4 เทคนิคจัดชีวิตให้มี Work Life Balance

หากช่วงนี้คุณรู้สึกว่า อยู่ๆงานที่เคยทำเสร็จเร็วกลับเสร็จช้าลง, อยากทำงานให้เสร็จ ๆ ไปมากกว่าผลิตงานที่มีคุณภาพ หรืองานที่เคยชอบกลับกลายเป็นงานที่เราไม่อยากแม้แต่จะเริ่มต้น – อาจแปลได้ว่าตอนนี้สมดุลการทำงาน การใช้ชีวิต และการพักผ่อนของเราไม่ได้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม และอาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าหรือบ่อนทำลาย self esteem ได้ ถ้าหากเรายังคงใช้ชีวิตแบบเดิมโดยไม่แก้ไข วันนี้อูก้าเลยอยากชวนเพื่อนๆ มาเติมเพลิงแห่งความสุขกับการทำงานของเรากันอีกครั้งผ่าน tips เล็กๆ น้อยๆ ที่จะสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานของเรา

.

ก่อนอื่นเรามาลองจัดการปัญหานี้ด้วยวิธีการจด  to do list โดยการเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ อะไรที่ต้องใช้เวลาทำมาก อะไรที่ต้องใช้เวลาทำน้อย จากนั้นเราขอชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมาลองฝึกการบาลานซ์ชีวิตเพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น โดยอูก้าได้ลองรวบรวมวิธีการเซ็ตสมดุลย์ชีวิตที่น่าจะเป็นประโยชน์มาฝากทุกคนกัน 

หาจุดที่พอดีให้กับตัวเราเอง

ก่อนอื่นอาจต้องปรับเปลี่ยน mind set ของตัวเรากันก่อนว่าการที่เราไม่ได้ทำงานหามรุ่งหามค่ำหรือพักดูหนังสัก 1-2 ชั่วโมงไม่ได้แปลว่าเราไม่ขยัน เช่นเดียวกับการที่เราตอบอีเมล 2-3 รายการในวันหยุดพักผ่อนก็ไม่ถือว่า Work-life Balance ของเราพังลง  ทุกคนสามารถหาจุดที่พอดีของตัวเองได้ตามขอบเขตการรับได้ และไม่ทำให้เรารู้สึกว่ากำลังรบกวนเวลาพักผ่อน ถึงแม้ว่าในความพอดีของเราในวันนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต เพราะเราเติบโตขึ้น กิจวัตรบางอย่างอาจทำได้ไม่เหมือนเดิม  ซึ่งเวลาที่เหลือจากการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องต่าง ๆ ของตัวเราเองนะ

ทำงานเมื่ออยู่ในเวลางานและให้เวลากับตัวเองเต็มที่เมื่อหมดเวลางาน

หลายคนอาจจะเคยนำเรื่องงานกลับมาคิดที่บ้านซ้ำไปซ้ำมา ทำให้สมองของเราเกิดการหลั่งฮอร์โมนความเครียด และพาลทำให้ทั้งสภาพจิตใจและร่างกายของเรารู้สึกเหมือนไม่ได้รับการพักผ่อน  ดังนั้นเราจึงควรแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัวออกจากกันให้ชัดเจนผ่านการวางขอบเขตการทำงานในแต่ละช่วงเวลาของเรา โดยตั้งใจทำงานเมื่ออยู่ในเวลางาน ขอความช่วยเหลือเมื่อไม่สามารถทำงานนั้นได้ และให้เวลากับตัวเองเยอะ ๆ เพราะร่างกายของเราต้องการพักผ่อนเพื่อเสริมสร้างพลังใจเหมือนกัน

นอกจากนี้ การจัดโต๊ะทำงานหลังเลิกงานยังช่วยให้แยกพื้นที่การทำงานกับการพักผ่อนออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้เราไม่รู้สึกเหมือนต้องทำงานตลอดเวลา สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้อง Work From Home เรามาลองจัดมุมใดมุมหนึ่งของห้องให้เป็นสถานที่ทำงาน โดยพยายามเลือกที่สงบ จัดโต๊ะให้เหมือนกับโต๊ะที่ออฟฟิศและใช้มุมนี้ตลอด หากเปลี่ยนมุมไปเรื่อย ๆ จะทำให้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตในการทำงานปะปนกัน เมื่อถึงเวลาเลิกงานแล้ว ก็ชัตดาวน์คอมพิวเตอร์ ยืดเส้นยืดสายสักเล็กน้อย หาของอร่อย ๆ กิน ดูซีรี่ส์ที่ยังดูค้างไว้บนที่นอนของเรากันดีกว่า นอกจากนี้อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง และทานอาหารให้ให้ครบ 5 หมู่ กันด้วยนะ

พูดปฏิเสธในเรื่องที่ไม่สามารถทำได้

เป็นเรื่องปกติที่เราอาจถูกไหว้วานจากเพื่อนร่วมงานและงานบางอย่างที่ได้รับการไหว้วานอาจเป็นงานที่เราไม่ได้อยากทำ ซึ่งการปฏิเสธที่จะช่วยไม่ใช่เรื่องผิด ในทางกลับกัน เราสามารถลองชั่งน้ำหนักดูว่าสิ่งนั้นอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบเรามากเกินไปไหม จะทำให้เรากดดันหรือเครียดหรือเปล่า เราสามารถปฏิเสธอย่างนุ่มนวลได้ เพื่อไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานในภายหลัง และเพื่อดูแลจิตใจไม่ให้ต้องแบกรับความเหนื่อยล้ามากเกินไปของเราได้พร้อมๆ กัน

ใจดีกับตัวเองบ้าง

สิ่งสำคัญที่ควรปกป้องและรักษาไว้คือใจของตัวเราเอง เวลาที่รู้สึกว่าไม่ไหวควรฟังเสียงในใจตัวเองและหยุดพัก พยายามไม่ฝืน มันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรถ้าเราจะหยุดพักทำในสิ่งที่ชอบ ถึงแม้ว่าการทำงานหนักในตอนนี้อาจยังไม่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจมากนัก แต่ถ้าสะสมนาน ๆ ไปก็สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้เช่นกัน ทั้งนี้ เราสามารถหาแหล่งเพิ่มพลังงานให้ตัวเอง จากกิจกรรมเล็ก ๆ ที่เราชอบได้  เช่น การอยู่คนเดียวในที่เงียบ ๆ เพื่อทำให้ใจสงบ การขับรถชมวิวหลังเลิกงาน เป็นต้น

👩🏻‍⚕️💙

นอกจากนี้ อ.สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาคลินิกจากอูก้าก็อยากจะฝากกำลังใจเล็กน้อย ๆ ให้เพื่อน ๆ ทุกคนว่า “ของขวัญที่ดีที่สุดที่เราสามารถให้ตัวเองได้คือความสุขจากการพักผ่อนอย่างเพียงพอ มาเริ่มต้นมีความสุขด้วยการบาลานซ์ชีวิตของเรากันนะคะ”

.

ถ้าเพื่อน ๆ รู้สึกว่าปัญหาแต่ละอย่างมันหนักเกินจะรับไหว  รู้สึกว่ามีเรื่องราวอื่น ๆ ที่อยากระบาย หรือต้องการเพื่อนไว้รับฟังและคอยปลอบโยนอยู่ข้าง ๆ เวลาเหนื่อยและสับสน ทางอูก้ายินดีให้คำปรึกษาและพร้อมรับฟังเสมอ เพราะทุก ๆ เรื่องจากคุณสำคัญที่สุดสำหรับเรานะคะ

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

.

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

https://experience.dropbox.com/th-th/resources/work-life-balance

https://medium.com/the-logician/work-to-live-or-live-to-work-c8a1f6761e

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง #OOCAissues

#mentalhealth #stigma #selflove #expectation #WORKLIFEBALANCE #OOCAfeelings #OOCAreminder #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More

Baby (makes me) Blue ฝนตกในใจหลังกลายเป็นแม่

“ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องน่ายินดีเพราะจะได้เห็นหน้าลูกน้อย แต่กลับรู้สึกเศร้าหมองเหมือนกับวันฝนพรำ”

“กังวลใจเหลือเกิน กลัวว่าจะเป็นแม่ที่ไม่ดีพอ”

เพื่อน ๆ ที่มีลูกเคยรู้สึกแบบนี้บ้างไหม?

