กังวลอนาคตแบบนี้ต้องไปหาใครดี จิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือหมอดู?

ในช่วงที่หลายคนรู้สึกไม่มั่นคงกับชีวิต ไหนจะสถานการณ์ #โควิด19 ที่เข้ามาสร้างความไม่แน่นอนให้กับอนาคตแบบนี้ ทำให้ผู้คนเป็นกังวลกันมากขึ้นว่าหลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของเราบ้าง บางคนถึงขั้นเลือกที่จะจัดการกับความกังวลของตัวเองด้วยการหันไปพึ่งสายมูเตลู หรือตัดสินใจไปดูดวงกันเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเรื่องทางจิตวิญญาณอย่างบุญ-บาป นรก-สวรรค์ หรือไสยศาสตร์ ไม่ตอบโจทย์กับคนรุ่นใหม่แล้วก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงนี้ ‘การดูดวง’ หรือ ‘#มูเตลู’ กำลังเป็นกระแสในสังคมเป็นอย่างมาก และกลายเป็นว่าทำให้ผู้คนหันไปพึ่งการดูดวงในการจัดการกับความกังวลเกี่ยวกับชีวิตในอนาคตกันมากขึ้น 🥺

🔮 ทำไมคนเราถึงชอบการดูดวง?

ความแม่นของการดูดวงเป็นตัวตัดสินใจว่าเราพอใจกับคำทำนายหรือไม่ คนที่ชอบดูดวงหลายคนคงมีหมอดูหรือเพจดูดวงในใจที่วัดจากความแม่นยำของหมอดู โดยเหตุการณ์ที่ทำนายดวงได้อย่างแม่นยำสามารถอธิบายได้ตามหลักจิตวิทยาที่เรียกว่า The Barnum-Forer Effect ได้อธิบายไว้ว่า คำทำนายส่วนใหญ่เป็นเรื่องทั่วไปที่สามารถใช้ได้กับทุก ๆ คน เช่น การทำนายว่าคุณต้องประหยัดในช่วงโควิด-19 หรือ คุณมีแนวโน้มที่จะได้แฟนหน้าตาดี คำทำนายแบบนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอเหมือนกัน นอกจากนี้การดูดวงโดยถามอายุ วันเกิด จักรราศี หรือการเลือกไพ่ 4 ใบก่อนเปิดดูดวง ทำให้เรารู้สึกว่าคำทำนายเกิดมาเพื่อเราจริง ๆ เพราะดูมีลักษณะเฉพาะตัวตรงกับเรามาก ทำให้เราเชื่อคำทำนายนี้ไปอย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ เลย

นอกจากนี้ คนเราเลือกที่จะเชื่อในสิ่งที่ตนเองอยากเชื่อจนเกิดเป็นอคติยืนยันความคิดของตนเอง (Confirmation Bias) คือ การที่เราเชื่อแต่ข้อมูลที่ต้องการจะเชื่อโดยไม่พิจารณาถึงข้อมูลอื่น ๆ ความอคติในการคิดแบบนี้ทำให้เราเชื่อมโยงทุกเหตุการณ์เข้ากับการดูดวง เช่น ดูดวงรายวันแล้วพบว่าคนคุยเก่าจะกลับมาหาในช่วงนี้ พอคนคุยเก่าทักมาหาเราจริง ๆ เราก็จะเชื่อมโยงกับคำทำนายที่อ่านมาและรู้สึกว่าเป็นคำทำนายที่ตรงมาก ๆ ทั้งที่คนคุยเก่าอาจจะมีเหตุผลอื่นที่ทักมาหาเราก็ได้ เมื่อเหตุการณ์เป็นจริงตามคำนาย เราก็จะสนใจและจดจำได้เฉพาะเหตุการณ์เหล่านี้ ในขณะที่คำทำนายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เราก็จะไม่ได้ให้ความสำคัญหรือสนใจมัน ทุกครั้งที่เรารู้สึกว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นไปตามคำทำนายอย่างที่คาดหวังไว้ มันจะยิ่งทำให้เราอยากดูดวงมากขึ้น

🔮 อยากรู้อนาคตล่วงหน้า ‘หมอดู’ ช่วยคุณได้ ?

ความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่ผู้คนต้องคอยหวาดระแวงทั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 และภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่าง #น้ำท่วม แบบนี้ ทำให้เรารู้สึกไม่สามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตได้ และเกิดความกังวลกับอนาคต ไม่รู้ว่าหากก้าวเดินต่อไปแล้วจะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง การดูดวงจึงเป็นเหมือนแสงไฟที่ช่วยให้เห็นทางเดินข้างหน้าและเป้าหมายในอนาคต ผู้คนที่ได้ดูดวงได้รับความสบายใจกับการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคต อีกทั้งยังช่วยในการตัดสินใจสำหรับคนที่ยังลังเลกับทางเลือกที่สำคัญของตัวเอง หรือรู้สึกกังวลว่าควรเลือกทางไหนดีได้ด้วย

และการดูดวงสำหรับบางคนก็ยังช่วยเสริมความมั่นใจในตัวเองได้เป็นอย่างมาก เช่น การใส่เสื้อตามสีมงคล เช่น สีน้ำเงินในวันจันทร์ ก็ช่วยลดความเครียดในการทำงานเพราะเชื่อว่าสีน้ำเงินจะช่วยให้เราโชคดีไปทั้งวันได้ หรือว่าจะเป็นเครื่องรางหรือสิ่งของมงคลติดกระเป๋าไว้ระหว่างไปสัมภาษณ์งาน ทำให้เรารู้สึกมั่นใจว่า การสัมภาษณ์ครั้งนี้ต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

💙 อยากจัดการกับความกังวลอนาตคที่คอยรบกวนจิตใจให้ไปหา ‘จิตแพทย์และนักจิตวิทยา’

แม้ว่าการดูดวงจะคลายกังวลให้เราได้บ้าง แต่หลายครั้งการดูดวงอาจทำให้เรากังวลกว่าเดิมหากพบว่าอนาคตเราจะเจอเรื่องร้าย หรือเจอเรื่องที่ไม่เหมือนกับที่หมอดูบอกไว้ ที่สำคัญคือความกังวลและปัญหาที่เราเผชิญไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการรู้อนาคตเพียงอย่างเดียว เมื่อนั้นจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้คลายกังวลในเรื่องของอนาคตและผ่านพ้นปัญหาไปได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจเหล่านี้จะช่วยให้เรารู้สึกสบายใจและเข้าใจถึงปัญหาที่คอยรบกวนจิตใจของเราอยู่ตลอดเวลา โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและให้อยู่กับปัจจุบันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และช่วยให้เราตัดสินใจเรื่องอนาคตก็ควรตัดสินใจด้วยตัวเองมากกว่าการใช้โชคชะตามากำหนดอนาคตของเรา การไปหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจึงเป็นตัวเลือกที่ช่วยให้เราทำความเข้าใจความคิดและเหตุผลต่าง ๆ ในการเลือกตัดสินใจมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยประเมินและจัดการกับความเครียดหรือความกังวลที่ส่งผลต่อสุขภาพใจด้วย

💊 จิตแพทย์และนักจิตวิทยาช่วยเราให้หายกังวลอนาคตได้อย่างไร?

อย่างที่รู้กันดีว่า จิตแพทย์และนักจิตวิทยามีความเชี่ยวชาญในการจัดการกับปัญหาสุขภาพใจ เช่น ความเครียด ความกังวลอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาว่าจะเลือกใช้ทฤษฎีไหนในการจัดการความรู้สึกเชิงลบเหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม หรือ Cognitive Behavioral Therapy (CBT) ซึ่งเป็นการบำบัดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันมาช่วยจัดการกับความเครียดหรือความกังวลของเรา โดยการบำบัดนี้จะช่วยจัดการกับความคิดที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความรู้สึกเครียดหรือกังวลผ่านการพูดคุยหรือการใช้ยา ก่อนที่จะช่วยปรับความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับเราและจัดการกับความเครียดความกังวลต่าง ๆ ได้

ไม่ว่าจะเป็นการดูดวงหรือการไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจ หากทั้งคู่สามารถช่วยให้เราหายกังวลอนาคต มันก็เป็นเรื่องที่ดีสำหรับสุขภาพใจของเราแล้ว แต่เมื่อไรก็ตามที่ความกังวลอนาคตกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากเกินไป เช่น นอนไม่หลับ คิดวนเรื่องเดิมจนคิดเรื่องอื่นไม่ได้ พฤติกรรมการทานอาหารเปลี่ยนไป คนที่เราควรไปหาจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อรับการเยียวยาความเครียดอย่างถูกต้องและทันเวลา

หากคุณกำลังกังวลอนาคตไม่รู้ว่าจะจัดการได้อย่างไร อย่าลืมให้อูก้าเป็นตัวช่วยของคุณนะ เรามีทีมนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ยินดีรับฟังเรื่องราวของคุณตลอด 24 ชม. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่เราพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างคุณเสมอ จะอยู่บ้าน ที่ทำงาน กลางสวนสาธารณะหรือที่ไหนก็มาหาเราได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้อูก้ายังมีสารพัดวิธีดูแลใจและสิทธิพิเศษอีกมากมายที่รอให้ทุกคนมาเลือกสรร แอดเลย Line Official 👉🏻 https://lin.ee/6bnyEvy

เรื่องของใจให้เรารับฟังนะ 💙💚

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/Ar2K

อ้างอิงข้อมูลจาก:

Psychology Today: https://bit.ly/3CPAsfR

Read More

Nervous breakdown คืออะไร ใช่ “ซึมเศร้า” ที่เรารู้จักหรือเปล่า ?

Nervous Breakdown แปลตรงตัวว่า “อาการทางประสาท” หรือ “อาการทางจิต” เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงช่วงเวลาที่เรามีความทุกข์ทางจิตใจอย่างรุนแรง เป็นช่วงที่เราไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ แต่ไม่ใช่การวินิจฉัยทางเทคนิคเพราะไม่ใช่ความเจ็บป่วยทางจิตที่เฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ร่างกายและจิตใจไม่สามารถอดทนต่อความเครียดได้ ไปจนถึงกระทบต่อความสุข ความรื่นรมย์ในชีวิต

ในอดีตเมื่อเราเกิดวิกฤตสุขภาพจิตที่คล้ายกับอาการทางจิตหรือทางประสาท คำนี้เคยใช้เพื่ออธิบายถึงอาการเจ็บป่วยทางจิตที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล โรคเครียดเฉียบพลัน ภาวะหมดไฟ ซึ่งอาการทางประสาทนี้ก็แตกต่างไปตามระดับความเครียดและรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เราพบเจอ

แม้ว่า “อาการทางประสาท” จะไม่ถือเป็นคำศัพท์ทางการแพทย์อีกต่อไป แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากใช้คำนี้เพื่อพูดถึงอาการเครียดรุนแรง ภาวะที่ไม่สามารถรับมือกับความท้าทายในชีวิตได้ ดังนั้นสิ่งที่คนอื่นมองว่าเป็นอาการทางจิตอาจเป็นเพียงความเจ็บป่วยทางจิตที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง แต่ถูกนำไปเรียกกันแบบผิด ๆ เท่านั้นเอง ซึ่งขอบเขตของอาการทางประสาทไม่ได้มีกำหนดไว้ชัดเจน

อาการที่สังเกตได้ว่าเข้าข่าย Nervous Breakdown

เราอาจพบอาการผิดปกติทั้งทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม สัญญาณของอาการทางประสาทแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เนื่องจากคำนี้ไม่ได้ใช้ในวงการแพทย์อีกต่อไปแล้ว จึงมีการอธิบายอาการผิดปกติทางประสาทโดยใช้อาการต่าง ๆ มากมายมาพูดถึง ไม่ว่าจะเป็น

