LGBTQ+ แตกต่างแต่ไม่ได้ผิดปกติ ยอมรับตัวตนเริ่มต้นที่ครอบครัว

หลายคนคุ้นหูกับคำว่า LGBTQ+ หรือกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งการจำแนกสถิติระหว่างประเทศของโลกและปัญหาสุขภาพฉบับที่ 10 (ICD10) ขององค์การอนามัยโลก ( WHO) ได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยนำเอาหัวข้อ ” การมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกําเนิด” ราชูปถัมภ์ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม และย้าย LGBTQ+ ไปอยู่ในหมวด ” กรณีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางเพศ” ด้วยสาเหตุที่ว่าการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิดนั้น ไม่ถือว่าเป็นอาการป่วยทางจิต ดังนั้นจึงเริ่มมีคนหันมาสนใจว่าแท้จริงแล้ว LGBTQ+ คืออะไร ?

ความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ คือ

🏳️‍🌈 กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือเพศทางเลือก ซึ่ง LGBTQ+ ย่อมาจาก

L – Lesbian กลุ่มหญิงรักหญิง

G – Gay กลุ่มชายรักชาย

B – Bisexual กลุ่มที่รักได้ทั้งชายและหญิง

T – Transgender กลุ่มคนข้ามเพศจากชายเป็นหญิง จากหญิงเป็นชาย

Q – Queer กลุ่มคนที่ไม่จำกัดในเรื่องเพศและความรัก

เพศทางเลือกเป็นความผิดปกติหรือไม่ ?

ในยุคก่อน คนมักให้ความสำคัญกับเพศที่ตรงกำเนิดและมักมีความเชื่อว่าคนที่มีลักษณะไม่ตรงกับเพศกําเนิดมีความผิดปกติ ซึ่งความคิดเหล่านี้มักถูกกำหนดด้วยความเชื่อพื้นฐานที่มาจากบรรทัดฐานทางสังคมหรือวัฒนธรรม จนทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ และเกิดการเหลื่อมล้ำในสิทธิเสรีภาพของบุคคล

แต่ในยุคปัจจุบัน อิทธิพลของชาติตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อสังคมไทยมากขึ้น ความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเราจึงสามารถพบเห็นกลุ่มคนที่เป็นเพศทางเลือกได้ทั่วไป ทั้งจากสื่อมัลติมีเดีย สื่อโซเชียล ทางโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ เป็นต้น

ซึ่งในทางการแพทย์บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไม่ได้เป็นโรค หรือมีความผิดปกติทางจิตใจ เพียงแต่เกิดจากการผสมผสานที่มาจากภายในและภายนอกที่หลากหลาย เช่น ฮอร์โมน สารเคมีในสมอง การเลี้ยงดู วัฒนธรรมและพื้นฐานทางสังคมที่หล่อหลอมตัวบุคคล จึงไม่ใช่เกิดจากความผิดปกติแต่อย่างใด 🙂

🏡 สำหรับครอบครัวที่มีบุตรหลานอยู่ในกลุ่ม LGBTQ+

นอกจากบุคคลในกลุ่ม LGBTQ+ จะต้องเผชิญกับบุคคลทั่วไปแล้ว ปัญหาเรื่องการยอมรับจากคนในครอบครัวก็เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากคนในกลุ่มนี้มักถูกคาดหวังจากพ่อแม่หรือคนในครอบครัว  ซึ่งส่วนใหญ่มักจะสวนทางกับกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ดังนั้น ครอบครัว และคนรอบข้างจึงควรเรียนรู้และทำความเข้าใจเมื่อพบว่ามีสมาชิกในครอบครัวอยู่ในกลุ่ม LGBTQ+

💙 เน้นการสื่อสารเชิงบวก หมั่นพูดคุย เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้อธิบายและรับฟังความคิดเห็นด้วยความเข้าใจ

💙 ไม่เปรียบเทียบ ไม่ควรเปรียบเทียบลูกหลานกับใคร เพราะจะเป็นการสร้างความกดดันและทำให้ไม่อยากเปิดใจ

💙 ให้โอกาสได้เรียนรู้ ครอบครัวควรคอยดูแลอยู่ห่างๆและให้ความช่วยเหลือเมื่อลูกหลานต้องการ

💙 หมั่นคอยสังเกตพฤติกรรม ยิ่งหากเป็นช่วงวัยรุ่นแล้ว มักเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้งทางด้านสรีระร่างกาย ความคิด ดังนั้นคนในครอบครัวจึงต้องคอยสังเกตพฤติกรรมที่อาจเป็นสัญญาณอันตราย เช่น เริ่มมีการใช้ความรุนแรงมากขึ้น หรือเริ่มแยกตัว และมีอาการซึมเศร้า เป็นต้น

ท้ายที่สุดการยอมรับกลุ่มคน LGBTQ+ ไม่ได้มาจากการตัดสินใจของสังคม แต่มาจากการยอมรับตัวตนของตนเองและได้รับความเข้าใจจากคนในครอบครัวและคนรอบข้าง เหล่านี้จึงจะสามารถทำให้บุคคลกลุ่ม LGBTQ+ ได้แสดงออกอย่างอิสระและใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข 🥰

หากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร อูก้าพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนได้พูดคุยโดยไม่ถูกตัดสิน ทุกเรื่องราวทุกปัญหา สามารถปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาได้เสมอ ✨

บทความโดยดร. จุฑารัตน์ จีนจรรยา นักจิตวิทยาคลินิกจากแอปพลิเคชันอูก้า
ผู้ให้คำปรึกษาและบำบัดช่วยเหลือด้านจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น ครอบครัว เด็กพิเศษ บำบัดคู่สมรส

#OOCAprovider

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/TdnH
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

Read More
นักจิตวิทยา จิตแพทย์ เครียด ซึมเศร้า

กว่าจะเป็น Providers ของอูก้า เราคัดสรรมาเพื่อคุณ

“ทำไมต้องปรึกษากับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญของอูก้าในเมื่อใคร ๆ ก็ให้คำปรึกษาได้?”

คำตอบก็คือ นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของเราเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาเรื่องจิตวิทยามาโดยเฉพาะ นอกจากความรู้จะแน่น ทฤษฎีซัพพอร์ตจะเยี่ยม พวกเขายังมีประสบการณ์รับฟังและให้คำปรึกษามาแล้วหลายร้อยเรื่องราว จึงรู้ดีว่าจะต้องทำอย่างไรให้เรามองเห็นทางออกของปัญหา ที่ไม่ใช่แค่การให้ “คำปลอบใจ” หรือ “ชี้ให้ทำ” เหมือนกับที่คนใกล้ตัวเราอาจจะให้มา พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็เหมือนกับเวลาที่เราป่วยกายยังต้องไปหาหมอ ดังนั้นป่วยใจก็ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ใจได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีไงล่ะ !

#ทีมอูก้าไม่ได้มาเล่นๆ

#อูก้ามีทางออก

รู้ไหมว่านักจิตวิทยาและจิตแพทย์ หรือทีม “Provider” ของเราไม่ได้มาเล่น ๆ แต่เราขอบอกเลยว่ากว่าจะผ่านมาเป็น #ทีมอูก้า ต้องผ่านกระบวนการพิจารณาอย่างเข้มข้น ว่าคุณคือ “คนที่ใช่” ที่จะมาช่วยรับฟังปัญหาและให้คำปรึกษาได้อย่างดีที่สุด

คนที่ใช่สำหรับทีมอูก้า ก็จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • เป็นจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่มีใบอนุญาตหรือได้รับการรับรองในไทยหรือจากต่างประเทศ
  • มีประสบการณ์ให้คำปรึกษามาแล้วอย่างน้อย 600 ชั่วโมงขึ้นไป
  • ผ่านการตรวจสอบบุคคลอ้างอิงก่อนที่จะร่วมงานกับอูก้า
  • ผ่านการสัมภาษณ์โดยตรงกับอูก้า เพื่อให้มั่นใจว่าคือคนที่ “ใช่”

นอกจากนี้อูก้ายังเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับดูแลจิตใจที่มาพร้อมบริการแบบจัดหนัก จัดเต็ม อำนวยความสะดวกให้กับคุณอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น

  • บริการแบบทดสอบความเครียดที่เชื่อถือได้
  • บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • สะดวกเมื่อไหร่ ตอนไหนก็นัดมา คุยได้ทุกเวลาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
  • รักษาความลับเพื่อความสบายใจสูงสุดของผู้ใช้บริการ

ดังนั้นจึงมั่นใจได้เลยว่าบริการของอูก้า นอกจากจะอำนวยความสะดวกให้คุณได้ปรึกษาปัญหาคาใจกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาได้ง่าย ๆ ยังมั่นใจได้ว่าผู้ที่จะมารับฟังปัญหาของคุณยังไม่ใช่แค่ใครก็ได้ แต่เป็นคนที่อูก้าคัดสรรมาอย่างเข้มข้น เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์การใช้บริการที่ดีที่สุดจากเรา

#มากกว่าคำปลอบใจ

เพราะแม้ว่าจะเป็นเรื่องดีที่มีคน “ปลอบใจ” แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราได้คนรับฟังที่มีประสบการณ์รับฟังเรื่องราวมาแล้วนับร้อยพัน และให้คำปรึกษากับผู้คนมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน และการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญยังเป็นมากกว่าแค่การฟังคำปลอบใจ แต่เป็นเหมือนคนที่จะช่วยจับมือคุณก้าวผ่านความยากลำบากนี้ไปด้วยกันอย่างเต็มใจ และที่สำคัญ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเล็กจะใหญ่ จะเป็นเรื่องที่หนักใจมากขนาดไหน แต่ทีมนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของอูก้าพร้อมที่จะรับฟังคุณเสมอโดยไม่ตัดสินและพร้อมหาทางออกร่วมกัน

อูก้าให้ความสำคัญกับทุกปัญหาของใจเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การงาน ชีวิตส่วนตัว จะปรึกษาแบบเดี่ยว ๆ หรืออยากจะสมัครให้พนักงานในองค์กรได้ใช้ อูก้าและทีมนักจิตวิทยา พร้อมทั้งจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยินดีรับฟังทุกเรื่องราวเสมอ ไม่ว่าจะเรื่องไหน ให้โอกาสเราได้ดูแลหัวใจของคุณ 🙂


————————————————–

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/oocapvdblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca


#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง#แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา

Read More
คลับเฮ้าส์ ปรึกษาจิตแพทย์ เครียดเรื่องงาน

Mindfully @work #5 “นิสัยขี้เกรงใจแบบไทยๆ ส่งผลอย่างไรกับการทำงาน”

จาก Clubhouse Mindfully @work #6 “นิสัยขี้เกรงใจแบบไทยๆ ส่งผลอย่างไรกับการทำงาน” by ooca และครูเคท นักจิตวิทยาการปรึกษา

.

เคยรู้สึกไหมว่านิสัยหรือวัฒนธรรมบางอย่างของคนไทยนั้นไม่เอื้อในสังคมการทำงาน โดยเฉพาะนิสัยขี้เกรงใจที่ทำให้พนักงานต้องเหนื่อยล้า กดดัน อึดอัด เป็น Yes person กับทุกเรื่อง สุดท้ายพอเก็บสะสมไว้นานๆ แล้วไม่ได้หาทางระบาย ปลายทางคือพนักงานเลือกที่จะลาออก ซึ่งอูก้าได้เชิญครูเคท ดร. เนตรปรียา ชุมไชโย นักจิตวิทยาการปรึกษา เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาองค์กร ความสัมพันธ์และครอบครัว มาช่วยไขคำตอบให้เราแล้ว

เพราะอะไรเราถึงให้ความสำคัญกับ “นิสัยเกรงใจ” ?

ครูเคท : ก่อนอื่นต้องบอกว่า ‘เกรงใจ’ เป็นลักษณะพิเศษของคนไทย ที่หาคำแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ยาก ตีความหมายได้สองอย่าง คือ 1) เพราะเอาใจเขามาใส่ใจเรา ถูกสอนมาว่าอย่าทำให้ใครเดือดร้อน ทำให้พยายามเข้าใจคนอื่นเสมอ 2) เป็นความกลัว แต่เราใช้คำว่า ‘เกรงใจ’ แทนเพราะฟังดูเป็นด้านบวก ซึ่งความเกรงใจเป็นเรื่องที่ดี ถามตัวเองก่อนว่าเราเกรงใจเพราะกลัวไปล้ำเส้นคนอื่น อย่างการจะไหว้วานใครให้คิดถึงอีกฝ่าย หรือว่าเรากำลังกลัวอะไร ? จริงๆ เรากลัวว่าคนอื่นจะไม่ยอมรับเรา กลัวถูกนินทาหรือเปล่า ?

ด้วยวัฒนธรรมองค์กรหรือสังคมไทย ทำให้มัวแต่เกรงใจกันไปมาจนงานไม่คืบหน้า ควรแก้ยังไงดี ?