หรือเคยเห็นคนรู้จักมีอาการซึมเศร้าหลังคลอดลูกหรือเปล่า?

.

เมื่อไม่กี่ปีก่อน นิยายเรื่อง “คิมจียอง เกิดปี 82” เขียนโดยโชนัมจู ได้สร้างปรากฏการณ์ talk of the town ไปทั่วโลก “คิมจียอง เกิดปี 82” ได้ยกประเด็นเรื่อง “ภาวะและโรคซึมเศร้าหลังคลอด” ผ่านตัวละครเอกอย่าง “คิมจียอง” โดยอาการนี้ได้เปลี่ยนทั้งทัศนคติ และมุมมองที่มีต่อคนรอบตัวของเธอ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นจุดพลิกผันครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเธอก็ว่าได้ เนื่องในโอกาสวันแม่ อูก้าอยากชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับอาการ “baby blues” หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อที่จะได้เข้าใจทั้งตัวละครคิมจียองมากขึ้น และคุณแม่มือใหม่ในชีวิตของเพื่อน ๆ กัน

.

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ baby blues เป็นอาการที่พบบ่อยถึง 50-75% ในหมู่คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก  โดยภาวะซึมเศร้านี้ จะทำให้มีอารมณ์อ่อนไหวง่ายกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มาจากฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน จึงส่งผลให้เกิดความเครียด ความเหนื่อยหน่ายกับชีวิตและสิ่งที่เคยสนใจ ความวิตกกังวลต่าง ๆ เช่น กังวลว่าตัวเองจะไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ดีพอ รู้สึกไม่มั่นใจกับบทบาทการเป็นแม่ของตนเอง รู้สึกว่าตนไม่ผูกพันกับลูก

.

นอกจากนี้บางคนอาจรู้สึกห่างเหินกับคนรอบข้าง บางครั้งอาจเกิดอาการน้อยใจ  รู้สึกท้อแท้ และสิ้นหวังในชีวิต บางครั้งก็ร้องไห้ออกมาโดยไม่มีเหตุผล แพทย์หญิงศิริลักษณ์ ลอดทอน จิตแพทย์จากแอปอูก้ายังเสริมอีกว่า นอกจากอาการทางใจแล้ว อาจมีอาการทางกายควบคู่ไปด้วย เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง จนกระทบชีวิตประจำวันของเหล่าคุณแม่ได้ โดยภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ baby blues จะมีระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าฮอร์โมนจะกลับมาอยู่ในสภาวะปกติ

.

ทั้งนี้ เพื่อน ๆ อาจสงสัยว่า แล้วอาการ baby blues  ต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร แพทย์หญิงศิริลักษณ์ได้ให้คำตอบไว้ว่า  แม้ทั้งสองจะมีพื้นฐานของอาการที่คล้ายคลึงกับอาการโรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum Depression  แต่โรค Postpartum Depression ซึ่งในไทยพบประมาณ 16.8% (ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต) ของคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกมีอาการยาวกว่า 2 สัปดาห์ และมีอาการที่รุนแรงกว่า เช่น มีความคิดต้องการทำร้ายตัวเองและลูก ประสาทหลอน มีอาการฉุนเฉียวสลับกับคึกคักคล้ายไบโพลาร์ หรืออาการทางกาย เช่น นอนไม่หลับ น้ำหนักลด เป็นต้น ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นที่จะต้องพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัย อีกทั้งต้องมีการทำจิตวิทยาบำบัดไปพร้อม ๆ กัน และรับประทานยาเพื่อรักษาอาการของโรคซึมเศร้า

.

แต่ถ้าเป็นระยะแรกเริ่มอย่างภาวะ baby blues  สามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบา ๆ ทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่อดอาหาร เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เพราะหากระดับน้ำตาลในเลือดตก อาจทำให้อารมณ์ไม่สมดุลได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การเข้าใจกับสภาวะที่ตนกำลังเผชิญ ปรับเปลี่ยนทัศนคติให้มองโลกในแง่บวก งดรับข่าวสารที่จะทำให้เกิดความเครียด และอย่าปล่อยให้ตัวเองอยู่คนเดียวด้วยการพูดคุยกับคนใกล้ชิด หรือคุณแม่คนอื่น ๆ ที่กำลังเผชิญอยู่กับภาวะ baby blues เหมือนกัน การปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรมและทัศนคติเช่นนี้ จะช่วยทำให้ฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้าได้เร็วขึ้น และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

.

ทั้งนี้ แพทย์หญิงศิริลักษณ์  ยังได้ฝากกำลังใจให้แก่คุณแม่มือใหม่ทุกคนว่า

“อยากจะให้คุณแม่เชื่อในตัวเองว่า อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีวิธีการรักษาและสามารถหายไปได้ ขอให้คุณแม่ทุกคนเชื่อในตัวเองว่ามีความสามารถในการเลี้ยงลูก พยายามมองโลกในแง่บวก อีกทั้งยังควรระลึกว่า ตนไม่ได้เผชิญปัญหานี้อยู่คนเดียว แต่ยังมีคนรอบข้างที่คอยมอบความรักและความห่วงใยอยู่เสมอ”

.

หากใครที่ได้อ่านเรื่องคิมจียอง จะเห็นว่า คิมจียองดีขึ้นจากภาวะนี้ได้ เพราะว่ามีสามีของเธอที่พยายามทำความเข้าใจและดูแลอยู่เคียงข้างเธอเสมอ ดังนั้น ทั้งภาวะ baby blues และโรคซึมเศร้าหลังคลอด ยาใจสำคัญที่จะทำให้คุณแม่มือใหม่ทุกคนสามารถผ่านพ้นความยากลำบากนี้ และกลับมามีรอยยิ้มที่สดใสอีกครั้งคือ  “กำลังใจจากครอบครัวและคนรอบข้าง”

.

เนื่องในโอกาสวันแม่ปีนี้ อูก้าจึงอยากชวนเพื่อน ๆ มาขอบคุณคุณแม่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ของเพื่อน ๆ เอง หรือคนรอบตัวที่กำลังเป็นคุณแม่ อูก้าเข้าใจดีว่าการเป็นแม่นั้นต้องผ่านอะไรมามากมาย อูก้าขอขอบคุณคุณแม่ทุกคนที่คอยดูแลพวกเราด้วยความรักตลอดมา และแน่นอนว่าอูก้าพร้อมรับฟังทุกเรื่องราวที่คุณแม่กำลังรู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจอยู่เสมอ เพื่อร่วมกันฝ่าฟันวันฝนพรำอันหนาวเหน็บนี้ไปด้วยกัน

ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง

#mentalhealth #depression #ซึมเศร้า #babyblue #PostpartumDepression #ซึมเศร้าหลังคลอด

#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues

#นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Sources:

Read More

เซโรโทนินต่ำเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า จริงหรือ…?

เพื่อน ๆ เคยได้ยินประโยคที่ว่า “เป็นซึมเศร้าเพราะเซโรโทนินต่ำ” กันบ้างไหม บทความจิตวิทยาหลายชิ้น งานวิจัยหลายฉบับ รวมทั้งรูปแบบการศึกษาที่อ้างอิงกับงานวิจัยในทฤษฎีซึมเศร้าดั้งเดิม มักจะพยายามหาวิธีเพื่อที่จะรักษาสมดุลของเจ้าฮอร์โมนนี้ และหาวิธีลดอัตราการเกิดของโรคซึมเศร้า แต่เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว เซโรโทนินต่ำไม่ได้ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า วันนี้อูก้าจะมาพาทุกคนมาไขคำตอบกันว่า เซโรโทนินต่ำเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า จริงหรือ…?

.

โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะได้ยินกันว่า อาการซึมเศร้าสัมพันธ์กับความผิดปกติของสารเคมีในสมองโดยเฉพาะสารที่ชื่อ “เซโรโทนิน” หรือสารเคมีแห่งอารมณ์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทที่เชื่อมโยงกับร่างกายและการควบคุมอารมณ์ โดยทฤษฎีดังกล่าวได้เป็นที่แพร่หลายในวงการแพทย์และจิตวิทยามาจนถึงปัจจุบัน  อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีดังกล่าวเริ่มถูกตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งมีผู้รวบรวมข้อโต้แย้งเหล่านั้นมาเป็นงานวิจัย ที่อูก้าจะพาพวกเราจะไปค้นหาคำตอบกันในวันนี้

.

