รู้หรือไม่ ประเทศไทยมี 6 จังหวัดที่ไม่มีนักจิตวิทยาเลยสักคน

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่อาจจะยังตอบง่าย ๆ ไม่ได้ในทันที แต่ข้อมูลเหล่านี้ และข่าวเศร้ามากมายที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมานี้ คงจะเป็นธงแดงที่เตือนให้ “เรา” ควรจะหันมา “เตรียมรับมือ” กับวิกฤติสุขภาพจิตที่กำลังฟักตัวในประชากรทุกช่วงอายุ …. และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิกฤตินี้ไม่สามารถแก้ได้ในชั่วพริบตา 

.

ปี 2565 รายงานจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าประเทศไทยมีจิตแพทย์รวม 845 คน ซึ่งถือว่าเรามีจิตแพทย์ 1.28 คน ต่อประชากรจำนวนหนึ่งแสนคน [1] ซึ่งถ้าเทียบกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่มีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อประชากรมากที่สุดในโลก จะพบว่าสวิตเซอร์แลนด์มีจิตแพทย์อยู่ที่ที่ 47.17 คนต่อแสนประชากร

.

,

ในขณะที่ถ้าเทียบกับประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นลำดับต้น ๆ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ญี่ปุ่นมีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อแสนประชากรอยู่ที่ 12.55 และเทียบกับเกาหลีใต้มีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อแสนประชากรอยู่ที่ 7.91 ซึ่งถือว่ามากกว่าไทยหลายเท่า และในส่วนของนักจิตวิทยา ประเทศไทยมีมีนักจิตวิทยาเพียง 1,037 คนต่อคนทั้งประเทศ คิดเป็น 1.57 คนต่อแสนประชากรด้วยกัน

.

.

หากไม่นับสาเหตุเรื่องระยะเวลาในการเรียนจบด้านจิตแพทย์ (ที่สามารถจ่ายยาได้) ต้องใช้เวลานานกว่าจะจบหลักสูตร แล้วนั้น (9-10 ปี) แม้เราจะโชคดีที่ประเทศไทยยังมีวิชาชีพร่วมทั้ง นักจิตวิทยาคลินิก พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาให้คำปรึกษา แต่อย่างไรก็ตามการกระจายบุคลากรด้านสุขภาพจิตไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ยังต้องคำนวณจากหลายปัจจัยด้วยกัน 

.

.

ความท้าทายในการกระจายการให้บริการ สะท้อนผ่านข้อมูลที่ว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา ยโสธร กลายเป็นจังหวัดที่ไม่มีจิตแพทย์เลยสักคน (เพิ่งมีเพิ่ม 2 คนในปีที่ผ่านมา) ส่วนนักจิตวิทยา ยังมีอีก 6 จังหวัดที่ไม่มีนักจิตวิทยาเลยสักคน (ได้แก่ตราด แพร่ สมุทรสงคราม สิงห์บุรี หนองบัวลำภู และอ่างทอง)

.

.

ยิ่งเมื่อเจอกับวิกฤติโรคระบาด เศรษฐกิจ อัตราความเสี่ยงฆ่าตัวตาย และความต้องการที่จะเข้ารับการรักษาก็มีสูงขึ้นทั่วโลก ในขณะที่การผลิตบุคลากรในด้านนี้ต้องใช้เวลาเตรียมล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 5 ปี – คำถามคือ แล้วโลกปรับตัวเพื่อหาทางบรรเทาทุกข์นี้อย่างไร ?

.

.

เนื่องใน #วันสุขภาพจิตโลก #WorldMentalHealthDay2022 อูก้าจึงได้รวบรวมแนวคิดที่น่าสนใจจากทั่วโลก เช่นว่า แพทย์ในกรุบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยมจ่ายยาด้วยการให้ผู้ใช้บริการไปเข้าพิพิธภัณฑ์ในเมือง [2] / นักวิจัยทั่วโลกได้สร้างความร่วมมือกันสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมที่ครอบคลุมความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากขึ้น [3] / การใช้ปัญญาประดิษฐ์คัดกรองเนื้อหาหรือคำศัพท์ที่นำไปสู่การกระตุ้นให้คนทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย [4] / การใช้แพทย์ทางไกล (Telehealth) มาช่วยให้บริการผู้ป่วยนอกในช่วงโรคระบาดโควิด [5] และอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นการเฝ้าระวังหรือป้องกันก่อนจะสาย เช่น การปรับวัฒนธรรมองค์กรให้ยืดหยุ่นและเป็นมิตรต่อผู้ที่กำลังรักษาอาการทางจิตเวชให้มากขึ้น

.

.

นอกจากนี้เทรนด์การใช้แอพลิเคชันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกัน / ประเมิน / เรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือรับบริการสุขภาพจิต ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก โดยในปัจจุบันนี้ ใน App Store และ Play Store มีแอพลิเคชันด้านสุขภาพจิตมากกว่า 10,000+ แอพลิเคชันด้วยกัน ส่งผลให้องค์กรอย่าง Onemind, Health Navigator และ World Economic Forums เริ่มที่จะพัฒนาการคัดกรองมาตรฐานและให้ “การรับรอง” ในแง่จริยธรรมในการให้บริการ, ผ่านการทดสอบทางคลินิก, ความปลอดภัย และความมีประสิทธิภาพ [6]

.

.

อย่างไรก็ตาม คำถามที่ว่านวัตกรรมต่อไปนี้ได้เกิดขึ้น (มาสักระยะแล้ว) แต่จะ “ใช้ได้จริง” เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการให้บริการได้อย่างไร ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ทั้งสังคมต้องบูรณาการร่วมกันนอกเหนือไปจากส่วนของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เช่น

.

–  เราจะสั่งยาให้คนไข้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไรหากจังหวัดนั้น ๆ ไม่มีพื้นที่สาธารณะ หรือไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่สร้างแรงบันดาลใจ? 

.

– ปัญญาประดิษฐ์ที่อ่านข้อความภาษาไทยถูกส่งเสริมและถูกนำไปใช้ประโยชน์มากแค่ไหน? 

.

– ผู้มีรายได้น้อยจะเข้าถึงบริการสุขภาพจิตผ่านสวัสดิการต่าง ๆ ได้อย่างไร ? เราจะป้องกันให้ประชากรเกิดความเสี่ยงทางสุขภาพจิตน้อยลงตั้งแต่ตอนอายุน้อยได้ไหม เพราะในปีที่ผ่านมานี้ ข้อมูลจากยูนิเซฟระบุว่า เด็กไทยอายุ 5-9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน และ วัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี ประมาณ 1 ใน 7 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ [7] ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

.

– ฯลฯ

.

.

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่อาจจะยังตอบง่าย ๆ ไม่ได้ในทันที แต่ข้อมูลเหล่านี้ และข่าวเศร้ามากมายที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมานี้ คงจะเป็นธงแดงที่เตือนให้ “เรา” ควรจะหันมา “เตรียมรับมือ” กับวิกฤติสุขภาพจิตที่กำลังฟักตัวในประชากรทุกช่วงอายุ …. และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิกฤตินี้ไม่สามารถแก้ได้ในชั่วพริบตา 

.

.

การฝ่าปัญหานี้ จะต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และอูก้าเชื่อว่า เราทุกคนสามารถเป็นส่วนร่วมในการให้ความรู้ที่ถูกต้อง การสร้างความตระหนัก และการส่งเสียงให้เกิดการจัดสวัสดิการด้านสุขภาพจิตให้กับผู้ที่ต้องการ

.

.

สุขสันต์วัน #วันสุขภาพจิตโลก #WorldMentalHealthDay2022 โดยอูก้าขอเชิญชวนมาคุยกันกับ ‘อิ๊ก’ กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ ผู้ก่อตั้ง Ooca แพลตฟอร์มให้บริการด้านสุขภาพจิต ในหัวข้อ “ถอดรหัสอนาคตสุขภาพจิตคนไทย” โดยเล่าจากประสบการณ์บริหารแพลตฟอร์มอูก้ามาตั้งแต่ปี 2017 จนมาถึงปัจจุบันที่อูก้าได้ให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน ดูแลผู้ใช้บริการหลายหมื่นคน รวมถึงได้ขยายผลไปยังการให้บริการทางสังคมผ่านโครงการ Wall of Sharing ที่ช่วยดูแลสุขภาพใจให้กับนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในยามวิกฤติ ผ่านทาง Twitter Space ในวันที่ 10 ตุลาคม 2022 เวลา 20.00 เป็นต้นไป

.

-ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะได้หาแนวทางในการรักษาเยียวยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy .

– สนใจปรึกษานักจิตวิทยา ดาวน์โหลดได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

.

.

#OOCAitsOK #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

——- 

[1] https://data.go.th/dataset/specialist และข้อมูลรวบรวมโดย Rocketmedialab

[2] https://www.weforum.org/videos/doctors-in-brussels-prescribe-free-museum-visits-to-boost-mental-health

[3] https://www.weforum.org/agenda/2022/09/diverse-genetic-data-tools-factors-causing-mental-illness/

[4] https://www.scientificamerican.com/article/mining-social-media-reveals-mental-health-trends-and-helps-prevent-self-harm/

[5] https://news.ohsu.edu/2022/04/04/pandemic-drives-use-of-telehealth-for-mental-health-care

[6] https://www.scientificamerican.com/article/how-consumers-and-health-care-providers-can-judge-the-quality-of-digital-mental-health-tools/

[7] https://www.unicef.org/thailand/th/press-releases/ยูนิเซฟและกรมสุขภาพจิตชี้สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยน่าเป็นห่วง

Read More

เมื่ออาการทางกาย หลายครั้งสัมพันธ์กับอาการทางใจ

อ.สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาของอูก้า เล่าให้เราฟังว่า “หลายๆ คน เลือกที่จะเพิกเฉยกับความเครียดหรือความเจ็บปวดทางใจ จนกว่าอาการดังกล่าวจะถึงจุดพีคแล้วค่อยเข้ามาหาผู้เชี่ยวชาญ” แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถมาหาผู้เชี่ยวชาญได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อคลี่คลายความเครียดและความกังวลก่อนที่ทุกอย่างจะสายและพังทลายลงมา

.

โดยเราสามารถเริ่มต้นสังเกต “สัญญาณเตือน” ได้ว่า เรามีอาการเจ็บกายที่เกิดขึ้นจากการทำงานหรือไม่ เช่น ปวดหลัง ปวดท้อง หรืออาการปวดหัว ซึ่งอาการเหล่านี้มักถูกมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นผลปกติที่เกิดจากการทำงานหนัก แต่ที่จริงแล้ว อาการดังกล่าวก็เป็นเสียงสะท้อนของร่างกายที่กำลังบอกใบ้ว่าจิตใจของเรากำลังเหนื่อยล้าและเสียสมดุล

.

