จะไปสุดที่ตรงไหน? 3 เหตุผล ทำไมทาง ‘เฟื่อน’ ไม่ยอมสิ้นสุดสักที

“ดันไปชอบเขา” “แต่เขาก็ดันให้เราเป็นเพื่อน” “แล้วเราก็ยอม!” สี่หนุ่มชนแก้วเบียร์กลางงานแต่งงานเป็นฉากในหนัง “Friend Zone ระวัง..สิ้นสุดทางเพื่อน” ที่หลายคนประทับใจ

ถ้าหากเพื่อน ๆ เป็นคนหนึ่งที่อยากไปร่วมวงชนแก้วเพราะไม่อยากเป็นแค่เพื่อน แสดงว่าสถานการณ์ตอนนี้ก็คงกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเช่นเดียวกัน แตกต่างที่ในชีวิตจริงเราไม่อาจรู้ได้เลยว่ามันจะไปสิ้นสุดตรงไหนหรือเมื่อไหร่ หรือจะแย่ยิ่งไปกว่านั้น หากการกระทำของเธอคนนั้นดันสวนทางกับคำว่าเพื่อนจนตอนนี้ทุกอย่างดูสับสน เมื่อคำว่า ‘เพื่อน’ ถูกเลื่อนระดับเป็น ‘เฟื่อน’ จะกลับตัวก็ไม่ได้เดินต่อไปก็ไม่ถึง แค่ได้ยินก็กระอักกระอ่วนแล้วใช่ไหม หลังดูภาพยนตร์จบแล้ว สงสัยกันไหมว่าทำไมคนบางคนถึงใช้เวลาเป็นสิบปีเพื่อหนีจากมัน

วันนี้อูก้ามีคำอธิบายเชิงจิตวิทยาถึง 3 เหตุผลสั้น ๆ ว่าทำไมการออกจากสถานะ ‘เฟื่อน’ ถึงได้ยากเย็นเหลือเกิน

คำว่าเฟรนด์โซน (Friend zone) โดยทั่วไปจะหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนที่ต้องการความสัมพันธ์เชิงโรแมนติกกับคนที่มองอีกฝ่าย “แค่เพื่อน” ตัวอย่างเช่น ตอนที่คุยกับเธอคนนั้นเป็นปี แต่จุดจบกลับได้เพื่อน ได้พี่น้องเพิ่มมาซะงั้น หรือแอดวานซ์กว่านั้น หากอีกฝ่ายรับรู้ถึงความต้องการของเรา แต่ดันตีมึน ไม่ยอมทั้งตกลงหรือปฏิเสธ กลับทำตัวครึ่ง ๆ กลาง ๆ เล่นกับหัวใจ เป็นที่มาของคำว่า ‘เฟื่อน’ ในบทความนี้นั่นเอง

  1. หนึ่งในสาเหตุของสถานะ เฟื่อน เกี่ยวข้องกับทฤษฎีความขัดแย้งทางความคิด หรือ Cognitive dissonance ซึ่งอธิบายถึงเหตุการณ์ที่บุคคลหนึ่งพยายามลดข้อขัดแย้งภายในจิตใจจากสถานการณ์ที่ดูจะไปคนละทิศคนละทางกัน เวลาที่เรากำลังอยู่ในสถานะเฟื่อน เรามักจะเชื่อมั่นว่ามันต้องมีอะไรมากกว่าความเป็นเพื่อนธรรมดาแน่เลย เราจึงมักหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอ ทั้ง ๆ ที่บางครั้งอีกฝ่ายอาจไม่ได้คิดอะไรเลย แต่การกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเธอคนนั้นก็ทำให้เราเพ้อฝันไปไกลได้ และถ้าเรายังหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองอยู่แบบนั้น ก็ไม่มีวันที่เราจะเดินออกมาได้เลยแม้เขาจะชัดเจนมากกับสถานะ “แค่เพื่อน” แล้วก็ตาม
  2. เหตุผลข้อที่สอง สาเหตุที่ไม่สามารถออกจากสถานะเฟื่อนได้สักทีอาจไม่ใช่เพราะเธอคนนั้น แต่เป็นเพราะเพื่อน ๆ กำลังเสพติด ‘โดปามีน’ สารแห่งความสุขที่ร่างกายหลั่งออกมาเมื่อเรากำลังไขว่คว้าอะไรบางอย่าง โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่าเราไม่จำเป็นต้องบรรลุเป้าหมายก็ทำให้โดปามีนหลั่งออกมาได้แล้ว และจะยิ่งหลั่งมากขึ้นหากเราไม่รู้ผลลัพธ์ของจุดหมายปลายทาง เพื่อน ๆ อาจกำลังเสพติดความสุขที่เกิดจากการพยายามชนะใจเธอคนนั้น เพราะเมื่อไหร่ที่โดปามีนเหล่านี้หมดลงจะส่งผลด้านลบต่ออารมณ์ได้
  3. เหตุผลข้อสุดท้าย แท้จริงแล้ว เพื่อน ๆ อาจกำลัง ‘คลั่งรัก’ หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Limerence ซึ่งเป็นภาวะผิดปกติทางจิต (Mental disorder) ชนิดหนึ่งอันเกิดจากสารสื่อประสาทที่มีมากกว่าคนทั่วไป ภาวะคลั่งรักนี้จะทำให้เรา หลงใหลใครอีกคนมากเป็นพิเศษจนส่งผลถึงการดำเนินชีวิต และการคิดจะหยุดรักเธอคนนั้นอาจทำให้เราเจ็บปวดมากจนรับไม่ไหว

นี่เป็นเพียงแค่เหตุผลทางจิตวิทยาเล็กน้อยเท่านั้น สถานการณ์ในชีวิตจริงอาจยังมีความซับซ้อนแตกต่างกันออกไป บางครั้งจากสถานะเฟื่อน อาจจะเลื่อนเป็นคนรัก แต่บางคู่อาจจะถอยหลังกลับไปเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเหมือนเคยก็ได้ ไม่ว่าเหตุผลของแต่ละคนจะเป็นอะไร และไม่ว่าเพื่อน ๆ จะเลือกเดินออกมาจากเฟรนด์โซนหรือไม่ การรู้เท่าทันความรู้สึกของตัวเองจะช่วยให้เพื่อน ๆ สามารถตัดสินใจขั้นต่อไปได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การอยู่ในเฟรนด์โซนอาจเป็นประสบการณ์ที่ยากลำบากและเจ็บปวดซึ่งอาจนำไปสู่ความรู้สึกถูกปฏิเสธ ขาดคุณสมบัติ และเจ็บปวด ในบางกรณีอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นี้ ต้องการดูแลสุขภาพจิต หรือต้องการระบาย อูก้าพร้อมอยู่เคียงข้างเพื่อน ๆ เสมอนะ

ooca platform ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ ที่ช่วยให้เพื่อน ๆ สามารถพูดคุยปัญหาคาใจกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาได้ผ่าน video call โดยเข้าใช้งานได้อย่างเป็นส่วนตัวและปลอดภัย ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ

อ้างอิง :The Psychological Reasons Why It’s Hard To Escape The Friend-Zone

Read More

Positive วันละนิด จิตแจ่มใส… จิตวิทยากฎแรงดึงดูด ยิ่งคิดบวกชีวิตยิ่งดี

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องกฎแรงดึงดูด (Law of Attraction) หรือแม้กระทั่งลองทำด้วยตัวเอง แนวคิดเรื่องกฎแรงดึงดูดไม่ใช่เรื่องใหม่ แนวคิดนี้ได้รับการกล่าวถึงในระดับสากล โดยหลักการของกฎคือ ถ้าหากเราเชื่อในสิ่งที่ดี คิดในสิ่งที่ดี เรื่องดี ๆ จะดึงดูดเข้ามาในชีวิตเรา และในทางตรงกันข้ามหากความคิดของเราเป็นเชิงลบจะได้ผลลัพธ์ในเชิงลบตามมา

พอลองทำความเข้าใจกฎไปแล้วเรากลับรู้สึกว่า เอ้ะ… มันพอจะมีอะไรมาอธิบายหลักการและเหตุผลของมันได้หรือเปล่า คุณฉันท์ธนิตถ์ สิมะวรางกูร นักจิตวิทยาการปรึกษาจากแอปพลิเคชันอูก้า อธิบายว่า

“ถ้าเราไปอ่านในเอกสารพวก Neuroscience (ประสาทวิทยาศาสตร์) มันจะชัดเลยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง โดยนักวิทยาศาสตร์ทางด้านสมองจะพูดว่า คลื่นสมองของมนุษย์มีลักษณะเป็นคลื่นไฟฟ้า มีสนามแม่เหล็ก ซึ่งมันเป็นพลังงานทั้งหมด แต่ว่าตาของมนุษย์มองไม่เห็น”

“กฎแรงดึงดูด มันมีอยู่จริงในระบบของพลังงาน ทำไมคนเราถึงพูดว่าคิดแบบนี้สิแล้วมันจะเรียกสิ่งนี้มา จริง ๆ แล้วมันคือการทำงานของคลื่นสมองของเรา ถ้าเกิดเราไปศึกษาในเอกสารเกี่ยวกับคลื่นพลังงานของมนุษย์ในระดับอารมณ์ เราจะเห็นเลยว่ามนุษย์มีความถี่ของคลื่นอารมณ์แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ถึงเป็นคำตอบว่าทำไมกฎแรงดึงดูดถึงมีอยู่จริง…”

