รู้สึกผิดหรือไม่ เมื่อสิ่งที่ฉันทำลงไปใจไม่ได้ “สั่งมา”
รู้สึกผิดหรือไม่ เมื่อสิ่งที่ฉันทำลงไปใจไม่ได้ “สั่งมา”
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
หลายครั้งเราจะพบว่าคนธรรมดากล้าทำพฤติกรรมบางอย่างที่ขัดกับศีลธรรมในใจ หรือบรรทัดฐานของสังคมอะไรทำให้เรากล้าที่จะทำเช่นนั้น ทั้งที่เราไม่ได้เป็นคนมีนิสัยโหดร้ายหรือชอบใช้ความรุนแรง แต่เรายอมทำร้ายคนอื่นเพียงเพราะได้รับ “คำสั่ง” มาจริงๆ เหรอ?
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ในทางจิตวิทยาสามารถอธิบายนิสัยทำตามคำสั่งหรือปรากฏการณ์แบบนี้ได้ด้วยการทดลองของ Stanley Milgram นักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกัน ซึ่งได้ทำการทดลองกับผู้ชายกลุ่มหนึ่งที่ได้รับภารกิจให้สอนนักเรียน เมื่อนักเรียนตอบคำถามผิดพวกเขาจะต้องส่งกระแสไฟฟ้าไปช็อตเพื่อเป็นการลงโทษ แต่การช็อตไฟฟ้านั้นอยู่ภายใต้การดูแลของนักวิจัย ไม่มีใครได้รับอันตรายจากการทดลอง
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
เมื่อมีคนแสดงออกว่ารู้สึกผิดที่ทำให้นักเรียนเจ็บและไม่อยากทำต่อ นักวิจัยก็จะเตือนว่าการทดลองนี้ “สำคัญมาก” และต้องทำให้ “สำเร็จ” ผลคือ 2 ใน 3 ของผู้ที่เข้าร่วมตัดสินใจช็อตไฟฟ้านักเรียนต่อไปจนถึงคำสั่งสุดท้าย นั่นคือเพิ่มความรุนแรงของกระแสไฟฟ้าที่อันตรายถึง “ชีวิต” พวกเขาคิดอะไรขณะที่ทำรุนแรงกับนักเรียน?
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
มีผลวิจัยกล่าวว่า สมองของเราจะทำงานน้อยลงเมื่อได้รับมอบหมายหรือถูกบังคับให้ทำตามคำสั่งและรู้สึกว่าไม่ต้องรับผิดชอบเพราะไม่ใช่การทำตามความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง นอกจากนี้การตัดสินใจของคนเรายังขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมด้วย พฤติกรรมใดที่ทำแล้วเป็นที่ยอมรับและเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เราก็มีแนวโน้มจะแสดงพฤติกรรมที่ถูกคนอื่นคาดหวังให้เป็นมากกว่าสิ่งที่เป็นจริงๆ
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
อะไรที่จะทำให้เราตัดสินใจเลือกที่จะทำตามคำสั่งหรือขัดคำสั่ง?
#คำตอบจากทีมงานของอูก้า
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ก่อนอื่นเราต้องรู้จักตัวเองว่าเรามีทัศนคติ ค่านิยมและความเชื่ออย่างไร เพราะการที่เราตัดสินใจเลือกทำพฤติกรรมบางอย่าง นอกจากจะทำได้ตามสัญชาตญาณแล้วนั้น เราอาจเลือกเพราะสิ่งนั้นสำคัญต่อชีวิตเราแม้จะขัดกับความเห็นของคนส่วนใหญ่ก็ตาม
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ประสบการณ์ชีวิตจะช่วยให้เราตัดสินใจเลือกสิ่งที่ “ควร” และ “ไม่ควร” แน่นอนเราจะไม่เลือกในสิ่งที่มีแนวโน้มจะผิดพลาดและส่งผลในทางลบ แต่หากเรามีหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องทำตามคำสั่งก็จำเป็นจะต้องปล่อยวางความเชื่อบางอย่าง นั่นคือการลด ego ลงและปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อื่นมากขึ้น
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
เราจะรู้สึกสบายใจมากขึ้น หากสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำและความเชื่อของเราเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ถ้าเราได้รับคำสั่งที่สวนทางกับความคิด เราจะเกิดความขัดแย้งภายในใจ ถ้าไม่สามารถจัดการได้ก็จะนำไปสู่ความเครียด รู้สึกผิดและอาการป่วยทางใจในภายหลังได้
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ปรับ mindset ของตัวเองและยอมรับว่าคนในสังคมหรือครอบครัวเดียวกันไม่จำเป็นจะต้องมีความคิดเห็นเหมือนกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมีมุมมองต่อเรื่องนั้นอย่างไร ค่านิยมเป็นสิ่งที่สามารถยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้ในบางสถานการณ์ เลิกโทษตัวเองเมื่อต้องทำในสิ่งที่ฝืนใจ ถ้าหากตัดสินใจเลือกไปแล้วอย่าได้กังวลใจอีกเลย “let it go” ซะ!
