Positive วันละนิด จิตแจ่มใส… จิตวิทยากฎแรงดึงดูด ยิ่งคิดบวกชีวิตยิ่งดี

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องกฎแรงดึงดูด (Law of Attraction) หรือแม้กระทั่งลองทำด้วยตัวเอง แนวคิดเรื่องกฎแรงดึงดูดไม่ใช่เรื่องใหม่ แนวคิดนี้ได้รับการกล่าวถึงในระดับสากล โดยหลักการของกฎคือ ถ้าหากเราเชื่อในสิ่งที่ดี คิดในสิ่งที่ดี เรื่องดี ๆ จะดึงดูดเข้ามาในชีวิตเรา และในทางตรงกันข้ามหากความคิดของเราเป็นเชิงลบจะได้ผลลัพธ์ในเชิงลบตามมา

พอลองทำความเข้าใจกฎไปแล้วเรากลับรู้สึกว่า เอ้ะ… มันพอจะมีอะไรมาอธิบายหลักการและเหตุผลของมันได้หรือเปล่า คุณฉันท์ธนิตถ์ สิมะวรางกูร นักจิตวิทยาการปรึกษาจากแอปพลิเคชันอูก้า อธิบายว่า

“ถ้าเราไปอ่านในเอกสารพวก Neuroscience (ประสาทวิทยาศาสตร์) มันจะชัดเลยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง โดยนักวิทยาศาสตร์ทางด้านสมองจะพูดว่า คลื่นสมองของมนุษย์มีลักษณะเป็นคลื่นไฟฟ้า มีสนามแม่เหล็ก ซึ่งมันเป็นพลังงานทั้งหมด แต่ว่าตาของมนุษย์มองไม่เห็น”

“กฎแรงดึงดูด มันมีอยู่จริงในระบบของพลังงาน ทำไมคนเราถึงพูดว่าคิดแบบนี้สิแล้วมันจะเรียกสิ่งนี้มา จริง ๆ แล้วมันคือการทำงานของคลื่นสมองของเรา ถ้าเกิดเราไปศึกษาในเอกสารเกี่ยวกับคลื่นพลังงานของมนุษย์ในระดับอารมณ์ เราจะเห็นเลยว่ามนุษย์มีความถี่ของคลื่นอารมณ์แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ถึงเป็นคำตอบว่าทำไมกฎแรงดึงดูดถึงมีอยู่จริง…”

กฎแรงดึงดูด ไม่ใช่เรื่องที่คิดไปเอง แต่เป็นเรื่องของวิทยาศาตร์ และเปลี่ยนแปลงกลไลทางสมอง ที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงนี้เราสามารถสร้างได้ด้วยตนเอง ดังนั้นคำว่าความสุขสร้างได้ด้วยตัวเราเอง ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยสักนิด ยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลในงานวิจัยเรื่อง Optimism and its impact on mental and physical well-being พบว่า คนที่มองโลกในแง่ดี จะเป็นคนที่มีสุขภาพดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น ทั้งยังมีโอกาสในการประสบความสำเร็จมากขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้มีความคิดที่มุ่งหาความสำเร็จมากกว่าจะหันมองหาความล้มเหลวในชีวิต

เพราะฉะนั้นหากเรากำลังตามหาสิ่งดี ๆ ตามหลักของกฎแรงดึงดูด เราอาจเริ่มจากความคิด โดยมองหาจุดโฟกัสของชีวิต ตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ โดยมีความเชื่อว่าเราจะพิชิตมันได้ การหาโอกาสใหม่ ๆ ในชีวิตพร้อมพลังงานบวกที่บอกกับตัวเองว่าเราสามารถทำมันได้ จะทำให้เราพาตัวเองไปเจอกับสิ่งใหม่ที่ดีขึ้น มากกว่าปล่อยโอกาสนั้นให้หลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย นอกจากนี้คุณฉันท์ธนิตถ์ ยังบอกกับเราอีกว่า

“ให้ทำความเข้าใจระบบการทำงานของสมองมนุษย์ว่า สมองของเราจะเก็บข้อมูลไปประมวลกับชุดประสบการณ์ และชุดการเรียนรู้ ที่เรามีอยู่ในตัวเองตั้งแต่เด็กจนโต ถ้าหากเราเก็บข้อมูลในเชิงบวกมันจะเข้าไปช่วยสร้างความคิดในเชิงบวกให้เรานำมารับมือต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดกับเราได้”

สิ่งเหล่านี้บอกกับเราชัดเจนว่า ตัวเราเองคือแกนกลางของการสร้างพลังงาน ดังนั้นเมื่อเข้าใจแล้วสิ่งที่เราทำได้คือเราควรเลือกรับสิ่งที่ดีเพื่อตัวเราเอง ซึ่งตรงกับหลักของกฎแรงดึงดูดไม่ผิดเพี้ยน…. แต่ ชีวิตของเรามีบางครั้งที่อาจต้องเผชิญกับวิกฤต ทำให้เราไม่อาจหลีกเลี่ยงพลังงานในด้านลบได้ ถึงเราจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แต่เราสามารถจัดการได้ไม่ยากโดยทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

5 ข้อแนะนำ จิตวิทยากฎแรงดึงดูด ในการจัดการพลังงานลบ

  1. ปั่นพลังงานตนเองให้เป็นพลังงานเชิงบวก ให้มีทัศนคติในเชิงบวกให้ได้ แต่หากเรารู้ตัวเองว่าไม่ไหวไม่จำเป็นต้องพยายามเพียงแค่พาตัวเองมาอยู่ในจุดความรู้สึกที่เป็นกลางได้ ถือว่าเพียงพอ
  2. มองโลกอย่างตรงไปตรงมา แม้จะเป็นเรื่องในเชิงลบให้เผชิญหน้าแล้วใช้ความเมตตาและความรักในการทำความเข้าใจ
  3. คุยกับใจตัวเอง… ในเวลากำลังรู้สึกไม่มีความสุข กำลังไม่พึงพอใจในเรื่องไหน เมื่อรับรู้แล้วให้ให้อภัยกับตัวเอง
  4. พาตัวเองไปสู่สิ่งที่ดี การเลือกสังคม หรือชุมชนที่ดีเพื่อตัวเราเอง หากไม่สามารถดึงพลังงานในเชิงบวกจากตัวเองได้ การมีเพื่อนที่ดี อยู่ในสังคมที่ดีจะช่วยเติมพลังงานบวกให้เราได้
  5. หาต้นแบบหรือไอดอลในการใช้ชีวิต สิ่งนี้จะช่วยให้เราพาตัวเองมองหาโอกาสและพาตัวเองไปสู่ความสำเร็จ

สำหรับใครกำลังมีคำถามว่าเมื่อไหร่เราจะพบกับสิ่งดี ๆ ล่ะก็ อาจจะลองนำคำแนะนำเหล่านี้ไปปรับใช้กันดูได้ และเมื่อเรามีความเชื่ออย่างมั่นคงว่า สิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นกับตัวเราแล้วในอนาคตต่อไป “กฎแรงดึงดูด” จะพาความสุขมาให้เราได้แบบไม่ต้องถามหาความสุขจากใครแน่นอน

อูก้าเป็นกำลังใจเพื่อนๆเสมอนะ!

– แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

อ้างอิง

https://www.verywellmind.com/understanding-and-using-the-law-of-attraction-3144808#citation-2

https://clinical-practice-and-epidemiology-in-mental-health.com/VOLUME/6/PAGE/25/FULLTEXT/

https://www.forbes.com/sites/forbescoachescouncil/2020/10/13/the-mystery-and-science-behind-the-law-of-attraction/?sh=321b19171a55

Read More

Resilience: พลังแห่งนักสู้! ฮึบได้ไว ปะทะปัญหาหนักแค่ไหนก็พร้อมรับมือ

สารพันปัญหาชีวิต รุมเร้าเข้ามาทดสอบความเข้มแข็งทางจิตใจของเราได้แทบทุกวัน บางวันเราเจอปัญหาเล็กน้อยจุกจิกให้ต้องคอยแก้อยู่บ่อย ๆ แต่กับบางวันเรากลับต้องเจอสิ่งที่ไม่คาดฝัน ปัญหาบางอย่างที่ต้องเผชิญอาจส่งผลกระทบทางจิตใจรุนแรง ทำให้เรารู้สึกหดหู่ เศร้า เสียใจ หรืออาจจะรุนแรงถึงขั้นส่งผลต่อสุขภาพจิต ซึ่งการเจอปัญหารุนแรงถึงระดับนี้ เราจะกลับมาลุกขึ้นสู้ยังไงไหว?