กฎแรงดึงดูด ไม่ใช่เรื่องที่คิดไปเอง แต่เป็นเรื่องของวิทยาศาตร์ และเปลี่ยนแปลงกลไลทางสมอง ที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงนี้เราสามารถสร้างได้ด้วยตนเอง ดังนั้นคำว่าความสุขสร้างได้ด้วยตัวเราเอง ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยสักนิด ยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลในงานวิจัยเรื่อง Optimism and its impact on mental and physical well-being พบว่า คนที่มองโลกในแง่ดี จะเป็นคนที่มีสุขภาพดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น ทั้งยังมีโอกาสในการประสบความสำเร็จมากขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้มีความคิดที่มุ่งหาความสำเร็จมากกว่าจะหันมองหาความล้มเหลวในชีวิต

เพราะฉะนั้นหากเรากำลังตามหาสิ่งดี ๆ ตามหลักของกฎแรงดึงดูด เราอาจเริ่มจากความคิด โดยมองหาจุดโฟกัสของชีวิต ตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ โดยมีความเชื่อว่าเราจะพิชิตมันได้ การหาโอกาสใหม่ ๆ ในชีวิตพร้อมพลังงานบวกที่บอกกับตัวเองว่าเราสามารถทำมันได้ จะทำให้เราพาตัวเองไปเจอกับสิ่งใหม่ที่ดีขึ้น มากกว่าปล่อยโอกาสนั้นให้หลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย นอกจากนี้คุณฉันท์ธนิตถ์ ยังบอกกับเราอีกว่า

“ให้ทำความเข้าใจระบบการทำงานของสมองมนุษย์ว่า สมองของเราจะเก็บข้อมูลไปประมวลกับชุดประสบการณ์ และชุดการเรียนรู้ ที่เรามีอยู่ในตัวเองตั้งแต่เด็กจนโต ถ้าหากเราเก็บข้อมูลในเชิงบวกมันจะเข้าไปช่วยสร้างความคิดในเชิงบวกให้เรานำมารับมือต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดกับเราได้”

สิ่งเหล่านี้บอกกับเราชัดเจนว่า ตัวเราเองคือแกนกลางของการสร้างพลังงาน ดังนั้นเมื่อเข้าใจแล้วสิ่งที่เราทำได้คือเราควรเลือกรับสิ่งที่ดีเพื่อตัวเราเอง ซึ่งตรงกับหลักของกฎแรงดึงดูดไม่ผิดเพี้ยน…. แต่ ชีวิตของเรามีบางครั้งที่อาจต้องเผชิญกับวิกฤต ทำให้เราไม่อาจหลีกเลี่ยงพลังงานในด้านลบได้ ถึงเราจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แต่เราสามารถจัดการได้ไม่ยากโดยทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

5 ข้อแนะนำ จิตวิทยากฎแรงดึงดูด ในการจัดการพลังงานลบ

  1. ปั่นพลังงานตนเองให้เป็นพลังงานเชิงบวก ให้มีทัศนคติในเชิงบวกให้ได้ แต่หากเรารู้ตัวเองว่าไม่ไหวไม่จำเป็นต้องพยายามเพียงแค่พาตัวเองมาอยู่ในจุดความรู้สึกที่เป็นกลางได้ ถือว่าเพียงพอ
  2. มองโลกอย่างตรงไปตรงมา แม้จะเป็นเรื่องในเชิงลบให้เผชิญหน้าแล้วใช้ความเมตตาและความรักในการทำความเข้าใจ
  3. คุยกับใจตัวเอง… ในเวลากำลังรู้สึกไม่มีความสุข กำลังไม่พึงพอใจในเรื่องไหน เมื่อรับรู้แล้วให้ให้อภัยกับตัวเอง
  4. พาตัวเองไปสู่สิ่งที่ดี การเลือกสังคม หรือชุมชนที่ดีเพื่อตัวเราเอง หากไม่สามารถดึงพลังงานในเชิงบวกจากตัวเองได้ การมีเพื่อนที่ดี อยู่ในสังคมที่ดีจะช่วยเติมพลังงานบวกให้เราได้
  5. หาต้นแบบหรือไอดอลในการใช้ชีวิต สิ่งนี้จะช่วยให้เราพาตัวเองมองหาโอกาสและพาตัวเองไปสู่ความสำเร็จ

สำหรับใครกำลังมีคำถามว่าเมื่อไหร่เราจะพบกับสิ่งดี ๆ ล่ะก็ อาจจะลองนำคำแนะนำเหล่านี้ไปปรับใช้กันดูได้ และเมื่อเรามีความเชื่ออย่างมั่นคงว่า สิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นกับตัวเราแล้วในอนาคตต่อไป “กฎแรงดึงดูด” จะพาความสุขมาให้เราได้แบบไม่ต้องถามหาความสุขจากใครแน่นอน

อูก้าเป็นกำลังใจเพื่อนๆเสมอนะ!

– แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

อ้างอิง

https://www.verywellmind.com/understanding-and-using-the-law-of-attraction-3144808#citation-2

https://clinical-practice-and-epidemiology-in-mental-health.com/VOLUME/6/PAGE/25/FULLTEXT/

https://www.forbes.com/sites/forbescoachescouncil/2020/10/13/the-mystery-and-science-behind-the-law-of-attraction/?sh=321b19171a55

Read More

Dopamine Detox : เมื่อเสพสุขมากไปจนเป็นทุกข์ ถึงเวลาต้องกำจัดความสุขส่วนเกิน

“Dopamine” หนึ่งในฮอร์โมนความสุขที่ร่างกายจะหลั่งออกมาเมื่อมีความสุข แต่ในบางครั้งความสุขเดิม ๆ ที่เคยมีอาจกลับกลายเป็นสิ่งน่าเบื่อเพราะเราโหยหาความสุขมากเกินไป อูก้าจึงอยากชวนให้ทุกคนหันมาเสพความสุขอย่างพอดีด้วยการรีเซ็ตระบบตอบสนองความสุขโดยวิธี “Dopamine Detox”

หลายคนอาจจะเคยรู้สึกเคยเบื่อสิ่งที่ชอบทำเป็นประจำ เช่นเราอาจจะเคยชอบอ่านหนังสือมากๆ อ่านทั้งวันก็ยังได้แต่อ่านไปนานๆ ก็รู้สึกเบื่อจนไม่อยากอ่าน หรือแม้แต่เพลงเดิมๆ ที่เคยชอบฟัง เปิดทุกวันจนตอนนี้ไม่อยากจะฟังมันอีกต่อไปแล้ว ทั้งๆ ที่เคยเป็นสิ่งที่ทำแล้วมีความสุขมาก ๆ แต่ทำไมตอนนี้กลับไม่เป็นแบบนั้นแล้ว?

ในช่วงที่เรากำลังทำกิจกรรมที่ชอบ สมองจะหลั่งสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า “โดปามีน (Dopamine)” ออกมาทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนคอยกระตุ้นให้รู้สึกตื่นตัวกับสิ่งที่ทำอยู่ ซึ่งความพึงพอใจจากการทำสิ่งที่ชอบทำให้สมองคิดว่าสิ่งนั้นดีต่อตัวเราจึงสั่งการให้หลั่งโดปามีนออกมาจนเรามีความสุข เพื่อกระตุ้นให้เราทำกิจกรรมนั้น ๆ ต่อไป

แต่การทำกิจกรรมที่สร้างความสุขมากๆ จะทำให้เกิดอาการเสพติดได้ และเมื่อทำบ่อยๆ จะเกิดเป็นความเคยชินขึ้นมา ส่งผลให้กิจกรรมเหล่านั้นจึงไม่น่าดึงดูดให้ทำอีกต่อไป โดยในช่วงที่เรากำลังเสพติด การตอบสนองของโดปามีนได้ทำงานอย่างหนักจนเสียสมดุล หลังจากนั้นไม่ว่าจะทำอะไรโดปามีนก็ไม่มีการตอบสนองให้มีความสุข เหมือนเครื่องจักรที่ถูกใช้งานหนักจนพัง นี่จึงเป็นคำตอบที่ว่าทำไมบางทีเราเกิดเบื่อสิ่งที่เคยชอบมากๆอย่างไม่มีเหตุผลขึ้นมาซะงั้น

เราสามารถซ่อมแซมเครื่องจักรที่พังนี้ได้ด้วยการงดใช้มัน งดกระทำการสิ่งใดที่เป็นการกระตุ้นให้โดปามีนตอบสนอง วิธีการนี้เรียกว่า “โดปามีน ดีท็อกซ์ (Dopamine Detox)” ขั้นตอนการทำคล้ายกับการทำโซเชียล ดีท็อกซ์ (Social Detox) แต่มีขอบเขตที่กว้างกว่า โดยโดปามีน ดีท็อกซ์จะหลีกเลี่ยงกิจกรรมทุกอย่างที่สร้างความพึงพอใจให้เราเป็นพิเศษ โดยเป็นสิ่งที่เรามักจะทำเป็นประจำจนเสพติด อย่างเช่นการให้รางวัลตัวเองเล็กน้อยจนก่อให้เกิดความพึงพอใจบ่อย ๆ การทำสิ่งที่ชอบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ  และรวมไปถึงการเล่นโซเชียล

