4 เทคนิคจัดชีวิตให้มี Work Life Balance

หากช่วงนี้คุณรู้สึกว่า อยู่ๆงานที่เคยทำเสร็จเร็วกลับเสร็จช้าลง, อยากทำงานให้เสร็จ ๆ ไปมากกว่าผลิตงานที่มีคุณภาพ หรืองานที่เคยชอบกลับกลายเป็นงานที่เราไม่อยากแม้แต่จะเริ่มต้น – อาจแปลได้ว่าตอนนี้สมดุลการทำงาน การใช้ชีวิต และการพักผ่อนของเราไม่ได้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม และอาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าหรือบ่อนทำลาย self esteem ได้ ถ้าหากเรายังคงใช้ชีวิตแบบเดิมโดยไม่แก้ไข วันนี้อูก้าเลยอยากชวนเพื่อนๆ มาเติมเพลิงแห่งความสุขกับการทำงานของเรากันอีกครั้งผ่าน tips เล็กๆ น้อยๆ ที่จะสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานของเรา

.

ก่อนอื่นเรามาลองจัดการปัญหานี้ด้วยวิธีการจด  to do list โดยการเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ อะไรที่ต้องใช้เวลาทำมาก อะไรที่ต้องใช้เวลาทำน้อย จากนั้นเราขอชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมาลองฝึกการบาลานซ์ชีวิตเพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น โดยอูก้าได้ลองรวบรวมวิธีการเซ็ตสมดุลย์ชีวิตที่น่าจะเป็นประโยชน์มาฝากทุกคนกัน 

หาจุดที่พอดีให้กับตัวเราเอง

ก่อนอื่นอาจต้องปรับเปลี่ยน mind set ของตัวเรากันก่อนว่าการที่เราไม่ได้ทำงานหามรุ่งหามค่ำหรือพักดูหนังสัก 1-2 ชั่วโมงไม่ได้แปลว่าเราไม่ขยัน เช่นเดียวกับการที่เราตอบอีเมล 2-3 รายการในวันหยุดพักผ่อนก็ไม่ถือว่า Work-life Balance ของเราพังลง  ทุกคนสามารถหาจุดที่พอดีของตัวเองได้ตามขอบเขตการรับได้ และไม่ทำให้เรารู้สึกว่ากำลังรบกวนเวลาพักผ่อน ถึงแม้ว่าในความพอดีของเราในวันนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต เพราะเราเติบโตขึ้น กิจวัตรบางอย่างอาจทำได้ไม่เหมือนเดิม  ซึ่งเวลาที่เหลือจากการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องต่าง ๆ ของตัวเราเองนะ

ทำงานเมื่ออยู่ในเวลางานและให้เวลากับตัวเองเต็มที่เมื่อหมดเวลางาน

หลายคนอาจจะเคยนำเรื่องงานกลับมาคิดที่บ้านซ้ำไปซ้ำมา ทำให้สมองของเราเกิดการหลั่งฮอร์โมนความเครียด และพาลทำให้ทั้งสภาพจิตใจและร่างกายของเรารู้สึกเหมือนไม่ได้รับการพักผ่อน  ดังนั้นเราจึงควรแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัวออกจากกันให้ชัดเจนผ่านการวางขอบเขตการทำงานในแต่ละช่วงเวลาของเรา โดยตั้งใจทำงานเมื่ออยู่ในเวลางาน ขอความช่วยเหลือเมื่อไม่สามารถทำงานนั้นได้ และให้เวลากับตัวเองเยอะ ๆ เพราะร่างกายของเราต้องการพักผ่อนเพื่อเสริมสร้างพลังใจเหมือนกัน

นอกจากนี้ การจัดโต๊ะทำงานหลังเลิกงานยังช่วยให้แยกพื้นที่การทำงานกับการพักผ่อนออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้เราไม่รู้สึกเหมือนต้องทำงานตลอดเวลา สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้อง Work From Home เรามาลองจัดมุมใดมุมหนึ่งของห้องให้เป็นสถานที่ทำงาน โดยพยายามเลือกที่สงบ จัดโต๊ะให้เหมือนกับโต๊ะที่ออฟฟิศและใช้มุมนี้ตลอด หากเปลี่ยนมุมไปเรื่อย ๆ จะทำให้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตในการทำงานปะปนกัน เมื่อถึงเวลาเลิกงานแล้ว ก็ชัตดาวน์คอมพิวเตอร์ ยืดเส้นยืดสายสักเล็กน้อย หาของอร่อย ๆ กิน ดูซีรี่ส์ที่ยังดูค้างไว้บนที่นอนของเรากันดีกว่า นอกจากนี้อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง และทานอาหารให้ให้ครบ 5 หมู่ กันด้วยนะ

พูดปฏิเสธในเรื่องที่ไม่สามารถทำได้

เป็นเรื่องปกติที่เราอาจถูกไหว้วานจากเพื่อนร่วมงานและงานบางอย่างที่ได้รับการไหว้วานอาจเป็นงานที่เราไม่ได้อยากทำ ซึ่งการปฏิเสธที่จะช่วยไม่ใช่เรื่องผิด ในทางกลับกัน เราสามารถลองชั่งน้ำหนักดูว่าสิ่งนั้นอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบเรามากเกินไปไหม จะทำให้เรากดดันหรือเครียดหรือเปล่า เราสามารถปฏิเสธอย่างนุ่มนวลได้ เพื่อไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานในภายหลัง และเพื่อดูแลจิตใจไม่ให้ต้องแบกรับความเหนื่อยล้ามากเกินไปของเราได้พร้อมๆ กัน

ใจดีกับตัวเองบ้าง

สิ่งสำคัญที่ควรปกป้องและรักษาไว้คือใจของตัวเราเอง เวลาที่รู้สึกว่าไม่ไหวควรฟังเสียงในใจตัวเองและหยุดพัก พยายามไม่ฝืน มันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรถ้าเราจะหยุดพักทำในสิ่งที่ชอบ ถึงแม้ว่าการทำงานหนักในตอนนี้อาจยังไม่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจมากนัก แต่ถ้าสะสมนาน ๆ ไปก็สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้เช่นกัน ทั้งนี้ เราสามารถหาแหล่งเพิ่มพลังงานให้ตัวเอง จากกิจกรรมเล็ก ๆ ที่เราชอบได้  เช่น การอยู่คนเดียวในที่เงียบ ๆ เพื่อทำให้ใจสงบ การขับรถชมวิวหลังเลิกงาน เป็นต้น

👩🏻‍⚕️💙

นอกจากนี้ อ.สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาคลินิกจากอูก้าก็อยากจะฝากกำลังใจเล็กน้อย ๆ ให้เพื่อน ๆ ทุกคนว่า “ของขวัญที่ดีที่สุดที่เราสามารถให้ตัวเองได้คือความสุขจากการพักผ่อนอย่างเพียงพอ มาเริ่มต้นมีความสุขด้วยการบาลานซ์ชีวิตของเรากันนะคะ”

.

ถ้าเพื่อน ๆ รู้สึกว่าปัญหาแต่ละอย่างมันหนักเกินจะรับไหว  รู้สึกว่ามีเรื่องราวอื่น ๆ ที่อยากระบาย หรือต้องการเพื่อนไว้รับฟังและคอยปลอบโยนอยู่ข้าง ๆ เวลาเหนื่อยและสับสน ทางอูก้ายินดีให้คำปรึกษาและพร้อมรับฟังเสมอ เพราะทุก ๆ เรื่องจากคุณสำคัญที่สุดสำหรับเรานะคะ

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

.

