายอย่างที่เราไม่รู้ การที่เราไม่รู้แต่ขณะเดียวกันเราก็สามารถเรียนรู้จากมันได้จะทำให้เราไม่ทุกข์ สุดท้ายจึงนำมาสู่ความสมดุลของชีวิต

ถ้าเพื่อนๆ คนไหนรู้สึกไม่สบายใจ อูก้าอยากชวนให้เข้ามาพูดคุยปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านแอปพลิเคชัน ooca ได้เลย อูก้าจะยินดีดูแลจิตใจและรับฟังเสมอนะ ❤️

Read More
ศิลปะบำบัด art therapy

OOCAinterview: ART THERAPY ขอบเขตของเรานั้นสำคัญอย่างไร

วันนี้เราชวนคุณปัท เจ้าของ Studio Persona มาคุยกันเรื่องการรู้จักตัวเอง ซึ่งสามารถเป็นได้หลายอย่าง ทั้งการรู้จักตัวตนที่แท้จริงของเรา รู้จักความท้าทายที่ยังคงมีอยู่ในชีวิตของเรา รู้ว่าเราต้องการอะไร แล้วจริงๆ เรากำลังเผชิญกับอะไร รู้ว่าเรามี support อะไรบ้างในชีวิต ซึ่งอาจเป็นครอบครัว เพื่อน คนรัก การนอน การปฏิเสธ นอกจากนี้การรู้จักตัวเองก็คือขอบเขตด้วย ซึ่งคุณปัทได้ย้ำว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ อูก้าจะพาทุกๆ คนมารู้จักคำว่าขอบเขตในความหมายของคุณปัทกัน

ขอบเขตในความหมายของคุณปัท คือประสบการณ์ในการรับรู้ เช่น รับรู้ว่าไม่ปลอดภัย ไม่ถูกต้อง รับรู้ว่าเราต้องปฏิเสธ หรือมี action บางอย่างเพื่อให้ตนเองปลอดภัยมากขึ้น นอกจากขอบเขตทางร่างกายแล้ว ขอบเขตของจิตใจมีความสำคัญไม่แพ้กัน

ทั้งนี้ขอบเขต อาจหมายถึงความพอดีในการพักผ่อน หรือมีระยะห่างจากงาน หรือความรับผิดชอบที่ถาโถมเข้ามา ขอบเขตที่เราสร้างเพื่อให้ทั้งกายและใจของเราได้พัก ได้ฟื้นฟู และยังสร้างสมดุลให้กับบุคคลได้ด้วย

นอกจากนี้ขอบเขตคือการอนุญาตให้ตนเองได้เล่า สะท้อน ระบายความรู้สึกในใจที่มีความหมายกับใครสักคนที่ไว้ใจได้ และไม่ตัดสินเรา เพื่อที่ขอบเขตจะได้สร้างประสบการณ์ที่ปลอดภัยทั้งกายและใจให้กับตัวเรา

การรับรู้ความรู้สึกว่าตอนนี้เราเหนื่อย เราล้า ไม่ไหวแล้ว ขณะที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นั่นก็เป็นขอบเขตที่ตัวเราสามารถทราบได้เอง เช่น ในการทำ free writing ที่จะมีความต่อเนื่องในการเขียน เมื่อเรารับรู้ว่ามือล้า เราเลือกที่จะหยุดพักสักครู่ แล้วกลับไปเขียนต่อ นั่นก็เป็นการขอบเขตที่เรากำหนดเองได้เหมือนกัน ซึ่งยังคงไว้ถึงความต่อเนื่องของกระบวนการ

ดังนั้นไม่ว่าเราจะเลือกทำอะไร ถ้าเรารู้ลิมิต รู้ขอบเขตความสามารถทั้งกายและใจของเรา มันคงไม่ยากเลยที่เราจะพบความสบายใจและสุขมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

สามารถตามอ่านคอนเทนต์ในหัวข้อศิลปะบำบัดที่ผ่านมาได้ที่ ใส่ลิงก์โพสต์/blogสองอันที่แล้ว