โดปามีน ดีท็อกซ์สามารถทำได้ทุกที่ สิ่งแวดล้อมไม่มีผลต่อการบำบัด สิ่งสำคัญคือ การงดทำกิจกรรมที่เสพติด ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามที่เคยทำแล้วมีความสุขจนต้องใช้เวลากับสิ่งนั้นนาน ๆ ทั้งการเล่นโซเชี่ยล การดูซีรีส์ หรือการอ่านหนังสือ ระยะเวลาในการดีท็อกซ์เลือกทำได้ตามความสะดวก จะใช้เวลาเพียง 3-4 ชั่วโมง หรือลากยาวไปจนถึง 4-5 วันก็ได้  ด้วยความที่เป็นวิธีการที่ทำง่ายและใช้เวลาไม่นาน จึงเป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่มีความสุขเลยในช่วงดีท็อกซ์ เพราะเราไม่สามารถบังคับให้ร่างกายหลั่งโดปามีนได้ตามใจชอบ ดังนั้นแม้ว่าจะไม่ได้ทำสิ่งที่ชอบแล้วเราก็สามารถมีความสุขได้ตามความพึงพอใจที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และความสงบก็สามารถสร้างความสุขได้เช่นกัน เพียงแค่รู้จักแบ่งเวลาในการทำสิ่งต่าง ๆ เท่ากัน พักผ่อนให้มากพอกับช่วงเวลาที่ทำงานหนัก ก็จะสร้างสมดุลให้กับอารมณ์และความรู้สึกของเราได้ ลองใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายไปสักพัก โดปามีนในร่างกายก็จะเคยชินกับความเรียบง่ายอย่างที่ควรจะเป็น เมื่อกลับไปใช้ชีวิตปกติและกลับไปทำสิ่งที่ชอบ หากได้รับสิ่งเร้ากระตุ้นแล้ว โดปามีนก็จะมีการตอบสนองก่อให้เกิดความสุขกับสิ่งที่ทำอีกครั้ง

ถึงแม้ว่าโดปามีน ดีท็อกซ์จะมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มารองรับแน่ชัดว่าวิธีการนี้ช่วยรีเซ็ตการตอบสนองของการหลั่งโดปามีน เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าร่างกายหลั่งโดปามีนออกมาอัตโนมัติตามที่สมองสั่งการ จิตใจของเราไม่สามารถสั่งการได้ อย่างไรก็ตามวิธีการนี้กลับส่งผลดีจนเกิดการนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง

พญ.ศิริลักษณ์ ลอดทอน นักจิตวิทยาจากอูก้า อธิบายว่าวิธีการนี้มีหลักการคล้ายกับ CBT (Cognitive Behavioral Therapy) การบำบัดจิตรูปแบบหนึ่งที่เชื่อว่าความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมมีความสำพันธ์กัน หากปรับเปลี่ยนความคิดจะส่งผลให้อารมณ์และพฤติกรรมของคนเราเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้บำบัดผู้ป่วยที่มีอาการเสพติด 

โดปามีน ดีท็อกซ์ อาศัยความสัมพันธ์ของความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม มาเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง โดยวิธีการนี้จะเลือกเปลี่ยนพฤติกรรมแทนความคิด และให้การเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลไปยังอารมณ์และความคิด การปรับพฤติกรรมเสพติดความสุข โดยการงดรับความสุข จึงมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่ทำการดีท็อกซ์

แต่โดปามีน ดีท็อกซ์ก็ยังมีข้อเสียอยู่บ้าง พญ.ศิริลักษณ์กล่าวว่าบางคนอาจเข้าใจคอนเซปต์ของการดีท็อกซ์นี้ผิดไปว่าเป็นการหลีกเลี่ยงทุกอย่างที่สร้างความสุขไปเลย ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ เพราะเราไม่มีทางตั้งค่าระบบการหลั่งโดปามีนได้อยู่แล้ว คอนเซปต์ของวิธีการนี้คือ รีเซ็ตให้เป็นปกติ ไม่ใช่การ set zero ที่สำคัญการหลีกเลี่ยงความสุขจนเกินไป แทนที่จะทำให้เรากำจัดความสุขส่วนเกิน จะกลายเป็นสร้างความทุกข์ขึ้นมาแทน จึงต้องควบคุมระยะเวลาและพฤติกรรมในช่วงดีท็อกซืให้พอดี           

ดังนั้นแล้วใครที่รู้สึกว่าอารมณ์ของตนเองกำลังไม่คงที่ รู้สึกเบื่อหน่ายไปกับสิ่งที่เคยทำเป็นประจำ หรือกำลังเสพติดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกินไป แนะนำให้หันมาปรับพฤติกรรมของตัวเองง่าย ๆ โดยการทำโดปามีน ดีท็อกซ์ ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ใช้เวลาไม่นาน และไม่ต้องออกไปไหนไกล 

เพื่อประโยชน์ในระยะยาว พญ.ศิริลักษณ์ แนะนำว่าให้ทำควบคู่ไปกับการทำสมาธิ เพื่อช่วยฝึกเราให้มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ ได้นาน ๆ ไม่เป็นคนเบื่อง่าย สามารถทำสิ่งชอบได้บ่อย ๆ และที่สำคัญยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อีกด้วย   

ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นความสุขหรือความทุกข์ อะไรที่มันมากเกินไปมักจะไม่ดีเสมอ ปรับให้ทุกอย่างอยู่ในความพอดี ไม่มากไม่น้อย เมื่อความสุขเสมอความทุกข์ เราก็ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอะไรเพื่อให้อารมณ์คงที่ เพราะความสุขและความทุกข์ได้คานอำนาจกันโดยสมบูรณ์แล้ว

อูก้าเป็นกำลังใจเพื่อนๆเสมอนะ!

– แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

อ้างอิง

https://my.clevelandclinic.org/health/articles/22581-dopamine

https://www.medicalnewstoday.com/articles/dopamine-detox#health-benefits

https://timesofindia.indiatimes.com/life-style/health-fitness/de-stress/heard-about-dopamine-fasting-it-could-be-the-way-to-make-your-brain-work-hard/articleshow/77392150.cms

https://www.health.harvard.edu/blog/dopamine-fasting-misunderstanding-science-spawns-a-maladaptive-fad-2020022618917

https://www.bamae.com/blogs/mindful-thoughts/everything-you-need-to-know-about-a-dopamine-detox

https://www.deprocrastination.co/blog/how-to-do-dopamine-detox-the-right-way

https://www.pobpad.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-cognitive-behavioral-therapy-%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%9B

Read More

เมื่อฤดูกาลส่งผลต่อใจ ช่วงปลายปีจึงน่าเศร้าสำหรับใครหลายคน

เวลามีคนถามว่าชอบฤดูไหนที่สุด อูก้าเชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนน่าจะมีคำตอบในใจอยู่แล้วว่า “ก็ฤดูหนาวยังไงล่ะ!” เพราะนอกจากอากาศจะเย็นสบายแล้ว ยังมีแต่เทศกาลเฉลิมฉลองน่าสนุกต่างๆ เต็มไปหมด แต่ทำไมพอถึงช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเป็นฤดูหนาวที่หลายคนรอมาทั้งปีเข้าจริงๆ แล้ว เราบางคนถึงกลับรู้สึกเศร้าและเหงาอยู่ในใจลึกๆ กันนะ

หากใครกำลังรู้สึกแบบนี้กับหน้าหนาวที่กำลังจะมาถึงอยู่ล่ะก็ ตามหลักจิตวิทยาแล้วอาจกำลังตกอยู่ในภาวะ “SAD” (Seasonal Affective Disorder) ก็ได้นะ วันนี้อูก้าจึงอยากจะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักและหาวิธีรับมือกับภาวะนี้กัน หน้าหนาวปีนี้เราจะได้ไม่ซึมจนเกินไป!

