Imposter Syndrome: นั่งๆ ทำงานไป ใจดันบอกว่าเราเก่งไม่พอ

🖐️ มีใครเคยสงสัยบ้างมั้ย? ทำไมนั่งทำงานอยู่ดีๆ เราถึงรู้สึกว่าตัวเองยังเก่งไม่พอ หรือกลัวว่าสักวันเพื่อนร่วมงานจะมองว่าเราพยายามไม่พอ ทั้งที่งานก็สำเร็จตามเป้าหมายไปได้ด้วยดี

เนื่องในโอกาสวันตระหนักรู้ความเครียดสากล (International Stress Awareness Day) อูก้าจึงอยากชวนเพื่อนๆ มาทำความรู้จักเจ้า Imposter Syndrome ต้นเหตุของความไม่มั่นใจที่ว่านี้กัน เพราะอูก้าเชื่อเลยว่ามีเพื่อนๆ ที่กำลังทำงานหลายคนเคยหรือกำลังประสบภาวะดังกล่าวอยู่ในปัจจุบัน แอบกระซิบด้วยว่าคนทำงานกว่า 70% ต่างก็เคยรู้สึกว่าตัวเอง “เก่งไม่พอ” แบบนี้แหละ แล้วเราจะทำให้ตัวเองหายเครียดจากภาวะที่เรารู้สึกว่าจริงๆ แล้วเราไม่ได้เก่งอะไรเลยนี้ได้ยังไงกันนะ

มารู้จัก “Imposter Syndrome” กัน

ผู้ที่ประสบภาวะ Imposter Syndrome นั้นมักกังวลว่าตัวเองไม่มีความสามารถมากพอ รวมไปถึงไม่คู่ควรกับตำแหน่งทางการงานที่ได้รับ ถึงแม้จะมีทั้งผลงานและคำชมที่คอยพิสูจน์ความสำเร็จมากแค่ไหนก็ตาม ที่สำคัญคือสมาชิกขององค์กรทุกระดับชั้นสามารถเกิดความกังวลดังกล่าวได้ ไม่ว่าจะเป็นคนที่เพิ่งเข้าทำงานมาใหม่ หรือคนที่ประจำตำแหน่งมานานแล้วก็ตาม

อาจารย์ธีระ เพ็ชรภา นักจิตวิทยาจากอูก้าเล่าให้เราฟังว่า คนทำงานที่ประสบภาวะ Imposter Syndrome ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักคิดอยู่เสมอว่า “ต้องทำยังไงก็ได้ให้ไม่ถูกเพื่อนร่วมงานตำหนิ” เนื่องจากกังวลเรื่องกฎระเบียบขององค์กร สาเหตุนี้เองที่ส่งผลให้เพื่อนๆ หลายๆ คนกลายเป็น Perfectionist ทั้งในเรื่องการทำงานและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในที่ทำงานอย่างไม่รู้ตัว เนื่องจากต้องการสร้างเซฟโซนเอาไว้ จะได้ไม่มีใครว่าเราได้ แถมเวลาทำงานเสร็จก็ไม่ยอมชื่นชมตัวเองหรืออินกับคำชมของคนอื่น เพราะเลือกที่จะเชื่อว่าเรายังไม่มีความสามารถมากพอ

ถึงแม้ Imposter Syndrome จะไม่ใช่โรคร้ายแรงอะไร แต่หากคอยคิดกังวลแบบนี้อยู่บ่อยๆ ก็อาจส่งผลลบต่อร่างกายและใจของเราได้ อย่างการเกิดภาวะเครียดเรื้อรังหรือภาวะซึมเศร้า รวมไปถึงอาจเป็นสาเหตุของการตัดโอกาสทางด้านการงานในอนาคตอีกด้วย เพราะเรามัวแต่ “กลัว” ว่าจะไม่มีความสามารถมากพอสำหรับงานนั้นๆ

5 สัญญาณหลักของ Imposter Syndrome ในที่ทำงานมีอะไรบ้าง?

⛅ห่วงกรอบแห่งความสมบูรณ์แบบจนทำงานชิ้นหนึ่งนานเกินความจำเป็น

⛅พยายามพิสูจน์ตัวเองด้วยการรับงานมาเยอะๆ ทำให้เข้างานเร็ว-เลิกงานช้าอยู่บ่อยๆ

⛅ระแวงจะโดนตำหนิตลอดเวลา และไม่คิดว่าตัวเองเก่งพอที่จะได้รับคำชม

⛅ไม่กล้าปฏิเสธใคร เพราะกลัวว่าเพื่อนร่วมงานจะไม่ชอบ

⛅โฟกัสกับการทำตัวไม่เด่นมากในที่ทำงาน

หากลองประเมินตัวเองดูแล้วว่าเรารู้สึกกดดันแบบนี้เวลาอยู่ในที่ทำงานอยู่บ่อยๆ อาจารย์ธีระก็ได้ขอฝากแนวทางการรับมือกับ Imposter Syndrome ฉบับเบื้องต้นมา 4 ข้อ ที่จะช่วยให้เพื่อนๆ ได้ลองฝึกใจดีกับตัวเองมากขึ้น

1. ให้อภัยตัวเองหากผิดพลาดไปบ้าง – แทนที่จะคิดวนเรื่องข้อผิดพลาด ลองมองว่าเราพยายามอย่างถึงที่สุดแล้ว อูก้าเชื่อว่างานทุกชิ้นเต็มไปด้วยความตั้งใจของเพื่อนๆ แน่นอน

2. รู้ทันใจตัวเอง – ยอมรับหากรู้ตัวว่ากำลังคิดในแง่ลบ และทบทวนว่าสิ่งที่เราคิดนั้นเป็นจริงหรือไม่

3. พูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน – ถามเพื่อนร่วมงานอย่างตรงไปตรงมาหากกลัวว่าทำอะไรผิดไป และไม่คอยโทษตัวเอง

4. ภูมิใจในความสำเร็จของตัวเอง – ลองชื่นชมตัวเองเป็นประจำ โดยไม่ต้องเก็บมาคิดว่าเราสามารถทำได้ดีกว่านี้หรือเปล่า และน้อมรับคำชมจากเพื่อนร่วมงานด้วยความภูมิใจ

อาจารย์ธีระและอูก้าเข้าใจดีว่าการขจัดความคิดแง่ลบในหัวออกไม่ใช่เรื่องง่าย ในหลายๆ ครั้ง เราอาจไม่สามารถดึงตัวเองขึ้นมาจากความรู้สึกไม่ดีเหล่านั้นได้ด้วยตัวคนเดียว ฉะนั้นการระบายความรู้สึกกับบุคคนที่ไว้ใจหรือผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด หากเพื่อนๆ ยังไม่รู้จะเล่าเรื่องราวให้ใครฟัง ก็ยังมีทีมจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจากแอปพลิเคชันอูก้าที่ยินดีที่จะจับมือเดินไปข้างหน้าด้วยกันกับเพื่อนๆ เสมอนะ

สุดท้ายนี้ อาจารย์ธีระยังขอฝากทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า “คนเราสามารถพัฒนาตัวเองได้เรื่อยๆ อยู่แล้วหากรู้สึกว่ายังเก่งไม่พอ แต่สิ่งที่สำคัญคืออยากให้หาความสุขให้เจอในแต่ละวัน อยากให้ชมตัวเองที่ผ่านอุปสรรคต่างๆ มาได้ขนาดนี้ พอเรามีความสุขแล้วเราจะพัฒนาตัวเองได้อย่างสนุกและมีประสิทธิภาพจนเราคาดไม่ถึงเลย”

เพราะแค่งานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละวันก็ชวนปวดหัวมากพอแล้ว อูก้าจึงอยากให้เพื่อนๆ ใจดีกับตัวเองเยอะๆ คอยพูดคุยสื่อสารกับคนในที่ทำงานเพื่อเรียกความมั่นใจกลับมา และมองว่า “เรานี่แหละ เก่งพอสำหรับตำแหน่งที่ทำอยู่แล้ว” รวมถึงไม่ลืมให้รางวัลตัวเองในช่วงเวลาหลังเลิกงานเป็นประจำไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม สุดท้ายแล้ว คนที่เป็นแรงใจที่ดีที่สุดในการทำงานในวันต่อๆ ไปก็คือตัวของเพื่อนๆ เอง เพราะฉะนั้น เชื่ออูก้าเถอะนะว่าเราน่ะสุดยอดที่สุดแล้ว!

อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

อ้างอิง

*ข้อมูลจากวารสาร International Journal of Behavioral Science

[1] https://newviewpsychology.com.au/imposter-syndrome-in-the-workplace/

[2] https://www.forbes.com/sites/forbescoachescouncil/2019/06/07/15-ways-to-overcome-imposter-syndrome-in-the-workplace/?sh=3183fbad30cc

[3] https://www.welovesalt.com/news/2022/07/imposter-syndrome/

Read More

รู้หรือไม่ ประเทศไทยมี 6 จังหวัดที่ไม่มีนักจิตวิทยาเลยสักคน

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่อาจจะยังตอบง่าย ๆ ไม่ได้ในทันที แต่ข้อมูลเหล่านี้ และข่าวเศร้ามากมายที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมานี้ คงจะเป็นธงแดงที่เตือนให้ “เรา” ควรจะหันมา “เตรียมรับมือ” กับวิกฤติสุขภาพจิตที่กำลังฟักตัวในประชากรทุกช่วงอายุ …. และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิกฤตินี้ไม่สามารถแก้ได้ในชั่วพริบตา 

.

ปี 2565 รายงานจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าประเทศไทยมีจิตแพทย์รวม 845 คน ซึ่งถือว่าเรามีจิตแพทย์ 1.28 คน ต่อประชากรจำนวนหนึ่งแสนคน [1] ซึ่งถ้าเทียบกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่มีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อประชากรมากที่สุดในโลก จะพบว่าสวิตเซอร์แลนด์มีจิตแพทย์อยู่ที่ที่ 47.17 คนต่อแสนประชากร

.

,

ในขณะที่ถ้าเทียบกับประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นลำดับต้น ๆ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ญี่ปุ่นมีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อแสนประชากรอยู่ที่ 12.55 และเทียบกับเกาหลีใต้มีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อแสนประชากรอยู่ที่ 7.91 ซึ่งถือว่ามากกว่าไทยหลายเท่า และในส่วนของนักจิตวิทยา ประเทศไทยมีมีนักจิตวิทยาเพียง 1,037 คนต่อคนทั้งประเทศ คิดเป็น 1.57 คนต่อแสนประชากรด้วยกัน

.

.

หากไม่นับสาเหตุเรื่องระยะเวลาในการเรียนจบด้านจิตแพทย์ (ที่สามารถจ่ายยาได้) ต้องใช้เวลานานกว่าจะจบหลักสูตร แล้วนั้น (9-10 ปี) แม้เราจะโชคดีที่ประเทศไทยยังมีวิชาชีพร่วมทั้ง นักจิตวิทยาคลินิก พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาให้คำปรึกษา แต่อย่างไรก็ตามการกระจายบุคลากรด้านสุขภาพจิตไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ยังต้องคำนวณจากหลายปัจจัยด้วยกัน 

.

.

ความท้าทายในการกระจายการให้บริการ สะท้อนผ่านข้อมูลที่ว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา ยโสธร กลายเป็นจังหวัดที่ไม่มีจิตแพทย์เลยสักคน (เพิ่งมีเพิ่ม 2 คนในปีที่ผ่านมา) ส่วนนักจิตวิทยา ยังมีอีก 6 จังหวัดที่ไม่มีนักจิตวิทยาเลยสักคน (ได้แก่ตราด แพร่ สมุทรสงคราม สิงห์บุรี หนองบัวลำภู และอ่างทอง)

.

.

ยิ่งเมื่อเจอกับวิกฤติโรคระบาด เศรษฐกิจ อัตราความเสี่ยงฆ่าตัวตาย และความต้องการที่จะเข้ารับการรักษาก็มีสูงขึ้นทั่วโลก ในขณะที่การผลิตบุคลากรในด้านนี้ต้องใช้เวลาเตรียมล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 5 ปี – คำถามคือ แล้วโลกปรับตัวเพื่อหาทางบรรเทาทุกข์นี้อย่างไร ?

.

.

เนื่องใน #วันสุขภาพจิตโลก #WorldMentalHealthDay2022 อูก้าจึงได้รวบรวมแนวคิดที่น่าสนใจจากทั่วโลก เช่นว่า แพทย์ในกรุบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยมจ่ายยาด้วยการให้ผู้ใช้บริการไปเข้าพิพิธภัณฑ์ในเมือง [2] / นักวิจัยทั่วโลกได้สร้างความร่วมมือกันสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมที่ครอบคลุมความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากขึ้น [3] / การใช้ปัญญาประดิษฐ์คัดกรองเนื้อหาหรือคำศัพท์ที่นำไปสู่การกระตุ้นให้คนทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย [4] / การใช้แพทย์ทางไกล (Telehealth) มาช่วยให้บริการผู้ป่วยนอกในช่วงโรคระบาดโควิด [5] และอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นการเฝ้าระวังหรือป้องกันก่อนจะสาย เช่น การปรับวัฒนธรรมองค์กรให้ยืดหยุ่นและเป็นมิตรต่อผู้ที่กำลังรักษาอาการทางจิตเวชให้มากขึ้น

.

.

นอกจากนี้เทรนด์การใช้แอพลิเคชันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกัน / ประเมิน / เรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือรับบริการสุขภาพจิต ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก โดยในปัจจุบันนี้ ใน App Store และ Play Store มีแอพลิเคชันด้านสุขภาพจิตมากกว่า 10,000+ แอพลิเคชันด้วยกัน ส่งผลให้องค์กรอย่าง Onemind, Health Navigator และ World Economic Forums เริ่มที่จะพัฒนาการคัดกรองมาตรฐานและให้ “การรับรอง” ในแง่จริยธรรมในการให้บริการ, ผ่านการทดสอบทางคลินิก, ความปลอดภัย และความมีประสิทธิภาพ [6]

.

.

อย่างไรก็ตาม คำถามที่ว่านวัตกรรมต่อไปนี้ได้เกิดขึ้น (มาสักระยะแล้ว) แต่จะ “ใช้ได้จริง” เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการให้บริการได้อย่างไร ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ทั้งสังคมต้องบูรณาการร่วมกันนอกเหนือไปจากส่วนของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เช่น

.

–  เราจะสั่งยาให้คนไข้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไรหากจังหวัดนั้น ๆ ไม่มีพื้นที่สาธารณะ หรือไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่สร้างแรงบันดาลใจ? 

.

– ปัญญาประดิษฐ์ที่อ่านข้อความภาษาไทยถูกส่งเสริมและถูกนำไปใช้ประโยชน์มากแค่ไหน? 

.

– ผู้มีรายได้น้อยจะเข้าถึงบริการสุขภาพจิตผ่านสวัสดิการต่าง ๆ ได้อย่างไร ? เราจะป้องกันให้ประชากรเกิดความเสี่ยงทางสุขภาพจิตน้อยลงตั้งแต่ตอนอายุน้อยได้ไหม เพราะในปีที่ผ่านมานี้ ข้อมูลจากยูนิเซฟระบุว่า เด็กไทยอายุ 5-9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน และ วัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี ประมาณ 1 ใน 7 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ [7] ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

.

– ฯลฯ

.

.

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่อาจจะยังตอบง่าย ๆ ไม่ได้ในทันที แต่ข้อมูลเหล่านี้ และข่าวเศร้ามากมายที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมานี้ คงจะเป็นธงแดงที่เตือนให้ “เรา” ควรจะหันมา “เตรียมรับมือ” กับวิกฤติสุขภาพจิตที่กำลังฟักตัวในประชากรทุกช่วงอายุ …. และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิกฤตินี้ไม่สามารถแก้ได้ในชั่วพริบตา 

.

.

การฝ่าปัญหานี้ จะต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และอูก้าเชื่อว่า เราทุกคนสามารถเป็นส่วนร่วมในการให้ความรู้ที่ถูกต้อง การสร้างความตระหนัก และการส่งเสียงให้เกิดการจัดสวัสดิการด้านสุขภาพจิตให้กับผู้ที่ต้องการ

.

.

สุขสันต์วัน #วันสุขภาพจิตโลก #WorldMentalHealthDay2022 โดยอูก้าขอเชิญชวนมาคุยกันกับ ‘อิ๊ก’ กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ ผู้ก่อตั้ง Ooca แพลตฟอร์มให้บริการด้านสุขภาพจิต ในหัวข้อ “ถอดรหัสอนาคตสุขภาพจิตคนไทย” โดยเล่าจากประสบการณ์บริหารแพลตฟอร์มอูก้ามาตั้งแต่ปี 2017 จนมาถึงปัจจุบันที่อูก้าได้ให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน ดูแลผู้ใช้บริการหลายหมื่นคน รวมถึงได้ขยายผลไปยังการให้บริการทางสังคมผ่านโครงการ Wall of Sharing ที่ช่วยดูแลสุขภาพใจให้กับนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในยามวิกฤติ ผ่านทาง Twitter Space ในวันที่ 10 ตุลาคม 2022 เวลา 20.00 เป็นต้นไป

.

-ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะได้หาแนวทางในการรักษาเยียวยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy .

– สนใจปรึกษานักจิตวิทยา ดาวน์โหลดได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

.