งานวิจัย umbrella review ของ Joanna Moncrieff และคณะ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Molecular Psychology เมื่อปี 2022  ได้สำรวจงานวิจัยในช่วงเวลา 10 ปีที่มาผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเซโรโทนิน ยาต้านซึมเศร้า และโรคซึมเศร้า ทางทีมวิจัยศึกษาประเด็นดังกล่าวโดยพิจารณาจาก 

1. ระดับสารเซโรโทนินและเซโรโทนินเมตาโบไลต์ 5-HIAA ในโรคซึมเศร้า

2. การเปลี่ยนแปลงของการจับตัวบนผิวเซลล์ของเซโรโทนินในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 

3. ระดับของยีน SERT หรือตัวขนส่งเซโรโทนินในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 

4. ระดับของตัวขนส่งเซโรโทนิน ซึ่งจะทำให้การรับส่งเซโรโทนินที่ปลายประสาทลดลง

5. งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะการขาดทริปโตเฟน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยรักษาสมดุลทางอารมณ์และการกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้า 

6. ความสัมพันธ์ของยีน SERT กับความเครียดในโรคซึมเศร้า 

.

เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ต่าง ๆ แล้ว งานวิจัยพบว่า งานวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเซโรโทนินและเมตาบอไลต์ชี้ให้เห็นว่า การทำงานที่ลดลงของสารเซโรโทนินและโรคซึมเศร้าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะการขาดทริปโตเฟน และการกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้ายังแสดงหลักฐานที่น้อยมากเกี่ยวกับการทำงานที่ลดลงของเซโรโทนิน ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากผลในภาพรวมของกลุ่มงานวิจัยดังกล่าว เราจะเห็นได้ว่า ความเข้มข้นของเซโรโทนินกับโรคซึมเศร้าไม่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งตรงกันข้ามทฤษฎีดั้งเดิมของโรคซึมเศร้า

.

นอกจากนี้ ตัวงานวิจัยยังตั้งคำถามกับความเชื่อที่ว่า โรคซึมเศร้าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งเป็นองค์ความรู้จากการใช้ยาต้านเศร้า โดยที่งานวิจัยเผยข้อโต้แย้งที่น่าสนใจว่า การใช้ยาต้านเศร้า (antidepresssants) ในระยะยาวกลับส่งผลให้การหลั่งสารเซโรโทนินลดต่ำลง ดังนั้น หากจะกล่าวว่าการลดลงของสารเซโรโทนินเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าอาจจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว

.

อูก้าเข้าใจว่า สำหรับเพื่อน ๆ ที่กำลังต่อสู้อยู่กับโรคซึมเศร้าต้องใช้แรงกายแรงใจ เพื่อที่จะฝ่าฟันและข้ามผ่านมันไปได้ แม้จะต้องใช้เวลานานมากแค่ไหน อูก้าจะคอยอยู่เคียงข้างและเปลี่ยนให้ทุก ๆ วันเป็นวันที่สดใสสำหรับทุกคนนะ 

.

ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง

#mentalhealth #depression #ซึมเศร้า #เซโรโทนิน #scientificNEWS 

#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues

#นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Resource:

Moncrieff, J., Cooper, R.E., Stockmann, T. et al. The serotonin theory of depression: a systematic umbrella review of the evidence. Mol Psychiatry (2022). https://doi.org/10.1038/s41380-022-01661-0

Read More

เมื่อไพ่ทาโรต์กลายเป็นที่พึ่งทางใจสำหรับใครหลาย ๆ คน

“ทำไมคุณถึงคิดว่าตัวเองไม่พร้อมที่จะมีความรักครั้งใหม่ล่ะคะ”

“หมอดูเคยทักว่าจะไม่มีเนื้อคู่ค่ะคุณหมอ อกหักครั้งนี้หนูเลยแอบคิดว่า หรือจะเป็นอย่างที่หมอดูทักจริงๆ”

มีหลาย ๆ ครั้งในชีวิตที่พวกเรารู้สึกอับจนหนทาง รู้สึกต้องการที่พึ่งทางใจ 

ต้องการปรึกษา “ใครสักคน” ที่สามารถบอกทางออกกับเราได้ และถ้าเป็นใครสักคนที่สามารถมองเห็นอนาคตเราได้ ว่ายังไม่ได้อับจนหนทางไปซะทีเดียว ก็พอจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราสู้กับปัญหาตรงหน้าไปได้ นั่นเป็นเหตุผลที่หลาย ๆ คนเลือกที่จะพูดคุยกับหมอดู


ส่วนบางคนก็เลือกจะหันหน้าเข้าหาหมอใจ (นักจิตวิทยา) เมื่อพบว่าการระบายกับเพื่อนไม่เพียงพอ

พฤหัสที่ 28 ก.ค. ที่ผ่านมา รายการ #MindPleasureLIVEtalk โดย #อูก้า ได้ชวนทั้งหมอดูและนักจิตวิทยามาสนทนากันในเรื่องนี้

 คุณเอม นักโหราศาสตร์ เจ้าของเพจเฟสบุ๊ค Your Beloved Witch ได้เล่าถึงการดูดวงว่า “คนส่วนใหญ่ชอบดูดวงเพราะว่าอยากรู้เรื่องของตนเอง ถึงพวกเราจะรู้อยู่เเล้วว่าตนเองเป็นอย่างไร บางทีเราก็อยากรู้ในเรื่องของตัวเองจากมุมมองคนอื่น มันสนุก ! และเมื่อได้ยินสิ่งดี ๆ ของตัวเราจากหมอดู เราก็จะรู้สึกสบายใจขึ้น หรือบางครั้งเค้าเลือกไม่ได้ หรือไม่มีความเชื่อมั่น การมาทบทวนความเชื่อเกี่ยวกับตัวเอง ก็เป็นส่วนที่ทำให้คนที่มาหาเรารู้สึกสบายใจ ”

ในขณะเดียวกัน ทั้งหมอดูและหมอใจ ก็เห็นพ้องต้องกันว่า การรู้อนาคต มีคนรับฟัง จะสร้างความสบายใจหรือความเชื่อมั่นได้ แต่ก็มีหลายกรณีที่แค่การรู้อนาคตและความเชื่อมั่นนั้นไม่เพียงพอ

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 ได้กล่าวว่า

“มีหลาย ๆ คน ที่อาจจะเลือกเล่าให้เพื่อนฟัง หรือใช้การพยากรณ์ เพราะไม่อยากรู้สึกว่าตัวเองป่วยจนต้องไปหาหมอ แต่ว่าอาการเจ็บป่วยทางใจที่เริ่มเกิดขึ้นต่อเนื่องแม้ไม่มีเหตุการณ์กระตุ้น เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับต่อเนื่องเกินสองสัปดาห์ หรือการคิดจบชีวิต ปัญหาประเภทนี้ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ก็อาจจะต้องใช้เครื่องมืออื่นที่พาเราไปในทิศทางที่ต่างจากการทำนาย”

รวมไปถึงบางครั้ง “หมอดูและนักเยียวยา” รุ่นใหม่ ต่างก็เคยพบเห็นคนที่มาปรึกษาเนื่องจากโดนตีตราจากคำทำนายทายทักเชิงลบ

คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เล่าว่า “เหตุผลที่เรามาเป็นหมอดู เพราะเราเคยถูกหมอดูทักตอนเด็กๆ ว่าเราจะเรียนไม่จบ ช่วงที่เรียนหนังสือมาตลอดก็จะมีความคิดนี้วนในหัวตลอดเวลาว่าเราจะเรียนได้ไหม จะสอบติดไหม แม้กระทั่งตอนอยู่มหาวิทยาลัยปีสุดท้ายทำทีสิส เรายังวิตกกังวลเลยว่างานของเราจะไม่ผ่านตามที่หมอดูเมื่อหลายสิบปีก่อนว่าไว้ จนมันผ่านไปจริงๆ ถึงพิสูจน์ว่าเออ ก็เรียนจบนี่นา สิ่งนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้เวลาเราดูให้คนอื่น เราจะคำนึงถึงผลกระทบในคำปรึกษาของเรา”

