บริการดูแลใจกับอูก้า ! ของขวัญแด่ฉันคนเก่ง

“เพราะการรักตัวเองถือเป็นของขวัญที่ดีที่สุด”

เราอาจไม่เคยสังเกตว่าทุกเหตุการณ์ในชีวิต ไม่ว่าเรื่องเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ การหย่าร้าง การจากลา การเจ็บป่วย สามารถนำความเครียดและความทุกข์มาสู่ใจได้แบบง่าย ๆ แม้กระทั่งความเครียดในชีวิตประจำวันที่เราคิดว่าตัวเองรับมือได้ แต่ในที่สุดก็สามารถถูกครอบงำโดยไม่รู้ตัว เผลอปล่อยความรู้สึกให้ดำดิ่งสู่โลกที่มืดมนไม่เห็นทางออก ทำให้ชีวิตของเราเสียสมดุลและส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ

การศึกษาทางจิตวิทยามากมายแสดงให้เห็นว่าจิตใจและร่างกายของมนุษย์นั้นเชื่อมโยงกันอย่างเหนียวแน่น เมื่อสุขภาพจิตของเราแย่ลง สุขภาพร่างกายของเราก็ถูกกระทบไปด้วย และหากสุขภาพร่างกายอ่อนแอลง เราก็จะรู้สึก “แย่” ทางจิตใจ เพียงเท่านี้ก็รู้ได้แล้วว่าความคิดและความรู้สึกเราสำคัญต่อการเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่ง “ทัศนคติเชิงบวก” เป็นสิ่งที่ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีได้

เราสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตในทุก ๆ วันได้โดยการสร้างความยืดหยุ่น (Resilience) ซึ่งจะช่วยให้ปรับตัวเข้ากับความเครียดและฟื้นตัวจากช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในชีวิตได้ ความยืดหยุ่นไม่ใช่สิ่งที่เราเกิดมาแล้วก็มีเองโดยธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา คนที่มีความยืดหยุ่นจะมีความเป็นอยู่ที่ดีทางอารมณ์ ความสัมพันธ์ที่ดี (Healthy Relationship) และการมองโลกในแง่ดี สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพและการมีอายุยืน

เพราะร่างกายไม่เคยโกหก อย่าลืมฟังสิ่งร่างกายกำลังบอกคุณ

ยกตัวอย่างเช่น เราเกิดมีอาการปวดหัวตึงเครียด ร่างกายอาจกำลังบอกว่าเราต้องการความช่วยเหลือในการจัดการกับสิ่งที่อยู่ในใจ แต่เราก็พบว่ามันยากหากต้องรับมือกับทุกความรู้สึกที่เข้ามา หรือต้องหาทางดีลกับอะไรที่ซับซ้อนเพียงลำพัง แล้วเราจะเริ่มดูแลสุขภาพใจได้อย่างไร ?

ลองเปิดใจให้นักจิตวิทยาเข้ามาเป็นตัวช่วยในชีวิตประจำวันของคุณดูสิ

นักจิตวิทยาและจิตแพทย์สามารถช่วยรับมือกับความท้าทายและความเครียดที่ต้องเผชิญทุกวันด้วยการหารักษาความสมดุลทางใจไปพร้อม ๆ กับคุณ ปัจจุบันการใช้บริการด้านสุขภาพใจถือเป็นเรื่องปกติ การขอความช่วยเหลือหรือแสวงหาพื้นที่สบายใจไว้พูดคุยไม่ใช่เรื่องน่าอาย การรับบริการดูแลสุขภาพใจด้วยการปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยามีส่วนช่วยในการรักษาสมดุลชีวิตมากกว่าที่หลายคนอาจจะคิดถึง ไม่ว่าจะเป็น

💚 สร้างความมั่นใจให้เราสามารถเผชิญกับความท้าทายในชีวิต

💚 ช่วยให้เราจัดการกับความคิดและความรู้สึกที่ยากลำบากที่อาจรบกวนการทำงานและการใช้ชีวิต

💚 พัฒนาทักษะการสื่อสารและการแก้ปัญหาอันเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสัมพันธ์กับคนรอบตัว

💚 แนะนำวิธีจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นและมุมมองเชิงบวก

💚 สร้างเสริมความสามารถในการจัดการความรู้สึกที่รุนแรง ความคิดเชิงลบ และพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย

เริ่มต้นรักตัวเองทำได้ไม่ยากเพียงแค่เปิดใจลองพูดคุยกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อให้เราได้เป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีกว่าเดิม “อูก้าแอปพลิเคชันคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านวีดีโอคอล” เป็นอีกหนึ่งของขวัญที่คุณสามารถมอบให้ตัวเองได้ เพราะทุกปัญหาใจไม่ควรถูกมองข้าม #ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ไม่ต้องกลัวถูกตัดสิน สามารถพูดคุยได้ทุกที่ทุกเวลาที่คุณต้องการ เพราะอูก้ามีบริการมากมายเพื่อดูแลใจของทุกคน ไม่ว่าจะเป็น..

💙 ผู้เชี่ยวชาญที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี

💙 ปรึกษาได้ทุกปัญหาส่วนตัวและอาการของความเครียด

💙 สะดวก ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวสูง

💙 แบบทดสอบความเครียดเพื่อการประเมินที่เชื่อถือได้

💙 แพ็กเกจบริการหลากหลายที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าองค์กร

💙 มีการประเมินผลความเครียดเป็นตัวเลขเพื่อให้เห็นผลได้ชัดเจน

💙 มีระบบรายงานความเครียดและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเฉพาะรายบุคคล

รู้อย่างนี้แล้ว อย่ารอช้าที่จะหันมา “รักตัวเอง”

เพื่อสุขภาพกายและใจ…มาเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยด้วยการปรึกษานักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของอูก้าได้เสมอ ดาวน์โหลดเลย 👉🏻 https://ooca.page.link/TE5S

นอกจากนี้อูก้ายังมีสารพัดวิธีฮีลใจ ที่มาพร้อมโปรโมชั่นดี ๆ อีกมากมาย ติดตามเพื่อรับสิทธิพิเศษก่อนใครได้ที่ Line Official 👉🏻 https://lin.ee/6bnyEvy

Read More

“เครียดสะสม” เมื่อสังคมไทยทำลายสุขภาพจิตมากเกินไป!

ในสถานการณ์โควิด-19 ที่คงอยู่มายาวนานร่วมเกือบสองปีแบบนี้เชื่อว่าหลายคนก็คงเครียดกันไม่น้อย ไหนจะยังมีข่าวสารต่าง ๆ ที่สร้างความหดหู่ตลอดเวลาอีก บางครั้งเราเองก็ไม่รู้ว่าความเครียดที่ตัวเองกำลังเจออยู่กลายเป็นความ ‘เครียดสะสม’ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพใจโดยไม่รู้ตัว

แน่นอนว่าความเครียดสะสมนั้น ย่อมเป็นผลให้เกิดความหมดไฟในการทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งความหมดไฟนี้เองก็อาจนำไปสู่การเกิดอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมมากมาย เช่น การพยายามหลีกเลี่ยงการคิดเรื่องโควิด-19 หรือความรู้สึกเบื่อหน่ายในการทำงาน รวมไปถึงอาการของภาวะซึมเศร้าได้ [รับสาระเกี่ยวกับความเครียดสะสมเพิ่มเติมได้ที่: https://bit.ly/3zClJTz ]

นอกจากนี้ การสำรวจในสหรัฐอเมริกาหลายแห่งได้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ต่อสุขภาพจิต โดยผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าทุกเดือนที่ผ่านมา ผู้คนจำนวนมากได้รายงานว่าโควิด-19 ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของพวกเขาเป็นอย่างมาก

ยิ่งยอดติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น เราก็ยิ่งเครียดสะสมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

เมื่อเราเห็นยอดผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จากการติดตามข่าวรายวัน จนไม่มีวี่แววว่าจะควบคุมได้เลย แน่นอนว่าเราก็อาจจะเกิดความรู้สึกหวาดระแวงว่าคนรอบข้างจะเป็นผู้ติดเชื้อไหม หรือแม้แต่กังวลว่าตัวเองอาจติดเชื้อแล้วก็ได้แค่ไม่แสดงอาการ ซึ่งความกลัวเหล่านี้เองก็ย่อมทำให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้น บางครั้งก็อาจนำไปสู่ความเครียดได้ และเมื่อเครียดมาก ๆ ก็อาจเป็นผลให้เกิดความเครียดสะสมได้ด้วย

งานวิจัยใน International Journal of Environmental Research and Public Health (2021) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความกลัวต่อเชื้อโควิด-19 เพื่อพิสูจน์ว่าความกลัวเหล่านี้ส่งผลต่อความเครียดได้หรือไม่ โดยงานวิจัยนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ความกลัวต่อเชื้อโควิด-19 ทำให้เกิด ‘ความเครียดสะสม’ ได้จริงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนในสถานการณ์โควิด-19 เองก็เป็นผลให้เกิดความเครียดสะสมได้เหมือนกัน เพราะการที่ไม่รู้ว่าการแพร่ระบาดครั้งนี้จะคลี่คลายลงตอนไหน และจะกลับมาสู่สภาวะปกติได้เมื่อไหร่ สร้างความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก ดีไม่ดีก็อาจนำไปสู่ความเครียดสะสมได้ แม้ว่าเราปฏิบัติตามมาตราการของภาครัฐอย่างเคร่งครัด แต่การแพร่ระบาดครั้งนี้ก็ยังไม่มี่วี่แววว่าจะยุติลงในระยะเวลาอันใกล้นี้

ความเป็นอยู่ของประเทศในระยะยาว ก็ทำให้เราเครียดสะสมได้เหมือนกัน

ต้องยอมรับว่าความเป็นอยู่ในประเทศไทยตอนนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเครียดสะสมเป็นอย่างมาก เราจะเห็นได้ว่าผู้คนไม่ได้รับความต้องการขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงมีเพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอด เพราะการทำงานของรัฐที่แทบจะไม่มีการสร้างระบบและพัฒนานโยบายที่เอื้อต่อสุขภาวะของผู้คนในสังคม

และยิ่งในช่วงการระแพร่ระบาดของโควิด-19 แบบนี้ หลายคนเองก็ขาดแคลนด้านปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค หรือแม้แต่ความความมั่นคงปลอดภัยเองที่เราเห็นตามข่าวสารในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็น ภัยพิบัติน้ำท่วมในจังหวัดต่าง ๆ หรือยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 เองก็ตาม ถ้ายิ่งเราต้องเจอข่าวสารรายวันที่ผู้คนไม่ได้รับความเป็นอยู่ที่ดีจากรัฐ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายคนจะเครียดสะสมกันมากขึ้น

งานวิจัยใน Psychology, Health & Medicine (2021) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและความเป็นอยู่ที่ดีในช่วงโควิด-19 ชี้ให้เห็นว่า ความเป็นอยู่ที่ดีช่วยให้ผู้คนมีความวิตกกังวลลดลงและสามารถจัดการกับความเครียดสะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เราจะเห็นได้ว่าความเป็นอยู่ที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญมาก อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับสุขภาพกาย ใจ สังคม และปัญญา โดยความเป็นอยู่เองก็ช่วยให้สังคมเข้าใจสุขภาพในความหมายกว้างขวางขึ้นว่า สุขภาพดีไม่จำกัดเฉพาะแค่เรื่องสุขภาพทางกายอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้น ถ้าหากความเป็นอยู่ไม่ดี ก็ย่อมทำให้เกิดความเครียดสะสมจนนำไปสู่การบั่นทอนสุขภาพใจให้พังไม่เป็นท่า

การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (CBT) ด้วยตัวเองก็เป็นตัวช่วยในการคลายเครียดที่ดี

ความเครียดสะสมมักจะเกิดจากการที่เรามีเรื่องที่เครียดมาก ๆ มาผสมปนเปกันไปหมดจนไม่สามารถคลี่คลายได้ มันก็เหมือนการถือของหลาย ๆ อย่างในมือของเรา แน่นอนว่าเราไม่สามารถถือของได้ทั้งหมดภายในสองมือนี้ได้ ถ้าหากเราลองวางของลงบนพื้นลงทั้งหมด และลองจัดการหยิบไปทีละอย่างก็ช่วยให้จัดการกับของต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ความเครียดสะสมของเราก็เหมือนกัน หากเราลองคลายเครียดด้วยการสำรวจตัวเองจากการบำบัดความคิดและพฤติกรรมเพื่อให้เข้าใจความคิด ความรู้สึก และปัญหาที่รบกวนใจเรามากขึ้น

“การบำบัดความคิดและพฤติกรรม” คืออะไร?