ดังนั้น ถ้ารักษาทางกายแล้วไม่ยอมหาย บางทีปัจจัยทางใจก็ต้องถูกเอามาพิจารณาด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งเราสามารถระบายความรู้สึกเหล่านี้ได้กับคนที่เราไว้ใจอย่างเพื่อน ครอบครัว หรือแฟน แต่ถ้าบางเรื่องเราไม่อยากเล่าให้คนรู้จักหรือคนที่เกี่ยวข้องฟัง การปรึกษากับนักจิตวิทยาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเยียวยาใจเราได้เช่นกัน

.

โดยเฉพาะในระยะหลังมานี้ การให้จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพจิตของบุคลากรในองค์กร ก็เป็นอีกส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางใจให้และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าใจ “ธรรมชาติ” ของตนเองได้ดียิ่งขึ้น เพื่อหาทางออกให้รู้สึกเหนื่อยล้าน้อยลงและพัฒนาตัวเราไปสู่เวอร์ชั่นที่มีความสุขกับชีวิตมากกว่าเดิม

.

อูก้าเชื่อว่าทุกปัญหามีทางออกเสมอ แต่ถ้าเพื่อนๆรู้สึกว่ายังต้องการหาใครสักคนมาร่วมทางเพื่อฝ่าฟันปัญหาไปด้วยกัน อูก้าก็พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างทุกคน และหวังว่าจะช่วยคลายความเหนื่อยล้าทางใจของเพื่อน ๆ ได้ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม

.

เพราะไม่ว่าใครก็ต้องการจุดพักใจที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับตัวเอง

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย : https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย : https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official :

https://lin.ee/6bnyEvy

Read More

ป้องกันภาวะหมดไฟ ด้วยสวัสดิการดูแลใจในระยะยาว

เพราะ Job Burnout ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจไปยังกิจกรรมที่ผ่อนคลาย แต่ต้องการการพูดคุยเชิงลึกถึงคุณค่าในตัวเองและการแก้ปมปัญหาต่างๆ ที่อาจจะพูดกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าตรงๆ ได้ยาก

.

Job Burnout หรือภาวะหมดไฟจากการทำงาน เป็นลักษณะความเครียดเฉพาะตัวที่ต่างจากความเหนื่อยล้าทั่ว ๆ ไป เนื่องจากความเหนื่อยล้าทั่วไปนั้นหากแวะทำกิจกรรมคลายเครียดก็พอจะบรรเทาลงได้ แต่ Burnout ไม่ได้เรียบง่ายแบบนั้น หากแต่ Job Burnout คือภาวะความเหนื่อยล้าทางร่างกายและอารมณ์ อันเกิดจาก…

.

🧐 การที่ตัวเรารับรู้ถึงความสำเร็จได้ยากขึ้น

🧐 รับรู้ถึงการเป็นตัวของตัวเองที่ค่อย ๆ เลือนหายไป

🧐 รู้สึกกดดันจากความคาดหวังในการทำงานของตัวเอง

.

ซึ่งสำหรับหลายๆ คน กว่าจะรู้ตัว ไฟก็ดับสนิทแถมยังโดนราดน้ำตาจนจุดไม่ติด ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีต่อใครเลยทั้งต่อตัวเราเอง ทั้งต่อทีมงาน และองค์กร

.

👀

ศูนย์การแพทย์เชิงวิชาการ Mayo Clinic จากรัฐมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเสนอคำถาม 10 ข้อ ที่เอาไว้ประเมินว่าพนักงานกำลังอยู่ในสภาวะหมดไฟทำงาน (Job Burnout) หรือไม่ ซึ่งสามารถสำรวจได้จากรายการต่อไปนี้:

.

1. เคยประชดประชัน พูดจาเสียดสีหรือจับผิดคนอื่นในที่ทำงานไหม?

2. รู้สึกไม่อยากออกไปทำงาน และเมื่อถึงที่ทำงานกลับไม่รู้ว่าจะเริ่มทำงานอะไรบ้างหรือเปล่า?

.

3. รำคาญใจหรือไม่สามารถอดทนต่อการกระทำหรือคำพูดของเพื่อนร่วมงานได้น้อยกว่าแต่ก่อนไหม?

4. รู้สึกว่าไม่อยากจะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ อีกต่อไป หรือคิดงานไม่ค่อยออกบ้างหรือเปล่า?

.

5. การจดจ่ออยู่กับงานเป็นเวลานานกลายเป็นเรื่องยากแล้วหรือยัง?

6. ไม่รู้สึกพึงพอใจในความสำเร็จที่เกิดจากงานของตนเองไหม?

.

7. รู้สึกผิดหวังเพราะรับรู้ว่างานของตนเองไม่ได้ดีอย่างที่คิดไว้ไหม?

8. เคยใช้อาหาร ยาเสพติดหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ให้ตัวเองรู้สึกดีจากความรู้สึกแย่ ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานหรือเพื่อนร่วมงานหรือไม่?

.

9. กิจวัตรการนอนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือเปล่า? (เช่น นอนหลับยาก นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อยๆ หรือนอนหลับฝันร้ายติดต่อกันหลายวัน หรือนอนหลับมากจนเกินไปจนไม่อยากตื่นไปทำงาน)

.

10. เคยทรมานจากอาการปวดหัว ปวดท้อง มีปัญหาการขับถ่ายหรือมีอาการผิดปกติทางกายที่หาสาเหตุไม่ได้ เมื่อจำเป็นจะต้องไปทำงาน หรือขณะทำงานอยู่บ่อย ๆหรือเปล่า?

.

🔥🔥🔥

หากพนักงานมีอาการดังกล่าวร่วมกัน แปลว่าระบบนั้นกำลังต้องการการยกเครื่องครั้งใหญ่เลยทีเดียว

.

และเพราะ Job Burnout ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจไปยังกิจกรรมที่ผ่อนคลาย แต่ต้องการการพูดคุยเชิงลึกถึงคุณค่าในตัวเองและการแก้ปมปัญหาต่างๆ ที่อาจจะพูดกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าตรงๆ ได้ยาก ในองค์กรขนาดใหญ่ที่เล็งเห็นว่าสุขภาพจิตเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาประสิทธิภาพ จึงได้จัด “โปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน (Employee assistance program หรือ EAP)” ซึ่งเป็นบริการทางจิตวิทยาให้กับพนักงานที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต หรือเสี่ยงต่อภาวะหมดไฟ

.

👩‍⚕️⛅️

อาจารย์ สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้าก็ฝากมาบอกทุกคนว่า “หมดไฟ หมดได้แต่อย่าหมดรักตัวเองนะคะ เราสามารถเติมไฟให้ตัวเองได้ด้วยการเริ่มต้นรักและดูแลหัวใจตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ค่ะ”

.

เพราะเราทุกคนในอูก้าพร้อมจะรับฟังทุกปัญหาและร่วมหาทางออกไปพร้อมกับเพื่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องที่คนวัยทำงานต้องแบกรับ โดยอูก้าขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่ทำงานหนักเพื่ออนาคตของตัวเองและคนที่คุณรัก – อย่าหักโหมจนลืมดูแลสุขภาพกายใจ หยุดพักแล้วแวะมาคุยเพื่อเติมไฟและพลังใจกันได้เสมอ เพราะคุณน่ะมีอยู่แค่คนเดียวในโลกเองนะ 🙂

.

.

อ้างอิง

.

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่คัดมาให้ทุกคน

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง

#WORKLIFEBALANCE #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์ #burnout #หมดไฟ

Read More

เดี๋ยวสุข เดี๋ยวซึมเศร้า หรือเราจะเป็นไบโพลาร์?

กระแสต่าง ๆ มากมายในโซเชียลมีเดียที่ผ่านหน้าไทม์ไลน์ของเราไม่เว้นแต่ละวัน เดี๋ยวก็มีข่าวดีบ้าง เดี๋ยวก็มีข่าวร้ายบ้าง ผสมปนเปกันไปจนเปลี่ยนอารมณ์กันแทบไม่ทัน ทำให้หลายคนสงสัยกันว่านี่เรากำลังเป็นไบโพลาร์หรือเปล่านะ? เพราะดูเหมือนว่าพอเจอข่าวดีเราก็สุขไปสักพักหนึ่ง แต่พอมีข่าวร้ายตามมาติด ๆ กันก็กลับเศร้าขึ้นมาทันที และไม่ใช่แค่อารมณ์แปรปรวนเท่านั้นนะ แต่สุขภาพใจของเราก็พังไม่เป็นท่าจนเสี่ยงที่จะป่วยใจด้วยเมื่อต้องคอยตามเสพข่าวที่ไม่เคยหยุดนิ่งในโซเชียลมีเดียแบบนี้ ถ้าไม่ได้เป็นไบโพลาร์แล้วจะเป็นอะไรได้หล่ะ?

โซเชียลมีเดียส่งผลให้อารมณ์แปรปรวนก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเป็น ‘ไบโพลาร์’

เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) เป็นโรคทางจิตเวชที่มีอาการที่เป็น ๆ หาย ๆ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก โดยมีอาการของ Manic Episode หรือ Hypomanic Episode ที่มีอาการคลั่ง คึกคักกว่าปกติสลับกับ Major Depressive Episode หรืออาการเศร้าที่มีลักษณะเหมือนกับโรคซึมเศร้า หรือมีแค่อาการคึกอย่างเดียวไม่ตัดสลับกับเศร้าก็ได้ ทั้งนี้ ไบโพลาร์จะมีอาการที่แสดงออกมาได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น

😜 ด้านอารมณ์ เช่น คึกคะนอง ขาดความยับยั้งชั่งใจ หงุดหงิดง่าย เป็นต้น

🗨 ด้านความคิด เช่น เชื่อมั่นในตนเองมากจนเกินไป ไม่ยอมรับฟังผู้อื่น เปลี่ยนใจง่าย หลงผิด เป็นต้น

🔎 ด้านพฤติกรรม เช่น ขยันมากกว่าปกติ พูดคุยมากขึ้นกว่าปกติ พูดเร็ว ใช้จ่ายสิ้นเปลือง เป็นต้น

ซึ่งอาการดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน โดยแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่อาการเหล่านี้ต้องมีช่วงเวลาแสดงอาการคึกคักเป็นเวลานานติดต่อกัน 1 สัปดาห์ ถึงจะบ่งชี้ได้ว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็น ‘โรคไบโพลาร์’

อย่างไรก็ตาม การที่เราอารมณ์แปรปรวนบ่อย ๆ จากการเสพข่าวในโซเชียลมีเดีย ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเป็นไบโพลาร์เสมอไป เพราะอาการที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้หลายคนพอที่จะตัดสินได้ว่าเราเองยังไม่เข้าเกณฑ์วินิจฉัยของโรคนี้ แต่ถ้าหากเรารู้สึกว่ามีอารมณ์แปรปรวนเกิดขึ้นกับตัวเราเองเมื่อไหร่ การไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจอย่างจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาก็เป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดในการคลายข้อสงสัยว่าเรากำลังเป็นไบโพลาร์หรือไม่

แต่อะไรที่จะมาอธิบายอารมณ์แปรปรวนจากการเสพข่าวในโซเชียลมีเดียของเราได้บ้างหล่ะ?

