กาย On-Site ใจ On-Bed = เมื่อคุณมาทำงาน แต่ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว (Presenteeism)

กาย On-Site ใจ On-Bed = ภาวะ Presenteeism : เมื่อคุณมาทำงาน แต่ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว / ภาวะ Presenteeism เป็นการทำงานทั้ง ๆ ที่มีสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่พร้อมที่จะทำงาน ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย หรืออาการป่วยทางใจที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่กล้าที่จะลาหยุด เพราะกลัวจะถูกมองว่าเอาจริงเอาจังกับงานน้อยกว่าพนักงานคนอื่น ๆ

.

แล้วทำไมตัวเราถึงตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism ล่ะ?

.

นักจิตวิตยาคลินิกของอูก้าได้ให้คำแนะนำกับเราว่าการที่ผู้คนตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism เกิดได้หลายปัจจัย แต่ขอแบ่งเป็นสองข้อใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

.

1. ปัจจัยทางสังคมอันเกิดจาก วัฒนธรรมและนโยบายของบริษัทในที่ทำงานมองว่าการทำงานล่วงเวลาเป็นเรื่องที่ดี หรือที่บริษัทมีงานเยอะจนอาจจะทำงานไม่ทัน สิ่งเหล่านี้จึงทำให้พนักงานไม่กล้าพักงานหรือลางาน และพยายามทำงานให้ดีที่สุด เพื่อป้องกันการให้ออกจากงาน

2. ปัจจัยเรื่องของส่วนบุคคลหรือด้านจิตใจ คนที่ตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism อาจรู้สึกว่าไม่ชอบปฏิเสธ ไม่กล้าลา กลัวการทำให้คนอื่นเดือดร้อน เพราะว่าแคร์คนอื่นมากจนมองข้ามความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง

.

ดังนั้นเราจึงแสดงออกถึงความทุ่มเทและความตั้งใจในการทำงาน เพื่อสร้างความประทับใจให้กับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน แม้ว่าใจของเราอยากจะพักผ่อนหรือไปทำอย่างอื่นแทนก็ตาม

.

นอกจากนี้ งานวิจัยจาก The Work Foundation พบว่าภาวะ Presenteeism ในที่ทำงาน ทำให้เสียประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าการลาป่วยถึง 150%

.

อีกทั้งรายงานจาก CIPD (The Chartered Institute of Personnel and Development ) ยังเผยว่า พนักงานที่มีภาวะ Presentism เพิ่มขึ้นนั้นมีโอกาสเป็นสองเท่าที่จะลางานเพราะความเครียดที่เพิ่มขึ้น และพวกเขายังมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางสุขภาพจิตมากกว่าพนักงานคนอื่น ๆ ถึงสองเท่า

.

ซึ่งจริง ๆ แล้ว การที่เพื่อน ๆ จะลาหยุดเพื่อไปพักผ่อนกายหรือใจ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะทุกคนย่อมประสบกับความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักได้ โดยหากเรายิ่งฝืนทำงานต่อ ประสิทธิภาพการทำงานของเราก็จะยิ่งแย่ลง

.

หากเรารู้สึกว่าไม่ไหวจะไปต่อจริง ๆ วิธีนี้จะสามารถช่วยเติมพลังกายและใจให้เพื่อน ๆ กลับมาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่ได้พักผ่อนเลย จะยิ่งทำให้หลาย ๆ คนรู้สึก burnout ไม่อยากทำงาน จนนำไปสู่ภาวะ presenteeism มากขึ้น

.

หยุดฝืนตัวเองแล้วเลือกที่จะพักผ่อน ลองหาเวลาปลีกตัวออกไปเปลี่ยนบรรยากาศให้ธรรมชาติได้เยียวยาหัวใจและให้ตัวเองได้รู้สึกสดชื่นและผ่อนคลายมากขึ้น แต่ถ้าทำทั้งหมดที่อูก้าแนะนำมาแล้วยังอยากเติมพลังใจเพิ่มขึ้นอีก พื้นที่แห่งความสบายใจของอูก้าแห่งนี้ก็ยินดีต้อนรับเพื่อน ๆ เสมอ 🙂

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

.

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

1. https://www.bbc.com/worklife/article/20210604-why-presenteeism-always-wins-out-over-productivity

2. https://www.brandbuffet.in.th/2018/08/cigna-well-being-research-thai-behavior-2018/

3. https://www.robertsoncooper.com/blog/five-ways-to-reduce-presenteeism-in-the-workplace/

.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #OOCAissues

#mentalhealth #stigma #selflove #expectation #Presenteeism #OOCAfeelings #OOCAreminder #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More

รู้ไหมว่าความผิดพลาดนั้นไม่ได้อยู่กับเราไปตลอดกาล

“ถ้าเจออุปสรรคขนาดนี้ ล้มเลิกดีกว่าไหม?” ประสบการณ์เหล่านี้ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า Setbacks หรือ อุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้งานสักงานหนึ่งไปถึงได้ตามเป้าหมาย โดยน่าสนใจว่ามีการทดลองหนึ่งในอดีตเผยว่า “อุปสรรคที่ทำให้งานเชื่องช้าและไม่ก้าวหน้า” ส่งผลต่อการหมดหวังหมดกำลังใจมากกว่า “อุปสรรคที่สร้างความเสียหายโดยตรง”

.

James Beck, Abigail Scholer และ Jeffrey Hughes ได้ทำการวิจัยเพื่อหาข้อมูลมาสนับสนุนความคิดดังกล่าว พวกเขาได้ออกแบบการทดลองขึ้น 2 การทดลอง โดยแยกประเภทของ อุปสรรคเป็น 2 ประเภท คือ

1.อุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า (distance setbacks) ทำให้สูญเสียความก้าวหน้าในการทำงานต่าง ๆ ซึ่งเพื่อน ๆ อาจจะเคยเจอเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น คอมพิวเตอร์ดับหรือเสียระหว่างกำลังทำรายงานที่ต้องส่งภายในวันนี้และงานที่ทำมาทั้งหมดถูกลบหายไป ทำให้เราต้องทำงานใหม่ทั้งหมดในระยะเวลาอันน้อยนิด

2.อุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง (velocity setbacks) คือลักษณะของอุปสรรคที่ลดอัตราความก้าวหน้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ความคืบหน้าที่เป็นอยู่ของงาน ณ ปัจจุบันยังไม่ได้หายไป แต่จะเกิดความล่าช้าในอนาคตได้ เช่น คอมพิวเตอร์ของเพื่อน ๆ ติดไวรัส ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้าลง

ในการทดลองนี้ ผู้เข้าร่วมการทำลองจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มด้วยการสุ่ม เพื่อจะได้เจอประสบการณ์อุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า หรือ อุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง ผลจากการทดลองพบปฏิกิริยาลบในตอนแรก ทั้ง 2 ประเภทของอุปสรรค

.

โดยผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งสองกลุ่มมีความอึดอัดคับข้องใจ นอกจากนี้ยังขาดความกระตือรือร้นที่จะทำงาน แต่ความแตกต่างคือ

>> กลุ่มที่ประสบกับอุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า (distant setbacks) มีแนวโน้มที่จะสามารถกลับมาลุกขึ้นสู้ทำงานจนบรรลุเป้าหมายได้อีกครั้งเมื่อถึงช่วงจบการทดลอง 

>> ส่วนกลุ่มที่ประสบกับอุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง (velocity setbacks) มีความอึดอัดคับข้องใจมากขึ้นและมีความกระตือรื้อร้นต่ำเป็นเวลานาน แม้เวลาจะผ่านไปแล้วก็ตาม 

ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า อุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง (velocity setbacks) เป็นตัว “หน่วงความก้าวหน้า” ได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า (distant setbacks)

.