  • กลุ่มอาการซึมเศร้า (Depressive symptoms) เช่น การสูญเสียความหวังและความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตนเอง
  • ความวิตกกังวลที่มาร่วมกับความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อตึง มือชื้น เวียนศีรษะ ปวดท้อง ตัวสั่น
  • อาการนอนผิดปกติ เช่น นอนไม่หลับ
  • เห็นภาพหลอน
  • อารมณ์แปรปรวน หรือระเบิดอย่างไม่มีสาเหตุ
  • อาการแพนิก (Panic attacks) ซึ่งรวมถึงอาการเจ็บหน้าอก การหลุดออกจากโลกของความเป็นจริง ความกลัวอย่างรุนแรง และอาการหายใจลำบาก
  • ความหวาดระแวง (Paranoia) เช่น เชื่อว่ามีคนเฝ้าดูหรือสะกดรอยตาม
  • การนึกถึงเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ โรคเครียดหลังจากได้รับ บาดแผลที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่าง Post-traumatic stress disorder (PTSD)

ซึ่งก่อนที่จะมีอาการรุนแรง คนที่มีอาการทางประสาทมักถอนตัวจากครอบครัว เพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมงาน สัญญาณเบื้องต้นดังกล่าว อาจรวมถึง

  • หลีกเลี่ยงหน้าที่และการมีส่วนร่วมทางสังคม
  • พฤติกรรมการกิน / นอนเปลี่ยนไป
  • ไม่ค่อยดูแลตัวเองหรือรักษาสุขอนามัย
  • ป่วยบ่อย เจ็บปวดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีปัญหาในการคิด สมาธิ ตัดสินใจ หรือทำงานให้เสร็จ
  • ความรับผิดชอบลดลง ขาดงานหรือไม่มาทำงานเลย
  • เก็บตัวอยู่คนเดียวเป็นระยะเวลานาน
  • เหนื่อยล้า เฉื่อยชา ง่วงตลอดเวลา
  • อาจมีอารมณ์แปรปรวนแบบสุดขั้ว

ต้นตอของอาการทางประสาทนั้นมาจากสาเหตุที่แตกต่างกันก็จริง แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ มีความเครียดเกิดขึ้นและเราประสบกับความล้มเหลวในการรับมือกับความเครียด สำหรับคนที่รับมือกับความเครียดได้ดีและมีวิธีในการจัดการจะประคองตัวเองไว้ได้ก่อนที่จะเข้าสู่วิกฤตสุขภาพจิต ตรงกันข้ามกับผู้ที่รับมือได้ไม่ดีอาจจะสติแตกแม้แต่กับสิ่งที่คนอื่นมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย

หลายคนสงสัยว่าอาการทางประสาทนั้นเกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้าหรือไม่ ?

ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดก็คืออาการทางประสาทนั้น เป็นจุดเริ่มต้นก่อนที่ทางการแพทย์จะบัญญัติแยกอาการต่าง ๆ ออกมาเป็นแต่ละโรค เหมือนกับการศึกษาอาการป่วยทางกายที่มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ โดย สำหรับ “โรคซึมเศร้า” (Major depressive disorder : MDD) ในทางการแพทย์นั้นหมายถึง ภาวะซึมและเศร้าที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้าทั่ว ๆ ไป ถือเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง เกิดจาก 2 สาเหตุหลักคือ 1) ปัจจัยทางชีวภาพหรือพันธุกรรม 2) ปัจจัยด้านจิตใจหรือสิ่งแวดล้อม เช่น สารสื่อประสาทในสมองหรือความผันผวนของระดับฮอร์โมน

อาการทางประสาทที่เกิดจากความวิตกกังวลหรืออาการซึมเศร้า

บ่อยครั้งเราพบว่าอาการทางประสาทจะเกิดขึ้นกับคนที่มีความเจ็บป่วยทางจิตแฝงอยู่ แต่อาจไม่ได้รับการวินิจฉัยและไม่ได้รับการรักษา โรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด แล้วถ้าอยู่ในขั้นรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการทางประสาทได้ ซึ่งโรควิตกกังวลที่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ ภาวะวิตกกังวลทั่วไป ภาวะวิตกกังวลทางสังคม และโรคตื่นตระหนก ลักษณะเด่นคืออาการกังวลมากเกินไปและความรู้สึกวิตกกังวลแทบจะตลอดเวลา จนอาจทำให้เกิดความทุกข์ ความผิดปกติ อาการทางร่างกาย และปัญหาในการคิดตามมา การไม่จัดการความวิตกกังวลและความเครียดมักนำไปสู่อาการทางประสาท

และในส่วนของอาการซึมเศร้าเป็นภาวะสุขภาพจิตที่พบเป็นอันดับต้น ๆ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะรู้สึกเหนื่อยล้า เศร้าและสิ้นหวังอยู่เสมอ โดยที่ไม่สามารถดึงความสนใจกลับมาเพื่อทำกิจกรรมตามปกติได้ เช่นเดียวกับโรควิตกกังวล ภาวะเช่นนี้ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันหรือจดจ่อกับการทำงานได้ลำบาก เมื่อไม่ได้รับการรักษา การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเยียวยาตัวเองหรือการรับมือกับอารมณ์ก็เป็นไปได้ยาก และความเครียดที่เพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่อาการทางประสาทได้ง่าย

เป็นซึมเศร้าก็หายได้ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ

เมื่อเกิดจากภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลจึงจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเพื่อจัดการกับภาวะที่เป็นต้นเหตุ การรักษาอย่างต่อเนื่องและการดูแลตนเองจะช่วยให้บุคคลที่วิตกกังวลหรือซึมเศร้าฟื้นตัวเร็วขึ้นจากอาการทางประสาท และยังให้ปรับวิธีคิดให้สอดคล้องกับการเผชิญปัญหาเพื่อช่วยป้องกันในอนาคตได้อีกด้วย

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยป้องกันอาการทางประสาทได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของการเกิดได้ด้วย

เนื่องจากอาการทางประสาทอาจเกิดขึ้นได้จากระดับความเครียดที่แตกต่างกัน ทั้งภาวะสุขภาพจิตและความผิดปกติที่เกิดขึ้นร่วมกัน และความผิดปกติจากการใช้สารเสพติด แอลกอฮอล์ การวินิจฉัยและการประเมินที่ครอบคลุมจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถือเป็นเรื่องจำเป็นในการจัดเตรียมแผนการรักษาเฉพาะบุคคล รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยป้องกันอาการทางประสาทได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของการเกิดได้ด้วย เริ่มจากการคำนึงถึง 4 ข้อดังต่อไปนี้

  1. การบำบัด การทำงานร่วมกับนักบำบัดโรคอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยให้ผู้ป่วยจัดการและลดความเครียด เรียนรู้กลไกการเผชิญปัญหาที่ดีต่อสุขภาพ ดำเนินการตามขั้นตอนสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่จำเป็น การบำบัดแบบกลุ่มอาจช่วยให้ผู้ป่วยแบ่งปันและทำความเข้าใจว่าคนอื่น ๆ ที่เผชิญปัญหาใกล้เคียงกันฟื้นตัวอย่างไร
  2. ยา หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิต เช่น โรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวล การรักษาด้วยยาเพื่อช่วยรักษาอาการต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องจำเป็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและความร่วมมือของผู้เข้ารับการรักษาด้วย
  3. เปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ วิธีนี้คือการพิจารณาลึกลงไปถึงต้นตอของความเครียดในชีวิตที่อาจมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นอาการเจ็บป่วยทางใจ บางครั้งอาจหมายถึงการปรับตัว การหางานใหม่ การยุติความสัมพันธ์ หรือการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่
  4. ครอบครัวบำบัดและการศึกษา ไม่ใช่แค่การดูแลตัวเองแต่การบำบัดอาจเกี่ยวข้องกับครอบครัวและคนรอบตัวด้วย เป็นวิธีที่ดีในการให้ความรู้กับคนที่สำคัญที่สุดทางความรู้สึก เพื่อให้พวกเขาเข้าใจอาการเจ็บป่วยทางใจที่เกิดขึ้นและเรียนรู้วิธีที่พวกเขาจะสามารถช่วยเหลือคุณได้ดีที่สุด

การพบแพทย์เพราะปัญหาทางใจไม่ใช่เรื่องผิดปกติ

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะรับมือกับความเครียดในชีวิตบางเรื่องไม่ได้ แต่ถ้าไม่ได้จัดการกับความเครียดอย่างถูกวิธีก็อาจกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน หากเรารู้สึกว่าอารมณ์ความรู้สึกเปลี่ยนไป สังเกตเห็นอาการที่ได้กล่าวไปข้างต้น นอกจากแพทย์จะช่วยรักษาอาการทางร่างกายได้ ยังสามารถแนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ได้อีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเหล่านี้จะช่วยรักษาอาการทางอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรมโดยรวมได้

แล้วในปัจจุบันการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตก็ไม่ใช่เรื่องยาก มีบริการให้คำปรึกษาทางออนไลน์มากมาย สามารถนัดหมายได้ตามวันและเวลาที่สะดวกโดยไม่ต้องเดินทางอย่าง “อูก้าแอปพลิเคชันคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านวีดีโอคอล” #อูก้ามีทางออก #ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์

  • มีผู้เชี่ยวชาญที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี
  • ปรึกษาได้ทุกปัญหาส่วนตัวและอาการของความเครียด
  • สะดวก ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวสูง
  • มีแบบทดสอบความเครียดเพื่อการประเมินที่เชื่อถือได้
  • แพ็กเกจบริการหลากหลายที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าองค์กร
  • มีการประเมินผลความเครียดเป็นตัวเลขเพื่อให้เห็นผลได้ชัดเจน
  • มีระบบรายงานความเครียดและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเฉพาะรายบุคคล

นอกจากนี้เรายังสามารถดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอได้ด้วยการ

  • ใช้เทคนิคการผ่อนคลายและควบคุมสติ การบำบัดทางเลือกและการรักษาแบบองค์รวมอาจใช้เพื่อรักษาอาการทางประสาท แต่ทั่วไปเราสามารถทำสมาธิ โยคะ การออกกำลังกาย ฯลฯ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อย่างการเดินไปรอบ ๆ เป็นเวลา 30 นาที
  • เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การกำหนดลมหายใจเข้าออก ฝึกคลายความโกรธ
  • ใส่ใจการนอนหลับให้เป็นปกติ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงทุกคืน
  • หลีกเลี่ยงยาเสพติด แอลกอฮอล์ คาเฟอีน และสารอื่นๆ ที่สร้างความเครียดให้กับร่างกาย
  • ไปพบแพทย์หรือเข้าร่วมการให้คำปรึกษาเพื่อจัดการกับความเครียด
  • อย่าลืมพักผ่อน ลดระดับความเครียดของคุณด้วยการเว้นจังหวะชีวิตบ้าง อย่างการพักช่วงสั้นๆ จัดระเบียบสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยและกิจกรรมประจำวันของคุณให้ดีขึ้น

มีคนจำนวนไม่น้อยที่ประสบกับช่วงเวลาของความเครียด ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ไปจนถึงรู้สึกสิ้นหวังในบางครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจ หรืออย่างช่วงนี้ที่เราเผชิญกับการแพร่ระบาดที่ร้ายแรง หากปล่อยให้จุดเริ่มต้นของความเจ็บป่วยนี้ลุกลาม เราอาจเข้าสู่อาการดังกล่าวและเข้าสู่ภาวะเจ็บป่วยทางใจ แต่ไม่ต้องกลัวหากมันเกิดขึ้น เพราะเราสามารถรักษาสภาพจิตใจของเราให้กลับมาแข็งแรงได้ ด้วยการเข้ารับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ การรับคำปรึกษา และการรักษาอื่น ๆ เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติเหมือนเดิม

อย่าให้สุขภาพจิตรบกวนใจ ไม่ว่าอาการทางใจจะเล็กหรือใหญ่ก็ใช้บริการดูแลใจกับอูก้าได้ เรายินดีอยู่เคียงข้างและเป็นเพื่อนที่คอยรับฟังเสมอ เพราะการมอบความสุขให้ตัวเองนั้นเป็นเรื่องสำคัญ อูก้าสนับสนุนให้ทุกคนมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงพร้อมเดินต่อไปด้วยกันนะ