หากใครกำลังทุกข์ใจ รู้สึกว่าขอบเขตที่เรามีมันกำหนดเองไม่ได้ เราอยากให้คุณสูดหายใจลึกๆ แล้วลองมาคุยปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านแอปพลิเคชัน ooca กันนะ
อูก้าจะยินดีดูแลจิตใจและรับฟังทุกคนเสมอนะ 😊

Read More
ชอบคิดเรื่องเก่าๆ

OOCAissues : ทำไมถึงชอบคิดเรื่องเก่าๆให้ตัวเองเจ็บปวดบ่อยๆ

เคยเป็นกันไหม ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขอยู่ดี ๆ เรื่องในอดีตที่ทำให้เจ็บปวดก็ถาโถมเข้ามา จากที่อารมณ์ดี ๆ วันนั้นก็จะหยุดคิดถึงเรื่องอดีตไม่ได้จนดาวน์ไปทั้งวันเลย ถ้าเคยเป็นล่ะก็ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยนะ เราเองก็เป็นบ่อย ๆ เราเลยแอบไปถามนักจิตวิทยาในระบบของอูก้ามาเพื่อไขข้อสงสัยของทุกคน แถมได้คำตอบมาด้วยว่าจะแก้ไขมันยังไง

#คำตอบจากนักจิตวิทยา

สมองของเราอาจมีความทรงจำที่คั่งค้างอยู่ข้างใน คล้ายปัญหาที่ไม่ได้รับการคลี่คลายจนรู้สึกฝังใจกับอดีตที่เลวร้ายที่เคยเกิดขึ้น และคิดว่าอดีต ‘ควร’ จะเป็นแบบนั้นแบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่มีส่งผลต่ออารมณ์สูง เช่น การถูกบูลลี่ หรือการถูกปฏิเสธ

ซึ่งการคิดถึงเรื่องในอดีตเหล่านี้ซ้ำไปมาโดยมากสะท้อนว่าจิตใจของเรากำลังพยายามหาคำตอบ ทำความเข้าใจกับสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ จนกว่าจะทำความเข้าใจความหมายใหม่ของประสบการณ์นั้นได้ก่อนจึงหยุดคิด ในระหว่างนั้นการตกอยู่กับอดีตนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต การคิดเรื่องเก่า ๆ มากเกินไปสามารถดักจับสมองให้อยู่ในวงจรแห่งความทุกข์ความกังวลเรื้อรัง รู้สึกไม่อาจมูฟออนได้เพราะเราไม่มีคำตอบให้กับอดีต ซี่งส่งผลให้วิตกกังวล และทำให้ซึมเศร้าได้

แล้วเราจะแก้ยังไงดี?

เขียนความคิดของเราลงในสมุดบันทึก

ลองทำทุกคืนก่อนนอนหรือสิ่งแรกในตอนเช้า เพื่อทำสมองให้ว่างโดยทิ้งทุกสิ่งที่อยู่ในใจของเราลงบนหน้ากระดาษ บางครั้งอาจช่วยบรรเทาได้

ฝึกสมองให้มองอีกด้านของเรื่องแย่ ๆ

เราสามารถฝึกความคิดของเราให้มองชีวิตจากมุมมองที่ต่างออกไปได้เพื่อเอาชนะความคิด เรียกว่าการปรับโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ เช่น จากที่เคยคิดว่า “ฉันไม่อยากจะเชื่อเลยว่าสิ่งนี้เกิดขึ้น” เป็น “ฉันจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก” หรือเปลี่ยน “ฉันเคยล้มเหลวกับความรัก” เป็น ฉันจะทำขั้นตอนใดได้บ้างเพื่อเพิ่มมิตรภาพที่ลึกซึ้งและค้นหาคนใหม่”