แล้วเราจะจัดการกับอุปสรรคที่ฉุดรั้งความก้าวหน้าของงานนี้ยังไงดีล่ะ? 

แน่นอนว่ามันอาจจะไม่ได้มีสูตรสำเร็จที่ตายตัวเสียทีเดียว นักจิตวิทยาคลินิกจากอูก้าได้ช่วยให้ข้อมูลต่าง ๆ และคำแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เพื่อน ๆ ทุกคนสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละคน

  1. “เรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาที่เกิดขึ้น”

เพราะการที่เราวิ่งหนีปัญหาไม่ว่าจะวิ่งให้ไกลสักเพียงใด ปัญหาเหล่านั้นก็ไม่มีวันหายไปไหนเลย การที่เรายิ่งรับรู้ได้เร็วว่า “ตอนนี้โปรเจกต์มีปัญหาเรื่องนี้อยู่นะ” เราจะยิ่งสามารถหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น และถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่สามารถทำได้ดี 100% ก็ไม่เสียหายอะไร เพราะเราได้พยายามอย่างสุดความสามารถแล้ว ในทางกลับกัน หากเรากลัวที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา ทุกอย่างอาจจะสายเกินแก้ และจะกลายเป็นว่า ทุกอย่างยังอยู่ที่ 0%

.

  1. “เจ้าความผิดพลาดจะไม่ได้อยู่กับเราไปตลอดกาล”

ทุกความพลาดพลั้งในหน้าที่การงานอาจทำให้เรารู้สึกแย่ หรือไม่กล้าที่จะทำอะไรอีกเลย แต่เมื่อเวลาผ่านไปแล้วได้มองย้อนกลับไปในอดีต เราจะค้นพบว่าในเวลานี้ เราจะมีทางลัดที่ง่ายกว่าเดิม เพราะเราได้เรียนรู้และเติบโตจากบทเรียนแห่งความล้มเหลวที่ว่านี้นั่นเอง

.

  1. “ถอดบทเรียนที่ได้ เพื่อนำไว้ใช้ในอนาคต”

ทุกความผิดพลาดกลายเป็นครูของเราได้หากเราถอดบทเรียนจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้น โดยนำมาพิจารณาว่า แผนงานของตนเองมีช่องโหว่ตรงไหนที่เราสามารถอุดรอยรั่วได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำเหมือนในอดีต และยิ่งเข้าใจอดีตที่ผิดพลาดได้มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เรากล้าเผชิญกับความท้าทายในอนาคตได้มากขึ้น

.

  1. “อย่าคิดลบกับตัวเอง”

ถ้าเพื่อน ๆ คิดว่า “ฉันไม่เก่งเอาเสียเลย” “ทำไมฉันถึงทำได้แย่ขนาดนี้” จะยิ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลงตามความคิดที่เราบอกกับตัวเองในหัว เสียงวิจารณ์ภายในตัวเราทำให้เรากลัวที่จะ “ลองดูอีกสักครั้ง” หรือกลัวที่จะ “ลุกขึ้นสู้อีกสักหน่อย” ถ้าเราลองเปลี่ยนเสียงวิจารณ์ภายในให้กลายเป็นคำชื่นชมปลอบประโลมหัวใจของเราให้กลับมาสดใส และมี energy ที่จะฝ่าฟันทุกอุปสรรคที่เข้ามา การทำงานโดยภาพรวมก็จะดีขึ้นด้วย

  1. “ปรับความคาดหวังให้เหมาะกับสถานการณ์”

เมื่อเกิดอุปสรรคขึ้น โดยเฉพาะในแบบที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง หากเรามองเห็นว่าอุปสรรนั้นมาจากภายนอกตัวเราที่เหนือการควบคุม การปรับความคาดหวังใหม่ หรือ การปรับแผนงานใหม่ ให้สอดคล้องกับสถการณ์ที่เกิดขึ้นจะช่วยลดกดดัน ความเครียดที่จะต้องทำงานให้เสร็จภายในกำหนดเส้นตาย และเพิ่มไฟในการทำงานให้กลับขึ้นมาได้เร็วขึ้น หากพยามฝืนทำตามแผนเดิมต่อไปจะยิ่งทำให้กำลังในการทำงานลดลงลงเรื่อยๆ  

  1. “ขอความช่วยเหลือเมื่อคุณต้องการ”

หากต้องการความช่วยเหลือ ให้ส่งเสียงออกมา เพราะเพื่อน ๆ ไม่ได้เผชิญหน้ากับความท้าทายอยู่คนเดียว อย่าลืมว่ายังมีเพื่อนร่วมงานที่คอยช่วยกันนำพาโปรเจกต์ต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ ยังมีครอบครัว หรือคนที่คุณรักคอยเป็นกำลังใจอยู่ข้าง ๆ และท้ายที่สุด ยังมีอูก้าที่อยู่ตรงนี้เสมอ คอยรับฟังทุกเรื่องราว และคอยสนับสนุนเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คนเพื่อให้จัดการอุปสรรคไปได้

.

หากเพื่อน ๆ หกล้มระหว่างทางแห่งความสำเร็จจนได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะแผลเล็ก หรือแผลใหญ่ อูก้าก็จะคอยเป็นยาใจรักษาแผลให้เพื่อน ๆ จนหายดี มูฟออนและกลับมาลุกขึ้นเดินหน้าต่อไป…อีกครั้ง

ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues

#นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Sources:

Read More

เมื่ออาการทางกาย หลายครั้งสัมพันธ์กับอาการทางใจ

อ.สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาของอูก้า เล่าให้เราฟังว่า “หลายๆ คน เลือกที่จะเพิกเฉยกับความเครียดหรือความเจ็บปวดทางใจ จนกว่าอาการดังกล่าวจะถึงจุดพีคแล้วค่อยเข้ามาหาผู้เชี่ยวชาญ” แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถมาหาผู้เชี่ยวชาญได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อคลี่คลายความเครียดและความกังวลก่อนที่ทุกอย่างจะสายและพังทลายลงมา

.

โดยเราสามารถเริ่มต้นสังเกต “สัญญาณเตือน” ได้ว่า เรามีอาการเจ็บกายที่เกิดขึ้นจากการทำงานหรือไม่ เช่น ปวดหลัง ปวดท้อง หรืออาการปวดหัว ซึ่งอาการเหล่านี้มักถูกมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นผลปกติที่เกิดจากการทำงานหนัก แต่ที่จริงแล้ว อาการดังกล่าวก็เป็นเสียงสะท้อนของร่างกายที่กำลังบอกใบ้ว่าจิตใจของเรากำลังเหนื่อยล้าและเสียสมดุล

.

ดังนั้น ถ้ารักษาทางกายแล้วไม่ยอมหาย บางทีปัจจัยทางใจก็ต้องถูกเอามาพิจารณาด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งเราสามารถระบายความรู้สึกเหล่านี้ได้กับคนที่เราไว้ใจอย่างเพื่อน ครอบครัว หรือแฟน แต่ถ้าบางเรื่องเราไม่อยากเล่าให้คนรู้จักหรือคนที่เกี่ยวข้องฟัง การปรึกษากับนักจิตวิทยาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเยียวยาใจเราได้เช่นกัน

.