.

#OOCAitsOK #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

——- 

[1] https://data.go.th/dataset/specialist และข้อมูลรวบรวมโดย Rocketmedialab

[2] https://www.weforum.org/videos/doctors-in-brussels-prescribe-free-museum-visits-to-boost-mental-health

[3] https://www.weforum.org/agenda/2022/09/diverse-genetic-data-tools-factors-causing-mental-illness/

[4] https://www.scientificamerican.com/article/mining-social-media-reveals-mental-health-trends-and-helps-prevent-self-harm/

[5] https://news.ohsu.edu/2022/04/04/pandemic-drives-use-of-telehealth-for-mental-health-care

[6] https://www.scientificamerican.com/article/how-consumers-and-health-care-providers-can-judge-the-quality-of-digital-mental-health-tools/

[7] https://www.unicef.org/thailand/th/press-releases/ยูนิเซฟและกรมสุขภาพจิตชี้สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยน่าเป็นห่วง

Read More

รับบท Introvert ไม่อะไรกับใคร หรือกำลังตกอยู่ใน “ภาวะสิ้นยินดี”? 

ชวนมารู้จักภาวะที่เริ่มส่งสัญญาณเตือนปัญหาใจ ว่าด้วย “ภาวะสิ้นยินดี” หรือ Anhedonia เป็นปัญหาสุขภาวะทางจิตอย่างหนึ่ง ที่มีลักษณะเฉพาะคือ บุคคลที่ตกอยู่ในภาวะนี้จะเกิดความรู้สึกขาดความสนใจหรือขาดความเพลิดเพลิน อันเป็นอาการที่สะท้อนถึงการขาดดุลของสารโดปามีน (Dopamine) ในสมองที่ทำหน้าควบคุมอารมณ์และความรู้สึกพึงพอใจ 

ผู้ที่ประสบปัญหาดังกล่าว อาจลืมตาตื่นขึ้นมาพร้อมกับความว่างเปล่า ไม่ยินดียินร้าย จนถึงขนาดเฉื่อยชากับทุกสรรพสิ่งรอบตัว อาการเหล่านี้หลายคนอาจมองว่าเป็นเพียงความเบื่อหน่ายชีวิตปกติทั่วไป จึงเลือกละเลยที่จะให้ความสนใจจนรู้ตัวอีกทีกลับพบว่าตัวเองใช้ชีวิตกับภาวะนี้จนชินชาเป็นเวลานาน โดยคาดไม่ถึงว่าสิ่งที่เป็นอยู่คืออาการบ่งชี้ของปัญหาสุขภาพใจ

ภาวะดังกล่าวจะส่งผลโดยตรงต่อกระบวนการประเมินคุณค่า การตัดสินใจ การคาดหวัง และการมีแรงจูงใจ โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะสิ้นยินดีของแต่ละบุคคลย่อมมีหลายปัจจัยประกอบแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นผลจากความกระทบกระเทือนทางจิตใจ ความวิตกกังวล ความเครียดสะสม ตลอดจนเป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ซึมเศร้า อารมณ์สองขั้ว พาร์กินสัน เบาหวาน บุคคลผู้มีประวัติการใช้สารเสพติด เป็นต้น 

อาการของภาวะสิ้นยินดีอาจมีความคล้ายคลึงกับอารมณ์ความเบื่อหน่าย หรือแม้กระทั่งบางครั้งอาจเกิดความสับสนกับการมีบุคลิกภาพเก็บตัว (Introvert) จากการพูดคุยกับ อาจารย์นงนุช จําปารัตน์ จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ OOCA ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับภาวะดังกล่าวว่า

“อาการนี้มันจะต้องมีความผิดปกติ หมายถึงเราไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน หรือมีระยะเวลานาน โดยปกติคนทั่วไปจะอยู่ในสภาวะอารมณ์ไม่สุขไม่ทุกข์ ว่างเปล่า แต่ภาวะนี้จะดิ่งลงไปเรื่อย ๆ และไม่สามารถที่จะมีความสุข ยินดียินร้ายได้ ไม่สุขไม่ทุกข์ เจ็บปวดในความว่างเปล่า…

…บางคนอาจหงุดหงิดง่าย แปรปรวนง่าย บางคนอาจจะฝืนในการแสดงอารมณ์ ไม่ค่อยแสดงออกทางอารมณ์หรือการกระทำ เฉยชา… ”

อาจารย์นงนุชยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อไปอีกว่า ภาวะสิ้นยินดีไม่เพียงแต่เป็นอาการไร้ความรู้สึกทุกข์หรือสุข แต่ยังรวมถึงการปฏิเสธการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือการเข้าสังคม มีความรู้สึกหมดไฟในการทำงานอดิเรกที่ชอบ ไม่มีความสุขในการทำกิจกรรมที่สนใจ 

อาการในลักษณะดังกล่าวจะมีความแตกต่างจากบุคลิกภาพเก็บตัว ที่ถึงแม้ว่าจะไม่ชอบการเข้าสังคม แต่คนที่มีบุคลิกภาพดังกล่าวจะยังคงหลงไหลในกิจกรรมที่ตนเองชอบอยู่ ขณะเดียวกันภาวะนี้จะกินระยะเวลายาวนานติดต่อกันเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน ซึ่งจะแตกต่างกับอารมณ์เบื่อหน่ายที่ผ่านไประยะหนึ่งก็จะสามารถหลุดจากอารมณ์นั้นได้ด้วยการหากิจกรรมอื่นมาทดแทน

อย่างไรก็ตามภาวะดังกล่าวในแต่ละบุคคลจะมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองกำลังตกอยู่ในภาวะสิ้นยินดี และอยู่ในขั้นที่ต้องการความช่วยเหลือจากนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์? จากการค้นคว้าข้อมูลเอกสารร่วมกับการพูดคุยกับอาจารย์นงนุชสามารถสรุปได้ว่า เราสามารถสังเกตอาการของภาวะสิ้นยินดีได้สองส่วน

1) ด้านลักษณะทางร่างกาย เช่น ไม่รับรู้รสชาติของอาหาร สีหน้าไม่สามารถแสดงออกความรู้สึกใด ๆ ได้ การสัมผัสทางกายไม่ส่งผลต่อความรู้สึกที่ดีขึ้น รวมถึงการเฉยชาต่อความสุขบนเตียงกับคู่รัก 

2) ด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เช่น การปลีกตัวออกจากสังคม ไม่สนใจการพัฒนาความสัมพันธ์ใหม่ ๆ เริ่มตีตัวออกห่างจากเพื่อฝูงที่มีอยู่ หลีกเลี่ยงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ไม่รู้สึกเห็นอกเห็นใจ รวมถึงการขาดแรงจูงใจที่จะใช้ชีวิตกับผู้คน

ลักษณะอาการดังกล่าวคือข้อสังเกตง่าย ๆ ที่เราสามารถสำรวจตนเองหรือคนรอบข้างได้ นอกจากนี้อาจารย์นงนุชยังให้คำแนะนำทิ้งท้ายว่า

“ถ้าหากเราพบว่ามีอาการติดต่อกันเป็นเวลานานในทุก ๆ วัน ประมาณสองสัปดาห์ หรือเป็นเดือนขึ้นไป เราควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ แต่ถ้ารู้สึกว่ายังไม่พร้อมเราอาจจะปรึกษาเพื่อน หรือคนรอบข้างที่ใกล้ชิดที่เราไว้วางใจ เพื่อให้เขาช่วยสังเกตเราถึงความผิดปกติหรือความเปลี่ยนแปลง หรืออาจจะพูดคุยระบายกับเขาก่อนก็ได้ แต่หากพบว่ามีอาการกินระยะนานมากกว่าหนึ่งเดือนแนะนำว่าต้องไปพบนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ค่ะ”

ภาวะสิ้นยินดีถือเป็นสัญญาณเตือนภัยของการเกิดโรคซึมเศร้าที่หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลเสีย ดังนั้นหากคุณลองสำรวจดูตามคำแนะนำแล้วพบว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดเปลี่ยนไปจากที่เคยเป็น ไม่สดใส ไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึกใด ๆ ทั้งยังปลีกตัวจากสังคมล่ะก็ งานนี้ต้องรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะได้หาแนวทางในการรักษาเยียวยาได้เร็วขึ้น และป้องกันการทำร้ายตัวเองอนาคตได้อีกด้วย – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #depression #Andohenia #introvert #Dopamine #หมดไฟ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Sources:

  1. https://www.dovepress.com/anhedonia-in-depression-and-schizophrenia-brain-reward-and-aversion-ci-peer-reviewed-fulltext-article-NDT
  2. https://solaramentalhealth.com/anhedonia-symptoms-treatment/
  3. https://www.health.com/mind-body/anhedonia
  4. https://www.talkspace.com/blog/anhedonia-symptoms-signs-causes-what-is/

Read More

Happiness is not always from achievement

“บางครั้งความสุขของเราก็ไปยึดโยงกับการวัดผล, แต่งานบางอย่าง หรือบางสถานการณ์ในชีวิต มันยังไม่ถึงเวลาวัดผล แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะมีความสุขระหว่างทางไม่ได้”

เพื่อนๆ เคยวิ่งไล่ตาม “ความสำเร็จ” กันไหม

ต้องตั้งใจเรียน เพื่อที่จะได้สอบเข้ามหา’ลัยชื่อดังที่ครอบครัวคาดหวังให้ได้

ต้องทำงานให้หนัก เพื่อที่จะได้รับการเลื่อนขั้นและมีเงินเดือนที่สูงกว่าเพื่อนๆ วัยเดียวกัน

ต้องได้แต่งงานก่อนอายุ 30 เพื่อที่จะได้สร้างครอบครัวที่อบอุ่นและสมบูรณ์

สิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่ง “ความสุข” ในชีวิตจริงๆ เหรอ?