ฝึกใจให้เปลี่ยนความสนใจจากเรื่องอดีตมาสู่ปัจจุบัน

เมื่อเริ่มสังเกตเห็นนิสัยที่คิดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ เรื่องเก่าให้เจ็บปวด แล้วเริ่มรู้ว่าสมองเรากำลังอยู่ในโหมดนี้ ลองรีบหันเหความสนใจของตัวเองและเปลี่ยนความสนใจของคุณไปยังสิ่งอื่นที่ต้องใช้โฟกัสเพื่อออกจากโหมดนี้ให้เร็วที่สุด

#จากทีมงานอูก้า

ฟังจากนักจิตวิทยากันไปแล้ว ทีมอูก้าก็อยากมาแบ่งปันความเห็นของเราด้วยอีกเสียง

ในระหว่างที่เรากำลังอยู่ในขั้นตอนการหยุดคิดถึงเรื่องในอดีตแย่ ๆ อยู่ตามคำแนะนำข้างบน เราคิดว่าไหน ๆ เรื่องพวกนั้นก็กลับมาแล้ว เราก็สามารถถือโอกาสที่จะคิดถึงมันในมุมมองของคนที่ผ่านมันมาแล้วกันดีกว่า ใช่ มันอาจเป็นเรื่องที่ฉันอยากกลับไปแก้ แต่ถึงคิดให้ตายฉันก็ไม่ใช่นักเวทย์ที่ย้อนเวลาไปเปลี่ยนอะไรได้นี่ หรือมันอาจเป็นเรื่องทีคนคนนั้นทำกับเราไว้เจ็บมากจนคิดว่าชีวิตนี้จะไม่มีทางลืมได้ ก็อยากจะบอกว่าอย่าลืมชมตัวเองบ่อย ๆ ที่ผ่านมันมาได้จนเรื่องแย่ ๆ มันกลายเป็นอดีตไปได้นะ 😊

การคิดถึงเรื่องในอดีตแม้เรื่องที่เราไม่ชอบไม่ใช่เรื่องแย่เลย เพียงเราต้องรู้ทันความคิดและรู้ว่าคิดถึงมันเท่าไหนถึงเป็นประโยชน์ และตั้งสติให้รู้ตัวว่าฉันจะต้องหยุดคิดถึงมัน เพราะอดีตก็คืออดีต และคนที่เก่งที่สุดคือฉันในปัจจุบันที่ผ่านมันมาได้แล้ว และหากตอนนี้ยังผ่านมันไปไม่ได้ อูก้าขอเสนอตัวเป็นผู้ช่วยที่จะคอยพยุงทุกคนให้เดินก้าวข้ามอดีตไปด้วยกันนะ <3

Read More
เหงา กักตัว ooca

OOCAissue: Stay-at-home Isolation อยู่คนเดียวนาน ๆ ทำให้เรารู้สึกไม่มีค่าหรือเปล่า?

หลังจากเราใช้เวลาทำงานอยู่คนเดียวมาเกือบปี ในใจก็มีความรู้สึกอย่างหนึ่งขึ้นมา มันไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มันหนักหนามากกว่าที่เราเคยเป็นมาทั้งชีวิต เรารู้สึกถึงความ “ไม่ดีพอ” ในตัวเอง ความรู้สึกว่าเรายังทำงานไม่มากพอ เราเสียเวลาไปกับการเล่นมือถือบนที่นอน แทนที่จะเอาไปอ่านหนังสือที่ค้างไว้ และความคิดอีกมากมายที่เข้ามาช่วงที่เราไม่ได้ทำอะไร เราเลยตั้งคำถามว่า “อยู่คนเดียวนาน ๆ ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าหรือเปล่า” ไปถามนักจิตวิทยาของอูก้า คุณกอบุญ เกล้าตะกาญจน์ หรือพี่พลีส แล้วเราก็ได้ฟังคำตอบที่น่าสนใจแล้วยังได้คำแนะนำดี ๆ จากเขามากมายเลย