ทุกปัญหาแก้ได้ และชีวิตของเราต้องเดินหน้าต่อ และจริง ๆ แล้ว มนุษย์ทุกคนจะมีพลังแห่งการฮึบสู้อยู่ในตัวแต่เราอาจจะยังไม่เคยทำความรู้จักกับมัน ในทางจิตวิทยาเราเรียกพลังการฮึบนี้ว่า Resilience Quotient (RQ) หรือที่กระทรวงสาธารณะสุขบัญญัติคำเรียกว่า พลังใจ ซึ่งหมายถึง กระบวนการหรือทักษะในการฟื้นฟูสภาพจิตใจหลังจากการเจอกับวิกฤติหนักให้สามารถกลับมาตั้งหลักใช้ชีวิตได้ตามปกติ

RQ เป็นสิ่งที่แสดงออกให้เห็นถึงความเข้มแข็งทางจิตใจ เมื่อเราสามารถรับมือและปรับตัวได้ดีเมื่อชีวิตต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติ “อาจารย์ฉันท์ธนิตถ์ สิมะวรางกูร” ผู้เชี่ยวชาญจากอูก้า ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจกับเราว่า RQ นั้นมีทั้งในระดับบุคคลที่หมายถึงตัวเราเอง และมาจากระดับสังคม คือ ครอบครัว เพื่อน ชุมชน ที่สามารถดึงเราก้าวข้ามปัญหาต่าง ๆ ได้

จากการพูดคุยครั้งนี้ทำให้เราเข้าใจภาพของ RQ ได้มากขึ้น คราวนี้เราเลยลองถามต่อไปว่าเราจะสามารถพัฒนาตัวเองให้มี RQ พร้อมสู้รบปรบมือกับทุกปัญหาได้อย่างไร? ซึ่งอาจารย์ฉันท์ธนิตถ์ได้ให้คำตอบที่น่าสนใจ

“สิ่งที่จะเข้ามาสนับสนุนให้เกิด RQ ได้ดี จะมาคู่กับการเห็นคุณค่าในตัวเอง (Self-Esteem) และการรับรู้ความสามารถในตัวเอง (Self-Efficacy)”

ดังนั้นสิ่งที่เราจะทำได้ก่อนคือการหาสิ่งเหล่านั้นในตัวเองให้เจอ ซึ่งเป็นการพัฒนาในมิติด้านจิตใจให้เข้มแข็ง แล้วเราจะสร้าง Self-Esteem กับ Self-Efficacy ได้อย่างไร? อาจารย์ฉันท์ธนิตถ์มีคำแนะนำง่าย ๆ ให้เราทำตาม ดังนี้ค่ะ

  1. การไปค้นหาว่าเรามีความสามารถอะไร  เรามีประสบการณ์อะไรมาบ้าง
  2. การลงมือทำจริงกับสิ่งนั้น ทำซ้ำ ๆ ทำให้รู้ว่าตัวเราทำได้
  3. ถ้าไม่มีเวทีให้ทำจริง ให้เราหลับตาแล้วจินตนาการว่าเราทำสิ่งนั้นอยู่ สมองจะจดจำทำให้เกิดความเชื่อว่าเราทำได้
  4. ฝึกสมองให้เรามองโลกในแง่ดี การคาดเดาถึงผลลัพท์ของสิ่งที่เราทำในทิศทางบวก สมองจะสื่อสารให้เราเชื่อว่าเราจะทำสิ่งนั้นได้

การฝึกความคิดตัวเองในเชิงบวกทำให้ระบบสมองของเราจดจำในเรื่องดี ๆ ซึ่งจะทำให้เราสามารถเรียก RQ กลับคืนมาได้ในทันที หรืออาจจะแทบไม่รู้สึกสะทกสะท้านกับปัญหา นอกจากการฝึกในมิติทางความคิดของเราแล้วอีกมิติหนึ่งที่จะช่วยผลักดัน RQ ได้คือการดูแลร่างกาย โดยอาจารย์ฉันท์ธนิตถ์ได้พูดถึงแนวคิดของ Andrew D. Huberman นักประสาทวิทยาศาสตร์ ชาวอเมริกา ที่บอกวิธีการพัฒนา RQ ผ่านการดูแลร่างกายของเราด้วยวิธีแสนง่าย ดังนี้

  1. นอนให้พอ ถ้าร่างกายพักผ่อนเพียงพอสารสื่อประสาทในร่างกายจะอยู่ในระดับสมดุล 
  2. การฝึกลมหายใจ ค่อย ๆ สูดลมหายใจให้ลึกยาว สบาย… จะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของร่างกาย 
  3. การกินอาหารที่มีประโยชน์  
  4. ตื่นเช้ามารับวิตามิน D จากแสงแดด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นโดปามีน
  5. รู้สึกดีกับสิ่งรอบข้าง และขอบคุณกับมัน 

อาจารย์ฉันท์ธนิตถ์ยังให้แนวทางวิธีการรับมือกับปัญหาโดยสรุปได้ว่า เมื่อเราเผชิญหน้ากับปัญหาให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ปล่อยให้มันเป็นไปไม่ต้องฝืน ต่อมาให้เราทบทวนกับตัวเองว่าอะไรในวิกฤติที่แขวนให้เราจมอยู่กับมัน เมื่อเราได้คำตอบเราจะหาทางออกให้ตัวเองได้ค่ะ แต่ถ้าหากไม่ไหวก็ไม่เป็นไรนะรีบหาตัวช่วย คนที่เราไว้วางใจเราลองไปปรึกษาพูดคุยกับเขาได้ทันที ส่วนใครถ้ารู้ตัวว่าตนเองมีปัจจัยความเสี่ยงทางสุขภาพร่างกาย สุขภาพใจให้พบผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟู Resilience ให้คืนกลับมา

RQ เป็นพลังด้านบวกที่เราทุกคนมีอยู่ในตัวเอง แม้ว่าแต่ละคนจะมีความเข้มแข็งทางจิตใจในการรับมือกับปัญหาได้มากน้อยไม่เหมือนกัน หรือแม้กระทั้งการเผชิญกับปัญหาของแต่ละคนจะเล็กบ้างใหญ่บ้าง แต่ถึงอย่างนั้นไม่ว่าเราจะเป็นใครในโลกใบนี้ เราก็สามารถปลุกพลังการเป็นนักสู้ในตัวเอง อาจารย์ฉันท์ธนิตถ์ได้ทิ้งท้ายข้อคิดดี ๆ ไว้ว่า

“สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อย่ารอให้ถึงตอนที่เจอวิกฤต แนะนำให้ฝึกตั้งแต่ตัวเรายังไม่พบวิกฤต เพราะการฝึกจะทำให้ระบบในสมองจดจำความคิดในเชิงบวก เมื่อเราเจอวิกฤติจึงทำให้เราฟื้นคืนกลับมาได้ไว”

ปัญหาทุกอย่างมีทางออกเสมอและมันจะผ่านพ้นไปได้ขึ้นอยู่กับตัวเรา ในวันนี้หากใครที่กำลังเจอปัญหาอยู่จะเล็กหรือใหญ่ขอให้เชื่อว่าเราจะไม่เป็นไร 

อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

แหล่งอ้างอิง

https://www.verywellmind.com/what-is-resilience-2795059

ดูจาก Resilience Quotient : RQ (tci-thaijo.org)

Read More

“Headline Stress Disorder” ภาวะเครียดยุคดิจิทัล…  เสพข่าวเด็ดคดีดัง! อาจทำใจพังไม่รู้ตัว 

เคยรู้สึกกันหรือเปล่า? นั่งติดตามข่าวเด่นประเด็นร้อนบนโซเชียล จู่ ๆ กลับรู้สึกเครียด หดหู่ เหมือนตัวเองตกอยู่ในห้วงความเศร้าไม่อยากทำอะไร ทั้ง ๆ ที่ข่าวนั้นไม่ใช่เรื่องของตัวเองแต่ทำไมเราถึงอินจนแยกตัวเองออกมาไม่ได้… อาการเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นแล้วหายไป แต่ถึงอย่างนั้นมันเป็นสัญญาณบอกว่าใจเรากำลังไม่ไหว ตกอยู่ในภาวะ “Headline Stress Disorder” 

“Headline Stress Disorder” เป็นภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัลที่สื่อออนไลน์ ที่ข่าวสารหรือข้อมูลความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของสังคมเผยแพร่ได้ง่ายดาย ซึ่งข้อดีของมันนอกจากความรวดเร็วทันใจในการเสนอข่าวแล้ว ยังเป็นพื้นที่ไร้ข้อจำกัดทั้งในเรื่องของพื้นที่และเวลา ทำให้เราสามารถรับข่าวสารในแต่ละวันได้จำนวนมหาศาล ภาวะดังกล่าวเป็นความรู้สึกเกิดจากพติกรรมการรับข้อมูลมากเกินไปจนก่อให้เกิดผลกระทบในระดับจิตใจ ทำให้รู้สึกเครียด หดหู่ กังวล ฯลฯ 

จากการพูดคุยกับ กอบุญ เกล้าตะกาญ นักจิตวิทยาของ OOCA ได้ให้คำอธิบายในถึงภาวะดังกล่าวเพิ่มเติมโดยสรุปได้ว่า

“ภาวะ Headline Stress Disorder มาจากการรับ ‘ชุดคำบางคำ’ ที่ทำให้เรารู้สึก trigger หรือกระตุ้นให้เราเกิดความรู้สึกในเชิงลบซ้ำ ๆ จนมันส่งผลที่ทำให้เราเครียด หดหู่ ไม่สบายใจ ที่เราพบเห็นบนหน้าสื่อออนไลน์ หรือสื่ออื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยชุดคำเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ

  1. ชุดคำในเชิงบวก เช่น โพสต์ซื้อรถยนตร์คันใหม่ของเพื่อนใน Facebook, โพสต์ข้อความเล่าความสำเร็จ ชีวิตความเป็นอยู่หรูหรา 
  2. ชุดคำในเชิงลบ เช่น ข่าวภัยธรรมชาติ ข่าวการระบาดของภาวะ Covid-19 เรื่องราวโศกนาฏกรรม ”

จากข้อมูลข้างต้นทำให้เห็นว่า ภาวะ Headline Stress Disorder เป็นภาวะที่ยากเกินจะหลีกเลี่ยง เพราะในวิถีชีวิตของเราในปัจจุบัน ต้องยอมรับกันตามตรงว่าเราแทบจะแยกตัวเองออกจากโลกออนไลน์ไม่ได้ อย่างไรก็ตามเราอาจจะสงสัยว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราตกอยู่ในภาวะดังกล่าว อาการบ่งชี้ที่แน่ชัดมีข้อสังเกตอะไรบ้าง? ซึ่งนักจิตวิทยาจากแอปพลิเคชัน OOCA ได้ให้คำตอบกับเราไว้ว่า