ตอนนี้เพื่อนๆมีเป้าหมายที่อยากจะไปให้ถึงไหมนะ อาจจะเป็นเรื่องงาน ว่าอยากจะได้เลื่อนตำแหน่ง เรื่องเงินว่าอยากมีบ้านดีๆสักหลัง หรือแม้แต่เรื่องความรักที่อยากจะชนะใจเธอ/เขา คนนั้นให้ได้ หากว่าเราสามารถทำสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ เราจะมีความสุขจริงๆหรือ?ความสุขในแบบหลายคนคุ้นเคยกันเป็นการ นำความสุขของเราก็ไปยึดโยงกับผลลัพธ์ ถ้าออกมาดี เราจึงจะมีความสุข แต่งานบางอย่าง หรือบางสถานการณ์ในชีวิต ไม่จำเป็นจะต้องรอจนรู้ผลลัพธ์ก็สามารถมีความสุขได้ ความสุขเหล่านี้คือความสุขระหว่างทางเดินไปสู่เป้าหมาย

ตามหลักจิตวิทยาเชิงบวกแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ความสำเร็จ” และ “ความสุข” นั้นมีความเกี่ยวข้องกันอยู่จริงๆ แต่นั่นก็ทำให้หลายๆ คนเข้าใจผิดว่า ที่ปลายทางของความสำเร็จนั้นจะนำมาซึ่งความสุขเสมอ จนทำให้ผู้คนตั้งเป้าหมายและจดจ่ออยู่กับการบรรลุเป้าหมายในชีวิต

ในปัจจุบันที่โลกและชีวิตประจำวันของเราถูกทำให้กลืมกลนไปกับโซเชียลมีเดีย มันเป็นเรื่องง่ายมากที่เราจะรู้สึก ‘ด้อยค่า’ หรือ ‘กดดัน’ จากการเห็นภาพเพื่อนๆ หรือ คนในวัยเดียวกันประสบความสำเร็จ  บางคนทำงานเบื้องหน้า เริ่มมีชื่อเสียง เริ่มเป็นที่รู้จัก เริ่มเติบโตใน Career Path ของเขาเอง  บางคนมีธุรกิจส่วนตัวและมันก็กำลังไปได้ดีมากๆ  เมื่อเห็นแบบนี้แล้ว เราก็อดที่จะเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับพวกเขาไม่ได้ ไม่ใช่ว่าไม่ยินดีกับความสำเร็จของพวกเขานะ แต่พอลองมองย้อนกลับมาที่ตัวเองที่ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันก็รู้สึกน้อยใจ เครียด จนไม่มีความสุขไปเสียอย่างนั้น เลยกลายเป็นว่าหลายๆ คนสร้างเงื่อนไขขึ้นมาว่าต้องประสบความสำเร็จก่อนแล้วถึงจะมีความสุขแบบนั้นบ้าง ดังนั้น ทุกการตัดสินใจเลือกทางเดินในชีวิต เราทุกคนมักจะเลือกทางที่คิดว่าเราจะมีความสุขที่สุดเมื่อเราเดินไปถึงปลายทาง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราทุกคนพลาดไปก็คือ ความจริงที่ว่า ความสุขคือเรื่องของสภาวะจิตใจ (State of mind) ไม่ใช่ จุดหมายปลายทาง 

ในขณะเดียวกัน ความสุขที่มาจากความสำเร็จก็ไม่ได้อยู่กับเรานานขนาดนั้น Richard St. John นักการตลาดและนักวิเคราะห์ความสำเร็จ ได้กล่าวบนเวที TEDtalk ว่า ถ้าจะต้องเป็นคนที่ประสบความสำเร็จเพื่อที่จะได้มีความสุข คุณจะต้องตั้งเป้าหมายใหม่ๆ เพื่อที่จะได้บรรลุมัน เพราะเมื่อคุณทำอะไรสักอย่างสำเร็จแล้วมันก็จะจบแค่นั้น ดังนั้นหากคุณสร้างเงื่อนไขว่าความสำเร็จจะนำมาซึ่งความสุขแล้วล่ะก็ มันจะเหนื่อยมากๆ เลยนะ ดั่งที่คุณกอบุญ เกล้าตะกาญจน์ นักจิตวิทยา จาก OOCA ได้กล่าวไว้ว่า “บางครั้งความสุขของเราก็ไปยึดโยงกับการวัดผล แต่งานบางอย่าง หรือบางสถานการณ์ในชีวิต มันยังไม่ถึงเวลาวัดผล แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะมีความสุขระหว่างทางไม่ได้”

สุดท้ายนี้ ถ้าเราเอาความสุขไปผูกกับความสำเร็จแล้วล่ะก็ มันคงจะเหนื่อยมากๆ ที่ต้องวิ่งไปให้ถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ อย่าลืมว่าความสำเร็จคือ ‘การเดินทาง’ เรื่องราวระหว่างทางนั่นแหละที่จะทำให้เราเจอความสุขที่แท้จริง  ไม่ว่าจะเป็นมิตรภาพ การได้ทำสิ่งที่ชอบ หรือ การได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  พอคิดแบบนี้แล้ว เราทุกคนสามารถมีความสุขได้ใน “ตอนนี้” เลย  สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่ง คือ การไม่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นเพื่อวัดความสุข หรือ ความสำเร็จของตนเอง ความสุขเป็นเรื่องระดับ “ปัจเจก” หากคุณไล่ตามความคาดหวังของคนอื่น เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในแบบเดียวกัน ที่ปลายทางนั้น คุณอาจจะไม่พบความสุขในแบบที่ตัวเองต้องการก็ได้  

หวังว่าเพื่อนๆ จะได้ข้อคิดดีๆ กลับไปจากบทความนี้ และถ้าใครกำลังสับสนหรือกังวลเกี่ยวกับการเลือกเส้นทางเดินในชีวิต ไม่แน่ใจว่าทางเลือกที่ตัวเองเลือกนั้นจะนำมาซึ่งความสุขจริงๆ หรือเปล่า การปรึกษานักจิตวิทยาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้เพื่อนๆ ได้ตกตะกอนทางความคิด และตอบคำถามได้จริงๆ ว่า “สิ่งที่ตัวเองต้องการในชีวิต” นั้นคืออะไร  OOCA ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ทุกคน หากการเดินทางนี้มันเหนื่อย ก็แวะพักระหว่างทางบ้างก็ได้ ดูแลใจตัวเองกันด้วยนะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #depression #happiness #achievement  #ความสำเร็จ #มีความสุขได้ในตอนนี้ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Sources:
https://positivepsychology.com/hedonic-treadmill/ 

INTRINSIC HAPPINESS: THE SEED INSIDE EACH PERSON (paper)

Read More

ชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น

“เหลือเชื่อเหมือนกันว่ายังคงมีชีวิตอยู่จนถึงตอนนี้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว และกำลังเกิดขึ้นอยู่จริงๆ”
.
ขอชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น เพราะวันนี้คือวันป้องกันการฆ่าตัวตายสากล (World Suicidal Prevention Day) ซึ่งเป็นวันสำคัญที่องค์กรอนามัยโลกและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะจิตกำหนดให้มีการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ⛅
.
สถิติระบุว่าในทุก ๆ วัน มีคนที่เลือกจะจบชีวิตด้วยตนเองวันละ 11-12 ราย นอกจากนี้ จากสำรวจของกรมสุขภาพจิต ยังพบว่า สาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย มาจากปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด (48.7%) ซึ่งในหลายครั้ง ความสูญเสียก็เกิดขึ้นโดยที่หลายๆ คน อาจไม่ทันได้ตั้งรับ และสังคมรวมถึงสื่อยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการมองว่า การฆ่าตัวตาย คือการ “คิดสั้น”

.