#คำตอบจากนักจิตวิทยา

“การ Stay-at-home Isolation คนเดียวนาน ๆ เชื่อมโยงกับเรื่องการมองตัวเองด้อยค่าจริง ๆ “

ตามรายงานภาวะสังคมไทยปี 2563 โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่า “ความเครียด ภาวะหมดไฟ ภาวะซึมเศร้าและความคิดทำร้ายตัวเองของคนไทยเพิ่มขึ้น เพราะพยายามต่อสู้กับความยากลำบากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าหมดไฟ ทั้งด้านอารมณ์และจิตใจ  ด้านมองความสามารถในการทำงานลดลง รู้สึกไม่สำเร็จ และด้านการมองความสัมพันธ์ในที่ทำงานในทางลบ ระแวงง่ายขึ้น รู้สึกเหินห่างจากคนอื่น”

.

ซึ่งยิ่งเราเจอเรื่องแบบนี้ไปอย่างไม่รู้ว่ามันจะเป็นเช่นนี้อีกนานเท่าไร บวกกับความรู้สึกไม่แน่นอนทั้งจากการงาน สถานะทางสังคม และสุขภาพ ความสามารถในการเห็นคุณค่าในตัวเองของเราจะลดลงไปด้วย นี่ยังไม่รวมกับสถิติการบริโภคที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก แสดงให้เห็นถึงภาวะการกินอาหารที่ไม่ปกติ เช่น การกินอาหารมากขึ้นเพราะมนุษย์จำนวนมากใช้การกินเป็นวิธีลดความไม่สบายใจ ความกังวล ว้าเหว่และเบื่อหน่าย ทำให้เรารู้สึกไม่โอเคกับรูปร่างของตัวเอง ส่งผลต่อความมั่นใจและการมองที่เรามองตัวเองว่ามีคุณค่าหรือไม่มีคุณค่า

.

ทุกอย่างที่กล่าวไปข้างต้นจะทวีคูณขึ้นเมื่อเราเอา Social Media เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสมการ ในแง่หนึ่งมันเป็นช่องทางเดียวที่เราสามารถเข้าถึงคนรอบตัวในชีวิตของเราได้ แต่ในทางขณะเดียวกัน เมื่อเราเห็นเพื่อนของเรา รุ่นพี่ของเรา รุ่นน้องของเรา หรือใครก็ตามที่เราติดตามกำลังมี “ชีวิตที่ดีกว่าเรา” เราจะเริ่มเปรียบเทียบตัวเองกับพวกเขา “ทำไมเขาทำแบบนั้นได้ทั้ง ๆ ที่เขาอายุน้อยกว่าเราตั้งเยอะ ตอนนั้นฉันทำอะไรอยู่” หรือ “ทำไมฉันไม่หน้าตาดีแบบเขาบ้างนะ” ไปจนถึงไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกับเราอย่างเช่น “ฉันอยากไปอยู่ในประเทศของเขาคนนั้นบ้างจังเลย”

.

แล้วทำยังไงดีเมื่อเราประสบปัญหานี้ ?

#คำตอบจากนักจิตวิทยา

ความโดดเดี่ยวอาจกลายเป็นความเครียด ข้อเสนอแนะรักษาใจในขณะอยู่บ้านและทำงานที่บ้าน

  1. ติดต่อกับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อน ๆ ผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล หรือโซเชียลมีเดียบ้าง
  2. เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Covid-19 และพูดคุยกับผู้อื่น การทําความเข้าใจอย่างถูกต้องในเรื่องการป้องกัน Covid-19 ช่วยลดความวิตกกังวลได้
  3. หากเป็นไปได้ให้ทำกิจวัตรประจําวันตามปกติเช่น การกิน การนอน การทำงาน การพักผ่อน การออกกําลังกาย ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าลดความเครียดและภาวะซึมเศร้า
  4. จากประสบการณ์และวิธีการที่คุณรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลําบากในอดีต ทำให้ตระหนักได้ว่าการแยกตัวจะเกิดขึ้นอีกไม่นานนัก และไม่ได้น่ากลัวเท่าที่คิด
  5. การทำงานที่บ้านและได้ใช้เวลาอยู่บ้าน เป็นโอกาสที่จะทํากิจกรรม ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ จะช่วยให้คุณผ่อนคลายจากความเบื่อหน่ายกังวล