โดยเฉพาะในระยะหลังมานี้ การให้จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพจิตของบุคลากรในองค์กร ก็เป็นอีกส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางใจให้และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าใจ “ธรรมชาติ” ของตนเองได้ดียิ่งขึ้น เพื่อหาทางออกให้รู้สึกเหนื่อยล้าน้อยลงและพัฒนาตัวเราไปสู่เวอร์ชั่นที่มีความสุขกับชีวิตมากกว่าเดิม

.

อูก้าเชื่อว่าทุกปัญหามีทางออกเสมอ แต่ถ้าเพื่อนๆรู้สึกว่ายังต้องการหาใครสักคนมาร่วมทางเพื่อฝ่าฟันปัญหาไปด้วยกัน อูก้าก็พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างทุกคน และหวังว่าจะช่วยคลายความเหนื่อยล้าทางใจของเพื่อน ๆ ได้ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม

.

เพราะไม่ว่าใครก็ต้องการจุดพักใจที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับตัวเอง

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย : https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย : https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official :

https://lin.ee/6bnyEvy

Read More

ป้องกันภาวะหมดไฟ ด้วยสวัสดิการดูแลใจในระยะยาว

เพราะ Job Burnout ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจไปยังกิจกรรมที่ผ่อนคลาย แต่ต้องการการพูดคุยเชิงลึกถึงคุณค่าในตัวเองและการแก้ปมปัญหาต่างๆ ที่อาจจะพูดกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าตรงๆ ได้ยาก

.

Job Burnout หรือภาวะหมดไฟจากการทำงาน เป็นลักษณะความเครียดเฉพาะตัวที่ต่างจากความเหนื่อยล้าทั่ว ๆ ไป เนื่องจากความเหนื่อยล้าทั่วไปนั้นหากแวะทำกิจกรรมคลายเครียดก็พอจะบรรเทาลงได้ แต่ Burnout ไม่ได้เรียบง่ายแบบนั้น หากแต่ Job Burnout คือภาวะความเหนื่อยล้าทางร่างกายและอารมณ์ อันเกิดจาก…

.

🧐 การที่ตัวเรารับรู้ถึงความสำเร็จได้ยากขึ้น

🧐 รับรู้ถึงการเป็นตัวของตัวเองที่ค่อย ๆ เลือนหายไป

🧐 รู้สึกกดดันจากความคาดหวังในการทำงานของตัวเอง

.

ซึ่งสำหรับหลายๆ คน กว่าจะรู้ตัว ไฟก็ดับสนิทแถมยังโดนราดน้ำตาจนจุดไม่ติด ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีต่อใครเลยทั้งต่อตัวเราเอง ทั้งต่อทีมงาน และองค์กร

.

👀

ศูนย์การแพทย์เชิงวิชาการ Mayo Clinic จากรัฐมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเสนอคำถาม 10 ข้อ ที่เอาไว้ประเมินว่าพนักงานกำลังอยู่ในสภาวะหมดไฟทำงาน (Job Burnout) หรือไม่ ซึ่งสามารถสำรวจได้จากรายการต่อไปนี้:

.

1. เคยประชดประชัน พูดจาเสียดสีหรือจับผิดคนอื่นในที่ทำงานไหม?

2. รู้สึกไม่อยากออกไปทำงาน และเมื่อถึงที่ทำงานกลับไม่รู้ว่าจะเริ่มทำงานอะไรบ้างหรือเปล่า?

.

3. รำคาญใจหรือไม่สามารถอดทนต่อการกระทำหรือคำพูดของเพื่อนร่วมงานได้น้อยกว่าแต่ก่อนไหม?

4. รู้สึกว่าไม่อยากจะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ อีกต่อไป หรือคิดงานไม่ค่อยออกบ้างหรือเปล่า?

.

5. การจดจ่ออยู่กับงานเป็นเวลานานกลายเป็นเรื่องยากแล้วหรือยัง?

6. ไม่รู้สึกพึงพอใจในความสำเร็จที่เกิดจากงานของตนเองไหม?

.

7. รู้สึกผิดหวังเพราะรับรู้ว่างานของตนเองไม่ได้ดีอย่างที่คิดไว้ไหม?

8. เคยใช้อาหาร ยาเสพติดหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ให้ตัวเองรู้สึกดีจากความรู้สึกแย่ ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานหรือเพื่อนร่วมงานหรือไม่?

.

9. กิจวัตรการนอนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือเปล่า? (เช่น นอนหลับยาก นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อยๆ หรือนอนหลับฝันร้ายติดต่อกันหลายวัน หรือนอนหลับมากจนเกินไปจนไม่อยากตื่นไปทำงาน)

.

10. เคยทรมานจากอาการปวดหัว ปวดท้อง มีปัญหาการขับถ่ายหรือมีอาการผิดปกติทางกายที่หาสาเหตุไม่ได้ เมื่อจำเป็นจะต้องไปทำงาน หรือขณะทำงานอยู่บ่อย ๆหรือเปล่า?

.

🔥🔥🔥

หากพนักงานมีอาการดังกล่าวร่วมกัน แปลว่าระบบนั้นกำลังต้องการการยกเครื่องครั้งใหญ่เลยทีเดียว

.

และเพราะ Job Burnout ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจไปยังกิจกรรมที่ผ่อนคลาย แต่ต้องการการพูดคุยเชิงลึกถึงคุณค่าในตัวเองและการแก้ปมปัญหาต่างๆ ที่อาจจะพูดกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าตรงๆ ได้ยาก ในองค์กรขนาดใหญ่ที่เล็งเห็นว่าสุขภาพจิตเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาประสิทธิภาพ จึงได้จัด “โปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน (Employee assistance program หรือ EAP)” ซึ่งเป็นบริการทางจิตวิทยาให้กับพนักงานที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต หรือเสี่ยงต่อภาวะหมดไฟ

.

👩‍⚕️⛅️

อาจารย์ สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้าก็ฝากมาบอกทุกคนว่า “หมดไฟ หมดได้แต่อย่าหมดรักตัวเองนะคะ เราสามารถเติมไฟให้ตัวเองได้ด้วยการเริ่มต้นรักและดูแลหัวใจตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ค่ะ”

.

เพราะเราทุกคนในอูก้าพร้อมจะรับฟังทุกปัญหาและร่วมหาทางออกไปพร้อมกับเพื่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องที่คนวัยทำงานต้องแบกรับ โดยอูก้าขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่ทำงานหนักเพื่ออนาคตของตัวเองและคนที่คุณรัก – อย่าหักโหมจนลืมดูแลสุขภาพกายใจ หยุดพักแล้วแวะมาคุยเพื่อเติมไฟและพลังใจกันได้เสมอ เพราะคุณน่ะมีอยู่แค่คนเดียวในโลกเองนะ 🙂

.

.

อ้างอิง

.

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่คัดมาให้ทุกคน

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง

#WORKLIFEBALANCE #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์ #burnout #หมดไฟ

Read More

4 เทคนิคจัดชีวิตให้มี Work Life Balance

หากช่วงนี้คุณรู้สึกว่า อยู่ๆงานที่เคยทำเสร็จเร็วกลับเสร็จช้าลง, อยากทำงานให้เสร็จ ๆ ไปมากกว่าผลิตงานที่มีคุณภาพ หรืองานที่เคยชอบกลับกลายเป็นงานที่เราไม่อยากแม้แต่จะเริ่มต้น – อาจแปลได้ว่าตอนนี้สมดุลการทำงาน การใช้ชีวิต และการพักผ่อนของเราไม่ได้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม และอาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าหรือบ่อนทำลาย self esteem ได้ ถ้าหากเรายังคงใช้ชีวิตแบบเดิมโดยไม่แก้ไข วันนี้อูก้าเลยอยากชวนเพื่อนๆ มาเติมเพลิงแห่งความสุขกับการทำงานของเรากันอีกครั้งผ่าน tips เล็กๆ น้อยๆ ที่จะสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานของเรา

.