ครูเคท : ถ้าเราเห็นความสำคัญของทีมเป็นหลัก นึกถึงงานเป็นสำคัญ เราจะรู้ว่าจัดลำดับความสำคัญอย่างไร ควรแบ่งกันยังไง ถ้าเรางานล้นมือแต่เราไม่อยากรบกวนคนอื่นเลยเพราะเกิดความเกรงใจ นี่คือเราสำนึกในน้ำใจที่มีให้กัน แต่อีกกรณีคือถ้าเรางานล้นมือ แต่ไม่กล้าขอให้คนอื่นช่วยเพราะเรากลัวอีกฝ่ายดูถูกเรา นินทา มองเราไม่ดี กลัวคนอื่นรำคาญ นั่นแปลว่าเรามองตัวเองด้อยกว่า เราเลยใช้คำว่าเกรงใจ

อีกกรณีคือเกรงใจจนไม่กล้าปฏิเสธ ทำให้ต้องลำบากใจในการทำงาน เช่น ไม่กล้าบอกว่าไม่ชอบ ไม่อยากทำ ไม่กล้าบอกว่าไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้เพราะคำว่า ‘เกรงใจ’

ครูเคท : เวลาที่ไม่กล้าพูดไม่กล้าถามให้ยึดหลักสามข้อไว้ ในการพูดสิ่งที่เราคิด เพื่อฝึกทักษะการสื่อสาร 1) ผิดกฎหมายไหม 2) ผิดศีลธรรมอันดีงามหรือเปล่า 3) มีใครเดือดร้อนไหม สำคัญที่สุดคือเมื่อมีปัญหาอย่ากลัว

.

เราต้องรู้ว่าทุกคนทำงานหนักแต่บางเรื่องถ้าไม่พูดอาจกลายเป็นเตี้ยอุ้มค่อม หัวหน้ามีหน้าที่การวางระบบงาน ช่วยแก้ปัญหา หาวิธีอันชาญฉลาดเพื่อให้ได้งานแต่ไม่ใช่ทำให้ ถ้าลูกน้องงานโหลดหัวหน้าต้องช่วยจัดการให้ได้ปริมาณงานที่ต้องการแต่ลูกน้องไม่รู้สึกแบกภาระจนเกินไป เช่น จัดเวร จัดระบบ ใช้เทคโนโลยี tools ต่างๆ อาจลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น แต่ปกติเราไม่ค่อยทบทวนว่าอะไรทำแล้วไม่เกิดประโยชน์ ด้วยความเคยชินที่ทำกันมา

เมื่อเราปฏิเสธหรือไม่ทำตาม กลายเป็นเราใจร้าย ไม่มีน้ำใจ ทำให้เรารู้สึกผิด เป็นทุกข์ จะทำยังไงดี ?

ครูเคท : จริงๆ ‘เกรงใจ’ คือนึกถึงคนอื่นเป็นหลัก แต่ ‘ความกลัว’ คือ เรานึกถึงตัวเองเป็นหลัก อีกอย่างที่เราคิดว่าความเกรงใจ แต่จริงๆ คือ ‘ไม่กล้าถาม’ เพราะเรากลัวเขาจะหาว่าเราไม่เข้าใจ คนที่ขี้เกรงใจมาก ๆ ต้องเข้าใจความคิดตัวเองก่อนว่ามีรากฐานมาจากอะไร เช่น มองว่าตัวเองด้อย ไม่เก่งพอ แนวโน้มจะไปทางกลัว แต่ถ้ามองเรื่องทำงานเป็นทีม สร้างงาน จะไปไหว้วานใคร อาจเป็นการมองด้วยความเกรงใจ

สำหรับใครที่มีความเครียด กดดันกับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องงาน เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือแม้แต่อยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง แล้วอยากพูดคุยกับครูเคท นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์จากแอปพลิเคชันอูก้า สามารถนัดเข้ามาพูดคุยได้เสมอ เพราะสุขภาพใจของพนักงานเป็นเรื่องสำคัญ แล้วพบกับใหม่กับ Clubhouse ของอูก้าสัปดาห์หน้า ฝากติดตามด้วยน้า


ช่วง Q & A

ถาม : ในขณะที่เวลาเราอยู่กับชาวต่างชาติ เขาก็มองว่าคนไทยขี้เกรงใจเกินไป ไม่ค่อยพูด ดูเราไม่ active หรือเปล่า ?

ครูเคท : คนไทยชอบคิดว่าภาษาเราสู้เขาไม่ได้ เพราะเราไปมองว่าภาษาสำคัญที่สุด ทำให้เราขาดความมั่นใจ แต่จริงๆ ประสบการณ์หรือความสามารถของเรานั้นมีนับไม่ถ้วน ลักษณะเด่นของเราคือ ‘ความละเอียดอ่อน’ ในการทำงาน แต่ติดที่เรา low self-efficiency คือไม่ได้เชื่อมั่นในความสามารถของตัวเองเท่าที่ควร การทำงานกับคนที่ assertive หรือสังคมต่างชาติ เราควรรู้จักตัวเองให้ดีโดยไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น เรามีทักษะอะไร เราชอบอะไร แล้วนำสิ่งนั้นไปต่อยอด ถ้าเราเริ่มเห็นพัฒนาการตัวเองเราจะมีกำลังใจ แต่ถ้าเราดูถูกตัวเองก็จะหมดความมั่นใจ

ถาม : มักได้รับมอบหมายงานที่ไม่อยากทำอยู่เสมอ เช่น งานส่วนกลาง งานที่คนอื่นไม่อยากทำ งานตกค้าง แต่เราอยากทำอะไรที่มีประโยชน์หรือต่อยอดได้มากกว่า

ครูเคท : เราไม่เห็นความสามารถของตัวเองอย่างที่ทุกคนเห็น เราเข้าใจว่างานนี้ให้คนอื่นทำก็ได้ แต่การที่ได้รับมอบหมาย อยากให้มองว่าผู้บริหารเขาเห็นความเป็นไปได้ของเรา เลยให้เราทำเพื่อนำมาต่อยอด การที่เราจะสร้างการเปลี่ยนแปลงเราต้องเข้าใจว่าหัวหน้าเห็นภาพเป็นแบบไหน เราเชื่อว่าทุกความคิดมีประโยชน์

ถาม : ทำงานอยู่ต่างประเทศ แล้วมีเพื่อนร่วมงานเป็นไบโพลาร์ เราทำงานแทนเขาตลอดเวลาเขาหยุดงาน แต่ถ้าเราทำพลาดเขาจะต่อว่า เหมือนเขาไม่ appreciate ในสิ่งเราทำเลย

ครูเคท :  ปัญหาส่วนตัวเขาค่อนข้างหนัก ถ้าเราต้องดีลด้วยอาจจะต้องหาทางให้เขาระบายความเครียดออกมาบ้าง ต้องเข้าใจว่าที่เขาเก็บตัวเพราะเขาไม่ได้ภูมิใจกับ background เท่าไหร่ เราอาสาช่วยคนอื่นอาจจะดีใจ แต่กรณีที่เขาเป็น toxic people ต่อว่าหรือโทษเวลาเราทำผิดพลาด ให้เราถอยออกมา เพราะเขาค่อนข้างมีอารมณ์ขึ้นลงและตีกรอบชัดเจน ถ้าใครทำงานด้วยวิธีที่แตกต่างออกไปเขาจะมีอารมณ์ทันที ลึกๆ เขาก็กังวล หวาดระแวง เราอาจรอให้เขามาขอความช่วยเหลือก่อน เขาจะได้ไม่รู้สึกว่าเราเข้าไปยุ่งกับชีวิตเขา อาจจะเปลี่ยนเป็นให้กำลังใจ ถามไถ่แทน หรือถามตรงๆ เลยว่า ‘จะให้ฉันทำอะไร ?’ ‘จะให้ฉันช่วยตรงไหน ?’

ถาม : เรามองว่าบางอย่างเราไม่ต้องใช้เวลากับมัน อยากให้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน

ครูเคท : การทำงานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้มันจะเกิดจากการที่เราเห็นภาพว่าจากข้างบน ข้างๆ และข้างล่าง อาจต้องถามตัวเองก่อนว่าเพราะเรามองจากมุมเดียวหรือเปล่า เราต้องเข้าใจคนทุก ๆ เลเวลก่อนถึงจะเปลี่ยนแปลงได้ เราขาดการสื่อสารกันในองค์กรหรือเปล่า อย่าให้งานติดตัวเรา ต่อไปให้พัฒนาระบบเพื่อที่จะให้คนอื่นมาแทนที่เราได้ การจะเติบโตในหน้าที่การได้คือการสร้างระบบให้คนรุ่นต่อไป แล้วเราจะได้ไปทำอย่างอื่นต่อในอนาคต

ถาม : ทำงานระดับผู้จัดการอยู่บริษัทแห่งหนึ่ง รู้สึกเกรงใจลูกน้องด้วยวัยที่ไม่ได้ต่างกันมาก ไม่กล้ามอบหมายงานเพราะกลัวเขามองเราเป็นหัวหน้าที่ไม่ดี สุดท้ายเลยรับมาทำเอง

ครูเคท : ในการทำงานเราต้องเข้าใจหมวกที่เราใส่ เราคือคนที่วางระบบการทำงาน คอยแก้ปัญหาให้ลูกน้อง อีกบทบาทคือ facilitator ช่วยให้เขาทำงานได้สะดวก เราเผลอเอาตัวเองไปเทียบกับคนอื่น หัวหน้ากับลูกน้องมี job description ที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ว่าใครเก่งกว่าใคร เวลางานเราเป็นมืออาชีพ นอกเวลางานเราเป็นพี่น้องกันได้ ทิ้งหัวโขนไปซะ หรือแม้แต่ให้ลูกน้องสอนงานเป็นบางครั้งก็ได้ในสิ่งที่เราไม่รู้

ถาม : แต่ก่อนเป็น perfectionism มาก แล้วค่อนข้างหงุดหงิดคนที่ทำงานช้า จนเจอ feedback ที่ไม่ดีจากรอบข้าง เลยพยายามเปลี่ยน mindset ตัวเองให้ผ่อนคลาย แต่ก็ยังกลัว feedback รอบข้างมากๆ เราแคร์คำพูดคนอื่นไปหมด

ครูเคท : ถามก่อนว่า ‘เราดุเพราะอะไร ?’ ความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นเราถึงดุคนอื่น คุณถูกขับเคลื่อนด้วยความกลัว 4 ประการ กลัวทำไม่เสร็จ กลัวทำผิด กลัวงานออกมาไม่ดี กลัวคนอื่นประเมินว่าเราไม่ดี แต่ไม่รู้ตัว สัญชาตญาณเลยทำให้เรากระแทกอารมณ์ใส่คนอื่นโดยไม่รู้ตัว ที่ตอนนี้เรารู้สึกว่าเราดีขึ้นจริง ๆ ข้างในเรายังกลัวเหมือนเดิม แค่เราถอดใจไม่ไหว้วานลูกน้อง แล้วเอางานมาทำเอง

คำแนะนำจากครูเคท

ครูเคท : วิธีแก้ไขความกลัวและวิตกกังวลที่ได้ผล ไม่ใช่บอก “ช่างมัน” แต่คือการมองความกลัวนั้นให้ชัด แล้วบอกว่า “it’s not that bad” แล้วถ้ากลัวเราก็ต้องปลอบใจตัวเอง อยากให้มองว่าปัญหามีไว้ให้แก้ และฉันสามารถแก้ได้ทุกปัญหา ทุกครั้งที่แก้ได้เราจะฉลาดขึ้น เราได้เรียนรู้ ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นก็ได้ อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง ลองมองเป็นการเรียนรู้เพื่อเติบโตแทน

Read More
คลับเฮ้าส์ โรคซึมเศร้า

Mindfully Dose #5 “สวัสดีซึมเศร้า” ฉันไหวอยู่…แต่ก็รู้สึก

โรคซึมเศร้าเรียกว่าเป็นโรคฮิตเลยก็ว่าได้ ใคร ๆ ก็บอกว่าฉันเครียด ฉัน sensitive ไปจนถึงฉันเป็นซึมเศร้า แต่จริงๆ เรารู้ได้ยังไงว่าเราเป็นโรคซึมเศร้า หรือเราควรต้องไปหาจิตแพทย์ได้แล้ว เราได้เจาะลึกโรคซึมเศร้าไปพร้อม ๆ กับพญ. ชัชชญา เพียรจงกล จิตแพทย์ทั่วไป จากแอปพลิเคชันอูก้า และแขกรับเชิญสุดพิเศษ คุณอแมนด้า ชาลิสา ออบดัม MUT 2020 ที่จะมาช่วยตอบคำถามเรื่องของสุขภาพจิต

โรคซึมเศร้าคืออะไร ?

คุณหมอ : ขึ้นชื่อว่า “โรค” ก็บ่งบอกว่าเป็นความผิดปกติทางการแพทย์ ส่งผลให้สารสื่อประสาทในสมองเปลี่ยนแปลงไป ทำให้อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม ไปจนถึงความจำของเราทำงานผิดปกติ กระทบกิจวัตรประจำวัน ทำอะไรต่าง ๆ ได้ไม่ดีเท่าเดิม ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อได้ ควรได้รับการดูแลรักษาเพื่อให้ทุเลาลง ซึ่งต่างจากความเศร้าทั่วไปที่หายดีด้วยตัวเองได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่เป็นอ่อนแอ ไม่สู้ แต่เขากำลังเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษา บางคนมีอารมณ์เศร้าจนไม่อยากมีชีวิตอยู่ สำคัญเลยคือสังเกตตัวเองได้ ทำแบบทดสอบได้ แต่ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเพื่อปรึกษา ประเมินและวินิจฉัย

จะสังเกตได้อาการของโรคซึมเศร้าได้อย่างไร แล้วรักษาให้หายขาดได้ไหม หรือสามารถหายแล้วกลับมาเป็นอีกได้หรือเปล่า ?