การบำบัดความคิดและพฤติกรรม หรือ Cognitive Behavior Therapy (CBT) ดั้งเดิมแล้วเป็นศาสตร์ที่ใช้กับโรคซึมเศร้า แต่ปัจจุบันนี้สามารถบำบัดกับภาวะอารมณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงความเครียดเองก็ตาม โดยมีกระบวนการที่ปรับความคิด หรือการรู้คิดของเราให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปในเชิงบวกมากขึ้น และก็ยังมีการปรับพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม

แล้วเราสามารถใช้การบำบัดความคิดและพฤติกรรมด้วยตัวเองได้ไหม?

หลายคนอาจจะคิดว่าการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต้องเข้ารับการบำบัดกับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ความจริงแล้วเราสามารถทำได้ด้วยตัวเองแบบพื้นฐาน โดยการเขียนลงบนกระดาษเพื่อสำรวจความคิด ความรู้สึกหรือปัญหาที่กำลังรบกวนใจของเราว่ามีอะไรบ้าง? พอเราเห็นถึงปัญหาแล้วก็มาดูต่อว่าเราสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ด้วยวิธีไหนได้บ้าง? และลองเขียนตัวเลือกในการจัดการความเครียดสะสมของเรา เช่น ฟังเพลง วาดรูป หรือแม้แต่ขอคำปรึกษาจากเพื่อนก็ยังได้ แล้วลองทำดูว่าสิ่งที่เราเขียนลงไปบนกระดาษนี้ พอเราทำไปแล้วมันได้ผลสำหรับเราหรือไม่ ถ้าทำแล้วยังไม่ได้ผลหรือว่าไม่ช่วยให้เราคลายเครียดเลย ก็แค่ตัดออกไปและลองทำวิธีอื่นดูไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอวิธีการจัดการที่ใช่สำหรับเรา

แม้ว่าความเครียดจะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับทุกคน แต่พอเราเครียดสะสมมากเข้าก็อาจทำให้สุขภาพใจพังไม่เป็นท่าได้ และยิ่งในสถานการณ์แบบนี้ ก็ยิ่งทำให้เราเครียดสะสมจนส่งกระทบทั้งสุขภาพกายและใจได้เป็นอย่างมาก ดังนั้น เมื่อเรารู้ตัวว่ากำลังเผชิญกับความเครียดสะสมอยู่ก็ควรรีบสำรวจตัวเองว่าปัญหาที่เรากำลังคิดและรู้สึกอยู่เป็นอย่างไร? และมีวิธีไหนที่เราสามารถจัดการกับปัญหาได้บ้าง? ก็ช่วยให้เราคลายเครียดจากความวุ่นวายรอบตัวได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

หากใครที่กำลังมองหาตัวช่วยในการจัดการกับความเครียด อูก้าพร้อมเป็นผู้ช่วยของคุณเสมอ ด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มาพร้อมแบบทดสอบความเครียดให้ทุกคนสามารถสำรวจระดับความเครียดด้วยตนเองได้อย่างไม่เสียค่าใช้จ่าย และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจ อย่างจิตแพทย์และนักจิตวิทยาที่พร้อมรับฟังและให้คำปรึกษาทุกทุกปัญหา มั่นใจได้ว่าทุกอย่างจะเป็นความลับ ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ที่ไหนเวลาใดก็มาหาเราได้เสมอ เรื่องของใจให้เรารับฟังนะ 😊💙

รับแบบทดความความเครียดฟรี ! ที่มาพร้อมกับโปรโมชั่นและสารพัดวิธีดูแลใจตนเองอีกมากมายได้ที่ Line Official 👉🏻 https://lin.ee/6bnyEvy

หรือดาวน์โหลดเลย ได้ทั้ง IOS และ Android 👉🏻 https://ooca.page.link/WvEw

อ้างอิงข้อมูลจาก:

Dymecka, Joanna, Rafał Gerymski, and Anna Machnik-Czerwik. “How does stress affect life satisfaction during the COVID-19 pandemic? Moderated mediation analysis of sense of coherence and fear of coronavirus.” Psychology, Health & Medicine (2021): 1-9.

Koçak, Orhan, Ömer Erdem Koçak, and Mustafa Z. Younis. “The psychological consequences of COVID-19 fear and the moderator effects of individuals’ underlying illness and witnessing infected friends and family.” International journal of environmental research and public health 18.4 (2021): 1836.

Healthline: https://bit.ly/3ynPlU0

The 101.World: https://bit.ly/3gJHN89

Read More

Work From Home นาน ผลาญพลังงานชีวิต จน “ไม่มีสมาธิทำงาน”

ช่วงนี้หลายคนคงรู้สึกว่าไม่มีสมาธิในการทำงานกันสักเท่าไหร่ จากที่เคยทำงานแค่หนึ่งชั่วโมงก็เสร็จ กลับกลายเป็นว่าเดี๋ยวนี้ต้องใช้เวลาเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่า ถ้าเป็นเมื่อก่อนแค่หาพื้นที่ส่วนตัวอยู่คนเดียวก็ช่วยให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้นแล้ว แต่พอต้องมาทำงานอยู่บ้านยาว ๆ เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลายเป็นว่าสมาธิสั้นลงซะงั้น พองานไม่เดินหน้าไปไหนสักที เราก็ยิ่งกังวลว่างานจะทำเสร็จไหมจนนอนไม่หลับ ต้องลุกขึ้นมาเปิดคอมทำงานต่อจนแทบไม่มีสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว เพราะอะไรกันนะ ?

เพราะ “บ้าน” ทำให้เรากังวล จนไม่มีสมาธิในการทำงาน

โดยปกติแล้วเรามักจะคุ้นชินตามสัญชาตญานว่าบ้านต้องเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหลังจากที่เลิกงานมาเหนื่อย ๆ แต่โควิด-19 ทำให้หลายคนต้องปรับเปลี่ยนไปทำงานอยู่ที่บ้าน เราจึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการพักผ่อนไปควบคู่ไปกับการทำงานด้วย พอต้องทำงานอยู่ที่บ้านแน่นอนว่าสภาพแวดล้อมภายในบ้านย่อมรบกวนการทำงานจนทำอะไรก็ไม่มีสมาธิ เคยไหมที่เรานั่งทำงานอยู่แล้วเห็นว่า ‘บ้านไม่สะอาด’ จนรู้สึก ‘รกหูรกตา’ เลยต้องลุกขึ้นมาทำความสะอาด เพราะเราต้องคอยมานั่งกังวลเรื่องที่บ้านและยังต้องมากังวลเรื่องงานอีกก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่จะไม่มีสมาธิในการทำงาน

งานวิจัยใน Emotion Journal (2007) เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลและประสิทธิภาพในการรู้คิด (Cognition) ได้แสดงให้เห็นว่าคนที่มีความกังวลมักให้ความสนใจกับสิ่งเร้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน เมื่อปริมาณงานของเราทั้งจากที่ทำงานและที่บ้านสูงขึ้น เราจำเป็นต้องใช้สมาธิมากขึ้นตามไปด้วย แต่กลายเป็นว่ามันกลับส่งผลให้เราเกิดความวิตกกังวลมากกว่าเดิม นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงหลีกเลี่ยงความวิตกกังวลจากงานตรงหน้าด้วยการให้ความสนใจกับสิ่งเร้ารอบข้างภายในบ้านมากกว่านั่นเอง

และเมื่อภาระงานทั้งจากที่ทำงานและที่บ้านผสมปนเปกันไปหมด เราก็ยิ่งต้องใช้พลังสมองมากเพื่อจัดลำดับความสำคัญว่าควรทำอะไรก่อนหรือหลังจนเป็นผลให้เกิดอาการสมองล้ามากขึ้น ซึ่งอาการนี้เองก็ส่งผลให้ความคิดของเรายุ่งเหยิง กลายเป็นความวิตกกังวลจนไม่สามารถจดจ่อกับเรื่องต่าง ๆ ได้ทีละอย่าง และสุดท้ายเลยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้น้อยลง ถ้ายิ่งเราต้องทำงานที่ต้องใช้สมาธิหรือซับซ้อนมาก ก็ยิ่งฟุ้งซ่านและไม่สามารถจดจ่อกับมันได้เลย

กังวลจนนอนไม่หลับก็ทำให้ไม่มีสมาธิได้เหมือนกัน

เพราะการอยู่บ้านอย่างที่หลายคนรู้ว่าแทบไม่มีสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวเลย ทำให้เราทำงานตั้งแต่เช้าถึงเย็นจนลากยาวไปถึงค่ำกว่าจะเลิกงานได้ หรือแม้แต่ตอนที่นอนหลับอยู่ก็ยังกังวลเรื่องงานจนต้องลุกจากเตียงมาเปิดคอมทำงานต่อให้เสร็จ หลายคนต้องพักผ่อนไม่เพียงพอเพราะต้องทำงานแบบนี้อยู่เป็นประจำจนร่างการอ่อนเพลียจากการหักโหมงาน เมื่อร่างกายของเรารับมือกับมันไม่ไหวก็เป็นผลให้ไม่สามารถจดจ่อกับงานได้นานและทำงานได้ช้าลงกว่าตอนที่ทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ

งานวิจัยใน Journal of Health Psychology (2021) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการนอนไม่หลับและการไม่มีสมาธิ แสดงให้เห็นว่าคนที่มีอาการนอนไม่หลับจะมีสมาธิหรือความสามารถในการจดจ่อกับงานและตัดสินใจอย่างถูกต้องได้น้อยลงกว่าเดิม เป็นผลให้เราจดจ่อกับสิ่งเร้ารอบตัวภายในบ้านมากกว่างานที่ต้องทำจนไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

หากเรามีความกังวลอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม สมองของเราจะเต็มไปด้วยอคติและให้ความสนใจกับเรื่องที่กำลังวิตกกังวลมากขึ้น และความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องนี้เองก็ส่งผลให้นอนไม่หลับได้ หากเราอดนอนมาก ๆ หรือง่วงแต่นอนไม่หลับ ความจำในการทำงานก็ถูกทำลายจนเสื่อมสภาพและความสามารถในการจดจ่อกับงานก็ลดลงเป็นอย่างมาก เพราะอาการเหนื่อยล้าจากการพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นผลให้ไม่มีสมาธิในการทำงานมากขึ้นจนนำไปสู่การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพได้

แค่เปลี่ยนมุมมองก็สามารถรับมือกับการไม่มีสมาธิในการทำงานได้แล้ว

แม้ว่าการอยู่บ้านนาน ๆ จะทำให้เราไม่มีสมาธิในการทำงาน แต่เราก็ยังต้องทำงานอยู่ที่บ้าน จนกว่าวิกฤติครั้งนี้จะผ่านพ้น การพยายามจัดการและรับมือกับปัญหาก็เป็นเรื่องที่ดีสำหรับคนวัยทำงานหลายคน เราจะได้ไม่ต้องทรมานกับการไม่มีสมาธิทำงานที่บ้านอีกต่อไป

😣 จัดการกับสิ่งเร้าที่รบกวนสมาธิของเราให้ได้มากที่สุด

การถูกขัดจังหวะในการทำงานถือว่าเป็นตัวทำลายสมาธิชั้นดีเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการขัดจังหวะที่สั้นแค่ไหนก็ตาม เพราะเมื่อเรากำลังจดจ่อกับงานไปได้อย่างราบรื่นแต่ดันมีสิ่งเร้ามารบกวนสมาธิจนหลุดออกจากวงจรในการทำงานก็สร้างความน่าหงุดหงิดใจให้กับเราไม่น้อยเลย ถึงแม้ว่ามันเป็นไปได้ยากที่เราจะจัดการกับสิ่งเร้าที่มารบกวนสมาธิของเราไปได้ทั้งหมด แต่ถ้าเราเริ่มต้นจากปิดการแจ้งเตือนบนโทรศัพท์ประมาณสามชั่วโมง และลองโฟกัสไปที่งานเพียงอย่างเดียวก็ช่วยกำจัดสิ่งเร้าที่เป็นต้นตอของการรบกวนที่ใหญ่ที่สุดไปได้หนึ่งอย่าง และก็ยังมีเวลาได้จดจ่อกับงานอย่างเต็มที่อีกด้วย

⏰ จัดตารางเวลาให้เหมาะสมกับความเป็นตัวเรา

ตารางเวลาช่วยให้เราสามารถจัดระเบียบความคิดของเราได้ดีว่าตั้งแต่เวลาไหนที่ต้องทำงานหรือถ้าเป็นเวลานี้ควรได้พักผ่อนแล้ว เพราะสมองของเราก็ไม่สามารถทำงานนาน ๆ ได้ตลอดทั้งวันเหมือนกับร่างกายของเรา ถ้าเรามีเวลาพักผ่อนที่ชัดเจน เช่น ภายในหนึ่งวันเรามีเวลาพักผ่อน 3 ครั้ง แบ่งออกเป็น ช่วงเช้า 30 นาที ช่วงพักเที่ยง 1 ชั่วโมง ช่วงบ่ายอีก 30 นาที  หรืออาจจะหาเวลาสร้างความบันเทิงให้กับตัวเองด้วยการฟังเพลงประมาณ 10 นาที มันก็ช่วยลดอาการสมองล้าที่นำไปสู่การไม่มีสมาธิได้ หรือถ้าหากจำเป็นต้องทำงานเกินเวลาที่กำหนดก็อย่าลืมหยุดพักผ่อนหลังจากที่ทำงานเสร็จแล้ว

ในช่วงสถานการณ์แบบนี้เราคงหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมเดิม ๆ ที่น่าเบื่อหน่ายจากการกักตัวอยู่บ้านไม่ได้อยู่แล้ว แต่ถ้าหากพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงจนส่งผลต่อสุขภาพใจของตัวเอง เช่น กังวลจนนอนไม่หลับ หรือกังวลจนไม่มีสมาธิทำงาน มันก็อาจนำไปสู่อาการซึมเศร้าหรือส่งผลให้ทำลายสุขภาพใจของเราได้ ถ้าหากเราให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยการไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็เป็นตัวช่วยอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถกลับมามีความสุขกับทุก ๆ เรื่องได้เหมือนเดิม

หากใครที่กำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญมาดูแลใจของคุณ จิตแพทย์และนักจิตวิทยาของอูก้าพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างและช่วยเหลือคุณทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณกังวลจนนอนไม่หลับ หรือกังวลจนไม่มีสมาธิทำงานก็ตาม เราก็พร้อมให้บริการดูแลสุขภาพใจของคุณเสมอ 😊💙

[ด่วน🔥] สำหรับผู้ใช้บริการครั้งแรก รับเลยส่วนลดถึง 10%

เพียงกรอกรหัส NEWCOMER289 ในการจองนัดหมายครั้งแรกผ่านแอปฯ ooca

วันนี้-30 กันยายนนี้เท่านั้น ดาวน์โหลดเลย 👉🏻 https://ooca.page.link/x78u

อ้างอิงข้อมูลจาก:

Eysenck, Michael W., et al. “Anxiety and cognitive performance: attentional control theory.” Emotion 7.2 (2007): 336.

Miller, Christopher B., et al. “Tired and lack focus? Insomnia increases distractibility.” Journal of health psychology 26.6 (2021): 795-804.

BBC: https://bbc.in/2Wwzk13

Forbes: https://bit.ly/3gx6EMg

The Conversation (1): https://bit.ly/3Dh5Q8d

The Conversation (2): https://bit.ly/2Wt0VAj

Read More

Hello , Anxiety ขอบคุณที่อยู่กับฉันในวันที่โดดเดี่ยว

Hello, Anxiety

You’ve come to keep me company

Tonight, a lonely soul

I’ve tried to learn the art of letting go

สวัสดีความกังวลใจ

เธอเข้ามาอยู่เป็นเพื่อนฉัน

คืนนี้ ที่ฉันรู้สึกโดดเดี่ยว

ฉันได้เรียนรู้ความสวยงามของการปล่อยวาง

แต่ละคืนเรานั่งอยู่เพียงลำพังในโลกใบเล็กของตัวเอง บอกไม่ได้เลยว่าตอนนี้ทุกอย่างมันยากลำบากเพราะอะไร ทำไมเราถึงต้องร้องไห้ ทำไมเราถึงต้องแบกรับความเหนื่อยล้า เรากังวล เราเป็นทุกข์ เรามีคำถามในใจมากมายที่หาคำตอบไม่ได้

วันที่โลกที่มืดมน เราได้แต่ภาวนาให้ตัวเองพบเจอความสว่างอีกครั้ง 💫

ความกังวลพัดมาเกาะกินใจเรา บางสิ่งสามารถเข้าใจและยอมรับได้แต่บางอย่างกลับมองเห็นไม่ชัดเจน เกิดเป็นหมอกควันรบกวนความรู้สึก ใช้เวลาเนิ่นนานกว่าจะหยิบมันขึ้นมาแก้ไข ใช้เวลาทำใจกว่าจะโยนมันทิ้งไป ไม่ต่างอะไรจากการสะสมขยะจนล้นถัง ไม่ได้ระบายไม่ได้ปล่อยวาง สุดท้ายก็กลายเป็นความกังวลที่เข้ามาทักทายไม่มีสิ้นสุด

What if the world won’t bend my way?
What will it take to be happy?

ไม่รู้ว่าตอนนี้เรายืนอยู่ที่จุดไหน แต่ปลายทางฉันอยากเป็นคนที่มีความสุข หลายครั้งเราถามตัวเองว่าทำไมคนรอบตัวถึงมีความสุขยกเว้นเรา “ทำไมชีวิตคนอื่นถึงดูง่าย มีแค่ชีวิตเราที่ยากเสมอ” เราหวังเพียงสักครั้ง โลกนี้จะเข้าข้างเราและทำให้เราเป็นคนที่มีความสุขที่สุด แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้ อดีตยังคงเป็นความเจ็บปวดเสมอ อนาคตที่รอคอยก็ยังมาไม่ถึง สิ่งที่เราสัมผัสได้อาจเป็นเวลา “ปัจจุบัน” ที่เรานั่งอยู่ตรงนี้ เพื่อรับรู้การมีอยู่ของ “ตัวเอง”

เหมือนกับที่เราโหยหายความเป็นจริง อะไรก็ได้ที่เข้ามาทำให้เรารับรู้การมีอยู่ของตัวเอง

I’m craving something real, a kind of rush that I can feel
The night is rough you know, I’ve cried but I won’t dare to let it show

เราอาจเดินหลงทางไปบ้าง บอกตัวเองนะว่า “ไม่เป็นไร”
เราอาจเคว้งคว้างในค่ำคืนที่ไม่รู้จะผ่านไปอย่างไร กอดตัวเองไว้นะ เราจะ “ไม่เป็นไร”

พรุ่งนี้จะยังคงเป็นวันใหม่ พระอาทิตย์จะยังทักทายเราด้วยแสงสว่างเสมอ
เราไม่จำเป็นต้องกลัวเมื่อ “ความกังวล” เดินเข้ามา

เสียงในหัวที่บีบให้เราทรมานอาจเป็นเพราะความกังวลนั้นไม่มีคำตอบ
‘ถ้าฉันไม่ทำแบบนั้นจะเป็นอย่างไร’
‘ฉันที่เป็นแบบนี้ ยังเป็นที่ต้องการอยู่ไหม’
‘พรุ่งนี้ทุกอย่างอาจเลวร้ายกว่าที่คิด’

นี่คือสิ่งที่ความกังวลบอกเรา ตอกย้ำว่า ‘เราหยุดคิดไม่ได้เลย’ คนรอบตัวก็คอยบอกเสมอว่า ‘คิดมากเกินไป’
อย่าโกรธเกลียดที่ตัวเองเป็นแบบนี้เลย ไม่ผิดอะไรถ้าเราจะมี “ความกังวล” เป็น “เพื่อน”
เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะอยู่กับความกังวล ลองเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอยู่กับความกังวลแบบที่ไม่มากไปไม่น้อยไป

แต่ละคนจัดการความกังวลได้ไม่เหมือนกัน รู้สึกกับมันในระดับที่ต่างกัน

ถ้าต้องอดทนกับทุกอย่าง เราเองคงจะ “เหนื่อย” มาก แต่การบอกให้เลิกกังวลคงเป็นไปได้ยาก ถ้าวันไหนความกังวลก่อตัวขึ้นในใจ อย่าเพิ่งรีบปฏิเสธสิ่งที่มันกำลังรบกวนใจ อย่าเพิ่งเก็บกดมันไว้ ให้เราใช้เวลาอยู่กับความกังวลนั้นสักพัก จนเราเรียนรู้ว่าจะ “ปล่อยวาง” มันได้อย่างไร ปลายทางหลังผ่านพ้นความมืดนี้ไป อาจไม่มีอะไรเลวร้ายอย่างที่คิด