ก่อนอื่นเรามาลองจัดการปัญหานี้ด้วยวิธีการจด  to do list โดยการเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ อะไรที่ต้องใช้เวลาทำมาก อะไรที่ต้องใช้เวลาทำน้อย จากนั้นเราขอชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมาลองฝึกการบาลานซ์ชีวิตเพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น โดยอูก้าได้ลองรวบรวมวิธีการเซ็ตสมดุลย์ชีวิตที่น่าจะเป็นประโยชน์มาฝากทุกคนกัน 

หาจุดที่พอดีให้กับตัวเราเอง

ก่อนอื่นอาจต้องปรับเปลี่ยน mind set ของตัวเรากันก่อนว่าการที่เราไม่ได้ทำงานหามรุ่งหามค่ำหรือพักดูหนังสัก 1-2 ชั่วโมงไม่ได้แปลว่าเราไม่ขยัน เช่นเดียวกับการที่เราตอบอีเมล 2-3 รายการในวันหยุดพักผ่อนก็ไม่ถือว่า Work-life Balance ของเราพังลง  ทุกคนสามารถหาจุดที่พอดีของตัวเองได้ตามขอบเขตการรับได้ และไม่ทำให้เรารู้สึกว่ากำลังรบกวนเวลาพักผ่อน ถึงแม้ว่าในความพอดีของเราในวันนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต เพราะเราเติบโตขึ้น กิจวัตรบางอย่างอาจทำได้ไม่เหมือนเดิม  ซึ่งเวลาที่เหลือจากการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องต่าง ๆ ของตัวเราเองนะ

ทำงานเมื่ออยู่ในเวลางานและให้เวลากับตัวเองเต็มที่เมื่อหมดเวลางาน

หลายคนอาจจะเคยนำเรื่องงานกลับมาคิดที่บ้านซ้ำไปซ้ำมา ทำให้สมองของเราเกิดการหลั่งฮอร์โมนความเครียด และพาลทำให้ทั้งสภาพจิตใจและร่างกายของเรารู้สึกเหมือนไม่ได้รับการพักผ่อน  ดังนั้นเราจึงควรแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัวออกจากกันให้ชัดเจนผ่านการวางขอบเขตการทำงานในแต่ละช่วงเวลาของเรา โดยตั้งใจทำงานเมื่ออยู่ในเวลางาน ขอความช่วยเหลือเมื่อไม่สามารถทำงานนั้นได้ และให้เวลากับตัวเองเยอะ ๆ เพราะร่างกายของเราต้องการพักผ่อนเพื่อเสริมสร้างพลังใจเหมือนกัน

นอกจากนี้ การจัดโต๊ะทำงานหลังเลิกงานยังช่วยให้แยกพื้นที่การทำงานกับการพักผ่อนออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้เราไม่รู้สึกเหมือนต้องทำงานตลอดเวลา สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้อง Work From Home เรามาลองจัดมุมใดมุมหนึ่งของห้องให้เป็นสถานที่ทำงาน โดยพยายามเลือกที่สงบ จัดโต๊ะให้เหมือนกับโต๊ะที่ออฟฟิศและใช้มุมนี้ตลอด หากเปลี่ยนมุมไปเรื่อย ๆ จะทำให้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตในการทำงานปะปนกัน เมื่อถึงเวลาเลิกงานแล้ว ก็ชัตดาวน์คอมพิวเตอร์ ยืดเส้นยืดสายสักเล็กน้อย หาของอร่อย ๆ กิน ดูซีรี่ส์ที่ยังดูค้างไว้บนที่นอนของเรากันดีกว่า นอกจากนี้อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง และทานอาหารให้ให้ครบ 5 หมู่ กันด้วยนะ

พูดปฏิเสธในเรื่องที่ไม่สามารถทำได้

เป็นเรื่องปกติที่เราอาจถูกไหว้วานจากเพื่อนร่วมงานและงานบางอย่างที่ได้รับการไหว้วานอาจเป็นงานที่เราไม่ได้อยากทำ ซึ่งการปฏิเสธที่จะช่วยไม่ใช่เรื่องผิด ในทางกลับกัน เราสามารถลองชั่งน้ำหนักดูว่าสิ่งนั้นอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบเรามากเกินไปไหม จะทำให้เรากดดันหรือเครียดหรือเปล่า เราสามารถปฏิเสธอย่างนุ่มนวลได้ เพื่อไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานในภายหลัง และเพื่อดูแลจิตใจไม่ให้ต้องแบกรับความเหนื่อยล้ามากเกินไปของเราได้พร้อมๆ กัน

ใจดีกับตัวเองบ้าง

สิ่งสำคัญที่ควรปกป้องและรักษาไว้คือใจของตัวเราเอง เวลาที่รู้สึกว่าไม่ไหวควรฟังเสียงในใจตัวเองและหยุดพัก พยายามไม่ฝืน มันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรถ้าเราจะหยุดพักทำในสิ่งที่ชอบ ถึงแม้ว่าการทำงานหนักในตอนนี้อาจยังไม่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจมากนัก แต่ถ้าสะสมนาน ๆ ไปก็สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้เช่นกัน ทั้งนี้ เราสามารถหาแหล่งเพิ่มพลังงานให้ตัวเอง จากกิจกรรมเล็ก ๆ ที่เราชอบได้  เช่น การอยู่คนเดียวในที่เงียบ ๆ เพื่อทำให้ใจสงบ การขับรถชมวิวหลังเลิกงาน เป็นต้น

👩🏻‍⚕️💙

นอกจากนี้ อ.สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาคลินิกจากอูก้าก็อยากจะฝากกำลังใจเล็กน้อย ๆ ให้เพื่อน ๆ ทุกคนว่า “ของขวัญที่ดีที่สุดที่เราสามารถให้ตัวเองได้คือความสุขจากการพักผ่อนอย่างเพียงพอ มาเริ่มต้นมีความสุขด้วยการบาลานซ์ชีวิตของเรากันนะคะ”

.

ถ้าเพื่อน ๆ รู้สึกว่าปัญหาแต่ละอย่างมันหนักเกินจะรับไหว  รู้สึกว่ามีเรื่องราวอื่น ๆ ที่อยากระบาย หรือต้องการเพื่อนไว้รับฟังและคอยปลอบโยนอยู่ข้าง ๆ เวลาเหนื่อยและสับสน ทางอูก้ายินดีให้คำปรึกษาและพร้อมรับฟังเสมอ เพราะทุก ๆ เรื่องจากคุณสำคัญที่สุดสำหรับเรานะคะ

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

.

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

https://experience.dropbox.com/th-th/resources/work-life-balance

https://medium.com/the-logician/work-to-live-or-live-to-work-c8a1f6761e

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง #OOCAissues

#mentalhealth #stigma #selflove #expectation #WORKLIFEBALANCE #OOCAfeelings #OOCAreminder #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More

Baby (makes me) Blue ฝนตกในใจหลังกลายเป็นแม่

“ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องน่ายินดีเพราะจะได้เห็นหน้าลูกน้อย แต่กลับรู้สึกเศร้าหมองเหมือนกับวันฝนพรำ”

“กังวลใจเหลือเกิน กลัวว่าจะเป็นแม่ที่ไม่ดีพอ”

เพื่อน ๆ ที่มีลูกเคยรู้สึกแบบนี้บ้างไหม?

หรือเคยเห็นคนรู้จักมีอาการซึมเศร้าหลังคลอดลูกหรือเปล่า?