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/U781

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

https://www.manarom.com/blog/depression_disorder.html

https://www.medicalnewstoday.com/articles/321018#when-to-see-a-doctor

https://www.healthline.com/health/mental-health/nervous-breakdown#symptoms

https://www.bridgestorecovery.com/nervous-breakdown/types-nervous-breakdowns/

Read More

ศาสนา vs จิตวิทยา เมื่อความเชื่อและวิทยาศาสตร์มาบรรจบกัน

ในช่วงนี้ #พระมหาไพรวัลย์ และ #พระมหาสมปอง เรียกได้ว่ากำลังเป็นกระแสในโซเชียลมีเดียเป็นอย่างมาก จนทำให้ผู้คนหันกลับมาให้ความสนใจกับศาสนากันมากขึ้น เพราะทุกวันนี้ผู้คนแทบไม่ให้ความสำคัญกับศาสนาสักเท่าไหร่ เนื่องจากศาสนาในสังคมไทยเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมมากเกินไป และเปราะบางเกินกว่าแตะต้องได้ อีกทั้งยังมีเรื่องของไสยศาสตร์ที่เข้ามามีบทบาทจนส่งผลให้ศาสนาดูเป็นเรื่องไกลตัวคนรุ่นใหม่

แต่กระแสจากไลฟ์สอนธรรมะผ่านเฟซบุ๊กของทั้งสองพส.กลับเป็นจุดเปลี่ยนให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจถึงแก่นแท้ของคำสอนในพุทธศาสนาที่สอนให้เข้าใจถึงเรื่อง ‘ทุกข์’ และแนวทางในการดับทุกข์ที่คอยมารบกวนจิตใจของเรา อีกทั้งยังช่วยปลอบประโลมใจของใครหลายคนให้มองชีวิตบนความเป็นจริง หันมาใช้ศาสนาช่วยฟื้นฟูจิตใจในช่วงที่จมดิ่งไปกับความคิดในแง่ลบให้กลับมาสู่สภาวะปกติได้เป็นอย่างดี

ศาสนากับการเยียวยาสุขภาพใจมนุษย์

ตอนที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถให้คำตอบในเรื่องชีวิตของมนุษย์ได้ คนสมัยก่อนก็ต้องหาเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมาตอบคำถามในเรื่องที่อธิบายไม่ได้อย่างปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ภัยทางธรรมชาติ ศาสนาจึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนในชีวิต และสิ่งเหล่านี้ทำให้ศาสนาฝังลึกและครอบคลุมทุกมิติในชีวิตมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็น ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ อีกทั้งยังเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของเราเป็นอย่างมาก รวมไปถึงความเป็นอยู่ และสุขภาพทั้งกายและใจของเราเองก็ตาม

วิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ อย่างเช่นจิตวิทยาเองก็ได้พยายามศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและความเป็นมนุษย์ในแง่ของจิตใจ พบว่า ในความเป็นจริงแล้วศาสนาถือว่าเป็นรากฐานในการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจเลยก็ว่าได้ เพราะการกำเนิดโรงพยาบาลแห่งแรก หรือแม้แต่การฝึกสอนบุคลากรทางแพทย์เองก็เกิดจากสถาบันศาสนาทั้งสิ้น ไม่แปลกเลยที่งานวิจัยในเรื่องศาสนาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า ศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก เนื่องจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาล้วนส่งเสริมให้ผู้คนรับมือกับภาวะสุขภาพจิต และช่วยจัดการกับความเครียดกับปัญหาต่าง ๆ ที่รบกวนจิตใจได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ศาสนาก็ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตเช่นกัน หากปล่อยให้กรอบความคิดของศาสนาเข้ามามีผลต่อความเชื่อจนไม่มีความหยืดยุ่นในความคิดของตัวเอง หรือใช้ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจจนศรัทธาอยู่เหนือเหตุผล ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพใจต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวลทางสังคม ความหวาดระแวง ความหลงใหล รวมไปถึงการย้ำคิดย้ำทำจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ สิ่งที่ดีที่สุดเมื่อเกิดปัญหาเช่นนี้ คือ การปรับความคิดว่าเราสามารถตั้งคำถามกับศาสนาได้ และไม่ควรปล่อยให้ความเชื่อสร้างความเดือดร้อนให้ตัวเองหรือผู้อื่น

ศาสนา x จิตวิทยากับการนำไปใช้เพื่อการพัฒนาใจมนุษย์

****หลายครั้งที่เราเห็นว่าจิตวิทยาที่เป็น ‘ศาสตร์แห่งโลกตะวันตก’ และพุทธศาสนาที่เป็น ‘ศาสตร์ของโลกตะวันออก’ มีความเกี่ยวข้องกัน แม้ว่าจิตวิทยาและศาสนาจะอยู่คนละศาสตร์ แต่ทั้งสองศาสตร์ก็ล้วนกำลังอธิบายถึงความเป็นมนุษย์ในแง่ของจิตใจเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้จิตวิทยาหันมาใช้การศึกษาจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์โดยองค์รวมด้วยการขยายความสนใจในพุทธศาสนามากขึ้น เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงสภาวะทางจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง หรือที่เรียกว่า ‘จิตวิทยาแนวพุทธ (Buddhist Psychology)’

“ศาสนาพุทธไม่ได้สอนให้คนมองโลกในแง่บวก แต่สอนให้คนมองโลกตามความเป็นจริง” – #พระมหาไพรวัลย์

จากคำสอนของพระมหาไพรวัลย์จะเห็นได้ว่าแก่นแท้ของคำสอนในพุทธศาสนาไม่ได้ต้องการให้ผู้คนมีความสุขโดยการพยายามละทิ้งความทุกข์ แต่ต้องการให้ผู้คนได้เข้าใจถึงสาเหตุของทุกข์ และแนวทางในการดับทุกข์บนพื้นฐานของความเป็นจริง นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจิตวิทยาจึงใช้ศาสนาที่เป็นศาสตร์ของโลกตะวันออกมาขยายจุดมุ่งหมายในการบำบัดทางจิตวิทยาตะวันตกให้กว้างออกไปมากขึ้น เพราะแค่จิตวิทยาเพียงอย่างเดียวไม่ได้ช่วยให้ผู้คนได้เข้าใจถึงความหมายของชีวิตอย่างลึกซึ้งได้เท่าที่ควร

ดังนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้เข้ามาช่วยเติมเต็มในส่วนที่จิตวิทยาขาดหายไปด้วยการเป็นเหมือนแสงสว่างส่องทางให้นักจิตวิทยาเห็นถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาที่รบกวนจิตใจของคนไข้ และสามารถช่วยเหลือพวกเขาในหลากหลายมิติ ตั้งแต่การเยียวยาจิตใจคนที่เคยเผชิญกับเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง ไปจนถึงการนำไปใช้พัฒนาคุณภาพจิตใจให้แก่คนทั่วไปในทางที่ดีขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อในศาสนาใดก็ตาม ทุกศาสนาล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เราได้ยกระดับคุณภาพจิตใจไปในทางที่ดีขึ้นทั้งสิ้น และไม่มีความเชื่อของศาสนาไหนที่ผิดหรือถูก เพราะเรามีสิทธิเสรีภาพในความเชื่อของตัวเอง เพียงแต่อย่าให้ความเชื่อของเราไปทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายคนอื่น และความเชื่อเหล่านี้เองก็ต้องพัฒนาตัวเราให้ไปในทางที่ดีขึ้นด้วย อูก้าก็ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้กับทุกความเชื่อ หากรู้สึกว่าต้องการใครสักคนในช่วงเวลาที่รู้สึกว่าไม่มั่นคงในชีวิต อย่าลืมให้เราเยียวยาใจของคุณนะ 😊💙

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/6XLZ⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#MindPleasureLIVEtalk #OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงข้อมูลจาก:

APA: https://bit.ly/2XrO812

Psychology Today: https://bit.ly/39e7klR

THE STANDARD: https://bit.ly/3zpusbn

UTCC: https://bit.ly/2XtxGh2

verywellmind: https://bit.ly/3lxCf29

WIRED: https://bit.ly/3nE45MS

Read More

เศรษฐกิจแย่ทีไร เหนื่อยใจคล้ายจะ “อยากตาย”

“จำนวนการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของความทุกข์ทางอารมณ์ที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ” – David Gunnell นักระบาดวิทยาจาก University of Bristol

เรารู้กันดีว่าวิกฤตเศรษฐกิจทำให้คนมีความเครียดในระดับสูง แต่เราอาจนึกไม่ถึงว่าตัวเลขของคนที่ฆ่าตัวตายจะสูงมากขึ้นทุกปี แม้แต่คนที่อยู่รอบตัวเราหรือในโลกออนไลน์ต่างก็พร่ำบ่นถึงสิ่งที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่ และดูเหมือนว่าความเครียดนี้ได้กดทับทุกคนจนกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต มีคนมากมายที่หันไปพึ่งพาแอลกอฮอล์หรือตัดสินใจฆ่าตัวตาย

📉 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ สุขภาพจิตก็เลยพังสุด ๆ !

เพราะสุขภาพจิตที่แข็งแรงต้องมาจาก “ความเป็นอยู่ที่ดี” เมื่อเราตระหนักถึงความสามารถของตนเอง ซึ่งสามารถรับมือกับความเครียดในชีวิตประจำวันได้ และรู้สึกถึงคุณค่าในตนเอง ก็จะทำให้เรามีสติปัญญา (Cognitive) และอารมณ์ (Emotional) ที่ยืดหยุ่น ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างทักษะการเข้าสังคมและการรับมือกับความเครียด ทุนทางจิตใจนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเป็นคนที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม

อัตราการฆ่าตัวตายจึงมักจะเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่สังคมไม่มั่นคง โดยเฉพาะทางเศรฐกิจ เห็นได้จากงานวิจัยที่เคยพูดถึงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2550 ในยุโรปและอเมริกาเหนือที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายมากกว่า 10,000 คน และผลการวิจัยในช่วงหลัง ๆ ก็แสดงให้เห็นว่าการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นในปีที่ดัชนีหุ้นตกต่ำอย่างมีนัยสำคัญ

ในทางจิตวิทยา ผลกระทบด้านสุขภาพจิตจากวิกฤตการณ์ทางการเงินอันเกิดจากการระบาดใหญ่นั้น เป็นความทุกข์ที่เกี่ยวพันกับ “ความยืดหยุ่นทางใจ” ที่เป็นเหมือนบ่อกักเก็บความสุขภายในตัวเรา (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3ol7WPi ) ซึ่งรวมถึงการตั้งเป้าหมายและการเติบโตของคนเรา

ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจต่อสุขภาพจิตที่พบบ่อยที่สุด คือ ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า เพราะเราสัมผัสได้ถึงความไม่ปลอดภัย ความไม่มั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน อนาคตที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัวนั้นอาจเลวร้ายเกินไป เพราะเรามองเห็นแต่ความเสี่ยงที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นด้านการงาน การเงิน สุขภาพกายและใจของคนในบ้าน และการสนับสนุนทางสังคม รายได้ที่เพียงพอ และต้นทุนต่าง ๆ โดยเฉพาะทุนทางสังคม ซึ่งก็คือ การที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ เรารู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่เราอยู่ ถ้าในชีวิตเรามีแรงสนับสนุนเหล่านี้จากสังคม (Social Support) ก็จะช่วยคลายความกังวลได้ในระดับหนึ่ง

ในทางกลับกัน ความยากจน ปัญหาทางการเงิน และการกีดกันทางสังคมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระทบกับปัญหาสุขภาพจิตและความผิดปกติอย่างที่กล่าวไป พฤติกรรมที่พบบ่อยคือการพึ่งพอแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีบทบาทสำคัญในการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ “ปัญหาความไม่เท่าเทียม” ถือเป็นเรื่องใหญ่ มีงานวิจัยมากมายยืนยันว่า ความไม่เท่าเทียมด้านรายได้และการศึกษาเชื่อมโยงกับอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น ความเปราะบางในจิตใจของคนเราก็มากขึ้นเช่นกัน ไม่ใช่แค่ในประเทศที่ยากลำบาก แต่สำหรับคนทุกคนที่เผชิญกับความไม่มั่นคงในชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่มนุษย์ต้องการสำหรับการสร้างเกราะป้องกันใจที่แข็งแรง เพราะอัตราการฆ่าตัวตายก็เพิ่มขึ้นแม้กระทั่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว นี่แสดงให้เห็นว่าเส้นทางสู่การสร้างรายได้นั้นไม่มีที่สิ้นสุดและมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนทั่วโลก