ไม่เป็นไร เราบอกลาความกังวลได้เสมอ
ฉันจะไม่เป็นไร
เธอจะไม่เป็นไร
เราจะไม่เป็นไร

เชื่อเถอะว่าเราผ่านมันไปได้ เราอยู่กับความกังวลได้ บางครั้งเราอาจต้องเดินออกมาจากบางสิ่งบางอย่าง เลิกคาดเดากับอะไรที่ยังมาไม่ถึง พาตัวเองกลับมาโอบกอดความรู้สึกในปัจจุบันอีกครั้ง 🙂

บอกตัวเองว่าเราเก่งพอที่จะผ่านทุกอย่างไปได้ในวันที่ความกังวลเข้ามาทักทาย
เราอาจเติบโตในอีกรูปแบบหนึ่งโดยมีความกังวลเป็นเพื่อนร่วมทางไปกับคุณ

ไม่ผิดเลยถ้าเราเดินออกจากโลกที่มืดมิดไม่ได้ ถ้าวันไหนความกังวลนั้นแผ่ขยายจนใจเรารับไม่ไหว อยากขอความช่วยเหลือจากใครสักคน อูก้าพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คุณได้พักหัวใจ เรามีจิตแพทย์และนักจิตวิทยามากมายในแพลตฟอร์มให้คำปรึกษาออนไลน์ คอยรับฟังและดูแลใจคุณทุกที่ทุกเวลา ให้อูก้าเป็นอีกหนึ่งกำลังใจดี ๆ ที่จะเดินไปกับคุณนะ 💙

🌟 ฟังเพลง Hello, Anxiety ของ Phum Viphurit ได้ที่นี่ https://bit.ly/3zrBsow

#OOCAinsight #PhumViphurit #HelloAnxiety

________________________________
⠀⠀⠀⠀
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/KFYm

Read More

เดี๋ยวดาวน์ เดี๋ยวนอยด์ เมื่อไหร่โควิดจะหายไปให้เราได้ใช้ชีวิตปกติซะที ?

เป็นไหม ? รู้สึกนอยด์ ๆ จากการเสพข่าวหรือเห็นในโซเชียลมีเดียว่าสถานการณ์โควิดในต่างประเทศเริ่มดีขึ้น คนประเทศอื่นเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ แต่เรายังต้องอยู่บ้าน work from home ไปไหนไม่ได้ อยากออกไปเที่ยวผ่อนคลาย ทำกิจกรรมและใช้ชีวิตแบบปกติซะที สุดท้ายกลายเป็นรู้สึกดาวน์กับตัวเอง

ไม่ใช่แค่นอยด์เพราะเบื่อ แต่ดูเหมือนเราจะนอยด์กับ “โควิด” สุด ๆ แล้ว

อาการนอยด์หรือหวาดระแวง (Paranoia) เป็นภาวะผิดปกติทางความคิดที่ทำให้เรารู้สึกระแวง สงสัยอย่างไม่มีเหตุผล เกี่ยวข้องกับวิธีคิดที่แปลกหรือผิดปกติ หากเป็นชั่วครั้งชั่วคราวกับเรื่องที่ใคร ๆ ก็นอยด์ อาจไม่นับว่าเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพ อย่างในช่วงโควิดสังเกตได้ว่าคนรอบตัวต่างก็ “นอยด์” กันไปหมด ไม่ต้องแปลกใจที่เราดาวน์ลง เพราะโควิดทั้งพรากความสุขและสั่นคลอนความปลอดภัยในชีวิตเรา

แต่ถ้าเรานอยด์กับโควิดจนอยู่ในจุดที่ใจเป็นทุกข์ ไม่สามารถควบคุมความคิดตัวเองได้ เราอาจดาวน์จนถึงจุดที่เรารับไม่ไหวอาจนำไปสู่โรคความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหวาดระแวง (Paranoid personality disorder : PPD) เป็นความหวาดระแวงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มักอยู่กับความสงสัย แม้ว่าจะไม่มีเหตุผลให้ต้องสงสัยก็ตาม เช่น คิดว่าคนอื่นไม่ชอบเรา รู้สึกไม่ไว้ใจใคร โดยเชื่อว่าผู้อื่นพยายามดูหมิ่น ทำร้าย หรือข่มขู่พวกเขาอยู่ตลอดเวลา

ด้วยชุดความคิดที่บิดเบือนนี้ทำให้ยากที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มีปัญหาในการเข้าสังคม ความผิดปกตินี้มักเริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและดูเหมือนจะพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง อาการนอยด์นั้นอาจไม่ใช่แค่เรื่องของความรู้สึกแต่เกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวช (mental illness) นับเป็นอาการที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์

อะไรทำให้เกิดความผิดปกติของบุคลิกภาพหวาดระแวง ?

แม้จะมีการศึกษามากมายแต่ก็ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แท้จริงของ PPD แต่อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางชีววิทยาและจิตวิทยาร่วมกัน พบว่าโรค PPD นั้นพบได้บ่อยในผู้ที่มีญาติหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคจิตเภท แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงทางพันธุกรรมระหว่างความผิดปกติทั้งสอง ประสบการณ์ในวัยเด็ก การถูกทอดทิ้ง ละเลยทางความรู้สึก รวมทั้งการบาดเจ็บทางร่างกายหรือทางอารมณ์อาจมีส่วนสำคัญต่อ PPD

จะรู้ได้ยังไงว่าเราแค่รู้สึกนอยด์หรือเสี่ยงต่อการเป็น PPD ?

ลองสังเกตความรู้สึกและความคิดของตัวเอง รวมถึงอาการดังต่อไปนี้ว่าเข้าข่ายหรือไม่

  • สงสัยในความสัมพันธ์ ความเคารพนับถือ หรือความเชื่อใจของผู้อื่น โดยคิดไปว่าผู้อื่นกำลังหลอกใช้หรือหลอกลวง
  • ไม่เต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลให้ผู้อื่นรู้ ระแวงเกินกว่าปกติ กลัวว่าข้อมูลจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด
  • เป็นผู้ที่ไม่ให้อภัยใครและชอบยึดถือความขุ่นเคือง
  • อ่อนไหวง่าย และขาดความสามารถในการวิเคราะห์วิจารณ์
  • พยายามตีความหมายที่ซ่อนอยู่ในคำพูดหรือท่าทีของคนอื่นเสมอ ๆ
  • รู้สึกเหมือนถูกโจมตีจากคนอื่น ทั้งที่ไม่มีลักษณะนั้นปรากฏให้เห็น
  • ตอบโต้ด้วยความโกรธและตอบสนองอย่างรวดเร็ว
  • เกิดความสงสัยซ้ำ ๆ โดยไม่มีเหตุผล เช่น คิดว่าคู่รักของตนนอกใจ เพื่อนนินทาลับหลัง
  • มักเย็นชาและเหินห่างในความสัมพันธ์กับผู้อื่น ชอบคนควบคุมและหึงหวง
  • มองไม่เห็นบทบาทของตนในปัญหา เชื่อว่าตนเองถูกต้องเสมอ
  • จัดการอารมณ์ไม่ค่อยได้ ผ่อนคลายไม่เป็น
  • ตั้งตนเป็นศัตรู ดื้อรั้น และชอบโต้แย้ง

หากมีหลายข้อที่ตรงกับตัวเรา อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าเรากำลังมีปัญหาสุขภาพใจ แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อทำการประเมินและวินิจฉัย สิ่งที่น่ากังวลคือ ผู้ที่เป็นโรค PPD มักไม่แสวงหาการรักษาเพราะไม่ได้มองว่าตนเองมีปัญหา เมื่อต้องเข้ารับการปรึกษา ทำจิตบำบัด วิธีรักษาจะเน้นไปที่การจัดระบบความคิด เพิ่มทักษะการเผชิญหน้าและรับมือกับปัญหาทั่วไป ตลอดจนการเสริมทักษะทางสังคม การสื่อสาร และความภาคภูมิใจในตนเอง เพื่อให้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น

กระบวนการการรักษาต้องอาศัยความไว้วางใจเป็นพื้นฐาน จึงเป็นเรื่องท้าทายที่จะสร้างความเชื่อใจกับคนที่เป็น PPD ส่วนใหญ่การใช้ยาไม่ใช่หัวใจหลักของการรักษาโรคนี้ อย่างไรก็ตามอาจมีการใช้ยาร่วมด้วย หากอาการนั้นรุนแรงมากหรือมีปัญหาทางจิตที่เกี่ยวข้อง เช่น ความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า เช่น ยาต้านเศร้า ยาต้านความวิตกกังวล ยากล่อมประสาท หรือยารักษาโรคจิตเภท

ไม่อยากนอยด์ง่าย นอยด์เก่ง มีวิธีไหนที่เยียวยาใจตัวเองได้บ้าง ?

หากคุณเพียงแค่รู้สึกดาวน์ นอยด์กับสถานการณ์โควิด ท้อแท้กับสิ่งที่เป็นอยู่ อาจเริ่มจากการพูดคุยกับ “อูก้าแอปพลิเคชันคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านวีดีโอคอล” ตัวช่วยที่ทำให้คุณเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ง่าย ๆ ในยุคโควิด ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องเสียเวลารอคิว เพราะอูก้าพร้อมอยู่กับคุณทุกที่ทุกเวลา แค่มีอินเทอร์เน็ตก็ดูแลใจแบบออนไลน์กันไปเลย #อูก้ามีทางออก #ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ #ปรึกษานักจิตวิทยาออนไลน์

  • คุยได้ทุกปัญหาส่วนตัวและอาการนอยด์ อารมณ์ดาวน์ สิ้นหวังเพราะโควิด หมดไฟ ฯลฯ
  • มีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี
  • นัดปรึกษาได้ในวันและเวลาที่คุณสะดวก
  • สะดวก ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวสูง
  • มีแบบทดสอบความเครียดเพื่อการประเมินที่เชื่อถือได้

ใครที่รู้สึกว่าตัวเองนอยด์ง่าย หงุดหงิดกับโควิด อยู่คนเดียวแล้วดาวน์บ่อย ๆ ก็ควรหาวิธีรับมือกับอารมณ์ลบที่สามารถทำได้เอง ไม่ว่าจะเป็น

  • เขียนบันทึก ลองสังเกตตัวเองและเขียนสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ตัวหนังสือช่วยสะท้อนให้เห็นได้ชัดเจนขึ้นว่าสิ่งที่เราเขียนมีอารมณ์เป็นบวกหรือลบมากกว่ากัน เริ่มตั้งแต่บันทึกเรื่องทั่วไป สิ่งที่ทำให้หวาดระแวง คิดลบบ่อยแค่ไหน เรามักจะดาวน์ช่วงไหน ทำให้ค้นหาสาเหตุหรือแนวโน้มของการเกิดอาการนอยด์ได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อไร มีอะไรที่ช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้บ้าง
  • ปรึกษาคนรอบข้าง การพูดคุยกับคนที่ไว้วางใจเพื่อระบายสิ่งที่เราอึดอัดเป็นอีกวิธีที่ดี ไม่ทำให้เรารู้สึกโดดเดี่ยว ทั้งยังช่วยรักษาความสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อนและคนรอบข้างไว้
  • ผ่อนคลายและยืดหยุ่น หากิจกรรมที่ช่วยปรับสมดุลความคิด เช่น ออกกำลัง นั่งสมาธิ งานอดิเรกที่สนใจ เป็นต้น
  • ดูแลสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง ใส่ใจพฤติกรรมการนอนหลับ การรับประทานอาหาร มีสติรู้เท่าทันอารมณ์อยู่เสมอ

เชื่อว่าทุกคนอยากพาตัวเองออกจากอารมณ์ดิ่ง อยากให้โควิดหายไป แต่มันก็ไม่ง่ายที่จะเปลี่ยนจากสลัดความรู้สึกดาวน์หรือความคิดในแง่ลบออกไป ยิ่งโควิดรุนแรงขึ้นทุกวัน เราอาจนอยด์ทั้งเรื่องสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ ไปจนถึงกังวลเรื่องอนาคต หน้าที่การงาน บ้างก็ระแวงว่าคนรอบตัวจะติดโควิดหรือเปล่า จนสิ่งเหล่านี้กระทบต่อสุขภาพกายและใจ นอยด์จนไม่อยากเจอกับใคร ยิ่งเห็นคนที่ใช้ชีวิตอย่างอิสระยิ่งรู้สึกหมดหวังกับสิ่งที่เผชิญอยู่ ไร้ซึ่งพลังบวกในชีวิต จนจัดการความรู้สึกดาวน์ไม่ได้สักที

ถ้าโควิดไม่หมดไป แปลว่าเราต้องดาวน์แบบนี้ต่อเรื่อย ๆ หรือเปล่า ?