ดร. แพทริเชีย ธอร์นตัน นักจิตวิทยาผู้จบการศึกษาจาก New York University ได้ระบุกับเว็บไซต์ Healthline ว่าการเปลี่ยนแปลงย่อมทำให้เกิดภาวะวิตกกังวลเป็นเรื่องธรรมดา รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางฤดูกาลที่อาจนำไปสู่ภาวะที่เรียกกันว่าภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล (SAD) ได้เช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วภาวะนี้มักเกิดในช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเป็นฤดูหนาว เนื่องจากเป็นช่วงเวลาของปีที่อากาศเย็นลงและท้องฟ้ามืดเร็วขึ้น การที่เราได้รับความอบอุ่นจากแสงอาทิตย์น้อยลงในแต่ละวันจะทำให้ร่างกายหันมาผลิต “เมลาโทนิน” หรือที่รู้จักกันว่า “ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ” มากขึ้น เพราะแบบนี้เราถึงรู้สึกขี้เกียจขึ้นเมื่อหน้าหนาวมาเยือน และความรู้สึกอยากอยู่เฉยๆ นี้นั่นเองที่เป็นต้นเหตุของภาวะ SAD

นอกจากปัจจัยทางสภาพอากาศแล้ว ยังมีปัจจัยทางอารมณ์อย่างการคาดหวังว่า “เราควรมีความสุข” ในช่วงเทศกาลฉลองท้ายปีด้วยเช่นกัน เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหน สื่อต่างๆ ก็ล้วนแต่สร้างภาพจำว่าหน้าหนาวเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเฉลิมฉลอง หากสุดท้ายแล้วเราไม่มีความสุขเท่าที่คาดไว้ ไม่ว่าจะด้วยเรื่องหน้าที่การงาน การเรียน คนรอบตัว หรือภาวะสิ้นยินดีของตัวเราเองก็ตาม เหตุผลเท่านี้ก็เพียงพอแล้วที่จะส่งผลให้เรารู้สึกเศร้าอยู่ลึกๆ ในช่วงเวลานี้ของปี

อย่างไรก็ตาม อูก้ายังไม่อยากให้เพื่อนๆ ตกใจกัน เพราะเป็นเรื่องปกติที่เราต่างอาจต้องพบเจอความเศร้าบ้างเป็นครั้งครา แต่หากใครรู้สึกได้ว่าตัวเองกำลัง “เศร้า เหงา ซึม” เพราะอากาศหนาวที่กำลังจะมาถึงจนไม่อยากลุกขึ้นมาทำอะไรในแต่ละวัน คล้ายกับอาการของภาวะซึมเศร้า เช่น การไม่อยากพบเจอผู้คน รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากอาหาร อยากนอนตลอดเวลา เป็นต้น อูก้าอยากให้ลองสังเกตตัวเองกันดูก่อนว่าพบเจออาการตามที่กล่าวมามากน้อยแค่ไหน เพื่อที่เราจะตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีและป้องกันไม่ให้ความรู้สึกเหล่านี้อยู่กับเพื่อนๆ นานเกินไปนั่นเอง เพราะว่ากันตามอาการแล้ว เว็บไซต์ของระบบบริการสุขภาพแห่งชาติของอังกฤษ (NHS) ได้ระบุไว้ว่าภาวะ SAD ก็เป็นภาวะซึมเศร้าประเภทหนึ่งเหมือนกัน

ดังนั้น ถ้าเกิดเศร้าขึ้นมาแล้วทำยังไงดีล่ะ? อาจารย์มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาการปรึกษา ooca ได้บอกกับเราถึงวิธีดูแลใจด้วยตัวเอง 5 วิธีง่ายๆ ที่จะสามารถทำให้เพื่อนๆ รู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นได้ในช่วงเวลานี้ของทุกปีที่หน้าหนาวใกล้มาเยือน จะมีอะไรบ้างเราลองมาดูกัน

1. รับแสงแดดอ่อนๆ ในแต่ละวัน ช่วยกระตุ้นการสร้างเซโรโทนิน ฮอร์โมนแห่งความสุข

2. กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบตามหลักโภชนาการ แถมผลไม้หน้าหนาวยังอร่อยด้วยนะ

3. ออกไปเดินเล่นหรือออกกำลังกายข้างนอก ใช้อากาศเย็นให้เป็นประโยชน์!

4. ลองหางานอดิเรกใหม่ๆ ทำเพื่อไม่ให้รู้สึกซึม หรือจะนัดสังสรรค์กับคนสนิทของเพื่อนๆ ก็ได้

5. พูดคุยปรึกษากับนักจิตวิทยา เพราะการมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยรับฟัง ช่วยคิด ช่วยคุย และพร้อมจะก้าวผ่านหน้าหนาวนี้ไปกับเรานั้นเป็นสิ่งที่ดีเสมอ

วิธีเหล่านี้ไม่เพียงจะช่วยเยียวยาผู้ที่กำลังประสบภาวะ SAD เท่านั้น แต่ยังรวมถึงใครก็ตามที่รู้สึกว่าหลอดพลังงานของตัวเองลดลงเมื่อลมหนาวมาเยือนด้วยเช่นกัน สุดท้ายนี้อาจารย์มณฑิตายังขอฝากข้อความมาบอกเพื่อนๆ ที่รู้สึกไม่ร่าเริงเท่าช่วงที่ผ่านมาของปีว่า

“หากคุณได้พยายามจัดการกับความรู้สึกเศร้าโดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ทำกิจกรรมใหม่ๆ แต่ก็ยังพบว่าความรู้สึกเศร้านั้นยังคงอยู่และเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อยากให้คุณพูดคุยกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อช่วยวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกเศร้า จะทำให้คุณเข้าใจตัวเองมากขึ้น สิ่งที่รู้สึกไม่สบายใจนั้นจะได้เบาบางลงค่ะ”

เพราะฉะนั้นแล้ว อูก้าจึงอยากให้หน้าหนาวปีนี้ของเพื่อนๆ ทุกคนเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความสุข ความรัก และการเฉลิมฉลองเทศกาลต่างๆ และปล่อยให้ลมเย็นที่กำลังจะมาถึงช่วยผ่อนคลายสุขภาพใจเราจากความเครียดที่สะสมมาทั้งปีกันเถอะ

อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

อ้างอิง

[1] https://www.healthline.com/health-news/autumn-anxiety#What-can-you-do?

[2] https://www.nhs.uk/mental-health/conditions/seasonal-affective-disorder-sad/overview

[3] https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seasonal-affective-disorder/symptoms-causes/syc-20364651

Read More

รู้หรือไม่ ประเทศไทยมี 6 จังหวัดที่ไม่มีนักจิตวิทยาเลยสักคน

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่อาจจะยังตอบง่าย ๆ ไม่ได้ในทันที แต่ข้อมูลเหล่านี้ และข่าวเศร้ามากมายที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมานี้ คงจะเป็นธงแดงที่เตือนให้ “เรา” ควรจะหันมา “เตรียมรับมือ” กับวิกฤติสุขภาพจิตที่กำลังฟักตัวในประชากรทุกช่วงอายุ …. และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิกฤตินี้ไม่สามารถแก้ได้ในชั่วพริบตา 

.

ปี 2565 รายงานจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าประเทศไทยมีจิตแพทย์รวม 845 คน ซึ่งถือว่าเรามีจิตแพทย์ 1.28 คน ต่อประชากรจำนวนหนึ่งแสนคน [1] ซึ่งถ้าเทียบกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่มีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อประชากรมากที่สุดในโลก จะพบว่าสวิตเซอร์แลนด์มีจิตแพทย์อยู่ที่ที่ 47.17 คนต่อแสนประชากร

.

,

ในขณะที่ถ้าเทียบกับประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นลำดับต้น ๆ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ญี่ปุ่นมีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อแสนประชากรอยู่ที่ 12.55 และเทียบกับเกาหลีใต้มีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อแสนประชากรอยู่ที่ 7.91 ซึ่งถือว่ามากกว่าไทยหลายเท่า และในส่วนของนักจิตวิทยา ประเทศไทยมีมีนักจิตวิทยาเพียง 1,037 คนต่อคนทั้งประเทศ คิดเป็น 1.57 คนต่อแสนประชากรด้วยกัน

.

.

หากไม่นับสาเหตุเรื่องระยะเวลาในการเรียนจบด้านจิตแพทย์ (ที่สามารถจ่ายยาได้) ต้องใช้เวลานานกว่าจะจบหลักสูตร แล้วนั้น (9-10 ปี) แม้เราจะโชคดีที่ประเทศไทยยังมีวิชาชีพร่วมทั้ง นักจิตวิทยาคลินิก พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาให้คำปรึกษา แต่อย่างไรก็ตามการกระจายบุคลากรด้านสุขภาพจิตไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ยังต้องคำนวณจากหลายปัจจัยด้วยกัน 

.

.

ความท้าทายในการกระจายการให้บริการ สะท้อนผ่านข้อมูลที่ว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา ยโสธร กลายเป็นจังหวัดที่ไม่มีจิตแพทย์เลยสักคน (เพิ่งมีเพิ่ม 2 คนในปีที่ผ่านมา) ส่วนนักจิตวิทยา ยังมีอีก 6 จังหวัดที่ไม่มีนักจิตวิทยาเลยสักคน (ได้แก่ตราด แพร่ สมุทรสงคราม สิงห์บุรี หนองบัวลำภู และอ่างทอง)

.

.

ยิ่งเมื่อเจอกับวิกฤติโรคระบาด เศรษฐกิจ อัตราความเสี่ยงฆ่าตัวตาย และความต้องการที่จะเข้ารับการรักษาก็มีสูงขึ้นทั่วโลก ในขณะที่การผลิตบุคลากรในด้านนี้ต้องใช้เวลาเตรียมล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 5 ปี – คำถามคือ แล้วโลกปรับตัวเพื่อหาทางบรรเทาทุกข์นี้อย่างไร ?

.

.