คุณหมอ : ลักษณะคือมีอารมณ์เศร้าเบื่อ เป็นทั้งวัน ติดต่อกันเกินสองสัปดาห์ มีความคิดลบมากขึ้น ส่วนใหญ่หากตรวจพบแล้วก็ทานยา พันธุกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถ่ายทอดโรคนี้ แต่พบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่ 80-90% มาจากสิ่งรอบตัว ความเครียดมากกว่า โรคซึมเศร้าหายได้แต่ต้องอาศัยหลายๆ อย่าง อาจจะกลับมาเป็นใหม่หรือเป็นต่อเนื่องก็ได้เหมือนกัน บางคนหายไปสองสามปีแล้วเป็นอีก บางคนก็หายไปสิบปีละกลับมาเป็นอีก ครั้งแรกอาจจะทานยาต่อ 6-9 เดือนหลังจากหายเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ แต่ถ้าเป็นซ้ำ ต่อไปอาจจะเรื้อรัง ทำให้ต้องรักษาหรือทานยานานกว่าเดิม สิ่งกระตุ้นคือความเครียด คนรอบข้าง การงาน การเงินหรือสิ่งแวดล้อม จริงๆแล้วปัจจัยเสี่ยงก็มาจากเรื่องใกล้ตัวคนไข้

Eating Disorder คืออะไร ?

คุณหมอ : Eating Disorder เกิดกับการรับรู้ของเราที่มักจะกังวลเรื่องรูปร่างเป็นพิเศษ มีความเชื่อผิดๆ ทำให้เกิดพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติไป เช่น อยากผอมมากๆ ไม่อยากทานอาหาร ไปจนถึงล้วงคอ บางเคสของคนที่เป็น ED พบโรคซึมเศร้าร่วมด้วยบ่อยมาก เพราะเราอยู่กับความทุกข์ใจมาเป็นเวลานาน

คุณอแมนด้า : เคยมีประสบการณ์ถูก body shaming ทำให้อยากลดน้ำหนัก เริ่มเข้ายิม มองอาหารเป็นศัตรู แล้วน้ำหนักก็ลดลงอย่างน่ากลัว แต่เรารู้สึกว่าลดเท่าไหร่ก็ไม่พอ มองในกระดูกที่โผล่ออกมายังไม่มากพอ มีอาการล้วงคอ ทานแล้วรู้สึกผิด เหมือนต่อสู้กับตัวเองตลอด ใจนึงก็บอกว่าต้องทาน แต่อีกใจก็อยากผอม ตอนนั้นคนรอบตัวสังเกตเห็นทำให้เรารู้สึกตัว เพื่อนถามว่า เราต้องการความช่วยเหลืออะไรไหม ? ตอนนั้นเราก็บอกว่าเราโอเค เหมือนลึกๆเรารู้ว่าเราไม่เหมือนเดิมแต่เราไม่อยากหาย เพราะถ้าหายเราจะไม่ผอมอย่างที่เราตั้ง goal ไว้

เข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างไร ? โรค ED สามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม ?

คุณอแมนด้า : ตอนนั้นเรากลับมาที่เมืองไทย ครอบครัวคอยให้กำลังใจเรา ไม่เคยใช้คำพูดที่ต่อว่าให้เราไปรักษาเลย เราก็เริ่มคิดได้ว่าคนรอบตัวรักเราขนาดนี้ เราต้องดูแลตัวเอง เราต้องหาย ใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะกลับมากินอาหารได้ปกติ เหมือนเราต้องสร้าง relationship กับอาหารใหม่ทุกครั้งที่เราตักข้าวเข้าปาก เราต้องต่อสู้กับความคิดของตัวเองตลอดเวลา แต่กำลังใจสำคัญมากๆ

คุณหมอ : โรคทางจิตเวชมีปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เราอาจรู้สึกหายขาดอยู่ช่วงเวลานึง แต่อาการก็อาจจะกลับมาได้ตลอดถ้ามีอะไรเข้ามากระทบ เพราะฉะนั้นเราต้องดูแลตัวเอง หมั่นสังเกต อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและคนรอบข้างก็อาจจะคอยช่วยเหลือด้วย

ในประเทศไทยคิดว่าคนเข้าใจเรื่องสุขภาพจิตมากน้อยแค่ไหน รวมถึงโรคซึมเศร้าด้วย ?

คุณอแมนด้า : โรคซึมเศร้าเป็นคำที่เราได้ยินบ่อย แต่คนส่วนใหญ่อาจยังไม่เข้าใจความหมาย ส่วนตัวเราไม่เคยเป็นโรคซึมเศร้า แต่จากประสบการณ์ของเรา ก็คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก สุขภาพจิตเป็นเรื่องกว้างมาก บางทีคนก็พูดไปในเชิงล้อเล่น

คุณหมอ : ปัจจุบันหมอรู้สึกว่าคนกล้าเข้ามาหามากขึ้น จำนวนคนมาโรงพยาบาลก็เยอะขึ้น หรือแม้แต่ในแอปฯ อูก้าก็ด้วย คิดว่าคนเริ่มเข้าใจมากขึ้นแล้ว จริงๆ สื่อมีส่วนช่วยในการสร้างความตระหนักมากเหมือนกัน

ในมุมของคนที่อยู่ท่ามกลางสื่อ เป็นจุดสนใจ มีความเครียดหรือรู้สึกกดดันมากกว่าคนทั่วไปไหม ?

คุณอแมนด้า : จริงๆ ด้ามองว่าทุกคนมีความเสี่ยงเท่ากัน เพราะทุกคนต่างต้องเจอแรงกดดัน อยากให้เอาแรงกดดันมาทำให้เป็นเรื่อง positive เราจะดูว่าหน้าที่ของเราความผิดชอบของเราคืออะไร ด้ามีสองวิธีด้วยกัน อย่างแรกโฟกัสที่เป้าหมาย เรารู้ว่าเรากำลังทำอะไร อย่างที่สองหา support system ที่ดี คนรอบข้างที่รักและเป็นกำลังใจให้เรา

ในฐานะคนใกล้ชิดคนที่เป็นโรคซึมเศร้า เราจะทำอย่างไร ? พฤติกรรมหรือคำพูดอะไรที่เราต้องระวังเป็นพิเศษ ?

คุณหมอ : ก่อนอื่นเราต้องพยายามทำความเข้าใจว่า เขากำลังคิดอะไร รู้สึกอะไรอยู่ แล้วก็รับฟังเขาอย่างไม่ตัดสิน อยู่ข้างๆ และเป็นกำลังใจให้เขา ส่วนคำพูดและการกระทำสำคัญที่ “เจตนา” ความตั้งใจและความหวังดีของเราจะทำให้เขารับรู้ได้ บางคนอาจจะหวังดีแต่พูดไม่เป็น หมอคิดว่าบางคำอาจจะไม่ดี เช่น บอกปัด ให้ไปเข้าวัดฟังธรรม ให้ปลง หรือบอกเขาว่า “เลิกเศร้าได้แล้ว อย่าคิดมาก” บางทีมันเป็นโรค เขาเลิกคิดไม่ได้ “ทำไมไม่หาย” “ทำไมเลิกคิดไม่ได้” จะทำให้เขารู้สึกไม่ดี

อย่างคำว่า “สู้ๆ” ทำไม่ควรใช้ ? เพราะเหมือนให้เขาสู้อยู่ลำพัง รู้สึกโดดเดี่ยว แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบางคน สำหรับคำนี้ บางคนก็รู้สึกว่าเพื่อนเป็นห่วง พูดได้ อีกอย่างที่ต้องระวัง คือ เรารู้สึกว่าเราพูดดีแล้ว ให้กำลังใจเต็มที่แล้ว แต่ด้วยโรคทำให้คนเป็นซึมเศร้าตีความไปทางลบได้ ซึ่งเราก็ไม่ได้พูดอะไรผิดเพียงแต่เขาไม่สามารถมองในทางบวกได้ อาจบอกเขาตรง ๆ ว่าเราเป็นห่วงและอยากให้เขาได้รับความช่วยเหลือ

Q&A

ถาม : ครอบครัวมีคนเป็น depression , anxiety , bipolar ในต่างประเทศการไปหาหมอหรือนักจิตฯ เป็นเรื่องปกติมาก อยากถามว่าในประเทศไทยมีการแยกชัดเจนไหมระหว่างหมอกับนักจิตฯ แล้วจะไปหานักจิตวิทยาที่ไหนดี ?

คุณหมอ : อย่างประเด็นแรกจิตแพทย์ต้องเรียนจบหมอ ต่อเฉพาะทาง จะสามารถจ่ายยาและทำจิตบำบัดได้ แต่ด้วยความที่ภาระงานเยอะ (ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล) ทำให้จิตแพทย์ไม่ค่อยมีเวลาทำจิตบำบัด ส่วนนักจิตวิทยาจะเชี่ยวชาญเรื่องการทำจิตบำบัดในรูปแบบต่าง ๆ ปกติแล้วหมอจะทำงานร่วมกับนักจิตวิทยา อ่านแฟ้มคนไข้จากนักจิตวิทยา มีการประสานงานกัน ทำ conference ร่วมกัน ขึ้นอยู่กับเคสด้วย จริงๆ ถ้าเทียบกับต่างประเทศต้องบอกว่าเราเข้าถึงจิตแพทย์และนักจิตวิทยาได้ง่ายกว่ามาก อย่างในแอปฯ อูก้าก็ถือว่ามีจำนวนเยอะมากๆ

ถาม : เราเคยคิดว่าพอเราเศร้าก็หายเศร้าสิ แต่จริงๆเราเข้าใจผิด เราเริ่มมาศึกษาและสนใจเรื่องนี้ มันจะเป็นไปได้ไหมที่จะมี platform ทำให้เรื่องสุขภาพจิตเข้าถึงได้กับทุกคน มีการวางแผนหรือจะทำอะไรในอนาคตได้บ้างเพื่อทุกคนเห็นความสำคัญเรื่องนี้?

คุณอิ๊กตอบ : คนไทยส่วนใหญ่กังวลเรื่อง stigma การถูกอคติว่าเป็น “โรคจิต” กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวด้วย คำถามนี้คือเหตุผลที่เราก่อตั้งอูก้าขึ้นมาเลย เราเองก็เป็นคนที่ป่วยเหมือนกันตั้งแต่อายุ 15 แต่กว่าจะกล้ายอมรับและไปหาหมอต้องใช้เวลานานเกือบสิบปี โรงพยาบาลทั่วไปเองก็มีความลำบากในการรักษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็มีน้อย เราเลยอยากจะเปลี่ยนแปลงให้เรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญที่พูดถึงได้ อยากให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาที่ไหนก็ได้ที่เขารู้สึกปลอดภัย อูก้าอยากช่วยทำลายกำแพงตรงนี้ คิดว่าทุกคนสามารถแบ่งเบากันได้ ช่วยกันได้ ลุกขึ้นมาช่วยสนับสนุน นอกจากนี้เราก็มีโครงการ wall of sharing ที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย มุ่งเน้นช่วยนักศึกษาให้ได้พบจิตแพทย์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถาบันใดๆ นักศึกษาทุกมหาวิทยาลัยสามารถใช้บริการได้

คุณหมอ : platform ที่เพิ่มขึ้นมาช่วยได้มาก เพราะมีคนไข้ที่ไม่กล้าเดินไปหาหมอใช้บริการค่อนข้างเยอะเลย ทำให้เขามีพื้นที่จัดการความเครียด เพราะบางคนไม่ได้เป็นซึมเศร้า แต่หาทางจัดการความเครียดไม่ได้ ต้องการความช่วยเหลือ อย่างการพบจิตแพทย์ต่างประเทศก็ยากมาก ทำให้การหาหมออนไลน์ช่วยได้มากเลย เพราะการไปโรงพยาบาลอาจจะต้องบอกว่าจำนวนหมอกับคนไข้ไม่ค่อยสัมพันธ์กัน

ถาม : เราป่วยเป็นไบโพลาร์ ช่วงที่ดาวน์มากแบบติดเตียง ควรดึงอารมณ์ตัวเองกลับมายังไงดี ?

คุณหมอ : อย่างแรกคือ สังเกตอารมณ์เราให้บ่อยมากขึ้น ลองให้คะแนน 1-10 เมื่อรู้ว่าดาวน์มากขึ้น ให้พยายามกลับมาอยู่กับปัจจุบัน หาอะไรช่วยเบี่ยงเบนเรา แม้เราจะเบื่อหน่ายจนไม่อยากทำ แต่ดีกว่าปล่อยให้ตัวเองดิ่งลงไป หรือหาใครสักคนคุยด้วย อยู่ข้างๆ เพื่อดึงความสนใจ อย่าปล่อยให้เราดาวน์มากๆ แล้วค่อยเบี่ยงเบน ต้องดึงตัวเองตั้งแต่ระดับต้นๆ เข้าใจว่าอาจจะยาก แต่ต้องฝึกเรื่อยๆ

ถาม : เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น MDD และ PTSD อยากทราบว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะดีขึ้นหรือกลับมาเป็นเหมือนเดิม ?