อย่างแรกให้เรา “ตั้งสติ” แล้วค่อย ๆ พิจารณาถึงสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดาวน์
สิ่งที่กังวลเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและกระทบกับเราโดยตรงหรือไม่ ?
ก้อนความกังวลที่เราคิดเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ?
หรือเป็นอารมณ์ดาวน์เพราะเราคิดเปรียบเทียบกับคนอื่น ?

ไม่ผิดเลยที่เราจะห่วงความปลอดภัยของตัวเอง อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น อยากพัฒนาเติบโตไปข้างหน้า แต่ความคิดที่ฟุ้งซ่านเกินความพอดีหรือห่างไกลจากความเป็นจริงมากเกินไปอาจบิดเบือนการรับรู้ของเราได้ โดยเฉพาะช่วงโควิดที่เราอยู่กับตัวเองค่อนข้างมาก ทำให้ความคิดแตกขยายได้ง่าย ยามที่เราทั้งโดดเดี่ยวทั้งควบคุมความคิดไม่ได้ เป็นอะไรที่อันตรายกับใจอยู่เหมือนกัน

โควิดเป็นสถานการณ์ที่ท้าทายและคุกคามเรามากก็จริงแต่ไม่จำเป็นต้องโทษตัวเองหรือรู้สึกผิดที่เราติดอยู่กับที่ นอยด์บ้างดาวน์บ้างก็ไม่เป็นไร แต่อย่าลืมหาความสุขให้ชีวิต ยิ้มให้กับเรื่องง่าย ๆ จะได้มีแรงพาตัวเองออกจากอาการนอยด์ที่คอยบั่นทอนจิตใจ เริ่มต้นจัดการกับความรู้สึกดาวน์หรืออารมณ์นอยด์ง่ายที่ฉุดรั้งเรา ด้วยการเป็นเพื่อนกับอูก้า เพราะสุขภาพใจเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเสมอ

________________________________⠀⠀⠀⠀
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/Y8ep

อ้างอิงจาก

https://www.pobpad.com/หวาดระแวง

https://www.blockdit.com/posts/6034822d845c6b081e27fb84

https://www.webmd.com/mental-health/paranoid-personality-disorder

Read More

Self-harm ไม่ใช่อยากตายแต่ “ความเจ็บ” ช่วยตอกย้ำ “การมีอยู่”

ทุก ๆ นาทีมีการทำร้ายตัวเองหรือการฆ่าตัวตาย เกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งในโลกนี้ ความรู้สึกอะไรที่ผลักให้คนหนึ่งคนไปยืนอยู่ปลายทาง ? บางทีอาจเป็นความรู้สึกวิตก ซึมเศร้า ความหวาดกลัว หรือแม้แต่ความรู้สึกท่วมท้นที่รบกวนใจจนอยากหาทางระบายออก เขาอาจแค่ต้องการหาทางรับมือกับความคิดความรู้สึกที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว แต่ไม่มีทางใดจะแก้ไขก็เป็นได้

การทำร้ายตัวเองคืออะไร ?

อธิบายง่าย ๆ การทำร้ายตัวเอง หมายถึงพฤติกรรมใด ๆ ก็ตามที่ใครบางคนทำแล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง เป็นวิธีที่คน ๆ นั้นรู้สึกว่ามันช่วยรับมือกับความคิดและความรู้สึกที่ยากลำบากหรือน่าวิตกได้ มีตั้งแต่พฤติกรรมที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บเล็กน้อยไปจนถึงพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูงอย่างการฆ่าตัวตาย (suicide)

และถึงแม้ว่าการทำร้ายตัวเอง (self-harm) จะเกิดขึ้นบ่อย อย่างในยุโรปมีการสำรวจพบว่ามากกว่า 10-20% ของคนวัยหนุ่ยสาวเคยมีประสบการณ์ทำร้ายตัวเองหรือกำลังทำอยู่ แต่ปัญหาสุขภาพจิตก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง อคติที่สั่งสมมาทำให้หลายคนยังเชื่อว่าโรคทางจิตเวชไม่มีอยู่จริง บางอาการเป็นเพียงการแสดงออกเพื่อเรียกร้องความสนใจ ไม่ว่าเหตุผลเบื้องหลังของการตัดสินใจทำร้ายตัวเองคืออะไร เราก็ไม่ควรมองว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย หากอยากให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

ทำร้ายตัวเองเพราะ “ความเจ็บ” ช่วยตอกย้ำ “การมีอยู่”

แต่ละคนก็มีสิ่งที่ทำให้เครียดและกังวลแตกต่างกันไป บางคนสามารถจัดการได้ด้วยตัวเองหรือรู้สึกดีเพียงแค่การพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัว ในขณะที่คนอื่นอาจพบว่าปัญหาเหล่านี้เป็นก้อนหินทิ่มแทงใจตลอดเวลา ยิ่งถ้าไม่ได้แสดงอารมณ์และพูดถึงสิ่งที่ทำให้เป็นทุกข์ โกรธหรือไม่พอใจ ความรู้สึกลบอาจก่อตัวขึ้นจนเราทนไม่ไหว จึงหันมาใช้ร่างกายเพื่อแสดงความคิดและความรู้สึกที่ไม่สามารถพูดออกมาได้ เมื่อรู้สึกเจ็บก็แปลว่ายังหายใจ แต่เมื่อได้ทำร้ายตัวเองกลับพบว่าความรู้สึกทุกข์มีมากกว่าเดิม เราก็จะรู้สึกอยากทำร้ายตัวเองมากขึ้นไปอีก

เหตุการณ์ในชีวิตเป็นอีกสิ่งสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการทำร้ายตัวเอง เช่น สภาพแวดล้อม ครอบครัว โรงเรียนหรือปัญหาหลายด้านที่รุมเร้า นั่นแสดงให้เห็นว่าบางคนมีความเสี่ยงที่จะทำร้ายตัวเองมากกว่าคนอื่นเพราะสิ่งที่กดดันเขา นอกจากนี้ปัญหาด้านสุขภาพจิตก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่นำไปสู่การทำร้ายตัวเองได้ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความนับถือตนเองต่ำ (low self-esteem) ฯลฯ

หลายคนทำร้ายตัวเองเพื่อ “ขจัดความโกรธ และความเจ็บปวด” ที่เกิดจากแรงกดดันในชีวิต เพราะพวกเขาไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรและไม่รู้สึกว่าตัวเองมีทางเลือกอื่นอีก

มีคนที่เจ็บปวดจริงในโลกอีกใบและมีบางคนที่ไม่เคยสัมผัสความมืดมนนั้น

บางคนบอกว่าการทำร้ายตัวเองก็เป็นเหมือน “วงจร” ที่เข้ามาแล้วหาทางออกได้ยาก มักจะเริ่มต้นเพื่อบรรเทาแรงกดดันจากความคิดและความรู้สึกที่ทับถมใจเรา เมื่อทำไปแล้วรู้สึกว่าสิ่งนี้ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทางอารมณ์ของเราได้ชั่วครั้งชั่วคราวก็ยังดี สิ่งสำคัญคือหลายคนไม่ทันรู้ตัวว่ามันไม่ใช่ทางออกที่จะพาเราออกจากโลกที่เจ็บปวดได้จริง ถ้าเราไม่ได้ตระหนักถึงการมีอยู่ของตัวเองในปัจจุบันมากพอ การใช้เหตุผลพื้นฐานก็จะหายไปด้วย และถ้าเราทำร้ายตัวเองซ้ำ ๆ สิ่งที่ตามมาคือความรู้สึกผิด ความละอาย รู้สึกไม่มีคุณค่า กลายเป็นกล่าวโทษตัวเองที่เราไม่รักตัวเองให้มากพอ

สิ่งสำคัญคือความรู้สึกลบที่เรากำลังเผชิญอยู่ ใช่ว่าจะคงอยู่ตลอดไป

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะก้าวออกมาบอกว่าเรากำลังทำร้ายตัวเอง โดยเฉพาะการพูดถึงต้นตอของปัญหา เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ทุกคนที่จะปิดบังมุมที่เราเปราะบาง การขอความช่วยเหลือจึงเป็นเรื่องยากมาก แต่เป็นก็ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการดึงความรู้สึกตัวเองกลับมา

😢 เราสามารถคุยกับใครได้บ้างในเวลาที่อารมณ์ของเราดำดิ่งลง

ตามหาพื้นที่สบายใจของตัวเองและจัดสรรเวลาเพื่อใส่ใจความรู้สึกบ้าง การฝ่าฟันทุกอย่างในชีวิตอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด แต่การรู้จังหวะที่ควรก้าวเดินนั้นจะทำให้ใจเรามั่นคงในทุกขณะ ที่ขาดไม่ได้คือแรงสนับสนุนจากคนรอบข้างที่จะช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและสามารถฟื้นฟูความรู้สึกให้กลับมาดีเหมือนเดิม

บางกรณีการพูดคุยกับนักจิตวิทยา จิตแพทย์หรือใช้ยาในการรักษาตามขั้นตอนเป็นเรื่องจำเป็น สิ่งสำคัญคือการเปิดใจพูดคุยถึงปัญหา การเรียนรู้วิธีรับมือกับสิ่งที่เข้ามา ถ้าจัดการกับปัญหา ความเครียดหรืออารมณ์ความรู้สึกได้อย่างถูกวิธี เราจะตัดวงจรการทำร้ายตัวเองได้ผลในระยะยาวมากกว่า