เนื่องใน #วันสุขภาพจิตโลก #WorldMentalHealthDay2022 อูก้าจึงได้รวบรวมแนวคิดที่น่าสนใจจากทั่วโลก เช่นว่า แพทย์ในกรุบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยมจ่ายยาด้วยการให้ผู้ใช้บริการไปเข้าพิพิธภัณฑ์ในเมือง [2] / นักวิจัยทั่วโลกได้สร้างความร่วมมือกันสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมที่ครอบคลุมความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากขึ้น [3] / การใช้ปัญญาประดิษฐ์คัดกรองเนื้อหาหรือคำศัพท์ที่นำไปสู่การกระตุ้นให้คนทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย [4] / การใช้แพทย์ทางไกล (Telehealth) มาช่วยให้บริการผู้ป่วยนอกในช่วงโรคระบาดโควิด [5] และอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นการเฝ้าระวังหรือป้องกันก่อนจะสาย เช่น การปรับวัฒนธรรมองค์กรให้ยืดหยุ่นและเป็นมิตรต่อผู้ที่กำลังรักษาอาการทางจิตเวชให้มากขึ้น

.

.

นอกจากนี้เทรนด์การใช้แอพลิเคชันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกัน / ประเมิน / เรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือรับบริการสุขภาพจิต ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก โดยในปัจจุบันนี้ ใน App Store และ Play Store มีแอพลิเคชันด้านสุขภาพจิตมากกว่า 10,000+ แอพลิเคชันด้วยกัน ส่งผลให้องค์กรอย่าง Onemind, Health Navigator และ World Economic Forums เริ่มที่จะพัฒนาการคัดกรองมาตรฐานและให้ “การรับรอง” ในแง่จริยธรรมในการให้บริการ, ผ่านการทดสอบทางคลินิก, ความปลอดภัย และความมีประสิทธิภาพ [6]

.

.

อย่างไรก็ตาม คำถามที่ว่านวัตกรรมต่อไปนี้ได้เกิดขึ้น (มาสักระยะแล้ว) แต่จะ “ใช้ได้จริง” เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการให้บริการได้อย่างไร ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ทั้งสังคมต้องบูรณาการร่วมกันนอกเหนือไปจากส่วนของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เช่น

.

–  เราจะสั่งยาให้คนไข้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไรหากจังหวัดนั้น ๆ ไม่มีพื้นที่สาธารณะ หรือไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่สร้างแรงบันดาลใจ? 

.

– ปัญญาประดิษฐ์ที่อ่านข้อความภาษาไทยถูกส่งเสริมและถูกนำไปใช้ประโยชน์มากแค่ไหน? 

.

– ผู้มีรายได้น้อยจะเข้าถึงบริการสุขภาพจิตผ่านสวัสดิการต่าง ๆ ได้อย่างไร ? เราจะป้องกันให้ประชากรเกิดความเสี่ยงทางสุขภาพจิตน้อยลงตั้งแต่ตอนอายุน้อยได้ไหม เพราะในปีที่ผ่านมานี้ ข้อมูลจากยูนิเซฟระบุว่า เด็กไทยอายุ 5-9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน และ วัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี ประมาณ 1 ใน 7 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ [7] ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

.

– ฯลฯ

.

.

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่อาจจะยังตอบง่าย ๆ ไม่ได้ในทันที แต่ข้อมูลเหล่านี้ และข่าวเศร้ามากมายที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมานี้ คงจะเป็นธงแดงที่เตือนให้ “เรา” ควรจะหันมา “เตรียมรับมือ” กับวิกฤติสุขภาพจิตที่กำลังฟักตัวในประชากรทุกช่วงอายุ …. และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิกฤตินี้ไม่สามารถแก้ได้ในชั่วพริบตา 

.

.

การฝ่าปัญหานี้ จะต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และอูก้าเชื่อว่า เราทุกคนสามารถเป็นส่วนร่วมในการให้ความรู้ที่ถูกต้อง การสร้างความตระหนัก และการส่งเสียงให้เกิดการจัดสวัสดิการด้านสุขภาพจิตให้กับผู้ที่ต้องการ

.

.

สุขสันต์วัน #วันสุขภาพจิตโลก #WorldMentalHealthDay2022 โดยอูก้าขอเชิญชวนมาคุยกันกับ ‘อิ๊ก’ กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ ผู้ก่อตั้ง Ooca แพลตฟอร์มให้บริการด้านสุขภาพจิต ในหัวข้อ “ถอดรหัสอนาคตสุขภาพจิตคนไทย” โดยเล่าจากประสบการณ์บริหารแพลตฟอร์มอูก้ามาตั้งแต่ปี 2017 จนมาถึงปัจจุบันที่อูก้าได้ให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน ดูแลผู้ใช้บริการหลายหมื่นคน รวมถึงได้ขยายผลไปยังการให้บริการทางสังคมผ่านโครงการ Wall of Sharing ที่ช่วยดูแลสุขภาพใจให้กับนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในยามวิกฤติ ผ่านทาง Twitter Space ในวันที่ 10 ตุลาคม 2022 เวลา 20.00 เป็นต้นไป

.

-ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะได้หาแนวทางในการรักษาเยียวยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy .

– สนใจปรึกษานักจิตวิทยา ดาวน์โหลดได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

.

.

#OOCAitsOK #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

——- 

[1] https://data.go.th/dataset/specialist และข้อมูลรวบรวมโดย Rocketmedialab

[2] https://www.weforum.org/videos/doctors-in-brussels-prescribe-free-museum-visits-to-boost-mental-health

[3] https://www.weforum.org/agenda/2022/09/diverse-genetic-data-tools-factors-causing-mental-illness/

[4] https://www.scientificamerican.com/article/mining-social-media-reveals-mental-health-trends-and-helps-prevent-self-harm/

[5] https://news.ohsu.edu/2022/04/04/pandemic-drives-use-of-telehealth-for-mental-health-care

[6] https://www.scientificamerican.com/article/how-consumers-and-health-care-providers-can-judge-the-quality-of-digital-mental-health-tools/

[7] https://www.unicef.org/thailand/th/press-releases/ยูนิเซฟและกรมสุขภาพจิตชี้สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยน่าเป็นห่วง

Read More

ให้นักจิตวิทยาฮีลใจ ในวันที่ต้องมูฟออนต่อไปโดยไม่มีเขา

ผลวิจัยจากอาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเมื่อปี 2021 ระบุว่าประชากรกว่า 80% เคย “อกหัก” มาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต! เพราะอาการอกหักเป็นเรื่องปกติที่มักตามมาหลังพบเจอรักที่ไม่สมหวังแบบนี้ 

คนเราเลยอาจคิดว่า “แค่อกหักไม่จำเป็นต้องถึงมือนักจิตวิทยาหรอก” หรือ “อกหักเดี๋ยวก็หายเองได้” จริงอยู่ที่ในหลายๆ ครั้ง ความเศร้าหลังอกหักจะลดน้อยลงไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังมีเพื่อนๆ อีกหลายคนที่ไม่สามารถ “มูฟออน” หรือก้าวออกมาจากความสัมพันธ์ครั้งก่อนได้ด้วยตัวเองจนกลายเป็นปัญหาสะสมในระยะยาว เพราะฉะนั้นแล้ว เพื่อนๆ ที่กำลังรู้สึกอกหักอยู่ หากนานไปแล้วยังไม่รู้สึกดีขึ้น อูก้าไม่อยากให้นิ่งนอนใจนะ!

สภาวะ “อกหัก” คืออะไรกันแน่

เวลาคนเราสูญเสียคนที่เรารัก ก็ย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดความรู้สึกเศร้าตามมา ความรู้สึกเศร้าหลังอกหักนั้นเกิดจากการที่สมองสั่งไม่ให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขที่เราอาจคุ้นๆ ชื่อกันดีออกมา ไม่ว่าจะเป็น เซโรโทนิน โดพามีน หรือเอ็นโดรฟิน ในทางกลับกันยังผลิตสารแห่งความเครียดอย่าง “คอร์ติซอล” ออกมาแทนที่เป็นจำนวนมาก สารแห่งความเครียดนี้นอกจากจะทำให้รู้สึกเศร้าแล้ว ยังก่อให้เกิดความผันผวนทางอารมณ์ตามมาอีกหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความสับสน ความกังวลใจ หรือกระทั่งความต้องการกลับไปคืนดีกับคนรักที่เลิกกันมา ทั้งหมดนี้คืออารมณ์ที่คนที่ตกอยู่ในสภาวะอกหักมักพบเจอ เราจึงอาจรู้สึกว่าตัวเองเอาแต่วนเวียนอยู่กับอารมณ์เหล่านี้จนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน และไม่สามารถเอาตัวเองออกมาจากความเศร้าได้

