ชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น

“เหลือเชื่อเหมือนกันว่ายังคงมีชีวิตอยู่จนถึงตอนนี้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว และกำลังเกิดขึ้นอยู่จริงๆ”
.
ขอชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น เพราะวันนี้คือวันป้องกันการฆ่าตัวตายสากล (World Suicidal Prevention Day) ซึ่งเป็นวันสำคัญที่องค์กรอนามัยโลกและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะจิตกำหนดให้มีการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ⛅
.
สถิติระบุว่าในทุก ๆ วัน มีคนที่เลือกจะจบชีวิตด้วยตนเองวันละ 11-12 ราย นอกจากนี้ จากสำรวจของกรมสุขภาพจิต ยังพบว่า สาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย มาจากปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด (48.7%) ซึ่งในหลายครั้ง ความสูญเสียก็เกิดขึ้นโดยที่หลายๆ คน อาจไม่ทันได้ตั้งรับ และสังคมรวมถึงสื่อยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการมองว่า การฆ่าตัวตาย คือการ “คิดสั้น”

.

ไม่ว่าจะเป็นสื่อหรือสาธารณชน มักจะมองว่าการฆ่าตัวตาย คือ “การคิดสั้น” แต่แท้จริงแล้ว การฆ่าตัวตายมีกระบวนการถึง 3 ขั้นตอนก่อนจะนำมาสู่การตัดสินใจจบชีวิต อันได้แก่

.

  1. Suicidal Thought หรือ ความคิดทำร้ายตนเอง

2.Suicidal Plan คือ ขั้นตอนการวางแผนและหาวิธีที่จะทำร้ายตนเอง

3.Suicidal Attempt หรือ ขั้นตอนการพยายามฆ่าตัวตาย หรือ ทำร้ายตนเอง

.

ดังนั้น การจบชีวิตด้วยตนเอง เป็นกระบวนการที่ผ่านการคิดมาอย่างถี่ถ้วน และต้องตัดสินใจอยู่หลายตลบกว่าจะปะทุไปสู่ขั้นตอนสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้น การแปะป้ายว่า “การฆ่าตัวตาย = การคิดสั้น” เป็นการมองข้ามต้นตอของปัญหาและอาจสร้างภาพจำผิด ๆ แก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ

.

⛅ อาจารย์สิริพร เอมอ่อน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแอพลิเคชันอูก้า เผยว่า การฆ่าตัวตายนั้น ในทางจิตวิทยาได้อธิบายว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่

.

1) ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factors) เช่น สารเคมีในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน ฮอร์โมนคอร์ติซอล อยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล

.

2) ปัจจัยทางจิตวิทยา (psychological factors) ได้แก่ พฤติกรรมและบุคลิกภาพ เช่น คนที่มีนิสัยเป็น perfectionist ก็จะมีแนวโน้มกลัวความผิดพลาด และมีโอกาสเครียดง่ายกว่าคนกลุ่มอื่น

.

3) ปัจจัยทางสังคม (sociological factors) คือปัญหาที่มาจากสังคมภายนอกและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ สภาวะทางเศรษฐกิจ หรือความตึงเครียดจากภาระงาน เป็นต้น

.

ทั้งนี้ อาจารย์สิริพรยังเสริมอีกว่า ปัญหาการแม้ว่าจะมีปัจจัยไม่ครบทั้งสามด้าน เพียงแค่ปัจจัยเดียว ก็มากพอที่จะกระตุ้นให้คนหนึ่งคน เกิดความคิดทำร้ายตนเอง ดังนั้น การเฝ้าระวังและตระหนักถึงปัจจัยทาง 3 ด้าน อย่างถี่ถ้วน เป็นวิธีที่สำคัญที่จะป้องกันเพื่อน ๆ และคนรอบข้าง จากความคิดทำร้ายตัวเองซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

.