คุณหมอ : ปกติจะเน้นการพูดคุยทำจิตบำบัดและใช้ยาร่วมด้วย จิตแพทย์และนักจิตฯ สามารถช่วยได้ค่ะ อาจจะกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนไม่ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละเคส ถ้าเป็นสองโรคร่วมกันอาจใช้เวลานานขึ้นในการรักษา แต่ถ้ารักษาอย่างต่อเนื่องสามารถหายได้แน่นอน

ถาม : มีโรคทางจิตเวช แต่อยากประกอบอาชีพทางจิตวิทยา สามารถทำได้ไหม ?

คุณหมอ : ไม่ได้มีข้อห้าม สามารถเรียนเพื่อเป็นจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาได้ แต่ข้อควรระวังคือใจเราต้องพร้อม เพราะในการทำงานหรือว่าให้คำปรึกษา เราอาจจะซึมซับอารมณ์ความรู้สึกของคนไข้มา ด้วยความ sensitive หรือรู้สึกเปราะบาง ซึ่งทำให้ใจเราไม่พร้อมที่จะรับปัญหาหนักๆ แต่ถ้ารักษาให้หายดีน่าจะพร้อมมากขึ้น จะทำให้เราแยกแยะอารมณ์ได้

ถาม : โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) มีอาการ เช่น กังวลว่าลืมปิดแก็ส ขับรถกลับไปดู ห้ามความคิดไม่ได้ แต่ไม่กล้าไปพบหมอเพราะกลัวมีประวัติ เลยใช้วิธีอ่านหนังสือ ศึกษาและพยายามดูแลตัวเอง

คุณหมอ : สำหรับคนที่กำลังฟังอยู่ ถ้ามีอาการคล้ายกัน แนะนำทำพฤติกรรมบำบัดและทานยา ควรรีบไปพบจิตแพทย์รักษา อย่าปล่อยไว้แล้วคิดว่าไม่เป็นอะไร ถ้ารักษาอย่างเหมาะสมจะหายเร็วขึ้น

ถาม : เวลาที่เราได้เจอคนหรือได้ยินคนพูดเรื่องไปโรงพยาบาล พบจิตแพทย์ เป็นโรคนี้อยู่ เราควร ตอบสนองยังไงถึงจะเหมาะสม ? แล้วเวลาเพื่อนไม่สบายใจ ถ้าเรารับฟังไม่ไหวจะบอกให้เพื่อนไปหาจิตแพทย์ยังไงดี ?

คุณหมอ : หลักๆ คือ รับฟัง แสดงความเห็นอกเห็นใจได้ แต่ไม่มากเกินไป คิดกลับว่าถ้าเป็นตัวเรา เราอยากได้กำลังใจประมาณไหนที่จะทำให้รู้สึกดี เราก็ทำกับเพื่อนแบบนั้น ส่วนเพื่อนเราอาจจะบอกว่ามีอะไรให้ช่วยก็บอกนะ ถ้าเรามีอารมณ์ร่วมมากไปก็อาจจะทุกข์ไปด้วย ลองถอยออกมานิดนึง ถ้าเขาต่อต้านการไปหาหมอก็อาจจะบังคับได้ยาก แต่เราช่วยเขาได้เท่าที่เราไหว เต็มที่แล้ว ไม่ต้องรู้สึกผิด

ถาม : เราเป็น PTSD มา 4-5 ปี แล้ว ปลายปีที่ผ่านมาแม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ แล้วต้องอยู่ด้วยกันทุกวัน ทั้งวัน เรารู้ว่าเราเป็น trigger ของแม่ ถ้าเขารู้สึกว่าเราไม่รักก็จะน้อยใจรุนแรง จะทำยังไงให้เป็นผู้ฟังที่ดีแต่ไม่ให้เราดาวน์ไปมากกว่าที่เป็นอยู่ ?

คุณหมอ : อยากให้บอกแม่ว่าจริงๆ เรารู้สึกยังไง ปรับที่ “การสื่อสาร” แน่นอนว่ารักและเป็นห่วง หมอรู้สึกว่าแม่คงน้อยใจเหมือนกัน แล้วอยากให้กลับมาดูแลจิตใจตัวเองด้วย พยายามเลี่ยงออกมาเวลาที่มีอารมณ์กันทั้งคู่ เราจะได้ไม่แสดงอารมณ์ออกไป แม่ก็จะได้ไม่เสียใจ

Read More
คลับเฮ้าส์ สุขภาพจิต ปรึกษาจิตแพทย์

Mindfully@work #4 “ผู้นำแบบไหนที่ดีต่อใจลูกน้อง”

สรุปเนื้อหาจาก Mindfully @work #4 “ผู้นำแบบไหนที่ดีต่อใจลูกน้อง” by OOCA และครูเคท นักจิตวิทยาการปรึกษา

เรื่องกวนใจวัยทำงานวันนี้คือความสัมพันธ์ของเจ้านายกับลูกน้อง ปัญหาคลาสสิกในองค์กรส่วนใหญ่ ความเครียดในที่ทำงานล้วนมาจากการสื่อสารที่ไม่ตรงกัน แล้วผู้นำที่ดี ที่ลูกน้องจะรักควรเป็นอย่างไร ? ลูกน้องเคยเข้าใจภาระที่ผู้นำแบกไว้หรือเปล่า ? แล้วความเครียดที่ลูกน้องเผชิญจะแก้ไขได้อย่างไร ? เราเลยเชิญครูเคท ดร. เนตรปรียา ชุมไชโย นักจิตวิทยาการปรึกษา เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาองค์กร ความสัมพันธ์และครอบครัว ที่มีประสบการณ์ทำงานทั้งในระบบราชการและเอกชน จนปัจจุบันเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว เกี่ยวกับด้านการพัฒนาธุรกิจและทรัพยากรมนุษย์

เปรียบเทียบง่าย ๆ ครูเคทให้เรามองย้อนกลับไปในวัยที่เรามีครูในดวงใจ ครูใจดีเด็กส่วนใหญ่ก็ชอบ แต่บางทีเด็กซน ๆ กลับถูกจริตกับครูโหด ๆ ฉะนั้นผู้นำแต่ละแบบก็มีทั้งคนรักและคนเกลียด การจะเจอหัวหน้าดีหรือมีลูกน้องดีเลยยากยิ่งกว่าถูกหวย หัวหน้ามักบ่นว่าลูกน้องไม่ทำตาม บอกอะไรก็ไม่ทำ ลูกน้องเองก็รู้สึกว่าเจ้านายมีอคติ ไม่ชอบเรา ปรึกษาอะไรก็ไม่ช่วย บอกให้ไปหาทำเอง กลายเป็นความสัมพันธ์ที่ห่างเหินกัน เลี่ยงได้เป็นดี

ก่อนอื่นในองค์กรส่วนใหญ่ต้องบอกว่าอย่างต่ำก็มีคน 3 Generation อยู่ด้วยกัน เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจและเคารพความแตกต่าง ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง คำว่า “พี่อาบน้ำร้อนมาก่อน” อาจจะใช้ไม่ได้แล้ว เราต้องรู้จัปรับ mindset ให้เข้ากับยุคสมัยและปรับความเข้าใจให้เข้าถึงคนอีกกลุ่ม ในขณะที่คนรุ่น Gen X เขาโตมาแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนเร็วเพียงแค่พลิกฝ่ามือ เราต้องลด “อัตตา” หรืออีโก้ของตัวเองลง

ผู้บริหารหรือหัวหน้าที่เป็น Gen X ต้องปรับตัวเพราะพนักงานส่วนใหญ่เป็น Gen y และเริ่มมี Gen z เข้ามาแล้ว ซึ่งเป็นวัยที่เติบโตมาโดยอยู่กับ social network และเครื่องมือสื่อสารตลอดเวลา ปัญหาเรื่อง “Generation gap” เป็นเรื่องสำคัญ วิธีการทำงานและการใช้ชีวิตต่างกันมาก เช่น Gen X มีลักษณะการทำงานแบบถึงลูกถึงคน ทำอะไรต้องเจอหน้ากัน เน้นประชุมเน้นอภิปรายรายงานผล มีลำดับขั้นตอนเยอะไปหมด ในขณะที่ Gen Y ชอบความชัดเจนรวดเร็ว ไม่ชอบนั่งฟังอะไรยาวๆ ไปนั่งคิดตกผลึกแล้วพูดข้อสรุปก็พอ หมดเวลางานคือกลับบ้าน ไม่จำเป็นต้องอยู่ดึกดื่น เรื่องพวกนี้หากไม่พยายามปรับเข้าหากันจะทำให้เกิดความขัดแย้งได้ง่าย

ทั้งนี้ความเครียดที่เกิดก็มาจาก “ความคิด” ของเรา ซึ่งความเครียดในระดับพอดี จะทำให้เรา productive เจ้านายเลยรู้สึกว่าต้องสร้างความเครียดเล็กๆ บ้าง แต่บ่อยครั้งเผลอใส่ความเครียดลงไปมากเกิน จนลูกน้องรับไม่ไหว วิธีแก้คือ “กดดันได้แต่ต้องดูบรรยากาศด้วย” ตอนนี้ในทีมงานหนักไหม ? บรรยากาศแย่หรือเปล่า ? ถ้าทุกคนยุ่งหัวหมุนแล้วไปเร่งซ้ำ จะตึงเกินไป ลูกน้องยิ่งทำยิ่งผิด เจ้านายต้องคำนึงว่า “การรับมือกับความเครียด” ของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนเจองานเครียดแล้วสู้ตาย บางคนท้อแท้หมดกำลัง ยอมแพ้เจ้านายเอาไปทำเองแล้วกันก็มี

ในมุมครูเคทบอกว่า “เจ้านายที่ดีควรมี ‘อัตตา’ กำลังดี ลดอีโก้ลง ต้องเห็นว่าตัวฉันล้มเหลวได้ ผิดพลาดได้” สิ่งไหนควรเป็นผู้นำก็นำ อันไหนควรให้ลูกน้องสอนก็รับฟัง ในขณะที่เจ้านายส่วนใหญ่ชอบยึดติดกับประสบการณ์หรือวิธีการทำงานของตัวเอง เคยทำแบบนี้ ต้องทำเหมือนเดิมเท่านั้น แต่คนเราส่วนใหญ่ก็หมกมุ่นกับตัวเองนี่แหละ ไม่ว่าจะเจ้านายหรือลูกน้อง ต่างยึดอัตตาตัวเองเป็นหลัก

เคล็บลับสำหรับผู้นำหรือหัวหน้างาน ครูเคทแนะนำว่า “ให้ส่องกระจก” กระจกที่ว่าคือ “คนรอบตัว” เขาจะสะท้อนว่าตัวเราเป็นยังไง เมื่อเรามีสติ เราจะค้นพบตัวเอง ตอนเป็นคนทำงานแล้วขึ้นมาเป็นเจ้านาย เราทำงานเก่งและรวดเร็ว เราไม่รู้ตัวเลยว่าเผลอทำให้คนอื่นกดดัน ในขณะที่เจ้านายมองตัวเองเป็นนางฟ้า ลูกน้องอาจเห็นว่าเป็นนางร้าย ซึ่งข้างในลึกๆ เราอาจจะมี “ความกลัว” กลัวงานไม่เสร็จ กลัวงานผิดพลาด ตอนที่พูดคุยกับลูกน้องความเครียดมันดันเกิด ทำให้เรากดดันลูกน้อง ถ่ายเทความเครียดความกลัวไปให้ สุดท้ายลูกน้องก็เหินห่างออกไป

หลักๆ เลย “ยิ่งกระจกสะท้อนเยอะเท่าไหร่ เรายิ่งมีสติ รู้สึกตัว” แต่ส่วนใหญ่ระดับหัวหน้ามักจะไม่เห็นตัวเอง มักใช้เหตุและผล มีข้ออ้างเป็นกลไกปกป้องตัวเอง ให้พยายามสังเกตและมองกลับว่า “ลูกน้องเห็นอะไรในตัวเรา จึงมีพฤติกรรมอย่างนั้น ?”

Q&A

1. ถ้าลูกน้องอยากลาออกจากงานเพราะหัวหน้า แต่ก็ลาออกไม่ได้ จะปรับตัวอย่างไรให้สามารถทำงานต่อไปได้โดยที่ใจไม่พัง ?

ถ้าเราเข้าใจว่าทำไมเขาเป็นคนไม่น่ารัก เราจะแก้ปัญหาได้ ยกตัวอย่างเจ้านายที่พูดไม่รักษาน้ำใจ ก็เพราะเขาเป็นคนบ้างาน ถูกขับเคลื่อนด้วยความคิด “เดี๋ยวไม่ดี ไม่เสร็จ ไม่ถูกต้อง” ความกลัวของเจ้านายที่ถูกสะกิดเลยกระแทกความโกรธออกมาเพื่อปิดความรู้สึกกลัวอันนั้น วิธีแก้คือถ้าเจ้านายร้อน ให้เราตอบรับ “ค่ะ/ครับ” ไว้ก่อน ค่อยๆ พูด อาจถาม “งั้นทำแบบนี้ดีไหมคะ?” ไม่ควรเถียงกลับ เหตุผลของลูกน้องก็มาจากมุมของลูกน้อง เจ้านายก็มีเหตุผลของเขา อย่าเทน้ำมันราดเข้ากองไฟ พยายามผ่อนหนักผ่อนเบา ตามอารมณ์ไปก่อน ใจเย็นแล้วค่อยคุยกัน

2. มีคำแนะนำอย่างไรสำหรับเจ้านายที่อีโก้สูง ยืนกรานจะสอนลูกน้องด้วยวิธีที่ตัวเองคิดว่าถูกเพราะ “นี่เป็นวิธีของฉัน” ?