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

https://experience.dropbox.com/th-th/resources/work-life-balance

https://medium.com/the-logician/work-to-live-or-live-to-work-c8a1f6761e

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง #OOCAissues

#mentalhealth #stigma #selflove #expectation #WORKLIFEBALANCE #OOCAfeelings #OOCAreminder #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More

เซโรโทนินต่ำเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า จริงหรือ…?

เพื่อน ๆ เคยได้ยินประโยคที่ว่า “เป็นซึมเศร้าเพราะเซโรโทนินต่ำ” กันบ้างไหม บทความจิตวิทยาหลายชิ้น งานวิจัยหลายฉบับ รวมทั้งรูปแบบการศึกษาที่อ้างอิงกับงานวิจัยในทฤษฎีซึมเศร้าดั้งเดิม มักจะพยายามหาวิธีเพื่อที่จะรักษาสมดุลของเจ้าฮอร์โมนนี้ และหาวิธีลดอัตราการเกิดของโรคซึมเศร้า แต่เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว เซโรโทนินต่ำไม่ได้ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า วันนี้อูก้าจะมาพาทุกคนมาไขคำตอบกันว่า เซโรโทนินต่ำเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า จริงหรือ…?

.

โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะได้ยินกันว่า อาการซึมเศร้าสัมพันธ์กับความผิดปกติของสารเคมีในสมองโดยเฉพาะสารที่ชื่อ “เซโรโทนิน” หรือสารเคมีแห่งอารมณ์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทที่เชื่อมโยงกับร่างกายและการควบคุมอารมณ์ โดยทฤษฎีดังกล่าวได้เป็นที่แพร่หลายในวงการแพทย์และจิตวิทยามาจนถึงปัจจุบัน  อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีดังกล่าวเริ่มถูกตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งมีผู้รวบรวมข้อโต้แย้งเหล่านั้นมาเป็นงานวิจัย ที่อูก้าจะพาพวกเราจะไปค้นหาคำตอบกันในวันนี้

.

งานวิจัย umbrella review ของ Joanna Moncrieff และคณะ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Molecular Psychology เมื่อปี 2022  ได้สำรวจงานวิจัยในช่วงเวลา 10 ปีที่มาผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเซโรโทนิน ยาต้านซึมเศร้า และโรคซึมเศร้า ทางทีมวิจัยศึกษาประเด็นดังกล่าวโดยพิจารณาจาก 

1. ระดับสารเซโรโทนินและเซโรโทนินเมตาโบไลต์ 5-HIAA ในโรคซึมเศร้า

2. การเปลี่ยนแปลงของการจับตัวบนผิวเซลล์ของเซโรโทนินในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 

3. ระดับของยีน SERT หรือตัวขนส่งเซโรโทนินในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 

4. ระดับของตัวขนส่งเซโรโทนิน ซึ่งจะทำให้การรับส่งเซโรโทนินที่ปลายประสาทลดลง

5. งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะการขาดทริปโตเฟน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยรักษาสมดุลทางอารมณ์และการกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้า 

6. ความสัมพันธ์ของยีน SERT กับความเครียดในโรคซึมเศร้า 

.

เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ต่าง ๆ แล้ว งานวิจัยพบว่า งานวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเซโรโทนินและเมตาบอไลต์ชี้ให้เห็นว่า การทำงานที่ลดลงของสารเซโรโทนินและโรคซึมเศร้าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะการขาดทริปโตเฟน และการกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้ายังแสดงหลักฐานที่น้อยมากเกี่ยวกับการทำงานที่ลดลงของเซโรโทนิน ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากผลในภาพรวมของกลุ่มงานวิจัยดังกล่าว เราจะเห็นได้ว่า ความเข้มข้นของเซโรโทนินกับโรคซึมเศร้าไม่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งตรงกันข้ามทฤษฎีดั้งเดิมของโรคซึมเศร้า

.

นอกจากนี้ ตัวงานวิจัยยังตั้งคำถามกับความเชื่อที่ว่า โรคซึมเศร้าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งเป็นองค์ความรู้จากการใช้ยาต้านเศร้า โดยที่งานวิจัยเผยข้อโต้แย้งที่น่าสนใจว่า การใช้ยาต้านเศร้า (antidepresssants) ในระยะยาวกลับส่งผลให้การหลั่งสารเซโรโทนินลดต่ำลง ดังนั้น หากจะกล่าวว่าการลดลงของสารเซโรโทนินเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าอาจจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว

.

อูก้าเข้าใจว่า สำหรับเพื่อน ๆ ที่กำลังต่อสู้อยู่กับโรคซึมเศร้าต้องใช้แรงกายแรงใจ เพื่อที่จะฝ่าฟันและข้ามผ่านมันไปได้ แม้จะต้องใช้เวลานานมากแค่ไหน อูก้าจะคอยอยู่เคียงข้างและเปลี่ยนให้ทุก ๆ วันเป็นวันที่สดใสสำหรับทุกคนนะ 

.

ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง

#mentalhealth #depression #ซึมเศร้า #เซโรโทนิน #scientificNEWS 

#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues

#นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Resource:

Moncrieff, J., Cooper, R.E., Stockmann, T. et al. The serotonin theory of depression: a systematic umbrella review of the evidence. Mol Psychiatry (2022). https://doi.org/10.1038/s41380-022-01661-0

Read More

เมื่อไพ่ทาโรต์กลายเป็นที่พึ่งทางใจสำหรับใครหลาย ๆ คน

“ทำไมคุณถึงคิดว่าตัวเองไม่พร้อมที่จะมีความรักครั้งใหม่ล่ะคะ”

“หมอดูเคยทักว่าจะไม่มีเนื้อคู่ค่ะคุณหมอ อกหักครั้งนี้หนูเลยแอบคิดว่า หรือจะเป็นอย่างที่หมอดูทักจริงๆ”

มีหลาย ๆ ครั้งในชีวิตที่พวกเรารู้สึกอับจนหนทาง รู้สึกต้องการที่พึ่งทางใจ 

ต้องการปรึกษา “ใครสักคน” ที่สามารถบอกทางออกกับเราได้ และถ้าเป็นใครสักคนที่สามารถมองเห็นอนาคตเราได้ ว่ายังไม่ได้อับจนหนทางไปซะทีเดียว ก็พอจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราสู้กับปัญหาตรงหน้าไปได้ นั่นเป็นเหตุผลที่หลาย ๆ คนเลือกที่จะพูดคุยกับหมอดู


ส่วนบางคนก็เลือกจะหันหน้าเข้าหาหมอใจ (นักจิตวิทยา) เมื่อพบว่าการระบายกับเพื่อนไม่เพียงพอ

พฤหัสที่ 28 ก.ค. ที่ผ่านมา รายการ #MindPleasureLIVEtalk โดย #อูก้า ได้ชวนทั้งหมอดูและนักจิตวิทยามาสนทนากันในเรื่องนี้