#คำตอบจากทีมงานของอูก้า

คุณค่าในตัวเองนั้นไม่สามารถวัดได้จากการเอาความสำเร็จของเราไปเทียบกับความสำเร็จของคนอื่น ฉะนั้นไม่ว่าเราจะรู้สึกว่าคนนั้นคนนี้ดีกว่าเราขนาดไหน อูก้าอยากให้ทุกคนทดลองปรับมุมมองเป็น “ข้อดีของฉันคืออะไร” แล้วตามหาสิ่งนั้นจนกว่าจะพบหรือใช้เวลาค่อยๆ สร้างมันขึ้นมา ให้จุดเด่นในตัวเองของทุกคนเปล่งประกายออกมา

.

คุณค่าในตัวเองของเราเมื่อไม่ต้องเอาไปเทียบกับคนอื่นนั้น มันจะเล็กหรือใหญ่ขนาดไหนก็ได้ เริ่มได้จาก “วันนี้ฉันทำงานเสร็จไปตั้งสองอย่างแล้ว” ไปจนถึง “วันนี้ฉันอ่านหนังสือจบตั้งหนึ่งบท เยอะกว่าที่อ่านเมื่ออาทิตย์ที่แล้วอีก” คนเดียวที่เรารู้แน่ ๆ ว่าชีวิตเขาดี ไม่ดียังไงคือตัวเราเอง ฉะนั้นไม่ต้องเอาความสำเร็จของใครมาเป็นหมุดหมายที่ต้องไปให้ถึงเลย

.

แล้วคุณกำลังประสบปัญหาแบบนี้อยู่เหมือนกันหรือเปล่า ? ถ้าใช่ล่ะก็ มาเล่าให้อูก้าฟังได้เสมอเลย เรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมรับฟังและคอยอยู่เคียงข้างคุณนะ

Read More
การใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

OOCAstory: ฉันอยากให้เธอสบายใจกับการมีชีวิตอยู่

ฉันอยากให้เธอสบายใจกับการมีชีวิตอยู่

ใครก็ตามที่ผ่านมาอ่านเรื่องนี้ เราหมายความตามชื่อเรื่องจริงๆนะ

ไม่ว่าจะเจอเรื่องอะไร แย่แค่ไหน อย่างน้อยที่สุด อยากให้สบายใจกับการมีชีวิตอยู่

“ทำไมสิ่งที่เราทำดูเหมือนจะผิดไปหมดเลย” นี่คือประโยคที่เราถามเพื่อนทางโทรศัพท์

หลังจากร้องไห้มาสามชั่วโมงกับความรู้สึกผิดหวัง เสียใจ จนอยากจะหายไป

เราเล่าเรื่องทุกอย่างให้เพื่อนสนิทฟัง ทั้งความอึดอัดเรื่องงาน ครอบครัว ความสัมพันธ์และอนาคต