“วิธีการสังเกตตัวเองเราสมารถแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือทางร่างกาย เราอาจจะรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่สดใส ไม่อยากกิน ไม่อยากนอน ไปจนถึงการเก็บเนื้อเก็บตัว ไม่อยากเข้าสังคม สิ่งเหล่านี้ล้วนมาจากความเครียด และเชื่อมโยงมาในส่วนที่สองคือ ทางจิตใจ ที่อาจมีความวิตกกังวลเกินจำเป็น ไม่มีสมาธิทำงาน ความเศร้า หดหู่ เป็นต้น ซึ่งภาวะนี้จะเกิดได้ในช่วงประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้ามากเกินกว่านี้อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่นำไปสู่โรคซึมเศร้าได้”

แล้วเราจะทำอย่างไร? หากไม่อยากใจพังจากการเสพข่าว จนตกอยู่ในภาวะ Headline Stress Disorder นักจิตวิทยาจากอูก้าได้ให้แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะนี้ไว้ว่า

“เรารู้แล้วว่าภาวะนี้มาจากอะไร ดังนั้นจุดเริ่มต้นอย่างแรกเลยคือ 

1) การงดหรือรับชุดข้อมูลที่เราอ่านแล้วรู้สึกไม่สบายใจในระดับพอดี 

2) ให้เลือก Platform ช่องทางกับรับข่าวสารที่มีคุณภาพ 

3) เข้าใจความจริง ตระหนักคุณค่าของตัวเองหากเจอ Headline ที่ทำให้เกิดการตั้งคำถามกับตัวเอง 

และ 4) การพาตัวเองไปอยู่ในสังคมดี ๆ หรือหากิจกรรมอื่น ๆ ทำเพื่อเอาตัวเองห่างออกจากการรับสื่อมากเกินความจำเป็น”

ทราบวิธีการปกป้องดูแลใจตัวเองแล้ว ไม่ได้แปลว่าเราจะรอดพ้นหรือหลีกเลี่ยงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะภาวะดังกล่าวถือเป็นเรื่องใกล้ตัวและอาจเกิดขึ้นเมื่อได้เมื่อเราเผลอรับข่าวสารจากโลกออนไลน์มากเกินไป ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลพร้อมกับการพูดคุยกับนักจิตวิทยา ได้แนะนำแนวทางในการเยียวยารักษาใจสำหรับบุคคลที่รู้แล้วว่าตนเองตกอยู่ในภาวะดังกล่าว โดยมีวิธีการดังนี้

  1. รู้เท่าทันตัวเอง ให้รู้ตัวว่าชุดข้อมูลแบบไหนยิ่งกระตุ้นให้ไม่มีความสุข ให้ถอยออกมา และรับให้น้อยที่สุด
  2. สร้าง Self-esteem หาจุดยืนของตัวเอง ชุดข้อมูลบางอย่างอาจทำให้เราเกิดความรู้สึกด้อยค่าตัวเอง พยายามหาคุณค่าของตัวเองจากสิ่งที่เราทำได้ และสร้างความเข้าใจกับตัวเองว่า เส้นทางความสำเร็จหรือความสามารถของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน
  3. การตีความข้อมูลอย่างมีวิจารณญาน พยายามรับข้อมูลอย่างมีสติมากที่สุด บางครั้งความคิดของเราอาจนำไปก่อนในยามที่เผชิญกับภาวะนี้ อาจลองถอยสักหนึ่งก้าวและตีความให้รู้เท่าทันว่าชุดข้อมูลนั้นมีเจตนาอะไรในการนำเสนอ
  4. อยู่กับความเครียดให้เป็น การมีภาวะเครียดหลังรับข้อมูลวิกฤติต่าง ๆ ที่อาจกระทบกับตัวเรานั้นเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นหากรู้สึกเครียด ให้รับรู้มันตามที่ควรเป็น และไม่จมกับมันนานเกินไป
  5. หาพื้นที่ปลอดภัยทันที หากรู้สึกไม่สบายจนรับมือเองไม่ไหวควรที่ปรึกษาที่สมารถเป็นพื้นที่ปลอดภัยกับเราได้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน พ่อ-แม่ คนรัก หรือนักจิตบำบัด

สื่อออนไลน์มีทั้งประโยชน์และโทษ และในยุคดิจิทัลที่ข่าวสารต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้ง่ายอยู่แค่ปลายนิ้วของเรา นอกจากคลังข้อมูลมหาศาลอาจยังนำพาภาวะความเครียดต่าง ๆ มาสู่ใจเราได้ สำหรับภาวะ  Headline Stress Disorder ถือเป็นภาวะความเครียดที่มาจากบริบทของสังคมที่สื่อออนไลน์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต เพราะฉะนั้นก่อนสุขภาพใจเราจะพัง การรับข่าวสารอย่างมีสติจะช่วยเราได้ แต่ถ้าหากรู้ตัวว่าไม่ไหว การปรึกษาพูดคุยกับนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ยังคงเป็นทางออกที่จะช่วยเยียวยาจิตใจของเราได้เสมอค่ะ

อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

อ้างอิง

https://theconversation.com/is-headline-stress-disorder-real-yes-but-those-who-thrive-on-the-news-often-lose-sight-of-it-178251

https://www.nm.org/healthbeat/healthy-tips/5-ways-to-cope-with-the-news

https://www.bangkokbiznews.com/health/992195

Read More

ขาดเขาไม่ได้ อยู่คนเดียวไม่เป็น: จิตวิทยาว่าด้วยเรื่องไม่อยากเป็นโสด

“ขาดเขาไม่ได้ อยู่คนเดียวไม่เป็น” 

เพื่อน ๆ เคยรู้สึกแบบนี้เหมือนกันไหม รู้สึกว่าตัวเองเหงา โดดเดี่ยว และเศร้าใจ อยากให้ใครสักคนมาเติมความหวานในใจตลอดเวลา แต่บางครั้งการหาแฟนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และไม่อาจเกิดขึ้นได้ในเวลาอันสั้น

บางครั้งเราก็ก้มหน้าก้มตา “ปัดซ้าย ปัดขวา”  อย่างไม่ลดละ แม้ความสัมพันธ์เก่าจะจบลงไม่นาน แต่เพราะไม่อยากปล่อยให้ตัวเองเป็นโสดนาน ๆ จึงอยากเริ่มความสัมพันธ์ใหม่กับใครสักคนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

ทว่า ความว้าวุ่นในหัวใจที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้มันอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของเพื่อน ๆ หลายคนก็เป็นได้ แล้วสาเหตุเหล่านี้เกิดจากอะไรกันแน่นะ? 

อาจารย์เลิศจรรยา เสมขำ นักจิตวิทยาจากอูก้าบอกถึงสาเหตุทางจิตวิทยาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ถ้าเป็นสาเหตุเชิงชีววิทยา อาจเกิดจากฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ในร่างกายของเราที่หลั่งเมื่อเวลาเรากอด สัมผัสคนรักของเราอย่างอบอุ่น เมื่อต้องเลิกลากันไป ระดับฮอร์โมนที่เคยสูงมาก เมื่อไม่คนมาคอยเพิ่ม Oxytocin ให้กับเราในระดับที่เคยเป็น เลยรู้สึกว่าต้องหาใครสักคนทดแทน จนเสพติดความรักหรือเสพติดความสัมพันธ์ขึ้นมาเลยก็ได้  เพราะสาร oxytocin ที่ถูกหลั่งมาเยอะมากจนเกินไปนั่นเอง

แต่ถ้าหากเป็นในเชิงจิตวิทยาจากทฤษฎี Maslow ว่าด้วยเรื่องลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ อันประกอบไปด้วย 3 สิ่งหลัก ๆ คือ

1.Physical needs เช่น อากาศ น้ำ และเครื่องนุ่งห่ม

2.Safety needs เช่น ความมั่นคงทางการเงิน การงาน และสุขภาพ

3.Love and belonging ความรัก ครอบครัว และความสัมพันธ์ต่าง ๆ

หากใครที่พื้นฐานตามทฤษฎี Maslow ไม่มั่นคง ก็อาจจะรู้สึกโหยหาสิ่งที่รู้สึกขาด เช่น ความรักอย่างที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่ ซึ่งอาจจะเกิดจากประสบการณ์ในอดีต เช่น ในวัยเด็กรู้สึกขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัว จึงส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองที่ทำให้เรารู้สึกว่าไม่อยากเป็นโสด และอยากจะมีคนรักมาเติมเต็มพื้นที่ในหัวใจตลอดเวลา นอกจากนี้ อาจารย์เลิศจรรยายังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า

“มนุษย์เกิดมาต้องการการยอมรับ แฟนหรือคนรักเป็นเหมือนคนที่ ‘ยอมรับเราได้ในทุก ๆ มิติ หรือหลายมิติ’ ตอนมีแฟน หลายคนเคยรู้สึกว่าเป็นที่ยอมรับโดยคนหนึ่ง ๆ พอเลิกกันไปเลยรู้สึกว่าไม่มีใครยอมรับเราแล้ว แต่ในความจริงอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย” 