องค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ให้เห็นว่าแม้ว่าคนรอบตัว ครอบครัว เพื่อน ที่เรากำลังติดตามในโซเชียลมีเดียก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนจากโซเชียลมีเดียได้เหมือนกัน เมื่อเรายิ่งติดตามผู้ใช้เหล่านี้ในโซเชียลมีเดียของเรามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มข้อมูลในการรับรู้ของเรามากยิ่งขึ้นเท่านั้น ทำให้เกิดการแสดงออกทางอารมณ์ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านลบและด้านบวกจนนำไปสู่ความเครียดสะสมแทนที่จะเป็นไบโพลาร์อย่างที่ทุกคนเข้าใจกัน

เมื่อโซเชียลมีเดียทำสุขภาพใจพังไม่เป็นท่า ลองหาอะไรที่ไม่ใช่โซเชียลมีเดียมาฮีลใจแทนกัน

อย่างที่รู้กันว่า ปัญหาความเป็นอยู่ในประเทศไทย ไหนจะเป็นสถานการณ์โควิด-19 ภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่าง #น้ำท่วม และอีกมากมาย ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่แล่นในโซเชียลมีเดียไม่มีวันหมดไป ซึ่งการรับข่าวสารที่ค่อนข้างรวดเร็วผ่านโซเชียลมีเดียส่งผลต่อสภาพจิตใจของเราไม่น้อยเลยทีเดียว

หากจะให้เลิกติดตามไปเลยก็คงเป็นการแยกตัวเองออกจากสังคมไปหน่อย ต้องยอมรับว่าการใช้ชีวิตโดยไม่มีโซเชียลมีเดียในยุคนี้แทบจะไม่ต่างอะไรจากการโดดเดี่ยวตัวเองออกจากผู้คน ทำให้หลายคนยังต้องเจอกับสถานการณ์เดิม ๆ หรือข่าวสารที่ไม่หยุดนิ่งแบบนี้ และยังต้องรู้สึกเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายอยู่ตลอดเวลาจนนำไปสู่ความเครียดสะสม หากใครก็ลังเป็นเช่นนั้น การหาตัวช่วยในการให้ผ่อนคลายความเครียดก่อนหรือหลังจากที่จัดการกับปัญหาแล้ว อย่าง ‘กิจกรรมผ่อนคลายความเครียด’ ก็ช่วยให้ความเครียดที่สะสมอยู่สลายหายไปได้ ทำให้เรากลับมาใช้ชีวิตและทำอะไรตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ การแบ่งเวลาในการเสพข่าวในโซเชียลมีเดียอย่างเหมาะสมก็ช่วยให้ความเครียดสะสมที่เกิดจากการรับรู้ข่าวสารผ่านโซเชียลซ้ำแล้วซ้ำเล่าลดลงได้เป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันโซเชียลมีเดียเองก็แทบจะเป็นสื่อหลักของทุกคนไปแล้ว ทำให้กลายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับหลาย ๆ คนที่จะแบ่งเวลาไม่เล่นโซเชียลมีเดียได้ แต่ถ้าหากเราลองโฟกัสกับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่ไม่ใช่การไถหน้าจอโทรศัพท์ และใช้เวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น ได้สำรวจว่าอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ก็ช่วยให้เข้าใจตนเองได้ว่าข่าวสารบ้านเมือง และสิ่งรอบตัวของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่เราเองต่างหากที่จะสามารถจัดการกับอารมณ์ของเราได้มากน้อยแค่ไหน

สุดท้ายนี้ ถ้าความคิด ความเครียดหรือภาวะอารมณ์ที่กำลังเป็นอยู่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเรา หรือหากสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงจะเป็นไบโพลาร์ การไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจอย่างจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็เป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดในการจัดการกับภาวะเหล่านี้ได้ และเพื่อน ๆ คนไหนต้องการพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ เพื่อช่วยจัดการกับความเครียดหรือภาวะอารมณ์ต่าง ๆ ที่กำลังรบกวนจิตใจของคุณ อย่าลืมให้อูก้าเป็นผู้ช่วยในการดูแลสุขภาพใจของคุณนะ 😊💙

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/L7UQ

อ้างอิงข้อมูลจาก:

มาโนช หล่อตระกูล และ ปราโมทย์ สุคนิชย์ บรรณาธิการ (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4 (เรียบเรียงใหม่). กรุงเทพมหานคร. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

PLOS ONE: https://bit.ly/2WfEQVJ

Read More

กังวลอนาคตแบบนี้ต้องไปหาใครดี จิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือหมอดู?

ในช่วงที่หลายคนรู้สึกไม่มั่นคงกับชีวิต ไหนจะสถานการณ์ #โควิด19 ที่เข้ามาสร้างความไม่แน่นอนให้กับอนาคตแบบนี้ ทำให้ผู้คนเป็นกังวลกันมากขึ้นว่าหลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของเราบ้าง บางคนถึงขั้นเลือกที่จะจัดการกับความกังวลของตัวเองด้วยการหันไปพึ่งสายมูเตลู หรือตัดสินใจไปดูดวงกันเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเรื่องทางจิตวิญญาณอย่างบุญ-บาป นรก-สวรรค์ หรือไสยศาสตร์ ไม่ตอบโจทย์กับคนรุ่นใหม่แล้วก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงนี้ ‘การดูดวง’ หรือ ‘#มูเตลู’ กำลังเป็นกระแสในสังคมเป็นอย่างมาก และกลายเป็นว่าทำให้ผู้คนหันไปพึ่งการดูดวงในการจัดการกับความกังวลเกี่ยวกับชีวิตในอนาคตกันมากขึ้น 🥺

🔮 ทำไมคนเราถึงชอบการดูดวง?

ความแม่นของการดูดวงเป็นตัวตัดสินใจว่าเราพอใจกับคำทำนายหรือไม่ คนที่ชอบดูดวงหลายคนคงมีหมอดูหรือเพจดูดวงในใจที่วัดจากความแม่นยำของหมอดู โดยเหตุการณ์ที่ทำนายดวงได้อย่างแม่นยำสามารถอธิบายได้ตามหลักจิตวิทยาที่เรียกว่า The Barnum-Forer Effect ได้อธิบายไว้ว่า คำทำนายส่วนใหญ่เป็นเรื่องทั่วไปที่สามารถใช้ได้กับทุก ๆ คน เช่น การทำนายว่าคุณต้องประหยัดในช่วงโควิด-19 หรือ คุณมีแนวโน้มที่จะได้แฟนหน้าตาดี คำทำนายแบบนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอเหมือนกัน นอกจากนี้การดูดวงโดยถามอายุ วันเกิด จักรราศี หรือการเลือกไพ่ 4 ใบก่อนเปิดดูดวง ทำให้เรารู้สึกว่าคำทำนายเกิดมาเพื่อเราจริง ๆ เพราะดูมีลักษณะเฉพาะตัวตรงกับเรามาก ทำให้เราเชื่อคำทำนายนี้ไปอย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ เลย

นอกจากนี้ คนเราเลือกที่จะเชื่อในสิ่งที่ตนเองอยากเชื่อจนเกิดเป็นอคติยืนยันความคิดของตนเอง (Confirmation Bias) คือ การที่เราเชื่อแต่ข้อมูลที่ต้องการจะเชื่อโดยไม่พิจารณาถึงข้อมูลอื่น ๆ ความอคติในการคิดแบบนี้ทำให้เราเชื่อมโยงทุกเหตุการณ์เข้ากับการดูดวง เช่น ดูดวงรายวันแล้วพบว่าคนคุยเก่าจะกลับมาหาในช่วงนี้ พอคนคุยเก่าทักมาหาเราจริง ๆ เราก็จะเชื่อมโยงกับคำทำนายที่อ่านมาและรู้สึกว่าเป็นคำทำนายที่ตรงมาก ๆ ทั้งที่คนคุยเก่าอาจจะมีเหตุผลอื่นที่ทักมาหาเราก็ได้ เมื่อเหตุการณ์เป็นจริงตามคำนาย เราก็จะสนใจและจดจำได้เฉพาะเหตุการณ์เหล่านี้ ในขณะที่คำทำนายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เราก็จะไม่ได้ให้ความสำคัญหรือสนใจมัน ทุกครั้งที่เรารู้สึกว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นไปตามคำทำนายอย่างที่คาดหวังไว้ มันจะยิ่งทำให้เราอยากดูดวงมากขึ้น

🔮 อยากรู้อนาคตล่วงหน้า ‘หมอดู’ ช่วยคุณได้ ?

ความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่ผู้คนต้องคอยหวาดระแวงทั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 และภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่าง #น้ำท่วม แบบนี้ ทำให้เรารู้สึกไม่สามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตได้ และเกิดความกังวลกับอนาคต ไม่รู้ว่าหากก้าวเดินต่อไปแล้วจะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง การดูดวงจึงเป็นเหมือนแสงไฟที่ช่วยให้เห็นทางเดินข้างหน้าและเป้าหมายในอนาคต ผู้คนที่ได้ดูดวงได้รับความสบายใจกับการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคต อีกทั้งยังช่วยในการตัดสินใจสำหรับคนที่ยังลังเลกับทางเลือกที่สำคัญของตัวเอง หรือรู้สึกกังวลว่าควรเลือกทางไหนดีได้ด้วย

และการดูดวงสำหรับบางคนก็ยังช่วยเสริมความมั่นใจในตัวเองได้เป็นอย่างมาก เช่น การใส่เสื้อตามสีมงคล เช่น สีน้ำเงินในวันจันทร์ ก็ช่วยลดความเครียดในการทำงานเพราะเชื่อว่าสีน้ำเงินจะช่วยให้เราโชคดีไปทั้งวันได้ หรือว่าจะเป็นเครื่องรางหรือสิ่งของมงคลติดกระเป๋าไว้ระหว่างไปสัมภาษณ์งาน ทำให้เรารู้สึกมั่นใจว่า การสัมภาษณ์ครั้งนี้ต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

💙 อยากจัดการกับความกังวลอนาตคที่คอยรบกวนจิตใจให้ไปหา ‘จิตแพทย์และนักจิตวิทยา’

แม้ว่าการดูดวงจะคลายกังวลให้เราได้บ้าง แต่หลายครั้งการดูดวงอาจทำให้เรากังวลกว่าเดิมหากพบว่าอนาคตเราจะเจอเรื่องร้าย หรือเจอเรื่องที่ไม่เหมือนกับที่หมอดูบอกไว้ ที่สำคัญคือความกังวลและปัญหาที่เราเผชิญไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการรู้อนาคตเพียงอย่างเดียว เมื่อนั้นจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้คลายกังวลในเรื่องของอนาคตและผ่านพ้นปัญหาไปได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจเหล่านี้จะช่วยให้เรารู้สึกสบายใจและเข้าใจถึงปัญหาที่คอยรบกวนจิตใจของเราอยู่ตลอดเวลา โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและให้อยู่กับปัจจุบันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และช่วยให้เราตัดสินใจเรื่องอนาคตก็ควรตัดสินใจด้วยตัวเองมากกว่าการใช้โชคชะตามากำหนดอนาคตของเรา การไปหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจึงเป็นตัวเลือกที่ช่วยให้เราทำความเข้าใจความคิดและเหตุผลต่าง ๆ ในการเลือกตัดสินใจมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยประเมินและจัดการกับความเครียดหรือความกังวลที่ส่งผลต่อสุขภาพใจด้วย

💊 จิตแพทย์และนักจิตวิทยาช่วยเราให้หายกังวลอนาคตได้อย่างไร?