 คุณเอม นักโหราศาสตร์ เจ้าของเพจเฟสบุ๊ค Your Beloved Witch ได้เล่าถึงการดูดวงว่า “คนส่วนใหญ่ชอบดูดวงเพราะว่าอยากรู้เรื่องของตนเอง ถึงพวกเราจะรู้อยู่เเล้วว่าตนเองเป็นอย่างไร บางทีเราก็อยากรู้ในเรื่องของตัวเองจากมุมมองคนอื่น มันสนุก ! และเมื่อได้ยินสิ่งดี ๆ ของตัวเราจากหมอดู เราก็จะรู้สึกสบายใจขึ้น หรือบางครั้งเค้าเลือกไม่ได้ หรือไม่มีความเชื่อมั่น การมาทบทวนความเชื่อเกี่ยวกับตัวเอง ก็เป็นส่วนที่ทำให้คนที่มาหาเรารู้สึกสบายใจ ”

ในขณะเดียวกัน ทั้งหมอดูและหมอใจ ก็เห็นพ้องต้องกันว่า การรู้อนาคต มีคนรับฟัง จะสร้างความสบายใจหรือความเชื่อมั่นได้ แต่ก็มีหลายกรณีที่แค่การรู้อนาคตและความเชื่อมั่นนั้นไม่เพียงพอ

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 ได้กล่าวว่า

“มีหลาย ๆ คน ที่อาจจะเลือกเล่าให้เพื่อนฟัง หรือใช้การพยากรณ์ เพราะไม่อยากรู้สึกว่าตัวเองป่วยจนต้องไปหาหมอ แต่ว่าอาการเจ็บป่วยทางใจที่เริ่มเกิดขึ้นต่อเนื่องแม้ไม่มีเหตุการณ์กระตุ้น เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับต่อเนื่องเกินสองสัปดาห์ หรือการคิดจบชีวิต ปัญหาประเภทนี้ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ก็อาจจะต้องใช้เครื่องมืออื่นที่พาเราไปในทิศทางที่ต่างจากการทำนาย”

รวมไปถึงบางครั้ง “หมอดูและนักเยียวยา” รุ่นใหม่ ต่างก็เคยพบเห็นคนที่มาปรึกษาเนื่องจากโดนตีตราจากคำทำนายทายทักเชิงลบ

คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เล่าว่า “เหตุผลที่เรามาเป็นหมอดู เพราะเราเคยถูกหมอดูทักตอนเด็กๆ ว่าเราจะเรียนไม่จบ ช่วงที่เรียนหนังสือมาตลอดก็จะมีความคิดนี้วนในหัวตลอดเวลาว่าเราจะเรียนได้ไหม จะสอบติดไหม แม้กระทั่งตอนอยู่มหาวิทยาลัยปีสุดท้ายทำทีสิส เรายังวิตกกังวลเลยว่างานของเราจะไม่ผ่านตามที่หมอดูเมื่อหลายสิบปีก่อนว่าไว้ จนมันผ่านไปจริงๆ ถึงพิสูจน์ว่าเออ ก็เรียนจบนี่นา สิ่งนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้เวลาเราดูให้คนอื่น เราจะคำนึงถึงผลกระทบในคำปรึกษาของเรา”

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 เสริมถึงกรณีผู้มาปรึกษาที่บางทีอาจจะเล่าไม่หมด และหาทางออกไม่พบ ส่วนหนึ่งเพราะไม่กล้าเล่าให้นักจิตวิทยาฟังว่าไปดูดวงมาก่อน 

“มีกรณีที่มีคนมาปรึกษาเรื่อง อยากมีความรัก แต่มีความคิดฝังหัวว่าตัวเองยังไงก็ไม่มีเนื้อคู่ ไม่มีคนรัก เพราะเคยมี #หมอดูทัก แรงจนเสียความมั่นใจ ซึ่งพอเค้าเล่าให้เราฟังแล้ว เราก็จะรู้ว่าอ๋อ มีความกังวลตรงนี้มาก่อน ทางนักจิตวิทยาก็จะสามารถถามถึงเรื่องคุณค่าในตัวเอง และพาไปสำรวจ Esteem ในหลายๆ มิติ – ซึ่งที่จริงทุกเรื่อง ทุกความเชื่อ เล่าให้ฟังได้หมดเลย ไม่ต้องกลัวจะถูกตัดสิน”

และสุดท้าย ไม่ว่าจะหมอดู หรือหมอใจ เรื่องหนึ่งที่มีร่วมกันคือเรามีโอกาสเลือกมองหาทางออก และความช่วยเหลือในแนวทางที่เราสบายใจ 

คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เล่าว่า “หมอดูก็มีหลายแนวนะ บางคนชอบหมอดูที่ฟันธงมาเลยว่าชีวิตจะเป็นยังไง แล้วก็เลือกที่จะเชื่อตามสิ่งที่หมอดูพูด บางคนชอบเปิดไพ่ บางคนดูตามราศี บางคนดู MBTI แต่สำหรับเราที่อ่าน Birth Chart เราคิดว่าสุดท้ายเจ้าของดวงมีสิทธิตัดสินใจเองว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร โดยคำปรึกษาของเราหมายถึงความเป็นไปได้ที่น่าจะเกิดขึ้น จากสิ่งที่เป็นมาในอดีต แต่สุดท้ายเขาเป็นคนเลือกเอง”

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 เสริมว่า “นักจิตวิทยา และจิตแพทย์ ก็มีคาร์แรคเตอร์ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือแนวทางในการคลี่คลายเรื่องที่มาปรึกษาต่างกัน เหมือนเวลาเราไปร้านอาหาร ถึงเป็นอาหารประเภทเดียวกัน เช่น อาหารญี่ปุ่น แต่ว่าแต่ละร้านก็จะมีรสชาติ มีความเชี่ยวชาญต่างกันออกไปตามความถนัดของเชฟ ซึ่งการอ่านรีวิวก็อาจจะไม่ได้ตอบได้ทั้งหมด เท่ากับการได้ลองเอง”

 คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เสริมว่า “ดังนั้นเราเลือกได้แหละ” 

ถ้าเพื่อน ๆ กำลังเผชิญกับอารมณ์ที่เปลี่ยนเเปลงเล็กน้อย (Mood Swing) ในช่วงนี้ ลองนัดคุยกับคนที่เพื่อนๆ ที่เราไว้ใจ หรือถ้าไม่อยากให้คนใกล้ตัวรู้สึกหนักตามไปด้วย ลองหาคนอื่นหรือสิ่งอื่นที่อยู่นอกวงโคจรของเราในการปลดปล่อยก็ได้ 

เเต่ถ้าปัญหาเริ่มบานปลายจนกระทบชีวิตประจำวัน เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ รู้สึกหม่นหมองและจมดิ่งไปกับความเศร้านั้น ก็อาจเริ่มเป็นสัญญาณว่า เราควรเริ่มปรึกษาจิตเเพทย์ เพื่อร่วมหาทางออกไปพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญ

ท้ายที่สุดแล้วหากเพื่อนๆ คนไหนรู้สึกอัดอั้นตันใจ มองหาทางออกไม่เจอ อูก้าพร้อมอยู่ตรงนี้เสมอ เพื่อช่วยคลี่คลายปมปัญหาที่ค้างคาในใจ พร้อมรับฟัง และทำความเข้าใจความรู้สึกของเพื่อน ๆ ทุกคนนะ

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาจากทางบ้าน

ดาวน์โหลดเลย:

https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

อ้างอิง

https://www.idiva.com/health-wellness/mental-health/how-tarot-card-reading-and-mental-health-are-connected/18025989

https://voicetv.co.th/read/INxD79HhO

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth #selflove #tarotreading #SelfCare
 #OOCAask #oocadiscussion #ที่พึ่งทางใจ #ดูดวง #วิตกกังวลล่วงหน้า