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
#คำตอบจากนักจิตวิทยา
ในบางครั้งเราอาจทำบางอย่างที่ขัดกับศีลธรรมเพราะอยากได้รับการยอมรับชื่นชมจากกลุ่ม เราจึงเลือกทำพฤติกรรมที่คนในกลุ่มเห็นว่า “ควร” ทำ เพื่อรักษาสัมพันธภาพที่ดีแม้ว่าในใจเราอาจจะไม่ได้อยากแสดงออกแบบนั้นเลย ซึ่งคนเรายังมีพัฒนาการทางด้านจริยธรรม (Moral Development) ด้วย ซึ่ง Lawrence Kohlberg ได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ระดับที่ 1) ก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre – Conventional Level) เราจะทำตามกฎเกณฑ์ทั่วไป ได้รับตัวอย่างของพฤติกรรมที่ “ดี” หรือ “ไม่ดี” จากคนรอบตัว พฤติกรรม “ดี” คือ สิ่งที่ทำแล้วได้รางวัล ส่วนพฤติกรรม “ไม่ดี” คือ สิ่งที่ทำแล้วถูกลงโทษ
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ระดับที่ 2) ตามกฎเกณฑ์สังคม (Conventional Level) เราจะตัดสินว่าสิ่งใด “ควรทำ” หรือ “ไม่ควรทำ” ตามความคาดหวังของครอบครัวและสังคม เพราะกลัวว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่นโดยไม่ได้คิดถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองมากเท่าที่ควร
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ระดับที่ 3) เหนือกฎเกณฑ์สังคม (Post – Conventional Level) เราไตร่ตรองโดยยึดตามมาตรฐานทางจริยธรรมและกฎเกณฑ์ในใจของตัวเองก่อนที่จะแสดงพฤติกรรมบางอย่าง การตัดสินใจจะมาจากวิจารณญาณ ไม่ใช่อิทธิพลของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่เรายึดถือนั้นควรตั้งอยู่บนหลักความยุติธรรมและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
นักจิตวิทยาของอูก้ายังอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า “หากเราใช้เหตุผลทางจริยธรรมในระดับเหนือกฎเกณฑ์ คือตัดสินใจด้วยวิจารญาณ ยืนหยัดในความถูกต้อง เราจะไม่โน้มเอียงไปตามคำสั่งง่ายๆ แต่เราจะตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ตรงกับมโนธรรมและค่านิยมของตัวเอง”
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
อย่างไรก็ตาม การที่เราเลือกทำพฤติกรรมใดก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีศีลธรรมหรือจริยธรรมในใจ เพราะคนส่วนใหญ่มักจะมีพัฒนาการทางจริยธรรมทั้งสามระดับอยู่ในตัวเอง เพียงแต่เลือกที่จะแสดงออกตามสถานการณ์และบริบทในสังคมมากกว่า ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในขั้นใดนั่นไม่สำคัญเท่ากับการที่เรารู้ตัวเองว่าเราให้คุณค่ากับใคร สิ่งใด เพื่อที่เราจะได้เข้าใจการกระทำของตัวเองและไม่ตัดสินใจอะไรโดยประมาท
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
อูก้าขอเป็นกำลังใจให้คนไทยทุกคน ผ่านช่วงเวลาที่อ่อนไหวนี้ไปด้วยกัน หากคุณรู้สึกเครียดหรือไม่สบายใจ ลองทักมาพูดคุยกับพี่ๆ นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของอูก้าได้เลยตลอดเวลาเลยนะ เราพร้อมจะรับฟังคุณเสมอพร้อมฟีเจอร์ใหม่ทางเว็บอูก้า ห้ามพลาดนะคะ
Recent Comments