💲ยิ่งเศรษฐกิจย่ำแย่ ก็ยิ่งมองข้ามปัญหาสุขภาพจิตไม่ได้

เรารู้ชัดว่าเศรษฐกิจไม่ดีทำให้คนเครียด แต่จริง ๆ แล้วปัญหาสุขภาพจิตที่คนมากมายกำลังต่อสู้อยู่ก็ทำให้ประเทศสูญเสียกำลังแรงงานไปมากมายเช่นกัน ดังนั้นสุขภาพจิตจึงเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญ การเปลี่ยนจากการสร้างผลผลิตไปสู่สังคมแห่งความรู้เน้นย้ำถึงความสำคัญของสุขภาพจิตเพื่อความยั่งยืนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สุขภาพจิตของประชากรที่ดีมีส่วนทำให้เกิดผลผลิตและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ สำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ หากสุขภาพจิตของคนย่ำแย่ ทุกอย่างก็จะหยุดชะงักได้โดยง่าย

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จนั้นล้วนเริ่มจากการช่วยเหลือผู้คนในด้านสุขภาพใจเป็นพื้นฐานอย่างการชดเชยให้ประชาชนด้วยสวัสดิการสังคมและนโยบายอื่น ๆ ไม่ว่าจะการสนับสนุนการโอกาสทางการศึกษา การชะลอหนี้ รวมถึงการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข นอกจากนี้ความเชื่อมั่นที่ได้รับจากการรายงานสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่จำเป็นต่อการวางแผนชีวิตของประชาชนก็สำคัญ เพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอาจเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตร้ายแรง ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ที่เคยประสบกับความลำบากในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย ไม่ว่าจะด้านการเงิน ที่อยู่อาศัย หรือที่เกี่ยวข้องกับงาน พบว่ามีภาวะตื่นตระหนก ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และการใช้สารเสพติดที่เป็นปัญหามากกว่าคนทั่วไป

Miriam Forbes, PhD, นักวิจัยอาวุโสด้านจิตวิทยาที่ Center for Emotional Health ที่ Macquarie University กล่าวว่า “การระบาดใหญ่ของ COVID-19 กำลังส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วต่อเศรษฐกิจ โดยบ่งชี้ว่าเรากำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้งทั่วโลก การที่หลายคนตกงาน ประสบปัญหาทางการเงินและความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัยในสภาพปัจจุบัน ชี้ให้เห็นชัดเลยว่าประสบการณ์เลวร้ายทั้งหมดนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อ “การเสื่อมถอยของสุขภาพจิตในระยะยาว” ซึ่งสามารถเกิดการสะสมและยืดเยื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เราอาจเสียกำลังคนที่เป็นแรงงานสำคัญ เพราะต้องให้เวลาคนเหล่านี้ในการฟื้นฟูสุขภาพใจให้กลับมาแข็งแรง

รู้แบบนี้แล้วอย่ารอช้ากับปัญหาความเครียดที่กวนใจ ดูแลสุขภาพจิตตั้งแต่วันนี้กับอูก้า พูดคุยปรึกษากับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาของเราได้เลย ด้วยบริการแบบออนไลน์ที่เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเรื่องอะไรเราพร้อมเป็นเพื่อนใจคอยดูแลคุณ 🙂

#OOCAknowledge

รับแบบทดความความเครียดฟรี ! ที่มาพร้อมกับโปรโมชั่นและสารพัดวิธีดูแลใจตนเองอีกมากมายได้ที่ Line Official 👉🏻https://lin.ee/6bnyEvy.

หรือดาวน์โหลดเลย ได้ทั้ง IOS และ Android 👉🏻 https://ooca.page.link/MPyr

อ้างอิงจาก

https://www.apa.org/news/apa/2020/financial-crisis-covid-19

https://theconversation.com/bad-economic-news-increases-suicide-rates-new-research-117228

Read More

บริการดูแลใจกับอูก้า ! ของขวัญแด่ฉันคนเก่ง

“เพราะการรักตัวเองถือเป็นของขวัญที่ดีที่สุด”

เราอาจไม่เคยสังเกตว่าทุกเหตุการณ์ในชีวิต ไม่ว่าเรื่องเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ การหย่าร้าง การจากลา การเจ็บป่วย สามารถนำความเครียดและความทุกข์มาสู่ใจได้แบบง่าย ๆ แม้กระทั่งความเครียดในชีวิตประจำวันที่เราคิดว่าตัวเองรับมือได้ แต่ในที่สุดก็สามารถถูกครอบงำโดยไม่รู้ตัว เผลอปล่อยความรู้สึกให้ดำดิ่งสู่โลกที่มืดมนไม่เห็นทางออก ทำให้ชีวิตของเราเสียสมดุลและส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ

การศึกษาทางจิตวิทยามากมายแสดงให้เห็นว่าจิตใจและร่างกายของมนุษย์นั้นเชื่อมโยงกันอย่างเหนียวแน่น เมื่อสุขภาพจิตของเราแย่ลง สุขภาพร่างกายของเราก็ถูกกระทบไปด้วย และหากสุขภาพร่างกายอ่อนแอลง เราก็จะรู้สึก “แย่” ทางจิตใจ เพียงเท่านี้ก็รู้ได้แล้วว่าความคิดและความรู้สึกเราสำคัญต่อการเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่ง “ทัศนคติเชิงบวก” เป็นสิ่งที่ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีได้

เราสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตในทุก ๆ วันได้โดยการสร้างความยืดหยุ่น (Resilience) ซึ่งจะช่วยให้ปรับตัวเข้ากับความเครียดและฟื้นตัวจากช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในชีวิตได้ ความยืดหยุ่นไม่ใช่สิ่งที่เราเกิดมาแล้วก็มีเองโดยธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา คนที่มีความยืดหยุ่นจะมีความเป็นอยู่ที่ดีทางอารมณ์ ความสัมพันธ์ที่ดี (Healthy Relationship) และการมองโลกในแง่ดี สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพและการมีอายุยืน

เพราะร่างกายไม่เคยโกหก อย่าลืมฟังสิ่งร่างกายกำลังบอกคุณ

ยกตัวอย่างเช่น เราเกิดมีอาการปวดหัวตึงเครียด ร่างกายอาจกำลังบอกว่าเราต้องการความช่วยเหลือในการจัดการกับสิ่งที่อยู่ในใจ แต่เราก็พบว่ามันยากหากต้องรับมือกับทุกความรู้สึกที่เข้ามา หรือต้องหาทางดีลกับอะไรที่ซับซ้อนเพียงลำพัง แล้วเราจะเริ่มดูแลสุขภาพใจได้อย่างไร ?

ลองเปิดใจให้นักจิตวิทยาเข้ามาเป็นตัวช่วยในชีวิตประจำวันของคุณดูสิ

นักจิตวิทยาและจิตแพทย์สามารถช่วยรับมือกับความท้าทายและความเครียดที่ต้องเผชิญทุกวันด้วยการหารักษาความสมดุลทางใจไปพร้อม ๆ กับคุณ ปัจจุบันการใช้บริการด้านสุขภาพใจถือเป็นเรื่องปกติ การขอความช่วยเหลือหรือแสวงหาพื้นที่สบายใจไว้พูดคุยไม่ใช่เรื่องน่าอาย การรับบริการดูแลสุขภาพใจด้วยการปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยามีส่วนช่วยในการรักษาสมดุลชีวิตมากกว่าที่หลายคนอาจจะคิดถึง ไม่ว่าจะเป็น

💚 สร้างความมั่นใจให้เราสามารถเผชิญกับความท้าทายในชีวิต

💚 ช่วยให้เราจัดการกับความคิดและความรู้สึกที่ยากลำบากที่อาจรบกวนการทำงานและการใช้ชีวิต

💚 พัฒนาทักษะการสื่อสารและการแก้ปัญหาอันเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสัมพันธ์กับคนรอบตัว

💚 แนะนำวิธีจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นและมุมมองเชิงบวก

💚 สร้างเสริมความสามารถในการจัดการความรู้สึกที่รุนแรง ความคิดเชิงลบ และพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย

เริ่มต้นรักตัวเองทำได้ไม่ยากเพียงแค่เปิดใจลองพูดคุยกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อให้เราได้เป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีกว่าเดิม “อูก้าแอปพลิเคชันคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านวีดีโอคอล” เป็นอีกหนึ่งของขวัญที่คุณสามารถมอบให้ตัวเองได้ เพราะทุกปัญหาใจไม่ควรถูกมองข้าม #ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ไม่ต้องกลัวถูกตัดสิน สามารถพูดคุยได้ทุกที่ทุกเวลาที่คุณต้องการ เพราะอูก้ามีบริการมากมายเพื่อดูแลใจของทุกคน ไม่ว่าจะเป็น..

💙 ผู้เชี่ยวชาญที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี

💙 ปรึกษาได้ทุกปัญหาส่วนตัวและอาการของความเครียด

💙 สะดวก ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวสูง

💙 แบบทดสอบความเครียดเพื่อการประเมินที่เชื่อถือได้

💙 แพ็กเกจบริการหลากหลายที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าองค์กร

💙 มีการประเมินผลความเครียดเป็นตัวเลขเพื่อให้เห็นผลได้ชัดเจน

💙 มีระบบรายงานความเครียดและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเฉพาะรายบุคคล

รู้อย่างนี้แล้ว อย่ารอช้าที่จะหันมา “รักตัวเอง”

เพื่อสุขภาพกายและใจ…มาเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยด้วยการปรึกษานักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของอูก้าได้เสมอ ดาวน์โหลดเลย 👉🏻 https://ooca.page.link/TE5S

นอกจากนี้อูก้ายังมีสารพัดวิธีฮีลใจ ที่มาพร้อมโปรโมชั่นดี ๆ อีกมากมาย ติดตามเพื่อรับสิทธิพิเศษก่อนใครได้ที่ Line Official 👉🏻 https://lin.ee/6bnyEvy

Read More

“เครียดสะสม” เมื่อสังคมไทยทำลายสุขภาพจิตมากเกินไป!

ในสถานการณ์โควิด-19 ที่คงอยู่มายาวนานร่วมเกือบสองปีแบบนี้เชื่อว่าหลายคนก็คงเครียดกันไม่น้อย ไหนจะยังมีข่าวสารต่าง ๆ ที่สร้างความหดหู่ตลอดเวลาอีก บางครั้งเราเองก็ไม่รู้ว่าความเครียดที่ตัวเองกำลังเจออยู่กลายเป็นความ ‘เครียดสะสม’ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพใจโดยไม่รู้ตัว

แน่นอนว่าความเครียดสะสมนั้น ย่อมเป็นผลให้เกิดความหมดไฟในการทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งความหมดไฟนี้เองก็อาจนำไปสู่การเกิดอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมมากมาย เช่น การพยายามหลีกเลี่ยงการคิดเรื่องโควิด-19 หรือความรู้สึกเบื่อหน่ายในการทำงาน รวมไปถึงอาการของภาวะซึมเศร้าได้ [รับสาระเกี่ยวกับความเครียดสะสมเพิ่มเติมได้ที่: https://bit.ly/3zClJTz ]

นอกจากนี้ การสำรวจในสหรัฐอเมริกาหลายแห่งได้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ต่อสุขภาพจิต โดยผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าทุกเดือนที่ผ่านมา ผู้คนจำนวนมากได้รายงานว่าโควิด-19 ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของพวกเขาเป็นอย่างมาก

ยิ่งยอดติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น เราก็ยิ่งเครียดสะสมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

เมื่อเราเห็นยอดผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จากการติดตามข่าวรายวัน จนไม่มีวี่แววว่าจะควบคุมได้เลย แน่นอนว่าเราก็อาจจะเกิดความรู้สึกหวาดระแวงว่าคนรอบข้างจะเป็นผู้ติดเชื้อไหม หรือแม้แต่กังวลว่าตัวเองอาจติดเชื้อแล้วก็ได้แค่ไม่แสดงอาการ ซึ่งความกลัวเหล่านี้เองก็ย่อมทำให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้น บางครั้งก็อาจนำไปสู่ความเครียดได้ และเมื่อเครียดมาก ๆ ก็อาจเป็นผลให้เกิดความเครียดสะสมได้ด้วย