ทั้งนี้อาจารย์ยังแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นว่า “วิธีนี้อาจจะดูธรรมดามาก แต่ได้ผลจริง ๆ คือ การหางานอดิเรกอื่น ๆ มาทำทดแทน เพราะจะช่วยทำให้เราไม่คิดถึงคนรักเก่า และเรื่องความรักในช่วงเวลาหนึ่ง หรือลองหาคนที่เราสนิท คนในครอบครัว ลองพูดคุยกับพวกเขา อาจจะช่วยให้เรารู้สึกว่าไม่ได้โดดเดี่ยว และยังมีคนที่รักเราอยู่อีกมากมาย”

แน่นอนว่า ท้ายที่สุดแล้วพวกเราต่างก็โหยหาการถูกรัก เพราะการมีใครสักคนที่คอยเข้าอกเข้าใจ รับฟังเรื่องราวใด ๆ ในชีวิต และรักเราอย่างจริงใจก็คงจะดีไม่ใช่น้อย แต่การเป็นโสดก็ไม่ได้หมายว่าเราด้อยค่ากว่าคนมีคู่เลย บางคนอาจติดอยู่ในความเชื่อที่ว่า “ถ้าใครเป็นโสด แสดงว่าต้องมีอะไรผิดปกิ ถึงไม่มีใครอยากอยู่ด้วย” ซึ่งไม่จริงเลย อูก้าเชื่อว่าทุกคนมีคุณค่า และมี “ความน่ารัก” ในแบบของตนเอง ลองเป็นโสดอยู่สักเดือน สองเดือน หรือจะเป็นปี ก็ไม่เสียหายอะไร ได้มีอิสระทำอะไรตามใจชอบก็น่าจะดีเหมือนกันนะ

และอย่าลืมว่า ถ้าเพื่อน ๆ รู้สึกว่า “ความโสด” ในครั้งนี้ทำให้รู้สึกเหงา อยากมีใครสักคนที่รับฟังเพื่อน ๆ อย่างเข้าใจ ทีมนักจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจาก ooca พร้อม support เพื่อน ๆ ทุกคน โดยไม่ตัดสินว่า “ปัญหาความรัก” เป็นเรื่องน่าอาย เพราะฉะนั้นสบายใจได้เลยนะ อูก้ายังอยู่ตรงนี้เสมอ คอยเป็นกำลังใจให้เพื่อน ๆ ได้เอนจอยชีวิตโสดอย่างเฉิดฉาย และสนุกไปกับมันได้อย่างเต็มที่

อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak  #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

อ้างอิง

https://www.thoughtsonlifeandlove.com/why-cant-i-stay-single/8923/

Read More

“สู้ชีวิต อย่าให้ชีวิตสู้กลับ” มาสร้างกำลังใจให้ตัวเอง ยิ้มรับแรงกระแทกจากคลื่นลูกสุดท้ายของปีกันเถอะ

“กำลังใจที่สำคัญที่สุด คือกำลังใจที่มาจากตัวเราเอง” เรียนรู้วิธีสร้างกำลังใจให้ตัวเองเพื่อช่วยฟื้นฟูจิตใจได้อย่างยั่่งยืน เสริมความแข็งแกร่งเตรียมพร้อมรับทุกอุปสรรคในชีวิต แม้กระทั่งวิกฤติสิ้นปี เราก็จะพิชิตมันไปได้

โดยปกติแล้ว “กำลังใจ” เป็นสิ่งที่เรามักจะได้รับมาจากคนอื่น หรือมอบให้คนอื่น โดยกำลังใจเกิดจากความเห็นอกเห็นใจ เพื่อแสดงให้เห็นว่าอีกฝ่ายไม่ได้เผชิญความยากลำบากอยู่คนเดียว 

แล้วถ้าเราอยากจะให้กำลังใจตัวเองล่ะจะต้องทำอย่างไร? มันจะต่างจากการเห็นใจคนอื่นรึเปล่า? โดยเฉพาะเมื่อเราเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี ที่กว่าจะฝ่าฟันมาจนถึงตอนนี้ ทำเอาบอบช้ำทั้งกายและใจไปไม่น้อย ยิ่งใกล้จะหมดปีก็ยิ่งท้อ มีทั้งความเครียดสะสมและความเหนื่อยล้าจากการไม่ได้หยุดพัก ใกล้หมดแรงเต็มทีแล้วยังต้องมารับมือกับสามเดือนที่เหลืออีก 

ในช่วงเวลานี้หลาย ๆ คนมักจะหมดไฟในการทำงานได้ง่าย ๆ เพราะมัวแต่จดจ่อกับแพลนฉลองสิ้นปีที่เตรียมเอาไว้ เกิดความรู้สึกที่อยากจะข้ามผ่านช่วงเวลานี้ไปเร็วๆ อยากให้ถึงสิ้นปีไว ๆ จะได้พักเสียที ความรู้สึกเหล่านี้จะทำให้หมดกำลังใจในการทำงาน และไม่มีความสุขในการทำงาน 

หากตกอยู่ในสภาวะนี้ไม่ควรปล่อยไว้ให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต การให้กำลังใจตัวเองจึงเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยให้เราผ่านพ้นปีนี้ไปด้วยรอยยิ้ม แต่ถ้าถามว่า ทำไมเราต้องให้กำลังใจตัวเองด้วย? ในเมื่อเรามักจะได้รับกำลังใจมากจากคนอื่นอยู่แล้ว

คำตอบก็คือ กำลังใจจากคนอื่นเป็นสิ่งได้รับมาจากภายนอก นำไปใช้แล้วก็หมดไป หากต้องการอีกก็ต้องรอจากคนอื่น ต่างจากกำลังใจที่สร้างมาด้วยตัวเอง จะอยู่กับตัวเราได้ยาวนาน มีความมั่นคง และเป็นเสมือนเกราะป้องกันจิตใจเราให้แข็งแกร่ง ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คล้าย ๆ กับ “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ในทางพุทธศาสนานั่นเอง

กลไกการทำงานของกำลังใจเมื่อเราได้รับมา จะมีการปลอบประโลม เยียวยา ฟื้นฟูสภาพจิตใจให้ดีขึ้นพร้อมดำเนินชีวิตต่อไป การให้กำลังใจตัวเองเป็นการทำอะไรก็ตามที่เมื่อทำแล้วเรามีความสุข ดังนั้นวิธีการให้กำลังใจตัวเองของแต่ละคนจึงมีความแตกต่างกันไป

บางคนเลือกใช้วิธีเบสิกอย่าง “การพูดให้กำลังใจตัวเอง” อาจจะพูดกับตัวเองตอนส่องกระจก พูดกับตัวเองลงโซเชียลมีเดีย หรือเขียนลงในไดอารี่ ผ่านช่องทางไหนก็ได้ให้สารถูกส่งถึงตัวเอง โดยคำพูดนั้นเลือกเป็นคำพูดที่เราอยากได้ยิน 

อาจจะเป็นคำชมเชยทั่วไปที่สร้างพลังบวก เราสามารถชื่นชมตนเองและผู้อื่นได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยอย่างการเข้าทำงาน-เลิกงานตรงเวลา ทำยอดขายได้ดี เคลียร์งานเสร็จ ไปจนถึงจบงานได้อย่างราบรื่น 

หากไม่มีผลงานเกี่ยวกับทำงานเลย ก็ให้ชมเรื่องการแต่งตัวไปทำงาน เช่น “วันนี้แต่งตัวสวยจัง” สร้างบรรยากาศให้น่าไปทำงาน อย่าคิดว่าเป็นการพูดไปเรื่อยเปื่อย เพราะการที่เราชมตัวเอง หมายถึงเรามีความคิดดี ๆ เกี่ยวกับตัวเอง การใช้ชีวิตด้วยแนวคิดด้านบวกส่งผลดีต่อสุขภาพจิต 

นักจิตวิทยาของ OOCA กล่าวว่า “การชมเชยตัวเองเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนควรฝึกฝน ดัชนีวัดความสุขของคนเราเกิดจากความพึงพอใจ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเราได้รับคำชมเชย” และแน่นอนว่าคำชมเชยนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง

อีกหนึ่งวิธีที่นิยมใช้เพื่อให้กำลังใจคือ “การให้รางวัล” แต่ต้องไม่ให้รางวัลพร่ำเพรื่อเพราะจะทำให้รางวัลไม่พิเศษ ที่สำคัญรางวัลต้องเป็นสิ่งที่สามารถได้รับในทันที ไม่รอนานจนเกินไปเพราะสมาธิอาจจะไปจดจ่อกับการรอรางวัล ดังนั้นรางวัลที่ให้ก็อาจจะเป็นอะไรง่าย ๆ อย่าง การไปทานของอร่อย การชอปปิ้ง การไปดูหนัง หรือทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่สร้างความสุขให้ตัวเอง

สุดท้าย เราไม่สามารถให้กำลังใจตัวเองได้ตลอดไป  “การอยู่ในสังคมที่ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน” จึงเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะสังคมแบบนี้จะสร้างพลังงานบวกให้กับผู้คน การให้กำลังใจตัวเองโดยการพาตัวเองไปอยู่ในที่ดี ๆ จะสามารถรับพลังงานบวกนั้นมาจัดการพลังงานลบที่มาจากการทำงานได้ 

หากสังคมที่คุณอยู่ไม่มีอะไรแบบนี้ ก็สร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเองโดยการเป็นฝ่ายเริ่มให้กำลังใจผู้อื่นก่อน ตามหลักการ “Give and Take” เราส่งกำลังใจไปเราก็จะได้รับมันกลับมา เพียงเท่านี้ก็จะได้บรรยากาศที่เต็มไปด้วยการให้กำลังใจกัน ความคิดที่จะให้กำลังใจตัวเองก็เกิดขึ้นตามไปด้วย