Read More
Art Therapy ศิลปะบำบัด

OOCAinterview: ART THERAPY ศิลปะทำให้เรา ‘เลือก’ แสดงออกถึงความเป็นตัวเองได้

การวาดภาพด้วยสีชอล์ค ระบายสีด้วยสีน้ำ เป็นสื่อกลางหรือ mediums ที่นิยมใช้เพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะสักชิ้น ในศิลปะบำบัดก็เช่นกัน ทั้งสองสิ่งนี้ก็เป็น mediums ที่นิยมใช้ในการเรียนรู้และเข้าใจตนเอง

คุณปัท ปรัชญพร วรนันท์ เจ้าของ Studio Persona เล่าว่าการทำศิลปะบำบัดที่คุณปัทเลือกใช้นั้นคือ Expressive art therapy ซึ่งเป็นกระบวนการศิลปะบำบัดที่ใช้ mediums หลากหลายรูปแบบ ทั้งการวาด ระบายสี การเคลื่อนไหว การเขียน เปล่งเสียง หรือการปั้น

วันนี้อูก้าจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ mediums ที่น่าสนใจกัน

เริ่มต้นที่ ดิน (clay) ซึ่งสามารถทำงานได้ดีกับ sensory expression คนที่มีอารมณ์โกรธหรือคนที่ไม่ค่อยได้แสดงออกถึงความรู้สึก เพราะดินสามารถหยิบ จับ โยน ทุบ ดึงออกมา ปั้น ทำได้หมด สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ มีทั้งความนิ่มและความแข็งในเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกัน การใช้ดินก็มีความท้าทาย เมื่อเราใส่น้ำให้กับดินมากเกินไป สิ่งที่เราต้องเจอคือ มันจะควบคุมได้ยาก แต่ถ้าเกิดเราเรียนรู้ เลือกใช้น้ำที่พอดี เราก็จะคุ้นชินและใช้ดินแบบที่ไม่กลัว ในขณะเดียวกันก็จะมี clay field ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการทำศิลปะบำบัด การใส่น้ำลงไปในถาดเป็นได้ทั้ง resource และ challenge บางคนความรู้สึกเยอะ ก็จะใช้น้ำเยอะ การที่น้ำเยอะเต็มถาดก็จะหยิบจับอะไรได้ยาก ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ในการบำบัดคือ ในเมื่อมันหยิบจับยาก ทำให้เกิดความไม่ชอบในความรู้สึกนี้ เราจะรับมือกับความรู้สึกและสิ่งเหล่านี้อย่างไร ตัวผู้เข้ารับบริการก็จะเรียนรู้เองว่าสิ่งนี้คือการที่เรามีและสะสมความรู้สึกเอาไว้นะ การแก้ปัญหาก็คือ ถ้ามีน้ำในถาดเยอะ เราก็สามารถเอาผ้ามาซับน้ำออกได้ แล้วมันดีขึ้นไหม ก็ดีขึ้น นี่แหละคือการเปลี่ยนผ่านของความรู้สึกที่ตัวเรา ร่างกายเราทำไม่ได้ แต่เราสร้างประสบการณ์ใหม่ผ่านศิลปะในพื้นที่หนึ่ง

ต่อมาจะเป็นการเคลื่อนไหว (movement) ซึ่งใช้ความเป็นธรรมชาติของบุคคล อาจไม่ใช่การเต้น แต่เป็นการเคลื่อนไหวเมื่อตัวบุคคลก้าวเข้ามาในโลกของศิลปะ โลกของการบำบัด เช่น ท่านั่ง ไหล่ยก เท้ายกไหม กำลังอยู่ในขั้น freeze หรือเปล่า รวมถึงการชวนมาหายใจ ชวนมาขยับตัว หรือถ้าบุคคลรู้สึกไม่ปลอดภัย ก็สามารถวางข้อศอกลงบนโต๊ะได้นะ มันจะรู้สึกมั่นคงกว่าหรือเปล่า ต่อมาก็จะชวนเขามาค้นหาความรู้สึกของตัวบุคคลผ่านการเคลื่อนไหว อาจกลับมาเชื่อมโยงกับความรู้สึกเจ็บปวด หรือบาดแผลบางอย่างที่มีภายในร่างกายแต่เขาไม่เคยรับรู้ถึงสิ่งนั้น ซึ่งการรับรู้นี่เองเป็นขั้นตอนแรกๆ ของการเยียวยาเพื่อนำมาสู่การเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้งาน craft การทำ collage (เป็นงานศิลปะที่เกิดจากการรวมกันของรูปหลายๆ รูป) การบำบัดในถาดทราย (sand tray therapy) การนำตุ๊กตารูปปั้นสัตว์มาจัดเรียง การทำหน้ากาก หรือเพียงนำเศษผ้ามาทำกล่อง ทำตุ๊กตา ก็จะทำให้เขารู้สึกว่าพื้นที่ตรงนี้มันโอเคนะ สำหรับความรู้สึกต่างๆ ที่เขามี

ศิลปะมีประโยชน์ตรงที่มีความหลากหลาย เป็นทางเลือกให้กับบุคคล

หลายๆ ครั้งเรามักคิดว่าชีวิตเราไม่มีทางเลือก แต่พื้นที่ของศิลปะบำบัดเปิดโอกาสให้เราได้มีทางเลือกในการทำสิ่งต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อแสดงออกถึงการเป็นตัวเองได้

หากเพื่อนๆ คนไหนกำลังอึดอัดและไม่ชอบกับสิ่งที่เป็นอยู่ อยากได้คนมารับฟัง อยากให้คนมาเข้าใจเรา อูก้าอยากชวนให้เข้ามาพูดคุยปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านแอปพลิเคชัน ooca ได้เลย อูก้าจะยินดีดูแลจิตใจและรับฟังเสมอนะ ❤️

Read More
ศิลปะบำบัด ไม่ยึดติด

OOCAinterview: ART THERAPY การไม่ยึดติด ทำให้เราได้เรียนรู้มากกว่าที่คิด

หลังจากที่เพื่อนๆ ได้ทำความรู้จักกับศิลปะบำบัดไปบ้างแล้ว ก่อนจะปิดท้ายสำหรับธีมศิลปะบำบัดของเรา อูก้าชวน คุณปัท เจ้าของ Studio Persona มาพูดคุยกันถึงเรื่องสุดท้าย ซึ่งเป็นคำถามที่หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินหรือได้ตอบกันว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดในการมีชีวิตอยู่ของคุณคืออะไร” เรามาอ่านกันดีกว่าว่าในมุมของนักศิลปะบำบัดคนหนึ่ง คุณปัทมองว่าอะไรสำคัญที่สุดในชีวิต

“การได้รับรู้ว่าตัวเองจะเปลี่ยนไป” คือประโยคแรกที่คุณปัทบอกกับเรา

ไม่ยึดติดกับตัวเองทั้งในด้านอาชีพ พื้นที่ ตัวตนของเรา การได้รับรู้ว่าตัวเราจะเปลี่ยนไป มันเป็นความรู้สึกลึกๆ ของว่าเราได้รับอิสรภาพ ซึ่งสำหรับคุณปัทมองว่าสิ่งนี้เองสำคัญกับตัวเองมาก เพราะอิสรภาพทำให้ได้เจอคนที่หลากหลาย จึงอยากขอบคุณชีวิตที่ได้เจอทุกคนที่ทำให้ได้แลกเปลี่ยนมุมมอง ความรู้ ประสบการณ์