คำพูดทำร้ายใจที่เราเจอมาทำเอาตั้งหลักแทบไม่อยู่…ก็ไม่อยู่จริงๆ แหละ

เมื่อสิ่งที่ทุ่มเทมากๆ มันทลายไปตรงหน้า เรารู้สึกเหมือนชีวิตเราไม่เหลืออะไรเลย

คนเรามีความใส่ใจไม่เท่ากัน เรื่องที่ให้ความสำคัญมากน้อยก็ต่างกัน

สำหรับบางคนคือครอบครัว บางคนคืองาน บางคนคือความรัก

สิ่งใดหรือใครที่เราคาดหวังมาก ย่อมเสียใจมากและทำให้เจ็บปวด

เพื่อนบอกกับเราว่าอย่างอื่นพังแล้ว ให้มันแล้วไป

เพราะอะไร เราไม่ดียังไง ทำผิดพลาดตรงไหน คือคำถามที่เราใช้ตอกย้ำตัวเอง

ถ้าเราทุ่มไปร้อย แต่ได้กลับมาไม่ครบ เราจะมัวเสียดายส่วนที่มันหายไป

หรือจะโฟกัสในสิ่งที่ยังอยู่กับเรา โอบกอดสิ่งที่ดีกับเราเอาไว้ให้นาน

“อย่างน้อยเราอยากให้แกสบายใจกับการมีชีวิตอยู่”

ในโลกนี้ไม่ควรมีใครต้องลำบากใจกับการมีชีวิตอยู่ของตัวเอง

แต่น่าแปลกที่เรามักรู้สึกอยากหายไปและเฝ้าโทษตัวเองในทุกๆ เรื่องที่มันเกิด

หลังจากผ่านความเสียใจเรื่องครอบครัวมา

ตอนนี้เพื่อนเรากลายเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับ “ความสุข” มากๆ

ไม่มีใครรู้อนาคต อะไรที่ปล่อยได้ให้รีบปล่อย

เพราะชีวิตเราก็สำคัญ ทำไมไม่ให้โอกาสตัวเองได้มีความสุขล่ะ

สุดท้าย…ไม่ใช่เรื่องผิดถ้าเราจะทำเพื่อตัวเองก่อนคนอื่นบ้าง

และขอบคุณเพื่อนมากที่พูดประโยคนี้กับเรา ทำให้เราสบายใจกับการมีชีวิตอยู่

อูก้าอยากเป็นคนหนึ่งที่ช่วยรับฟังเรื่องราวของคุณและเป็นกำลังใจให้คุณ ทุกปัญหาเรายินดีจะรับฟังเสมอ สามารถติดตามเข้ามาพูดคุยกับพี่ๆนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของอูก้าได้เลยนะคะ

Read More
ซีรี่ย์เน็ทฟลิกและจิตวิทยา Bridgerton

OOCAinsight: “ถ้าไม่ได้แต่งงาน ฉันก็ไม่มีค่าอะไรเลย” Bridgerton กับยุคที่ผู้หญิงห้ามขึ้นคาน

ฉากที่สะเทือนใจเรามากๆ คือตอนที่ดาฟนี่คุยกับพี่ชายของเธอว่า “พี่ไม่เข้าใจหรอกว่าผู้หญิงรู้สึกยังไงที่ทั้งชีวิตเราเหลือความสำคัญแค่เพียงช่วงเวลาเดียว หนูถูกเลี้ยงดูมาเพื่อสิ่งนี้ นี่คือสิ่งเดียวที่หนูเป็น หนูไม่มีคุณค่าอย่างอื่นแล้ว ถ้าหนูหาสามีไม่ได้ หนูก็จะไร้ค่า” เป็นฉากพูดคุยธรรมดาๆ ระหว่างพี่น้อง แต่คำพูดของดาฟนี่ที่คุยกับพี่ชายกลับทำให้เรารู้สึกสะเทือนใจเรามากๆ ทำไมคุณค่าของผู้หญิงถึงอยู่ที่การแต่งงาน

.

ม่านประเพณีที่บดบังคุณค่าที่แท้จริงของผู้หญิง ถูกนำมาสะท้อนผ่าน Bridgerton ซีรีส์จาก netflix ที่ดัดแปลงมาจากนิยายของ Julia Quinn กล่าวถึงค่านิยมการออกเรือนได้ครบเครื่องและโรแมนติกมาก แกนหลักของเราอยู่ที่ตัวละคร “ดาฟนี่ บริดเจอร์ตัน” ลูกสาวคนสวยจากพี่น้องทั้งแปดของตระกูลไฮโซแห่งกรุงลอนดอน ทุกสายตาที่จ้องมองมา ราวกับจับผิดชีวิตผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ว่าเธอจะเดินบนเส้นทางที่คู่ควรกับชาติตระกูลหรือไม่ นี่อาจเป็นราคาที่สาวๆ จากวงสังคมชั้นสูงต้องจ่าย เพื่อแลกกับหลักประกันในชีวิต

.