เคยมีผู้ใหญ่กล่าวว่าเวลาที่เรามีลูกน้องอย่าเอาแต่สั่ง ตัวเราต้องเข้าใจงานทุกขั้นตอน แล้วดูด้วยว่าลูกน้องเราเป็นแบบไหน ง่ายๆ แบ่งลูกน้องเป็น “บัวสี่เหล่า” บัวเหล่าที่หนึ่ง ใกล้จะเบ่งบานโผล่พ้นน้ำ คือลูกน้องที่ฉลาดอยู่แล้ว สอนนิดเดียวได้ พูดไม่ต้องเยอะ บัวเหล่าที่สอง ก็เก่งอยู่แล้วแต่ยังอ่อนประสบการณ์อ่อนวัย อาจจะต้องสอนสักเล็กน้อย บอกว่าเป็นไกด์ว่าเราอยากได้อะไร แต่ไม่ต้องถึงขั้นบอกว่าทำยังไง เหล่าที่สาม ประเภทนี้ก็เป็นพนักงานที่ดี แต่ขนาดความเชื่อมั่นในตัวเอง อาจจะมีไอเดียดีแต่ไม่กล้าพูด เวลาอธิบายงานหัวหน้าต้องชัดเจน ให้ลูกน้องเสนอก่อน แล้วเราก็บอกวิธีที่เราอยากทำ ไม่ตัดสินแต่แรกว่าความคิดเขาผิด เป็นการเปิดโอกาสให้เขาคิด จากนั้นให้เขาไปต่อยอดจากความคิดเราและเขา และบัวเหล่าสุดท้าย ไม่ใช่คนเลวร้าย แต่ไม่เชื่อมั่นในตัวเองอย่างรุนแรง หรือไม่เก่งอย่างแรง อาจจะออกนอกทางไปบ้าง ให้ใช้วิธี “น้องช่วยพี่ดูหน่อยสิ ทำแบบนี้ดีไหม” “น้องว่ายังไง” “น้องช่วยพี่ทำอันนี้นะมีสิบขั้น แต่วันนี้น้องไปทำอย่างที่หนึ่งก่อน แล้วถ้าทำไม่ได้วิ่งมาหาพี่” ผู้บริหารที่ดีต้องเก่งทั้งงาน ทั้งคน ลูกน้องมี 10 แบบ ก็ต้องมี 10 วิธีในการดีลงาน

3. ปัญหาที่ได้ยินบ่อยคือลูกน้องนินทาเจ้านาย เพราะเป็นการระบายความเครียดกับเพื่อนร่วมงาน คิดว่าเป็นเพราะอะไรคะ ?

ปัญหาคลาสสิกที่เกิดจากมุมมองที่ต่างกัน ที่เลือกเล่าให้เพื่อนร่วมงานฟังเพราะเป็นแวดวงเดียวกัน พูดไปก็รู้ว่าพูดถึงใคร ถ้ามองในแง่ร้ายคนที่ชอบนินทาคนอื่นแปลว่า “อิจฉา” หรือ “หมั่นไส้” แต่ถ้ามองในแง่ดีคือลูกน้องยังคิดถึง อาจเป็นเพราะ “เขาอยากเข้าใจคนๆ นั้นให้ดีกว่านี้” แม้แต่เพื่อนร่วมงานที่แปลกๆ บางทีเราก็นินทาเพราะเราเข้าไม่ถึงเขา แต่เราอยากจะเข้าใจเลยเอาเขามาเป็น topic ในการสนทนา จะแบ่งแยกว่านินทาหรือพูดถึงไม่มีตัวแบ่งแยกชัดเจน แต่เราสนทนาเพื่ออะไร ? ถ้าอยากให้เปลี่ยนแปลงก็เพราะว่าหวังดี ถ้าทับถม ออกอรรถรส ไม่น่าใช้วัตถุประสงค์เชิงบวก

4. ถ้าในที่ทำงานมีการสร้างเรื่องนินทาปล่อยข่าวเท็จ มีลูกน้องประเภทบ่างช่างยุ จนเกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวกในองค์กร ทำให้คนทะเลาะกัน เราเป็นคนที่ต้องดูแลพนักงานจะต้องทำยังไง ?

ต้องเข้าใจว่า “การนินทา” มีอยู่ทุกที่ พนักงานบางคนรู้สึกว่าไม่มีใครสนใจ low self-esteem เกลียดแต่ไม่กล้าเผชิญหน้าเลยสร้างประเด็นขึ้นมา ให้เราพยายามทำตัวเป็นนักสืบ แล้วยิ่งคำถามให้ฉุกคิด “ทำไมเรื่องเป็นแบบนั้นล่ะ?” เราเป็นหัวหน้าเราควรลงไปทุกกลุ่ม แทรกซึมไปฟังทุกกลุ่มจะได้รู้ปัญหา เขาขัดแย้งกันเพราะอะไร ? แต่อย่าร่วมนินทา เราจะเริ่มเข้าใจและมองเห็นว่าแต่ละกลุ่มมองยังไง บางทีเราได้ฟังแล้วอาจจะรู้ว่าตัวเองตีความผิดไป ไม่ได้มองมุมอื่น ถ้าเข้าร่วมไม่ได้ต้องกลับมามองเราที่เป็นหัวหน้า เรามี “อัตตา” มากไปหรือเปล่า ส่วนใหญ่หัวหน้าใช้การสื่อสารแบบสั่งกับสอน แต่จริงๆ เราต้องมีสามแบบ คือ 1) เป็น parent แบบสั่งสอน 2) companion คือสื่อสารแบบเพื่อน คุยเล่นบ้าง และ 3) แบบ child คือเป็นเด็ก มีพลาด มีหลุดบ้าง หากเราใช้การสื่อสารทั้ง 3 แบบตามวาระโอกาสก็จะสามารถเข้าถึงลูกน้องได้

5. หัวหน้าไม่ค่อย open mind กับความคิดของลูกน้อง เพราะเขามีสิ่งที่อยากให้เราทำอยู่แล้ว เวลาเราเสนอเขารู้สึกว่าเราท้าทายหรือหักหน้าเขา แต่เราแค่มั่นใจในความคิดของเราที่ทำการบ้านมาแล้ว

หัวหน้าอาจจะมีอีโก้สูง เมื่อเราไปบอกเขาว่าเราไม่เห็นด้วย เขาจะรู้สึกว่า “เราพยายามสอนจระเข้ว่ายน้ำ” ให้ใช้เทคนิค “ยัดคำพูดใส่ปากเขา” วิธีคือทำให้เขาพูดออกมาจากปาก แล้วเขาจะทำตามนั้น เริ่มด้วยเดินไปทางเดียวกับเขาก่อน แล้วค่อยๆ ตะล่อมเขา

เพิ่งขึ้นมาเป็นหัวหน้าเลยสับสนในการบริหาร การเชื่อมต่อกับลูกน้อง เพราะในทีมมีทั้งคนที่อายุมากและอายุน้อยกว่าเราซึ่งต่างก็เป็นบัวสี่เหล่า จะทำอย่างไรดีถึงจะดูแลทุกคนได้ ?

ปัญหาคืออะไร ? ลงไปแฝงตัวว่าที่มันปั่นป่วนเกิดจากอะไร ลองเปลี่ยนเขาจากตำแหน่งไม่สำคัญให้กลายเป็นคนสำคัญ พนักงานมักสงสัยว่า “ฉันมีความสำคัญอย่างไรในองค์กร” ถ้าเห็นว่าตัวเองสำคัญเขาจะทำ ต้องหา “success DNA” ของพนักงานให้เจอ

6. ถ้าลูกน้องไม่ศรัทธาในตัวหัวหน้าแล้ว แต่ต้องอยู่กันต่อไปจะทำอย่างไร ? มีวิธีที่ทำให้กลับมาศรัทธาไหม ?

หัวหน้าต้องส่องกระจกก่อนเลย อะไรทำให้เขาหมดศรัทธา ? อย่าเพิ่งโทษว่า “ลูกน้องไม่เห็นหัว” เลิกวางมาด แล้วเปิดใจ “เราเรียนรู้จากลูกน้องได้” การพูดคุยฟังความรู้สึกซึ่งกันและกันสำคัญมาก นอกจากนี้คือ “ความรับผิดชอบ” ลูกน้องทำผิด เราผิดด้วย เราต้องรับหน้าแล้วหาทางออกไปด้วยกัน อยู่เคียงข้างแต่ไม่ใช่ตามใจ

7. ในมุมของ partner ที่ทำธุรกิจร่วมกัน ถ้าเราไม่เชื่อใจ คิดเห็นไม่ตรงกันในเรื่องทัศนคติ จะปรับจูนยังไง ?

เพราะมองคนละมุม ที่สำคัญต้องเคารพความคิดของคนทุกคน เพราะมันเกิดจากสิ่งที่เขาคิดและเห็น ณ ขณะนั้น แต่คนสมัยนี้ไม่ค่อยเคารพกันเพราะเห็นมุมเดียวแล้วเชื่อว่าสิ่งนั้นถูก อย่า fixed mindset พอเขาเปลี่ยนก็อย่าทับถมว่า “บอกแล้วไม่เชื่อ” มันเป็นเรื่อง perception ของแต่ละคน

8. กรณีที่หัวหน้าเรามีอีโก้ เขาเริ่มออกหน้าว่าสิ่งที่เราคิดเป็นผลงานของตัวเอง ทั้งที่จริงๆ เป็นความคิดของเรา

เรากำลังมองเรื่องการแพ้ชนะมากไป อยากให้มองว่านี่คือ “การทำงานเป็นทีม” พอนายเอาไปเสนอได้หน้าได้ตาก็เป็นความเลวร้ายของเจ้านาย เขารู้อยู่เต็มอก หัวหน้าที่ดีต้องได้หน้าทั้งทีม แต่จริงๆ นายที่อยู่เหนือกว่าเขารู้ดี ถามก่อนว่า “ความก้าวหน้า” เป็นแบบไหน ? อยากให้จำไว้ว่าผู้ชนะที่แท้จริงคือเรา

9. ถ้าเกิด sexual harassment ในองค์กร โดยที่คนทำเป็นคนระดับสูงในองค์กร มีการให้อภัยกันแต่มองหน้ากันไม่ติด ต้องทำยังไง ?

ในองค์กรอาจใช้การ rotate เปลี่ยนไปไม่เจอหน้ากัน โดยปกติกลุ่มที่มักเป็นเหยี่อมีลักษณะเฉพาะคือ ไม่เป็นพวกอ่อนไปเลย ก็คือพวกที่แข็งไปเลย ในขณะที่คนที่ดูกลางๆ จะเอาตัวรอดเก่ง อย่างไรก็ตามทำดำเนินการลงโทษกับคนทำ ห้ามยอม เพราะจะเสื่อมความศรัทธาทั้งองค์กร ภาพลักษณ์ของผู้บริหารระดับสูงไปก็เสียไปด้วย

10. หัวหน้าบอกว่าเราขาดทักษะ เราคิดว่าการเสริมแรงที่ดีควรเพิ่มแรงให้กับคนที่ไม่ active แต่บริษัทพิจารณาลดตำแหน่งและลดเงินเดือน รู้สึกไม่ดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะเราก็ทำเต็มที่แล้ว ?

แล้วแต่กรณีบริษัทอาจจะไม่มีงบประมาณหรือไม่มีเวลาสอนงาน หากมองเรื่องถูกตัดสินเราคงท้อใจหมดกำลังใจ แต่ถ้าเรามองว่าเป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ ตำแหน่งใหม่ เราอาจจะมีกำลังใจมากขึ้น อยากให้ “ให้โอกาสตัวเอง” ว่าเราอาจจะเจอความสามารถใหม่ของเรา ถ้าเรามีความรู้ความสามารถมากเท่าไหร่เรายิ่งเป็น asset สำคัญขององค์กร

โปรโมทน้องให้เลื่อนตำแหน่ง แต่พอทำไปไม่นานน้องขอกลับไปตำแหน่งเดิม พยายามคุยแล้วแต่ลูกน้องไม่มีความสุข คนอื่นในทีมก็ไม่เคารพน้องคนนี้ ทำให้เขาเครียด จะทำอย่างไรดี ?

ลูกน้องแบบนี้มักทำงานเก่งแต่รู้สึกตัวเองไม่ดีพอและพยายามกดตัวเองไว้ เทคนิคคือการชม แบบ deep ลงไปในรายละเอียด “ชอบอะไรในตัวเขา” พยายาม motivation เขาต่อ เขาไม่กล้าพูดไม่ดีกับลูกน้อง ทำให้โทษตัวเองตลอด ต้องมีหลักฐานมาชม เพราะคนกลุ่มนี้พร้อมกดตัวเองลงไปเสมอ “เก่งแต่รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง” กระตุ้น self-esteem เยอะ ๆ

หวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้และนำเทคนิคดีๆ จากครูเคท ไปปรับใช้กับการทำงานในองค์กรกันนะคะ

ขอขอบคุณ

ครูเคท ดร. เนตรปรียา ชุมไชโย นักจิตวิทยาการปรึกษา เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาองค์กร ความสัมพันธ์และครอบครัว

Read More
คลับเฮ้าส์ สุขภาพจิต ปรึกษาจิตแพทย์

Mindfully Dose #3 บ้านแตกเพราะเห็นต่าง ทางการเมือง…ทำยังไงดี ?