นักจิตวิทยาสามารถช่วยเราจากสภาวะอกหักได้อย่างไรบ้าง

เมื่อสังเกตตัวเองได้ว่ารู้สึกอกหักแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น การได้พูดคุยเพื่อระบายความรู้สึกที่อัดอั้นออกมาให้ผู้อื่นฟังจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะการเก็บความทุกข์ไว้กับตัวเองนั้นอาจส่งผลให้เพื่อนๆ คิดมากและเกิดผลเสียกับสุขภาพจิตมากกว่าเดิม นอกจากการเล่าเรื่องราวให้เพื่อนและครอบครัวฟังแล้ว การอธิบายความรู้สึกไม่ดีในใจให้นักจิตวิทยาฟังก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี อูก้าอยากให้เพื่อน ๆ มองนักจิตวิทยาเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ปลอดภัยที่พร้อมจะร่วมทำความเข้าใจกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นหลังเกิดสภาวะอกหักไปด้วยกัน อีกทั้งยังสามารถเสนอวิธีรับมือกับความรู้สึกเศร้าดังกล่าวได้อย่างเชี่ยวชาญ รวมไปถึงคอยไกด์แนวทางการมูฟออนจากสภาวะอกหักได้อีกด้วย คุณกอบุญ เกล้าตะกาญจน์ นักจิตวิทยาการปรึกษาจากแอปฯ อูก้า กล่าวว่า เมื่อเพื่อนๆ ตัดสินใจมาพูดคุยกับนักจิตวิทยา นักจิตวิทยาจะช่วยเพื่อนๆ สำรวจตัวเองและปัญหาผ่าน 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

1. ความเข้าใจกับสภาพจิตใจของตัวเอง – ในเบื้องต้นนักจิตวิทยาจะช่วยซักถามให้เพื่อนๆ ได้สำรวจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง เพื่อดูว่าเรารู้สึกเศร้าจากสภาวะอกหักมากน้อยแค่ไหน และตอบสนองต่อความเศร้านั้นอย่างไรบ้าง
2. ทำความเข้าใจกับสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา – ต่อมานักจิตวิทยาจะชวนมองย้อนไปยังปัญหาและสาเหตุของปัญหา ซึ่งจะช่วยให้เพื่อนๆ ยอมรับสภาพของปัญหา และนำไปสู่การรับมือกับสภาวะอกหักได้ดีขึ้น
3. ทบทวนสถานการณ์ความรักและหาทางออก – ในตอนท้าย นักจิตวิทยาจะช่วยประเมินและพิจารณาทางเลือกที่เกิดขึ้นเมื่อความสัมพันธ์จบลง ว่าเหมาะสมกับสิ่งที่เพื่อนๆ ต้องการหรือไม่ และส่งผลดีต่อสภาพจิตใจของเพื่อนๆ หรือไม่ เพื่อสร้างกำลังใจให้สามารถมูฟออนต่อไปได้

ทั้งนี้ คุณกอบุญยังได้เน้นย้ำว่า การให้คำปรึกษาจะเป็นแบบ Client-centered หรือให้ความสำคัญกับผู้ที่มาปรึกษาเป็นหลัก ตามนโยบายของอูก้า กล่าวง่ายๆ คือ บทบาทของนักจิตวิทยาจะเป็นเหมือน “เพื่อนคู่คิด” ที่คอยชวนเพื่อนๆ ทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยกันประเมินทางเลือกที่ดีที่สุด โดยคำนึกถึงความสบายใจ ความสามารถ และความต้องการของเพื่อนๆ เป็นหลัก

สุดท้ายนี้ คุณกอบุญยังได้กล่าวให้กำลังใจเพื่อนๆ ที่กำลังอกหักว่า การหาคนพูดคุยด้วยเกี่ยวกับสภาวะอกหักไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย เนื่องจากคนเราต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ เป็นปกติอยู่แล้ว สภาวะอกหักก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่นักจิตวิทยาพร้อมรับฟังและเสนอแนวทางที่จะช่วยให้เพื่อนๆ มูฟออนต่อไปได้ และที่สำคัญ นักจิตวิทยาจะทำงานโดยยึดจรรยาบรรณและความเป็นส่วนตัวของเพื่อนๆ เป็นหลัก เพราะฉะนั้น อูก้าจึงอยากให้เพื่อนๆ รู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่จะเข้ามาพูดคุยกับนักจิตวิทยานะ

เพราะการได้ระบายความรู้สึกด้านลบในใจออกมาให้ใครสักคนฟัง นอกจากจะช่วยรับฟังเรื่องความสัมพันธ์ครั้งก่อนได้แล้ว ยังสามารถช่วยต่อยอดโครงสร้างความคิดที่เหมาะสมต่อการสร้างความสัมพันธ์ครั้งใหม่ของเพื่อนๆ ได้ด้วย อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak  #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

อ้างอิง

[1] https://www.psychologytoday.com/intl/blog/finding-new-home/202105/the-most-common-causes-heartbreak

[2] https://mywellbeing.com/therapy-101/breakup

Read More

เหตุใดความเฉยชาจึงน่ากลัวกว่าปัญหาวุ่นวายใจ

“มีงานวิจัยจิตวิทยาสังคมที่พบว่า ในระยะแรกเริ่มคนที่ถูกลอตเตอรี่จะมีความสุขสุดๆ แต่ 18 เดือนผ่านไป ระดับความสุขของพวกเขาจะค่อย ๆ ลดลงจนเท่ากับระดับความสุขของคนที่ไม่ถูกลอตเตอรี่”
.
คำพูดนี้ประยุกต์ใช้ได้อย่างไรกับความสุขในที่ทำงาน ?
.
เพื่อน ๆ เคยรู้สึกไหม เริ่มต้นสัปดาห์มาด้วยความสดใส แต่ไม่กี่วันผ่านไป อยู่ดีๆ ไฟแห่งการทำงาน ก็มอดลงเสียดื้อ ๆ อาการเหล่านี้ไม่ใช่ความขี้เกียจแต่อย่างใด แต่ในทางจิตวิทยา อาการนี้ เรียกว่า อาการหมดกำลังใจในการทำงาน (Work Slump) วันนี้อูก้าจะชวนเพื่อนๆมาทำความรู้จักอาการนี้และบอกเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยเรียกพลังใจให้เพื่อน ๆ กลับมาทำงานด้วยพลังเต็มเปี่ยมกันอีกครั้งกัน !
.
อาการหมดกำลังใจในการทำงาน หรือ Work Slump เป็นสภาวะหมดพลังใจ มีอาการเบื่องาน ไม่อยากทำอะไร กายและใจอ่อนล้า ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจกลายเป็นอุปสรรคในการทำงานได้ โดยในทางจิตวิทยา กล่าวว่า สาเหตุหนึ่งของอาการหมดกำลังใจในการทำงานนั้น มาจาก ภาวะ Hedonic Adaptation หรือ การที่สภาวะในจิตใจที่โดยธรรมชาติจะแปรเปลี่ยนความสุขหรือความทุกข์ให้เป็นความรู้สึก “เฉย ๆ”
..