เราเรียนรู้อะไรมากมายจากผู้คนที่ผ่านเข้ามาให้เราได้เจอ ถ้าเรายึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราก็จะหยุดตัวเองอยู่แค่นั้น แต่พอไม่ยึดติด คุณปัทมองว่าเราได้เรียนรู้อะไรในทุกๆ วันได้มากขึ้น การเรียนรู้ทั้งจากตัวเอง จากผู้อื่น สังคม โลกใบนี้ ทุกอย่างมันสดใหม่และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึงตัวเราเองมันก็เปลี่ยนแปลงตลอด

ทำให้การที่เรารู้ตัวว่าสิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงตลอด ทุกๆ วันเราไม่เหมือนเดิม สิ่งรอบข้างก็ไม่เหมือนเดิม สิ่งเหล่านี้จึงสำคัญต่อการมีชีวิตอยู่ของคุณปัทมากๆ

วันหนึ่งเราจะเข้าใจโลกและธรรมดาของชีวิตมากขึ้นว่า สักวันหนึ่งเราก็คงต้องสูญเสียอะไรบางสิ่งบางอย่างไปจากชีวิต ทั้งครอบครัว เพื่อน คนรอบข้าง หรือสัตว์เลี้ยง สิ่งของที่เรารัก ซึ่งการที่คุณปัทไม่ยึดติดกับบทบาทใดบทบาทหนึ่งนี่เอง ทำให้ตัวเองเหมือนเชื่อมโยงกับทุกคนและธรรมชาติ เรารู้บางอย่าง เข้าใจบางอย่าง แต่เราไม่ได้รู้ทุกๆ อย่าง เราเป็นคนธรรมดาๆ คนหนึ่งบนโลกใบนี้เหมือนกัน ไม่ได้รู้สึกว่าเราเก่งกว่าใคร หรือเป็นที่สุดในด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งมันทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเองได้ตลอดเวลา ทั้งยังได้เรียนรู้จากบุคคลที่มาทำศิลปะบำบัดซึ่งก็มีความหลากหลายมากๆ หรือแม้กระทั่งตัวศิลปะเอง ทั้งผู้คนและศิลปะจึงเหมือนเป็นครูผู้สอนวิชาชีวิตให้กับเรา

การไม่ยึดติดกับการเป็นนักบำบัด ทำให้คุณปัทสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้หลากหลายขึ้น รวมถึงสิ่งที่คุณปัทชอบมากที่สุดคือ การเป็น “ครู” เพราะนักเรียนมอบอะไรให้กับคุณปัทมากมาย แง่มุมความคิดหรืออะไรต่างๆ บทบาทหรือสเตตัสที่มี คุณปัทจะไม่ยึดติด บางวันอาจเป็นครู บางวันเป็นนักบำบัด บางวันเป็นนักเรียน บางวันเป็นแค่ลูกสาวของคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้นการไม่ยึดติดนี่แหละ คือสิ่งสำคัญในชีวิต

“การไม่ยึดติด ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรมากขึ้นกว่าที่ตัวเราคิด”

มีอะไรอีกหลายอย่างที่เราไม่รู้ การที่เราไม่รู้แต่ขณะเดียวกันเราก็สามารถเรียนรู้จากมันได้จะทำให้เราไม่ทุกข์ สุดท้ายจึงนำมาสู่ความสมดุลของชีวิต

ถ้าเพื่อนๆ คนไหนรู้สึกไม่สบายใจ อูก้าอยากชวนให้เข้ามาพูดคุยปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านแอปพลิเคชัน ooca ได้เลย อูก้าจะยินดีดูแลจิตใจและรับฟังเสมอนะ ❤️

Read More
ศิลปะบำบัด art therapy

OOCAinterview: ART THERAPY ขอบเขตของเรานั้นสำคัญอย่างไร

วันนี้เราชวนคุณปัท เจ้าของ Studio Persona มาคุยกันเรื่องการรู้จักตัวเอง ซึ่งสามารถเป็นได้หลายอย่าง ทั้งการรู้จักตัวตนที่แท้จริงของเรา รู้จักความท้าทายที่ยังคงมีอยู่ในชีวิตของเรา รู้ว่าเราต้องการอะไร แล้วจริงๆ เรากำลังเผชิญกับอะไร รู้ว่าเรามี support อะไรบ้างในชีวิต ซึ่งอาจเป็นครอบครัว เพื่อน คนรัก การนอน การปฏิเสธ นอกจากนี้การรู้จักตัวเองก็คือขอบเขตด้วย ซึ่งคุณปัทได้ย้ำว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ อูก้าจะพาทุกๆ คนมารู้จักคำว่าขอบเขตในความหมายของคุณปัทกัน

ขอบเขตในความหมายของคุณปัท คือประสบการณ์ในการรับรู้ เช่น รับรู้ว่าไม่ปลอดภัย ไม่ถูกต้อง รับรู้ว่าเราต้องปฏิเสธ หรือมี action บางอย่างเพื่อให้ตนเองปลอดภัยมากขึ้น นอกจากขอบเขตทางร่างกายแล้ว ขอบเขตของจิตใจมีความสำคัญไม่แพ้กัน

ทั้งนี้ขอบเขต อาจหมายถึงความพอดีในการพักผ่อน หรือมีระยะห่างจากงาน หรือความรับผิดชอบที่ถาโถมเข้ามา ขอบเขตที่เราสร้างเพื่อให้ทั้งกายและใจของเราได้พัก ได้ฟื้นฟู และยังสร้างสมดุลให้กับบุคคลได้ด้วย

นอกจากนี้ขอบเขตคือการอนุญาตให้ตนเองได้เล่า สะท้อน ระบายความรู้สึกในใจที่มีความหมายกับใครสักคนที่ไว้ใจได้ และไม่ตัดสินเรา เพื่อที่ขอบเขตจะได้สร้างประสบการณ์ที่ปลอดภัยทั้งกายและใจให้กับตัวเรา

การรับรู้ความรู้สึกว่าตอนนี้เราเหนื่อย เราล้า ไม่ไหวแล้ว ขณะที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นั่นก็เป็นขอบเขตที่ตัวเราสามารถทราบได้เอง เช่น ในการทำ free writing ที่จะมีความต่อเนื่องในการเขียน เมื่อเรารับรู้ว่ามือล้า เราเลือกที่จะหยุดพักสักครู่ แล้วกลับไปเขียนต่อ นั่นก็เป็นการขอบเขตที่เรากำหนดเองได้เหมือนกัน ซึ่งยังคงไว้ถึงความต่อเนื่องของกระบวนการ

ดังนั้นไม่ว่าเราจะเลือกทำอะไร ถ้าเรารู้ลิมิต รู้ขอบเขตความสามารถทั้งกายและใจของเรา มันคงไม่ยากเลยที่เราจะพบความสบายใจและสุขมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

สามารถตามอ่านคอนเทนต์ในหัวข้อศิลปะบำบัดที่ผ่านมาได้ที่ ใส่ลิงก์โพสต์/blogสองอันที่แล้ว

หากใครกำลังทุกข์ใจ รู้สึกว่าขอบเขตที่เรามีมันกำหนดเองไม่ได้ เราอยากให้คุณสูดหายใจลึกๆ แล้วลองมาคุยปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านแอปพลิเคชัน ooca กันนะ
อูก้าจะยินดีดูแลจิตใจและรับฟังทุกคนเสมอนะ 😊