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 เสริมถึงกรณีผู้มาปรึกษาที่บางทีอาจจะเล่าไม่หมด และหาทางออกไม่พบ ส่วนหนึ่งเพราะไม่กล้าเล่าให้นักจิตวิทยาฟังว่าไปดูดวงมาก่อน 

“มีกรณีที่มีคนมาปรึกษาเรื่อง อยากมีความรัก แต่มีความคิดฝังหัวว่าตัวเองยังไงก็ไม่มีเนื้อคู่ ไม่มีคนรัก เพราะเคยมี #หมอดูทัก แรงจนเสียความมั่นใจ ซึ่งพอเค้าเล่าให้เราฟังแล้ว เราก็จะรู้ว่าอ๋อ มีความกังวลตรงนี้มาก่อน ทางนักจิตวิทยาก็จะสามารถถามถึงเรื่องคุณค่าในตัวเอง และพาไปสำรวจ Esteem ในหลายๆ มิติ – ซึ่งที่จริงทุกเรื่อง ทุกความเชื่อ เล่าให้ฟังได้หมดเลย ไม่ต้องกลัวจะถูกตัดสิน”

และสุดท้าย ไม่ว่าจะหมอดู หรือหมอใจ เรื่องหนึ่งที่มีร่วมกันคือเรามีโอกาสเลือกมองหาทางออก และความช่วยเหลือในแนวทางที่เราสบายใจ 

คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เล่าว่า “หมอดูก็มีหลายแนวนะ บางคนชอบหมอดูที่ฟันธงมาเลยว่าชีวิตจะเป็นยังไง แล้วก็เลือกที่จะเชื่อตามสิ่งที่หมอดูพูด บางคนชอบเปิดไพ่ บางคนดูตามราศี บางคนดู MBTI แต่สำหรับเราที่อ่าน Birth Chart เราคิดว่าสุดท้ายเจ้าของดวงมีสิทธิตัดสินใจเองว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร โดยคำปรึกษาของเราหมายถึงความเป็นไปได้ที่น่าจะเกิดขึ้น จากสิ่งที่เป็นมาในอดีต แต่สุดท้ายเขาเป็นคนเลือกเอง”

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 เสริมว่า “นักจิตวิทยา และจิตแพทย์ ก็มีคาร์แรคเตอร์ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือแนวทางในการคลี่คลายเรื่องที่มาปรึกษาต่างกัน เหมือนเวลาเราไปร้านอาหาร ถึงเป็นอาหารประเภทเดียวกัน เช่น อาหารญี่ปุ่น แต่ว่าแต่ละร้านก็จะมีรสชาติ มีความเชี่ยวชาญต่างกันออกไปตามความถนัดของเชฟ ซึ่งการอ่านรีวิวก็อาจจะไม่ได้ตอบได้ทั้งหมด เท่ากับการได้ลองเอง”

 คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เสริมว่า “ดังนั้นเราเลือกได้แหละ” 

ถ้าเพื่อน ๆ กำลังเผชิญกับอารมณ์ที่เปลี่ยนเเปลงเล็กน้อย (Mood Swing) ในช่วงนี้ ลองนัดคุยกับคนที่เพื่อนๆ ที่เราไว้ใจ หรือถ้าไม่อยากให้คนใกล้ตัวรู้สึกหนักตามไปด้วย ลองหาคนอื่นหรือสิ่งอื่นที่อยู่นอกวงโคจรของเราในการปลดปล่อยก็ได้ 

เเต่ถ้าปัญหาเริ่มบานปลายจนกระทบชีวิตประจำวัน เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ รู้สึกหม่นหมองและจมดิ่งไปกับความเศร้านั้น ก็อาจเริ่มเป็นสัญญาณว่า เราควรเริ่มปรึกษาจิตเเพทย์ เพื่อร่วมหาทางออกไปพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญ

ท้ายที่สุดแล้วหากเพื่อนๆ คนไหนรู้สึกอัดอั้นตันใจ มองหาทางออกไม่เจอ อูก้าพร้อมอยู่ตรงนี้เสมอ เพื่อช่วยคลี่คลายปมปัญหาที่ค้างคาในใจ พร้อมรับฟัง และทำความเข้าใจความรู้สึกของเพื่อน ๆ ทุกคนนะ

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาจากทางบ้าน

ดาวน์โหลดเลย:

https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

อ้างอิง

https://www.idiva.com/health-wellness/mental-health/how-tarot-card-reading-and-mental-health-are-connected/18025989

https://voicetv.co.th/read/INxD79HhO

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth #selflove #tarotreading #SelfCare
 #OOCAask #oocadiscussion #ที่พึ่งทางใจ #ดูดวง #วิตกกังวลล่วงหน้า

Read More

งานจบ อารมณ์ไม่จบ: ความเครียดสะสม ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

“ก็มีเครียดบ้างแหละ ปกติของการทำงาน”

“มันก็คงเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ที่จะปวดหัวเรื่องงานแหละมั้ง”

“ทน ๆ ไปเถอะ เครียดนิดหน่อย เดี๋ยวก็หาย”

.

การละเลยสิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้ อาจนำพาเราไปสู่ “Minor stress” หรือความเครียดสะสมที่เกิดจากความรู้สึกในเชิงลบที่สะสมทีละเล็กละน้อยโดยไม่รู้ตัว โดยเจ้า Minor stress มักปรากฎตัวได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกเครียด กดดัน ผิดหวัง เศร้าหมอง และอื่น ๆ

.

และ Minor Stress นี่เองที่สามารถนำไปสู่ภาวะเครียดจนเกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ ซึ่งสาเหตุของความเครียดนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น ระดับฮอร์โมน การพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัญหาจุกจิกในชีวิตประจำวัน งาน หรือแม้กระทั่งการเมืองในที่ทำงานด้วยเช่นกัน

.

แล้วเราจะสามารถจัดการกับ Minor stress จากความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างไร?

.

👩🏻‍⚕️💙

คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในแอพอูก้า แนะนำกับเราว่า เมื่อมีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับความเครียดที่เรามี หากเลี่ยงปัจจัยการกระตุ้นความเครียดได้ก็ควรเลี่ยง เช่น ลองให้คนอื่นคุยงานนี้แทนเราแต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้เราอาจจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจก่อนไปเผชิญหน้ากับเขา หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ อย่างน้อยเราก็จะทำให้เราพอรู้ว่าต้องเจออะไร พยายามจัดการความรู้สึกของตัวเองหรือระบายให้เพื่อนฟัง บางทีเพื่อนอาจเคยเจอเหมือนกับเราก็ได้

.

อีกหนึ่งทางออกที่ดีคือ การลองปรึกษากับบุคคลภายนอก เพื่อให้ได้เห็นปัญหาในภาพที่กว้างมากขึ้น เพราะหลายครั้ง การมีแค่ HR หรือหัวหน้างาน ก็ไม่เพียงพอ ซึ่งที่จริง HR และเหล่าหัวหน้างาน ก็ต้องการผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเมื่อเผชิญภาวะเครียดเหมือนกัน เพราะความรู้สึกและความสัมพันธ์ในที่ทำงานเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้น “งานเยอะ” จึงอาจจะไม่ใช่ต้นตอของปัญหาทั้งหมด เมื่อปัญหาภายในองค์กรเรื้อรังรังเข้า จึงเกิดภาวะ “งานจบแล้ว แต่อารมณ์ยังไม่จบสักที”

.

ซึ่งยุคนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีหลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงานมากขึ้น โดยหลายองค์กรเริ่มมีสวัสดิการให้พนักงานได้เข้ามาปรึกษาหรือพูดคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี

.

นอกจากนี้ คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้ากล่าวว่า การมีสวัสดิการเรื่องสุขภาพจิตในองค์กรถือเป็น “เรื่องที่ดี” และ ”สำคัญมาก” เพราะนอกจากจะมีคนที่คอยรับฟังและเข้าใจปัญหาของเราแล้ว สุขภาพใจจะดีขึ้น สุขภาพกายก็จะดีตามไปด้วย สิ่งนี้จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและทำให้คนทำงานอย่างเราใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

.

