ป้องกันภาวะหมดไฟ ด้วยสวัสดิการดูแลใจในระยะยาว
เพราะ Job Burnout ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจไปยังกิจกรรมที่ผ่อนคลาย แต่ต้องการการพูดคุยเชิงลึกถึงคุณค่าในตัวเองและการแก้ปมปัญหาต่างๆ ที่อาจจะพูดกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าตรงๆ ได้ยาก
.
Job Burnout หรือภาวะหมดไฟจากการทำงาน เป็นลักษณะความเครียดเฉพาะตัวที่ต่างจากความเหนื่อยล้าทั่ว ๆ ไป เนื่องจากความเหนื่อยล้าทั่วไปนั้นหากแวะทำกิจกรรมคลายเครียดก็พอจะบรรเทาลงได้ แต่ Burnout ไม่ได้เรียบง่ายแบบนั้น หากแต่ Job Burnout คือภาวะความเหนื่อยล้าทางร่างกายและอารมณ์ อันเกิดจาก…
.
🧐 การที่ตัวเรารับรู้ถึงความสำเร็จได้ยากขึ้น
🧐 รับรู้ถึงการเป็นตัวของตัวเองที่ค่อย ๆ เลือนหายไป
🧐 รู้สึกกดดันจากความคาดหวังในการทำงานของตัวเอง
.
ซึ่งสำหรับหลายๆ คน กว่าจะรู้ตัว ไฟก็ดับสนิทแถมยังโดนราดน้ำตาจนจุดไม่ติด ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีต่อใครเลยทั้งต่อตัวเราเอง ทั้งต่อทีมงาน และองค์กร
.
👀
ศูนย์การแพทย์เชิงวิชาการ Mayo Clinic จากรัฐมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเสนอคำถาม 10 ข้อ ที่เอาไว้ประเมินว่าพนักงานกำลังอยู่ในสภาวะหมดไฟทำงาน (Job Burnout) หรือไม่ ซึ่งสามารถสำรวจได้จากรายการต่อไปนี้:
.
1. เคยประชดประชัน พูดจาเสียดสีหรือจับผิดคนอื่นในที่ทำงานไหม?
2. รู้สึกไม่อยากออกไปทำงาน และเมื่อถึงที่ทำงานกลับไม่รู้ว่าจะเริ่มทำงานอะไรบ้างหรือเปล่า?
.
3. รำคาญใจหรือไม่สามารถอดทนต่อการกระทำหรือคำพูดของเพื่อนร่วมงานได้น้อยกว่าแต่ก่อนไหม?
4. รู้สึกว่าไม่อยากจะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ อีกต่อไป หรือคิดงานไม่ค่อยออกบ้างหรือเปล่า?
.
5. การจดจ่ออยู่กับงานเป็นเวลานานกลายเป็นเรื่องยากแล้วหรือยัง?
6. ไม่รู้สึกพึงพอใจในความสำเร็จที่เกิดจากงานของตนเองไหม?
.
7. รู้สึกผิดหวังเพราะรับรู้ว่างานของตนเองไม่ได้ดีอย่างที่คิดไว้ไหม?
8. เคยใช้อาหาร ยาเสพติดหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ให้ตัวเองรู้สึกดีจากความรู้สึกแย่ ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานหรือเพื่อนร่วมงานหรือไม่?
.
9. กิจวัตรการนอนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือเปล่า? (เช่น นอนหลับยาก นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อยๆ หรือนอนหลับฝันร้ายติดต่อกันหลายวัน หรือนอนหลับมากจนเกินไปจนไม่อยากตื่นไปทำงาน)
.
10. เคยทรมานจากอาการปวดหัว ปวดท้อง มีปัญหาการขับถ่ายหรือมีอาการผิดปกติทางกายที่หาสาเหตุไม่ได้ เมื่อจำเป็นจะต้องไปทำงาน หรือขณะทำงานอยู่บ่อย ๆหรือเปล่า?
.
🔥🔥🔥
หากพนักงานมีอาการดังกล่าวร่วมกัน แปลว่าระบบนั้นกำลังต้องการการยกเครื่องครั้งใหญ่เลยทีเดียว
.
และเพราะ Job Burnout ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจไปยังกิจกรรมที่ผ่อนคลาย แต่ต้องการการพูดคุยเชิงลึกถึงคุณค่าในตัวเองและการแก้ปมปัญหาต่างๆ ที่อาจจะพูดกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าตรงๆ ได้ยาก ในองค์กรขนาดใหญ่ที่เล็งเห็นว่าสุขภาพจิตเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาประสิทธิภาพ จึงได้จัด “โปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน (Employee assistance program หรือ EAP)” ซึ่งเป็นบริการทางจิตวิทยาให้กับพนักงานที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต หรือเสี่ยงต่อภาวะหมดไฟ
.
👩⚕️⛅️
อาจารย์ สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้าก็ฝากมาบอกทุกคนว่า “หมดไฟ หมดได้แต่อย่าหมดรักตัวเองนะคะ เราสามารถเติมไฟให้ตัวเองได้ด้วยการเริ่มต้นรักและดูแลหัวใจตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ค่ะ”
.
เพราะเราทุกคนในอูก้าพร้อมจะรับฟังทุกปัญหาและร่วมหาทางออกไปพร้อมกับเพื่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องที่คนวัยทำงานต้องแบกรับ โดยอูก้าขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่ทำงานหนักเพื่ออนาคตของตัวเองและคนที่คุณรัก – อย่าหักโหมจนลืมดูแลสุขภาพกายใจ หยุดพักแล้วแวะมาคุยเพื่อเติมไฟและพลังใจกันได้เสมอ เพราะคุณน่ะมีอยู่แค่คนเดียวในโลกเองนะ 🙂
.
.
อ้างอิง
.
.
รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า
ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD
หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่คัดมาให้ทุกคน
แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy
.
อ้างอิง
#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#WORKLIFEBALANCE #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์ #burnout #หมดไฟ
Recent Comments