Phillip Brickman และคณะได้อธิบายปรากฎการณ์ Hedonic Adaptation ผ่านงานวิจัยจิตวิทยาสังคม โดยเปรียบเทียบระดับความสุขของคนที่ถูกลอตเตอรี่และคนที่ไม่ถูก ในวารสาร Journal of Personality and Social Psychology ไว้ว่า แม้ว่าในระยะแรกเริ่มคนที่ถูกลอตเตอรี่จะมีความสุขสุดๆ แต่ 18 เดือนผ่านไป ระดับความสุขของพวกเขาจะค่อย ๆ ลดลงจนเท่ากับระดับความสุขของคนที่ไม่ถูกลอตเตอรี่ เช่นเดียวกัน ในแง่ของการทำงาน เมื่อเวลาผ่านไป ความสนุกในทำงาน เมื่อถึงจุดหนึ่งก็กลายเป็นความเฉยๆ จนถึงรู้สึกหมดแรงใจในที่สุด
.
นอกจากนี้ สารเคมีในสมองที่มีหน้าที่ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกอย่าง โดปามีน (Dopamine) ก็เป็นอีกสาเหตุของอาการ Work Slump เช่นกัน โดยสถาบันวิจัย Asociación RUVID ในสเปน เผยว่า สารโดปามีน นอกจากจะหลั่งเมื่อเกิดความรู้สึกพึงพอใจแล้ว สารนี้ยังหลั่งเมื่อร่างกายเกิดความเครียดเช่นกัน และโดปามีนมักจะหลั่งเพื่อให้ร่างกายทำตามสิ่งที่ต้องการให้สำเร็จ ดังนั้น เมื่อเราเริ่มรู้สึกคุ้นเคยกับงาน ไม่ได้รู้สึกว่างานนี้ท้าทาย หรือน่าตื่นเต้นอีกต่อไป ก็อาจมีแนวโน้มที่โดปามีนจะลดต่ำลง เพราะร่างกายไม่เกิดการกระตุ้น ส่งผลให้เรารู้สึกเอื่อยเฉื่อย เบื่อหน่าย และหมดกำลังใจที่จะทำงานเช่นกัน
.
แล้วเราจะเรียกแรงใจกลับมาอย่างไรดี?
.
อูก้ามีเคล็ดลับดี ๆ จาก Fastcompany ที่จะช่วยเรียกพลังใจของเพื่อน ๆ กลับมา รับรองว่าเป็นวิธีที่ไม่ยากและสามารถนำไปปรับใช้กับทุกคนได้อย่างแน่นอน
.
ตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของงาน
เมื่อเพื่อน ๆ หลายคนทำงาน เพื่อน ๆ อาจโฟกัสแค่ว่างานของเราจะเสร็จไหม หรือจะสามารถพัฒนาโปรเจกต์นี้ได้อย่างไรบ้าง แต่หลาย ๆ ครั้ง เพื่อนๆ อาจหลงลืมไปว่า งานทุกชิ้นที่เราทำนั้นมีคุณค่าและสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่นอยู่เสมอ การตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของงานที่เราทำ ว่างานของเราจะมอบความสะดวกสบายและสร้างคุณประโยชน์ให้กับใครบ้าง จะช่วยเรียกขวัญกำลังใจในการทำงาน และทำให้เพื่อน ๆ สามารถกลับมาทำงานได้อย่างเต็มที่ได้
.
ลองเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ
บางครั้งเพื่อน ๆ อาจจะรู้สึกว่า ทำงานมานานแค่ไหน ก็ไม่ก้าวหน้าสักที จนทำให้หมดกำลังใจที่จะไปต่อ แต่จริง ๆ แล้ว เป็นเพราะว่าเรารู้สึกว่าไม่มีอะไรให้เรียนรู้แล้วต่างหาก ดังนั้นการเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เช่น สมัครคอร์สเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาสกิลต่าง ๆ หรือ เข้าร่วมเวิร์กช็อปของที่ทำงาน ทั้งหมดนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะเรียกไฟในการทำงานกลับมาอีกครั้ง
.
สร้างเป้าหมายในแต่ละวัน
ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเลือกที่งานที่ต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง หลายคนต้องทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งอาจทำให้เพื่อน ๆ รู้สึกสูญเสียการควบคุม ดังนั้นการสร้างเป้าหมายของงานจะช่วยให้เพื่อน ๆ สามารถฝึกการแก้ไขปัญหาและรับรู้ถึงความสำเร็จของตน แม้ว่าจะเป็นความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ความสำเร็จเหล่านี้ก็ช่วยสร้างความภาคภูมิใจที่เป็นเหมือนพลังให้เพื่อน ๆ กลับมาทำงานอย่างมีความสุขในวันต่อ ๆ ไป
.
พูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน
เมื่อรู้สึกหมดพลังใจในการทำงาน เพื่อน ๆ อาจจะรู้สึกห่างเหินกับเพื่อนร่วมงานด้วยเช่นกัน การเข้าไปนั่งคุยกับเพื่อนร่วมงาน เล่าถึงสภาวะหมดพลังใจให้พวกเขาฟัง ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยได้ เพราะนอกจากที่จะทำให้พวกเขาเข้าใจถึงสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่และรู้สึกผิดน้อยที่ลงกับความรู้สึกไม่อยากทำอะไร เพื่อน ๆ อาจพบว่า จริงแล้ว ๆ พวกเขาก็อาจเคยพบเจอกับสภาวะหมดพลังใจเช่นกัน การแชร์ปัญหาเหล่านี้ให้คนอื่นฟัง ทำให้เรารู้ว่า เรายังมีคนที่พร้อมอยู่เคียงข้างในทุกปัญหาเสมอ
.
ภาวะหมดพลังใจ อาจทำให้เรารู้สึกเหมือนรถที่กำลังออกเดินทางไปบนท้องถนน แต่อยู่ดี ๆ เชื้อเพลิงก็หมดลงก่อนที่จะไปถึงปลายทาง จนทำให้ไปต่อไม่ได้
.
ลองหาเวลาดับเครื่องยนต์ แล้วเติมเชื้อเพลิงสักนิด ก่อนที่จะออกเดินทางต่อ เผลอ ๆ รถของเราอาจจะวิ่งได้ไกลกว่าเดิม เช่นกัน หากเพื่อน ๆ รู้สึกอ่อนล้า อูก้าจะขอชวนเพื่อน ๆ มาพักกายใจกันสักนิด ก่อนที่จะออกเดินทางกันต่อ ไม่ว่าจะหมดแรงใจสักกี่ครั้ง อูก้าจะคอยรับฟังและอยู่เคียงข้างตรงนี้เสมอ!

.
ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy
.⠀
สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD
.

OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #depression #workslump #หมดไฟ #หมดพลังในการทำงาน #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

,
Sources:
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/690806/
https://www.forbes.com/sites/carolinecastrillon/2020/01/12/how-to-get-out-of-a-work-slump/?sh=12c6af0b75e2
https://www.fastcompany.com/90738302/5-ways-to-get-out-of-a-work-slump

Read More

ชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น

“เหลือเชื่อเหมือนกันว่ายังคงมีชีวิตอยู่จนถึงตอนนี้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว และกำลังเกิดขึ้นอยู่จริงๆ”
.
ขอชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น เพราะวันนี้คือวันป้องกันการฆ่าตัวตายสากล (World Suicidal Prevention Day) ซึ่งเป็นวันสำคัญที่องค์กรอนามัยโลกและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะจิตกำหนดให้มีการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ⛅
.
สถิติระบุว่าในทุก ๆ วัน มีคนที่เลือกจะจบชีวิตด้วยตนเองวันละ 11-12 ราย นอกจากนี้ จากสำรวจของกรมสุขภาพจิต ยังพบว่า สาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย มาจากปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด (48.7%) ซึ่งในหลายครั้ง ความสูญเสียก็เกิดขึ้นโดยที่หลายๆ คน อาจไม่ทันได้ตั้งรับ และสังคมรวมถึงสื่อยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการมองว่า การฆ่าตัวตาย คือการ “คิดสั้น”

.

ไม่ว่าจะเป็นสื่อหรือสาธารณชน มักจะมองว่าการฆ่าตัวตาย คือ “การคิดสั้น” แต่แท้จริงแล้ว การฆ่าตัวตายมีกระบวนการถึง 3 ขั้นตอนก่อนจะนำมาสู่การตัดสินใจจบชีวิต อันได้แก่

.

  1. Suicidal Thought หรือ ความคิดทำร้ายตนเอง

2.Suicidal Plan คือ ขั้นตอนการวางแผนและหาวิธีที่จะทำร้ายตนเอง

3.Suicidal Attempt หรือ ขั้นตอนการพยายามฆ่าตัวตาย หรือ ทำร้ายตนเอง

.

ดังนั้น การจบชีวิตด้วยตนเอง เป็นกระบวนการที่ผ่านการคิดมาอย่างถี่ถ้วน และต้องตัดสินใจอยู่หลายตลบกว่าจะปะทุไปสู่ขั้นตอนสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้น การแปะป้ายว่า “การฆ่าตัวตาย = การคิดสั้น” เป็นการมองข้ามต้นตอของปัญหาและอาจสร้างภาพจำผิด ๆ แก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ

.

⛅ อาจารย์สิริพร เอมอ่อน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแอพลิเคชันอูก้า เผยว่า การฆ่าตัวตายนั้น ในทางจิตวิทยาได้อธิบายว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่

.

1) ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factors) เช่น สารเคมีในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน ฮอร์โมนคอร์ติซอล อยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล

.

2) ปัจจัยทางจิตวิทยา (psychological factors) ได้แก่ พฤติกรรมและบุคลิกภาพ เช่น คนที่มีนิสัยเป็น perfectionist ก็จะมีแนวโน้มกลัวความผิดพลาด และมีโอกาสเครียดง่ายกว่าคนกลุ่มอื่น

.

3) ปัจจัยทางสังคม (sociological factors) คือปัญหาที่มาจากสังคมภายนอกและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ สภาวะทางเศรษฐกิจ หรือความตึงเครียดจากภาระงาน เป็นต้น

.

ทั้งนี้ อาจารย์สิริพรยังเสริมอีกว่า ปัญหาการแม้ว่าจะมีปัจจัยไม่ครบทั้งสามด้าน เพียงแค่ปัจจัยเดียว ก็มากพอที่จะกระตุ้นให้คนหนึ่งคน เกิดความคิดทำร้ายตนเอง ดังนั้น การเฝ้าระวังและตระหนักถึงปัจจัยทาง 3 ด้าน อย่างถี่ถ้วน เป็นวิธีที่สำคัญที่จะป้องกันเพื่อน ๆ และคนรอบข้าง จากความคิดทำร้ายตัวเองซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

.

โดยที่อาจารย์สิริพรยังได้มอบคำแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถสังเกตอาการคนใกล้ชิดของเรา ผ่านการจับสัญญาณจาก 2 จุดหลัก ๆ ได้แก่ สัญญาณ verbal หรือ คำพูด และ สัญญาณ non-verbal หรือ ภาษากายและพฤติกรรม

.

⛅ หากเป็นสัญญาณ verbal เราอาจสังเกตว่า คนนั้นมักจะบ่นหรือระบายว่า “เบื่อโลก หรือ ท้อแท้” นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียถี่ขึ้นผิดปกติ การโพสต์สเตตัสระบาย หรือ การแชร์ข้อความหรือเพลงเศร้า ๆ ก็นับเป็นอีกสัญญาณที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
.