.

เมื่อไม่กี่ปีก่อน นิยายเรื่อง “คิมจียอง เกิดปี 82” เขียนโดยโชนัมจู ได้สร้างปรากฏการณ์ talk of the town ไปทั่วโลก “คิมจียอง เกิดปี 82” ได้ยกประเด็นเรื่อง “ภาวะและโรคซึมเศร้าหลังคลอด” ผ่านตัวละครเอกอย่าง “คิมจียอง” โดยอาการนี้ได้เปลี่ยนทั้งทัศนคติ และมุมมองที่มีต่อคนรอบตัวของเธอ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นจุดพลิกผันครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเธอก็ว่าได้ เนื่องในโอกาสวันแม่ อูก้าอยากชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับอาการ “baby blues” หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อที่จะได้เข้าใจทั้งตัวละครคิมจียองมากขึ้น และคุณแม่มือใหม่ในชีวิตของเพื่อน ๆ กัน

.

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ baby blues เป็นอาการที่พบบ่อยถึง 50-75% ในหมู่คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก  โดยภาวะซึมเศร้านี้ จะทำให้มีอารมณ์อ่อนไหวง่ายกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มาจากฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน จึงส่งผลให้เกิดความเครียด ความเหนื่อยหน่ายกับชีวิตและสิ่งที่เคยสนใจ ความวิตกกังวลต่าง ๆ เช่น กังวลว่าตัวเองจะไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ดีพอ รู้สึกไม่มั่นใจกับบทบาทการเป็นแม่ของตนเอง รู้สึกว่าตนไม่ผูกพันกับลูก

.

นอกจากนี้บางคนอาจรู้สึกห่างเหินกับคนรอบข้าง บางครั้งอาจเกิดอาการน้อยใจ  รู้สึกท้อแท้ และสิ้นหวังในชีวิต บางครั้งก็ร้องไห้ออกมาโดยไม่มีเหตุผล แพทย์หญิงศิริลักษณ์ ลอดทอน จิตแพทย์จากแอปอูก้ายังเสริมอีกว่า นอกจากอาการทางใจแล้ว อาจมีอาการทางกายควบคู่ไปด้วย เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง จนกระทบชีวิตประจำวันของเหล่าคุณแม่ได้ โดยภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ baby blues จะมีระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าฮอร์โมนจะกลับมาอยู่ในสภาวะปกติ

.

ทั้งนี้ เพื่อน ๆ อาจสงสัยว่า แล้วอาการ baby blues  ต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร แพทย์หญิงศิริลักษณ์ได้ให้คำตอบไว้ว่า  แม้ทั้งสองจะมีพื้นฐานของอาการที่คล้ายคลึงกับอาการโรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum Depression  แต่โรค Postpartum Depression ซึ่งในไทยพบประมาณ 16.8% (ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต) ของคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกมีอาการยาวกว่า 2 สัปดาห์ และมีอาการที่รุนแรงกว่า เช่น มีความคิดต้องการทำร้ายตัวเองและลูก ประสาทหลอน มีอาการฉุนเฉียวสลับกับคึกคักคล้ายไบโพลาร์ หรืออาการทางกาย เช่น นอนไม่หลับ น้ำหนักลด เป็นต้น ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นที่จะต้องพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัย อีกทั้งต้องมีการทำจิตวิทยาบำบัดไปพร้อม ๆ กัน และรับประทานยาเพื่อรักษาอาการของโรคซึมเศร้า

.

แต่ถ้าเป็นระยะแรกเริ่มอย่างภาวะ baby blues  สามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบา ๆ ทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่อดอาหาร เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เพราะหากระดับน้ำตาลในเลือดตก อาจทำให้อารมณ์ไม่สมดุลได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การเข้าใจกับสภาวะที่ตนกำลังเผชิญ ปรับเปลี่ยนทัศนคติให้มองโลกในแง่บวก งดรับข่าวสารที่จะทำให้เกิดความเครียด และอย่าปล่อยให้ตัวเองอยู่คนเดียวด้วยการพูดคุยกับคนใกล้ชิด หรือคุณแม่คนอื่น ๆ ที่กำลังเผชิญอยู่กับภาวะ baby blues เหมือนกัน การปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรมและทัศนคติเช่นนี้ จะช่วยทำให้ฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้าได้เร็วขึ้น และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

.

ทั้งนี้ แพทย์หญิงศิริลักษณ์  ยังได้ฝากกำลังใจให้แก่คุณแม่มือใหม่ทุกคนว่า

“อยากจะให้คุณแม่เชื่อในตัวเองว่า อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีวิธีการรักษาและสามารถหายไปได้ ขอให้คุณแม่ทุกคนเชื่อในตัวเองว่ามีความสามารถในการเลี้ยงลูก พยายามมองโลกในแง่บวก อีกทั้งยังควรระลึกว่า ตนไม่ได้เผชิญปัญหานี้อยู่คนเดียว แต่ยังมีคนรอบข้างที่คอยมอบความรักและความห่วงใยอยู่เสมอ”

.

หากใครที่ได้อ่านเรื่องคิมจียอง จะเห็นว่า คิมจียองดีขึ้นจากภาวะนี้ได้ เพราะว่ามีสามีของเธอที่พยายามทำความเข้าใจและดูแลอยู่เคียงข้างเธอเสมอ ดังนั้น ทั้งภาวะ baby blues และโรคซึมเศร้าหลังคลอด ยาใจสำคัญที่จะทำให้คุณแม่มือใหม่ทุกคนสามารถผ่านพ้นความยากลำบากนี้ และกลับมามีรอยยิ้มที่สดใสอีกครั้งคือ  “กำลังใจจากครอบครัวและคนรอบข้าง”

.

เนื่องในโอกาสวันแม่ปีนี้ อูก้าจึงอยากชวนเพื่อน ๆ มาขอบคุณคุณแม่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ของเพื่อน ๆ เอง หรือคนรอบตัวที่กำลังเป็นคุณแม่ อูก้าเข้าใจดีว่าการเป็นแม่นั้นต้องผ่านอะไรมามากมาย อูก้าขอขอบคุณคุณแม่ทุกคนที่คอยดูแลพวกเราด้วยความรักตลอดมา และแน่นอนว่าอูก้าพร้อมรับฟังทุกเรื่องราวที่คุณแม่กำลังรู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจอยู่เสมอ เพื่อร่วมกันฝ่าฟันวันฝนพรำอันหนาวเหน็บนี้ไปด้วยกัน

ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง

#mentalhealth #depression #ซึมเศร้า #babyblue #PostpartumDepression #ซึมเศร้าหลังคลอด

#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues

#นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Sources:

Read More

เซโรโทนินต่ำเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า จริงหรือ…?

เพื่อน ๆ เคยได้ยินประโยคที่ว่า “เป็นซึมเศร้าเพราะเซโรโทนินต่ำ” กันบ้างไหม บทความจิตวิทยาหลายชิ้น งานวิจัยหลายฉบับ รวมทั้งรูปแบบการศึกษาที่อ้างอิงกับงานวิจัยในทฤษฎีซึมเศร้าดั้งเดิม มักจะพยายามหาวิธีเพื่อที่จะรักษาสมดุลของเจ้าฮอร์โมนนี้ และหาวิธีลดอัตราการเกิดของโรคซึมเศร้า แต่เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว เซโรโทนินต่ำไม่ได้ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า วันนี้อูก้าจะมาพาทุกคนมาไขคำตอบกันว่า เซโรโทนินต่ำเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า จริงหรือ…?

.

โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะได้ยินกันว่า อาการซึมเศร้าสัมพันธ์กับความผิดปกติของสารเคมีในสมองโดยเฉพาะสารที่ชื่อ “เซโรโทนิน” หรือสารเคมีแห่งอารมณ์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทที่เชื่อมโยงกับร่างกายและการควบคุมอารมณ์ โดยทฤษฎีดังกล่าวได้เป็นที่แพร่หลายในวงการแพทย์และจิตวิทยามาจนถึงปัจจุบัน  อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีดังกล่าวเริ่มถูกตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งมีผู้รวบรวมข้อโต้แย้งเหล่านั้นมาเป็นงานวิจัย ที่อูก้าจะพาพวกเราจะไปค้นหาคำตอบกันในวันนี้

.

งานวิจัย umbrella review ของ Joanna Moncrieff และคณะ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Molecular Psychology เมื่อปี 2022  ได้สำรวจงานวิจัยในช่วงเวลา 10 ปีที่มาผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเซโรโทนิน ยาต้านซึมเศร้า และโรคซึมเศร้า ทางทีมวิจัยศึกษาประเด็นดังกล่าวโดยพิจารณาจาก 

1. ระดับสารเซโรโทนินและเซโรโทนินเมตาโบไลต์ 5-HIAA ในโรคซึมเศร้า

2. การเปลี่ยนแปลงของการจับตัวบนผิวเซลล์ของเซโรโทนินในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 

3. ระดับของยีน SERT หรือตัวขนส่งเซโรโทนินในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 

4. ระดับของตัวขนส่งเซโรโทนิน ซึ่งจะทำให้การรับส่งเซโรโทนินที่ปลายประสาทลดลง

5. งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะการขาดทริปโตเฟน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยรักษาสมดุลทางอารมณ์และการกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้า 

6. ความสัมพันธ์ของยีน SERT กับความเครียดในโรคซึมเศร้า 

.

เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ต่าง ๆ แล้ว งานวิจัยพบว่า งานวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเซโรโทนินและเมตาบอไลต์ชี้ให้เห็นว่า การทำงานที่ลดลงของสารเซโรโทนินและโรคซึมเศร้าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะการขาดทริปโตเฟน และการกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้ายังแสดงหลักฐานที่น้อยมากเกี่ยวกับการทำงานที่ลดลงของเซโรโทนิน ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากผลในภาพรวมของกลุ่มงานวิจัยดังกล่าว เราจะเห็นได้ว่า ความเข้มข้นของเซโรโทนินกับโรคซึมเศร้าไม่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งตรงกันข้ามทฤษฎีดั้งเดิมของโรคซึมเศร้า

.

นอกจากนี้ ตัวงานวิจัยยังตั้งคำถามกับความเชื่อที่ว่า โรคซึมเศร้าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งเป็นองค์ความรู้จากการใช้ยาต้านเศร้า โดยที่งานวิจัยเผยข้อโต้แย้งที่น่าสนใจว่า การใช้ยาต้านเศร้า (antidepresssants) ในระยะยาวกลับส่งผลให้การหลั่งสารเซโรโทนินลดต่ำลง ดังนั้น หากจะกล่าวว่าการลดลงของสารเซโรโทนินเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าอาจจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว

.

อูก้าเข้าใจว่า สำหรับเพื่อน ๆ ที่กำลังต่อสู้อยู่กับโรคซึมเศร้าต้องใช้แรงกายแรงใจ เพื่อที่จะฝ่าฟันและข้ามผ่านมันไปได้ แม้จะต้องใช้เวลานานมากแค่ไหน อูก้าจะคอยอยู่เคียงข้างและเปลี่ยนให้ทุก ๆ วันเป็นวันที่สดใสสำหรับทุกคนนะ 

.

ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง

#mentalhealth #depression #ซึมเศร้า #เซโรโทนิน #scientificNEWS 

#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues

#นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Resource:

Moncrieff, J., Cooper, R.E., Stockmann, T. et al. The serotonin theory of depression: a systematic umbrella review of the evidence. Mol Psychiatry (2022). https://doi.org/10.1038/s41380-022-01661-0

Read More

เมื่อไพ่ทาโรต์กลายเป็นที่พึ่งทางใจสำหรับใครหลาย ๆ คน

“ทำไมคุณถึงคิดว่าตัวเองไม่พร้อมที่จะมีความรักครั้งใหม่ล่ะคะ”

“หมอดูเคยทักว่าจะไม่มีเนื้อคู่ค่ะคุณหมอ อกหักครั้งนี้หนูเลยแอบคิดว่า หรือจะเป็นอย่างที่หมอดูทักจริงๆ”

มีหลาย ๆ ครั้งในชีวิตที่พวกเรารู้สึกอับจนหนทาง รู้สึกต้องการที่พึ่งทางใจ 

ต้องการปรึกษา “ใครสักคน” ที่สามารถบอกทางออกกับเราได้ และถ้าเป็นใครสักคนที่สามารถมองเห็นอนาคตเราได้ ว่ายังไม่ได้อับจนหนทางไปซะทีเดียว ก็พอจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราสู้กับปัญหาตรงหน้าไปได้ นั่นเป็นเหตุผลที่หลาย ๆ คนเลือกที่จะพูดคุยกับหมอดู


ส่วนบางคนก็เลือกจะหันหน้าเข้าหาหมอใจ (นักจิตวิทยา) เมื่อพบว่าการระบายกับเพื่อนไม่เพียงพอ

พฤหัสที่ 28 ก.ค. ที่ผ่านมา รายการ #MindPleasureLIVEtalk โดย #อูก้า ได้ชวนทั้งหมอดูและนักจิตวิทยามาสนทนากันในเรื่องนี้

 คุณเอม นักโหราศาสตร์ เจ้าของเพจเฟสบุ๊ค Your Beloved Witch ได้เล่าถึงการดูดวงว่า “คนส่วนใหญ่ชอบดูดวงเพราะว่าอยากรู้เรื่องของตนเอง ถึงพวกเราจะรู้อยู่เเล้วว่าตนเองเป็นอย่างไร บางทีเราก็อยากรู้ในเรื่องของตัวเองจากมุมมองคนอื่น มันสนุก ! และเมื่อได้ยินสิ่งดี ๆ ของตัวเราจากหมอดู เราก็จะรู้สึกสบายใจขึ้น หรือบางครั้งเค้าเลือกไม่ได้ หรือไม่มีความเชื่อมั่น การมาทบทวนความเชื่อเกี่ยวกับตัวเอง ก็เป็นส่วนที่ทำให้คนที่มาหาเรารู้สึกสบายใจ ”

ในขณะเดียวกัน ทั้งหมอดูและหมอใจ ก็เห็นพ้องต้องกันว่า การรู้อนาคต มีคนรับฟัง จะสร้างความสบายใจหรือความเชื่อมั่นได้ แต่ก็มีหลายกรณีที่แค่การรู้อนาคตและความเชื่อมั่นนั้นไม่เพียงพอ

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 ได้กล่าวว่า

“มีหลาย ๆ คน ที่อาจจะเลือกเล่าให้เพื่อนฟัง หรือใช้การพยากรณ์ เพราะไม่อยากรู้สึกว่าตัวเองป่วยจนต้องไปหาหมอ แต่ว่าอาการเจ็บป่วยทางใจที่เริ่มเกิดขึ้นต่อเนื่องแม้ไม่มีเหตุการณ์กระตุ้น เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับต่อเนื่องเกินสองสัปดาห์ หรือการคิดจบชีวิต ปัญหาประเภทนี้ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ก็อาจจะต้องใช้เครื่องมืออื่นที่พาเราไปในทิศทางที่ต่างจากการทำนาย”