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีการให้กำลังใจตัวเองเท่านั้น ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถทำได้ ขอเพียงแค่เป็นสิ่งที่ “ทำโดยตัวเองเพื่อตัวเอง และที่สำคัญต้องสร้างความสุขให้ตัวเอง” เท่านี้ก็จะมีกำลังใจไว้ใช้หล่อเลี้ยงจิตใจยามท้อแท้แล้ว

ดังที่กวีชาวกรีกคนหนึ่งเคยกล่าวเอาไว้ว่า

“The best of healers is good cheer” 

“ผู้เยียวยารักษาที่ดีที่สุดคือกำลังใจดี ๆ ” 

มาร่วมสร้างกำลังใจให้ทั้งตัวเองและคนรอบข้าง จับมือกันข้ามผ่านปีที่ทรหดนี้ไปด้วยกัน 🙂

อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak  #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More

รู้หรือไม่ ประเทศไทยมี 6 จังหวัดที่ไม่มีนักจิตวิทยาเลยสักคน

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่อาจจะยังตอบง่าย ๆ ไม่ได้ในทันที แต่ข้อมูลเหล่านี้ และข่าวเศร้ามากมายที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมานี้ คงจะเป็นธงแดงที่เตือนให้ “เรา” ควรจะหันมา “เตรียมรับมือ” กับวิกฤติสุขภาพจิตที่กำลังฟักตัวในประชากรทุกช่วงอายุ …. และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิกฤตินี้ไม่สามารถแก้ได้ในชั่วพริบตา 

.

ปี 2565 รายงานจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าประเทศไทยมีจิตแพทย์รวม 845 คน ซึ่งถือว่าเรามีจิตแพทย์ 1.28 คน ต่อประชากรจำนวนหนึ่งแสนคน [1] ซึ่งถ้าเทียบกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่มีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อประชากรมากที่สุดในโลก จะพบว่าสวิตเซอร์แลนด์มีจิตแพทย์อยู่ที่ที่ 47.17 คนต่อแสนประชากร

.

,

ในขณะที่ถ้าเทียบกับประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นลำดับต้น ๆ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ญี่ปุ่นมีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อแสนประชากรอยู่ที่ 12.55 และเทียบกับเกาหลีใต้มีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อแสนประชากรอยู่ที่ 7.91 ซึ่งถือว่ามากกว่าไทยหลายเท่า และในส่วนของนักจิตวิทยา ประเทศไทยมีมีนักจิตวิทยาเพียง 1,037 คนต่อคนทั้งประเทศ คิดเป็น 1.57 คนต่อแสนประชากรด้วยกัน

.

.

หากไม่นับสาเหตุเรื่องระยะเวลาในการเรียนจบด้านจิตแพทย์ (ที่สามารถจ่ายยาได้) ต้องใช้เวลานานกว่าจะจบหลักสูตร แล้วนั้น (9-10 ปี) แม้เราจะโชคดีที่ประเทศไทยยังมีวิชาชีพร่วมทั้ง นักจิตวิทยาคลินิก พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาให้คำปรึกษา แต่อย่างไรก็ตามการกระจายบุคลากรด้านสุขภาพจิตไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ยังต้องคำนวณจากหลายปัจจัยด้วยกัน 

.

.

ความท้าทายในการกระจายการให้บริการ สะท้อนผ่านข้อมูลที่ว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา ยโสธร กลายเป็นจังหวัดที่ไม่มีจิตแพทย์เลยสักคน (เพิ่งมีเพิ่ม 2 คนในปีที่ผ่านมา) ส่วนนักจิตวิทยา ยังมีอีก 6 จังหวัดที่ไม่มีนักจิตวิทยาเลยสักคน (ได้แก่ตราด แพร่ สมุทรสงคราม สิงห์บุรี หนองบัวลำภู และอ่างทอง)

.

.

ยิ่งเมื่อเจอกับวิกฤติโรคระบาด เศรษฐกิจ อัตราความเสี่ยงฆ่าตัวตาย และความต้องการที่จะเข้ารับการรักษาก็มีสูงขึ้นทั่วโลก ในขณะที่การผลิตบุคลากรในด้านนี้ต้องใช้เวลาเตรียมล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 5 ปี – คำถามคือ แล้วโลกปรับตัวเพื่อหาทางบรรเทาทุกข์นี้อย่างไร ?

.

.

เนื่องใน #วันสุขภาพจิตโลก #WorldMentalHealthDay2022 อูก้าจึงได้รวบรวมแนวคิดที่น่าสนใจจากทั่วโลก เช่นว่า แพทย์ในกรุบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยมจ่ายยาด้วยการให้ผู้ใช้บริการไปเข้าพิพิธภัณฑ์ในเมือง [2] / นักวิจัยทั่วโลกได้สร้างความร่วมมือกันสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมที่ครอบคลุมความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากขึ้น [3] / การใช้ปัญญาประดิษฐ์คัดกรองเนื้อหาหรือคำศัพท์ที่นำไปสู่การกระตุ้นให้คนทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย [4] / การใช้แพทย์ทางไกล (Telehealth) มาช่วยให้บริการผู้ป่วยนอกในช่วงโรคระบาดโควิด [5] และอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นการเฝ้าระวังหรือป้องกันก่อนจะสาย เช่น การปรับวัฒนธรรมองค์กรให้ยืดหยุ่นและเป็นมิตรต่อผู้ที่กำลังรักษาอาการทางจิตเวชให้มากขึ้น

.

.

นอกจากนี้เทรนด์การใช้แอพลิเคชันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกัน / ประเมิน / เรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือรับบริการสุขภาพจิต ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก โดยในปัจจุบันนี้ ใน App Store และ Play Store มีแอพลิเคชันด้านสุขภาพจิตมากกว่า 10,000+ แอพลิเคชันด้วยกัน ส่งผลให้องค์กรอย่าง Onemind, Health Navigator และ World Economic Forums เริ่มที่จะพัฒนาการคัดกรองมาตรฐานและให้ “การรับรอง” ในแง่จริยธรรมในการให้บริการ, ผ่านการทดสอบทางคลินิก, ความปลอดภัย และความมีประสิทธิภาพ [6]

.

.

อย่างไรก็ตาม คำถามที่ว่านวัตกรรมต่อไปนี้ได้เกิดขึ้น (มาสักระยะแล้ว) แต่จะ “ใช้ได้จริง” เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการให้บริการได้อย่างไร ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ทั้งสังคมต้องบูรณาการร่วมกันนอกเหนือไปจากส่วนของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เช่น

.

–  เราจะสั่งยาให้คนไข้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไรหากจังหวัดนั้น ๆ ไม่มีพื้นที่สาธารณะ หรือไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่สร้างแรงบันดาลใจ? 

.

– ปัญญาประดิษฐ์ที่อ่านข้อความภาษาไทยถูกส่งเสริมและถูกนำไปใช้ประโยชน์มากแค่ไหน? 

.

– ผู้มีรายได้น้อยจะเข้าถึงบริการสุขภาพจิตผ่านสวัสดิการต่าง ๆ ได้อย่างไร ? เราจะป้องกันให้ประชากรเกิดความเสี่ยงทางสุขภาพจิตน้อยลงตั้งแต่ตอนอายุน้อยได้ไหม เพราะในปีที่ผ่านมานี้ ข้อมูลจากยูนิเซฟระบุว่า เด็กไทยอายุ 5-9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน และ วัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี ประมาณ 1 ใน 7 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ [7] ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

.

– ฯลฯ

.

.

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่อาจจะยังตอบง่าย ๆ ไม่ได้ในทันที แต่ข้อมูลเหล่านี้ และข่าวเศร้ามากมายที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมานี้ คงจะเป็นธงแดงที่เตือนให้ “เรา” ควรจะหันมา “เตรียมรับมือ” กับวิกฤติสุขภาพจิตที่กำลังฟักตัวในประชากรทุกช่วงอายุ …. และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิกฤตินี้ไม่สามารถแก้ได้ในชั่วพริบตา 

.

.

การฝ่าปัญหานี้ จะต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และอูก้าเชื่อว่า เราทุกคนสามารถเป็นส่วนร่วมในการให้ความรู้ที่ถูกต้อง การสร้างความตระหนัก และการส่งเสียงให้เกิดการจัดสวัสดิการด้านสุขภาพจิตให้กับผู้ที่ต้องการ

.

.

สุขสันต์วัน #วันสุขภาพจิตโลก #WorldMentalHealthDay2022 โดยอูก้าขอเชิญชวนมาคุยกันกับ ‘อิ๊ก’ กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ ผู้ก่อตั้ง Ooca แพลตฟอร์มให้บริการด้านสุขภาพจิต ในหัวข้อ “ถอดรหัสอนาคตสุขภาพจิตคนไทย” โดยเล่าจากประสบการณ์บริหารแพลตฟอร์มอูก้ามาตั้งแต่ปี 2017 จนมาถึงปัจจุบันที่อูก้าได้ให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน ดูแลผู้ใช้บริการหลายหมื่นคน รวมถึงได้ขยายผลไปยังการให้บริการทางสังคมผ่านโครงการ Wall of Sharing ที่ช่วยดูแลสุขภาพใจให้กับนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในยามวิกฤติ ผ่านทาง Twitter Space ในวันที่ 10 ตุลาคม 2022 เวลา 20.00 เป็นต้นไป

.

-ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะได้หาแนวทางในการรักษาเยียวยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy .

– สนใจปรึกษานักจิตวิทยา ดาวน์โหลดได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

.