Read More
วิธีเยียวยาใจ จิตวิทยา by ooca ok

OOCAknowledge : How to take care of your MIND อย่าปล่อยให้หัวใจเราเจ็บ

เมื่อเราใช้หัวใจทำงานทุกวัน แน่นอนว่าก็ต้องมีเหนื่อยล้า อ่อนไหวเป็นธรรมดา อูก้าเลยมีวิธีดูแลใจง่ายๆ มาฝากกัน ประโยชน์ของการดูแลใจตัวเองให้เฮลตี้อยู่เสมอมีมากมาย เพราะนอกจากจะทำให้เราเป็นคนมีพลังงานบวกแล้ว ยังช่วยให้เรารับมือกับความเครียดได้ดี และสามารถเอาชนะช่วงเวลาที่อยากลำบากได้ด้วย ถ้าทำเป็นประจำรับรองว่าใจเราจะได้รับการฟื้นฟูและพักผ่อน เจออะไรก็ไม่หวั่น พร้อมที่จะลุยต่อแน่นอน อยากให้ทุกคนลองเอาไปทำตามดูนะ

1. สำรวจใจตัวเองว่าตอนนี้กำลังรู้สึกอะไร : เป็นเรื่องสำคัญมากๆ เลยนะที่เราควรจะรู้อารมณ์ของตัวเอง ถามตัวเองว่า “ตอนนี้ฉันกำลังรู้สึกอะไร?” ทบทวนอารมณ์ที่เกิดขึ้นว่า “ฉันเสียใจ โกรธ หรือน้อยใจกันแน่?” และที่สำคัญคือ “ฉันอยากให้คนรอบข้างทำอะไร?” เตือนตัวเองเสมอว่าการเดาใจเป็นเรื่องยาก การบอกออกไปตรงๆ นั้นง่ายกว่ารอให้อีกฝ่ายลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ

2. ลองไล่เรียงความคิดของตัวเองดู : อาจใช้การเขียนบันทึก ทำเป็นลิสต์ออกมาให้เห็นชัดเจน เมื่อเราเห็นภาพแล้วเราก็จะตอบคำถามที่ว่า “ฉันควรจัดการอารมณ์ตัวเองหรือแสดงออกให้เหมาะสมยังไงดี?”

3. จำกัดปริมาณการเสพข่าวสาร : ข้อนี้ช่วยได้มาก ทุกวันนี้เราเล่นมือถือจนไม่รู้ว่าเวลาผ่านไปกี่ชั่วโมงแล้ว แถม fake news ก็เยอะแยะเต็มไปหมด บางทีเราอินกับเรื่องต่างๆ มากไป จนเกิดอารมณ์ลบๆ ขึ้นในใจตัวเอง ลดการเสพอะไรที่รบกวนใจบ้างก็ถือเป็นการดูแลใจไม่ให้ต้องทำงานหนัก

4. หาเวลาออกไปพบปะคนดีๆ : นัดเจอเพื่อน ใช้เวลากับครอบครัว หรือใครก็ตามที่ฮีลใจเราได้ก็ช่วยให้ใจรู้สึกดีไม่น้อย หลายคนเคยชินกับการอยู่กับตัวเอง คิดอะไรคนเดียว หาคำตอบด้วยตัวเอง จนลืมไปว่ามีใครอีกหลายคนพร้อมจะซัพพอร์ตและรับฟังเราอยู่ เราสามารถพึ่งพิงพวกเขาได้นะ

5. ปลดปล่อยอารมณ์ในใจ : หัวใจก็ไม่ต่างจากร่างกาย เรารับอะไรเข้ามาแล้วก็ต้องขับของเสีย ของไม่มีประโยชน์ออกไป อารมณ์อะไรที่ไม่ healthy ไม่ดีกับใจ ต้องถูกกำจัด! ไม่ว่าจะร้องไห้ ระบาย โวยวาย ก็ย่อมทำได้ เราควรมีช่วงเวลาบ้าๆ ให้ตัวเองได้ปลดปล่อยสิ่งที่มันค้างคาดูบ้าง แล้วใจเราจะเบาขึ้น

6. ทำบางอย่างด้วย passion เต็มร้อย : จะเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ก็ไม่สำคัญ ขอแค่คุณมีแพชชั่นกับสิ่งนั้นเต็มร้อย ลองทุ่มลงไปทั้งใจ แล้วคุณจะรู้สึกดีกับตัวเองเมื่อเห็นมันเป็นรูปเป็นร่าง ไม่จำเป็นต้องได้อะไรกลับมาเป็นรูปธรรมหรือเป็นเงินทอง แต่ความภูมิใจนี่แหละที่ช่วยเติมพลังได้ดีที่สุดเลย

ทุกการเดินทางไม่ได้ใช้แค่แรงกาย แต่ใจเรานี่แหละที่จะขับเคลื่อนทุกอย่าง ทุกความตั้งใจ เคล็บลับง่ายๆ แบบนี้คงไม่ยากเกินไป ถ้าเราจะหันกลับมาดูแลใจให้แข็งแรงกันนะ อูก้ายังอยู่ตรงนี้และยินดีช่วยคุณในเรื่องของใจเสมอ ในเวลาที่คุณต้องการใครสักคนอย่าลืมคิดถึงอูก้าเป็นคนแรก

อ้างอิงจาก

https://www.mhanational.org/taking-good-care-yourself

blog.thefabulous.co

Read More
สัตว์เลี้ยงเยียวยาใจเราได้ จิตวิทยา by ooca

OOCAknowledge: เหงาๆสิ้นปี ขอบคุณน้องที่ช่วยเยียวยาใจ ของเราด้วยนะ

มีอยู่จริงนะ เพื่อนที่มองตาแล้วรู้ใจ เขาอาจจะไม่ได้มาในรูปแบบคน แต่เป็น “สัตว์เลี้ยง” น่ารักของเรานั่นเอง เคยสังเกตไหมว่าเวลาเราพูดอะไร ทำไมน้องถึงดูเข้าใจเรา อย่างวันที่เราแฮปปี้น้องก็ดูจะคึกมากๆ แต่ในวันที่เราเศร้าน้องก็หงอยไปด้วย ความรู้สึกที่เชื่อมโยงกันนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรอก เพราะสัตว์เลี้ยงและเจ้าของมีสายสัมพันธ์ต่อกันจริงๆ

งานวิจัยมากมายยืนยันว่าการมีสัตว์เลี้ยงส่งผลดีต่อการเติบโตของคนเรา Professor William Chopik บอกว่า “เมื่อมนุษย์เจอการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ๆในชีวิต ลักษณะบุคลิกภาพอาจจะเปลี่ยนไปด้วย เราพบว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นกับสุนัขเช่นกันและอยู่ในระดับที่มากจนน่าตกใจ ซึ่งเราคาดหวังว่าบุคลิกของสุนัขจะค่อนข้างคงที่เพราะพวกมันไม่มีการเปลี่ยนแปลงแบบสัตว์ป่า แต่จริงๆแล้วมันเปลี่ยนไปมากและมีความคล้ายคลึงกับเจ้าของของมัน”

ข้อดีของการมีสัตว์เลี้ยง คือ ช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น ช่วยลดอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและช่วยลดความเครียด ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะสัตว์เลี้ยงต้องการการออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้เป็นกิจกรรมที่มักทำร่วมกับเจ้าของ ที่สำคัญเลยคือช่วยซัพพอร์ตด้านอารมณ์ ในบางครั้งที่เราไม่อยากติดต่อกับโลกภายนอก สัตว์เลี้ยงทำให้เรารู้สึกว่ายังมีสายสัมพันธ์กับสิ่งอื่นนอกจากตัวเอง