แน่นอนว่าอูก้าเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจ ที่คอยช่วยสนับสนุนเพื่อน ๆ ให้เอาชนะความเครียดจนสำเร็จ ไม่ว่าเพื่อน ๆ จะเข้ามาระบายเรื่องราวต่าง ๆ ให้เราฟังหรืออยากปรึกษากันแบบจริงจัง จะเป็นเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ เราก็พร้อมรับฟังและอยู่เคียงข้างเพื่อน ๆ เสมอนะ

.

มารับพลังใจในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

อ้างอิง: https://www.medicalnewstoday.com/articles/321450?fbclid=IwAR0MzoZxiUcaf4WO1Tp4V7juKoaJAQ0saencyE2KOyH2eyalUfObG-2dZFc

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth#stigma#selflove#expectation#ความคาดหวัง#OOCAfeelings#OOCAreminder

Read More

ไขข้อข้องใจ ทำไมคนเราถึงเกลียดตัวเอง?

“ทุกคนคงเคยมีวันที่ไม่ชอบตัวเองกันบ้าง ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ปกติมากๆ เเต่ถ้าไม่มีสักวันที่เรารู้สึกชอบตัวเองเลยล่ะจะเกิดอะไรขึ้น?”

.
*ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนอาจสงสัยว่า สิ่งมีชีวิตโดยทั่วๆ ไป ควรจะมีสัญชาติญาณเอาชีวิตรอด ควรจะรักและปกป้องตัวเอง แต่ทำไมมนุษย์ถึงมีพฤติกรรมโกรธ เกลียดตัวเอง ไปจนถึงทำสิ่งต่างๆ ที่อาจเป็นภัยต่อตัวเองได้ ดังนั้น* วันนี้อูก้าจะมาเล่าเรื่อง **ความโกรธเกลียดตนเอง** (Self Hatred) ซึ่งหมายถึง *ความรู้สึกที่ว่าตัวเองไม่ดีพอ ไม่ควรค่าเเก่การได้รับความรักหรือสิ่งดีๆ จากสังคม*

เเต่เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมเราถึงมีความรู้สึกเเบบนั้นกัน?

การเกลียดตัวเองอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น บาดแผลทางใจในอดีต (Past Trauma), การเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น, การไม่ได้รับความรักหรือการยอมรับจากครอบครัวเเละเพื่อน ฯลฯ นอกจากนี้ ความเกลียดโกรธตัวเองนี้ยังขับเคลื่อนโดยเจ้าสิ่งที่เรียกว่า “Critical Inner Voice” คือ เสียงที่เกิดจากจิตใต้สำนึกลึกๆของเรา เสียงเหล่านี้จะสร้างมุมมองเเละทัศนคติของเราที่มีต่อตัวเองในเเง่ลบ เช่น “เราโง่จังเลย” “เราพูดไม่เก่ง” “เราคิดมากจัง” ซึ่งเสียงเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
.

#1 **ความทรงจำเเละประสบการณ์เลวร้ายที่เราพบเจอในอดีต:** ความทรงจำเเละประสบการณ์สร้างความเชื่อเเละความคิดของเรา (Values) เช่นคนที่เคยถูกบูลลี่ก็อาจกลัวการเข้าสังคมเเละรู้สึกไร้คุณค่า หรือคนที่เคยถูกคนรักทิ้งก็อาจคิดว่าตนเองดีไม่พอที่จะได้รับความรักเเละไม่กล้ามีความรักครั้งใหม่
.

#2 **ครอบครัวเเละการเลี้ยงดู:** ครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ วิธีการเลี้ยงดูของพ่อเเม่ก็มีผลต่อตัวเรา เช่นถ้าพ่อเเม่เป็น “Perfectionist” มีความคาดหวังในตัวลูกสูง เด็กก็จะเกิดความกดดัน เเละ กลัวว่าตนเองจะสร้างความผิดหวังให้กับผู้อื่น เมื่อทำผิดพลาดก็จะโทษตัวเอง หรือถ้าเด็กๆ อยู่ในสภาพเเวดล้อมที่คุกคามและควบคุม หรือไม่ได้รับความรักจากพ่อเเม่ ความรู้สึกนั้นก็จะสะสมไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นความรู้สึกเกลียดตัวเอง
.

#3 **การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น:** การเปรียบเทียบทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยเช่น “ทำไมเราทำงานไม่เก่งเท่าเพื่อน” “ทำไมเราไม่สวยเหมือนอย่างคนนั้น ไม่เป็นอย่างคนนี้ “ เมื่อเราสร้างภาพลักษณ์ที่เราคาดหวังไว้สูง เเต่ตัวตนจริงๆ เราไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวัง เราก็จะรู้สึกผิดหวังในตัวเอง เเละไม่รู้สึกชื่นชมในสิ่งที่เรามีหรือสิ่งที่เราเป็น

.

ทั้งหมดนี้รวมตัวกันกลายเป็น ภาพที่เรามองตัวเองโดยมี “เสียงวิจารณ์ภายใน” เหล่านี้วนเวียนซ้ำๆตอกย้ำเราจนเราเชื่อว่า “เสียงวิจารณ์ภายใน” เป็นความจริงเเละทำลายความมั่นใจของเราลงเรื่อยๆ จนเรากลายเป็นคนที่มี Self Esteem หรือความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ เเละจบลงด้วยการ “เกลียดตัวเอง” เพื่อเป็นการลงโทษตัวเองในท้ายที่สุด

.

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเราจะต้องศิโรราบต่อ “เสียงวิจารณ์ภายใน” ตลอดไปกันสักหน่อย โดยคุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้า เล่าให้เราฟังเกี่ยวกับเคสที่มาหาจิตแพทย์ด้วยความรู้สึกเกลียดตัวเองว่า …

.
👩‍⚕️
“การเกลียดตนเองเกิดจากความคิดเเง่ลบกับตัวเอง ความคิดมันเยอะท่วมท้น จนไม่สามารถจัดการกับมันได้ เเละรู้สึกว่าไม่มีใครอีกเเล้วที่ช่วยเราได้ – เมื่อเกิดความรู้สึกว่าเราทำอะไรไม่ได้สักอย่าง อยู่ไปก็มีเเต่เป็นภาระให้คนอื่น เราก็จะรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการ บางคนมีปมในอดีตที่ฝังลึกในจิตใต้สำนึก เช่น คนที่เคยอกหัก อาจไม่กล้ามีความรักครั้งใหม่ เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ เอาเเต่โทษตัวเองกับเรื่องเก่าๆที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกนี้สามารถเปลี่ยนไปได้ ถ้าเราเท่าทันความคิดตัวเอง หรือลองคุยกับตัวเอง ซึ่งการจัดการอย่างละเอียด ไม่เร่งรีบลงโทษตัวเอง ก็จะเปิดมุมมองเเละเปิดโอกาสให้ตัวเรามากขึ้น”

.

ในวันไหนที่เรารู้สึกท้อเเท้ หมดกำลังใจหรือรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง เเละไม่รู้จะระบายให้ใครฟัง อูก้ายินดีเป็นที่พักพิงใจ ให้คำเเนะนำเเละเป็นเพื่อนที่เข้าใจ เพราะเพื่อนๆ ไม่ได้เป็นคนเดียวที่คิดแบบนั้น

.

มารับพลังใจในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย:

https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth #stigma #selflove #depression #SelfCare
#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues 

Read More

Romanticize ผิดมากไหมที่พยายามหาข้อดีของโควิด?