อีกวิธีคือการใช้ ‘เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจ’ เป็นกลยุทธ์ที่มีประโยชน์มากในการลดหรือหยุดการทำร้ายตนเอง เช่น การฝึกลมหายใจ การเขียนบรรยายความรู้สึก การชกตีหมอนเพื่อระบายอารมณ์ ฟังเพลงที่ชอบ ออกไปเดินเล่น ฯลฯ เทคนิคเหล่านี้ช่วยปลดปล่อยความกดดันทางอารมณ์ที่เรารู้สึกได้โดยไม่จำเป็นต้องทำให้ตัวเองเจ็บปวด

ลองทบทวนวิธีแก้ปัญหาที่เราใช้เมื่อเกิดความรู้สึกด้านลบ เราแก้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเราจมอยู่กับห้วงความคิดนั้นเป็นเวลานาน ? เราติดอยู่กับอดีตและกังวลกับอนาคตมากกว่าการอยู่กับปัจจุบันหรือเปล่า ? อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือเมื่อใดก็ตามที่เราต้องการ การพูดถึงความรู้สึกไม่ใช่ตัวตัดสินความอ่อนแอ แต่มันแสดงให้เห็นว่าเรากำลังพยายามดูแลสุขภาพกายและใจของตัวเองให้ดีขึ้น

การพูดคุยกับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการบอกเล่าความกังวลใจให้ใครสักคนรับฟัง ไม่ว่าปัญหาเรื่องอะไรคงจะดีไม่น้อยถ้ามีใครยืนอยู่ข้างเราโดยไม่ตัดสิน ไม่กล่าวโทษในสิ่งที่เราคิดหรือทำลงไป อูก้าพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

#OOCAknowledge

________________________________⠀⠀⠀⠀
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/AVCv⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

https://www.youtube.com/watch?v=iaYaN4b–Ow

https://www.mentalhealth.org.uk/publications/truth-about-self-harm

Read More

Retail Therapy เมื่อ “ช็อปปิ้งฮีลใจ” กลับกลายเป็นความเครียด

“โปร 9.9 เอามาอย่างละหนึ่ง”

“ลดแลกแจกแถมเยอะขนาดนี้ ก็ซื้อไปเลยสิคะ” 💳💶

ในช่วงที่ต้องอยู่แต่ในบ้านเพราะสถานการณ์โควิด-19 แบบนี้ หลายคนแทบจะเสียเงินไปกับการกดสั่งซื้อของออนไลน์กันเป็นว่าเล่น นั่งทำงานอยู่สักพักก็ต้องหยิบโทรศัพท์มากดเข้าแอปฯ ช็อปปิ้งออนไลน์แล้ว หรือโฆษณามาคั่นระหว่างตอนเล่นโซเชียลมีเดียก็ขอกดเข้าไปดูสักหน่อย รู้ตัวอีกทีตัดบัตรซื้อของไปเรียบร้อย ปฏิเสธไม่ได้ว่าการสั่งซื้อของออนไลน์ทำให้เรามีแพชชั่นในการใช้ชีวิตเพื่อรอของมาส่งที่บ้าน แถมยังช่วยเติมเต็มความสุขในช่วงเวลาอันแสนน่าเบื่อหน่ายให้กับเราไม่น้อย สุดท้ายพอเครียดทีไร เลยต้องใช้เงินแก้ปัญหาด้วยการ ซื้อ ซื้อ และก็ซื้อทุกที

💵 ทำไมแค่กดสั่งซื้อของออนไลน์ก็ฮีลใจได้แล้ว ?

เรามักจะได้ยินว่าเงินซื้อความสุขไม่ได้ แต่พอเราใช้จ่ายเงินไปกับของที่อยากได้ก็กลับสร้างความสุขให้กับเราเป็นหลายเท่า ยิ่งช่วงที่ออกจากบ้านไม่ได้แบบนี้ด้วยแล้ว เราก็ยิ่งใช้จ่ายเงินไปกับการสั่งซื้อของออนไลน์ไม่หยุดไม่หย่อน เนื่องจากสถานการณ์ในช่วงนี้ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถทำอะไรที่ต้องการได้ การสั่งซื้อของออนไลน์จึงเป็นเหมือนตัวช่วยที่มาทดแทนความสุขที่หายไปให้กับชีวิตของเรา เพราะมันทำให้เรารู้สึกว่าสามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตได้เหมือนเดิม

Scott Bea นักจิตวิทยาคลินิกจาก Cleveland Clinic ชี้ให้เห็นถึงหลักการของการ ‘ช็อปปิ้งบำบัด’ ว่า เมื่อเรารู้สึกว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้เป็นไปตามที่ต้องการ การได้รับสิ่งที่ต้องการอย่างแท้จริงจะช่วยให้รู้สึกเหมือนประสบความสำเร็จส่วนตัวในเชิงบวก (Positive Personal Achievement) ด้วยเหตุนี้เอง ผู้คนจึงเลือกใช้การสั่งซื้อของออนไลน์มากระตุ้นความรู้สึกในเชิงบวก เช่น ความสุข ความตื่นเต้น และเพิ่มมิติในการใช้ชีวิตให้มีสีสันมากยิ่งขึ้นในช่วงสถานการณ์แบบนี้

😣 แต่พอซื้อไปซื้อมากลายเป็นว่าเครียดกว่าเดิมซะงั้น

ในขณะที่การสั่งซื้อของออนไลน์ช่วยให้คลายเครียดหรือรู้สึกดีได้ก็จริง แต่มันก็ช่วยได้แค่ชั่วขณะเท่านั้น เพราะการได้ซื้อของที่ต้องการไม่ใช่รูปแบบของการบำบัดที่แท้จริง ดีไม่ดีเราอาจจะเครียดมากกว่าเดิมเนื่องจากใช้จ่ายเงินไปกับการสั่งซื้อของออนไลน์มากเกินไปจนเงินสำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และยิ่งเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ ยิ่งต้องคิดหน้าคิดหลังเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินเป็นอย่างมาก การสั่งซื้อของออนไลน์จึงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของความเครียดได้ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจเพื่อช่วยให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากเหล่านี้

📝 ถ้าการช็อปปิ้งกลายเป็นปัญหา ลองมาเปลี่ยนบรรยากาศด้วยการเขียนกัน!

หากการสั่งซื้อของออนไลน์กลับกลายเป็นการสร้างปัญหาและความเครียดให้กับเรามากกว่าเดิม จะดีกว่าไหมถ้าเราลองเปลี่ยนเป้าหมายในการสร้างความสุขด้วยกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ หรือแม้แต่การเขียนระบายความในใจเองก็เป็นวิธีฮีลใจที่ดีไม่แพ้กับการสั่งซื้อออนไลน์เหมือนกัน

และการเขียนแทนการช็อปปิ้งเองก็เป็นตัวเลือกที่ดีในการช่วยฮีลใจของเราได้มากเลยทีเดียว เนื่องจากการเขียนช่วยให้เข้าใจถึงอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองได้มากขึ้น ถ้าเรารู้สึกว่าตัวเองกำลังเครียดก็แค่เขียนลงไปบนกระดาษแทนการกดสั่งซื้อของออนไลน์ เพียงแค่เราเขียนเท่าที่ใจเราต้องการและเขียนให้เราเข้าใจตัวเองมากที่สุด ก็ช่วยให้เห็นภาพของปัญหาที่รบกวนใจได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังไม่ต้องเสียเงินจนต้องมานั่งเครียดกับรายจ่ายที่สูญเสียไปอีกด้วย หรือแม้แต่การเขียนรายการของที่อยากได้ลงไปบนกระดาษ ก็ช่วยให้จัดลำดับความสำคัญได้ว่าควรซื้อหรือไม่ซื้ออะไรได้บ้าง

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วกระซิบบอกมาซะดีๆ 9.9 นี้หมดไปกันเท่าไหร่? 😂

หากใครที่กำลังเครียดหรือต้องการตัวช่วยในการจัดการกับความเครียด ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากการใช้จ่ายเงิน หรือความกังวลในเรื่องการจัดการเงินก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจของอูก้าช่วยคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหนก็ตาม เพียงแค่ติดต่อและเข้ามาพูดคุยกับเรา จิตแพทย์และนักจิตวิทยาของเราพร้อมที่จะช่วยดูแลใจของคุณเสมอ 😊💙

ติดตามสารพัดวิธีดูแลสุขภาพใจ รวมถึงข่าวสารและโปรโมชั่นดี ๆ อีกมากมายได้ที่ 👉🏻 https://lin.ee/6bnyEvy

________________________________⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/fpD6⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา

อ้างอิงข้อมูลจาก:

Cleveland Clinic: https://cle.clinic/3kBjF8K

better help: https://bit.ly/3BkhJZ4

Read More

“ซึมเศร้า” ควรเป็นก่อนแล้วค่อยไปหาหมอ หรือควรไปหาหมอก่อนจะได้ไม่เป็น?

ในวิกฤติเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงในประเทศไทยจากสถานการณ์โควิด-19 สร้างความไม่แน่นอนให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ทางการเงิน ทางเศรษฐกิจมหภาค และทางการเมือง ฯลฯ ไหนจะมีข่าวด้านลบเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนและสื่อโซเชี่ยลมีเดียที่สร้างความหดหู่ให้กับเราไม่เว้นแต่ละวันจนหลายคนวิตกกังวลหรือกลัวว่า หากเจอแต่เรื่องเศร้าแบบนี้ทุกวันแล้วเราจะเป็นซึมเศร้าไหม ถ้าไม่ได้เป็นซึมเศร้าแต่อยากปรึกษาจิตแพทย์ป้องกันไว้ก่อนจะได้ไหม หรือว่าต้องรอให้เป็นซึมเศร้าก่อนถึงต้องไปปรึกษาจิตแพทย์ได้

เมื่อรู้สึกว่าสภาพแวดล้อมรอบข้างของเรามีแต่พลังงานด้านลบ และเต็มไปด้วยความหดหู่หรือความโศกเศร้ามากเกินไปจนเสี่ยงต่อการเป็นซึมเศร้า เราควรรีบไปปรึกษาจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจป้องกันไว้จะดีที่สุด เพราะซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลาโดยที่ไม่รู้ตัว หากเราปรึกษาจิตแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ช่วยให้ความเสี่ยงต่อการเป็นซึมเศร้าลดลงได้

ไม่ต้องรอให้เป็นซึมเศร้าก่อนก็ปรึกษาจิตแพทย์ได้เพื่อสุขภาพใจที่ดีของเรา

เป็นเรื่องปกติถ้าเราไปหาหมอก่อนที่จะเป็นซึมเศร้า เพราะขนาดการดูแลสุขภาพกายเองก็ยังมีการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อดูว่าร่างกายมีจุดบกพร่องตรงจุดไหน การดูแลสุขภาพใจก็ไม่ต่างกัน หากเราได้เข้ารับการประเมินสุขภาพใจ และได้เทคนิคในการจัดการกับภาวะทางอารมณ์ต่าง ๆ เพื่อที่จะได้รู้ว่าใจของเรายังรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ไหวอยู่ไหม หรือมีภาวะทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่ลำบากขึ้นหรือไม่นั่นเอง