งานวิจัยใน International Journal of Environmental Research and Public Health (2021) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความกลัวต่อเชื้อโควิด-19 เพื่อพิสูจน์ว่าความกลัวเหล่านี้ส่งผลต่อความเครียดได้หรือไม่ โดยงานวิจัยนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ความกลัวต่อเชื้อโควิด-19 ทำให้เกิด ‘ความเครียดสะสม’ ได้จริงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนในสถานการณ์โควิด-19 เองก็เป็นผลให้เกิดความเครียดสะสมได้เหมือนกัน เพราะการที่ไม่รู้ว่าการแพร่ระบาดครั้งนี้จะคลี่คลายลงตอนไหน และจะกลับมาสู่สภาวะปกติได้เมื่อไหร่ สร้างความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก ดีไม่ดีก็อาจนำไปสู่ความเครียดสะสมได้ แม้ว่าเราปฏิบัติตามมาตราการของภาครัฐอย่างเคร่งครัด แต่การแพร่ระบาดครั้งนี้ก็ยังไม่มี่วี่แววว่าจะยุติลงในระยะเวลาอันใกล้นี้

ความเป็นอยู่ของประเทศในระยะยาว ก็ทำให้เราเครียดสะสมได้เหมือนกัน

ต้องยอมรับว่าความเป็นอยู่ในประเทศไทยตอนนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเครียดสะสมเป็นอย่างมาก เราจะเห็นได้ว่าผู้คนไม่ได้รับความต้องการขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงมีเพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอด เพราะการทำงานของรัฐที่แทบจะไม่มีการสร้างระบบและพัฒนานโยบายที่เอื้อต่อสุขภาวะของผู้คนในสังคม

และยิ่งในช่วงการระแพร่ระบาดของโควิด-19 แบบนี้ หลายคนเองก็ขาดแคลนด้านปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค หรือแม้แต่ความความมั่นคงปลอดภัยเองที่เราเห็นตามข่าวสารในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็น ภัยพิบัติน้ำท่วมในจังหวัดต่าง ๆ หรือยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 เองก็ตาม ถ้ายิ่งเราต้องเจอข่าวสารรายวันที่ผู้คนไม่ได้รับความเป็นอยู่ที่ดีจากรัฐ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายคนจะเครียดสะสมกันมากขึ้น

งานวิจัยใน Psychology, Health & Medicine (2021) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและความเป็นอยู่ที่ดีในช่วงโควิด-19 ชี้ให้เห็นว่า ความเป็นอยู่ที่ดีช่วยให้ผู้คนมีความวิตกกังวลลดลงและสามารถจัดการกับความเครียดสะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เราจะเห็นได้ว่าความเป็นอยู่ที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญมาก อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับสุขภาพกาย ใจ สังคม และปัญญา โดยความเป็นอยู่เองก็ช่วยให้สังคมเข้าใจสุขภาพในความหมายกว้างขวางขึ้นว่า สุขภาพดีไม่จำกัดเฉพาะแค่เรื่องสุขภาพทางกายอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้น ถ้าหากความเป็นอยู่ไม่ดี ก็ย่อมทำให้เกิดความเครียดสะสมจนนำไปสู่การบั่นทอนสุขภาพใจให้พังไม่เป็นท่า

การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (CBT) ด้วยตัวเองก็เป็นตัวช่วยในการคลายเครียดที่ดี

ความเครียดสะสมมักจะเกิดจากการที่เรามีเรื่องที่เครียดมาก ๆ มาผสมปนเปกันไปหมดจนไม่สามารถคลี่คลายได้ มันก็เหมือนการถือของหลาย ๆ อย่างในมือของเรา แน่นอนว่าเราไม่สามารถถือของได้ทั้งหมดภายในสองมือนี้ได้ ถ้าหากเราลองวางของลงบนพื้นลงทั้งหมด และลองจัดการหยิบไปทีละอย่างก็ช่วยให้จัดการกับของต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ความเครียดสะสมของเราก็เหมือนกัน หากเราลองคลายเครียดด้วยการสำรวจตัวเองจากการบำบัดความคิดและพฤติกรรมเพื่อให้เข้าใจความคิด ความรู้สึก และปัญหาที่รบกวนใจเรามากขึ้น

“การบำบัดความคิดและพฤติกรรม” คืออะไร?

การบำบัดความคิดและพฤติกรรม หรือ Cognitive Behavior Therapy (CBT) ดั้งเดิมแล้วเป็นศาสตร์ที่ใช้กับโรคซึมเศร้า แต่ปัจจุบันนี้สามารถบำบัดกับภาวะอารมณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงความเครียดเองก็ตาม โดยมีกระบวนการที่ปรับความคิด หรือการรู้คิดของเราให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปในเชิงบวกมากขึ้น และก็ยังมีการปรับพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม

แล้วเราสามารถใช้การบำบัดความคิดและพฤติกรรมด้วยตัวเองได้ไหม?

หลายคนอาจจะคิดว่าการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต้องเข้ารับการบำบัดกับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ความจริงแล้วเราสามารถทำได้ด้วยตัวเองแบบพื้นฐาน โดยการเขียนลงบนกระดาษเพื่อสำรวจความคิด ความรู้สึกหรือปัญหาที่กำลังรบกวนใจของเราว่ามีอะไรบ้าง? พอเราเห็นถึงปัญหาแล้วก็มาดูต่อว่าเราสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ด้วยวิธีไหนได้บ้าง? และลองเขียนตัวเลือกในการจัดการความเครียดสะสมของเรา เช่น ฟังเพลง วาดรูป หรือแม้แต่ขอคำปรึกษาจากเพื่อนก็ยังได้ แล้วลองทำดูว่าสิ่งที่เราเขียนลงไปบนกระดาษนี้ พอเราทำไปแล้วมันได้ผลสำหรับเราหรือไม่ ถ้าทำแล้วยังไม่ได้ผลหรือว่าไม่ช่วยให้เราคลายเครียดเลย ก็แค่ตัดออกไปและลองทำวิธีอื่นดูไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอวิธีการจัดการที่ใช่สำหรับเรา

แม้ว่าความเครียดจะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับทุกคน แต่พอเราเครียดสะสมมากเข้าก็อาจทำให้สุขภาพใจพังไม่เป็นท่าได้ และยิ่งในสถานการณ์แบบนี้ ก็ยิ่งทำให้เราเครียดสะสมจนส่งกระทบทั้งสุขภาพกายและใจได้เป็นอย่างมาก ดังนั้น เมื่อเรารู้ตัวว่ากำลังเผชิญกับความเครียดสะสมอยู่ก็ควรรีบสำรวจตัวเองว่าปัญหาที่เรากำลังคิดและรู้สึกอยู่เป็นอย่างไร? และมีวิธีไหนที่เราสามารถจัดการกับปัญหาได้บ้าง? ก็ช่วยให้เราคลายเครียดจากความวุ่นวายรอบตัวได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

หากใครที่กำลังมองหาตัวช่วยในการจัดการกับความเครียด อูก้าพร้อมเป็นผู้ช่วยของคุณเสมอ ด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มาพร้อมแบบทดสอบความเครียดให้ทุกคนสามารถสำรวจระดับความเครียดด้วยตนเองได้อย่างไม่เสียค่าใช้จ่าย และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจ อย่างจิตแพทย์และนักจิตวิทยาที่พร้อมรับฟังและให้คำปรึกษาทุกทุกปัญหา มั่นใจได้ว่าทุกอย่างจะเป็นความลับ ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ที่ไหนเวลาใดก็มาหาเราได้เสมอ เรื่องของใจให้เรารับฟังนะ 😊💙

รับแบบทดความความเครียดฟรี ! ที่มาพร้อมกับโปรโมชั่นและสารพัดวิธีดูแลใจตนเองอีกมากมายได้ที่ Line Official 👉🏻 https://lin.ee/6bnyEvy

หรือดาวน์โหลดเลย ได้ทั้ง IOS และ Android 👉🏻 https://ooca.page.link/WvEw

อ้างอิงข้อมูลจาก:

Dymecka, Joanna, Rafał Gerymski, and Anna Machnik-Czerwik. “How does stress affect life satisfaction during the COVID-19 pandemic? Moderated mediation analysis of sense of coherence and fear of coronavirus.” Psychology, Health & Medicine (2021): 1-9.

Koçak, Orhan, Ömer Erdem Koçak, and Mustafa Z. Younis. “The psychological consequences of COVID-19 fear and the moderator effects of individuals’ underlying illness and witnessing infected friends and family.” International journal of environmental research and public health 18.4 (2021): 1836.

Healthline: https://bit.ly/3ynPlU0

The 101.World: https://bit.ly/3gJHN89

Read More

Work From Home นาน ผลาญพลังงานชีวิต จน “ไม่มีสมาธิทำงาน”

ช่วงนี้หลายคนคงรู้สึกว่าไม่มีสมาธิในการทำงานกันสักเท่าไหร่ จากที่เคยทำงานแค่หนึ่งชั่วโมงก็เสร็จ กลับกลายเป็นว่าเดี๋ยวนี้ต้องใช้เวลาเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่า ถ้าเป็นเมื่อก่อนแค่หาพื้นที่ส่วนตัวอยู่คนเดียวก็ช่วยให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้นแล้ว แต่พอต้องมาทำงานอยู่บ้านยาว ๆ เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลายเป็นว่าสมาธิสั้นลงซะงั้น พองานไม่เดินหน้าไปไหนสักที เราก็ยิ่งกังวลว่างานจะทำเสร็จไหมจนนอนไม่หลับ ต้องลุกขึ้นมาเปิดคอมทำงานต่อจนแทบไม่มีสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว เพราะอะไรกันนะ ?

เพราะ “บ้าน” ทำให้เรากังวล จนไม่มีสมาธิในการทำงาน

โดยปกติแล้วเรามักจะคุ้นชินตามสัญชาตญานว่าบ้านต้องเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหลังจากที่เลิกงานมาเหนื่อย ๆ แต่โควิด-19 ทำให้หลายคนต้องปรับเปลี่ยนไปทำงานอยู่ที่บ้าน เราจึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการพักผ่อนไปควบคู่ไปกับการทำงานด้วย พอต้องทำงานอยู่ที่บ้านแน่นอนว่าสภาพแวดล้อมภายในบ้านย่อมรบกวนการทำงานจนทำอะไรก็ไม่มีสมาธิ เคยไหมที่เรานั่งทำงานอยู่แล้วเห็นว่า ‘บ้านไม่สะอาด’ จนรู้สึก ‘รกหูรกตา’ เลยต้องลุกขึ้นมาทำความสะอาด เพราะเราต้องคอยมานั่งกังวลเรื่องที่บ้านและยังต้องมากังวลเรื่องงานอีกก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่จะไม่มีสมาธิในการทำงาน

งานวิจัยใน Emotion Journal (2007) เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลและประสิทธิภาพในการรู้คิด (Cognition) ได้แสดงให้เห็นว่าคนที่มีความกังวลมักให้ความสนใจกับสิ่งเร้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน เมื่อปริมาณงานของเราทั้งจากที่ทำงานและที่บ้านสูงขึ้น เราจำเป็นต้องใช้สมาธิมากขึ้นตามไปด้วย แต่กลายเป็นว่ามันกลับส่งผลให้เราเกิดความวิตกกังวลมากกว่าเดิม นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงหลีกเลี่ยงความวิตกกังวลจากงานตรงหน้าด้วยการให้ความสนใจกับสิ่งเร้ารอบข้างภายในบ้านมากกว่านั่นเอง

และเมื่อภาระงานทั้งจากที่ทำงานและที่บ้านผสมปนเปกันไปหมด เราก็ยิ่งต้องใช้พลังสมองมากเพื่อจัดลำดับความสำคัญว่าควรทำอะไรก่อนหรือหลังจนเป็นผลให้เกิดอาการสมองล้ามากขึ้น ซึ่งอาการนี้เองก็ส่งผลให้ความคิดของเรายุ่งเหยิง กลายเป็นความวิตกกังวลจนไม่สามารถจดจ่อกับเรื่องต่าง ๆ ได้ทีละอย่าง และสุดท้ายเลยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้น้อยลง ถ้ายิ่งเราต้องทำงานที่ต้องใช้สมาธิหรือซับซ้อนมาก ก็ยิ่งฟุ้งซ่านและไม่สามารถจดจ่อกับมันได้เลย