อย่างที่รู้กันดีว่า จิตแพทย์และนักจิตวิทยามีความเชี่ยวชาญในการจัดการกับปัญหาสุขภาพใจ เช่น ความเครียด ความกังวลอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาว่าจะเลือกใช้ทฤษฎีไหนในการจัดการความรู้สึกเชิงลบเหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม หรือ Cognitive Behavioral Therapy (CBT) ซึ่งเป็นการบำบัดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันมาช่วยจัดการกับความเครียดหรือความกังวลของเรา โดยการบำบัดนี้จะช่วยจัดการกับความคิดที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความรู้สึกเครียดหรือกังวลผ่านการพูดคุยหรือการใช้ยา ก่อนที่จะช่วยปรับความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับเราและจัดการกับความเครียดความกังวลต่าง ๆ ได้

ไม่ว่าจะเป็นการดูดวงหรือการไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจ หากทั้งคู่สามารถช่วยให้เราหายกังวลอนาคต มันก็เป็นเรื่องที่ดีสำหรับสุขภาพใจของเราแล้ว แต่เมื่อไรก็ตามที่ความกังวลอนาคตกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากเกินไป เช่น นอนไม่หลับ คิดวนเรื่องเดิมจนคิดเรื่องอื่นไม่ได้ พฤติกรรมการทานอาหารเปลี่ยนไป คนที่เราควรไปหาจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อรับการเยียวยาความเครียดอย่างถูกต้องและทันเวลา

หากคุณกำลังกังวลอนาคตไม่รู้ว่าจะจัดการได้อย่างไร อย่าลืมให้อูก้าเป็นตัวช่วยของคุณนะ เรามีทีมนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ยินดีรับฟังเรื่องราวของคุณตลอด 24 ชม. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่เราพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างคุณเสมอ จะอยู่บ้าน ที่ทำงาน กลางสวนสาธารณะหรือที่ไหนก็มาหาเราได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้อูก้ายังมีสารพัดวิธีดูแลใจและสิทธิพิเศษอีกมากมายที่รอให้ทุกคนมาเลือกสรร แอดเลย Line Official 👉🏻 https://lin.ee/6bnyEvy

เรื่องของใจให้เรารับฟังนะ 💙💚

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/Ar2K

อ้างอิงข้อมูลจาก:

Psychology Today: https://bit.ly/3CPAsfR

Read More

Nervous breakdown คืออะไร ใช่ “ซึมเศร้า” ที่เรารู้จักหรือเปล่า ?

Nervous Breakdown แปลตรงตัวว่า “อาการทางประสาท” หรือ “อาการทางจิต” เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงช่วงเวลาที่เรามีความทุกข์ทางจิตใจอย่างรุนแรง เป็นช่วงที่เราไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ แต่ไม่ใช่การวินิจฉัยทางเทคนิคเพราะไม่ใช่ความเจ็บป่วยทางจิตที่เฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ร่างกายและจิตใจไม่สามารถอดทนต่อความเครียดได้ ไปจนถึงกระทบต่อความสุข ความรื่นรมย์ในชีวิต

ในอดีตเมื่อเราเกิดวิกฤตสุขภาพจิตที่คล้ายกับอาการทางจิตหรือทางประสาท คำนี้เคยใช้เพื่ออธิบายถึงอาการเจ็บป่วยทางจิตที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล โรคเครียดเฉียบพลัน ภาวะหมดไฟ ซึ่งอาการทางประสาทนี้ก็แตกต่างไปตามระดับความเครียดและรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เราพบเจอ

แม้ว่า “อาการทางประสาท” จะไม่ถือเป็นคำศัพท์ทางการแพทย์อีกต่อไป แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากใช้คำนี้เพื่อพูดถึงอาการเครียดรุนแรง ภาวะที่ไม่สามารถรับมือกับความท้าทายในชีวิตได้ ดังนั้นสิ่งที่คนอื่นมองว่าเป็นอาการทางจิตอาจเป็นเพียงความเจ็บป่วยทางจิตที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง แต่ถูกนำไปเรียกกันแบบผิด ๆ เท่านั้นเอง ซึ่งขอบเขตของอาการทางประสาทไม่ได้มีกำหนดไว้ชัดเจน

อาการที่สังเกตได้ว่าเข้าข่าย Nervous Breakdown

เราอาจพบอาการผิดปกติทั้งทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม สัญญาณของอาการทางประสาทแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เนื่องจากคำนี้ไม่ได้ใช้ในวงการแพทย์อีกต่อไปแล้ว จึงมีการอธิบายอาการผิดปกติทางประสาทโดยใช้อาการต่าง ๆ มากมายมาพูดถึง ไม่ว่าจะเป็น

  • กลุ่มอาการซึมเศร้า (Depressive symptoms) เช่น การสูญเสียความหวังและความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตนเอง
  • ความวิตกกังวลที่มาร่วมกับความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อตึง มือชื้น เวียนศีรษะ ปวดท้อง ตัวสั่น
  • อาการนอนผิดปกติ เช่น นอนไม่หลับ
  • เห็นภาพหลอน
  • อารมณ์แปรปรวน หรือระเบิดอย่างไม่มีสาเหตุ
  • อาการแพนิก (Panic attacks) ซึ่งรวมถึงอาการเจ็บหน้าอก การหลุดออกจากโลกของความเป็นจริง ความกลัวอย่างรุนแรง และอาการหายใจลำบาก
  • ความหวาดระแวง (Paranoia) เช่น เชื่อว่ามีคนเฝ้าดูหรือสะกดรอยตาม
  • การนึกถึงเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ โรคเครียดหลังจากได้รับ บาดแผลที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่าง Post-traumatic stress disorder (PTSD)

ซึ่งก่อนที่จะมีอาการรุนแรง คนที่มีอาการทางประสาทมักถอนตัวจากครอบครัว เพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมงาน สัญญาณเบื้องต้นดังกล่าว อาจรวมถึง

  • หลีกเลี่ยงหน้าที่และการมีส่วนร่วมทางสังคม
  • พฤติกรรมการกิน / นอนเปลี่ยนไป
  • ไม่ค่อยดูแลตัวเองหรือรักษาสุขอนามัย
  • ป่วยบ่อย เจ็บปวดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีปัญหาในการคิด สมาธิ ตัดสินใจ หรือทำงานให้เสร็จ
  • ความรับผิดชอบลดลง ขาดงานหรือไม่มาทำงานเลย
  • เก็บตัวอยู่คนเดียวเป็นระยะเวลานาน
  • เหนื่อยล้า เฉื่อยชา ง่วงตลอดเวลา
  • อาจมีอารมณ์แปรปรวนแบบสุดขั้ว

ต้นตอของอาการทางประสาทนั้นมาจากสาเหตุที่แตกต่างกันก็จริง แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ มีความเครียดเกิดขึ้นและเราประสบกับความล้มเหลวในการรับมือกับความเครียด สำหรับคนที่รับมือกับความเครียดได้ดีและมีวิธีในการจัดการจะประคองตัวเองไว้ได้ก่อนที่จะเข้าสู่วิกฤตสุขภาพจิต ตรงกันข้ามกับผู้ที่รับมือได้ไม่ดีอาจจะสติแตกแม้แต่กับสิ่งที่คนอื่นมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย

หลายคนสงสัยว่าอาการทางประสาทนั้นเกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้าหรือไม่ ?

ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดก็คืออาการทางประสาทนั้น เป็นจุดเริ่มต้นก่อนที่ทางการแพทย์จะบัญญัติแยกอาการต่าง ๆ ออกมาเป็นแต่ละโรค เหมือนกับการศึกษาอาการป่วยทางกายที่มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ โดย สำหรับ “โรคซึมเศร้า” (Major depressive disorder : MDD) ในทางการแพทย์นั้นหมายถึง ภาวะซึมและเศร้าที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้าทั่ว ๆ ไป ถือเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง เกิดจาก 2 สาเหตุหลักคือ 1) ปัจจัยทางชีวภาพหรือพันธุกรรม 2) ปัจจัยด้านจิตใจหรือสิ่งแวดล้อม เช่น สารสื่อประสาทในสมองหรือความผันผวนของระดับฮอร์โมน

อาการทางประสาทที่เกิดจากความวิตกกังวลหรืออาการซึมเศร้า

บ่อยครั้งเราพบว่าอาการทางประสาทจะเกิดขึ้นกับคนที่มีความเจ็บป่วยทางจิตแฝงอยู่ แต่อาจไม่ได้รับการวินิจฉัยและไม่ได้รับการรักษา โรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด แล้วถ้าอยู่ในขั้นรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการทางประสาทได้ ซึ่งโรควิตกกังวลที่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ ภาวะวิตกกังวลทั่วไป ภาวะวิตกกังวลทางสังคม และโรคตื่นตระหนก ลักษณะเด่นคืออาการกังวลมากเกินไปและความรู้สึกวิตกกังวลแทบจะตลอดเวลา จนอาจทำให้เกิดความทุกข์ ความผิดปกติ อาการทางร่างกาย และปัญหาในการคิดตามมา การไม่จัดการความวิตกกังวลและความเครียดมักนำไปสู่อาการทางประสาท

และในส่วนของอาการซึมเศร้าเป็นภาวะสุขภาพจิตที่พบเป็นอันดับต้น ๆ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะรู้สึกเหนื่อยล้า เศร้าและสิ้นหวังอยู่เสมอ โดยที่ไม่สามารถดึงความสนใจกลับมาเพื่อทำกิจกรรมตามปกติได้ เช่นเดียวกับโรควิตกกังวล ภาวะเช่นนี้ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันหรือจดจ่อกับการทำงานได้ลำบาก เมื่อไม่ได้รับการรักษา การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเยียวยาตัวเองหรือการรับมือกับอารมณ์ก็เป็นไปได้ยาก และความเครียดที่เพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่อาการทางประสาทได้ง่าย