เพราะเรื่องของสุขภาพใจไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเหมือนกับสุขภาพกาย ถึงแม้ว่าเราคิดว่าตัวเองไม่เป็นอะไร แต่เมื่อเราต้องเจอกับภาระงานที่หนักอึ้งหรือปัญหาชีวิตมากมายที่ถาโถมเข้ามาไม่หยุดไม่หย่อนก็อาจนำไปสู่ภาวะทางอารมณ์ต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว หากรู้สึกว่าพฤติกรรมของเราเปลี่ยนไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น

🤒 ภาวะทางอารมณ์ไม่คงที่ เช่น เครียดมากกว่าปกติ

🤒 ประสิทธิภาพการทำงานลดลงอย่างไม่มีสาเหตุ

🤒 ความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ของตัวเองลดลงอย่างไม่มีเหตุผล

🤒 ไม่สามารถจัดการกับความสัมพันธ์ได้ หรือมีความขัดแย้งกับคนรอบข้างบ่อยขึ้น

เมื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากเกินไป การปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่จำเป็นต้องรอให้อาการหนักจนถึงขั้นป่วยเป็นโรคก็จะช่วยให้สามารถจัดการกับภาวะทางอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ความกังวล หรือ ความเศร้าเองที่พอปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ ก็อาจจะนำไปสู่อาการซึมเศร้าได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างสุขภาพใจให้มีความสุขกับชีวิตเพิ่มมากขึ้นด้วย

เป็นซึมเศร้าแล้วก็ต้องรีบปรึกษาจิตแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้อาการหนักไปมากกว่านี้

แน่นอนว่าเมื่อรู้สึกเจ็บป่วยกายก็ต้องไปหาหมอเพื่อรักษาให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง ใจของเราก็เช่นกัน เมื่อเจ็บป่วยใจก็ต้องได้รับการรักษาจากหมอเพื่อให้ใจกลับมาเข้มแข็งได้เหมือนกับร่างกาย ถ้าหากเรารู้ตัวว่าการเจ็บป่วยที่เรากำลังเผชิญอยู่ส่งผลให้การใช้ชีวิตของเราลำบากมากขึ้นจนไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์และเข้ารับการรักษาสุขภาพใจทันที เพราะถ้าปล่อยให้ป่วยใจนานก็ยิ่งเยียวยาใจได้ยาก เราจึงต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อบรรเทาอาการซึมเศร้าไม่ให้เป็นหนักไปมากกว่านี้

อย่างไรก็ตาม การไปหาหมอหลังเป็นซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่าเราละเลยกับการดูแลสุขภาพใจของตัวเองแต่อย่างใด บางครั้งเราต้องมีภาระทำงานที่ต้องจัดการค่อนข้างมากหรือยุ่งอยู่กับการใช้ชีวิตจนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง ซึ่งจุดนี้เองทำให้เราเกิดเครียดหรือวิตกกังวลจนไม่ทันได้สังเกตตัวเอง พอมารู้ตัวอีกทีก็ไม่สามารถทำอะไรได้เต็มที่เหมือนแต่ก่อนแล้ว เมื่อเรารู้ตัวว่ากำลังเผชิญอยู่กับซึมเศร้า สิ่งที่สำคัญที่สุดคืออย่าปล่อยให้อาการซึมเศร้าคุกคามจนเรื้อรัง แต่ควรรีบไปปรึกษาจิตแพทย์และเข้ารับการรักษาสุขภาพใจให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ไม่ว่าจะเป็นก่อนหรือไปหาหมอก่อนก็ควรได้รับการปรึกษาจิตแพทย์ทั้งคู่

มันไม่มีผิดไม่มีถูกว่าควรเป็นซึมเศร้าก่อนถึงไปหาหมอ หรือควรไปหาหมอก่อนที่จะเป็นซึมเศร้า เพราะสุดท้ายแล้วไม่ว่าเราเลือกแบบไหน แต่ถ้าปลายทางของเรา คือ การปรึกษาจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในการดูแลสุขภาพใจแล้ว หากมีผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลือในการเริ่มต้นดูแลสุขภาพใจของเราก็เป็นเรื่องง่ายที่จะจัดการกับปัญหาในชีวิตและภาวะซึมเศร้าที่รบกวนใจอยู่ตลอดเวลาออกไปได้ ถ้าเราตระหนักถึงความสำคัญของการปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาให้มากขึ้น และคิดว่าเสมอการป่วยใจเป็นเรื่องปกติที่ควรจะได้รับการรักษาไม่ต่างกับป่วยกาย ก็ช่วยให้เราผ่านพ้นจากการเป็นซึมเศร้าและสามารถกลับมามีความสุขได้อีกครั้ง

อย่าลืมว่า ‘ใจ’ ของเราเองควรได้รับการดูแลเหมือนกับร่างกายเสมอ หากคุณยังไม่รู้ว่าจะต้องไปปรึกษาจิตแพทย์ ที่ไหนให้อูก้าเป็นตัวช่วยของคุณ เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 90 ท่าน ที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี รับรองได้ว่าสุขภาพใจของคุณได้รับการดูแลที่ดีอย่างแน่นอน 🥰💙

________________________________⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/7erU
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา

อ้างอิงข้อมูลจาก:

APA: https://bit.ly/3lgcHrV

verywellmind: https://bit.ly/2VpLDeA

HelpGuide: https://bit.ly/3BThh54

THE STANDARD: https://bit.ly/3BYF2Zy

THAI PUBLICA: https://bit.ly/37cblWQ

Read More

Remote Working ก็ต้องดูแลใจแบบ Home Caring กันไปเลย

จากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่รุนแรงขึ้นทุกที ธุรกิจมากมายปรับตัวหรือล้มเหลวในชั่วข้ามคืน ชีวิตการทำงานก็ไม่เคยเหมือนเดิม เราปรับความคิด ปรับการใช้ชีวิตและเรียนรู้มิติใหม่ของการทำงานที่ไม่ต้องเข้าไปนั่งยาว ๆ แปดชั่วโมงในออฟฟิศ จากสัปดาห์ก็นานเป็นเดือนเป็นปีกับการ Work from home หรือ Work from everywhere โดยที่ไม่รู้ว่าปลายทางเราจะลงตัวกับการทำงานรูปแบบไหนกันแน่


มีหลายสิ่งที่ผู้นำธุรกิจต้องพิจารณานอกเหนือไปจากเรื่องงาน หรือการจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสำหรับการทำงานทางไกล ก็คือเรื่องส่วนตัวของและสภาพจิตใจของพนักงาน หลายคนมีความเครียดจากการอยู่บ้านนาน ๆ ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ภาระที่เพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบถึงนิสัย ทัศนคติ ไปจนถึงสุขภาพของพนักงาน ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าเราจะไม่กลับไปเป็น “ปกติ” เราจะกลับไปสู่ “ความปกติใหม่” (New Normal) แต่นั่นก็ไม่ได้ยืนยันว่าสุขภาพจิตของพนักงานจะโอเคกับเรื่องนี้


😥 สภาพจิตใจของพนักงานที่ถูกทำลาย
บางคนชอบการทำงานแบบ Remote Working ทั้งตื่นเต้นและรู้สึกสบายในช่วงแรกเริ่ม (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/36MUCcr ) แต่เพราะโควิดไม่ได้เบาบางลง การเสพข่าว การดูแลครอบครัว การทำงาน ไปจนถึงการอยู่กับความไม่มั่นคงปลอดภัยเป็นเวลานาน สิ่งที่ฝังอยู่ในความยากลำบากของการล็อกดาวน์ คือ ความอ่อนไหวของพนักงาน การเปลี่ยนผ่านจากที่ทำงานไปเป็นที่บ้านทำให้พนักงานต้องต่อสู้กับอุปสรรคทางอารมณ์ เพื่อนร่วมงานที่ไม่ได้เจอหน้ากันอาจมีความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมาก การติดต่อลูกค้าทำได้ยากขึ้น พนักงานต้องสร้างสายสัมพันธ์ในสังคมใหม่ ทั้งกับหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า แล้วยังต้องรับมือกับภาระจุกจิกที่บ้านในเวลางานด้วย


💞 ความเอาใจใส่ต้องเชื่อมต่อกับชีวิตประจำวันของพนักงาน
มีผลการสำรวจพนักงานยืนยันว่า สิ่งที่ยากสำหรับพวกเขาไม่ใช่การทำงานทางไกล แต่คือการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร ในช่วงที่ยากลำบากแบบนี้ความเป็นผู้นำและการเอาใจใส่จากระยะไกลอาจทำได้ยาก ซึ่งถ้าดูตามความเป็นจริง ผู้นำมักคิดถึงแนวคิด WFH เพื่อให้องค์กรไปรอดและพนักงานทำงานได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเป็นอันดับแรก ทำให้พนักงานเหมือนถูกบังคับให้ต้องค้นหาวิธีใหม่ ๆ ในการทำงานและการติดต่อกันตลอดเวลา
บางครั้งอาจลืมไปว่าพวกเขาไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอหรือไม่ได้รับการดูแลจิตใจที่เหมาะสมเท่าไรในสถานการณ์ที่ตึงเครียดเช่นนี้ การถามไถ่ว่าพวกเขาเป็นอย่างไรอาจไม่เพียงพอ องค์กรควรรับมือกับความเครียดสะสม อารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวลและสุขภาพจิตที่เสื่อมถอยของพนักงานด้วย


🏡 นำการดูแลสุขภาพใจมาไว้ที่บ้าน

#อูก้ามีทางออก #ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ #ปรึกษานักจิตวิทยาออนไลน์

การเตรียมบริการดูแลสุขภาพใจให้พนักงานเป็นอีกสิ่งที่องค์กรสามารถสนับสนุนพนักงานได้ ความเครียด กังวล กดดัน ไปจนถึงซึมเศร้า เหนื่อยล้า หมดไฟ ทุกปัญหาใจสำหรับพนักงานในองค์กร อูก้า “แอปพลิเคชันคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านวีดีโอคอล” พร้อมดูแลพนักงานคนสำคัญของคุณ


แล้วเราจะดูแลสุขภาพใจที่บ้านได้ไหม ถ้าออกไปไหนไม่สะดวก ? บอกเลยว่าในยุคที่เราทั้ง WFH ทั้งต้อง Social Distancing ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการเดินทาง เพราะสามารถ Home Caring ได้ด้วยอูก้า ! พนักงานจะอยู่ไกลแค่ไหน ? เหนื่อยเพราะอะไร ? บริการของเราก็รองรับให้คุณสามารถปรึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา จะ WFH หรือ Social Distancing อยู่ก็ทำได้ ไม่ต้องเดินทางมาปรึกษาถึงโรงพยาบาล เพราะจิตแพทย์และนักจิตวิทยาของอูก้ามากกว่า 90 ท่านก็สามารถเป็นเพื่อนคอยรับฟังคุณได้ การันตีความพึงพอใจจากพนักงานที่เคยดูแลใจกับอูก้า เพราะเรา
✅ ปรึกษาได้ทุกปัญหาในองค์กรหรือปัญหาส่วนตัว
✅ สะดวก ประหยัดเวลา ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวสูง
✅ มีแบบทดสอบความเครียดเพื่อการประเมินที่เชื่อถือได้
✅ ประเมินผลความเครียดเป็นตัวเลขเพื่อให้เห็นผลได้ชัดเจน
✅ มีระบบรายงานความเครียดและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเฉพาะรายบุคคล
✅ แพ็กเกจบริการหลากหลายที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับองค์กรของคุณ