ไม่ว่าจะเป็นสื่อหรือสาธารณชน มักจะมองว่าการฆ่าตัวตาย คือ “การคิดสั้น” แต่แท้จริงแล้ว การฆ่าตัวตายมีกระบวนการถึง 3 ขั้นตอนก่อนจะนำมาสู่การตัดสินใจจบชีวิต อันได้แก่

.

  1. Suicidal Thought หรือ ความคิดทำร้ายตนเอง

2.Suicidal Plan คือ ขั้นตอนการวางแผนและหาวิธีที่จะทำร้ายตนเอง

3.Suicidal Attempt หรือ ขั้นตอนการพยายามฆ่าตัวตาย หรือ ทำร้ายตนเอง

.

ดังนั้น การจบชีวิตด้วยตนเอง เป็นกระบวนการที่ผ่านการคิดมาอย่างถี่ถ้วน และต้องตัดสินใจอยู่หลายตลบกว่าจะปะทุไปสู่ขั้นตอนสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้น การแปะป้ายว่า “การฆ่าตัวตาย = การคิดสั้น” เป็นการมองข้ามต้นตอของปัญหาและอาจสร้างภาพจำผิด ๆ แก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ

.

⛅ อาจารย์สิริพร เอมอ่อน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแอพลิเคชันอูก้า เผยว่า การฆ่าตัวตายนั้น ในทางจิตวิทยาได้อธิบายว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่

.

1) ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factors) เช่น สารเคมีในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน ฮอร์โมนคอร์ติซอล อยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล

.

2) ปัจจัยทางจิตวิทยา (psychological factors) ได้แก่ พฤติกรรมและบุคลิกภาพ เช่น คนที่มีนิสัยเป็น perfectionist ก็จะมีแนวโน้มกลัวความผิดพลาด และมีโอกาสเครียดง่ายกว่าคนกลุ่มอื่น

.

3) ปัจจัยทางสังคม (sociological factors) คือปัญหาที่มาจากสังคมภายนอกและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ สภาวะทางเศรษฐกิจ หรือความตึงเครียดจากภาระงาน เป็นต้น

.

ทั้งนี้ อาจารย์สิริพรยังเสริมอีกว่า ปัญหาการแม้ว่าจะมีปัจจัยไม่ครบทั้งสามด้าน เพียงแค่ปัจจัยเดียว ก็มากพอที่จะกระตุ้นให้คนหนึ่งคน เกิดความคิดทำร้ายตนเอง ดังนั้น การเฝ้าระวังและตระหนักถึงปัจจัยทาง 3 ด้าน อย่างถี่ถ้วน เป็นวิธีที่สำคัญที่จะป้องกันเพื่อน ๆ และคนรอบข้าง จากความคิดทำร้ายตัวเองซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

.

โดยที่อาจารย์สิริพรยังได้มอบคำแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถสังเกตอาการคนใกล้ชิดของเรา ผ่านการจับสัญญาณจาก 2 จุดหลัก ๆ ได้แก่ สัญญาณ verbal หรือ คำพูด และ สัญญาณ non-verbal หรือ ภาษากายและพฤติกรรม

.

⛅ หากเป็นสัญญาณ verbal เราอาจสังเกตว่า คนนั้นมักจะบ่นหรือระบายว่า “เบื่อโลก หรือ ท้อแท้” นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียถี่ขึ้นผิดปกติ การโพสต์สเตตัสระบาย หรือ การแชร์ข้อความหรือเพลงเศร้า ๆ ก็นับเป็นอีกสัญญาณที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
.

⛅ ในส่วนของสัญญาณ non-verbal อาจสังเกตได้ว่า คนใกล้ชิดของเรา มีอาการซึมเศร้า ไม่มีแรง หรือมีพฤติกรรมแยกตัวจากผู้อื่นอย่างผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้ หากพบรอยแผลตามร่างกายของคนนั้น ก็นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำคัญว่า เขากำลังต้องการความช่วยเหลือจากใครสักคนอยู่ก็เป็นได้

.

⛅ นอกจากนี้ อาจารย์สิริพรยังแนะนำว่า เมื่อไหร่ที่หลุดเข้าไปอยู่ในห้วงความเศร้าเป็นระยะเวลานาน จนไม่สามารถหาทางออกมาจากความรู้สึกเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง หากเราเริ่ม รู้เท่าทันความรู้สึกตัวเอง และตระหนักอยู่เสมอว่าความเศร้าจะไม่อยู่กับเราไปตลอด เราก็อาจมีโอกาสหาทางออกให้กับชีวิตได้

.

⛅ แม้ว่าการตกอยู่ในภวังค์แห่งความเศร้า จะเหมือนกับการว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรโดยมองไม่เห็นชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความช่วยเหลืออีกมากมายในโลกนี้ที่รอให้เราเดินเข้าไปหา ไม่ว่าจะจากคนแปลกหน้า คนที่เรารัก หรือผู้เชี่ยวชาญ

.

💙💙 โดยเนื่องในเดือนป้องกันการฆ่าตัวตายสากลนี้ ผู้ใช้บริการปรึกษาปัญหาใจกับอูก้าครั้งแรก จะได้รับส่วนลด 5% เมื่อจองนัดหมายและกรอกรหัส OOCACARES ผ่านแอปพลิเคชัน ooca 💙💙 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ https://ooca.page.link/fbnewcomer2 และใช้โค้ดได้ถึง 30 กันยายน 2565 (*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ) ⛅

Read More

กาย On-Site ใจ On-Bed = เมื่อคุณมาทำงาน แต่ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว (Presenteeism)

กาย On-Site ใจ On-Bed = ภาวะ Presenteeism : เมื่อคุณมาทำงาน แต่ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว / ภาวะ Presenteeism เป็นการทำงานทั้ง ๆ ที่มีสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่พร้อมที่จะทำงาน ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย หรืออาการป่วยทางใจที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่กล้าที่จะลาหยุด เพราะกลัวจะถูกมองว่าเอาจริงเอาจังกับงานน้อยกว่าพนักงานคนอื่น ๆ

.

แล้วทำไมตัวเราถึงตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism ล่ะ?

.

นักจิตวิตยาคลินิกของอูก้าได้ให้คำแนะนำกับเราว่าการที่ผู้คนตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism เกิดได้หลายปัจจัย แต่ขอแบ่งเป็นสองข้อใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

.

1. ปัจจัยทางสังคมอันเกิดจาก วัฒนธรรมและนโยบายของบริษัทในที่ทำงานมองว่าการทำงานล่วงเวลาเป็นเรื่องที่ดี หรือที่บริษัทมีงานเยอะจนอาจจะทำงานไม่ทัน สิ่งเหล่านี้จึงทำให้พนักงานไม่กล้าพักงานหรือลางาน และพยายามทำงานให้ดีที่สุด เพื่อป้องกันการให้ออกจากงาน

2. ปัจจัยเรื่องของส่วนบุคคลหรือด้านจิตใจ คนที่ตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism อาจรู้สึกว่าไม่ชอบปฏิเสธ ไม่กล้าลา กลัวการทำให้คนอื่นเดือดร้อน เพราะว่าแคร์คนอื่นมากจนมองข้ามความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง

.

ดังนั้นเราจึงแสดงออกถึงความทุ่มเทและความตั้งใจในการทำงาน เพื่อสร้างความประทับใจให้กับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน แม้ว่าใจของเราอยากจะพักผ่อนหรือไปทำอย่างอื่นแทนก็ตาม

.

นอกจากนี้ งานวิจัยจาก The Work Foundation พบว่าภาวะ Presenteeism ในที่ทำงาน ทำให้เสียประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าการลาป่วยถึง 150%

.

อีกทั้งรายงานจาก CIPD (The Chartered Institute of Personnel and Development ) ยังเผยว่า พนักงานที่มีภาวะ Presentism เพิ่มขึ้นนั้นมีโอกาสเป็นสองเท่าที่จะลางานเพราะความเครียดที่เพิ่มขึ้น และพวกเขายังมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางสุขภาพจิตมากกว่าพนักงานคนอื่น ๆ ถึงสองเท่า

.

ซึ่งจริง ๆ แล้ว การที่เพื่อน ๆ จะลาหยุดเพื่อไปพักผ่อนกายหรือใจ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะทุกคนย่อมประสบกับความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักได้ โดยหากเรายิ่งฝืนทำงานต่อ ประสิทธิภาพการทำงานของเราก็จะยิ่งแย่ลง

.

หากเรารู้สึกว่าไม่ไหวจะไปต่อจริง ๆ วิธีนี้จะสามารถช่วยเติมพลังกายและใจให้เพื่อน ๆ กลับมาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่ได้พักผ่อนเลย จะยิ่งทำให้หลาย ๆ คนรู้สึก burnout ไม่อยากทำงาน จนนำไปสู่ภาวะ presenteeism มากขึ้น

.