รวมไปถึงบางครั้ง “หมอดูและนักเยียวยา” รุ่นใหม่ ต่างก็เคยพบเห็นคนที่มาปรึกษาเนื่องจากโดนตีตราจากคำทำนายทายทักเชิงลบ

คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เล่าว่า “เหตุผลที่เรามาเป็นหมอดู เพราะเราเคยถูกหมอดูทักตอนเด็กๆ ว่าเราจะเรียนไม่จบ ช่วงที่เรียนหนังสือมาตลอดก็จะมีความคิดนี้วนในหัวตลอดเวลาว่าเราจะเรียนได้ไหม จะสอบติดไหม แม้กระทั่งตอนอยู่มหาวิทยาลัยปีสุดท้ายทำทีสิส เรายังวิตกกังวลเลยว่างานของเราจะไม่ผ่านตามที่หมอดูเมื่อหลายสิบปีก่อนว่าไว้ จนมันผ่านไปจริงๆ ถึงพิสูจน์ว่าเออ ก็เรียนจบนี่นา สิ่งนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้เวลาเราดูให้คนอื่น เราจะคำนึงถึงผลกระทบในคำปรึกษาของเรา”

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 เสริมถึงกรณีผู้มาปรึกษาที่บางทีอาจจะเล่าไม่หมด และหาทางออกไม่พบ ส่วนหนึ่งเพราะไม่กล้าเล่าให้นักจิตวิทยาฟังว่าไปดูดวงมาก่อน 

“มีกรณีที่มีคนมาปรึกษาเรื่อง อยากมีความรัก แต่มีความคิดฝังหัวว่าตัวเองยังไงก็ไม่มีเนื้อคู่ ไม่มีคนรัก เพราะเคยมี #หมอดูทัก แรงจนเสียความมั่นใจ ซึ่งพอเค้าเล่าให้เราฟังแล้ว เราก็จะรู้ว่าอ๋อ มีความกังวลตรงนี้มาก่อน ทางนักจิตวิทยาก็จะสามารถถามถึงเรื่องคุณค่าในตัวเอง และพาไปสำรวจ Esteem ในหลายๆ มิติ – ซึ่งที่จริงทุกเรื่อง ทุกความเชื่อ เล่าให้ฟังได้หมดเลย ไม่ต้องกลัวจะถูกตัดสิน”

และสุดท้าย ไม่ว่าจะหมอดู หรือหมอใจ เรื่องหนึ่งที่มีร่วมกันคือเรามีโอกาสเลือกมองหาทางออก และความช่วยเหลือในแนวทางที่เราสบายใจ 

คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เล่าว่า “หมอดูก็มีหลายแนวนะ บางคนชอบหมอดูที่ฟันธงมาเลยว่าชีวิตจะเป็นยังไง แล้วก็เลือกที่จะเชื่อตามสิ่งที่หมอดูพูด บางคนชอบเปิดไพ่ บางคนดูตามราศี บางคนดู MBTI แต่สำหรับเราที่อ่าน Birth Chart เราคิดว่าสุดท้ายเจ้าของดวงมีสิทธิตัดสินใจเองว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร โดยคำปรึกษาของเราหมายถึงความเป็นไปได้ที่น่าจะเกิดขึ้น จากสิ่งที่เป็นมาในอดีต แต่สุดท้ายเขาเป็นคนเลือกเอง”

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 เสริมว่า “นักจิตวิทยา และจิตแพทย์ ก็มีคาร์แรคเตอร์ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือแนวทางในการคลี่คลายเรื่องที่มาปรึกษาต่างกัน เหมือนเวลาเราไปร้านอาหาร ถึงเป็นอาหารประเภทเดียวกัน เช่น อาหารญี่ปุ่น แต่ว่าแต่ละร้านก็จะมีรสชาติ มีความเชี่ยวชาญต่างกันออกไปตามความถนัดของเชฟ ซึ่งการอ่านรีวิวก็อาจจะไม่ได้ตอบได้ทั้งหมด เท่ากับการได้ลองเอง”

 คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เสริมว่า “ดังนั้นเราเลือกได้แหละ” 

ถ้าเพื่อน ๆ กำลังเผชิญกับอารมณ์ที่เปลี่ยนเเปลงเล็กน้อย (Mood Swing) ในช่วงนี้ ลองนัดคุยกับคนที่เพื่อนๆ ที่เราไว้ใจ หรือถ้าไม่อยากให้คนใกล้ตัวรู้สึกหนักตามไปด้วย ลองหาคนอื่นหรือสิ่งอื่นที่อยู่นอกวงโคจรของเราในการปลดปล่อยก็ได้ 

เเต่ถ้าปัญหาเริ่มบานปลายจนกระทบชีวิตประจำวัน เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ รู้สึกหม่นหมองและจมดิ่งไปกับความเศร้านั้น ก็อาจเริ่มเป็นสัญญาณว่า เราควรเริ่มปรึกษาจิตเเพทย์ เพื่อร่วมหาทางออกไปพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญ

ท้ายที่สุดแล้วหากเพื่อนๆ คนไหนรู้สึกอัดอั้นตันใจ มองหาทางออกไม่เจอ อูก้าพร้อมอยู่ตรงนี้เสมอ เพื่อช่วยคลี่คลายปมปัญหาที่ค้างคาในใจ พร้อมรับฟัง และทำความเข้าใจความรู้สึกของเพื่อน ๆ ทุกคนนะ

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาจากทางบ้าน

ดาวน์โหลดเลย:

https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

อ้างอิง

https://www.idiva.com/health-wellness/mental-health/how-tarot-card-reading-and-mental-health-are-connected/18025989

https://voicetv.co.th/read/INxD79HhO

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth #selflove #tarotreading #SelfCare
 #OOCAask #oocadiscussion #ที่พึ่งทางใจ #ดูดวง #วิตกกังวลล่วงหน้า

Read More

งานจบ อารมณ์ไม่จบ: ความเครียดสะสม ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

“ก็มีเครียดบ้างแหละ ปกติของการทำงาน”

“มันก็คงเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ที่จะปวดหัวเรื่องงานแหละมั้ง”

“ทน ๆ ไปเถอะ เครียดนิดหน่อย เดี๋ยวก็หาย”

.

การละเลยสิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้ อาจนำพาเราไปสู่ “Minor stress” หรือความเครียดสะสมที่เกิดจากความรู้สึกในเชิงลบที่สะสมทีละเล็กละน้อยโดยไม่รู้ตัว โดยเจ้า Minor stress มักปรากฎตัวได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกเครียด กดดัน ผิดหวัง เศร้าหมอง และอื่น ๆ

.

และ Minor Stress นี่เองที่สามารถนำไปสู่ภาวะเครียดจนเกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ ซึ่งสาเหตุของความเครียดนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น ระดับฮอร์โมน การพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัญหาจุกจิกในชีวิตประจำวัน งาน หรือแม้กระทั่งการเมืองในที่ทำงานด้วยเช่นกัน

.

แล้วเราจะสามารถจัดการกับ Minor stress จากความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างไร?

.

👩🏻‍⚕️💙

คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในแอพอูก้า แนะนำกับเราว่า เมื่อมีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับความเครียดที่เรามี หากเลี่ยงปัจจัยการกระตุ้นความเครียดได้ก็ควรเลี่ยง เช่น ลองให้คนอื่นคุยงานนี้แทนเราแต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้เราอาจจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจก่อนไปเผชิญหน้ากับเขา หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ อย่างน้อยเราก็จะทำให้เราพอรู้ว่าต้องเจออะไร พยายามจัดการความรู้สึกของตัวเองหรือระบายให้เพื่อนฟัง บางทีเพื่อนอาจเคยเจอเหมือนกับเราก็ได้

.