สรุปเนื้อหาจาก Clubhouse เมื่อวานนี้ Mindfully dose #3 “บ้านแตกเพราะเห็นต่างทางการเมือง…ทำยังไงดี ?” by ooca และอาจารย์ปาริชาต สุขศรีวงษ์ กับ อาจารย์อัจฉรา ปัญญามานะ

แม้ช่วงนี้จะดูเหมือนว่าการเมืองเข้มข้มพอสมควร แต่จริงๆ แล้วต้องบอกว่าคนไทยอยู่กับเรื่องนี้มานานมากๆ เราต่อสู้เพื่ออะไรหลายๆ อย่างมาตลอด ซึ่งอาจจะเห็นได้ชัดว่าตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาคนไทยหลายกลุ่มมีความเห็นต่าง ไม่ว่าจะเพราะเราตระหนักและกล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้นหรืออะไรก็ตาม แต่หลายคนได้รับผลกระทบทั้งในเรื่องความสัมพันธ์ กลายเป็นความเครียดที่สะสมและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพใจได้

.

อย่างในปัจจุบันอาจารย์อัจฉราได้แบ่งปันว่าอายุน้อยที่สุดที่เจอว่าสนใจเรื่องการเมือง คือป.3 สิ่งที่เกิดขึ้นคือครูบางคนแสดงออกไม่ดีกับเด็ก เช่น บอกว่าไม่ใช่เรื่องของเด็ก ส่วนผู้ปกครองก็พยายามห้ามปราม แม้แต่ป.6 ก็เริ่มมีการตั้งกลุ่มกันคุยเรื่องการเมืองแล้ว เรียกว่าวัยไหนก็สามารถเข้าถึงสื่อและมีความคิดเห็นทางการเมืองได้

.

สาเหตุที่เรามีความคิดเห็นไม่ตรงกันเป็นเพราะอะไร ? แล้วเราจะทำความเข้าใจกับเรื่องพวกนี้ได้อย่างไร ?

อ.อัจฉรา: ส่วนหนึ่งอาจมาจาก relationship ที่มีมาอยู่ก่อนนอกจากเรื่องการเมือง ความสัมพันธ์นั้น healthy หรือเปล่า หรือเปราะบางระหองระแหงอยู่แล้ว หากไม่ได้สื่อสารเพื่อทำความเข้าใจ แต่สื่อสารเพื่อเอาชนะ ถกเถียงจะทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข นำไปสู่ความเครียด อึดอัด ขับข้องใจ ถ้าเราพูดคุยบน emotional ทำให้อารมณ์นำ เริ่มขึ้นเสียง ใช้ภาษาไม่เหมาะสม นำไปสู่การทะเลาะ ทัศนคติเป็นตัวกำหนด โดยเฉพาะภาษากาย เช่น เบะปากมองบน คนที่ไม่เข้าใจอาจมองว่ามีการปะทะหรือเหยียดหยามเกิดขึ้น ควรแยกอารมณ์ออกจากความรัก ความคิด ทัศนคติที่ต่างจากเรา ถ้าเรายอมรับได้ทุกอย่างก็ดีขึ้น

อ.ปาริชาติ: ถ้าเราอยู่บนความต่างแต่เราเข้าใจและรับฟังก็อยู่ด้วยกันได้ “ยอมรับแม้เราไม่ชอบ” ไม่ว่าจะเรื่องการเมืองหรือเรื่องอะไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนกัน แต่หลายคนไม่สามารถเข้าใจกันได้ก็นำไปสู่การเลิกราหรือแยกย้ายในที่สุด

บางคนขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นทะเลาะกันบ้านแตก unfriend ตัดขาดกัน ทำไมเราถึงมองว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญมาก ?

อ.อัจฉรา: สำคัญเพราะมันเกิดจากความคาดหวังของเราเป็นหลัก ยิ่งคนใกล้ตัวเท่าไหร่ เป็นครอบครัวหรือคนรัก เรายิ่งต้องการการยอมรับ อยากให้เค้าคิดเหมือนเรา ยอมรับเรา เพราะเราอยากรู้สึกปลอดภัยในพื้นที่ของตัวเอง โดยเฉพาะสิ่งที่เราให้คุณค่าแล้วเราเชื่อว่าสิ่งนั้นถูกและดี แม้เราจะมีความเชื่อต่างกันแต่ถ้าเรามี empathy รู้จักรับฟังเราก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้

อ.ปาริชาติ: ความเป็นพวกเดียวกัน เราอยากให้เขาคล้อยตามเรา การที่เขายอมรับความคิดเห็นเราก็เหมือนยอมรับตัวเราไปด้วย พอเห็นต่างเลยกลายเป็นเหมือนเขายืนคนละข้างกับเรา

เมื่อเจอคนที่คิดต่าง เราควรแสดงออกอย่างไร ?

อ.อัจฉรา:  ถ้าในกรณีที่เป็นเด็ก เราควรพยายามทำความเข้าใจในมุมมองของเด็กก่อน เปิดใจรับฟัง อย่าเพิ่งตัดสินหรือ blaming เขา เพราะปัจจุบันการเข้าถึงเทคโนโลยีค่อนข้างไว เด็กอยากจะแชร์มุมมองไหนให้เรารับทราบ การปรับที่ผู้ใหญ่นั้นง่ายกว่าเพราะเรามีวุฒิภาวะมากกว่า ผู้ใหญ่ทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้ง่ายกว่า

อ.ปาริชาติ: วัยรุ่นมักรู้สึกว่าอยู่คนละโลกกับพ่อแม่ เหมือนอยู่คนละฝั่ง ทำให้ไม่อยากจะคุยกัน ทำให้เกิดความห่างเหิน ในมุมของผู้ใหญ่ที่ไม่รู้จะดีลกับลูกวัยรุ่นยังไง วิธีการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพนำไปสู่การทะเลาะได้ เราควรเริ่มที่ “การรับฟังโดยไม่ตัดสิน” อย่าพูดว่า “เด็กไม่รู้เรื่องพวกนี้ ไม่เข้าใจหรอก” นั่นคือเราได้ตัดสินเขาไปแล้ว เราไม่ควรกล่าวโทษหรือต่อว่าโดยที่เราไม่เข้าใจมุมมองของเขาจริงๆ

ราจะพูดคุยกับครอบครัวอย่างไร ?
วิธีสื่อสารที่ใช้ได้ผลกับคนที่เห็นต่างทางการเมืองกับเรา

อ.ปาริชาติ: ก่อนอื่นให้เข้าใจว่า “ความสัมพันธ์ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน” ไม่ว่าจะอยู่สถานะอะไร ทำงานอะไร อายุเท่าไหร่ เรามีความเป็นมนุษย์เท่ากัน คิดต่างได้ทำผิดพลาดได้

อ.อัจฉรา: แม้เรามักจะดึงดูดกันเพราะความเหมือน แต่ “คนเราเติบโตเพราะความแตกต่าง” ต่างในความคิด ต่างในมุมมอง เราสามารถเรียนรู้จากความต่างนั้นได้ ลองปรับมุมมองบ้าง ใช้ I – message มี empathy จะทำให้เราสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น แทนที่เราจะมัวมาหงุดหงิด ไม่พอใจ ให้เรามาสำรวจกันว่าจริงๆ เพราะเราเป็นคนสำคัญซึ่งกันและกัน เราอยากให้ความสัมพันธ์เดินไปต่อได้

คุณอิ๊ก: เวลาที่คุยกันแล้วมีอารมณ์ น้ำเสียงเปลี่ยน ก็อาจจะเตือนอีกฝ่ายให้รู้ตัว บอกตรงๆ เรียกว่าผลัดกันดูแล ทั้งนี้ก็แล้วแต่ข้อตกลงของแต่ละคู่ว่าจะมีวิธีแก้ยังไง ขึ้นอยู่กับ stage ของความสัมพันธ์ด้วย สามารถพูดเปิดใจได้ขนาดไหน

Q&A

1) เคยเจอความเห็นต่างด้านอื่นนอกจากเรื่องการเมืองด้วยไหม หรือเป็นเพราะในไทยเหมือนไม่ได้ถูกสอนให้คิดต่าง เราไม่ค่อยได้มีการปะทะกันของความคิด ทำให้คนมีภูมิคุ้มกันน้อยเมื่อเจอความเห็นต่าง

อ.ปาริชาติ:  จริงๆ ความเห็นต่างเป็นสิ่งที่มีมาเรื่อยๆ แม้หัวหน้ากับลูกน้อง เด็กกับครู แต่สังคมไทยเราถูกสั่งสอนมาด้วย “อย่าเถียงผู้ใหญ่” “เป็นเด็กต้องเชื่อฟัง” เลยกลายเป็นนิสัยที่เด็กต้องยอม ลูกน้องต้องยอมเจ้านาย ทำให้ความเห็นต่างไม่ได้ถูกสื่อออกมา มันถูกกดไว้ ไม่ได้รับโอกาส พอมีประเด็นทางการเมืองเข้ามา กลายเป็นความเห็นต่างที่ปะทุขึ้นมาอย่างชัดเจน หลายคนไม่เคยมีโอกาสได้แสดงความเห็นต่าง ตอนนี้มีเวทีมากมายให้แสดงความเห็นได้

คุณอิ๊ก : การเห็นต่างมันคือความหลากหลายทางความคิด เป็นธรรมดาของมนุษย์ ต้องมีการคิดต่างเพื่อให้ได้มุมมองที่ครบถ้วน

2. ถ้าสมมติว่าเรากระตุ้นให้ความเห็นต่างเพิ่มมากขึ้นในสังคม อาจทำให้ไทยมีภูมิคุ้มกันและอยู่ในสังคมที่คิดต่างได้มากขึ้นไหม ?

อ.ปาริชาติ: ภูมิคุ้มกันสร้างขึ้นมาตั้งแต่ในหน่วยย่อยเล็กๆในสังคมตั้งแต่ในครอบครัว ถ้าทุกบ้านสามารถช่วยให้เด็กสามารถกล้าพูดและยอมรับซึ่งกันและกัน

อ.อัจฉรา: ความต่างมีมานานและมีอยู่เสมอ แต่ต้องตามมาด้วย social movement ความต่างนั้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไร ที่เรารู้สึกถึงความต่างได้เยอะในยุคนี้ เกิดการตั้งคำถามเพราะพื้นที่เปิดกว้าง แต่ถ้ามองย้อนกลับไป ณ ตอนนั้นในอดีตการที่เขาเลือกที่จะเงียบอาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดแล้ว เรื่องที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายคือเรื่องที่มันส่งผลกับทุกคน

อ.ศิริพร : วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง ความคิดเห็นที่ต่างกัน หลายครอบครัวมีการเขียนข้อตกลงร่วมกันว่าจะแสดงความคิดเห็นได้ระดับไหน ระหว่างในครอบครัว ภูมิคุ้มกัน ความคิดเห็นต่าง กระแสสังคมตอนนี้เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเกิดขึ้น มีทั้งคนที่ยืนกรานความคิดเห็นของตัวเองและคนที่สมยอม

3. แต่ก่อนสนิทกับแม่มาก เห็นต่างเรื่องเดียวคือการเมือง มีการกระทบกระทั่งกันในโลกออนไลน์ รู้สึกสะเทือนใจกับเรื่องนี้ ควรจะทำยังไงดี ? จะบล็อกแม่ หรือคุยให้เขาเข้าใจเรา แสดงความเชื่อของเราออกไปเลยดี ?