.

#OOCAitsOK #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

——- 

[1] https://data.go.th/dataset/specialist และข้อมูลรวบรวมโดย Rocketmedialab

[2] https://www.weforum.org/videos/doctors-in-brussels-prescribe-free-museum-visits-to-boost-mental-health

[3] https://www.weforum.org/agenda/2022/09/diverse-genetic-data-tools-factors-causing-mental-illness/

[4] https://www.scientificamerican.com/article/mining-social-media-reveals-mental-health-trends-and-helps-prevent-self-harm/

[5] https://news.ohsu.edu/2022/04/04/pandemic-drives-use-of-telehealth-for-mental-health-care

[6] https://www.scientificamerican.com/article/how-consumers-and-health-care-providers-can-judge-the-quality-of-digital-mental-health-tools/

[7] https://www.unicef.org/thailand/th/press-releases/ยูนิเซฟและกรมสุขภาพจิตชี้สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยน่าเป็นห่วง

Read More

Happiness is not always from achievement

“บางครั้งความสุขของเราก็ไปยึดโยงกับการวัดผล, แต่งานบางอย่าง หรือบางสถานการณ์ในชีวิต มันยังไม่ถึงเวลาวัดผล แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะมีความสุขระหว่างทางไม่ได้”

เพื่อนๆ เคยวิ่งไล่ตาม “ความสำเร็จ” กันไหม

ต้องตั้งใจเรียน เพื่อที่จะได้สอบเข้ามหา’ลัยชื่อดังที่ครอบครัวคาดหวังให้ได้

ต้องทำงานให้หนัก เพื่อที่จะได้รับการเลื่อนขั้นและมีเงินเดือนที่สูงกว่าเพื่อนๆ วัยเดียวกัน

ต้องได้แต่งงานก่อนอายุ 30 เพื่อที่จะได้สร้างครอบครัวที่อบอุ่นและสมบูรณ์

สิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่ง “ความสุข” ในชีวิตจริงๆ เหรอ?

ตอนนี้เพื่อนๆมีเป้าหมายที่อยากจะไปให้ถึงไหมนะ อาจจะเป็นเรื่องงาน ว่าอยากจะได้เลื่อนตำแหน่ง เรื่องเงินว่าอยากมีบ้านดีๆสักหลัง หรือแม้แต่เรื่องความรักที่อยากจะชนะใจเธอ/เขา คนนั้นให้ได้ หากว่าเราสามารถทำสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ เราจะมีความสุขจริงๆหรือ?ความสุขในแบบหลายคนคุ้นเคยกันเป็นการ นำความสุขของเราก็ไปยึดโยงกับผลลัพธ์ ถ้าออกมาดี เราจึงจะมีความสุข แต่งานบางอย่าง หรือบางสถานการณ์ในชีวิต ไม่จำเป็นจะต้องรอจนรู้ผลลัพธ์ก็สามารถมีความสุขได้ ความสุขเหล่านี้คือความสุขระหว่างทางเดินไปสู่เป้าหมาย

ตามหลักจิตวิทยาเชิงบวกแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ความสำเร็จ” และ “ความสุข” นั้นมีความเกี่ยวข้องกันอยู่จริงๆ แต่นั่นก็ทำให้หลายๆ คนเข้าใจผิดว่า ที่ปลายทางของความสำเร็จนั้นจะนำมาซึ่งความสุขเสมอ จนทำให้ผู้คนตั้งเป้าหมายและจดจ่ออยู่กับการบรรลุเป้าหมายในชีวิต

ในปัจจุบันที่โลกและชีวิตประจำวันของเราถูกทำให้กลืมกลนไปกับโซเชียลมีเดีย มันเป็นเรื่องง่ายมากที่เราจะรู้สึก ‘ด้อยค่า’ หรือ ‘กดดัน’ จากการเห็นภาพเพื่อนๆ หรือ คนในวัยเดียวกันประสบความสำเร็จ  บางคนทำงานเบื้องหน้า เริ่มมีชื่อเสียง เริ่มเป็นที่รู้จัก เริ่มเติบโตใน Career Path ของเขาเอง  บางคนมีธุรกิจส่วนตัวและมันก็กำลังไปได้ดีมากๆ  เมื่อเห็นแบบนี้แล้ว เราก็อดที่จะเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับพวกเขาไม่ได้ ไม่ใช่ว่าไม่ยินดีกับความสำเร็จของพวกเขานะ แต่พอลองมองย้อนกลับมาที่ตัวเองที่ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันก็รู้สึกน้อยใจ เครียด จนไม่มีความสุขไปเสียอย่างนั้น เลยกลายเป็นว่าหลายๆ คนสร้างเงื่อนไขขึ้นมาว่าต้องประสบความสำเร็จก่อนแล้วถึงจะมีความสุขแบบนั้นบ้าง ดังนั้น ทุกการตัดสินใจเลือกทางเดินในชีวิต เราทุกคนมักจะเลือกทางที่คิดว่าเราจะมีความสุขที่สุดเมื่อเราเดินไปถึงปลายทาง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราทุกคนพลาดไปก็คือ ความจริงที่ว่า ความสุขคือเรื่องของสภาวะจิตใจ (State of mind) ไม่ใช่ จุดหมายปลายทาง 

ในขณะเดียวกัน ความสุขที่มาจากความสำเร็จก็ไม่ได้อยู่กับเรานานขนาดนั้น Richard St. John นักการตลาดและนักวิเคราะห์ความสำเร็จ ได้กล่าวบนเวที TEDtalk ว่า ถ้าจะต้องเป็นคนที่ประสบความสำเร็จเพื่อที่จะได้มีความสุข คุณจะต้องตั้งเป้าหมายใหม่ๆ เพื่อที่จะได้บรรลุมัน เพราะเมื่อคุณทำอะไรสักอย่างสำเร็จแล้วมันก็จะจบแค่นั้น ดังนั้นหากคุณสร้างเงื่อนไขว่าความสำเร็จจะนำมาซึ่งความสุขแล้วล่ะก็ มันจะเหนื่อยมากๆ เลยนะ ดั่งที่คุณกอบุญ เกล้าตะกาญจน์ นักจิตวิทยา จาก OOCA ได้กล่าวไว้ว่า “บางครั้งความสุขของเราก็ไปยึดโยงกับการวัดผล แต่งานบางอย่าง หรือบางสถานการณ์ในชีวิต มันยังไม่ถึงเวลาวัดผล แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะมีความสุขระหว่างทางไม่ได้”

สุดท้ายนี้ ถ้าเราเอาความสุขไปผูกกับความสำเร็จแล้วล่ะก็ มันคงจะเหนื่อยมากๆ ที่ต้องวิ่งไปให้ถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ อย่าลืมว่าความสำเร็จคือ ‘การเดินทาง’ เรื่องราวระหว่างทางนั่นแหละที่จะทำให้เราเจอความสุขที่แท้จริง  ไม่ว่าจะเป็นมิตรภาพ การได้ทำสิ่งที่ชอบ หรือ การได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  พอคิดแบบนี้แล้ว เราทุกคนสามารถมีความสุขได้ใน “ตอนนี้” เลย  สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่ง คือ การไม่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นเพื่อวัดความสุข หรือ ความสำเร็จของตนเอง ความสุขเป็นเรื่องระดับ “ปัจเจก” หากคุณไล่ตามความคาดหวังของคนอื่น เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในแบบเดียวกัน ที่ปลายทางนั้น คุณอาจจะไม่พบความสุขในแบบที่ตัวเองต้องการก็ได้  

หวังว่าเพื่อนๆ จะได้ข้อคิดดีๆ กลับไปจากบทความนี้ และถ้าใครกำลังสับสนหรือกังวลเกี่ยวกับการเลือกเส้นทางเดินในชีวิต ไม่แน่ใจว่าทางเลือกที่ตัวเองเลือกนั้นจะนำมาซึ่งความสุขจริงๆ หรือเปล่า การปรึกษานักจิตวิทยาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้เพื่อนๆ ได้ตกตะกอนทางความคิด และตอบคำถามได้จริงๆ ว่า “สิ่งที่ตัวเองต้องการในชีวิต” นั้นคืออะไร  OOCA ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ทุกคน หากการเดินทางนี้มันเหนื่อย ก็แวะพักระหว่างทางบ้างก็ได้ ดูแลใจตัวเองกันด้วยนะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #depression #happiness #achievement  #ความสำเร็จ #มีความสุขได้ในตอนนี้ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Sources:
https://positivepsychology.com/hedonic-treadmill/ 

INTRINSIC HAPPINESS: THE SEED INSIDE EACH PERSON (paper)

Read More

เหตุใดความเฉยชาจึงน่ากลัวกว่าปัญหาวุ่นวายใจ

“มีงานวิจัยจิตวิทยาสังคมที่พบว่า ในระยะแรกเริ่มคนที่ถูกลอตเตอรี่จะมีความสุขสุดๆ แต่ 18 เดือนผ่านไป ระดับความสุขของพวกเขาจะค่อย ๆ ลดลงจนเท่ากับระดับความสุขของคนที่ไม่ถูกลอตเตอรี่”
.
คำพูดนี้ประยุกต์ใช้ได้อย่างไรกับความสุขในที่ทำงาน ?
.
เพื่อน ๆ เคยรู้สึกไหม เริ่มต้นสัปดาห์มาด้วยความสดใส แต่ไม่กี่วันผ่านไป อยู่ดีๆ ไฟแห่งการทำงาน ก็มอดลงเสียดื้อ ๆ อาการเหล่านี้ไม่ใช่ความขี้เกียจแต่อย่างใด แต่ในทางจิตวิทยา อาการนี้ เรียกว่า อาการหมดกำลังใจในการทำงาน (Work Slump) วันนี้อูก้าจะชวนเพื่อนๆมาทำความรู้จักอาการนี้และบอกเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยเรียกพลังใจให้เพื่อน ๆ กลับมาทำงานด้วยพลังเต็มเปี่ยมกันอีกครั้งกัน !
.
อาการหมดกำลังใจในการทำงาน หรือ Work Slump เป็นสภาวะหมดพลังใจ มีอาการเบื่องาน ไม่อยากทำอะไร กายและใจอ่อนล้า ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจกลายเป็นอุปสรรคในการทำงานได้ โดยในทางจิตวิทยา กล่าวว่า สาเหตุหนึ่งของอาการหมดกำลังใจในการทำงานนั้น มาจาก ภาวะ Hedonic Adaptation หรือ การที่สภาวะในจิตใจที่โดยธรรมชาติจะแปรเปลี่ยนความสุขหรือความทุกข์ให้เป็นความรู้สึก “เฉย ๆ”
..