⛅ ในส่วนของสัญญาณ non-verbal อาจสังเกตได้ว่า คนใกล้ชิดของเรา มีอาการซึมเศร้า ไม่มีแรง หรือมีพฤติกรรมแยกตัวจากผู้อื่นอย่างผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้ หากพบรอยแผลตามร่างกายของคนนั้น ก็นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำคัญว่า เขากำลังต้องการความช่วยเหลือจากใครสักคนอยู่ก็เป็นได้

.

⛅ นอกจากนี้ อาจารย์สิริพรยังแนะนำว่า เมื่อไหร่ที่หลุดเข้าไปอยู่ในห้วงความเศร้าเป็นระยะเวลานาน จนไม่สามารถหาทางออกมาจากความรู้สึกเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง หากเราเริ่ม รู้เท่าทันความรู้สึกตัวเอง และตระหนักอยู่เสมอว่าความเศร้าจะไม่อยู่กับเราไปตลอด เราก็อาจมีโอกาสหาทางออกให้กับชีวิตได้

.

⛅ แม้ว่าการตกอยู่ในภวังค์แห่งความเศร้า จะเหมือนกับการว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรโดยมองไม่เห็นชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความช่วยเหลืออีกมากมายในโลกนี้ที่รอให้เราเดินเข้าไปหา ไม่ว่าจะจากคนแปลกหน้า คนที่เรารัก หรือผู้เชี่ยวชาญ

.

💙💙 โดยเนื่องในเดือนป้องกันการฆ่าตัวตายสากลนี้ ผู้ใช้บริการปรึกษาปัญหาใจกับอูก้าครั้งแรก จะได้รับส่วนลด 5% เมื่อจองนัดหมายและกรอกรหัส OOCACARES ผ่านแอปพลิเคชัน ooca 💙💙 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ https://ooca.page.link/fbnewcomer2 และใช้โค้ดได้ถึง 30 กันยายน 2565 (*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ) ⛅

Read More

กาย On-Site ใจ On-Bed = เมื่อคุณมาทำงาน แต่ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว (Presenteeism)

กาย On-Site ใจ On-Bed = ภาวะ Presenteeism : เมื่อคุณมาทำงาน แต่ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว / ภาวะ Presenteeism เป็นการทำงานทั้ง ๆ ที่มีสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่พร้อมที่จะทำงาน ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย หรืออาการป่วยทางใจที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่กล้าที่จะลาหยุด เพราะกลัวจะถูกมองว่าเอาจริงเอาจังกับงานน้อยกว่าพนักงานคนอื่น ๆ

.

แล้วทำไมตัวเราถึงตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism ล่ะ?

.

นักจิตวิตยาคลินิกของอูก้าได้ให้คำแนะนำกับเราว่าการที่ผู้คนตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism เกิดได้หลายปัจจัย แต่ขอแบ่งเป็นสองข้อใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

.

1. ปัจจัยทางสังคมอันเกิดจาก วัฒนธรรมและนโยบายของบริษัทในที่ทำงานมองว่าการทำงานล่วงเวลาเป็นเรื่องที่ดี หรือที่บริษัทมีงานเยอะจนอาจจะทำงานไม่ทัน สิ่งเหล่านี้จึงทำให้พนักงานไม่กล้าพักงานหรือลางาน และพยายามทำงานให้ดีที่สุด เพื่อป้องกันการให้ออกจากงาน

2. ปัจจัยเรื่องของส่วนบุคคลหรือด้านจิตใจ คนที่ตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism อาจรู้สึกว่าไม่ชอบปฏิเสธ ไม่กล้าลา กลัวการทำให้คนอื่นเดือดร้อน เพราะว่าแคร์คนอื่นมากจนมองข้ามความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง

.

ดังนั้นเราจึงแสดงออกถึงความทุ่มเทและความตั้งใจในการทำงาน เพื่อสร้างความประทับใจให้กับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน แม้ว่าใจของเราอยากจะพักผ่อนหรือไปทำอย่างอื่นแทนก็ตาม

.

นอกจากนี้ งานวิจัยจาก The Work Foundation พบว่าภาวะ Presenteeism ในที่ทำงาน ทำให้เสียประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าการลาป่วยถึง 150%

.

อีกทั้งรายงานจาก CIPD (The Chartered Institute of Personnel and Development ) ยังเผยว่า พนักงานที่มีภาวะ Presentism เพิ่มขึ้นนั้นมีโอกาสเป็นสองเท่าที่จะลางานเพราะความเครียดที่เพิ่มขึ้น และพวกเขายังมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางสุขภาพจิตมากกว่าพนักงานคนอื่น ๆ ถึงสองเท่า

.

ซึ่งจริง ๆ แล้ว การที่เพื่อน ๆ จะลาหยุดเพื่อไปพักผ่อนกายหรือใจ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะทุกคนย่อมประสบกับความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักได้ โดยหากเรายิ่งฝืนทำงานต่อ ประสิทธิภาพการทำงานของเราก็จะยิ่งแย่ลง

.

หากเรารู้สึกว่าไม่ไหวจะไปต่อจริง ๆ วิธีนี้จะสามารถช่วยเติมพลังกายและใจให้เพื่อน ๆ กลับมาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่ได้พักผ่อนเลย จะยิ่งทำให้หลาย ๆ คนรู้สึก burnout ไม่อยากทำงาน จนนำไปสู่ภาวะ presenteeism มากขึ้น

.

หยุดฝืนตัวเองแล้วเลือกที่จะพักผ่อน ลองหาเวลาปลีกตัวออกไปเปลี่ยนบรรยากาศให้ธรรมชาติได้เยียวยาหัวใจและให้ตัวเองได้รู้สึกสดชื่นและผ่อนคลายมากขึ้น แต่ถ้าทำทั้งหมดที่อูก้าแนะนำมาแล้วยังอยากเติมพลังใจเพิ่มขึ้นอีก พื้นที่แห่งความสบายใจของอูก้าแห่งนี้ก็ยินดีต้อนรับเพื่อน ๆ เสมอ 🙂

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

.

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

1. https://www.bbc.com/worklife/article/20210604-why-presenteeism-always-wins-out-over-productivity

2. https://www.brandbuffet.in.th/2018/08/cigna-well-being-research-thai-behavior-2018/

3. https://www.robertsoncooper.com/blog/five-ways-to-reduce-presenteeism-in-the-workplace/

.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #OOCAissues

#mentalhealth #stigma #selflove #expectation #Presenteeism #OOCAfeelings #OOCAreminder #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More

เมื่ออาการทางกาย หลายครั้งสัมพันธ์กับอาการทางใจ

อ.สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาของอูก้า เล่าให้เราฟังว่า “หลายๆ คน เลือกที่จะเพิกเฉยกับความเครียดหรือความเจ็บปวดทางใจ จนกว่าอาการดังกล่าวจะถึงจุดพีคแล้วค่อยเข้ามาหาผู้เชี่ยวชาญ” แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถมาหาผู้เชี่ยวชาญได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อคลี่คลายความเครียดและความกังวลก่อนที่ทุกอย่างจะสายและพังทลายลงมา

.

โดยเราสามารถเริ่มต้นสังเกต “สัญญาณเตือน” ได้ว่า เรามีอาการเจ็บกายที่เกิดขึ้นจากการทำงานหรือไม่ เช่น ปวดหลัง ปวดท้อง หรืออาการปวดหัว ซึ่งอาการเหล่านี้มักถูกมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นผลปกติที่เกิดจากการทำงานหนัก แต่ที่จริงแล้ว อาการดังกล่าวก็เป็นเสียงสะท้อนของร่างกายที่กำลังบอกใบ้ว่าจิตใจของเรากำลังเหนื่อยล้าและเสียสมดุล

.

ดังนั้น ถ้ารักษาทางกายแล้วไม่ยอมหาย บางทีปัจจัยทางใจก็ต้องถูกเอามาพิจารณาด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งเราสามารถระบายความรู้สึกเหล่านี้ได้กับคนที่เราไว้ใจอย่างเพื่อน ครอบครัว หรือแฟน แต่ถ้าบางเรื่องเราไม่อยากเล่าให้คนรู้จักหรือคนที่เกี่ยวข้องฟัง การปรึกษากับนักจิตวิทยาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเยียวยาใจเราได้เช่นกัน

.

โดยเฉพาะในระยะหลังมานี้ การให้จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพจิตของบุคลากรในองค์กร ก็เป็นอีกส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางใจให้และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าใจ “ธรรมชาติ” ของตนเองได้ดียิ่งขึ้น เพื่อหาทางออกให้รู้สึกเหนื่อยล้าน้อยลงและพัฒนาตัวเราไปสู่เวอร์ชั่นที่มีความสุขกับชีวิตมากกว่าเดิม

.

อูก้าเชื่อว่าทุกปัญหามีทางออกเสมอ แต่ถ้าเพื่อนๆรู้สึกว่ายังต้องการหาใครสักคนมาร่วมทางเพื่อฝ่าฟันปัญหาไปด้วยกัน อูก้าก็พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างทุกคน และหวังว่าจะช่วยคลายความเหนื่อยล้าทางใจของเพื่อน ๆ ได้ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม

.

เพราะไม่ว่าใครก็ต้องการจุดพักใจที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับตัวเอง

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย : https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย : https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official :

https://lin.ee/6bnyEvy

Read More