เป็นซึมเศร้าก็หายได้ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ

เมื่อเกิดจากภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลจึงจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเพื่อจัดการกับภาวะที่เป็นต้นเหตุ การรักษาอย่างต่อเนื่องและการดูแลตนเองจะช่วยให้บุคคลที่วิตกกังวลหรือซึมเศร้าฟื้นตัวเร็วขึ้นจากอาการทางประสาท และยังให้ปรับวิธีคิดให้สอดคล้องกับการเผชิญปัญหาเพื่อช่วยป้องกันในอนาคตได้อีกด้วย

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยป้องกันอาการทางประสาทได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของการเกิดได้ด้วย

เนื่องจากอาการทางประสาทอาจเกิดขึ้นได้จากระดับความเครียดที่แตกต่างกัน ทั้งภาวะสุขภาพจิตและความผิดปกติที่เกิดขึ้นร่วมกัน และความผิดปกติจากการใช้สารเสพติด แอลกอฮอล์ การวินิจฉัยและการประเมินที่ครอบคลุมจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถือเป็นเรื่องจำเป็นในการจัดเตรียมแผนการรักษาเฉพาะบุคคล รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยป้องกันอาการทางประสาทได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของการเกิดได้ด้วย เริ่มจากการคำนึงถึง 4 ข้อดังต่อไปนี้

  1. การบำบัด การทำงานร่วมกับนักบำบัดโรคอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยให้ผู้ป่วยจัดการและลดความเครียด เรียนรู้กลไกการเผชิญปัญหาที่ดีต่อสุขภาพ ดำเนินการตามขั้นตอนสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่จำเป็น การบำบัดแบบกลุ่มอาจช่วยให้ผู้ป่วยแบ่งปันและทำความเข้าใจว่าคนอื่น ๆ ที่เผชิญปัญหาใกล้เคียงกันฟื้นตัวอย่างไร
  2. ยา หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิต เช่น โรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวล การรักษาด้วยยาเพื่อช่วยรักษาอาการต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องจำเป็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและความร่วมมือของผู้เข้ารับการรักษาด้วย
  3. เปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ วิธีนี้คือการพิจารณาลึกลงไปถึงต้นตอของความเครียดในชีวิตที่อาจมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นอาการเจ็บป่วยทางใจ บางครั้งอาจหมายถึงการปรับตัว การหางานใหม่ การยุติความสัมพันธ์ หรือการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่
  4. ครอบครัวบำบัดและการศึกษา ไม่ใช่แค่การดูแลตัวเองแต่การบำบัดอาจเกี่ยวข้องกับครอบครัวและคนรอบตัวด้วย เป็นวิธีที่ดีในการให้ความรู้กับคนที่สำคัญที่สุดทางความรู้สึก เพื่อให้พวกเขาเข้าใจอาการเจ็บป่วยทางใจที่เกิดขึ้นและเรียนรู้วิธีที่พวกเขาจะสามารถช่วยเหลือคุณได้ดีที่สุด

การพบแพทย์เพราะปัญหาทางใจไม่ใช่เรื่องผิดปกติ

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะรับมือกับความเครียดในชีวิตบางเรื่องไม่ได้ แต่ถ้าไม่ได้จัดการกับความเครียดอย่างถูกวิธีก็อาจกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน หากเรารู้สึกว่าอารมณ์ความรู้สึกเปลี่ยนไป สังเกตเห็นอาการที่ได้กล่าวไปข้างต้น นอกจากแพทย์จะช่วยรักษาอาการทางร่างกายได้ ยังสามารถแนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ได้อีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเหล่านี้จะช่วยรักษาอาการทางอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรมโดยรวมได้

แล้วในปัจจุบันการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตก็ไม่ใช่เรื่องยาก มีบริการให้คำปรึกษาทางออนไลน์มากมาย สามารถนัดหมายได้ตามวันและเวลาที่สะดวกโดยไม่ต้องเดินทางอย่าง “อูก้าแอปพลิเคชันคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านวีดีโอคอล” #อูก้ามีทางออก #ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์

  • มีผู้เชี่ยวชาญที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี
  • ปรึกษาได้ทุกปัญหาส่วนตัวและอาการของความเครียด
  • สะดวก ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวสูง
  • มีแบบทดสอบความเครียดเพื่อการประเมินที่เชื่อถือได้
  • แพ็กเกจบริการหลากหลายที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าองค์กร
  • มีการประเมินผลความเครียดเป็นตัวเลขเพื่อให้เห็นผลได้ชัดเจน
  • มีระบบรายงานความเครียดและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเฉพาะรายบุคคล

นอกจากนี้เรายังสามารถดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอได้ด้วยการ

  • ใช้เทคนิคการผ่อนคลายและควบคุมสติ การบำบัดทางเลือกและการรักษาแบบองค์รวมอาจใช้เพื่อรักษาอาการทางประสาท แต่ทั่วไปเราสามารถทำสมาธิ โยคะ การออกกำลังกาย ฯลฯ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อย่างการเดินไปรอบ ๆ เป็นเวลา 30 นาที
  • เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การกำหนดลมหายใจเข้าออก ฝึกคลายความโกรธ
  • ใส่ใจการนอนหลับให้เป็นปกติ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงทุกคืน
  • หลีกเลี่ยงยาเสพติด แอลกอฮอล์ คาเฟอีน และสารอื่นๆ ที่สร้างความเครียดให้กับร่างกาย
  • ไปพบแพทย์หรือเข้าร่วมการให้คำปรึกษาเพื่อจัดการกับความเครียด
  • อย่าลืมพักผ่อน ลดระดับความเครียดของคุณด้วยการเว้นจังหวะชีวิตบ้าง อย่างการพักช่วงสั้นๆ จัดระเบียบสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยและกิจกรรมประจำวันของคุณให้ดีขึ้น

มีคนจำนวนไม่น้อยที่ประสบกับช่วงเวลาของความเครียด ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ไปจนถึงรู้สึกสิ้นหวังในบางครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจ หรืออย่างช่วงนี้ที่เราเผชิญกับการแพร่ระบาดที่ร้ายแรง หากปล่อยให้จุดเริ่มต้นของความเจ็บป่วยนี้ลุกลาม เราอาจเข้าสู่อาการดังกล่าวและเข้าสู่ภาวะเจ็บป่วยทางใจ แต่ไม่ต้องกลัวหากมันเกิดขึ้น เพราะเราสามารถรักษาสภาพจิตใจของเราให้กลับมาแข็งแรงได้ ด้วยการเข้ารับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ การรับคำปรึกษา และการรักษาอื่น ๆ เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติเหมือนเดิม

อย่าให้สุขภาพจิตรบกวนใจ ไม่ว่าอาการทางใจจะเล็กหรือใหญ่ก็ใช้บริการดูแลใจกับอูก้าได้ เรายินดีอยู่เคียงข้างและเป็นเพื่อนที่คอยรับฟังเสมอ เพราะการมอบความสุขให้ตัวเองนั้นเป็นเรื่องสำคัญ อูก้าสนับสนุนให้ทุกคนมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงพร้อมเดินต่อไปด้วยกันนะ

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/U781

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

https://www.manarom.com/blog/depression_disorder.html

https://www.medicalnewstoday.com/articles/321018#when-to-see-a-doctor

https://www.healthline.com/health/mental-health/nervous-breakdown#symptoms

https://www.bridgestorecovery.com/nervous-breakdown/types-nervous-breakdowns/

Read More

เศรษฐกิจแย่ทีไร เหนื่อยใจคล้ายจะ “อยากตาย”

“จำนวนการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของความทุกข์ทางอารมณ์ที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ” – David Gunnell นักระบาดวิทยาจาก University of Bristol

เรารู้กันดีว่าวิกฤตเศรษฐกิจทำให้คนมีความเครียดในระดับสูง แต่เราอาจนึกไม่ถึงว่าตัวเลขของคนที่ฆ่าตัวตายจะสูงมากขึ้นทุกปี แม้แต่คนที่อยู่รอบตัวเราหรือในโลกออนไลน์ต่างก็พร่ำบ่นถึงสิ่งที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่ และดูเหมือนว่าความเครียดนี้ได้กดทับทุกคนจนกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต มีคนมากมายที่หันไปพึ่งพาแอลกอฮอล์หรือตัดสินใจฆ่าตัวตาย

📉 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ สุขภาพจิตก็เลยพังสุด ๆ !

เพราะสุขภาพจิตที่แข็งแรงต้องมาจาก “ความเป็นอยู่ที่ดี” เมื่อเราตระหนักถึงความสามารถของตนเอง ซึ่งสามารถรับมือกับความเครียดในชีวิตประจำวันได้ และรู้สึกถึงคุณค่าในตนเอง ก็จะทำให้เรามีสติปัญญา (Cognitive) และอารมณ์ (Emotional) ที่ยืดหยุ่น ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างทักษะการเข้าสังคมและการรับมือกับความเครียด ทุนทางจิตใจนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเป็นคนที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม

อัตราการฆ่าตัวตายจึงมักจะเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่สังคมไม่มั่นคง โดยเฉพาะทางเศรฐกิจ เห็นได้จากงานวิจัยที่เคยพูดถึงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2550 ในยุโรปและอเมริกาเหนือที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายมากกว่า 10,000 คน และผลการวิจัยในช่วงหลัง ๆ ก็แสดงให้เห็นว่าการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นในปีที่ดัชนีหุ้นตกต่ำอย่างมีนัยสำคัญ

ในทางจิตวิทยา ผลกระทบด้านสุขภาพจิตจากวิกฤตการณ์ทางการเงินอันเกิดจากการระบาดใหญ่นั้น เป็นความทุกข์ที่เกี่ยวพันกับ “ความยืดหยุ่นทางใจ” ที่เป็นเหมือนบ่อกักเก็บความสุขภายในตัวเรา (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3ol7WPi ) ซึ่งรวมถึงการตั้งเป้าหมายและการเติบโตของคนเรา

ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจต่อสุขภาพจิตที่พบบ่อยที่สุด คือ ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า เพราะเราสัมผัสได้ถึงความไม่ปลอดภัย ความไม่มั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน อนาคตที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัวนั้นอาจเลวร้ายเกินไป เพราะเรามองเห็นแต่ความเสี่ยงที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นด้านการงาน การเงิน สุขภาพกายและใจของคนในบ้าน และการสนับสนุนทางสังคม รายได้ที่เพียงพอ และต้นทุนต่าง ๆ โดยเฉพาะทุนทางสังคม ซึ่งก็คือ การที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ เรารู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่เราอยู่ ถ้าในชีวิตเรามีแรงสนับสนุนเหล่านี้จากสังคม (Social Support) ก็จะช่วยคลายความกังวลได้ในระดับหนึ่ง