กังวลจนนอนไม่หลับก็ทำให้ไม่มีสมาธิได้เหมือนกัน

เพราะการอยู่บ้านอย่างที่หลายคนรู้ว่าแทบไม่มีสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวเลย ทำให้เราทำงานตั้งแต่เช้าถึงเย็นจนลากยาวไปถึงค่ำกว่าจะเลิกงานได้ หรือแม้แต่ตอนที่นอนหลับอยู่ก็ยังกังวลเรื่องงานจนต้องลุกจากเตียงมาเปิดคอมทำงานต่อให้เสร็จ หลายคนต้องพักผ่อนไม่เพียงพอเพราะต้องทำงานแบบนี้อยู่เป็นประจำจนร่างการอ่อนเพลียจากการหักโหมงาน เมื่อร่างกายของเรารับมือกับมันไม่ไหวก็เป็นผลให้ไม่สามารถจดจ่อกับงานได้นานและทำงานได้ช้าลงกว่าตอนที่ทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ

งานวิจัยใน Journal of Health Psychology (2021) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการนอนไม่หลับและการไม่มีสมาธิ แสดงให้เห็นว่าคนที่มีอาการนอนไม่หลับจะมีสมาธิหรือความสามารถในการจดจ่อกับงานและตัดสินใจอย่างถูกต้องได้น้อยลงกว่าเดิม เป็นผลให้เราจดจ่อกับสิ่งเร้ารอบตัวภายในบ้านมากกว่างานที่ต้องทำจนไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

หากเรามีความกังวลอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม สมองของเราจะเต็มไปด้วยอคติและให้ความสนใจกับเรื่องที่กำลังวิตกกังวลมากขึ้น และความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องนี้เองก็ส่งผลให้นอนไม่หลับได้ หากเราอดนอนมาก ๆ หรือง่วงแต่นอนไม่หลับ ความจำในการทำงานก็ถูกทำลายจนเสื่อมสภาพและความสามารถในการจดจ่อกับงานก็ลดลงเป็นอย่างมาก เพราะอาการเหนื่อยล้าจากการพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นผลให้ไม่มีสมาธิในการทำงานมากขึ้นจนนำไปสู่การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพได้

แค่เปลี่ยนมุมมองก็สามารถรับมือกับการไม่มีสมาธิในการทำงานได้แล้ว

แม้ว่าการอยู่บ้านนาน ๆ จะทำให้เราไม่มีสมาธิในการทำงาน แต่เราก็ยังต้องทำงานอยู่ที่บ้าน จนกว่าวิกฤติครั้งนี้จะผ่านพ้น การพยายามจัดการและรับมือกับปัญหาก็เป็นเรื่องที่ดีสำหรับคนวัยทำงานหลายคน เราจะได้ไม่ต้องทรมานกับการไม่มีสมาธิทำงานที่บ้านอีกต่อไป

😣 จัดการกับสิ่งเร้าที่รบกวนสมาธิของเราให้ได้มากที่สุด

การถูกขัดจังหวะในการทำงานถือว่าเป็นตัวทำลายสมาธิชั้นดีเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการขัดจังหวะที่สั้นแค่ไหนก็ตาม เพราะเมื่อเรากำลังจดจ่อกับงานไปได้อย่างราบรื่นแต่ดันมีสิ่งเร้ามารบกวนสมาธิจนหลุดออกจากวงจรในการทำงานก็สร้างความน่าหงุดหงิดใจให้กับเราไม่น้อยเลย ถึงแม้ว่ามันเป็นไปได้ยากที่เราจะจัดการกับสิ่งเร้าที่มารบกวนสมาธิของเราไปได้ทั้งหมด แต่ถ้าเราเริ่มต้นจากปิดการแจ้งเตือนบนโทรศัพท์ประมาณสามชั่วโมง และลองโฟกัสไปที่งานเพียงอย่างเดียวก็ช่วยกำจัดสิ่งเร้าที่เป็นต้นตอของการรบกวนที่ใหญ่ที่สุดไปได้หนึ่งอย่าง และก็ยังมีเวลาได้จดจ่อกับงานอย่างเต็มที่อีกด้วย

⏰ จัดตารางเวลาให้เหมาะสมกับความเป็นตัวเรา

ตารางเวลาช่วยให้เราสามารถจัดระเบียบความคิดของเราได้ดีว่าตั้งแต่เวลาไหนที่ต้องทำงานหรือถ้าเป็นเวลานี้ควรได้พักผ่อนแล้ว เพราะสมองของเราก็ไม่สามารถทำงานนาน ๆ ได้ตลอดทั้งวันเหมือนกับร่างกายของเรา ถ้าเรามีเวลาพักผ่อนที่ชัดเจน เช่น ภายในหนึ่งวันเรามีเวลาพักผ่อน 3 ครั้ง แบ่งออกเป็น ช่วงเช้า 30 นาที ช่วงพักเที่ยง 1 ชั่วโมง ช่วงบ่ายอีก 30 นาที  หรืออาจจะหาเวลาสร้างความบันเทิงให้กับตัวเองด้วยการฟังเพลงประมาณ 10 นาที มันก็ช่วยลดอาการสมองล้าที่นำไปสู่การไม่มีสมาธิได้ หรือถ้าหากจำเป็นต้องทำงานเกินเวลาที่กำหนดก็อย่าลืมหยุดพักผ่อนหลังจากที่ทำงานเสร็จแล้ว

ในช่วงสถานการณ์แบบนี้เราคงหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมเดิม ๆ ที่น่าเบื่อหน่ายจากการกักตัวอยู่บ้านไม่ได้อยู่แล้ว แต่ถ้าหากพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงจนส่งผลต่อสุขภาพใจของตัวเอง เช่น กังวลจนนอนไม่หลับ หรือกังวลจนไม่มีสมาธิทำงาน มันก็อาจนำไปสู่อาการซึมเศร้าหรือส่งผลให้ทำลายสุขภาพใจของเราได้ ถ้าหากเราให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยการไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็เป็นตัวช่วยอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถกลับมามีความสุขกับทุก ๆ เรื่องได้เหมือนเดิม

หากใครที่กำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญมาดูแลใจของคุณ จิตแพทย์และนักจิตวิทยาของอูก้าพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างและช่วยเหลือคุณทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณกังวลจนนอนไม่หลับ หรือกังวลจนไม่มีสมาธิทำงานก็ตาม เราก็พร้อมให้บริการดูแลสุขภาพใจของคุณเสมอ 😊💙

[ด่วน🔥] สำหรับผู้ใช้บริการครั้งแรก รับเลยส่วนลดถึง 10%

เพียงกรอกรหัส NEWCOMER289 ในการจองนัดหมายครั้งแรกผ่านแอปฯ ooca

วันนี้-30 กันยายนนี้เท่านั้น ดาวน์โหลดเลย 👉🏻 https://ooca.page.link/x78u

อ้างอิงข้อมูลจาก:

Eysenck, Michael W., et al. “Anxiety and cognitive performance: attentional control theory.” Emotion 7.2 (2007): 336.

Miller, Christopher B., et al. “Tired and lack focus? Insomnia increases distractibility.” Journal of health psychology 26.6 (2021): 795-804.

BBC: https://bbc.in/2Wwzk13

Forbes: https://bit.ly/3gx6EMg

The Conversation (1): https://bit.ly/3Dh5Q8d

The Conversation (2): https://bit.ly/2Wt0VAj

Read More

Hello , Anxiety ขอบคุณที่อยู่กับฉันในวันที่โดดเดี่ยว

Hello, Anxiety

You’ve come to keep me company

Tonight, a lonely soul

I’ve tried to learn the art of letting go

สวัสดีความกังวลใจ

เธอเข้ามาอยู่เป็นเพื่อนฉัน

คืนนี้ ที่ฉันรู้สึกโดดเดี่ยว

ฉันได้เรียนรู้ความสวยงามของการปล่อยวาง

แต่ละคืนเรานั่งอยู่เพียงลำพังในโลกใบเล็กของตัวเอง บอกไม่ได้เลยว่าตอนนี้ทุกอย่างมันยากลำบากเพราะอะไร ทำไมเราถึงต้องร้องไห้ ทำไมเราถึงต้องแบกรับความเหนื่อยล้า เรากังวล เราเป็นทุกข์ เรามีคำถามในใจมากมายที่หาคำตอบไม่ได้

วันที่โลกที่มืดมน เราได้แต่ภาวนาให้ตัวเองพบเจอความสว่างอีกครั้ง 💫

ความกังวลพัดมาเกาะกินใจเรา บางสิ่งสามารถเข้าใจและยอมรับได้แต่บางอย่างกลับมองเห็นไม่ชัดเจน เกิดเป็นหมอกควันรบกวนความรู้สึก ใช้เวลาเนิ่นนานกว่าจะหยิบมันขึ้นมาแก้ไข ใช้เวลาทำใจกว่าจะโยนมันทิ้งไป ไม่ต่างอะไรจากการสะสมขยะจนล้นถัง ไม่ได้ระบายไม่ได้ปล่อยวาง สุดท้ายก็กลายเป็นความกังวลที่เข้ามาทักทายไม่มีสิ้นสุด

What if the world won’t bend my way?
What will it take to be happy?

ไม่รู้ว่าตอนนี้เรายืนอยู่ที่จุดไหน แต่ปลายทางฉันอยากเป็นคนที่มีความสุข หลายครั้งเราถามตัวเองว่าทำไมคนรอบตัวถึงมีความสุขยกเว้นเรา “ทำไมชีวิตคนอื่นถึงดูง่าย มีแค่ชีวิตเราที่ยากเสมอ” เราหวังเพียงสักครั้ง โลกนี้จะเข้าข้างเราและทำให้เราเป็นคนที่มีความสุขที่สุด แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้ อดีตยังคงเป็นความเจ็บปวดเสมอ อนาคตที่รอคอยก็ยังมาไม่ถึง สิ่งที่เราสัมผัสได้อาจเป็นเวลา “ปัจจุบัน” ที่เรานั่งอยู่ตรงนี้ เพื่อรับรู้การมีอยู่ของ “ตัวเอง”

เหมือนกับที่เราโหยหายความเป็นจริง อะไรก็ได้ที่เข้ามาทำให้เรารับรู้การมีอยู่ของตัวเอง

I’m craving something real, a kind of rush that I can feel
The night is rough you know, I’ve cried but I won’t dare to let it show

เราอาจเดินหลงทางไปบ้าง บอกตัวเองนะว่า “ไม่เป็นไร”
เราอาจเคว้งคว้างในค่ำคืนที่ไม่รู้จะผ่านไปอย่างไร กอดตัวเองไว้นะ เราจะ “ไม่เป็นไร”

พรุ่งนี้จะยังคงเป็นวันใหม่ พระอาทิตย์จะยังทักทายเราด้วยแสงสว่างเสมอ
เราไม่จำเป็นต้องกลัวเมื่อ “ความกังวล” เดินเข้ามา

เสียงในหัวที่บีบให้เราทรมานอาจเป็นเพราะความกังวลนั้นไม่มีคำตอบ
‘ถ้าฉันไม่ทำแบบนั้นจะเป็นอย่างไร’
‘ฉันที่เป็นแบบนี้ ยังเป็นที่ต้องการอยู่ไหม’
‘พรุ่งนี้ทุกอย่างอาจเลวร้ายกว่าที่คิด’

นี่คือสิ่งที่ความกังวลบอกเรา ตอกย้ำว่า ‘เราหยุดคิดไม่ได้เลย’ คนรอบตัวก็คอยบอกเสมอว่า ‘คิดมากเกินไป’
อย่าโกรธเกลียดที่ตัวเองเป็นแบบนี้เลย ไม่ผิดอะไรถ้าเราจะมี “ความกังวล” เป็น “เพื่อน”
เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะอยู่กับความกังวล ลองเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอยู่กับความกังวลแบบที่ไม่มากไปไม่น้อยไป