ท่ามกลางความเครียดและความกดดันจากข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เรามักจะเห็นความคิดเห็นบางส่วนบนโซเชียลมีเดีย ที่ออกมาชื่นชมหรือพยายามหาข้อดีจากสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ ในยุคนี้คงเรียกการกระทำเหล่านี้ว่าเป็นการ “โรแมนติไซส์” (romanticize) ความเดือดร้อนของผู้อื่น ซึ่งหลายครั้งความเห็นเหล่านั้นมักถูกตอบโต้ด้วยถ้อยคำมากมาย 🤔

‘โง่’

‘ไม่ใช่คนแล้ว’

‘ทำไมไม่ใช่คุณที่ตาย’

‘ก็ลองไปตายเป็นเพื่อนเขาสิ’

ความโกรธ ความเครียด ความอึดอัด ทุกพลังงานลบถูกอัดรวมกันแล้วยิงออกมาผ่านคำพูด หมายมั่นให้คนฟังรู้สึกเจ็บปวดใจเหมือนที่ใครหลายคนต้องเผชิญในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่จริงแล้วหรือที่ว่า ‘การพยายามมองโลกในแง่บวกจากสถานการณ์นี้’ แปลว่ากำลังมีความสุขบนความทุกข์ของคนอื่น ? หรือบางทีพวกเขาอาจจะกำลัง “หนีความจริงที่โหดร้าย” ด้วยการตะเกียกตะกายหาพลังงานบวก แม้เพียงเล็กน้อยก็เพียงพอให้มีกำลังใจจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกสักหน่อย.. 😥

“มองข้ามความเดือดร้อนของคนอื่น”

หลายคนกำลังโดนประโยคนี้กดทับหัวใจให้หนักอึ้งอยู่หรือเปล่า ?

เพราะเห็นว่ามีคนมากมายต้องเดือดร้อน จึงไม่กล้ามีความสุขได้เต็มอก ไม่กล้าอนุญาตให้ตนเองได้รู้สึกดีเพราะมีคนอีกมากมายกำลังร้องขอความช่วยเหลือ มีคนอีกมากมายกำลังล้มหายตายจากอย่างไม่เป็นธรรม นานวันเข้าหัวใจก็ขาดแคลนพลังงานบวกจนพาให้เหนื่อย ท้อ และสิ้นหวัง ทั้งทีความจริง เราสามารถมีความสุขพร้อมกับถือความทุกข์ไว้ในมือไปด้วยก็ได้ 👌🏻

เพราะโลกนี้เป็นสีเทา ไม่มีขาวหรือดำที่ชัดเจน จึงไม่แปลกเลยหากสองสิ่งที่ตรงข้ามกันจะอยู่ร่วมกันได้ เช่นเดียวกับความทุกข์และความสุข เราสามารถมีความสุขกับบางเรื่อง โดยที่ตระหนักถึงข้อเสียหรือผลกระทบจากมันได้ไปพร้อม ๆ กัน เราสามารถใช้หลอดพลาสติกโดยตระหนักได้ว่ามันส่งผลกระทบอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อม เราสามารถเสพซีรี่ย์สนุก ๆ หรือยิ้มให้กับท้องฟ้าพร้อมกับรู้ว่าอีกมุมหนึ่งของโลกกำลังมีคนที่เดือดร้อน ไม่ผิดอะไรเลยหากเราจะหัวเราะและร้องไห้ไปพร้อมกัน เพราะทุกคนก็เป็นแค่มนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น

🚫 ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้แปลว่าการโรแมนติไซส์เชื้อไวรัสโควิด-19 จะเป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือควรทำ 🚫

การโรแมนติไซส์ นอกจากจะเป็นการทำร้ายจิตใจคนที่กำลังเดือดร้อนแล้ว ยังนับป็นการหนีปัญหาอย่างไม่มีจุดสิ้นสุด เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วปัญหาหรือต้นตอของปัญหาที่แท้จริงจึงไม่ได้รับการแก้ไข จนอาจทำให้อะไรหลายอย่างต้องแย่ลงจนกระทั่งถึงจุดที่หนีไม่ได้อีกต่อไป ถึงตอนนั้นก็อาจจะสายเกินกว่าจะแก้ไขอะไรได้อีก ไม่ได้แปลว่าห้ามหนีปัญหาหรือต้องฝืนเผชิญหน้าในเวลาที่เรายังไม่พร้อม แค่ระหว่างที่กำลังพักชาร์จใจ ระวังไม่ให้คำพูดตนเองต้องไปทำร้ายจิตใจของหลายคนที่กำลังเดือดร้อน หรือต่อสู้กับความยากลำบากนี้อยู่อย่างสุดชีวิต เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว

คนแต่ละคนมีความพร้อมและวิธีรับมือกับความเครียด ความหดหู่ หรือความสิ้นหวังต่างกัน บางคนอาจจะพุ่งเข้าชนเพื่อรีบแก้ไขให้เสร็จสิ้น บางคนอาจจะต้องการเวลาในการเตรียมใจและกายให้พร้อมก่อนเผชิญหน้ากับมันอย่างจริงจัง คงจะดีหากเราเข้าใจความแตกต่างของกันและกันในเรื่องนี้ คงจะดีหากเราใจดีกับตัวเองและคนรอบข้างมากขึ้นอีกสักหน่อย เพื่อระวังไม่ให้เราต้องเป็นแหล่งเผยแพร่พลังงานลบสู่สังคมโดยที่ตนเองไม่ได้ตั้งใจ

การยอมรับความจริง และการแยกแยะข้อดีและข้อเสียก็เป็นเครื่องมือที่ดีที่จะทำให้เราประเมินสถานการณ์อย่างถี่ถ้วนว่าเรากำลังเผชิญหน้าอยู่กับอะไรบ้าง เช่นนั้นเราจึงจะเห็นสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขมันได้อย่างตรงจุด แม้จะเครียด อึดอัด หรือเจ็บปวดมากเพียงใด อูก้าขอเป็นกำลังใจและหนึ่งในแรงสนับสนุน ที่จะคอยจับมือทุกคนก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน ไม่ว่าที่ไหนหรือเมื่อไร เรื่องของใจให้เรารับฟัง ติดต่อมาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ตลอดเลยนะ 💚💙

#OOCAissue

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/romanticizeblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

Read More
พูดคนเดียว selftalk สุขภาพจิต พบจิตแพทย์ เครียด

ฉันไม่ได้เพี้ยน แค่ชอบพูดคนเดียวอยู่บ่อย ๆ

“ฉันพูดคนเดียวบ่อย ๆ แปลกหรือเปล่านะ ?”

อยู่หน้ากระจกแล้วอดคุยกับตัวเองไม่ได้ หรือแม้แต่เพื่อนข้าง ๆ บางทีก็เห็นว่าเราชอบนั่งพึมพำอะไรไม่รู้คนเดียว นี่เราเป็นแบบนี้คนเดียวหรือคนอื่นก็เป็นเหมือนกัน

.

ถ้าสังเกตดีๆ คนเรามักพูดคนเดียวตลอดเวลา ต่อให้ไม่ได้เปล่งเสียงออกมา แต่ในใจเราก็คุยกับตัวเอง ซึ่งเรียกว่า ‘Self-talk’ นักจิตวิทยาการปรึกษาของอูก้า คุณกอบุญ เกล้าตะกาญจน์ได้อธิบายว่า “การคุยกับตัวเอง (Self-talk) คือ เสียงภายในหรือการพูดคุยด้วยตนเอง เป็นการรวมกันของความคิดที่มีสติ ความเชื่อและอคติที่ไม่รู้สึกตัวเข้าด้วยกัน เป็นวิธีที่สมองตีความและประมวลผลประสบการณ์” แค่เรามองข้ามไปว่าการนึกในใจ การคิดอะไรไร้สาระก็เป็นการสื่อสารกับตัวเองรูปแบบหนึ่ง เพียงเพราะเราไม่รู้ตัว บางคน Self-talk แบบเปล่งเสียงออกมาจนคนรอบข้างเห็นว่าเรามีนิสัยชอบพูดคนเดียว แต่ถ้ามองในแง่ดีอาจเป็นการช่วยฝึกทักษะการปฏิสัมพันธ์ ช่วยสร้างจินตนาการและทำให้เราได้ฝึกสะท้อนความคิดตัวเองออกมา

.

สิ่งที่สำคัญกว่าคือเนื้อหาของสิ่งที่เราพูดถึงต่างหาก ถ้าทบทวนเราอาจได้เห็นว่าเรามองตัวเองอย่างไร คิดเป็นบวกหรือลบมากกว่ากัน เช่น เราพูดให้กำลังใจตัวเอง “วันนี้งานออกมาดีจัง” หรือเรากล่าวโทษตัวเองบ่อยๆ “ไม่ได้เรื่องเลย ทำไมแค่นี้ถึงทำพลาด” บางทีเราก็พูดกับตัวเองเพื่อเตือนสติ อย่างการพูดทวนย้ำ ๆ ว่าวันนี้ต้องส่งงานอะไรบ้าง แม้แต่การพูดกับสัตว์ สิ่งของ หรือการทำเสียงแปลก ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องผิด

.

อาการพูดคนเดียวเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขและต้องเฝ้าระวังหรือเปล่า ?

#คำตอบจากนักจิตวิทยาของอูก้า

คุณกอบุญ เกล้าตะกาญจน์ นักจิตวิทยาการปรึกษาจากแอปฯ อูก้า บอกกับเราว่า การ ‘พูดคนเดียว’ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร เพราะการพูดคุยเกี่ยวกับตัวเองของเราสามารถทำให้เกิดกำลังใจ หรือมองโลกในแง่ลบเพื่อเอาชนะตัวเองได้ Self-talk จะเป็นประโยชน์เมื่อพูดในเชิงบวก ผ่อนคลายความกลัวและเสริมสร้างความมั่นใจ

สรุปแล้วอาการพูดคนเดียวเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวชหรือไม่ ?

ในแต่ละวันไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้คนต่างก็มีส่วนร่วมในการพูดคุยกับตนเอง ความคิดของเรามีผลกระทบที่ส่งผลต่ออารมณ์ แรงจูงใจและความสำเร็จที่อาจเกิดขึ้น น่าเสียดายที่ธรรมชาติของมนุษย์มักจะพูดในแง่ลบกับตัวเองรวมถึงการตอกย้ำตัวเอง เช่น “ฉันทำอะไรก็ไม่ถูก” หรือ“ ฉันล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง”

.

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการพูดถึงตัวเองส่วนใหญ่ของมนุษย์เป็นไปในเชิงลบ ดังนั้นจึงอาจบั่นทอนจิตใจมากกว่าที่จะพัฒนาตัวเรา ความคิดเชิงลบสร้างความรู้สึกโกรธเคือง หงุดหงิด สิ้นหวังและผิดหวัง นำไปสู่อาการวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งการพูดคนเดียวหากอยู่ในระดับที่พอดีก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามากเกินไปก็เป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังและแก้ไข เพราะข้อดีของนิสัยพูดคนเดียวที่เป็นคำพูดเชิงบวกคือ เป็นเพื่อนคลายเครียดให้กับตนเอง บ่งบอกว่าเรามีสติและตระหนักรู้ (Self-awareness) จะได้ตรียมความพร้อมรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า ที่สำคัญเป็นสัญญาณให้เราสำรวจและคลี่คลายความรู้สึกสิ่งที่ติดค้างอยู่ในใจ

.

ลองสังเกตสิ่งที่เราพูดคุยหรือคิดเกี่ยวกับตนเอง ฝึก Self-talk ด้วยวิธีการใหม่ ๆ เรียนรู้วิธีระบุคำพูดเชิงลบและเชิงบวก และฝึกทักษะการเปลี่ยนมุมมองความคิดเป็นการพูดในเชิงบวกด้วยตนเอง เมื่อมีการพูดถึงตนเองในแง่ลบ ให้เราฝึกฝนปฏิกิริยาตอบสนองใหม่ ๆ และพยายามเปลี่ยนสถานการณ์นั้นดู

.

จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการฝึกฝนทำให้เกิดทักษะการควบคุมตนเองได้โดยด้วยการพูดคุยกับตนเองในเชิงบวก อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีการคุยกับตัวเองแง่ลบมากเกินไปจนรู้สึกจัดการไม่ได้ ความคิดเราทำร้ายตัวเองจนยากจะควบคุม แนะนำให้เข้ารับบริการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ

.

#OOCAissue

.

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล ฯ นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/selftalkblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ Ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca..
.

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง#แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา#mentalhealth#สุขภาพจิต#เครียด#ซึมเศร้า#พบจิตแพทย์

Read More

OOCAissue: How to ดูแลคนรักที่ป่วยใจ ด้วยโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล

โรคทางใจส่งผลต่อความสัมพันธ์หรือไม่ ?

ต้องยอมรับว่าคู่รักหลายคู่เดินมาถึงทางตันเพราะปัญหาสุขภาพใจ ไม่ใช่แค่ภาวะเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้าจะกัดกินแต่คนเป็นเท่านั้น คนรักที่อยู่ข้าง ๆ คอยดูแล คอยรับฟังก็ถูกบั่นทอนเช่นกัน เพราะการดูแลใจใครสักคนต้องใช้ทั้งความเข้าใจและพลังเป็นอย่างมาก เมื่อวันเวลาผ่านไปทั้งสองฝ่ายต่างอ่อนแอลง ทำให้ไปถึงจุดที่ไม่สามารถประคับประคองความสัมพันธ์ต่อไปได้ ฝ่ายที่ป่วยใจก็รู้สึกผิด เกิดการโทษตัวเองที่เป็นแบบนี้ ทำให้คนรักเหนื่อยล้า ในขณะที่อีกฝ่ายไม่อยากทอดทิ้งกันไปเวลาที่เขากำลังเปราะบาง แต่ตนเองก็ไม่รู้จะทำอย่างไรให้คนรักรู้สึกดีขึ้น จึงเป็นประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหวในความสัมพันธ์

.

แต่ถ้าเรามีความรู้เกี่ยวกับภาวะหรือโรคที่อีกฝ่ายกำลังเป็น รวมถึงเข้าใจในสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังรู้สึกและเผชิญอยู่ เราก็อาจดูแลและรักษาความสัมพันธ์นี้เอาไว้ได้

#คำตอบจากนักจิตวิทยา

#เรียนรู้และเข้าใจคนที่เรารัก ความคาดหวังของเราก็จะลดลง เมื่อเข้าใจก็สามารถช่วยดูแลคนที่คุณรักให้ฟื้นคืนได้ คนรักรู้สึกเศร้า ไร้ค่า สิ้นหวัง  ถอนตัว ภาวะซึมเศร้าอาจทำให้จมกับอารมณ์ความคิดลบ ลดความสนใจสังคมและกิจกรรมที่เคยมีความสุข ในเวลาที่เค้าซึมเศร้า เค้ากังวล ภาวะซึมเศร้าส่งผลให้เขาพูดหรือกระทำบางอย่างที่กล่าวโทษว่าคุณเป็นต้นเหตุ เข้าใจว่าคุณไม่ได้เป็นต้นเหตุทำแฟนซึมเศร้า ดังนั้นอย่าถือสากันและกันเลยนะ

.

#สื่อสารคำถามปลายเปิดและฟังคนรักอย่างใส่ใจ  การนั่งเคียงข้างและรับฟังโดยไม่ตัดสิน คุณสามารถจับมือ โอบกอด และสามารถตอบสนองด้วยคำพูด อาทิ “มีอะไรที่เราสามารถทำได้เพื่อช่วยเธอบ้าง” “เธอมีความสำคัญกับเรานะ” “เราอยู่ตรงนี้เสมอ” และ “เราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน”

.

สำหรับวิธีการดูแลคนรักที่เหมาะสม ทำได้หลายวิธีด้วยกัน

#คำตอบจากนักจิตวิทยา

#หลีกเลี่ยงการพูดที่เป็นการกดดัน ในรูปประโยค You message เช่น “คุณไม่เคยทำอะไรเพื่อตัวเองเลย” “ทำไมเธอไม่รู้จักอดทนบ้าง” ให้ใช้ประโยค I message แทน ที่ไม่ต้อนหรือควบคุมอีกฝ่าย เช่น “ฉันเห็นคุณค่าในตัวเธอและอยากเห็นเธอทำสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจ”

.

#รู้สัญญาณเตือนการคิดสั้น เริ่มจากสังเกตเป็น เข้าใจสัญญาณอันตรายและรีบขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทันที ได้แก่ หากมีการวางแผน คิดสั้น มีอารมณ์ที่ขึ้นลงรุนแรง บุคลิกภาพเปลี่ยน การถอนตัวออกจากสิ่งที่ชอบทำและผู้คน รู้สึกสิ้นหวังอย่างมาก สำคัญที่สุดคือพยายามอยู่เคียงข้าง เพื่อลดการแยกตัว ลดการตัดสินใจที่เค้าจะทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด

.