ในทางกลับกัน ความยากจน ปัญหาทางการเงิน และการกีดกันทางสังคมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระทบกับปัญหาสุขภาพจิตและความผิดปกติอย่างที่กล่าวไป พฤติกรรมที่พบบ่อยคือการพึ่งพอแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีบทบาทสำคัญในการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ “ปัญหาความไม่เท่าเทียม” ถือเป็นเรื่องใหญ่ มีงานวิจัยมากมายยืนยันว่า ความไม่เท่าเทียมด้านรายได้และการศึกษาเชื่อมโยงกับอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น ความเปราะบางในจิตใจของคนเราก็มากขึ้นเช่นกัน ไม่ใช่แค่ในประเทศที่ยากลำบาก แต่สำหรับคนทุกคนที่เผชิญกับความไม่มั่นคงในชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่มนุษย์ต้องการสำหรับการสร้างเกราะป้องกันใจที่แข็งแรง เพราะอัตราการฆ่าตัวตายก็เพิ่มขึ้นแม้กระทั่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว นี่แสดงให้เห็นว่าเส้นทางสู่การสร้างรายได้นั้นไม่มีที่สิ้นสุดและมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนทั่วโลก

💲ยิ่งเศรษฐกิจย่ำแย่ ก็ยิ่งมองข้ามปัญหาสุขภาพจิตไม่ได้

เรารู้ชัดว่าเศรษฐกิจไม่ดีทำให้คนเครียด แต่จริง ๆ แล้วปัญหาสุขภาพจิตที่คนมากมายกำลังต่อสู้อยู่ก็ทำให้ประเทศสูญเสียกำลังแรงงานไปมากมายเช่นกัน ดังนั้นสุขภาพจิตจึงเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญ การเปลี่ยนจากการสร้างผลผลิตไปสู่สังคมแห่งความรู้เน้นย้ำถึงความสำคัญของสุขภาพจิตเพื่อความยั่งยืนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สุขภาพจิตของประชากรที่ดีมีส่วนทำให้เกิดผลผลิตและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ สำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ หากสุขภาพจิตของคนย่ำแย่ ทุกอย่างก็จะหยุดชะงักได้โดยง่าย

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จนั้นล้วนเริ่มจากการช่วยเหลือผู้คนในด้านสุขภาพใจเป็นพื้นฐานอย่างการชดเชยให้ประชาชนด้วยสวัสดิการสังคมและนโยบายอื่น ๆ ไม่ว่าจะการสนับสนุนการโอกาสทางการศึกษา การชะลอหนี้ รวมถึงการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข นอกจากนี้ความเชื่อมั่นที่ได้รับจากการรายงานสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่จำเป็นต่อการวางแผนชีวิตของประชาชนก็สำคัญ เพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอาจเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตร้ายแรง ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ที่เคยประสบกับความลำบากในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย ไม่ว่าจะด้านการเงิน ที่อยู่อาศัย หรือที่เกี่ยวข้องกับงาน พบว่ามีภาวะตื่นตระหนก ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และการใช้สารเสพติดที่เป็นปัญหามากกว่าคนทั่วไป

Miriam Forbes, PhD, นักวิจัยอาวุโสด้านจิตวิทยาที่ Center for Emotional Health ที่ Macquarie University กล่าวว่า “การระบาดใหญ่ของ COVID-19 กำลังส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วต่อเศรษฐกิจ โดยบ่งชี้ว่าเรากำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้งทั่วโลก การที่หลายคนตกงาน ประสบปัญหาทางการเงินและความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัยในสภาพปัจจุบัน ชี้ให้เห็นชัดเลยว่าประสบการณ์เลวร้ายทั้งหมดนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อ “การเสื่อมถอยของสุขภาพจิตในระยะยาว” ซึ่งสามารถเกิดการสะสมและยืดเยื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เราอาจเสียกำลังคนที่เป็นแรงงานสำคัญ เพราะต้องให้เวลาคนเหล่านี้ในการฟื้นฟูสุขภาพใจให้กลับมาแข็งแรง

รู้แบบนี้แล้วอย่ารอช้ากับปัญหาความเครียดที่กวนใจ ดูแลสุขภาพจิตตั้งแต่วันนี้กับอูก้า พูดคุยปรึกษากับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาของเราได้เลย ด้วยบริการแบบออนไลน์ที่เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเรื่องอะไรเราพร้อมเป็นเพื่อนใจคอยดูแลคุณ 🙂

#OOCAknowledge

รับแบบทดความความเครียดฟรี ! ที่มาพร้อมกับโปรโมชั่นและสารพัดวิธีดูแลใจตนเองอีกมากมายได้ที่ Line Official 👉🏻https://lin.ee/6bnyEvy.

หรือดาวน์โหลดเลย ได้ทั้ง IOS และ Android 👉🏻 https://ooca.page.link/MPyr

อ้างอิงจาก

https://www.apa.org/news/apa/2020/financial-crisis-covid-19

https://theconversation.com/bad-economic-news-increases-suicide-rates-new-research-117228

Read More

บริการดูแลใจกับอูก้า ! ของขวัญแด่ฉันคนเก่ง

“เพราะการรักตัวเองถือเป็นของขวัญที่ดีที่สุด”

เราอาจไม่เคยสังเกตว่าทุกเหตุการณ์ในชีวิต ไม่ว่าเรื่องเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ การหย่าร้าง การจากลา การเจ็บป่วย สามารถนำความเครียดและความทุกข์มาสู่ใจได้แบบง่าย ๆ แม้กระทั่งความเครียดในชีวิตประจำวันที่เราคิดว่าตัวเองรับมือได้ แต่ในที่สุดก็สามารถถูกครอบงำโดยไม่รู้ตัว เผลอปล่อยความรู้สึกให้ดำดิ่งสู่โลกที่มืดมนไม่เห็นทางออก ทำให้ชีวิตของเราเสียสมดุลและส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ

การศึกษาทางจิตวิทยามากมายแสดงให้เห็นว่าจิตใจและร่างกายของมนุษย์นั้นเชื่อมโยงกันอย่างเหนียวแน่น เมื่อสุขภาพจิตของเราแย่ลง สุขภาพร่างกายของเราก็ถูกกระทบไปด้วย และหากสุขภาพร่างกายอ่อนแอลง เราก็จะรู้สึก “แย่” ทางจิตใจ เพียงเท่านี้ก็รู้ได้แล้วว่าความคิดและความรู้สึกเราสำคัญต่อการเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่ง “ทัศนคติเชิงบวก” เป็นสิ่งที่ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีได้

เราสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตในทุก ๆ วันได้โดยการสร้างความยืดหยุ่น (Resilience) ซึ่งจะช่วยให้ปรับตัวเข้ากับความเครียดและฟื้นตัวจากช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในชีวิตได้ ความยืดหยุ่นไม่ใช่สิ่งที่เราเกิดมาแล้วก็มีเองโดยธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา คนที่มีความยืดหยุ่นจะมีความเป็นอยู่ที่ดีทางอารมณ์ ความสัมพันธ์ที่ดี (Healthy Relationship) และการมองโลกในแง่ดี สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพและการมีอายุยืน

เพราะร่างกายไม่เคยโกหก อย่าลืมฟังสิ่งร่างกายกำลังบอกคุณ

ยกตัวอย่างเช่น เราเกิดมีอาการปวดหัวตึงเครียด ร่างกายอาจกำลังบอกว่าเราต้องการความช่วยเหลือในการจัดการกับสิ่งที่อยู่ในใจ แต่เราก็พบว่ามันยากหากต้องรับมือกับทุกความรู้สึกที่เข้ามา หรือต้องหาทางดีลกับอะไรที่ซับซ้อนเพียงลำพัง แล้วเราจะเริ่มดูแลสุขภาพใจได้อย่างไร ?

ลองเปิดใจให้นักจิตวิทยาเข้ามาเป็นตัวช่วยในชีวิตประจำวันของคุณดูสิ

นักจิตวิทยาและจิตแพทย์สามารถช่วยรับมือกับความท้าทายและความเครียดที่ต้องเผชิญทุกวันด้วยการหารักษาความสมดุลทางใจไปพร้อม ๆ กับคุณ ปัจจุบันการใช้บริการด้านสุขภาพใจถือเป็นเรื่องปกติ การขอความช่วยเหลือหรือแสวงหาพื้นที่สบายใจไว้พูดคุยไม่ใช่เรื่องน่าอาย การรับบริการดูแลสุขภาพใจด้วยการปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยามีส่วนช่วยในการรักษาสมดุลชีวิตมากกว่าที่หลายคนอาจจะคิดถึง ไม่ว่าจะเป็น

💚 สร้างความมั่นใจให้เราสามารถเผชิญกับความท้าทายในชีวิต

💚 ช่วยให้เราจัดการกับความคิดและความรู้สึกที่ยากลำบากที่อาจรบกวนการทำงานและการใช้ชีวิต

💚 พัฒนาทักษะการสื่อสารและการแก้ปัญหาอันเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสัมพันธ์กับคนรอบตัว

💚 แนะนำวิธีจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นและมุมมองเชิงบวก

💚 สร้างเสริมความสามารถในการจัดการความรู้สึกที่รุนแรง ความคิดเชิงลบ และพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย

เริ่มต้นรักตัวเองทำได้ไม่ยากเพียงแค่เปิดใจลองพูดคุยกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อให้เราได้เป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีกว่าเดิม “อูก้าแอปพลิเคชันคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านวีดีโอคอล” เป็นอีกหนึ่งของขวัญที่คุณสามารถมอบให้ตัวเองได้ เพราะทุกปัญหาใจไม่ควรถูกมองข้าม #ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ไม่ต้องกลัวถูกตัดสิน สามารถพูดคุยได้ทุกที่ทุกเวลาที่คุณต้องการ เพราะอูก้ามีบริการมากมายเพื่อดูแลใจของทุกคน ไม่ว่าจะเป็น..

💙 ผู้เชี่ยวชาญที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี

💙 ปรึกษาได้ทุกปัญหาส่วนตัวและอาการของความเครียด

💙 สะดวก ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวสูง

💙 แบบทดสอบความเครียดเพื่อการประเมินที่เชื่อถือได้

💙 แพ็กเกจบริการหลากหลายที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าองค์กร

💙 มีการประเมินผลความเครียดเป็นตัวเลขเพื่อให้เห็นผลได้ชัดเจน

💙 มีระบบรายงานความเครียดและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเฉพาะรายบุคคล

รู้อย่างนี้แล้ว อย่ารอช้าที่จะหันมา “รักตัวเอง”

เพื่อสุขภาพกายและใจ…มาเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยด้วยการปรึกษานักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของอูก้าได้เสมอ ดาวน์โหลดเลย 👉🏻 https://ooca.page.link/TE5S

นอกจากนี้อูก้ายังมีสารพัดวิธีฮีลใจ ที่มาพร้อมโปรโมชั่นดี ๆ อีกมากมาย ติดตามเพื่อรับสิทธิพิเศษก่อนใครได้ที่ Line Official 👉🏻 https://lin.ee/6bnyEvy

Read More

“เครียดสะสม” เมื่อสังคมไทยทำลายสุขภาพจิตมากเกินไป!