โดยที่อาจารย์สิริพรยังได้มอบคำแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถสังเกตอาการคนใกล้ชิดของเรา ผ่านการจับสัญญาณจาก 2 จุดหลัก ๆ ได้แก่ สัญญาณ verbal หรือ คำพูด และ สัญญาณ non-verbal หรือ ภาษากายและพฤติกรรม

.

⛅ หากเป็นสัญญาณ verbal เราอาจสังเกตว่า คนนั้นมักจะบ่นหรือระบายว่า “เบื่อโลก หรือ ท้อแท้” นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียถี่ขึ้นผิดปกติ การโพสต์สเตตัสระบาย หรือ การแชร์ข้อความหรือเพลงเศร้า ๆ ก็นับเป็นอีกสัญญาณที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
.

⛅ ในส่วนของสัญญาณ non-verbal อาจสังเกตได้ว่า คนใกล้ชิดของเรา มีอาการซึมเศร้า ไม่มีแรง หรือมีพฤติกรรมแยกตัวจากผู้อื่นอย่างผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้ หากพบรอยแผลตามร่างกายของคนนั้น ก็นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำคัญว่า เขากำลังต้องการความช่วยเหลือจากใครสักคนอยู่ก็เป็นได้

.

⛅ นอกจากนี้ อาจารย์สิริพรยังแนะนำว่า เมื่อไหร่ที่หลุดเข้าไปอยู่ในห้วงความเศร้าเป็นระยะเวลานาน จนไม่สามารถหาทางออกมาจากความรู้สึกเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง หากเราเริ่ม รู้เท่าทันความรู้สึกตัวเอง และตระหนักอยู่เสมอว่าความเศร้าจะไม่อยู่กับเราไปตลอด เราก็อาจมีโอกาสหาทางออกให้กับชีวิตได้

.

⛅ แม้ว่าการตกอยู่ในภวังค์แห่งความเศร้า จะเหมือนกับการว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรโดยมองไม่เห็นชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความช่วยเหลืออีกมากมายในโลกนี้ที่รอให้เราเดินเข้าไปหา ไม่ว่าจะจากคนแปลกหน้า คนที่เรารัก หรือผู้เชี่ยวชาญ

.

💙💙 โดยเนื่องในเดือนป้องกันการฆ่าตัวตายสากลนี้ ผู้ใช้บริการปรึกษาปัญหาใจกับอูก้าครั้งแรก จะได้รับส่วนลด 5% เมื่อจองนัดหมายและกรอกรหัส OOCACARES ผ่านแอปพลิเคชัน ooca 💙💙 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ https://ooca.page.link/fbnewcomer2 และใช้โค้ดได้ถึง 30 กันยายน 2565 (*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ) ⛅

Read More
โควิด เครียด ฆ่าตัวตาย

เมื่อโควิดทำให้คนคิด..ฆ่าตัวตาย สัญญาณอันตรายที่ต้องระวัง!

สถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 นำมาซึ่งความรู้สึกวิตกกังวลและความรู้สึกสิ้นหวังของใครหลาย ๆ คน จนทำให้เราได้ยินข่าวเศร้าของคนที่ตัดสินใจ “ฆ่าตัวตาย” จากสถานการณ์อันน่าหดหู่ใจที่เกิดขึ้นนี้ ซึ่งหลาย ๆ ครั้งเหตุผลในการเลือกจากไปก็มีความเชื่อมโยงกับ “โควิด” ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวัง หวาดกลัวที่จะป่วยหรือจะกลายเป็นภาระของคนรอบข้าง ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโควิดไม่ได้ส่งผลกระทบแค่เพียงร่างกาย แต่ส่งผลกระทบต่อจิตใจในระดับที่ทำให้หลายชีวิตต้องจากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ

“ความเครียดพุ่งสูง ยอดฆ่าตัวตายเพิ่ม สวนทางกับสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง”