หยุดฝืนตัวเองแล้วเลือกที่จะพักผ่อน ลองหาเวลาปลีกตัวออกไปเปลี่ยนบรรยากาศให้ธรรมชาติได้เยียวยาหัวใจและให้ตัวเองได้รู้สึกสดชื่นและผ่อนคลายมากขึ้น แต่ถ้าทำทั้งหมดที่อูก้าแนะนำมาแล้วยังอยากเติมพลังใจเพิ่มขึ้นอีก พื้นที่แห่งความสบายใจของอูก้าแห่งนี้ก็ยินดีต้อนรับเพื่อน ๆ เสมอ 🙂

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

.

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

1. https://www.bbc.com/worklife/article/20210604-why-presenteeism-always-wins-out-over-productivity

2. https://www.brandbuffet.in.th/2018/08/cigna-well-being-research-thai-behavior-2018/

3. https://www.robertsoncooper.com/blog/five-ways-to-reduce-presenteeism-in-the-workplace/

.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #OOCAissues

#mentalhealth #stigma #selflove #expectation #Presenteeism #OOCAfeelings #OOCAreminder #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More

รู้ไหมว่าความผิดพลาดนั้นไม่ได้อยู่กับเราไปตลอดกาล

“ถ้าเจออุปสรรคขนาดนี้ ล้มเลิกดีกว่าไหม?” ประสบการณ์เหล่านี้ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า Setbacks หรือ อุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้งานสักงานหนึ่งไปถึงได้ตามเป้าหมาย โดยน่าสนใจว่ามีการทดลองหนึ่งในอดีตเผยว่า “อุปสรรคที่ทำให้งานเชื่องช้าและไม่ก้าวหน้า” ส่งผลต่อการหมดหวังหมดกำลังใจมากกว่า “อุปสรรคที่สร้างความเสียหายโดยตรง”

.

James Beck, Abigail Scholer และ Jeffrey Hughes ได้ทำการวิจัยเพื่อหาข้อมูลมาสนับสนุนความคิดดังกล่าว พวกเขาได้ออกแบบการทดลองขึ้น 2 การทดลอง โดยแยกประเภทของ อุปสรรคเป็น 2 ประเภท คือ

1.อุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า (distance setbacks) ทำให้สูญเสียความก้าวหน้าในการทำงานต่าง ๆ ซึ่งเพื่อน ๆ อาจจะเคยเจอเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น คอมพิวเตอร์ดับหรือเสียระหว่างกำลังทำรายงานที่ต้องส่งภายในวันนี้และงานที่ทำมาทั้งหมดถูกลบหายไป ทำให้เราต้องทำงานใหม่ทั้งหมดในระยะเวลาอันน้อยนิด

2.อุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง (velocity setbacks) คือลักษณะของอุปสรรคที่ลดอัตราความก้าวหน้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ความคืบหน้าที่เป็นอยู่ของงาน ณ ปัจจุบันยังไม่ได้หายไป แต่จะเกิดความล่าช้าในอนาคตได้ เช่น คอมพิวเตอร์ของเพื่อน ๆ ติดไวรัส ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้าลง

ในการทดลองนี้ ผู้เข้าร่วมการทำลองจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มด้วยการสุ่ม เพื่อจะได้เจอประสบการณ์อุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า หรือ อุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง ผลจากการทดลองพบปฏิกิริยาลบในตอนแรก ทั้ง 2 ประเภทของอุปสรรค

.

โดยผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งสองกลุ่มมีความอึดอัดคับข้องใจ นอกจากนี้ยังขาดความกระตือรือร้นที่จะทำงาน แต่ความแตกต่างคือ

>> กลุ่มที่ประสบกับอุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า (distant setbacks) มีแนวโน้มที่จะสามารถกลับมาลุกขึ้นสู้ทำงานจนบรรลุเป้าหมายได้อีกครั้งเมื่อถึงช่วงจบการทดลอง 

>> ส่วนกลุ่มที่ประสบกับอุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง (velocity setbacks) มีความอึดอัดคับข้องใจมากขึ้นและมีความกระตือรื้อร้นต่ำเป็นเวลานาน แม้เวลาจะผ่านไปแล้วก็ตาม 

ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า อุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง (velocity setbacks) เป็นตัว “หน่วงความก้าวหน้า” ได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า (distant setbacks)

.

แล้วเราจะจัดการกับอุปสรรคที่ฉุดรั้งความก้าวหน้าของงานนี้ยังไงดีล่ะ? 

แน่นอนว่ามันอาจจะไม่ได้มีสูตรสำเร็จที่ตายตัวเสียทีเดียว นักจิตวิทยาคลินิกจากอูก้าได้ช่วยให้ข้อมูลต่าง ๆ และคำแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เพื่อน ๆ ทุกคนสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละคน

  1. “เรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาที่เกิดขึ้น”

เพราะการที่เราวิ่งหนีปัญหาไม่ว่าจะวิ่งให้ไกลสักเพียงใด ปัญหาเหล่านั้นก็ไม่มีวันหายไปไหนเลย การที่เรายิ่งรับรู้ได้เร็วว่า “ตอนนี้โปรเจกต์มีปัญหาเรื่องนี้อยู่นะ” เราจะยิ่งสามารถหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น และถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่สามารถทำได้ดี 100% ก็ไม่เสียหายอะไร เพราะเราได้พยายามอย่างสุดความสามารถแล้ว ในทางกลับกัน หากเรากลัวที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา ทุกอย่างอาจจะสายเกินแก้ และจะกลายเป็นว่า ทุกอย่างยังอยู่ที่ 0%

.

  1. “เจ้าความผิดพลาดจะไม่ได้อยู่กับเราไปตลอดกาล”

ทุกความพลาดพลั้งในหน้าที่การงานอาจทำให้เรารู้สึกแย่ หรือไม่กล้าที่จะทำอะไรอีกเลย แต่เมื่อเวลาผ่านไปแล้วได้มองย้อนกลับไปในอดีต เราจะค้นพบว่าในเวลานี้ เราจะมีทางลัดที่ง่ายกว่าเดิม เพราะเราได้เรียนรู้และเติบโตจากบทเรียนแห่งความล้มเหลวที่ว่านี้นั่นเอง

.

  1. “ถอดบทเรียนที่ได้ เพื่อนำไว้ใช้ในอนาคต”

ทุกความผิดพลาดกลายเป็นครูของเราได้หากเราถอดบทเรียนจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้น โดยนำมาพิจารณาว่า แผนงานของตนเองมีช่องโหว่ตรงไหนที่เราสามารถอุดรอยรั่วได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำเหมือนในอดีต และยิ่งเข้าใจอดีตที่ผิดพลาดได้มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เรากล้าเผชิญกับความท้าทายในอนาคตได้มากขึ้น

.

  1. “อย่าคิดลบกับตัวเอง”

ถ้าเพื่อน ๆ คิดว่า “ฉันไม่เก่งเอาเสียเลย” “ทำไมฉันถึงทำได้แย่ขนาดนี้” จะยิ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลงตามความคิดที่เราบอกกับตัวเองในหัว เสียงวิจารณ์ภายในตัวเราทำให้เรากลัวที่จะ “ลองดูอีกสักครั้ง” หรือกลัวที่จะ “ลุกขึ้นสู้อีกสักหน่อย” ถ้าเราลองเปลี่ยนเสียงวิจารณ์ภายในให้กลายเป็นคำชื่นชมปลอบประโลมหัวใจของเราให้กลับมาสดใส และมี energy ที่จะฝ่าฟันทุกอุปสรรคที่เข้ามา การทำงานโดยภาพรวมก็จะดีขึ้นด้วย

  1. “ปรับความคาดหวังให้เหมาะกับสถานการณ์”

เมื่อเกิดอุปสรรคขึ้น โดยเฉพาะในแบบที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง หากเรามองเห็นว่าอุปสรรนั้นมาจากภายนอกตัวเราที่เหนือการควบคุม การปรับความคาดหวังใหม่ หรือ การปรับแผนงานใหม่ ให้สอดคล้องกับสถการณ์ที่เกิดขึ้นจะช่วยลดกดดัน ความเครียดที่จะต้องทำงานให้เสร็จภายในกำหนดเส้นตาย และเพิ่มไฟในการทำงานให้กลับขึ้นมาได้เร็วขึ้น หากพยามฝืนทำตามแผนเดิมต่อไปจะยิ่งทำให้กำลังในการทำงานลดลงลงเรื่อยๆ  

  1. “ขอความช่วยเหลือเมื่อคุณต้องการ”

หากต้องการความช่วยเหลือ ให้ส่งเสียงออกมา เพราะเพื่อน ๆ ไม่ได้เผชิญหน้ากับความท้าทายอยู่คนเดียว อย่าลืมว่ายังมีเพื่อนร่วมงานที่คอยช่วยกันนำพาโปรเจกต์ต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ ยังมีครอบครัว หรือคนที่คุณรักคอยเป็นกำลังใจอยู่ข้าง ๆ และท้ายที่สุด ยังมีอูก้าที่อยู่ตรงนี้เสมอ คอยรับฟังทุกเรื่องราว และคอยสนับสนุนเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คนเพื่อให้จัดการอุปสรรคไปได้

.