การแยกตัวจากสังคมนาน ๆ สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย อาจกระทบกับจิตใจพนักงานอย่างรุนแรง เป็นหน้าที่ขององค์กรที่ต้องทำให้พนักงานรู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่ได้ทำงานร่วมกับคุณ ไม่ว่าจะเรื่องรายได้ สิทธิประโยชน์ สวัสดิการหรือความเอาใจใส่ ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพนักงานในตอนนี้


สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ซีอีโอและหัวหน้างานต้องตระหนักว่าเวลานี้อาจเป็นเรื่องยากสำหรับพนักงาน เราจำเป็นต้องอดทนและเอาใจใส่พนักงานมากเป็นพิเศษ อย่าลืมให้เวลากับพนักงานในการปรับตัวและปรับใจให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานหรือกฎใหม่ ๆ ที่องค์กรสร้างขึ้น ให้ข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นแก่พวกเขา ไม่ใช่แค่เพื่อความแข็งแรงทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความผ่อนคลายทางจิตใจด้วย 😊

เพราะสุขภาพจิตใจในวัยทำงานเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องดูแล อย่าลืมนึกถึงอูก้า เพื่อนรู้ใจเคียงข้างพนักงานคนสำคัญ 🙂

————————————————

เพราะพนักงานควรได้รับการ “ดูแลใจ” ไม่ต่างกัน
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/2JJd
🏙 ให้องค์กรของท่านมีบริการดูแลใจพนักงาน > https://www.ooca.co/corporate

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง


อ้างอิงจาก
Openlandscape : https://bit.ly/3kPshJ2
Forbes : https://bit.ly/3zGOCi8

Read More

แค่เป็น “ผู้หญิง” ก็ผิดแล้ว Femicide ฆาตกรรมที่เกิดจาก “เพศ” เป็นเหตุ

ความเท่าเทียมทางเพศถูกนำมาโต้แย้งบนโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง หลายคนรู้สึกว่าปัญหาการกดขี่ทางเพศไม่เคยหมดไป บ้างถูกบิดเบือนและนำเสนอในแง่โรแมนติก บ้างกลายเป็นตลกร้ายล้อเลียนกันในสังคม แม้จะมีการเรียกร้องและขับเคลื่อนไปทั่วทุกมุมโลก แต่ความรุนแรงทางเพศกลับกลายเป็นอคติที่หยั่งรากลึกในใจมนุษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า บางส่วนมองว่าเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่คนบางกลุ่มเรียกร้องจนเกินพอดี

ใครจะรู้ว่าเพศโดยกำเนิดอย่างการเป็น “ชาย” หรือ “หญิง” ก็สามารถจุดชนวนความเกลียดชังในใจได้แล้ว

วันนี้เราอยากเล่าถึงที่มาที่ไปของ Femicide …การฆาตกรรมที่เกิดจาก “เพศ” เป็นเหตุ

มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยถูกกีดกันในแง่ของการใช้ชีวิตเนื่องจากเพศ ความรุนแรงต่อผู้หญิงประกอบด้วยการกระทำที่หลากหลาย ตั้งแต่การล่วงละเมิดทางวาจาและการล่วงละเมิดทางอารมณ์รูปแบบอื่น ๆ ไปจนถึงการล่วงละเมิดทางร่างกายหรือทางเพศในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงถูกฆาตกรรมเพียงเพราะพวกเขาเกิดเป็นผู้หญิง จึงเป็นที่มาของ “Femicide” นั่นเอง

Femicide เป็นการตอบสนองต่อความรู้สึกเกลียด ดูถูก ดูแคลนเพศหญิง โดยฆาตกรมักเป็นเพศชายที่เชื่อว่า “ผู้หญิงเป็นทรัพย์สินที่สามารถครอบครองได้” คำที่ปรากฏให้เห็นตลอดคือ ‘honour’ เมื่อได้แสดงอำนาจเหนือกว่า ทำให้ผู้หญิงอยู่ใต้บังคับบัญชาได้ก็รู้สึกภูมิใจ มีเกียรติ แรงจูงใจของ Femicide ต้องมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เชื่อมโยงกับเพศ หากเป็นการฆ่าตัวตายหรือถูกฆ่าโดยคนเพศเดียวกันไม่นับว่าเป็น Femicide

นอกจาก ‘วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่’ งานวิจัยกล่าวว่าอีกปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือแนวปฏิบัติทางวัฒนธรรมในเรื่อง ‘สินสอดทองหมั้น’ ที่อินเดียมีผู้หญิงที่แต่งงานใหม่ถูกฆ่าตายเพราะจำนวนสินสอดทองหมั้นไม่เพียงพอ ซึ่งมีจำนวนผู้หญิงที่เสียชีวิตมากถึง 7600 คนในปี 2549  ภายหลังคาดการณ์ว่าผู้หญิงที่แต่งงานใหม่มากถึง 25,000 คนถูกฆ่าหรือพิการในแต่ละปีเพราะสินสอดทองหมั้น นอกจากนี้ยังมีผู้หญิงที่เสียชีวิตจากไฟไหม้มากถึง 163,000 รายเพราะความรุนแรงในครอบครัว

Femicide ส่วนใหญ่มาจากผู้หญิงที่ติดอยู่ในบ่วงของความสัมพันธ์ที่รุนแรง Toxic Relationship และกระทำโดยคนรักทั้งในอดีตและปัจจุบัน หรือแม้แต่การข่มเหงจากคนแปลกหน้าหรือคนรู้จัก ท้ายที่สุดพฤติกรรมทารุณทั้งหลายมักเกิดขึ้นซ้ำ ๆ รูปแบบของการละเมิด เช่น การทำร้ายร่างกาย, ความรุนแรงในครอบครัว, การข่มขืน, ความรุนแรงทางจิตใจ, การขัดขวางอิสระของผู้หญิง, การค้าบริการทางเพศ, การทำให้เสียโฉม ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมี Non-intimate Femicide หรือ Femicide ที่เกิดจากคนที่ไม่สนิทสนม แต่ก็มีต้นตอมาจากเพศเช่นกัน ยกตัวอย่างการ Femicide จากข่าวดังที่ประเทศเกาหลีกรณีผู้ชายคนหนึ่งทะเลาะกับคนรักของตัวเอง เมื่อเห็นผู้หญิงแปลกหน้าเดินผ่านมาจึงเข้าไปทำร้ายเพื่อระบายอารมณ์ หรืออย่างในประเทศญี่ปุ่นที่ฆาตกรชายได้สัมภาษณ์ว่าแรงจูงใจในการฆ่าเหยื่อเป็นเพราะผู้หญิงคนนั้นดูมีความสุขมากเกินไป

นี่อาจเรียกได้ว่า “อาชญากรรมความเกลียดชังทางเพศ”

การยุติ Femicide มักถูกสั่นคลอนด้วยภาพมายาและกรอบความคิดที่เลวร้าย การสนับสนุนให้เปลี่ยนแปลงกฎหมายที่อนุญาตให้ก่ออาชญากรรมประเภทนี้เป็นสิ่งสำคัญ หลายประเทศหันมาปลุกจิตสำนึกในแง่ของอาชญากรรมทางเพศให้กับสาธารณชน ใช้การอ้างอิงเครื่องมือสิทธิมนุษยชนและการปกป้องสิทธิสตรี

แต่เรายังต้องการกฎหมายที่คุ้มครองได้จริง รวมถึงสิ่งที่จะช่วยยืนยันได้ว่า ‘honour’ นั้นไม่มีอยู่จริง เราควรช่วยกันสร้างความตระหนักรู้และตอบสนองที่เหมาะสมต่อความคิดที่บิดเบือนว่าเพศใดเพศหนึ่งมีอำนาจสิทธิ์ขาด เพราะไม่มีใครควรถูกทำร้ายหรือฆาตกรรมจากสถานะทางเพศเป็นเหตุ

ดร. เจน มังก์ตัน สมิธ จาก University of Gloucestershire ได้ศึกษาคดีฆาตกรรมผู้หญิงจำนวนมากในอังกฤษ ในการสังหาร 372 ครั้งมีจุดสังเกตที่เชื่อมโยงกับความเป็นไปได้ที่ใครคนหนึ่งจะฆ่าคนรักของตัวเอง คือ พฤติกรรมที่ชอบควบคุมบงการ เขาเสนอรูปแบบ 8 ขั้นตอนที่ช่วยในการระบุ “ลำดับเวลาฆาตกรรม” สิ่งนี้จะทำให้เหยื่อถูกช่วยชีวิตได้ทัน (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bbc.in/3kMwP2Z)

Femicide ไม่เพียงแต่ร้ายแรงที่สุดจากความรุนแรงที่เกิดในคู่รัก แต่ยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและยาวนานต่อสภาพแวดล้อมของผู้หญิง อย่างเช่น ผู้หญิงที่ตกอยู่ใน Toxic Relationship เป็นเวลานานอาจมีปัญหาสุขภาพตามมามากมาย เด็กหลายคนสูญเสียแม่ในคดีฆาตกรรมที่เกิดจากพ่อ และกลายเป็นปัญหาในการปรับตัวหรือสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนใหม่ ๆ

เราต่างรู้ดีว่า ‘การฆาตกรรม’ เป็นเรื่องผิด แต่เมื่อ Femicide เกิดกับตัวเองหรือคนใกล้ตัว หลายคนกลับปล่อยผ่านและยอมรับ ราวกับความเท่าเทียมทางเพศ ปัญหาการล่วงละเมิดและความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริงนั้นเป็นเรื่องที่แตะต้องไม่ได้ นักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยามีบทบาทอย่างมากในการช่วยเยียวยาสุขภาพใจของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงที่ถูกทำร้ายหรือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากผู้ใหญ่

นี่อาจเป็นเสียงเล็ก ๆ ที่อยากพูดถึงประเด็นละเอียดอ่อนที่ให้เกิดได้กับทุก ๆ เพศ เราไม่อยากให้ใครต้องเจอกับการเลือกปฏิบัติ การใช้ความรุนแรงอย่างที่แล้วมา ไม่ว่าจะเพศไหน สถานะอะไร เราไม่ควรขัดแย้งกันเพื่อความเหนือกว่า แต่อยากให้มองถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์แล้วทำลายกำแพงและอคติเพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัยสำหรับ ‘มนุษย์ทุกคน’

หากต้องการใครสักคนที่เคียงข้างและรับฟังทุกเรื่องราว อย่าลืมว่าอูก้าเป็นแอปพลิเคชันที่มีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาเป็นเสมือนเพื่อนรู้ใจอยู่ใกล้ ๆ คุณ จะที่ไหน เมื่อไร เรื่องอะไร ให้อูก้าช่วยแบ่งเบาภาระทางใจให้คุณนะ 💙

________________________________⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/4Xjb
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

WHO : https://bit.ly/3gUmcd1

BBC : https://bbc.in/3kMwP2Z

สารานุกรม titanica : https://bit.ly/3jFtPWN

Read More