Phillip Brickman และคณะได้อธิบายปรากฎการณ์ Hedonic Adaptation ผ่านงานวิจัยจิตวิทยาสังคม โดยเปรียบเทียบระดับความสุขของคนที่ถูกลอตเตอรี่และคนที่ไม่ถูก ในวารสาร Journal of Personality and Social Psychology ไว้ว่า แม้ว่าในระยะแรกเริ่มคนที่ถูกลอตเตอรี่จะมีความสุขสุดๆ แต่ 18 เดือนผ่านไป ระดับความสุขของพวกเขาจะค่อย ๆ ลดลงจนเท่ากับระดับความสุขของคนที่ไม่ถูกลอตเตอรี่ เช่นเดียวกัน ในแง่ของการทำงาน เมื่อเวลาผ่านไป ความสนุกในทำงาน เมื่อถึงจุดหนึ่งก็กลายเป็นความเฉยๆ จนถึงรู้สึกหมดแรงใจในที่สุด
.
นอกจากนี้ สารเคมีในสมองที่มีหน้าที่ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกอย่าง โดปามีน (Dopamine) ก็เป็นอีกสาเหตุของอาการ Work Slump เช่นกัน โดยสถาบันวิจัย Asociación RUVID ในสเปน เผยว่า สารโดปามีน นอกจากจะหลั่งเมื่อเกิดความรู้สึกพึงพอใจแล้ว สารนี้ยังหลั่งเมื่อร่างกายเกิดความเครียดเช่นกัน และโดปามีนมักจะหลั่งเพื่อให้ร่างกายทำตามสิ่งที่ต้องการให้สำเร็จ ดังนั้น เมื่อเราเริ่มรู้สึกคุ้นเคยกับงาน ไม่ได้รู้สึกว่างานนี้ท้าทาย หรือน่าตื่นเต้นอีกต่อไป ก็อาจมีแนวโน้มที่โดปามีนจะลดต่ำลง เพราะร่างกายไม่เกิดการกระตุ้น ส่งผลให้เรารู้สึกเอื่อยเฉื่อย เบื่อหน่าย และหมดกำลังใจที่จะทำงานเช่นกัน
.
แล้วเราจะเรียกแรงใจกลับมาอย่างไรดี?
.
อูก้ามีเคล็ดลับดี ๆ จาก Fastcompany ที่จะช่วยเรียกพลังใจของเพื่อน ๆ กลับมา รับรองว่าเป็นวิธีที่ไม่ยากและสามารถนำไปปรับใช้กับทุกคนได้อย่างแน่นอน
.
ตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของงาน
เมื่อเพื่อน ๆ หลายคนทำงาน เพื่อน ๆ อาจโฟกัสแค่ว่างานของเราจะเสร็จไหม หรือจะสามารถพัฒนาโปรเจกต์นี้ได้อย่างไรบ้าง แต่หลาย ๆ ครั้ง เพื่อนๆ อาจหลงลืมไปว่า งานทุกชิ้นที่เราทำนั้นมีคุณค่าและสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่นอยู่เสมอ การตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของงานที่เราทำ ว่างานของเราจะมอบความสะดวกสบายและสร้างคุณประโยชน์ให้กับใครบ้าง จะช่วยเรียกขวัญกำลังใจในการทำงาน และทำให้เพื่อน ๆ สามารถกลับมาทำงานได้อย่างเต็มที่ได้
.
ลองเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ
บางครั้งเพื่อน ๆ อาจจะรู้สึกว่า ทำงานมานานแค่ไหน ก็ไม่ก้าวหน้าสักที จนทำให้หมดกำลังใจที่จะไปต่อ แต่จริง ๆ แล้ว เป็นเพราะว่าเรารู้สึกว่าไม่มีอะไรให้เรียนรู้แล้วต่างหาก ดังนั้นการเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เช่น สมัครคอร์สเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาสกิลต่าง ๆ หรือ เข้าร่วมเวิร์กช็อปของที่ทำงาน ทั้งหมดนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะเรียกไฟในการทำงานกลับมาอีกครั้ง
.
สร้างเป้าหมายในแต่ละวัน
ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเลือกที่งานที่ต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง หลายคนต้องทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งอาจทำให้เพื่อน ๆ รู้สึกสูญเสียการควบคุม ดังนั้นการสร้างเป้าหมายของงานจะช่วยให้เพื่อน ๆ สามารถฝึกการแก้ไขปัญหาและรับรู้ถึงความสำเร็จของตน แม้ว่าจะเป็นความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ความสำเร็จเหล่านี้ก็ช่วยสร้างความภาคภูมิใจที่เป็นเหมือนพลังให้เพื่อน ๆ กลับมาทำงานอย่างมีความสุขในวันต่อ ๆ ไป
.
พูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน
เมื่อรู้สึกหมดพลังใจในการทำงาน เพื่อน ๆ อาจจะรู้สึกห่างเหินกับเพื่อนร่วมงานด้วยเช่นกัน การเข้าไปนั่งคุยกับเพื่อนร่วมงาน เล่าถึงสภาวะหมดพลังใจให้พวกเขาฟัง ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยได้ เพราะนอกจากที่จะทำให้พวกเขาเข้าใจถึงสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่และรู้สึกผิดน้อยที่ลงกับความรู้สึกไม่อยากทำอะไร เพื่อน ๆ อาจพบว่า จริงแล้ว ๆ พวกเขาก็อาจเคยพบเจอกับสภาวะหมดพลังใจเช่นกัน การแชร์ปัญหาเหล่านี้ให้คนอื่นฟัง ทำให้เรารู้ว่า เรายังมีคนที่พร้อมอยู่เคียงข้างในทุกปัญหาเสมอ
.
ภาวะหมดพลังใจ อาจทำให้เรารู้สึกเหมือนรถที่กำลังออกเดินทางไปบนท้องถนน แต่อยู่ดี ๆ เชื้อเพลิงก็หมดลงก่อนที่จะไปถึงปลายทาง จนทำให้ไปต่อไม่ได้
.
ลองหาเวลาดับเครื่องยนต์ แล้วเติมเชื้อเพลิงสักนิด ก่อนที่จะออกเดินทางต่อ เผลอ ๆ รถของเราอาจจะวิ่งได้ไกลกว่าเดิม เช่นกัน หากเพื่อน ๆ รู้สึกอ่อนล้า อูก้าจะขอชวนเพื่อน ๆ มาพักกายใจกันสักนิด ก่อนที่จะออกเดินทางกันต่อ ไม่ว่าจะหมดแรงใจสักกี่ครั้ง อูก้าจะคอยรับฟังและอยู่เคียงข้างตรงนี้เสมอ!

.
ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy
.⠀
สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD
.

OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #depression #workslump #หมดไฟ #หมดพลังในการทำงาน #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

,
Sources:
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/690806/
https://www.forbes.com/sites/carolinecastrillon/2020/01/12/how-to-get-out-of-a-work-slump/?sh=12c6af0b75e2
https://www.fastcompany.com/90738302/5-ways-to-get-out-of-a-work-slump

Read More

ชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น

“เหลือเชื่อเหมือนกันว่ายังคงมีชีวิตอยู่จนถึงตอนนี้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว และกำลังเกิดขึ้นอยู่จริงๆ”
.
ขอชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น เพราะวันนี้คือวันป้องกันการฆ่าตัวตายสากล (World Suicidal Prevention Day) ซึ่งเป็นวันสำคัญที่องค์กรอนามัยโลกและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะจิตกำหนดให้มีการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ⛅
.
สถิติระบุว่าในทุก ๆ วัน มีคนที่เลือกจะจบชีวิตด้วยตนเองวันละ 11-12 ราย นอกจากนี้ จากสำรวจของกรมสุขภาพจิต ยังพบว่า สาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย มาจากปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด (48.7%) ซึ่งในหลายครั้ง ความสูญเสียก็เกิดขึ้นโดยที่หลายๆ คน อาจไม่ทันได้ตั้งรับ และสังคมรวมถึงสื่อยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการมองว่า การฆ่าตัวตาย คือการ “คิดสั้น”

.

ไม่ว่าจะเป็นสื่อหรือสาธารณชน มักจะมองว่าการฆ่าตัวตาย คือ “การคิดสั้น” แต่แท้จริงแล้ว การฆ่าตัวตายมีกระบวนการถึง 3 ขั้นตอนก่อนจะนำมาสู่การตัดสินใจจบชีวิต อันได้แก่

.