(โปรดระวังมีการสปอยล์เนื้อหาเล็กน้อย)

ในอังกฤษตามธรรมเนียมแล้วแวดวงชนชั้นสูงจะมีการเข้าเฝ้าฯ พระราชินี หญิงสาววัยแรกรุ่นที่เพียบพร้อมทั้งกิริยาและฐานะทางสังคมจะได้เปิดตัวในงานเต้นรำ หรือที่เรียกว่าเดบูตองต์ (Debutante) บรรดาแม่ๆ ของแต่ละตระกูลก็จะพยายามชิงดีชิงเด่นและทำทุกวิถีทางให้ลูกสาวสวยโดดเด่นสะดุดตามากที่สุด เพื่อให้ลูกสาวได้รับการทาบทามจากชายหนุ่มสูงศักดิ์ ลูกสาวบ้านไหนได้แต่งงานออกเรือนจะถือว่าเป็นหน้าเป็นตาของครอบครัว เรียกว่าแค่แต่งงานกับคนที่เหมาะสมก็เป็นที่เชิดหน้าชูตาของวงศ์ตระกูล

.

ซึ่งในงานเต้นรำปีนี้ก็เป็นหน้าที่ของดาฟนี่ที่ต้องรับบทบาทสำคัญ จากการปลูกฝังเลี้ยงดูให้เป็นกุลสตรีที่เพียบพร้อมในทุกๆ ด้าน รวมถึงหน้าตาที่สวยงามไร้ที่ติ ใครๆ ต่างมองว่าเธอเป็นตัวเต็งของสาวรุ่นราวคราวเดียวกันที่น่าจะได้ออกเรือนก่อนใคร แต่แล้วเหตุการณ์ดันไม่เป็นดั่งใจ ทำให้ดาฟนี่เจออุปสรรคในการหาคู่ จนต้องไปขอความช่วยเหลือจากพระเอกของเรา “ไซม่อน บาสเซ็ต” ท่านดยุกแห่งเฮสติ้งส์ที่ขึ้นชื่อว่าเจ้าชู้และเป็นที่หมายปองของสาวชั้นสูงทั่วอังกฤษ

.

จุดที่น่าสนใจอยู่ที่ช่วงต้นเรื่อง เราจะได้เห็นภาพสาวๆ ที่เอาจริงเอาจังกับการหาคู่ครอง และแม่ๆ ที่พยายามดันลูกสาวเต็มที่ เป็นภาพที่ยากจะจินตนาการสำหรับผู้หญิงสมัยใหม่ ว่าทำไมเป้าหมายเดียวในชีวิตเราถึงเป็นการแต่งงานและเป็นแม่คน ต้องรักษาภาพลักษณ์ที่มีคุณค่าสูงส่ง แต่ขณะเดียวกันเมื่อมองมาแล้วก็ควรต้องตาต้องใจผู้อื่นด้วย ทั้งเสื้อผ้าการแต่งกายที่ไม่ได้สะดวกสบายเอาเสียเลย อย่างในเรื่องเราจะเห็นสาวๆ ขยันออกงานสังคมและแวะเวียนไปตัดชุดที่ร้านดังอยู่เป็นประจำ เหล่าคุณแม่มักจะพิถีพิถันเลือกชุดที่สวยที่สุดแพงที่สุดเพื่อให้ลูกสาวตัวเองมีโอกาสมากขึ้นอีกสักนิด

.