ย้อนไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้เห็นข่าวของการฆ่าตัวตายที่มีเหตุผลเกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิดอยู่หลายครั้ง ซึ่งสิ่งที่น่าเศร้าคือโควิดทำให้เกิดความเครียดที่พุ่งสูงขึ้น สวนทางกับสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง จนทำให้หลายคนเกิดความเครียดสะสม และเมื่อรู้สึกว่าไม่เห็นทางออกใด ๆ การฆ่าตัวตายจึงกลายมาเป็นทางออก

ซึ่งปัญหาอัตราการฆ่าตัวตายในช่วงสถานการณ์โควิดนั้นเกิดขึ้นทั่วโลก และตัวเลขกำลังไต่ระดับขึ้นสูงอย่างน่าตกใจ จุดเริ่มต้นของปัญหานี้หลัก ๆ มาจากความเครียดที่พัฒนาไปเป็นความกังวล ความสิ้นหวัง และความรู้สึกแตกสลายจากการที่โควิดพรากเอาทั้งหน้าที่การงาน ครอบครัว และชีวิตความเป็นอยู่ให้เปลี่ยนไปตลอดกาล นับว่าเป็นอีกวิกฤตหนึ่งที่เราควรเฝ้าระวัง โดยเฉพาะในประเทศไทยที่กำลังมีตัวเลขอัตราการฆ่าตัวตายในปีหลัง ๆ สูงขึ้นเช่นกัน

“ยิ่งโควิดระบาดยาวนาน คนที่ได้รับผลกระทบและเสี่ยงฆ่าตัวตายยิ่งขยาย”

โดยอธิบดีกรมสุขภาพจิต พญ.พรรณพิมล วิปุลากร เคยให้ข้อมูลการติดตามอัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยกับทางไทยรัฐออนไลน์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 ไว้ว่า คนไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายที่ค่อย ๆ ไต่ระดับสูงขึ้น โดยในปี 2563 มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงถึง 7.3 คนต่อแสนประชากร โดยกลุ่มเสี่ยงที่ฆ่าตัวตายมีปัจจัยมาจากกลุ่มผู้มีปัญหาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในครอบครัวหรือคนใกล้ชิด กลุ่มผู้เจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีปัญหาสุขภาพจิต หรือมีภาวะซึมเศร้า และกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ

ซึ่งในช่วงปี 2563 กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเป็นกลุ่มที่ต้องเพิ่มการเฝ้าระวังมากขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้เราอาจจะเรียกได้ว่า “ยิ่งโควิดยาว ยิ่งทำให้กลุ่มขยาย” เพราะคนกลุ่มนี้คือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง หลายคนกลายเป็นคนว่างงาน หลายคนสถานะการเงินไม่ดีอยู่แล้วก็ยิ่งโดนเหยียบซ้ำไปใหญ่ สุดท้ายก็กลายเป็นหนึ่งคนที่เลือกการฆ่าตัวตายเป็นคำตอบให้ตัวเอง

สัญญาณที่บ่งบอกว่าคนรอบข้างอาจคิด ‘ฆ่าตัวตาย'”

ในสถานการณ์โควิดแบบนี้ การสังเกตสัญญาณอันตรายสู่การฆ่าตัวตายจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุถึงสัญญาณของการฆ่าตัวตายที่สามารถสังเกตได้ เช่น

🙅🏻‍♂️ เริ่มแยกตัวออกจากสังคม อยู่โดดเดี่ยว

🤐 ไม่พูดกับใคร ไม่ติดต่อกับใคร

😩 มีอาการนอนไม่หลับเป็นเวลานาน

😰 หน้าตาเศร้าหมอง อมทุกข์อยู่ตลอดเวลา

🤯 มีความวิตกกังวลถึงสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่สามารถปล่อยวางได้

😭 ชอบพูดว่าอยากตายหรือไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรือบางครั้งก็โพสต์ข้อความสั่งเสีย

😤 บางรายอาจจะมีอารมณ์ที่แปรปรวน เช่น จากที่เคยเศร้ามานาน ก็กลายเป็นสบายใจอย่างผิดหูผิดตา

“คนใกล้ชิดช่วยได้ เป็นที่พักใจให้เบื้องต้น”