ในสถานการณ์โควิด-19 ที่คงอยู่มายาวนานร่วมเกือบสองปีแบบนี้เชื่อว่าหลายคนก็คงเครียดกันไม่น้อย ไหนจะยังมีข่าวสารต่าง ๆ ที่สร้างความหดหู่ตลอดเวลาอีก บางครั้งเราเองก็ไม่รู้ว่าความเครียดที่ตัวเองกำลังเจออยู่กลายเป็นความ ‘เครียดสะสม’ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพใจโดยไม่รู้ตัว

แน่นอนว่าความเครียดสะสมนั้น ย่อมเป็นผลให้เกิดความหมดไฟในการทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งความหมดไฟนี้เองก็อาจนำไปสู่การเกิดอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมมากมาย เช่น การพยายามหลีกเลี่ยงการคิดเรื่องโควิด-19 หรือความรู้สึกเบื่อหน่ายในการทำงาน รวมไปถึงอาการของภาวะซึมเศร้าได้ [รับสาระเกี่ยวกับความเครียดสะสมเพิ่มเติมได้ที่: https://bit.ly/3zClJTz ]

นอกจากนี้ การสำรวจในสหรัฐอเมริกาหลายแห่งได้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ต่อสุขภาพจิต โดยผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าทุกเดือนที่ผ่านมา ผู้คนจำนวนมากได้รายงานว่าโควิด-19 ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของพวกเขาเป็นอย่างมาก

ยิ่งยอดติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น เราก็ยิ่งเครียดสะสมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

เมื่อเราเห็นยอดผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จากการติดตามข่าวรายวัน จนไม่มีวี่แววว่าจะควบคุมได้เลย แน่นอนว่าเราก็อาจจะเกิดความรู้สึกหวาดระแวงว่าคนรอบข้างจะเป็นผู้ติดเชื้อไหม หรือแม้แต่กังวลว่าตัวเองอาจติดเชื้อแล้วก็ได้แค่ไม่แสดงอาการ ซึ่งความกลัวเหล่านี้เองก็ย่อมทำให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้น บางครั้งก็อาจนำไปสู่ความเครียดได้ และเมื่อเครียดมาก ๆ ก็อาจเป็นผลให้เกิดความเครียดสะสมได้ด้วย

งานวิจัยใน International Journal of Environmental Research and Public Health (2021) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความกลัวต่อเชื้อโควิด-19 เพื่อพิสูจน์ว่าความกลัวเหล่านี้ส่งผลต่อความเครียดได้หรือไม่ โดยงานวิจัยนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ความกลัวต่อเชื้อโควิด-19 ทำให้เกิด ‘ความเครียดสะสม’ ได้จริงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนในสถานการณ์โควิด-19 เองก็เป็นผลให้เกิดความเครียดสะสมได้เหมือนกัน เพราะการที่ไม่รู้ว่าการแพร่ระบาดครั้งนี้จะคลี่คลายลงตอนไหน และจะกลับมาสู่สภาวะปกติได้เมื่อไหร่ สร้างความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก ดีไม่ดีก็อาจนำไปสู่ความเครียดสะสมได้ แม้ว่าเราปฏิบัติตามมาตราการของภาครัฐอย่างเคร่งครัด แต่การแพร่ระบาดครั้งนี้ก็ยังไม่มี่วี่แววว่าจะยุติลงในระยะเวลาอันใกล้นี้

ความเป็นอยู่ของประเทศในระยะยาว ก็ทำให้เราเครียดสะสมได้เหมือนกัน

ต้องยอมรับว่าความเป็นอยู่ในประเทศไทยตอนนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเครียดสะสมเป็นอย่างมาก เราจะเห็นได้ว่าผู้คนไม่ได้รับความต้องการขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงมีเพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอด เพราะการทำงานของรัฐที่แทบจะไม่มีการสร้างระบบและพัฒนานโยบายที่เอื้อต่อสุขภาวะของผู้คนในสังคม

และยิ่งในช่วงการระแพร่ระบาดของโควิด-19 แบบนี้ หลายคนเองก็ขาดแคลนด้านปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค หรือแม้แต่ความความมั่นคงปลอดภัยเองที่เราเห็นตามข่าวสารในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็น ภัยพิบัติน้ำท่วมในจังหวัดต่าง ๆ หรือยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 เองก็ตาม ถ้ายิ่งเราต้องเจอข่าวสารรายวันที่ผู้คนไม่ได้รับความเป็นอยู่ที่ดีจากรัฐ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายคนจะเครียดสะสมกันมากขึ้น

งานวิจัยใน Psychology, Health & Medicine (2021) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและความเป็นอยู่ที่ดีในช่วงโควิด-19 ชี้ให้เห็นว่า ความเป็นอยู่ที่ดีช่วยให้ผู้คนมีความวิตกกังวลลดลงและสามารถจัดการกับความเครียดสะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เราจะเห็นได้ว่าความเป็นอยู่ที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญมาก อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับสุขภาพกาย ใจ สังคม และปัญญา โดยความเป็นอยู่เองก็ช่วยให้สังคมเข้าใจสุขภาพในความหมายกว้างขวางขึ้นว่า สุขภาพดีไม่จำกัดเฉพาะแค่เรื่องสุขภาพทางกายอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้น ถ้าหากความเป็นอยู่ไม่ดี ก็ย่อมทำให้เกิดความเครียดสะสมจนนำไปสู่การบั่นทอนสุขภาพใจให้พังไม่เป็นท่า

การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (CBT) ด้วยตัวเองก็เป็นตัวช่วยในการคลายเครียดที่ดี

ความเครียดสะสมมักจะเกิดจากการที่เรามีเรื่องที่เครียดมาก ๆ มาผสมปนเปกันไปหมดจนไม่สามารถคลี่คลายได้ มันก็เหมือนการถือของหลาย ๆ อย่างในมือของเรา แน่นอนว่าเราไม่สามารถถือของได้ทั้งหมดภายในสองมือนี้ได้ ถ้าหากเราลองวางของลงบนพื้นลงทั้งหมด และลองจัดการหยิบไปทีละอย่างก็ช่วยให้จัดการกับของต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ความเครียดสะสมของเราก็เหมือนกัน หากเราลองคลายเครียดด้วยการสำรวจตัวเองจากการบำบัดความคิดและพฤติกรรมเพื่อให้เข้าใจความคิด ความรู้สึก และปัญหาที่รบกวนใจเรามากขึ้น

“การบำบัดความคิดและพฤติกรรม” คืออะไร?

การบำบัดความคิดและพฤติกรรม หรือ Cognitive Behavior Therapy (CBT) ดั้งเดิมแล้วเป็นศาสตร์ที่ใช้กับโรคซึมเศร้า แต่ปัจจุบันนี้สามารถบำบัดกับภาวะอารมณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงความเครียดเองก็ตาม โดยมีกระบวนการที่ปรับความคิด หรือการรู้คิดของเราให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปในเชิงบวกมากขึ้น และก็ยังมีการปรับพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม

แล้วเราสามารถใช้การบำบัดความคิดและพฤติกรรมด้วยตัวเองได้ไหม?

หลายคนอาจจะคิดว่าการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต้องเข้ารับการบำบัดกับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ความจริงแล้วเราสามารถทำได้ด้วยตัวเองแบบพื้นฐาน โดยการเขียนลงบนกระดาษเพื่อสำรวจความคิด ความรู้สึกหรือปัญหาที่กำลังรบกวนใจของเราว่ามีอะไรบ้าง? พอเราเห็นถึงปัญหาแล้วก็มาดูต่อว่าเราสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ด้วยวิธีไหนได้บ้าง? และลองเขียนตัวเลือกในการจัดการความเครียดสะสมของเรา เช่น ฟังเพลง วาดรูป หรือแม้แต่ขอคำปรึกษาจากเพื่อนก็ยังได้ แล้วลองทำดูว่าสิ่งที่เราเขียนลงไปบนกระดาษนี้ พอเราทำไปแล้วมันได้ผลสำหรับเราหรือไม่ ถ้าทำแล้วยังไม่ได้ผลหรือว่าไม่ช่วยให้เราคลายเครียดเลย ก็แค่ตัดออกไปและลองทำวิธีอื่นดูไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอวิธีการจัดการที่ใช่สำหรับเรา

แม้ว่าความเครียดจะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับทุกคน แต่พอเราเครียดสะสมมากเข้าก็อาจทำให้สุขภาพใจพังไม่เป็นท่าได้ และยิ่งในสถานการณ์แบบนี้ ก็ยิ่งทำให้เราเครียดสะสมจนส่งกระทบทั้งสุขภาพกายและใจได้เป็นอย่างมาก ดังนั้น เมื่อเรารู้ตัวว่ากำลังเผชิญกับความเครียดสะสมอยู่ก็ควรรีบสำรวจตัวเองว่าปัญหาที่เรากำลังคิดและรู้สึกอยู่เป็นอย่างไร? และมีวิธีไหนที่เราสามารถจัดการกับปัญหาได้บ้าง? ก็ช่วยให้เราคลายเครียดจากความวุ่นวายรอบตัวได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

หากใครที่กำลังมองหาตัวช่วยในการจัดการกับความเครียด อูก้าพร้อมเป็นผู้ช่วยของคุณเสมอ ด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มาพร้อมแบบทดสอบความเครียดให้ทุกคนสามารถสำรวจระดับความเครียดด้วยตนเองได้อย่างไม่เสียค่าใช้จ่าย และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจ อย่างจิตแพทย์และนักจิตวิทยาที่พร้อมรับฟังและให้คำปรึกษาทุกทุกปัญหา มั่นใจได้ว่าทุกอย่างจะเป็นความลับ ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ที่ไหนเวลาใดก็มาหาเราได้เสมอ เรื่องของใจให้เรารับฟังนะ 😊💙

รับแบบทดความความเครียดฟรี ! ที่มาพร้อมกับโปรโมชั่นและสารพัดวิธีดูแลใจตนเองอีกมากมายได้ที่ Line Official 👉🏻 https://lin.ee/6bnyEvy

หรือดาวน์โหลดเลย ได้ทั้ง IOS และ Android 👉🏻 https://ooca.page.link/WvEw

อ้างอิงข้อมูลจาก:

Dymecka, Joanna, Rafał Gerymski, and Anna Machnik-Czerwik. “How does stress affect life satisfaction during the COVID-19 pandemic? Moderated mediation analysis of sense of coherence and fear of coronavirus.” Psychology, Health & Medicine (2021): 1-9.

Koçak, Orhan, Ömer Erdem Koçak, and Mustafa Z. Younis. “The psychological consequences of COVID-19 fear and the moderator effects of individuals’ underlying illness and witnessing infected friends and family.” International journal of environmental research and public health 18.4 (2021): 1836.