เวลาที่เราล้มลงหรือรู้สึกกังวลกับการเผชิญโลกภายนอก รู้ไหมว่าสัตว์เลี้ยงมีบทบาทอย่างมากในการดึงเรากลับมา มีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับการที่สุนัขช่วยคนที่เป็นโรคซึมเศร้า ในต่างประเทศมีสุนัขหลายสายพันธุ์ที่นิยมถูกฝึกให้เป็นสัตว์เลี้ยงบำบัดคอยช่วยดูแลจิตใจ เพราะคนที่ป่วยใจมักหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกและความเจ็บปวดทั้งหลาย สุนัขช่วยทำลายวงจรนั้นได้ด้วยการมอบความเป็นเพื่อนที่ปลอบโยนและความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับเจ้าของ

การศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าและสัตว์เลี้ยงบำบัด ได้ผลสรุปว่าคนที่เป็นซึมเศร้าแต่มีสัตว์เลี้ยงจะมีอาการดีขึ้นและมีอัตราการตอบสนองต่อการรักษาสูงกว่าคนที่ไม่มีสัตว์เลี้ยง ลึกๆ แล้วคนที่มีปัญหาทางใจอาจต้องการที่พึ่งและคนที่รับฟังโดยไม่ตัดสิน ซึ่งการอยู่กับสัตว์เลี้ยงสามารถทำให้รู้สึกว่าเป็นตัวเองได้ อีกทั้งยังรู้สึกเหมือนได้รับความรักอย่างไม่มีเงื่อนไข นอกจากนี้เจ้าของยังผูกมิตรกับคนอื่นๆ ได้ผ่านความสนใจร่วมกัน อย่างเวลาเจอคนที่เป็นทาสแมวเหมือนกันก็ถือเป็นการหาพื้นที่สบายใจใหม่ๆ และเป็นมุมที่รู้สึกปลอดภัยเมื่อได้อยู่ตรงนั้น

ที่ผ่านมาเราอาจไม่ทันสังเกตว่าคนที่อยู่เคียงข้างเราในทุกช่วงเวลาก็คือสัตว์เลี้ยงนี่แหละ สำหรับบางคนสัตว์เลี้ยงอาจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต ความท้าทายของเจ้าของคือการเข้าใจถึงขอบเขตระหว่างความต้องการของเราเองและความต้องการของน้องๆ ที่เรารัก ไม่ต่างจากความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่ต้องรักและดูแลใส่ใจซึ่งกันและกัน หากเห็นคุณค่าของอีกฝ่ายก็จะนำไปสู่ชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุขมากขึ้นทั้งเราและสัตว์เลี้ยง

ปลายปีอาจเป็นช่วงที่เราเหงาเป็นพิเศษ แต่น้องหมาน้องแมวหรือสัตว์แสนรักก็ยังอยู่ข้างๆ เรา อย่าลืมขอบคุณกันและกันที่ผ่านปีนี้มาได้ กอดตัวเองแล้วอย่าลืมหันไปกอดน้องให้แน่นๆเลยนะ

อูก้าเป็นอีกหนึ่งคนที่พร้อมจะอยู่ข้างๆ และรับฟังคุณ ไม่ว่าจะสุขเศร้าหรือเหงาใจ ทุกปัญหาเรายินดีให้คำปรึกษาเสมอ ทักมาพูดคุยกับพี่ๆ จิตแพทย์และนักจิตวิทยาของเราได้นะคะ

อ้างอิงจาก

https://www.rover.com/blog/service-dogs-depression-anxiety/

https://www.psychologytoday.com/us/blog/lets-reconnect/201812/3-ways-your-pet-can-heal-your-mind-and-body

https://www.earth.com/news/dogs-adopt-same-personality-owners/

Read More
Skinship คืออะไร วิธีเติมกำลังใจ

OOCAstory : Skinship สักหน่อย แทนการให้กำลังใจ

“เหนื่อยหรือเปล่า? เธอเป็นอะไรมั้ย? มีอะไรเล่าให้ฟังได้นะ เราเป็นกำลังใจให้”

คำพูดเหล่านี้คงเป็นเหมือนยาดี ๆ ที่ช่วยรักษาให้กับคนที่กำลังท้อแท้และขาดกำลังใจ ในวันที่เขาต้องเจอกับเรื่องผิดหวังมากมาย การพูดแสดงถึงความเป็นห่วงเล็กน้อยก็สามารถทำให้เขารู้สึกดีขึ้นได้มากแล้วนะ

วันที่เราอยู่ไกลกัน เราก็ยังพิมพ์ให้กำลังใจกันได้ผ่านตัวอักษรเป็นข้อความ และในวันที่เราอยู่ข้างกัน เราก็สามารถปลอบโยนเขาด้วยคำพูดดี ๆ ได้อย่างเต็มที่ หลากหลายวิธีที่เราสามารถแสดงถึงกำลังใจและความรู้สึกเป็นห่วงให้กับเขา แต่รู้หรือเปล่า ยังมีอีกวิธีที่สามารถส่งผ่านความรู้สึกจากเราไปหาเขาได้โดยตรงเลยนะ นั่นคือการ “skinship” ไงล่ะ

ในการสื่อสารความรู้สึกที่เรามีออกมาให้คนรอบข้างได้รับรู้ นอกจากจะใช้การพูดและการพิมพ์เป็นข้อความแล้ว การสัมผัสร่างกายก็เป็นอวัจนภาษาที่สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี เคยหรือเปล่าที่เราเผลอไปสัมผัสตัวคนที่เราแอบปลื้มแล้วก็รู้สึกเขินขึ้นมาทันที หรือจะเป็นตอนที่เรากอดกับใครสักคนแล้วรู้สึกอบอุ่นหัวใจ สิ่งนี้แหละที่แสดงให้เห็นถึงพลังและความรู้สึกของการ skinship ถ้าเราเจอคนรอบข้างที่ต้องการกำลังใจอยู่ ลองใช้วิธีนี้แทนการให้กำลังใจเขาดูนะ

สำหรับบางคน การสื่อสารความรู้สึกด้วยการสัมผัสร่างกายก็เป็นอะไรที่เคอะเขินเกินกว่าจะทำได้ง่าย ๆ ใช่ไหม เป็นเรื่องปกติที่จะมีปัจจัยอื่นเข้ามาทำให้เราไม่กล้า skinship กับใคร เช่น ไม่กล้าเพราะคิดว่ายังไม่สนิทกันมากพอ หรืออาจจะเพราะว่าเราเป็นผู้ชาย และอาจเพราะแสดงสิ่งเหล่านี้ไม่บ่อย แต่รู้หรือเปล่า ว่าการ skinship แทนการให้กำลังใจก็มีหลากหลายวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละคนออกไป สำหรับผู้ชาย การใช้แขนโอบไหล่เพื่อนของเรา ตบบ่าเบา ๆ สักหน่อย ก็ถือเป็นการให้กำลังใจที่ดูเข้ากับเราดีนะ และสำหรับผู้หญิงทุกคน การเอามือของเราไปจับมือเพื่อนพร้อมทั้งพูดให้กำลังใจ ก็เป็นภาพที่ดูจริงใจและน่ารักมาก ๆ เลย หรือใครที่คนในครอบครัวของเรากำลังเศร้า การเข้าไปกอดหรือหอมแก้มกันเล็กน้อยก็ช่วยเติมเต็มกำลังใจให้เขาได้เป็นอย่างดีทีเดียว