หากเพื่อน ๆ หกล้มระหว่างทางแห่งความสำเร็จจนได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะแผลเล็ก หรือแผลใหญ่ อูก้าก็จะคอยเป็นยาใจรักษาแผลให้เพื่อน ๆ จนหายดี มูฟออนและกลับมาลุกขึ้นเดินหน้าต่อไป…อีกครั้ง

ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues

#นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Sources:

Read More

เมื่ออาการทางกาย หลายครั้งสัมพันธ์กับอาการทางใจ

อ.สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาของอูก้า เล่าให้เราฟังว่า “หลายๆ คน เลือกที่จะเพิกเฉยกับความเครียดหรือความเจ็บปวดทางใจ จนกว่าอาการดังกล่าวจะถึงจุดพีคแล้วค่อยเข้ามาหาผู้เชี่ยวชาญ” แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถมาหาผู้เชี่ยวชาญได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อคลี่คลายความเครียดและความกังวลก่อนที่ทุกอย่างจะสายและพังทลายลงมา

.

โดยเราสามารถเริ่มต้นสังเกต “สัญญาณเตือน” ได้ว่า เรามีอาการเจ็บกายที่เกิดขึ้นจากการทำงานหรือไม่ เช่น ปวดหลัง ปวดท้อง หรืออาการปวดหัว ซึ่งอาการเหล่านี้มักถูกมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นผลปกติที่เกิดจากการทำงานหนัก แต่ที่จริงแล้ว อาการดังกล่าวก็เป็นเสียงสะท้อนของร่างกายที่กำลังบอกใบ้ว่าจิตใจของเรากำลังเหนื่อยล้าและเสียสมดุล

.

ดังนั้น ถ้ารักษาทางกายแล้วไม่ยอมหาย บางทีปัจจัยทางใจก็ต้องถูกเอามาพิจารณาด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งเราสามารถระบายความรู้สึกเหล่านี้ได้กับคนที่เราไว้ใจอย่างเพื่อน ครอบครัว หรือแฟน แต่ถ้าบางเรื่องเราไม่อยากเล่าให้คนรู้จักหรือคนที่เกี่ยวข้องฟัง การปรึกษากับนักจิตวิทยาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเยียวยาใจเราได้เช่นกัน

.

โดยเฉพาะในระยะหลังมานี้ การให้จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพจิตของบุคลากรในองค์กร ก็เป็นอีกส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางใจให้และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าใจ “ธรรมชาติ” ของตนเองได้ดียิ่งขึ้น เพื่อหาทางออกให้รู้สึกเหนื่อยล้าน้อยลงและพัฒนาตัวเราไปสู่เวอร์ชั่นที่มีความสุขกับชีวิตมากกว่าเดิม

.

อูก้าเชื่อว่าทุกปัญหามีทางออกเสมอ แต่ถ้าเพื่อนๆรู้สึกว่ายังต้องการหาใครสักคนมาร่วมทางเพื่อฝ่าฟันปัญหาไปด้วยกัน อูก้าก็พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างทุกคน และหวังว่าจะช่วยคลายความเหนื่อยล้าทางใจของเพื่อน ๆ ได้ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม

.

เพราะไม่ว่าใครก็ต้องการจุดพักใจที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับตัวเอง

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย : https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย : https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official :

https://lin.ee/6bnyEvy

Read More

ป้องกันภาวะหมดไฟ ด้วยสวัสดิการดูแลใจในระยะยาว

เพราะ Job Burnout ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจไปยังกิจกรรมที่ผ่อนคลาย แต่ต้องการการพูดคุยเชิงลึกถึงคุณค่าในตัวเองและการแก้ปมปัญหาต่างๆ ที่อาจจะพูดกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าตรงๆ ได้ยาก

.

Job Burnout หรือภาวะหมดไฟจากการทำงาน เป็นลักษณะความเครียดเฉพาะตัวที่ต่างจากความเหนื่อยล้าทั่ว ๆ ไป เนื่องจากความเหนื่อยล้าทั่วไปนั้นหากแวะทำกิจกรรมคลายเครียดก็พอจะบรรเทาลงได้ แต่ Burnout ไม่ได้เรียบง่ายแบบนั้น หากแต่ Job Burnout คือภาวะความเหนื่อยล้าทางร่างกายและอารมณ์ อันเกิดจาก…

.

🧐 การที่ตัวเรารับรู้ถึงความสำเร็จได้ยากขึ้น

🧐 รับรู้ถึงการเป็นตัวของตัวเองที่ค่อย ๆ เลือนหายไป

🧐 รู้สึกกดดันจากความคาดหวังในการทำงานของตัวเอง

.

ซึ่งสำหรับหลายๆ คน กว่าจะรู้ตัว ไฟก็ดับสนิทแถมยังโดนราดน้ำตาจนจุดไม่ติด ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีต่อใครเลยทั้งต่อตัวเราเอง ทั้งต่อทีมงาน และองค์กร

.

👀

ศูนย์การแพทย์เชิงวิชาการ Mayo Clinic จากรัฐมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเสนอคำถาม 10 ข้อ ที่เอาไว้ประเมินว่าพนักงานกำลังอยู่ในสภาวะหมดไฟทำงาน (Job Burnout) หรือไม่ ซึ่งสามารถสำรวจได้จากรายการต่อไปนี้:

.

1. เคยประชดประชัน พูดจาเสียดสีหรือจับผิดคนอื่นในที่ทำงานไหม?

2. รู้สึกไม่อยากออกไปทำงาน และเมื่อถึงที่ทำงานกลับไม่รู้ว่าจะเริ่มทำงานอะไรบ้างหรือเปล่า?

.

3. รำคาญใจหรือไม่สามารถอดทนต่อการกระทำหรือคำพูดของเพื่อนร่วมงานได้น้อยกว่าแต่ก่อนไหม?

4. รู้สึกว่าไม่อยากจะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ อีกต่อไป หรือคิดงานไม่ค่อยออกบ้างหรือเปล่า?

.

5. การจดจ่ออยู่กับงานเป็นเวลานานกลายเป็นเรื่องยากแล้วหรือยัง?

6. ไม่รู้สึกพึงพอใจในความสำเร็จที่เกิดจากงานของตนเองไหม?

.

7. รู้สึกผิดหวังเพราะรับรู้ว่างานของตนเองไม่ได้ดีอย่างที่คิดไว้ไหม?

8. เคยใช้อาหาร ยาเสพติดหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ให้ตัวเองรู้สึกดีจากความรู้สึกแย่ ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานหรือเพื่อนร่วมงานหรือไม่?

.

9. กิจวัตรการนอนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือเปล่า? (เช่น นอนหลับยาก นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อยๆ หรือนอนหลับฝันร้ายติดต่อกันหลายวัน หรือนอนหลับมากจนเกินไปจนไม่อยากตื่นไปทำงาน)

.

10. เคยทรมานจากอาการปวดหัว ปวดท้อง มีปัญหาการขับถ่ายหรือมีอาการผิดปกติทางกายที่หาสาเหตุไม่ได้ เมื่อจำเป็นจะต้องไปทำงาน หรือขณะทำงานอยู่บ่อย ๆหรือเปล่า?

.

🔥🔥🔥

หากพนักงานมีอาการดังกล่าวร่วมกัน แปลว่าระบบนั้นกำลังต้องการการยกเครื่องครั้งใหญ่เลยทีเดียว

.

และเพราะ Job Burnout ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจไปยังกิจกรรมที่ผ่อนคลาย แต่ต้องการการพูดคุยเชิงลึกถึงคุณค่าในตัวเองและการแก้ปมปัญหาต่างๆ ที่อาจจะพูดกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าตรงๆ ได้ยาก ในองค์กรขนาดใหญ่ที่เล็งเห็นว่าสุขภาพจิตเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาประสิทธิภาพ จึงได้จัด “โปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน (Employee assistance program หรือ EAP)” ซึ่งเป็นบริการทางจิตวิทยาให้กับพนักงานที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต หรือเสี่ยงต่อภาวะหมดไฟ

.

👩‍⚕️⛅️

อาจารย์ สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้าก็ฝากมาบอกทุกคนว่า “หมดไฟ หมดได้แต่อย่าหมดรักตัวเองนะคะ เราสามารถเติมไฟให้ตัวเองได้ด้วยการเริ่มต้นรักและดูแลหัวใจตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ค่ะ”

.