แต่ละคนจัดการความกังวลได้ไม่เหมือนกัน รู้สึกกับมันในระดับที่ต่างกัน

ถ้าต้องอดทนกับทุกอย่าง เราเองคงจะ “เหนื่อย” มาก แต่การบอกให้เลิกกังวลคงเป็นไปได้ยาก ถ้าวันไหนความกังวลก่อตัวขึ้นในใจ อย่าเพิ่งรีบปฏิเสธสิ่งที่มันกำลังรบกวนใจ อย่าเพิ่งเก็บกดมันไว้ ให้เราใช้เวลาอยู่กับความกังวลนั้นสักพัก จนเราเรียนรู้ว่าจะ “ปล่อยวาง” มันได้อย่างไร ปลายทางหลังผ่านพ้นความมืดนี้ไป อาจไม่มีอะไรเลวร้ายอย่างที่คิด

ไม่เป็นไร เราบอกลาความกังวลได้เสมอ
ฉันจะไม่เป็นไร
เธอจะไม่เป็นไร
เราจะไม่เป็นไร

เชื่อเถอะว่าเราผ่านมันไปได้ เราอยู่กับความกังวลได้ บางครั้งเราอาจต้องเดินออกมาจากบางสิ่งบางอย่าง เลิกคาดเดากับอะไรที่ยังมาไม่ถึง พาตัวเองกลับมาโอบกอดความรู้สึกในปัจจุบันอีกครั้ง 🙂

บอกตัวเองว่าเราเก่งพอที่จะผ่านทุกอย่างไปได้ในวันที่ความกังวลเข้ามาทักทาย
เราอาจเติบโตในอีกรูปแบบหนึ่งโดยมีความกังวลเป็นเพื่อนร่วมทางไปกับคุณ

ไม่ผิดเลยถ้าเราเดินออกจากโลกที่มืดมิดไม่ได้ ถ้าวันไหนความกังวลนั้นแผ่ขยายจนใจเรารับไม่ไหว อยากขอความช่วยเหลือจากใครสักคน อูก้าพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คุณได้พักหัวใจ เรามีจิตแพทย์และนักจิตวิทยามากมายในแพลตฟอร์มให้คำปรึกษาออนไลน์ คอยรับฟังและดูแลใจคุณทุกที่ทุกเวลา ให้อูก้าเป็นอีกหนึ่งกำลังใจดี ๆ ที่จะเดินไปกับคุณนะ 💙

🌟 ฟังเพลง Hello, Anxiety ของ Phum Viphurit ได้ที่นี่ https://bit.ly/3zrBsow

#OOCAinsight #PhumViphurit #HelloAnxiety

________________________________
⠀⠀⠀⠀
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/KFYm

Read More

เดี๋ยวดาวน์ เดี๋ยวนอยด์ เมื่อไหร่โควิดจะหายไปให้เราได้ใช้ชีวิตปกติซะที ?

เป็นไหม ? รู้สึกนอยด์ ๆ จากการเสพข่าวหรือเห็นในโซเชียลมีเดียว่าสถานการณ์โควิดในต่างประเทศเริ่มดีขึ้น คนประเทศอื่นเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ แต่เรายังต้องอยู่บ้าน work from home ไปไหนไม่ได้ อยากออกไปเที่ยวผ่อนคลาย ทำกิจกรรมและใช้ชีวิตแบบปกติซะที สุดท้ายกลายเป็นรู้สึกดาวน์กับตัวเอง

ไม่ใช่แค่นอยด์เพราะเบื่อ แต่ดูเหมือนเราจะนอยด์กับ “โควิด” สุด ๆ แล้ว

อาการนอยด์หรือหวาดระแวง (Paranoia) เป็นภาวะผิดปกติทางความคิดที่ทำให้เรารู้สึกระแวง สงสัยอย่างไม่มีเหตุผล เกี่ยวข้องกับวิธีคิดที่แปลกหรือผิดปกติ หากเป็นชั่วครั้งชั่วคราวกับเรื่องที่ใคร ๆ ก็นอยด์ อาจไม่นับว่าเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพ อย่างในช่วงโควิดสังเกตได้ว่าคนรอบตัวต่างก็ “นอยด์” กันไปหมด ไม่ต้องแปลกใจที่เราดาวน์ลง เพราะโควิดทั้งพรากความสุขและสั่นคลอนความปลอดภัยในชีวิตเรา

แต่ถ้าเรานอยด์กับโควิดจนอยู่ในจุดที่ใจเป็นทุกข์ ไม่สามารถควบคุมความคิดตัวเองได้ เราอาจดาวน์จนถึงจุดที่เรารับไม่ไหวอาจนำไปสู่โรคความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหวาดระแวง (Paranoid personality disorder : PPD) เป็นความหวาดระแวงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มักอยู่กับความสงสัย แม้ว่าจะไม่มีเหตุผลให้ต้องสงสัยก็ตาม เช่น คิดว่าคนอื่นไม่ชอบเรา รู้สึกไม่ไว้ใจใคร โดยเชื่อว่าผู้อื่นพยายามดูหมิ่น ทำร้าย หรือข่มขู่พวกเขาอยู่ตลอดเวลา

ด้วยชุดความคิดที่บิดเบือนนี้ทำให้ยากที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มีปัญหาในการเข้าสังคม ความผิดปกตินี้มักเริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและดูเหมือนจะพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง อาการนอยด์นั้นอาจไม่ใช่แค่เรื่องของความรู้สึกแต่เกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวช (mental illness) นับเป็นอาการที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์

อะไรทำให้เกิดความผิดปกติของบุคลิกภาพหวาดระแวง ?

แม้จะมีการศึกษามากมายแต่ก็ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แท้จริงของ PPD แต่อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางชีววิทยาและจิตวิทยาร่วมกัน พบว่าโรค PPD นั้นพบได้บ่อยในผู้ที่มีญาติหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคจิตเภท แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงทางพันธุกรรมระหว่างความผิดปกติทั้งสอง ประสบการณ์ในวัยเด็ก การถูกทอดทิ้ง ละเลยทางความรู้สึก รวมทั้งการบาดเจ็บทางร่างกายหรือทางอารมณ์อาจมีส่วนสำคัญต่อ PPD

จะรู้ได้ยังไงว่าเราแค่รู้สึกนอยด์หรือเสี่ยงต่อการเป็น PPD ?

ลองสังเกตความรู้สึกและความคิดของตัวเอง รวมถึงอาการดังต่อไปนี้ว่าเข้าข่ายหรือไม่

  • สงสัยในความสัมพันธ์ ความเคารพนับถือ หรือความเชื่อใจของผู้อื่น โดยคิดไปว่าผู้อื่นกำลังหลอกใช้หรือหลอกลวง
  • ไม่เต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลให้ผู้อื่นรู้ ระแวงเกินกว่าปกติ กลัวว่าข้อมูลจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด
  • เป็นผู้ที่ไม่ให้อภัยใครและชอบยึดถือความขุ่นเคือง
  • อ่อนไหวง่าย และขาดความสามารถในการวิเคราะห์วิจารณ์
  • พยายามตีความหมายที่ซ่อนอยู่ในคำพูดหรือท่าทีของคนอื่นเสมอ ๆ
  • รู้สึกเหมือนถูกโจมตีจากคนอื่น ทั้งที่ไม่มีลักษณะนั้นปรากฏให้เห็น
  • ตอบโต้ด้วยความโกรธและตอบสนองอย่างรวดเร็ว
  • เกิดความสงสัยซ้ำ ๆ โดยไม่มีเหตุผล เช่น คิดว่าคู่รักของตนนอกใจ เพื่อนนินทาลับหลัง
  • มักเย็นชาและเหินห่างในความสัมพันธ์กับผู้อื่น ชอบคนควบคุมและหึงหวง
  • มองไม่เห็นบทบาทของตนในปัญหา เชื่อว่าตนเองถูกต้องเสมอ
  • จัดการอารมณ์ไม่ค่อยได้ ผ่อนคลายไม่เป็น
  • ตั้งตนเป็นศัตรู ดื้อรั้น และชอบโต้แย้ง

หากมีหลายข้อที่ตรงกับตัวเรา อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าเรากำลังมีปัญหาสุขภาพใจ แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อทำการประเมินและวินิจฉัย สิ่งที่น่ากังวลคือ ผู้ที่เป็นโรค PPD มักไม่แสวงหาการรักษาเพราะไม่ได้มองว่าตนเองมีปัญหา เมื่อต้องเข้ารับการปรึกษา ทำจิตบำบัด วิธีรักษาจะเน้นไปที่การจัดระบบความคิด เพิ่มทักษะการเผชิญหน้าและรับมือกับปัญหาทั่วไป ตลอดจนการเสริมทักษะทางสังคม การสื่อสาร และความภาคภูมิใจในตนเอง เพื่อให้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น

กระบวนการการรักษาต้องอาศัยความไว้วางใจเป็นพื้นฐาน จึงเป็นเรื่องท้าทายที่จะสร้างความเชื่อใจกับคนที่เป็น PPD ส่วนใหญ่การใช้ยาไม่ใช่หัวใจหลักของการรักษาโรคนี้ อย่างไรก็ตามอาจมีการใช้ยาร่วมด้วย หากอาการนั้นรุนแรงมากหรือมีปัญหาทางจิตที่เกี่ยวข้อง เช่น ความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า เช่น ยาต้านเศร้า ยาต้านความวิตกกังวล ยากล่อมประสาท หรือยารักษาโรคจิตเภท

ไม่อยากนอยด์ง่าย นอยด์เก่ง มีวิธีไหนที่เยียวยาใจตัวเองได้บ้าง ?

หากคุณเพียงแค่รู้สึกดาวน์ นอยด์กับสถานการณ์โควิด ท้อแท้กับสิ่งที่เป็นอยู่ อาจเริ่มจากการพูดคุยกับ “อูก้าแอปพลิเคชันคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านวีดีโอคอล” ตัวช่วยที่ทำให้คุณเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ง่าย ๆ ในยุคโควิด ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องเสียเวลารอคิว เพราะอูก้าพร้อมอยู่กับคุณทุกที่ทุกเวลา แค่มีอินเทอร์เน็ตก็ดูแลใจแบบออนไลน์กันไปเลย #อูก้ามีทางออก #ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ #ปรึกษานักจิตวิทยาออนไลน์

  • คุยได้ทุกปัญหาส่วนตัวและอาการนอยด์ อารมณ์ดาวน์ สิ้นหวังเพราะโควิด หมดไฟ ฯลฯ
  • มีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี
  • นัดปรึกษาได้ในวันและเวลาที่คุณสะดวก
  • สะดวก ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวสูง
  • มีแบบทดสอบความเครียดเพื่อการประเมินที่เชื่อถือได้

ใครที่รู้สึกว่าตัวเองนอยด์ง่าย หงุดหงิดกับโควิด อยู่คนเดียวแล้วดาวน์บ่อย ๆ ก็ควรหาวิธีรับมือกับอารมณ์ลบที่สามารถทำได้เอง ไม่ว่าจะเป็น

  • เขียนบันทึก ลองสังเกตตัวเองและเขียนสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ตัวหนังสือช่วยสะท้อนให้เห็นได้ชัดเจนขึ้นว่าสิ่งที่เราเขียนมีอารมณ์เป็นบวกหรือลบมากกว่ากัน เริ่มตั้งแต่บันทึกเรื่องทั่วไป สิ่งที่ทำให้หวาดระแวง คิดลบบ่อยแค่ไหน เรามักจะดาวน์ช่วงไหน ทำให้ค้นหาสาเหตุหรือแนวโน้มของการเกิดอาการนอยด์ได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อไร มีอะไรที่ช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้บ้าง
  • ปรึกษาคนรอบข้าง การพูดคุยกับคนที่ไว้วางใจเพื่อระบายสิ่งที่เราอึดอัดเป็นอีกวิธีที่ดี ไม่ทำให้เรารู้สึกโดดเดี่ยว ทั้งยังช่วยรักษาความสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อนและคนรอบข้างไว้
  • ผ่อนคลายและยืดหยุ่น หากิจกรรมที่ช่วยปรับสมดุลความคิด เช่น ออกกำลัง นั่งสมาธิ งานอดิเรกที่สนใจ เป็นต้น
  • ดูแลสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง ใส่ใจพฤติกรรมการนอนหลับ การรับประทานอาหาร มีสติรู้เท่าทันอารมณ์อยู่เสมอ

เชื่อว่าทุกคนอยากพาตัวเองออกจากอารมณ์ดิ่ง อยากให้โควิดหายไป แต่มันก็ไม่ง่ายที่จะเปลี่ยนจากสลัดความรู้สึกดาวน์หรือความคิดในแง่ลบออกไป ยิ่งโควิดรุนแรงขึ้นทุกวัน เราอาจนอยด์ทั้งเรื่องสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ ไปจนถึงกังวลเรื่องอนาคต หน้าที่การงาน บ้างก็ระแวงว่าคนรอบตัวจะติดโควิดหรือเปล่า จนสิ่งเหล่านี้กระทบต่อสุขภาพกายและใจ นอยด์จนไม่อยากเจอกับใคร ยิ่งเห็นคนที่ใช้ชีวิตอย่างอิสระยิ่งรู้สึกหมดหวังกับสิ่งที่เผชิญอยู่ ไร้ซึ่งพลังบวกในชีวิต จนจัดการความรู้สึกดาวน์ไม่ได้สักที

ถ้าโควิดไม่หมดไป แปลว่าเราต้องดาวน์แบบนี้ต่อเรื่อย ๆ หรือเปล่า ?