เห็นไหม ไม่ว่าเราจะเป็นใครหรือสถานะไหน เราก็สามารถหาวิธีให้กำลังใจคนรอบข้างของเราด้วยการ skinship ได้ เพราะทั้งหมดแล้วก็เป็นเรื่องของความรู้สึกที่ดีทั้งนั้นเลย โอบเพื่อนบ้างหรือลองจับมือกันบ้าง กอดแฟนของเราเอาไว้ และหอมแก้มคุณพ่อคุณแม่สักครั้ง เพราะพวกเขาต้องการสิ่งนี้ และรับรองว่าพวกเขาจะต้องได้รับกำลังใจจากเราอย่างแน่นอน

อย่าอายไปเลยนะ ลอง skinship ดูสักหน่อย เพราะกำลังใจเล็กน้อยจากเรา อาจมีความหมายที่ยิ่งใหญ่กับใจของเขาก็ได้ และใครที่กำลังเจอปัญหาอยู่ อูก้าก็ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับทุก ๆ คน ถ้าอยากได้คำแนะนำจากเราก็สามารถทักมาหาเรา หรือปรึกษากับจิตแพทย์ผ่านแอปพลิเคชั่น OOCA ได้เลย เราคอยรับฟังทุกคนเสมอ 🙂

Read More
คลิปหมา คลิปแมว ประโยชน์ของสัตว์เลี้ยง

OOCAknowledge: Pet Therapy คลิปหมาแมวที่ดูทั้งวัน ก็ยังดีต่อใจ

ในอินเทอร์เน็ตไม่ได้มีแต่เรื่องราวหนักๆที่ทำให้เราปวดหัวเท่านั้น แต่มุมที่เราสบายใจก็มีไม่น้อยนั่นคือมุมของสัตว์น่ารักๆ ที่ดูไปยิ้มไป จนไม่รู้ว่าเวลาผ่านไปนานเท่าไร รู้ตัวอีกทีก็อดเอามือไถดูรูปดูคลิปไปเรื่อยๆ อยู่หลายนาที ซึ่งต้องบอกว่าการดูเนื้อหาเบาๆ อบอุ่นใจแบบนี้ไม่ใช่เรื่องเสียเวลา แต่มันมีเหตุผลบางอย่างซ่อนอยู่นะ

เราอาจไม่เคยคิดมาก่อนว่าเวลาที่เราเลื่อนดูข่าวหรือไถ New Feeds สมองของเรากำลังถูกครอบงำอยู่ ซึ่งมีการศึกษามากมายที่ยืนยันว่าโซเชียลมีเดียหลายรูปแบบสามารถกระตุ้นให้เกิดความเครียด แม้จะเป็นเนื้อหาทั่วๆ ไปที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับชีวิตเราโดยตรงก็ตาม American Psychological Association (APA) เปิดเผยว่าหลายคนคิดว่าการโพสต์ข้อความทางการเมืองและบทสนทนาในโลกออนไลน์เป็นสาเหตุสำคัญของความเครียดในชีวิต ยิ่งไปกว่านั้น “การเปรียบเทียบทางสังคม” ที่เราเห็นบ่อยๆ ทำให้เกิดการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น พอนานๆ ไปเราก็ซึมซับสิ่งเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นดูถูกตัวเอง ขาดความมั่นใจและเป็นสาเหตุหลักของความเครียด

ข้อมูลจาก University of Leeds และ Western Australia Tourism บอกว่าการดูคลิปและภาพสัตว์น่ารัก อย่างลูกแมว ลูกสุนัข ลูกกอริลล่า เป็นเวลา 30 นาที ส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ ซึ่งหลายคนชอบคลิปวิดีโอมากกว่าภาพนิ่ง โดยเฉพาะการเห็นสัตว์มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์

มีงานวิจัยที่บอกว่าการรับชมเนื้อหาประเภท “fluffy” หรือที่เปรียบเหมือนน้องฟูฟ่องเนี่ย ช่วยทำให้อารมณ์ดีและลดความเครียดได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มประสิทธิภาพในความสัมพันธ์ของเราได้ด้วย สอดคล้องกับที่ James McNulty จาก Florida State University พบว่า การใช้ภาพถ่ายสัตว์ที่น่ารักช่วยเพิ่มความพึงพอใจในชีวิตสมรสได้ โดยนักวิจัยได้สอบถามคู่รัก 144 คู่ที่แต่งงานกันมาไม่ถึง 5 ปี และให้คู่รักแต่ละกลุ่มดูภาพต่างๆ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ คู่รักในกลุ่มทดลองที่เห็นรูปภาพคู่สมรสฉายพร้อมกับรูปภาพสัตว์น่ารัก มีการตอบสนองเชิงบวกต่อคู่สมรสและยังแสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจต่อการแต่งงานและการปรับปรุงในระดับที่สูงกว่ากลุ่มอื่น

วิดีโอเชิงบวกเป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นอารมณ์ด้านดีที่มีผลมากๆ พบว่ามีประสิทธิภาพกว่าดนตรีและเทคนิคอื่นๆ การศึกษาของนักวิจัยชาวญี่ปุ่น Hiroshi Nittono พบว่าผู้เข้าร่วมที่ดูภาพลูกสุนัข วิดีโอ Grumpy Cat หรือดูกล้องแพนด้าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ทักษะและสมาธิ เพราะการดูวิดีโอสัตว์ช่วยให้โฟกัสของเราแคบลง จดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามากขึ้น

การเพลิดเพลินกับคลิปน้องๆ เป็นรางวัลสำหรับตัวเราเอง ไม่ใช่เรื่องเสียเวลาหรือไร้สาระ หากเทียบกับเวลาที่เราใช้บนโลกออนไลน์ทั้งหมด อย่าลังเลที่จะดูเพื่อปรับอารมณ์และลดความเครียดให้ตัวเอง เพราะคลิปหมาแมวยังช่วยในเรื่องของสมาธิและช่วยให้เรายืดหยุ่นมากขึ้นด้วย

ลองหาคลิปหมาแมวหรือสัตว์อื่นๆ ที่คุณชอบมาดู เพื่อเยียวยากันนะ ไม่ต้องคิดอะไรให้มากมายแค่ใช้เวลาว่างของคุณเพลิดเพลินไปกับสิ่งสวยงามและอ่อนโยน รับรองว่าดีต่อใจแน่นอน

อูก้าหวังว่าทุกคนได้ชาร์จพลังใจเพื่อสู้ต่อไปนะ ถ้าอยากพูดคุยกับเราสามารถนัดปรึกษากับจิตแพทย์และนักจิตยาได้เลย เราพร้อมรับฟังคุณเสมอ

อ้างอิงจาก

https://www.rover.com/blog/service-dogs-depression-anxiety/

https://edition.cnn.com/2020/09/27/us/watching-cute-animals-study-scn-trnd/index.html

https://www.washingtonpost.com/lifestyle/wellness/cute-funny-animal-video-pandemic/2020/06/26/d253d9ae-b712-11ea-a8da-693df3d7674a_story.html

https://www.verywellmind.com/stress-relieving-benefits-of-watching-cute-animal-videos-4150074

Read More
  • 1
  • 2