Healthline: https://bit.ly/3ynPlU0

The 101.World: https://bit.ly/3gJHN89

Read More

Work From Home นาน ผลาญพลังงานชีวิต จน “ไม่มีสมาธิทำงาน”

ช่วงนี้หลายคนคงรู้สึกว่าไม่มีสมาธิในการทำงานกันสักเท่าไหร่ จากที่เคยทำงานแค่หนึ่งชั่วโมงก็เสร็จ กลับกลายเป็นว่าเดี๋ยวนี้ต้องใช้เวลาเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่า ถ้าเป็นเมื่อก่อนแค่หาพื้นที่ส่วนตัวอยู่คนเดียวก็ช่วยให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้นแล้ว แต่พอต้องมาทำงานอยู่บ้านยาว ๆ เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลายเป็นว่าสมาธิสั้นลงซะงั้น พองานไม่เดินหน้าไปไหนสักที เราก็ยิ่งกังวลว่างานจะทำเสร็จไหมจนนอนไม่หลับ ต้องลุกขึ้นมาเปิดคอมทำงานต่อจนแทบไม่มีสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว เพราะอะไรกันนะ ?

เพราะ “บ้าน” ทำให้เรากังวล จนไม่มีสมาธิในการทำงาน

โดยปกติแล้วเรามักจะคุ้นชินตามสัญชาตญานว่าบ้านต้องเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหลังจากที่เลิกงานมาเหนื่อย ๆ แต่โควิด-19 ทำให้หลายคนต้องปรับเปลี่ยนไปทำงานอยู่ที่บ้าน เราจึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการพักผ่อนไปควบคู่ไปกับการทำงานด้วย พอต้องทำงานอยู่ที่บ้านแน่นอนว่าสภาพแวดล้อมภายในบ้านย่อมรบกวนการทำงานจนทำอะไรก็ไม่มีสมาธิ เคยไหมที่เรานั่งทำงานอยู่แล้วเห็นว่า ‘บ้านไม่สะอาด’ จนรู้สึก ‘รกหูรกตา’ เลยต้องลุกขึ้นมาทำความสะอาด เพราะเราต้องคอยมานั่งกังวลเรื่องที่บ้านและยังต้องมากังวลเรื่องงานอีกก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่จะไม่มีสมาธิในการทำงาน

งานวิจัยใน Emotion Journal (2007) เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลและประสิทธิภาพในการรู้คิด (Cognition) ได้แสดงให้เห็นว่าคนที่มีความกังวลมักให้ความสนใจกับสิ่งเร้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน เมื่อปริมาณงานของเราทั้งจากที่ทำงานและที่บ้านสูงขึ้น เราจำเป็นต้องใช้สมาธิมากขึ้นตามไปด้วย แต่กลายเป็นว่ามันกลับส่งผลให้เราเกิดความวิตกกังวลมากกว่าเดิม นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงหลีกเลี่ยงความวิตกกังวลจากงานตรงหน้าด้วยการให้ความสนใจกับสิ่งเร้ารอบข้างภายในบ้านมากกว่านั่นเอง

และเมื่อภาระงานทั้งจากที่ทำงานและที่บ้านผสมปนเปกันไปหมด เราก็ยิ่งต้องใช้พลังสมองมากเพื่อจัดลำดับความสำคัญว่าควรทำอะไรก่อนหรือหลังจนเป็นผลให้เกิดอาการสมองล้ามากขึ้น ซึ่งอาการนี้เองก็ส่งผลให้ความคิดของเรายุ่งเหยิง กลายเป็นความวิตกกังวลจนไม่สามารถจดจ่อกับเรื่องต่าง ๆ ได้ทีละอย่าง และสุดท้ายเลยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้น้อยลง ถ้ายิ่งเราต้องทำงานที่ต้องใช้สมาธิหรือซับซ้อนมาก ก็ยิ่งฟุ้งซ่านและไม่สามารถจดจ่อกับมันได้เลย

กังวลจนนอนไม่หลับก็ทำให้ไม่มีสมาธิได้เหมือนกัน

เพราะการอยู่บ้านอย่างที่หลายคนรู้ว่าแทบไม่มีสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวเลย ทำให้เราทำงานตั้งแต่เช้าถึงเย็นจนลากยาวไปถึงค่ำกว่าจะเลิกงานได้ หรือแม้แต่ตอนที่นอนหลับอยู่ก็ยังกังวลเรื่องงานจนต้องลุกจากเตียงมาเปิดคอมทำงานต่อให้เสร็จ หลายคนต้องพักผ่อนไม่เพียงพอเพราะต้องทำงานแบบนี้อยู่เป็นประจำจนร่างการอ่อนเพลียจากการหักโหมงาน เมื่อร่างกายของเรารับมือกับมันไม่ไหวก็เป็นผลให้ไม่สามารถจดจ่อกับงานได้นานและทำงานได้ช้าลงกว่าตอนที่ทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ

งานวิจัยใน Journal of Health Psychology (2021) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการนอนไม่หลับและการไม่มีสมาธิ แสดงให้เห็นว่าคนที่มีอาการนอนไม่หลับจะมีสมาธิหรือความสามารถในการจดจ่อกับงานและตัดสินใจอย่างถูกต้องได้น้อยลงกว่าเดิม เป็นผลให้เราจดจ่อกับสิ่งเร้ารอบตัวภายในบ้านมากกว่างานที่ต้องทำจนไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

หากเรามีความกังวลอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม สมองของเราจะเต็มไปด้วยอคติและให้ความสนใจกับเรื่องที่กำลังวิตกกังวลมากขึ้น และความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องนี้เองก็ส่งผลให้นอนไม่หลับได้ หากเราอดนอนมาก ๆ หรือง่วงแต่นอนไม่หลับ ความจำในการทำงานก็ถูกทำลายจนเสื่อมสภาพและความสามารถในการจดจ่อกับงานก็ลดลงเป็นอย่างมาก เพราะอาการเหนื่อยล้าจากการพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นผลให้ไม่มีสมาธิในการทำงานมากขึ้นจนนำไปสู่การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพได้

แค่เปลี่ยนมุมมองก็สามารถรับมือกับการไม่มีสมาธิในการทำงานได้แล้ว

แม้ว่าการอยู่บ้านนาน ๆ จะทำให้เราไม่มีสมาธิในการทำงาน แต่เราก็ยังต้องทำงานอยู่ที่บ้าน จนกว่าวิกฤติครั้งนี้จะผ่านพ้น การพยายามจัดการและรับมือกับปัญหาก็เป็นเรื่องที่ดีสำหรับคนวัยทำงานหลายคน เราจะได้ไม่ต้องทรมานกับการไม่มีสมาธิทำงานที่บ้านอีกต่อไป

😣 จัดการกับสิ่งเร้าที่รบกวนสมาธิของเราให้ได้มากที่สุด

การถูกขัดจังหวะในการทำงานถือว่าเป็นตัวทำลายสมาธิชั้นดีเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการขัดจังหวะที่สั้นแค่ไหนก็ตาม เพราะเมื่อเรากำลังจดจ่อกับงานไปได้อย่างราบรื่นแต่ดันมีสิ่งเร้ามารบกวนสมาธิจนหลุดออกจากวงจรในการทำงานก็สร้างความน่าหงุดหงิดใจให้กับเราไม่น้อยเลย ถึงแม้ว่ามันเป็นไปได้ยากที่เราจะจัดการกับสิ่งเร้าที่มารบกวนสมาธิของเราไปได้ทั้งหมด แต่ถ้าเราเริ่มต้นจากปิดการแจ้งเตือนบนโทรศัพท์ประมาณสามชั่วโมง และลองโฟกัสไปที่งานเพียงอย่างเดียวก็ช่วยกำจัดสิ่งเร้าที่เป็นต้นตอของการรบกวนที่ใหญ่ที่สุดไปได้หนึ่งอย่าง และก็ยังมีเวลาได้จดจ่อกับงานอย่างเต็มที่อีกด้วย

⏰ จัดตารางเวลาให้เหมาะสมกับความเป็นตัวเรา

ตารางเวลาช่วยให้เราสามารถจัดระเบียบความคิดของเราได้ดีว่าตั้งแต่เวลาไหนที่ต้องทำงานหรือถ้าเป็นเวลานี้ควรได้พักผ่อนแล้ว เพราะสมองของเราก็ไม่สามารถทำงานนาน ๆ ได้ตลอดทั้งวันเหมือนกับร่างกายของเรา ถ้าเรามีเวลาพักผ่อนที่ชัดเจน เช่น ภายในหนึ่งวันเรามีเวลาพักผ่อน 3 ครั้ง แบ่งออกเป็น ช่วงเช้า 30 นาที ช่วงพักเที่ยง 1 ชั่วโมง ช่วงบ่ายอีก 30 นาที  หรืออาจจะหาเวลาสร้างความบันเทิงให้กับตัวเองด้วยการฟังเพลงประมาณ 10 นาที มันก็ช่วยลดอาการสมองล้าที่นำไปสู่การไม่มีสมาธิได้ หรือถ้าหากจำเป็นต้องทำงานเกินเวลาที่กำหนดก็อย่าลืมหยุดพักผ่อนหลังจากที่ทำงานเสร็จแล้ว

ในช่วงสถานการณ์แบบนี้เราคงหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมเดิม ๆ ที่น่าเบื่อหน่ายจากการกักตัวอยู่บ้านไม่ได้อยู่แล้ว แต่ถ้าหากพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงจนส่งผลต่อสุขภาพใจของตัวเอง เช่น กังวลจนนอนไม่หลับ หรือกังวลจนไม่มีสมาธิทำงาน มันก็อาจนำไปสู่อาการซึมเศร้าหรือส่งผลให้ทำลายสุขภาพใจของเราได้ ถ้าหากเราให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยการไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็เป็นตัวช่วยอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถกลับมามีความสุขกับทุก ๆ เรื่องได้เหมือนเดิม

หากใครที่กำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญมาดูแลใจของคุณ จิตแพทย์และนักจิตวิทยาของอูก้าพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างและช่วยเหลือคุณทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณกังวลจนนอนไม่หลับ หรือกังวลจนไม่มีสมาธิทำงานก็ตาม เราก็พร้อมให้บริการดูแลสุขภาพใจของคุณเสมอ 😊💙

[ด่วน🔥] สำหรับผู้ใช้บริการครั้งแรก รับเลยส่วนลดถึง 10%

เพียงกรอกรหัส NEWCOMER289 ในการจองนัดหมายครั้งแรกผ่านแอปฯ ooca

วันนี้-30 กันยายนนี้เท่านั้น ดาวน์โหลดเลย 👉🏻 https://ooca.page.link/x78u

อ้างอิงข้อมูลจาก:

Eysenck, Michael W., et al. “Anxiety and cognitive performance: attentional control theory.” Emotion 7.2 (2007): 336.

Miller, Christopher B., et al. “Tired and lack focus? Insomnia increases distractibility.” Journal of health psychology 26.6 (2021): 795-804.

BBC: https://bbc.in/2Wwzk13

Forbes: https://bit.ly/3gx6EMg

The Conversation (1): https://bit.ly/3Dh5Q8d

The Conversation (2): https://bit.ly/2Wt0VAj

Read More
  • 1
  • 2