อ.อัจฉรา: พ่อแม่ก็มีความเชื่อในมิติของเขา เข้าใจและลองยืนในมุมของเขาบ้าง ถ้าเรายืนแต่มุมของเรา เราจะเห็นแต่ความต้องการของตัวเอง ถ้าเป็นคนใกล้ตัว relationship ที่มีจะทำให้เรารู้ว่าเวลานี้ควรผ่อน ควรหย่อน ถ้าเห็นว่าอารมณ์แม่เริ่มไม่โอเค เราถอยก่อนมั๊ย ถามตัวเองก่อนว่าเราให้คุณค่าจะไหนมากกว่ากันระหว่างความสัมพันธ์กับแม่หรือความเชื่อของเรา

อ.ปาริชาติ: เรารักกันใช่มั๊ย ? แล้วอยากให้เรื่องนี้มาทำลายความสัมพันธ์ของเรากลับแม่หรือเปล่า ถ้าเรารับฟังโดยไม่ตัดสินก่อน เขาก็จะเริ่มรับฟังเราบ้างเหมือนกัน

4. เวลาที่ไปม็อบก็อยากแชร์ในโลกออนไลน์ อยากให้คนอื่นทราบว่าเราอยู่ในสถานการณ์ไหน เผื่อมีอันตรายจะได้มาช่วยเหลือ แต่กลายเป็นว่าครอบครัวต่อว่าหรือด่าทอ รู้สึกโดดเดี่ยวเพราะไม่มีใครเข้าใจเราเลย

อ.อัจฉรา: เจตนาจริงๆ พ่อแม่ก็เป็นห่วงเรานี่แหละ ให้รู้ว่าความปลอดภัยของเรามาเป็นอันดับหนึ่งเสมอ แต่คนสมัยก่อนจะไม่มีทางสื่อตรงๆ อย่าง I – message (บอกว่าฉันต้องการอะไร แม่เป็นห่วงนะ) แต่เขาจะใช้บ่น ต่อว่า ตำหนิแทน เช่น เธอทำแบบนั้นสิ เธอทำแบบนี้สิ เธอห้ามทำอย่างนั้น อันนี้คือวิธีของคนรุ่นก่อน จะอ้อม 234 เผื่อให้เข้าประเด็น

อ.ปาริชาติ: ให้เราเริ่มเปลี่ยนตัวเองก่อน ลองบอกความต้องการของเรา เช่น อยากคุยทำความเข้าใจเพื่ออยากให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้น เพราะเรื่องนี้ทำให้ความสัมพันธ์ที่เคยดีมาของเราเริ่มสั่นคลอน อยากฟังความเห็นแม่ด้วย เพราะอะไรแม่ถึงไม่อยากให้ผมทำแบบนั้น จะได้เห็นว่าแม่มองในมุมไหนบ้าง มีคล้ายกับมุมของเราบ้างไหม ที่แม่พูดอย่างนี้ ผมเข้าใจถูกไหม พอถึงจุดหนึ่งผมเข้าใจแม่มากขึ้นแล้ว ผมอยากแชร์มุมของตัวเองให้แม่ฟังบ้าง ไม่รู้ว่าแม่พร้อมจะรับฟังหรือเปล่า ? ถ้าต่างฝ่ายต่างใช้ You-message เหมือนถูกกล่าวหา ถูกตำหนิ กลายเป็นต่อต้าน ไม่อยากทำตาม

คุณอิ๊ก : จุดประสงค์คืออะไร อยากให้พ่อแม่เข้าใจเรื่องการเมืองมุมเรา หรือแค่ไม่อยากให้เขาไม่สบายใจ เราต้องการระดับไหน การกระทำหรือคำพูดระดับไหนที่สามารถบอกออกไปได้ อาจแก้ปัญหาด้วยการหลีกเลี่ยงจุดที่เป็นประเด็น ถ้าทะเลาะบนโซเชียลก็ตั้งค่าไม่ให้เขาเห็น ให้เห็นแค่คนที่เราสบายใจ

5. หน้าที่การงานของพ่อแม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองค่อนข้างเยอะ แต่เราเห็นต่างและอยากให้เขารับฟังเพราะเราชอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่น แต่เขาไม่ยอมคุยเรื่องนี้เลย อยากรู้ว่าเขาคิดยังไง ?

อ.อัจฉรา: อาจมาจากทัศนคติตั้งต้น ถ้าเราใช้ความรุนแรงในการสื่อสาร บางทีเรามีอารมณ์มากไปก็ต้องพัก ไม่เราก็พ่อแม่ต้องเบรกก่อน การสื่อสารที่ผ่านมาบ่งบอกว่าไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ้าเราใช้อารมณ์และความรุนแรง กลายเป็นเราตัดสินไปแล้วว่าเขาผิด ซึ่งคนรุ่นก่อนเขายอมรับยากอยู่แล้วว่าเขาผิด

จริงๆ เริ่มตั้งแต่พูดดีๆ แต่พ่อแม่เมินเฉยมาตลอดจนบางทีกลายเป็นก้าวร้าวเพราะอยากให้เขาฟัง ผมเคยไปปรึกษาหมอมาแล้ว ลึกๆ ก็รู้สึกเห็นใจพ่อแม่ แต่ก็เห็นใจตัวเองด้วยที่อยากมีพื้นที่คุยกับคนใกล้ชิด แต่มันไม่เกิดขึ้น

อ.ปาริชาติ: ที่เรารู้สึกไม่ดี เพราะเขาไม่คุยกับเราใช่ไหม ? แล้วเรารู้สึกยังไงกับความรู้สึกไม่ดีนั้น จริงๆ มันมีความรู้สึกซ้อนความรู้สึกอยู่ ความรู้สึกหลายอย่างที่เกิดขึ้น เช่น อึดอัด โมโห หลายคนไม่เคยถูกถามแบบนี้เลย ไม่ได้ทบทวนตัวเอง อยากให้ลองไปคิดต่อ ที่เขาไม่อยากคุยกับเรา เขากำลังคิดอะไรอยู่ ?

คิดว่าเขาคิดไม่เหมือนเรา

อ.ปาริชาติ: เราอาจจะรู้สึกว่าทำไมเขาไม่ฟัง ทั้งที่เราเจตนาดี ลองมองอีกมุม เป็นไปได้ไหมว่าพ่อแม่อาจจะกลัว เขาไม่รู้จะพูดยังไงกับเรา หรือทำยังไงให้เราเข้าใจ เขาเลี่ยงตลอดเพราะกลัวการปะทะ เลยเลือกที่จะไม่พูด

อ.อัจฉรา: เราหาทางออกเพราะเราอยากรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้ เพื่อความรักของครอบครัว ความเป็นเพื่อน เพราะยังอยากให้พวกเขาอยู่ในชีวิตของเรา

คุณอิ๊ก : อยากให้เข้าใจว่าพ่อแม่เคยเป็นพ่อแม่คนครั้งแรก เพิ่งเคยมีลูกเป็นวัยรุ่น  เพิ่งเจอกับปัญหาครั้งแรก จริงๆ ก็ไม่ได้ต่างจากเราเลย เขาก็เป็นคนหนึ่งที่มีสิทธิ์จะทำผิดบ้างพลาดบ้าง เขาไม่เคยตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้เลยไม่รู้จะรับมือยังไง ถ้าท้ายที่สุดถ้าเรามองว่าเขาเป็นพ่อแม่ที่เรารัก เราควรให้โอกาสเขา เรื่องบางเรื่องต้องเคยเจอถึงจะรู้ว่าเราทำถูกหรือผิดหรือทำแบบไหนมันดีกว่า และเรื่องใหญ่ที่มนุษย์ไม่อยากพลาดคือการเลี้ยงลูก ทำให้เขาลังเลและตัดสินใจได้ยากในหลายๆ ครั้ง อาจจะต้องให้อภัยกันมากๆ อาจจะไม่ยอมเรียนรู้จริงๆ หรือเรียนรู้กันแบบมี pain แต่ท้ายที่สุดมันจะอยู่ร่วมกันยังไงให้มีความสุข

ขอขอบคุณ

อาจารย์ปาริชาต สุขศรีวงษ์ เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงดูเด็ก ครอบครัว ความสัมพันธ์

อาจารย์อัจฉรา ปัญญามานะ เชี่ยวชาญพัฒนาการเด็ก วัยรุ่น ให้คำปรึกษาพ่อแม่ ครู ความเครียดในโรงเรียน

Read More
คลับเฮ้าส์ จิตแพทย์ สุขภาพจิต

Mindfully dose #2 “เมื่อใจพังแต่ยังต้องไปทำงาน”

สรุปเนื้อหาจาก Clubhouse เมื่อวานนี้ Mindfully dose #2 “เมื่อใจพังแต่ยังต้องไปทำงาน” by ooca และ นพ. รัตนภูมิ วัฒนปัญญาสกุล (จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ) และทีมงานอูก้า

.

ต้องบอกว่าไม่ว่าจะทำงานด้านไหน เราก็มีความเครียดด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งบางครั้งเราไม่รู้ตัวว่าเกิดความเครียด วิตกกังวล แต่ร่างกายไม่เคยโกหก มันส่งสัญญาณเตือนเราเสมอ เช่น อาการนอนไม่หลับ ปวดเมื่อนตามร่างกาย ไปจนถึงคิดเรื่องงานตลอด คล้ายจะบ้างาน ทั้งหมดทั้งมวลนี้ คือเรากำลัง “mentally breakdown” รู้สึกมึนๆ งงๆ บางทีก็ซึมๆ ไม่มีกะจิตกะใจ ไม่พร้อมจะทำงาน แต่เรายังต้องฝึนตัวเองให้ทำ เป็นสภาวะที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ ไม่ใช่แค่เหนื่อยหน่ายเรื่องงาน บางคนอาจจะทะเลาะกับแฟน ไม่ถูกกับเพื่อนร่วมงาน หรือมีปัญหาส่วนตัวอื่นๆ ที่ทำให้ตัวเอง mentally breakdown เลยเป็นที่มาของคำว่า “ใจพัง”

.

ซึ่งคนทำงานส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าจะรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นยังไงดี ? ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไร ? เป็นเรื่องยากสำหรับคนที่ไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อนหรือไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องสุขภาพใจ เราจึงได้เชิญนพ. รัตนภูมิ วัฒนปัญญาสกุล (จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น) มาตอบปัญหาเรื่องนี้กัน

.

ปัจจุบันมีคนวัยทำงานมาเข้ารับการปรึกษาเยอะหรือไม่ ? และส่วนใหญ่เป็นเรื่องอะไรบ้าง ?

คุณหมอเล่าว่าปัจจุบันคนวัยทำงานเป็นคนไข้ใหม่ในแผนกจิตเวชค่อนข้างเยอะ อาจด้วยสภาพสังคมที่มีความเครียดสูง  สถานการณ์โควิด-19 เศรษฐกิจ มีคนตกงานจำนวนมาก หรือถ้าไม่ตกงานก็จะเป็นกลุ่มที่งานหนัก overload จนเหนื่อยล้า หลักๆ ที่พบเยอะคือ โรคซึมเศร้าและภาวะหมดไฟ หรือ “burnout”

.

ความแตกต่างระหว่างภาวะซึมเศร้ากับอาการหมดไฟ burnout สังเกตได้จากอะไร ?

ในส่วนของภาวะซึมเศร้า จะมีอาการซึม + เศร้าลามไปทุกเรื่อง ต่อให้เป็นเรื่องที่น่าจะมีความสุขหรือเคยทำแล้วสนุกมันไม่สนุกอีกต่อไป กลายเป็นเศร้าไปหมดและเป็นต่อเนื่องยาวนานสองสัปดาห์ขึ้นไป

.

ขณะที่ burnout เราอาจซึมๆ กับบางเรื่องที่เราหมดไฟหรือแค่วันที่ต้องไปทำงาน วันหยุดอาจจะไม่เป็น ทำอย่างอื่นก็ยังมีความสุขและชุบชูใจเราได้ ถือเป็นเรื่องใหญ่ของคนยุคนี้ เพราะเราถูกกระตุ้นด้วยสิ่งแวดล้อมที่ไม่รบกวนจิตใจแทบจะตลอดเวลา บางคนไม่รู้วิธีจัดการอารมณ์หรือความเครียดอย่างเหมาะสมทำให้ใจพังได้ รวมถึงหลายๆ คนไม่กล้าไปปรึกษาจิตแพทย์ ไม่กล้าไปโรงพยาบาล ใช้ความอดทนอดกลั้นจนป่วยเรื้อรัง ดังนั้นไม่ว่าจะ burnout หรืออะไรก็ตามคุณหมอแนะนำว่าไม่ควรปล่อยไว้ยาวนาน

.

ด้านการรักษากระบวนการรักษาภาวะหมดไฟแทบไม่ต่างจากภาวะซึมเศร้าเลย เพียงแต่หมดไฟเราไม่ต้องใช้ยารักษา สิ่งที่ควรระวังมากๆ คือ คนที่เป็น burnout สะสมนานๆ สามารถนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

.

ถ้ามีปัญหาสุขภาพใจ เช่น พบจิตแพทย์ ทานยา หรือแม้แต่ “ใจพัง” เราควรบอกที่ทำงานไหม ?

#คำตอบจากทีมงานอูก้า

ในฐานะ hr อยากให้พนักงานแชร์ให้เราฟัง อยากให้เขารู้สึกเบาขึ้น เพื่อให้เขาสามารถทำงานต่อไปได้ การที่องค์กรหรือหัวหน้างานทราบปัญหาของพนักงานเพื่อนร่วมงานจะได้เข้าใจปัญหามากขึ้นและสามารถจัดการงานได้ดีกว่าเดิม หลายๆ องค์กรอาจมีช่องทางให้พนักงานติดต่อกับฝ่ายบุคคลหรือคนที่ไว้ใจในบริษัทได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบรรยากาศและลักษณะของแต่ละที่ด้วย

.