#ปรับไลฟ์สไตล์และสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่ๆ มีประโยชน์มากในการฟื้นฟู ลองวางแผนออกกำลังกายร่วมกัน อยู่กับเขาเพื่อลดความเครียด วางแผนรายวันรายสัปดาห์ที่จะไปทำกิจกรรมต่างๆ โดยเริ่มต้นกิจกรรมเล็กๆก่อน เพื่อช่วยให้คนที่คุณรักค่อยๆปรับตัว ที่สำคัญแบ่งเป้าหมายใหญ่ให้เป็นเป้าหมายขนาดเล็ก การทำตามขั้นตอน เพื่อช่วยให้ทำสิ่งต่างๆ สำเร็จได้ง่ายขึ้นในทุกวัน เช่น การลุกขึ้นจากเตียง อาบน้ำ ทานอาหารสุขภาพ ออกกำลังกาย

.

#สนับสนุนคนรักเข้ารับบริการให้การปรึกษา รับการปรึกษาชีวิตคู่ ถ้าคู่ของคุณยินดีร่วมมือ เพื่อให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ของคุณก่อนที่จะยุติไป นักจิตวิทยาสามารถทำให้เห็นมุมมองที่คุณสามารถจัดการด้วยตัวคุณเอง และหลีกเลี่ยงรูปแบบที่มักเกิดปัญหาในความสัมพันธ์หรือในความสัมพันธ์ใหม่ ควรเน้นรับการปรึกษาอย่างต่อเนื่องแทนที่จะวินิจฉัยหรือรักษาด้วยตัวเอง

.

อย่างไรก็ตามใจของคนรักและใจของเราต่างสำคัญด้วยกันทั้งคู่ หมั่นฟังเสียงหัวใจตัวเอง ถ้าวันไหนมันบอกว่าไม่ไหว อย่าลังเลที่จะดูแลรักษา อูก้ามีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาพร้อมรับฟังทุกปัญหาและช่วยคุณก้าวข้ามทุกอุปสรรคไปได้ เพราะเราเชื่อว่าทุกความสัมพันธ์แข็งแรงได้

ขอขอบคุณคำแนะนำดีๆ จาก พี่พลีส กอบุญ เกล้าตะกาญจน์ นักจิตวิทยาการปรึกษาของอูก้าด้วยนะคะ

Read More
ชอบคิดเรื่องเก่าๆ

OOCAissues : ทำไมถึงชอบคิดเรื่องเก่าๆให้ตัวเองเจ็บปวดบ่อยๆ

เคยเป็นกันไหม ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขอยู่ดี ๆ เรื่องในอดีตที่ทำให้เจ็บปวดก็ถาโถมเข้ามา จากที่อารมณ์ดี ๆ วันนั้นก็จะหยุดคิดถึงเรื่องอดีตไม่ได้จนดาวน์ไปทั้งวันเลย ถ้าเคยเป็นล่ะก็ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยนะ เราเองก็เป็นบ่อย ๆ เราเลยแอบไปถามนักจิตวิทยาในระบบของอูก้ามาเพื่อไขข้อสงสัยของทุกคน แถมได้คำตอบมาด้วยว่าจะแก้ไขมันยังไง

#คำตอบจากนักจิตวิทยา

สมองของเราอาจมีความทรงจำที่คั่งค้างอยู่ข้างใน คล้ายปัญหาที่ไม่ได้รับการคลี่คลายจนรู้สึกฝังใจกับอดีตที่เลวร้ายที่เคยเกิดขึ้น และคิดว่าอดีต ‘ควร’ จะเป็นแบบนั้นแบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่มีส่งผลต่ออารมณ์สูง เช่น การถูกบูลลี่ หรือการถูกปฏิเสธ

ซึ่งการคิดถึงเรื่องในอดีตเหล่านี้ซ้ำไปมาโดยมากสะท้อนว่าจิตใจของเรากำลังพยายามหาคำตอบ ทำความเข้าใจกับสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ จนกว่าจะทำความเข้าใจความหมายใหม่ของประสบการณ์นั้นได้ก่อนจึงหยุดคิด ในระหว่างนั้นการตกอยู่กับอดีตนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต การคิดเรื่องเก่า ๆ มากเกินไปสามารถดักจับสมองให้อยู่ในวงจรแห่งความทุกข์ความกังวลเรื้อรัง รู้สึกไม่อาจมูฟออนได้เพราะเราไม่มีคำตอบให้กับอดีต ซี่งส่งผลให้วิตกกังวล และทำให้ซึมเศร้าได้

แล้วเราจะแก้ยังไงดี?

เขียนความคิดของเราลงในสมุดบันทึก

ลองทำทุกคืนก่อนนอนหรือสิ่งแรกในตอนเช้า เพื่อทำสมองให้ว่างโดยทิ้งทุกสิ่งที่อยู่ในใจของเราลงบนหน้ากระดาษ บางครั้งอาจช่วยบรรเทาได้

ฝึกสมองให้มองอีกด้านของเรื่องแย่ ๆ

เราสามารถฝึกความคิดของเราให้มองชีวิตจากมุมมองที่ต่างออกไปได้เพื่อเอาชนะความคิด เรียกว่าการปรับโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ เช่น จากที่เคยคิดว่า “ฉันไม่อยากจะเชื่อเลยว่าสิ่งนี้เกิดขึ้น” เป็น “ฉันจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก” หรือเปลี่ยน “ฉันเคยล้มเหลวกับความรัก” เป็น ฉันจะทำขั้นตอนใดได้บ้างเพื่อเพิ่มมิตรภาพที่ลึกซึ้งและค้นหาคนใหม่”

ฝึกใจให้เปลี่ยนความสนใจจากเรื่องอดีตมาสู่ปัจจุบัน

เมื่อเริ่มสังเกตเห็นนิสัยที่คิดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ เรื่องเก่าให้เจ็บปวด แล้วเริ่มรู้ว่าสมองเรากำลังอยู่ในโหมดนี้ ลองรีบหันเหความสนใจของตัวเองและเปลี่ยนความสนใจของคุณไปยังสิ่งอื่นที่ต้องใช้โฟกัสเพื่อออกจากโหมดนี้ให้เร็วที่สุด

#จากทีมงานอูก้า

ฟังจากนักจิตวิทยากันไปแล้ว ทีมอูก้าก็อยากมาแบ่งปันความเห็นของเราด้วยอีกเสียง

ในระหว่างที่เรากำลังอยู่ในขั้นตอนการหยุดคิดถึงเรื่องในอดีตแย่ ๆ อยู่ตามคำแนะนำข้างบน เราคิดว่าไหน ๆ เรื่องพวกนั้นก็กลับมาแล้ว เราก็สามารถถือโอกาสที่จะคิดถึงมันในมุมมองของคนที่ผ่านมันมาแล้วกันดีกว่า ใช่ มันอาจเป็นเรื่องที่ฉันอยากกลับไปแก้ แต่ถึงคิดให้ตายฉันก็ไม่ใช่นักเวทย์ที่ย้อนเวลาไปเปลี่ยนอะไรได้นี่ หรือมันอาจเป็นเรื่องทีคนคนนั้นทำกับเราไว้เจ็บมากจนคิดว่าชีวิตนี้จะไม่มีทางลืมได้ ก็อยากจะบอกว่าอย่าลืมชมตัวเองบ่อย ๆ ที่ผ่านมันมาได้จนเรื่องแย่ ๆ มันกลายเป็นอดีตไปได้นะ 😊

การคิดถึงเรื่องในอดีตแม้เรื่องที่เราไม่ชอบไม่ใช่เรื่องแย่เลย เพียงเราต้องรู้ทันความคิดและรู้ว่าคิดถึงมันเท่าไหนถึงเป็นประโยชน์ และตั้งสติให้รู้ตัวว่าฉันจะต้องหยุดคิดถึงมัน เพราะอดีตก็คืออดีต และคนที่เก่งที่สุดคือฉันในปัจจุบันที่ผ่านมันมาได้แล้ว และหากตอนนี้ยังผ่านมันไปไม่ได้ อูก้าขอเสนอตัวเป็นผู้ช่วยที่จะคอยพยุงทุกคนให้เดินก้าวข้ามอดีตไปด้วยกันนะ <3

Read More