ป้องกันภาวะหมดไฟ ด้วยสวัสดิการดูแลใจในระยะยาว

เพราะ Job Burnout ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจไปยังกิจกรรมที่ผ่อนคลาย แต่ต้องการการพูดคุยเชิงลึกถึงคุณค่าในตัวเองและการแก้ปมปัญหาต่างๆ ที่อาจจะพูดกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าตรงๆ ได้ยาก

.

Job Burnout หรือภาวะหมดไฟจากการทำงาน เป็นลักษณะความเครียดเฉพาะตัวที่ต่างจากความเหนื่อยล้าทั่ว ๆ ไป เนื่องจากความเหนื่อยล้าทั่วไปนั้นหากแวะทำกิจกรรมคลายเครียดก็พอจะบรรเทาลงได้ แต่ Burnout ไม่ได้เรียบง่ายแบบนั้น หากแต่ Job Burnout คือภาวะความเหนื่อยล้าทางร่างกายและอารมณ์ อันเกิดจาก…

.

🧐 การที่ตัวเรารับรู้ถึงความสำเร็จได้ยากขึ้น

🧐 รับรู้ถึงการเป็นตัวของตัวเองที่ค่อย ๆ เลือนหายไป

🧐 รู้สึกกดดันจากความคาดหวังในการทำงานของตัวเอง

.

ซึ่งสำหรับหลายๆ คน กว่าจะรู้ตัว ไฟก็ดับสนิทแถมยังโดนราดน้ำตาจนจุดไม่ติด ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีต่อใครเลยทั้งต่อตัวเราเอง ทั้งต่อทีมงาน และองค์กร

.

👀

ศูนย์การแพทย์เชิงวิชาการ Mayo Clinic จากรัฐมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเสนอคำถาม 10 ข้อ ที่เอาไว้ประเมินว่าพนักงานกำลังอยู่ในสภาวะหมดไฟทำงาน (Job Burnout) หรือไม่ ซึ่งสามารถสำรวจได้จากรายการต่อไปนี้:

.

1. เคยประชดประชัน พูดจาเสียดสีหรือจับผิดคนอื่นในที่ทำงานไหม?

2. รู้สึกไม่อยากออกไปทำงาน และเมื่อถึงที่ทำงานกลับไม่รู้ว่าจะเริ่มทำงานอะไรบ้างหรือเปล่า?

.

3. รำคาญใจหรือไม่สามารถอดทนต่อการกระทำหรือคำพูดของเพื่อนร่วมงานได้น้อยกว่าแต่ก่อนไหม?

4. รู้สึกว่าไม่อยากจะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ อีกต่อไป หรือคิดงานไม่ค่อยออกบ้างหรือเปล่า?

.

5. การจดจ่ออยู่กับงานเป็นเวลานานกลายเป็นเรื่องยากแล้วหรือยัง?

6. ไม่รู้สึกพึงพอใจในความสำเร็จที่เกิดจากงานของตนเองไหม?

.

7. รู้สึกผิดหวังเพราะรับรู้ว่างานของตนเองไม่ได้ดีอย่างที่คิดไว้ไหม?

8. เคยใช้อาหาร ยาเสพติดหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ให้ตัวเองรู้สึกดีจากความรู้สึกแย่ ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานหรือเพื่อนร่วมงานหรือไม่?

.

9. กิจวัตรการนอนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือเปล่า? (เช่น นอนหลับยาก นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อยๆ หรือนอนหลับฝันร้ายติดต่อกันหลายวัน หรือนอนหลับมากจนเกินไปจนไม่อยากตื่นไปทำงาน)

.

10. เคยทรมานจากอาการปวดหัว ปวดท้อง มีปัญหาการขับถ่ายหรือมีอาการผิดปกติทางกายที่หาสาเหตุไม่ได้ เมื่อจำเป็นจะต้องไปทำงาน หรือขณะทำงานอยู่บ่อย ๆหรือเปล่า?

.

🔥🔥🔥

หากพนักงานมีอาการดังกล่าวร่วมกัน แปลว่าระบบนั้นกำลังต้องการการยกเครื่องครั้งใหญ่เลยทีเดียว

.

และเพราะ Job Burnout ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจไปยังกิจกรรมที่ผ่อนคลาย แต่ต้องการการพูดคุยเชิงลึกถึงคุณค่าในตัวเองและการแก้ปมปัญหาต่างๆ ที่อาจจะพูดกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าตรงๆ ได้ยาก ในองค์กรขนาดใหญ่ที่เล็งเห็นว่าสุขภาพจิตเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาประสิทธิภาพ จึงได้จัด “โปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน (Employee assistance program หรือ EAP)” ซึ่งเป็นบริการทางจิตวิทยาให้กับพนักงานที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต หรือเสี่ยงต่อภาวะหมดไฟ

.

👩‍⚕️⛅️

อาจารย์ สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้าก็ฝากมาบอกทุกคนว่า “หมดไฟ หมดได้แต่อย่าหมดรักตัวเองนะคะ เราสามารถเติมไฟให้ตัวเองได้ด้วยการเริ่มต้นรักและดูแลหัวใจตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ค่ะ”

.

เพราะเราทุกคนในอูก้าพร้อมจะรับฟังทุกปัญหาและร่วมหาทางออกไปพร้อมกับเพื่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องที่คนวัยทำงานต้องแบกรับ โดยอูก้าขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่ทำงานหนักเพื่ออนาคตของตัวเองและคนที่คุณรัก – อย่าหักโหมจนลืมดูแลสุขภาพกายใจ หยุดพักแล้วแวะมาคุยเพื่อเติมไฟและพลังใจกันได้เสมอ เพราะคุณน่ะมีอยู่แค่คนเดียวในโลกเองนะ 🙂

.