ซึ่งไม่ได้บอกว่า “ต้อง” บอกที่ทำงาน แต่หากสบายใจที่จะเล่า รู้สึกว่าสามารถไว้วางใจที่ทำงานได้ พร้อมเมื่อไหร่ก็อยากให้มีโอกาสได้บอกเล่าปัญหาให้ฟัง ส่วนทางคนรับฟังเองไม่จำเป็นต้องทำเป็นเรื่องใหญ่ มองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่พนักงานจะเกิดความเครียด ใช้การพูดคุยสบายๆ ให้อีกฝ่ายรู้สึกปลอดภัย สิ่งสำคัญในฐานะ hr หรือผู้รับฟังคือ เริ่มจากใจที่ไม่ตัดสินคนอื่น ไม่ตั้งแง่หรือมีอคติ เปิดพื้นที่ให้พนักงานมาคุยกันได้ บางครั้งก็เป็นฝ่ายเข้าหาพนักงานก่อนให้เขารู้ว่าเราเปิดใจ

1. ขอวิธีการจัดการอารมณ์ เมื่อหงุดหงิดกับเพื่อนร่วมงาน บางครั้งโกรธจนไม่อยากมองหน้า

คุณหมอ : เคล็บลับคือ “การให้อภัย” อาจฟังเป็นคำทั่วไป แต่เราต้อง “ใจดีกับตัวเอง” การที่เราโกรธ เกลียด คนที่เราโกรธเกลียดคนนั้นเค้าไม่รับรู้ด้วย การให้อภัยจริงๆ แล้วเป็นการปล่อยเพื่อให้เรามีความสุข ไม่ใช่การทำเพื่อคนอื่น แต่เป็นการทำเพื่อตัวเอง

.

การออกกำลังกายก็สำคัญ ควรออก 3-5 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที – 1 ชม. คือ ประสิทธิภาพของวิธีนี้ดีเทียบเท่ากับการใช้ยาเลย เมื่อเราทำดีกับร่างกายตัวเอง ใจเราจะรับรู้ว่าเรากำลัง “รักและทำเพื่อตัวเอง” เป็นการเยียวยาหัวใจไปในตัว

2. เวลาที่เรามองโลกในแง่ดี คนชอบหาว่า “โลกสวย” เลยอยากรู้ว่าการมองโลกในแง่บวก vs โลกสวย ต่างกันตรงไหน ?

คุณหมอ : การมองโลกบวกต่างจากโลกสวย ตรงที่โลกสวยมองทุกอย่างบวกหมด จะแฟนทิ้งสอบตกก็เป็นเรื่องดีทั้งนั้น เพราะตัวเองปฏิเสธไม่รับรู้ด้านลบ จริงๆ ธรรมชาติของสรรพสิ่งทุกๆ อย่างมีสองด้านเสมอ มองโลกบวกคือ มองทั้งสองด้าน มีทุกข์และสุขปะปนกัน มองโลกตามความเป็นจริง คนที่สุขภาพจิตดีก็จะมองโลกในแง่บวก ในขณะที่คนโลกสวยเมื่อเจอด้านลบก็มักจะยอมรับไม่ได้

3. เราจะมี reaction ในฐานะผู้รับฟังยังไงดี เพราะเวลามีคนมาเล่าปัญหา บางทีก็ทำตัวไม่ถูก ?

คุณหมอ : ต้องมี empathy เข้าใจอย่างผู้สังเกตการณ์ (Observer) รับฟังแบบ active listening อาจมีพยักหน้า แตะตัวเล็กน้อย แต่ไม่ร่วมรู้สึก (sympathy) ไม่ร้องไห้ฟูมฟายไปกับเขา จิตใจต้องเป็นกลาง ไม่โกรธไม่เกลียดตาม เรายกเรื่องที่เราเครียดและเหนื่อยออกไปก่อน ฟังสิ่งที่อยู่ตรงหน้าแต่ไม่ต้องอิน ถ้าฟังแล้วทุกข์ไปด้วยคือผิดวิธี

สำหรับผู้ที่เป็นซึมเศร้า หลักๆ คืออยู่ข้างๆ เขา ให้รู้ว่า “มีฉันอยู่ตรงนี้” วันไหนไปใช้ชีวิตแล้วมันไม่ไหว ฉันอยู่ตรงนี้และพร้อมรับฟัง แต่ระมัดระวังเรื่องคำพูด ประโยคเดียวกันพูดกับคนละคน น้ำเสียงต่างกัน ก็ได้ผลลัพธ์ที่ต่างกันเลย ถ้าไม่รู้ว่าควรพูดยังไง แค่ให้รู้ว่าเรา “be there for you”

นอกจากนี้เวลาที่คนรอบข้างหรือเพื่อนร่วมงานใจพัง ปัญหาหลักของผู้รับฟังคือ รับเอามาใส่ใจจนเป็นทุกข์ด้วย ดังนั้นใจเราก็ต้องหาทางระบายออก หาสายดินแล้วปล่อยพลังงานด้านลบออกให้ตัวเองไม่ดาวน์ตาม เช่น ออกกำลังกาย สะสมของที่ชอบ มีกิจกรรมผ่อนคลายเมื่อกลับถึงบ้าน

4. มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานที่เคยสนิทกันมาก เขาบล็อกเราทุกช่องทาง สรุปเราเบื่อกัน หมดใจหรือเราเกลียดกัน

คุณหมอ : แนะนำให้ประเมินสิ่งที่อยู่ในใจเรา ความรู้สึกที่เกิดขึ้นคืออะไร ? สำรวจตัวเอง โกรธ เกลียด เบื่อ ฯลฯ ถ้าเรารู้ว่าตัวเองคิดยังไง เราจะคลายปมนั้นได้ และต่อให้เราเคยมี empathy กับคนๆ นึงมากๆ แต่เราสามารถหมดใจ หมด passion กันได้ นี่เป็นเรื่องจริง

5. ขอ How to เวลาที่ใจพังและ burnout เพื่อนร่วมงานและเจ้านายทำให้ไม่มีความสุข ต้องทำยังไงให้ร่วมงานต่อไปได้ก่อนจะไปเริ่มงานใหม่

คุณหมอ : ต้องบอกว่าทุกที่ เราจะมีเรื่องที่ถูกใจครึ่งหนึ่งและไม่ถูกใจอีกครึ่ง ถ้าเราตั้งโจทย์ไว้แบบนั้น เราอาจจะไม่ได้มองโลกตามความเป็นจริง เราอาจจะต้องเปิดใจยอมรับว่า “ทุกที่ต้องมีเรื่องที่เราไม่ชอบใจ”

เราต้องการความสุขในการทำงาน ใช้ “passion” เป็นตัวขับเคลื่อน เอาเป็นว่าอีกครึ่งให้เผื่อใจว่ามันไม่โอเค เราต้องยอมรับว่าทุกที่มีอสรพิษ มีหัวหน้า มีเพื่อนร่วมงาน มีสิ่งที่เราไม่ชอบ อยากให้มี “mission” ร่วมกัน เช่น ฉันจะทำอะไรให้สำเร็จ ?  ให้ตัวเองรู้สึกภูมิใจ แล้วแต่ละวันที่ไปทำงานจะมีเป้าหมาย

6. ได้ทำงานที่ชอบ แต่พอช่วงโควิดกลับต้องหยุดทำงาน ท้อ ล้า รู้สึกหมด passion

คุณหมอ : ถ้าเข้าใจเรื่อง passion ที่มี mission ร่วมด้วย “อย่าฝากความสุขไว้แค่กับ passion แต่ให้ mission หล่อเลี้ยงใจเรา” ทำงานแล้วมีความสุขคือโบนัส แต่ทำงานแล้วทุกข์เป็นเรื่องปกติ

7. รู้ได้ยังไงว่า “ใจพัง” แล้ว หรือมันเป็นอาการชั่วครั้งชั่วคราว จะใช้อะไรวัดได้บ้าง ? ตอนนี้เป็นไมเกรน บางทีก็เหมือนจะโอเค แต่กลายเป็นว่าเราจมลงไป

คุณหมอ : ก่อนอื่นหาทุกข์ให้เจอว่ามันเกิดเพราะอะไร ? ที่ร่างกายเราปวดหัว เป็นปกติที่เราจะคิดว่ามันไม่มีอะไร แต่ร่างกายไม่เคยโกหก ฟังร่างกายให้ดี พาร่างกายไปผ่อนคลาย อย่าฝืนตัวเองเกินไป “จริงๆ เราคิดว่าเราไหว แต่ร่างกายจะเป็นตัวบอกที่ชัดเจนที่สุด” ใจดีกับตัวเองหน่อยนะ

8. จบป.เอกเลือกทำงานที่ไม่ตรงสาย ต้องมารับตำแหน่งหัวหน้าแต่ไม่มีใครสนับสนุนเลย 90% ของคนไทยในบริษัทเราไม่โอเคด้วยเลย ไม่มีใครพร้อมเปลี่ยนแปลง จนมัน Toxic กับใจเรา รู้สึกตัวเองเดินถอยหลัง รู้สึกเสียเวลา เสียดายวุฒิ เริ่มมีอาการนอนไม่หลับ ร้องไห้ ไม่อยากทำงาน

คุณหมอ : ถามใจว่า “เรากลัว / กังวลอะไร” เท่าที่ฟังเหมือนใจอยากเปลี่ยนงาน แล้วเราหวั่นใจว่ามันจะแย่กว่าเดิม? หมอขอไม่ตัดสินใจแทนว่าให้เปลี่ยนงานหรือทำต่อ แต่แนะนำให้ฟังร่างกาย อะไรที่ทำแล้วรู้สึกดี ถ้ายังมีความสุขแปลว่ายังพอไหว แต่ถ้ามีอาการทางร่างกายมากๆ เข้า หมั่นสังเกตอาการของตัวเอง ถ้าช่วงที่ไม่โอเคนั้นยาวนาน ลุกลามกัดกินเรา ขอแนะนำให้หาหมอ

.

หวังว่าทุกคนจะได้รับประโยชน์จากคำแนะนำดีๆ ของคุณหมอรัตนภูมิ อย่างที่บอกว่า “ใจพัง” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เราจะมีวิธีจัดการอย่างไรให้ตัวเองสามารถทำงานและรับผิดชอบสิ่งข้างหน้าต่อไปได้ สิ่งที่คุณหมอเน้นย้ำคือเราต้องสำรวจความรู้สึกตัวเอง รู้ว่าเมื่อไหร่ที่เราไม่ไหวและอย่ากังวลถ้าต้องขอความช่วยเหลือ

หากอยากพูดคุยกับนพ. รัตนภูมิ วัฒนปัญญาสกุล เป็นการส่วนตัว สามารถนัดหมายผ่านแอปพลิชันอูก้าได้เลย นอกจากนี้เรายังมีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญอีกมากมาย พร้อมให้คำปรึกษากับทุกคนอยู่นะ

Read More
cover - ภาษารัก

รู้ไหมว่า ‘ภาษารัก’ มีอยู่จริง!

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าคนที่เราเทใจให้ไป…เขารักเราจริงๆ ?

.

รักมันมีมากมายหลายแบบ…เจ็บทั้งแสบทั้งคัน ใช่แล้วเพื่อนๆ ความรักของมนุษย์มันมีหลายรูปแบบจริงๆ ทั้งความรักแบบเพื่อนกับเพื่อน พ่อแม่กับลูก ลูกกับพ่อแม่ น้องรักพี่ พี่รักน้อง ญาติผู้ใหญ่รักหลานๆ หัวหน้างานรักลูกน้อง รักแบบแฟนหรือคู่รัก รักหมา รักแมว รักสิ่งของ และอีกมากมายนับไม่ถ้วน

Read More
cover สอนลูก

สอนลูกยังไง ให้ไม่บูลลี่คนอื่น

#จะดูแลลูกไม่ให้บูลลี่ผู้อื่นได้อย่างไร
.
โดยสัญชาตญาณ​แล้วพ่อแม่มักจะปกป้องลูกของตนเองเสมอ จึงไม่แปลกที่เราจะได้ยินคำพูดทำนองที่ว่า “ลูกฉันเป็นเด็กดี” หรือ​ “ลูกฉันไม่ทำอะไรแบบนั้นแน่” ซึ่งในหลายครั้งพ่อแม่อาจไม่เคยรู้ว่าพฤติกรรมของลูกตอนอยู่ที่โรงเรียนนั้นต่างจากตอนที่อยู่บ้านมากแค่ไหน ซึ่งการให้ท้ายปกป้องทั้งที่ผิด หรือการเข้าข้างจนเกินพอดี สามารถส่งผลให้ลูกมีนิสัยไม่ดีติดตัว และเติบโตไปเป็นคนที่ก่อปัญหาของสังคมได้ในอนาคต

Read More
เมื่อพ่อแม่เผลอรังแกฉัน

เมื่อพ่อแม่ เผลอรังแกฉัน

พ่อแม่เผลอรังแกฉัน
.

หมอเพิ่งเห็นข่าวจากเว็บไซต์หนึ่งว่ามีเด็กเลือกคณะที่จะเรียนต่อมหาวิทยาลัย จาก TCAS ปรากฏว่าถูกเปลี่ยนคณะโดยไม่ทันตั้งตัว​ โดยแม่เป็นคนเลือกคณะที่เด็กไม่ชอบให้ พอเห็นข่าวแล้วหมอรู้สึกสงสารเด็กจับใจ เพราะหมอมีประสบการณ์ตรงที่พบเพื่อน​ รุ่นน้อง​ นักศึกษา​ และคนไข้มากมายที่ต้องเรียนคณะที่ตนเองไม่ได้เลือกและไม่ได้ชอบ แล้วต้องฝืนเรียนจนจบ เพื่อตอบสนองความต้องการของพ่อแม่ แต่ตนเองก็เกิดความเครียดจนเป็นโรคซึมเศร้า เสียโอกาสในชีวิตไปนานหลายปีในการค้นหาตัวเองเพื่อเลือกอาชีพใหม่

Read More