อย่างแรกให้เรา “ตั้งสติ” แล้วค่อย ๆ พิจารณาถึงสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดาวน์
สิ่งที่กังวลเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและกระทบกับเราโดยตรงหรือไม่ ?
ก้อนความกังวลที่เราคิดเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ?
หรือเป็นอารมณ์ดาวน์เพราะเราคิดเปรียบเทียบกับคนอื่น ?

ไม่ผิดเลยที่เราจะห่วงความปลอดภัยของตัวเอง อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น อยากพัฒนาเติบโตไปข้างหน้า แต่ความคิดที่ฟุ้งซ่านเกินความพอดีหรือห่างไกลจากความเป็นจริงมากเกินไปอาจบิดเบือนการรับรู้ของเราได้ โดยเฉพาะช่วงโควิดที่เราอยู่กับตัวเองค่อนข้างมาก ทำให้ความคิดแตกขยายได้ง่าย ยามที่เราทั้งโดดเดี่ยวทั้งควบคุมความคิดไม่ได้ เป็นอะไรที่อันตรายกับใจอยู่เหมือนกัน

โควิดเป็นสถานการณ์ที่ท้าทายและคุกคามเรามากก็จริงแต่ไม่จำเป็นต้องโทษตัวเองหรือรู้สึกผิดที่เราติดอยู่กับที่ นอยด์บ้างดาวน์บ้างก็ไม่เป็นไร แต่อย่าลืมหาความสุขให้ชีวิต ยิ้มให้กับเรื่องง่าย ๆ จะได้มีแรงพาตัวเองออกจากอาการนอยด์ที่คอยบั่นทอนจิตใจ เริ่มต้นจัดการกับความรู้สึกดาวน์หรืออารมณ์นอยด์ง่ายที่ฉุดรั้งเรา ด้วยการเป็นเพื่อนกับอูก้า เพราะสุขภาพใจเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเสมอ

________________________________⠀⠀⠀⠀
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/Y8ep

อ้างอิงจาก

https://www.pobpad.com/หวาดระแวง

https://www.blockdit.com/posts/6034822d845c6b081e27fb84

https://www.webmd.com/mental-health/paranoid-personality-disorder

Read More

Self-harm ไม่ใช่อยากตายแต่ “ความเจ็บ” ช่วยตอกย้ำ “การมีอยู่”

ทุก ๆ นาทีมีการทำร้ายตัวเองหรือการฆ่าตัวตาย เกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งในโลกนี้ ความรู้สึกอะไรที่ผลักให้คนหนึ่งคนไปยืนอยู่ปลายทาง ? บางทีอาจเป็นความรู้สึกวิตก ซึมเศร้า ความหวาดกลัว หรือแม้แต่ความรู้สึกท่วมท้นที่รบกวนใจจนอยากหาทางระบายออก เขาอาจแค่ต้องการหาทางรับมือกับความคิดความรู้สึกที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว แต่ไม่มีทางใดจะแก้ไขก็เป็นได้

การทำร้ายตัวเองคืออะไร ?

อธิบายง่าย ๆ การทำร้ายตัวเอง หมายถึงพฤติกรรมใด ๆ ก็ตามที่ใครบางคนทำแล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง เป็นวิธีที่คน ๆ นั้นรู้สึกว่ามันช่วยรับมือกับความคิดและความรู้สึกที่ยากลำบากหรือน่าวิตกได้ มีตั้งแต่พฤติกรรมที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บเล็กน้อยไปจนถึงพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูงอย่างการฆ่าตัวตาย (suicide)

และถึงแม้ว่าการทำร้ายตัวเอง (self-harm) จะเกิดขึ้นบ่อย อย่างในยุโรปมีการสำรวจพบว่ามากกว่า 10-20% ของคนวัยหนุ่ยสาวเคยมีประสบการณ์ทำร้ายตัวเองหรือกำลังทำอยู่ แต่ปัญหาสุขภาพจิตก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง อคติที่สั่งสมมาทำให้หลายคนยังเชื่อว่าโรคทางจิตเวชไม่มีอยู่จริง บางอาการเป็นเพียงการแสดงออกเพื่อเรียกร้องความสนใจ ไม่ว่าเหตุผลเบื้องหลังของการตัดสินใจทำร้ายตัวเองคืออะไร เราก็ไม่ควรมองว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย หากอยากให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

ทำร้ายตัวเองเพราะ “ความเจ็บ” ช่วยตอกย้ำ “การมีอยู่”

แต่ละคนก็มีสิ่งที่ทำให้เครียดและกังวลแตกต่างกันไป บางคนสามารถจัดการได้ด้วยตัวเองหรือรู้สึกดีเพียงแค่การพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัว ในขณะที่คนอื่นอาจพบว่าปัญหาเหล่านี้เป็นก้อนหินทิ่มแทงใจตลอดเวลา ยิ่งถ้าไม่ได้แสดงอารมณ์และพูดถึงสิ่งที่ทำให้เป็นทุกข์ โกรธหรือไม่พอใจ ความรู้สึกลบอาจก่อตัวขึ้นจนเราทนไม่ไหว จึงหันมาใช้ร่างกายเพื่อแสดงความคิดและความรู้สึกที่ไม่สามารถพูดออกมาได้ เมื่อรู้สึกเจ็บก็แปลว่ายังหายใจ แต่เมื่อได้ทำร้ายตัวเองกลับพบว่าความรู้สึกทุกข์มีมากกว่าเดิม เราก็จะรู้สึกอยากทำร้ายตัวเองมากขึ้นไปอีก

เหตุการณ์ในชีวิตเป็นอีกสิ่งสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการทำร้ายตัวเอง เช่น สภาพแวดล้อม ครอบครัว โรงเรียนหรือปัญหาหลายด้านที่รุมเร้า นั่นแสดงให้เห็นว่าบางคนมีความเสี่ยงที่จะทำร้ายตัวเองมากกว่าคนอื่นเพราะสิ่งที่กดดันเขา นอกจากนี้ปัญหาด้านสุขภาพจิตก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่นำไปสู่การทำร้ายตัวเองได้ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความนับถือตนเองต่ำ (low self-esteem) ฯลฯ

หลายคนทำร้ายตัวเองเพื่อ “ขจัดความโกรธ และความเจ็บปวด” ที่เกิดจากแรงกดดันในชีวิต เพราะพวกเขาไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรและไม่รู้สึกว่าตัวเองมีทางเลือกอื่นอีก

มีคนที่เจ็บปวดจริงในโลกอีกใบและมีบางคนที่ไม่เคยสัมผัสความมืดมนนั้น

บางคนบอกว่าการทำร้ายตัวเองก็เป็นเหมือน “วงจร” ที่เข้ามาแล้วหาทางออกได้ยาก มักจะเริ่มต้นเพื่อบรรเทาแรงกดดันจากความคิดและความรู้สึกที่ทับถมใจเรา เมื่อทำไปแล้วรู้สึกว่าสิ่งนี้ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทางอารมณ์ของเราได้ชั่วครั้งชั่วคราวก็ยังดี สิ่งสำคัญคือหลายคนไม่ทันรู้ตัวว่ามันไม่ใช่ทางออกที่จะพาเราออกจากโลกที่เจ็บปวดได้จริง ถ้าเราไม่ได้ตระหนักถึงการมีอยู่ของตัวเองในปัจจุบันมากพอ การใช้เหตุผลพื้นฐานก็จะหายไปด้วย และถ้าเราทำร้ายตัวเองซ้ำ ๆ สิ่งที่ตามมาคือความรู้สึกผิด ความละอาย รู้สึกไม่มีคุณค่า กลายเป็นกล่าวโทษตัวเองที่เราไม่รักตัวเองให้มากพอ

สิ่งสำคัญคือความรู้สึกลบที่เรากำลังเผชิญอยู่ ใช่ว่าจะคงอยู่ตลอดไป

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะก้าวออกมาบอกว่าเรากำลังทำร้ายตัวเอง โดยเฉพาะการพูดถึงต้นตอของปัญหา เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ทุกคนที่จะปิดบังมุมที่เราเปราะบาง การขอความช่วยเหลือจึงเป็นเรื่องยากมาก แต่เป็นก็ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการดึงความรู้สึกตัวเองกลับมา

😢 เราสามารถคุยกับใครได้บ้างในเวลาที่อารมณ์ของเราดำดิ่งลง

ตามหาพื้นที่สบายใจของตัวเองและจัดสรรเวลาเพื่อใส่ใจความรู้สึกบ้าง การฝ่าฟันทุกอย่างในชีวิตอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด แต่การรู้จังหวะที่ควรก้าวเดินนั้นจะทำให้ใจเรามั่นคงในทุกขณะ ที่ขาดไม่ได้คือแรงสนับสนุนจากคนรอบข้างที่จะช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและสามารถฟื้นฟูความรู้สึกให้กลับมาดีเหมือนเดิม

บางกรณีการพูดคุยกับนักจิตวิทยา จิตแพทย์หรือใช้ยาในการรักษาตามขั้นตอนเป็นเรื่องจำเป็น สิ่งสำคัญคือการเปิดใจพูดคุยถึงปัญหา การเรียนรู้วิธีรับมือกับสิ่งที่เข้ามา ถ้าจัดการกับปัญหา ความเครียดหรืออารมณ์ความรู้สึกได้อย่างถูกวิธี เราจะตัดวงจรการทำร้ายตัวเองได้ผลในระยะยาวมากกว่า

อีกวิธีคือการใช้ ‘เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจ’ เป็นกลยุทธ์ที่มีประโยชน์มากในการลดหรือหยุดการทำร้ายตนเอง เช่น การฝึกลมหายใจ การเขียนบรรยายความรู้สึก การชกตีหมอนเพื่อระบายอารมณ์ ฟังเพลงที่ชอบ ออกไปเดินเล่น ฯลฯ เทคนิคเหล่านี้ช่วยปลดปล่อยความกดดันทางอารมณ์ที่เรารู้สึกได้โดยไม่จำเป็นต้องทำให้ตัวเองเจ็บปวด

ลองทบทวนวิธีแก้ปัญหาที่เราใช้เมื่อเกิดความรู้สึกด้านลบ เราแก้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเราจมอยู่กับห้วงความคิดนั้นเป็นเวลานาน ? เราติดอยู่กับอดีตและกังวลกับอนาคตมากกว่าการอยู่กับปัจจุบันหรือเปล่า ? อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือเมื่อใดก็ตามที่เราต้องการ การพูดถึงความรู้สึกไม่ใช่ตัวตัดสินความอ่อนแอ แต่มันแสดงให้เห็นว่าเรากำลังพยายามดูแลสุขภาพกายและใจของตัวเองให้ดีขึ้น

การพูดคุยกับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการบอกเล่าความกังวลใจให้ใครสักคนรับฟัง ไม่ว่าปัญหาเรื่องอะไรคงจะดีไม่น้อยถ้ามีใครยืนอยู่ข้างเราโดยไม่ตัดสิน ไม่กล่าวโทษในสิ่งที่เราคิดหรือทำลงไป อูก้าพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

#OOCAknowledge

________________________________⠀⠀⠀⠀
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/AVCv⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

https://www.youtube.com/watch?v=iaYaN4b–Ow

https://www.mentalhealth.org.uk/publications/truth-about-self-harm

Read More