เพราะเราทุกคนในอูก้าพร้อมจะรับฟังทุกปัญหาและร่วมหาทางออกไปพร้อมกับเพื่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องที่คนวัยทำงานต้องแบกรับ โดยอูก้าขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่ทำงานหนักเพื่ออนาคตของตัวเองและคนที่คุณรัก – อย่าหักโหมจนลืมดูแลสุขภาพกายใจ หยุดพักแล้วแวะมาคุยเพื่อเติมไฟและพลังใจกันได้เสมอ เพราะคุณน่ะมีอยู่แค่คนเดียวในโลกเองนะ 🙂

.

.

อ้างอิง

.

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่คัดมาให้ทุกคน

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง

#WORKLIFEBALANCE #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์ #burnout #หมดไฟ

Read More

4 เทคนิคจัดชีวิตให้มี Work Life Balance

หากช่วงนี้คุณรู้สึกว่า อยู่ๆงานที่เคยทำเสร็จเร็วกลับเสร็จช้าลง, อยากทำงานให้เสร็จ ๆ ไปมากกว่าผลิตงานที่มีคุณภาพ หรืองานที่เคยชอบกลับกลายเป็นงานที่เราไม่อยากแม้แต่จะเริ่มต้น – อาจแปลได้ว่าตอนนี้สมดุลการทำงาน การใช้ชีวิต และการพักผ่อนของเราไม่ได้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม และอาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าหรือบ่อนทำลาย self esteem ได้ ถ้าหากเรายังคงใช้ชีวิตแบบเดิมโดยไม่แก้ไข วันนี้อูก้าเลยอยากชวนเพื่อนๆ มาเติมเพลิงแห่งความสุขกับการทำงานของเรากันอีกครั้งผ่าน tips เล็กๆ น้อยๆ ที่จะสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานของเรา

.

ก่อนอื่นเรามาลองจัดการปัญหานี้ด้วยวิธีการจด  to do list โดยการเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ อะไรที่ต้องใช้เวลาทำมาก อะไรที่ต้องใช้เวลาทำน้อย จากนั้นเราขอชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมาลองฝึกการบาลานซ์ชีวิตเพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น โดยอูก้าได้ลองรวบรวมวิธีการเซ็ตสมดุลย์ชีวิตที่น่าจะเป็นประโยชน์มาฝากทุกคนกัน 

หาจุดที่พอดีให้กับตัวเราเอง

ก่อนอื่นอาจต้องปรับเปลี่ยน mind set ของตัวเรากันก่อนว่าการที่เราไม่ได้ทำงานหามรุ่งหามค่ำหรือพักดูหนังสัก 1-2 ชั่วโมงไม่ได้แปลว่าเราไม่ขยัน เช่นเดียวกับการที่เราตอบอีเมล 2-3 รายการในวันหยุดพักผ่อนก็ไม่ถือว่า Work-life Balance ของเราพังลง  ทุกคนสามารถหาจุดที่พอดีของตัวเองได้ตามขอบเขตการรับได้ และไม่ทำให้เรารู้สึกว่ากำลังรบกวนเวลาพักผ่อน ถึงแม้ว่าในความพอดีของเราในวันนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต เพราะเราเติบโตขึ้น กิจวัตรบางอย่างอาจทำได้ไม่เหมือนเดิม  ซึ่งเวลาที่เหลือจากการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องต่าง ๆ ของตัวเราเองนะ

ทำงานเมื่ออยู่ในเวลางานและให้เวลากับตัวเองเต็มที่เมื่อหมดเวลางาน

หลายคนอาจจะเคยนำเรื่องงานกลับมาคิดที่บ้านซ้ำไปซ้ำมา ทำให้สมองของเราเกิดการหลั่งฮอร์โมนความเครียด และพาลทำให้ทั้งสภาพจิตใจและร่างกายของเรารู้สึกเหมือนไม่ได้รับการพักผ่อน  ดังนั้นเราจึงควรแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัวออกจากกันให้ชัดเจนผ่านการวางขอบเขตการทำงานในแต่ละช่วงเวลาของเรา โดยตั้งใจทำงานเมื่ออยู่ในเวลางาน ขอความช่วยเหลือเมื่อไม่สามารถทำงานนั้นได้ และให้เวลากับตัวเองเยอะ ๆ เพราะร่างกายของเราต้องการพักผ่อนเพื่อเสริมสร้างพลังใจเหมือนกัน

นอกจากนี้ การจัดโต๊ะทำงานหลังเลิกงานยังช่วยให้แยกพื้นที่การทำงานกับการพักผ่อนออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้เราไม่รู้สึกเหมือนต้องทำงานตลอดเวลา สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้อง Work From Home เรามาลองจัดมุมใดมุมหนึ่งของห้องให้เป็นสถานที่ทำงาน โดยพยายามเลือกที่สงบ จัดโต๊ะให้เหมือนกับโต๊ะที่ออฟฟิศและใช้มุมนี้ตลอด หากเปลี่ยนมุมไปเรื่อย ๆ จะทำให้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตในการทำงานปะปนกัน เมื่อถึงเวลาเลิกงานแล้ว ก็ชัตดาวน์คอมพิวเตอร์ ยืดเส้นยืดสายสักเล็กน้อย หาของอร่อย ๆ กิน ดูซีรี่ส์ที่ยังดูค้างไว้บนที่นอนของเรากันดีกว่า นอกจากนี้อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง และทานอาหารให้ให้ครบ 5 หมู่ กันด้วยนะ

พูดปฏิเสธในเรื่องที่ไม่สามารถทำได้

เป็นเรื่องปกติที่เราอาจถูกไหว้วานจากเพื่อนร่วมงานและงานบางอย่างที่ได้รับการไหว้วานอาจเป็นงานที่เราไม่ได้อยากทำ ซึ่งการปฏิเสธที่จะช่วยไม่ใช่เรื่องผิด ในทางกลับกัน เราสามารถลองชั่งน้ำหนักดูว่าสิ่งนั้นอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบเรามากเกินไปไหม จะทำให้เรากดดันหรือเครียดหรือเปล่า เราสามารถปฏิเสธอย่างนุ่มนวลได้ เพื่อไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานในภายหลัง และเพื่อดูแลจิตใจไม่ให้ต้องแบกรับความเหนื่อยล้ามากเกินไปของเราได้พร้อมๆ กัน

ใจดีกับตัวเองบ้าง

สิ่งสำคัญที่ควรปกป้องและรักษาไว้คือใจของตัวเราเอง เวลาที่รู้สึกว่าไม่ไหวควรฟังเสียงในใจตัวเองและหยุดพัก พยายามไม่ฝืน มันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรถ้าเราจะหยุดพักทำในสิ่งที่ชอบ ถึงแม้ว่าการทำงานหนักในตอนนี้อาจยังไม่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจมากนัก แต่ถ้าสะสมนาน ๆ ไปก็สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้เช่นกัน ทั้งนี้ เราสามารถหาแหล่งเพิ่มพลังงานให้ตัวเอง จากกิจกรรมเล็ก ๆ ที่เราชอบได้  เช่น การอยู่คนเดียวในที่เงียบ ๆ เพื่อทำให้ใจสงบ การขับรถชมวิวหลังเลิกงาน เป็นต้น

👩🏻‍⚕️💙

นอกจากนี้ อ.สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาคลินิกจากอูก้าก็อยากจะฝากกำลังใจเล็กน้อย ๆ ให้เพื่อน ๆ ทุกคนว่า “ของขวัญที่ดีที่สุดที่เราสามารถให้ตัวเองได้คือความสุขจากการพักผ่อนอย่างเพียงพอ มาเริ่มต้นมีความสุขด้วยการบาลานซ์ชีวิตของเรากันนะคะ”

.

ถ้าเพื่อน ๆ รู้สึกว่าปัญหาแต่ละอย่างมันหนักเกินจะรับไหว  รู้สึกว่ามีเรื่องราวอื่น ๆ ที่อยากระบาย หรือต้องการเพื่อนไว้รับฟังและคอยปลอบโยนอยู่ข้าง ๆ เวลาเหนื่อยและสับสน ทางอูก้ายินดีให้คำปรึกษาและพร้อมรับฟังเสมอ เพราะทุก ๆ เรื่องจากคุณสำคัญที่สุดสำหรับเรานะคะ

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

.

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

https://experience.dropbox.com/th-th/resources/work-life-balance

https://medium.com/the-logician/work-to-live-or-live-to-work-c8a1f6761e

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง #OOCAissues

#mentalhealth #stigma #selflove #expectation #WORKLIFEBALANCE #OOCAfeelings #OOCAreminder #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More