  1. Suicidal Thought หรือ ความคิดทำร้ายตนเอง

2.Suicidal Plan คือ ขั้นตอนการวางแผนและหาวิธีที่จะทำร้ายตนเอง

3.Suicidal Attempt หรือ ขั้นตอนการพยายามฆ่าตัวตาย หรือ ทำร้ายตนเอง

.

ดังนั้น การจบชีวิตด้วยตนเอง เป็นกระบวนการที่ผ่านการคิดมาอย่างถี่ถ้วน และต้องตัดสินใจอยู่หลายตลบกว่าจะปะทุไปสู่ขั้นตอนสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้น การแปะป้ายว่า “การฆ่าตัวตาย = การคิดสั้น” เป็นการมองข้ามต้นตอของปัญหาและอาจสร้างภาพจำผิด ๆ แก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ

.

⛅ อาจารย์สิริพร เอมอ่อน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแอพลิเคชันอูก้า เผยว่า การฆ่าตัวตายนั้น ในทางจิตวิทยาได้อธิบายว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่

.

1) ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factors) เช่น สารเคมีในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน ฮอร์โมนคอร์ติซอล อยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล

.

2) ปัจจัยทางจิตวิทยา (psychological factors) ได้แก่ พฤติกรรมและบุคลิกภาพ เช่น คนที่มีนิสัยเป็น perfectionist ก็จะมีแนวโน้มกลัวความผิดพลาด และมีโอกาสเครียดง่ายกว่าคนกลุ่มอื่น

.

3) ปัจจัยทางสังคม (sociological factors) คือปัญหาที่มาจากสังคมภายนอกและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ สภาวะทางเศรษฐกิจ หรือความตึงเครียดจากภาระงาน เป็นต้น

.

ทั้งนี้ อาจารย์สิริพรยังเสริมอีกว่า ปัญหาการแม้ว่าจะมีปัจจัยไม่ครบทั้งสามด้าน เพียงแค่ปัจจัยเดียว ก็มากพอที่จะกระตุ้นให้คนหนึ่งคน เกิดความคิดทำร้ายตนเอง ดังนั้น การเฝ้าระวังและตระหนักถึงปัจจัยทาง 3 ด้าน อย่างถี่ถ้วน เป็นวิธีที่สำคัญที่จะป้องกันเพื่อน ๆ และคนรอบข้าง จากความคิดทำร้ายตัวเองซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

.

โดยที่อาจารย์สิริพรยังได้มอบคำแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถสังเกตอาการคนใกล้ชิดของเรา ผ่านการจับสัญญาณจาก 2 จุดหลัก ๆ ได้แก่ สัญญาณ verbal หรือ คำพูด และ สัญญาณ non-verbal หรือ ภาษากายและพฤติกรรม

.

⛅ หากเป็นสัญญาณ verbal เราอาจสังเกตว่า คนนั้นมักจะบ่นหรือระบายว่า “เบื่อโลก หรือ ท้อแท้” นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียถี่ขึ้นผิดปกติ การโพสต์สเตตัสระบาย หรือ การแชร์ข้อความหรือเพลงเศร้า ๆ ก็นับเป็นอีกสัญญาณที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
.

⛅ ในส่วนของสัญญาณ non-verbal อาจสังเกตได้ว่า คนใกล้ชิดของเรา มีอาการซึมเศร้า ไม่มีแรง หรือมีพฤติกรรมแยกตัวจากผู้อื่นอย่างผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้ หากพบรอยแผลตามร่างกายของคนนั้น ก็นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำคัญว่า เขากำลังต้องการความช่วยเหลือจากใครสักคนอยู่ก็เป็นได้

.

⛅ นอกจากนี้ อาจารย์สิริพรยังแนะนำว่า เมื่อไหร่ที่หลุดเข้าไปอยู่ในห้วงความเศร้าเป็นระยะเวลานาน จนไม่สามารถหาทางออกมาจากความรู้สึกเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง หากเราเริ่ม รู้เท่าทันความรู้สึกตัวเอง และตระหนักอยู่เสมอว่าความเศร้าจะไม่อยู่กับเราไปตลอด เราก็อาจมีโอกาสหาทางออกให้กับชีวิตได้

.

⛅ แม้ว่าการตกอยู่ในภวังค์แห่งความเศร้า จะเหมือนกับการว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรโดยมองไม่เห็นชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความช่วยเหลืออีกมากมายในโลกนี้ที่รอให้เราเดินเข้าไปหา ไม่ว่าจะจากคนแปลกหน้า คนที่เรารัก หรือผู้เชี่ยวชาญ

.

💙💙 โดยเนื่องในเดือนป้องกันการฆ่าตัวตายสากลนี้ ผู้ใช้บริการปรึกษาปัญหาใจกับอูก้าครั้งแรก จะได้รับส่วนลด 5% เมื่อจองนัดหมายและกรอกรหัส OOCACARES ผ่านแอปพลิเคชัน ooca 💙💙 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ https://ooca.page.link/fbnewcomer2 และใช้โค้ดได้ถึง 30 กันยายน 2565 (*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ) ⛅

Read More

กาย On-Site ใจ On-Bed = เมื่อคุณมาทำงาน แต่ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว (Presenteeism)

กาย On-Site ใจ On-Bed = ภาวะ Presenteeism : เมื่อคุณมาทำงาน แต่ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว / ภาวะ Presenteeism เป็นการทำงานทั้ง ๆ ที่มีสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่พร้อมที่จะทำงาน ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย หรืออาการป่วยทางใจที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่กล้าที่จะลาหยุด เพราะกลัวจะถูกมองว่าเอาจริงเอาจังกับงานน้อยกว่าพนักงานคนอื่น ๆ

.

แล้วทำไมตัวเราถึงตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism ล่ะ?

.

นักจิตวิตยาคลินิกของอูก้าได้ให้คำแนะนำกับเราว่าการที่ผู้คนตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism เกิดได้หลายปัจจัย แต่ขอแบ่งเป็นสองข้อใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

.

1. ปัจจัยทางสังคมอันเกิดจาก วัฒนธรรมและนโยบายของบริษัทในที่ทำงานมองว่าการทำงานล่วงเวลาเป็นเรื่องที่ดี หรือที่บริษัทมีงานเยอะจนอาจจะทำงานไม่ทัน สิ่งเหล่านี้จึงทำให้พนักงานไม่กล้าพักงานหรือลางาน และพยายามทำงานให้ดีที่สุด เพื่อป้องกันการให้ออกจากงาน

2. ปัจจัยเรื่องของส่วนบุคคลหรือด้านจิตใจ คนที่ตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism อาจรู้สึกว่าไม่ชอบปฏิเสธ ไม่กล้าลา กลัวการทำให้คนอื่นเดือดร้อน เพราะว่าแคร์คนอื่นมากจนมองข้ามความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง

.

ดังนั้นเราจึงแสดงออกถึงความทุ่มเทและความตั้งใจในการทำงาน เพื่อสร้างความประทับใจให้กับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน แม้ว่าใจของเราอยากจะพักผ่อนหรือไปทำอย่างอื่นแทนก็ตาม

.

นอกจากนี้ งานวิจัยจาก The Work Foundation พบว่าภาวะ Presenteeism ในที่ทำงาน ทำให้เสียประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าการลาป่วยถึง 150%

.

อีกทั้งรายงานจาก CIPD (The Chartered Institute of Personnel and Development ) ยังเผยว่า พนักงานที่มีภาวะ Presentism เพิ่มขึ้นนั้นมีโอกาสเป็นสองเท่าที่จะลางานเพราะความเครียดที่เพิ่มขึ้น และพวกเขายังมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางสุขภาพจิตมากกว่าพนักงานคนอื่น ๆ ถึงสองเท่า

.

ซึ่งจริง ๆ แล้ว การที่เพื่อน ๆ จะลาหยุดเพื่อไปพักผ่อนกายหรือใจ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะทุกคนย่อมประสบกับความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักได้ โดยหากเรายิ่งฝืนทำงานต่อ ประสิทธิภาพการทำงานของเราก็จะยิ่งแย่ลง

.

หากเรารู้สึกว่าไม่ไหวจะไปต่อจริง ๆ วิธีนี้จะสามารถช่วยเติมพลังกายและใจให้เพื่อน ๆ กลับมาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่ได้พักผ่อนเลย จะยิ่งทำให้หลาย ๆ คนรู้สึก burnout ไม่อยากทำงาน จนนำไปสู่ภาวะ presenteeism มากขึ้น

.

หยุดฝืนตัวเองแล้วเลือกที่จะพักผ่อน ลองหาเวลาปลีกตัวออกไปเปลี่ยนบรรยากาศให้ธรรมชาติได้เยียวยาหัวใจและให้ตัวเองได้รู้สึกสดชื่นและผ่อนคลายมากขึ้น แต่ถ้าทำทั้งหมดที่อูก้าแนะนำมาแล้วยังอยากเติมพลังใจเพิ่มขึ้นอีก พื้นที่แห่งความสบายใจของอูก้าแห่งนี้ก็ยินดีต้อนรับเพื่อน ๆ เสมอ 🙂

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

.

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

1. https://www.bbc.com/worklife/article/20210604-why-presenteeism-always-wins-out-over-productivity

2. https://www.brandbuffet.in.th/2018/08/cigna-well-being-research-thai-behavior-2018/

3. https://www.robertsoncooper.com/blog/five-ways-to-reduce-presenteeism-in-the-workplace/

.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #OOCAissues

#mentalhealth #stigma #selflove #expectation #Presenteeism #OOCAfeelings #OOCAreminder #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More