อีกหนึ่งทางออกที่ดีคือ การลองปรึกษากับบุคคลภายนอก เพื่อให้ได้เห็นปัญหาในภาพที่กว้างมากขึ้น เพราะหลายครั้ง การมีแค่ HR หรือหัวหน้างาน ก็ไม่เพียงพอ ซึ่งที่จริง HR และเหล่าหัวหน้างาน ก็ต้องการผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเมื่อเผชิญภาวะเครียดเหมือนกัน เพราะความรู้สึกและความสัมพันธ์ในที่ทำงานเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้น “งานเยอะ” จึงอาจจะไม่ใช่ต้นตอของปัญหาทั้งหมด เมื่อปัญหาภายในองค์กรเรื้อรังรังเข้า จึงเกิดภาวะ “งานจบแล้ว แต่อารมณ์ยังไม่จบสักที”

.

ซึ่งยุคนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีหลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงานมากขึ้น โดยหลายองค์กรเริ่มมีสวัสดิการให้พนักงานได้เข้ามาปรึกษาหรือพูดคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี

.

นอกจากนี้ คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้ากล่าวว่า การมีสวัสดิการเรื่องสุขภาพจิตในองค์กรถือเป็น “เรื่องที่ดี” และ ”สำคัญมาก” เพราะนอกจากจะมีคนที่คอยรับฟังและเข้าใจปัญหาของเราแล้ว สุขภาพใจจะดีขึ้น สุขภาพกายก็จะดีตามไปด้วย สิ่งนี้จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและทำให้คนทำงานอย่างเราใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

.

แน่นอนว่าอูก้าเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจ ที่คอยช่วยสนับสนุนเพื่อน ๆ ให้เอาชนะความเครียดจนสำเร็จ ไม่ว่าเพื่อน ๆ จะเข้ามาระบายเรื่องราวต่าง ๆ ให้เราฟังหรืออยากปรึกษากันแบบจริงจัง จะเป็นเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ เราก็พร้อมรับฟังและอยู่เคียงข้างเพื่อน ๆ เสมอนะ

.

มารับพลังใจในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

อ้างอิง: https://www.medicalnewstoday.com/articles/321450?fbclid=IwAR0MzoZxiUcaf4WO1Tp4V7juKoaJAQ0saencyE2KOyH2eyalUfObG-2dZFc

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth#stigma#selflove#expectation#ความคาดหวัง#OOCAfeelings#OOCAreminder

Read More

ต้องโตแค่ไหน ถึงเป็นผู้ใหญ่ในสายตาพ่อแม่

เคยไหม?

“อายุ 30 แล้ว จะไปทำงานที่ต่างประเทศแต่แม่ไม่ให้”

“จะไปไหนมาไหน ก็ต้องรายงานพ่อแม่ตลอดเวลา”

.

เพื่อน ๆ เคยรู้สึกแบบนี้ก็บ้างหรือเปล่า? รู้สึกอึดอัดกับการที่ต่อให้เราอายุ 30 40 แล้วก็ยังดูเป็นเด็ก 3 ขวบที่ทำอะไรไม่เป็นในสายตาของผู้(เคย)ปกครอง ทั้งที่ตอนอยู่ที่ทำงานก็ทำงานเหมือนคนทั่วไป เป็นเจ้าคนนายคนแบบที่พ่อแม่อยากให้เป็น แต่กลับบ้านทีไรก็รู้สึกตัวเล็กลีบแบน จะตัดสินใจเรื่องอะไรแต่ละทีก็ต้องมาปวดหัวว่าพ่อแม่จะว่ายังไง

.

“พ่อแม่เป็นห่วงนะเข้าใจไหม”

“งานบ้านปกติยังไม่ค่อยยอมทำเลยแล้วจะอยู่ยังไง”

“เป็นผู้หญิงอยู่คนเดียวได้ไง มันอันตราย”

พอโดนพูดแบบนี้บ่อย ๆ เข้าจากความเป็นห่วงก็กลายเป็นความอึดอัดใจ อย่างนั้นก็ไม่ได้ อย่างนี้ก็ไม่ดี พอปรึกษาใครก็บอกว่าอดทนหน่อย เขารัก เขาหวังดี ไม่งั้นเขาไม่พูดหรอก ด้วยแนวคิดและวัฒนธรรมแบบเอเชียทำให้เราต้องเป็นเด็กที่เชื่อฟังพ่อแม่ไปจนโต

.

ความรู้สึกเหล่านี้ยิ่งนานวันก็อาจกลายเป็นปัญหารบกวนจิตใจ ทั้งที่แค่อยากให้ไว้ใจกัน แต่ถ้าพูดออกไปก็กลัวว่าจะทำให้เสียใจจนกลายเป็นทะเลาะกัน

.

👩🏻‍⚕️💙

คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้า ยังสะท้อนว่า ได้เล่าถึงกรณีทั่ว ๆ ไปที่มาปรึกษาในเรื่องนี้ว่า หากเราอยากเป็นอิสระจากทางบ้าน บางทีก็อาจจะต้องรวบรวมความกล้าแล้วพูดออกไป ซึ่งมีวิธีการรับมือที่แตกต่างกันตามแต่ละบุคคล เช่น

.

“คิดว่าพอคุยกับพ่อแม่ได้อยู่”

ลองค่อย ๆ อธิบายให้เข้าใจว่าเราโตแล้ว เช่น ถ้ากังวลเรื่องที่พักที่ต้องแยกตัวออกไป ก็ลองพาไปดูสถานที่ พยายามแสดงให้เห็นว่าเราทำได้ ไม่ได้มีอะไรน่ากลัวอย่างที่กังวล แม้ในช่วงแรกอาจจะมีปะทะหรือทะเลาะกันบ้าง ก็อย่าเพิ่งเสียกำลังใจ เพราะหากไม่เริ่มหลุดจากกรอบที่พ่อกับแม่วางไว้ ก็คงไม่มีวันเห็นว่าลูกโตจนอยู่เลยระดับที่ชินสายตา

.

“ทำอย่างไร พ่อแม่ก็ไม่ยอมรับฟัง”

กรณีนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องดูเบื้องหลังของผู้ที่อยากได้รับคำปรึกษา อูก้าขอแนะนำให้คุณพักใจด้วยการมาปรึกษาใครสักคน คนนั้นอาจจะเป็นเพื่อนที่ไว้ใจได้ คนที่กำลังเจอปัญหาเหมือนกัน หรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะยิ่งเก็บไว้นาน ความอึดอัดก็อาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะไม่เข้าใจ เรารู้ว่าคุณไม่ใช่ลูกอกตัญญู คุณแค่เป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่อยากเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง

.

ใครที่กำลังเผชิญกับความรู้สึกแบบนี้แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอธิบายให้พ่อแม่เข้าใจอย่างไร หรือแรงปะทะมันเกินรับไหวจนใจพัง ลองแวะมาคุยกับอูก้าเพื่อมารับพลังบวกไปด้วยกันกับเราได้นะ

.

.

ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ไม่มีใครเข้าใจ

พวกเราก็พร้อมจะรับฟังเพื่อทำให้คุณเบาใจมากขึ้นนะ

.

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth#stigma#selflove#depression
#สุขภาพ#เครียด#รักตัวเอง#ซึมเศร้า#ความคาดหวัง#ความสัมพันธ์#ครอบครัว

Read More