สัญญาณการฆ่าตัวตายเหล่านี้ หากญาติพี่น้องหรือคนสนิทพบเจอจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นหากเราพบสัญญาณการคิดฆ่าตัวตายจากคนใกล้ตัว เราอาจจะให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ดังนี้

  1. แสดงความเต็มใจช่วยเหลือ

สิ่งแรกที่เราสามารถทำได้คือการแสดงความเต็มใจช่วยเหลือ เพราะสิ่งหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้คนอยากฆ่าตัวตายตัดสินใจทำให้สำเร็จ ก็คือความรู้สึกเป็นภาระต่อคนรอบข้าง หลายคนที่ฆ่าตัวตายคิดว่าสิ่งนี้จะช่วยจบปัญหาให้กับเขาและคนรอบข้างได้ ย่ิงในสถานการณ์โควิดความรู้สึกสิ้นหวังก็ยิ่งสูงขึ้น ปัญหาอันเนื่องมาจากโควิดก็มากขึ้น ทำให้คนอยากฆ่าตัวตายอาจจะมีมากขึ้นตามไปด้วย

  1. ตั้งใจรับฟัง

ถ้าเราเจอกับสถานการณ์คนใกล้ตัวอยากฆ่าตัวตายแล้วไม่รู้ว่าจะต้องพูดอย่างไร ให้เราตั้งใจรับฟัง สนใจกับสิ่งที่เขาพูดอย่างจริงจังโดยไม่ตัดสินไปว่าปัญหานั้นเล็กหรือใหญ่ หลาย ๆ คนที่เผชิญกับสถานการณ์ที่คนใกล้ตัวคิดอยากฆ่าตัวตายอาจจะไม่รู้ว่าควรจะพูดอะไร แต่สิ่งหนึ่งที่คุณทำได้ก็คือ “การฟัง” ให้อีกฝ่ายได้ระบายปัญหาโดยมีเรารับฟังอย่างจริงใจ

  1. ถามให้เล่า ชวนสะท้อนความคิด

ใช้วิธีการทวนคำพูดของพวกเขา เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราตั้งใจรับฟัง ตั้งใจรับรู้ความรู้สึกและพยายามที่จะเข้าใจเขา พยายามให้เขาพูดเล่าเรื่องราว ความรู้สึกคับข้องใจที่เกิดขึ้นว่าเพราะอะไรที่ทำให้เขาอยากฆ่าตัวตาย สิ่งใดที่ป้องกันไม่ให้เขาฆ่าตัวตาย

4. ภาษากายนั้นสำคัญ

แสดงความเห็นอกเห็นใจผ่านทั้งสีหน้าและภาษากายว่าเราตั้งใจฟังเขาจริง ๆ ไม่ตัดสิน ไม่สั่งสอน ไม่พูดปัดความรู้สึกของคนที่อยากฆ่าตัวตายว่าเป็นเรื่องที่เล็กน้อย

5. ระวังคำพูดท่ีใช้

เช่น “ดูสิว่าคนนั้นยังผ่านไปได้” ซึ่งจะกลายเป็นการตัดสินว่าคนที่อยากฆ่าตัวตายไม่เข้มแข็งพอ “อย่าไปคิดมากเลย” ซึ่งกลายเป็นว่าเขาผิดใช่ไหมที่คิดมากไปจนอยากฆ่าตัวตาย ให้โอกาสเขาได้ระบายความทุกข์ ที่ทำให้เขาได้ปลดปล่อยความคิดอยากฆ่าตัวตายออกมา และทำให้รู้สึกว่ายังมีคนรับฟังและเคียงข้างเขา

“ช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว ต้องติดต่อแหล่งช่วยเหลืออย่างจริงจัง เพื่อป้องกันและยับยั้งการฆ่าตัวตายสำเร็จ”