สิ่งที่สะท้อนใจเราอย่างมากคือฉากที่ดาฟนี่คุยกับเอโลอีส น้องสาวที่จะเปิดตัวต่อจากเธอ เอโลอีสไม่เข้าใจเลยว่าทำไมดาฟนี่ถึงต้องพยายามแทบเป็นแทบตายกับการหาคู่ขนาดนี้ “ความสำเร็จในการหาคู่ครองของพี่จะส่งผลดีกับพวกเธอทุกคนนะ” ดาฟนี่บอกน้องๆ แม่พร่ำสอนมาตลอดว่าการดูแลครอบครัวคือหน้าที่ เธอจะพบความสุขและความสะดวกสบายเมื่อได้แต่งงาน ดูแลบ้านให้น่าอยู่และมีลูกๆ ที่น่ารัก ตั้งแต่เด็กดาฟนี่จึงไม่เคยมีเป้าหมายอย่างอื่นในชีวิตเลย

.

ส่วนหนึ่งเพราะผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ดีในยุคนั้นไม่ได้ทำงาน แต่เป็นหน้าเป็นตาให้สามีแทน หน้าที่หลักคือดูแลบ้านช่องและปูทางให้ลูกๆ อย่างที่แม่ของดาฟนี่ทำ เมื่อผู้เป็นพ่อจากไปหน้าที่ผู้นำครอบครัวก็ตกเป็นของลูกชายคนโตที่มีหน้าที่ตัดสินใจเรื่องสำคัญในบ้าน แม้แต่เรื่องคู่ครองของน้องสาว

.

อย่างไรก็ตามเมื่อได้ชมแล้วเราจะเห็นว่าผู้หญิงมีส่วนอย่างมากในการผลักดันครอบครัวให้ประสบความสำเร็จ ซีรีส์ได้ตอกย้ำให้เราเห็นความปราดเปรื่องของผู้หญิง การเป็นแม่และเป็นเมียที่ดีนั้นเป็นเรื่องยาก ซึ่งบางครั้งเราก็ได้หลงลืมจุดนี้ไป ทำให้คุณค่าของผู้หญิงถูกลดทอนอย่างน่าเสียดาย

.

น่าดีใจที่ทุกวันนี้ค่านิยมเราเปลี่ยนไปมากและเริ่มส่งผลในทางตรงกันข้าม ผู้หญิงเราไม่ได้เคร่งเครียดกับเรื่องการแต่งงานมีลูกเท่าเมื่อก่อน หรือเรื่องของงานบ้านงานเรือนก็ไม่ใช่หน้าที่ของผู้หญิงฝ่ายเดียวอีกต่อไป ความเท่าเทียมกันค่อยๆ ฉายชัดขึ้นตามวันเวลา รวมถึงผู้หญิงสามารถที่จะมีอาชีพที่รัก มีโอกาสที่จะเลือกสิ่งดีๆ ให้ตัวเองพอๆ กับผู้ชาย แต่ไม่ว่าค่านิยมหรือประเพณีจะเป็นอย่างไร ไม่ว่าตัวเราจะเป็นใคร เพศอะไร หรือตอนนี้กำลังทำอะไรอยู่ สิ่งที่สำคัญมากๆ ที่ต้องจำให้ขึ้นใจเสมอคือ “คุณค่าในตัวเราไม่เคยหายไปไหนเลย”

.

เพราะอูก้าเชื่อว่าทุกๆ คนมีคุณค่าที่ไม่ควรถูกตัดสิน เหมือนชีวิตของดาฟนี่ที่แม้จะเติบโตมาด้วยความตั้งใจเพียงอย่างเดียว แต่สุดท้ายเธอได้พิสูจน์ให้เราเห็นว่าเธอมีคุณค่าและดีพอที่จะได้รับความรัก พวกคุณเองก็เหมือนกันนะ ถ้าวันไหนรู้สึกท้อแท้ใจ ลองดูซีรีส์สักเรื่องที่ช่วยส่งพลังให้เราดู แล้วอย่าลืมคิดถึงอูก้า เพื่อนแท้ที่จะคอยดูแลใจคุณนะ

Read More