วิธีการ 5 ข้อที่เราแนะนำเป็นเป็นเพียงสิ่งที่เราสามารถทำเองได้เพื่อยับยั้งการฆ่าตัวตายเบื้องต้น แต่อีกสิ่งที่สำคัญคือการติดต่อหาแหล่งช่วยเหลืออย่างจริงจัง เพราะความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายไม่ใช้สิ่งที่เกิดขึ้นและจะหายไปเองได้ตลอด ซึ่งเราสามารถช่วยเหลือต่อไปได้ดังนี้

1. พาไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

ผู้ที่คิดฆ่าตัวตายทุกรายต้องได้รับการตรวจประเมินสภาพจิต เพราะอาจจะเกิดจากการป่วยเป็นโรคจิตเวชบางประการ เช่น โรคซึมเศร้า ไบโพล่าร์ ซึ่งต้องได้รับการบำบัดรักษาและดูแลอย่างต่อเนื่องจากผู้เชี่ยวชาญ

2. กระตุ้นให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ผู้เชี่ยวชาญอาจจะแนะนำให้คนใกล้ตัวชวนผู้ที่มีความคิดฆ่าตัวตาย เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่างให้ดียิ่งขึ้น เช่น ชักชวนให้ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ได้ติดต่อสื่อสารกับผู้คน เน้นการดูแลสุขภาพของตัวเองมากขึ้น

3. ติดตามการรักษา

หลังจากที่ได้พบแพทย์และได้รับยาหรือวิธีการบำบัดมา คนใกล้ชิดก็ควรจะช่วยตรวจสอบว่าเขาได้ทำตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ หากอาการไม่ดีขึ้นต้องรีบแจ้งแพทย์ทันที

“ไม่ได้มีความคิดอยากฆ่าตัวตายก็พบจิตแพทย์ได้”

รู้ไหมว่า คนทั่วไปก็สามารถเข้ารับการปรึกษากับจิตแพทย์ได้ด้วยเช่นกัน เพราะการเข้าพบจิตแพทย์ช่วยให้สุขภาพจิตของเราดีขึ้นได้ ทำให้เรามีความเข้าใจใจตนเองมากขึ้น ผ่านการพูดคุยกับจิตแพทย์ที่จะทำหน้าที่สะท้อนความรู้สึกของเรา ทำให้เรามองเห็นตัวเอง ยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้น

ซึ่งการยอมรับตัวเอง นับว่าเป็นด่านแรกของการแก้ไขปัญหา และยังทำให้คนรอบข้างเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น การยอมรับตัวเองของคนที่คิดฆ่าตัวตายก็จะนำไปสู่การบำบัดและรักษาที่จะทำให้อาการบรรเทาลง ถึงแม้ว่าความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายอาจจะไม่ได้หายไปในทันทีทันใด แต่ก็อาจจะทำให้รู้สึกทุกข์ทรมานน้อยลง เพราะได้ผู้รับฟังที่เชี่ยวชาญในการดูแลใจคอยอยู่เคียงข้าง

ในช่วงสถานการณ์โควิดที่ยากลำบากนี้ หากคุณ หรือคนใกล้ตัวกำลังเป็นอีกคนที่รู้สึกทุกข์ใจจนเคยคิดอยากฆ่าตัวตาย อูก้าขอจับมือคุณไว้แน่น ๆ และขอโอบกอดให้กำลังใจ คุณสามารถติดต่อเรามาได้เสมอ อูก้าและทีมนักจิตวิทยาแลทีมจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมรับฟังคุณจากหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่ทำให้ใจของคุณหนักแค่ไหน ให้เราได้ช่วยคุณบรรเทาความรู้สึกตรงนี้ลงนะคะ คุณมีเราเคียงข้างเสมอ


ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/sccovid19blog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์ #COVID19

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.moph.go.th/index.php/news/read/222

https://www.cigna.co.th/health-wellness/tip/jigsawforgoodlife-ep4

https://www.hfocus.org/content/2019/09/17809

https://www.thairath.co.th/news/society/2025792

https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1134

https://www.facebook.com/740509479323038/posts/3345507885489838/

Read More