.

อ้างอิง

.

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่คัดมาให้ทุกคน

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง

#WORKLIFEBALANCE #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์ #burnout #หมดไฟ

Read More

4 เทคนิคจัดชีวิตให้มี Work Life Balance

หากช่วงนี้คุณรู้สึกว่า อยู่ๆงานที่เคยทำเสร็จเร็วกลับเสร็จช้าลง, อยากทำงานให้เสร็จ ๆ ไปมากกว่าผลิตงานที่มีคุณภาพ หรืองานที่เคยชอบกลับกลายเป็นงานที่เราไม่อยากแม้แต่จะเริ่มต้น – อาจแปลได้ว่าตอนนี้สมดุลการทำงาน การใช้ชีวิต และการพักผ่อนของเราไม่ได้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม และอาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าหรือบ่อนทำลาย self esteem ได้ ถ้าหากเรายังคงใช้ชีวิตแบบเดิมโดยไม่แก้ไข วันนี้อูก้าเลยอยากชวนเพื่อนๆ มาเติมเพลิงแห่งความสุขกับการทำงานของเรากันอีกครั้งผ่าน tips เล็กๆ น้อยๆ ที่จะสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานของเรา

.

ก่อนอื่นเรามาลองจัดการปัญหานี้ด้วยวิธีการจด  to do list โดยการเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ อะไรที่ต้องใช้เวลาทำมาก อะไรที่ต้องใช้เวลาทำน้อย จากนั้นเราขอชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมาลองฝึกการบาลานซ์ชีวิตเพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น โดยอูก้าได้ลองรวบรวมวิธีการเซ็ตสมดุลย์ชีวิตที่น่าจะเป็นประโยชน์มาฝากทุกคนกัน 

หาจุดที่พอดีให้กับตัวเราเอง

ก่อนอื่นอาจต้องปรับเปลี่ยน mind set ของตัวเรากันก่อนว่าการที่เราไม่ได้ทำงานหามรุ่งหามค่ำหรือพักดูหนังสัก 1-2 ชั่วโมงไม่ได้แปลว่าเราไม่ขยัน เช่นเดียวกับการที่เราตอบอีเมล 2-3 รายการในวันหยุดพักผ่อนก็ไม่ถือว่า Work-life Balance ของเราพังลง  ทุกคนสามารถหาจุดที่พอดีของตัวเองได้ตามขอบเขตการรับได้ และไม่ทำให้เรารู้สึกว่ากำลังรบกวนเวลาพักผ่อน ถึงแม้ว่าในความพอดีของเราในวันนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต เพราะเราเติบโตขึ้น กิจวัตรบางอย่างอาจทำได้ไม่เหมือนเดิม  ซึ่งเวลาที่เหลือจากการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องต่าง ๆ ของตัวเราเองนะ

ทำงานเมื่ออยู่ในเวลางานและให้เวลากับตัวเองเต็มที่เมื่อหมดเวลางาน

หลายคนอาจจะเคยนำเรื่องงานกลับมาคิดที่บ้านซ้ำไปซ้ำมา ทำให้สมองของเราเกิดการหลั่งฮอร์โมนความเครียด และพาลทำให้ทั้งสภาพจิตใจและร่างกายของเรารู้สึกเหมือนไม่ได้รับการพักผ่อน  ดังนั้นเราจึงควรแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัวออกจากกันให้ชัดเจนผ่านการวางขอบเขตการทำงานในแต่ละช่วงเวลาของเรา โดยตั้งใจทำงานเมื่ออยู่ในเวลางาน ขอความช่วยเหลือเมื่อไม่สามารถทำงานนั้นได้ และให้เวลากับตัวเองเยอะ ๆ เพราะร่างกายของเราต้องการพักผ่อนเพื่อเสริมสร้างพลังใจเหมือนกัน

นอกจากนี้ การจัดโต๊ะทำงานหลังเลิกงานยังช่วยให้แยกพื้นที่การทำงานกับการพักผ่อนออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้เราไม่รู้สึกเหมือนต้องทำงานตลอดเวลา สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้อง Work From Home เรามาลองจัดมุมใดมุมหนึ่งของห้องให้เป็นสถานที่ทำงาน โดยพยายามเลือกที่สงบ จัดโต๊ะให้เหมือนกับโต๊ะที่ออฟฟิศและใช้มุมนี้ตลอด หากเปลี่ยนมุมไปเรื่อย ๆ จะทำให้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตในการทำงานปะปนกัน เมื่อถึงเวลาเลิกงานแล้ว ก็ชัตดาวน์คอมพิวเตอร์ ยืดเส้นยืดสายสักเล็กน้อย หาของอร่อย ๆ กิน ดูซีรี่ส์ที่ยังดูค้างไว้บนที่นอนของเรากันดีกว่า นอกจากนี้อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง และทานอาหารให้ให้ครบ 5 หมู่ กันด้วยนะ

พูดปฏิเสธในเรื่องที่ไม่สามารถทำได้

เป็นเรื่องปกติที่เราอาจถูกไหว้วานจากเพื่อนร่วมงานและงานบางอย่างที่ได้รับการไหว้วานอาจเป็นงานที่เราไม่ได้อยากทำ ซึ่งการปฏิเสธที่จะช่วยไม่ใช่เรื่องผิด ในทางกลับกัน เราสามารถลองชั่งน้ำหนักดูว่าสิ่งนั้นอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบเรามากเกินไปไหม จะทำให้เรากดดันหรือเครียดหรือเปล่า เราสามารถปฏิเสธอย่างนุ่มนวลได้ เพื่อไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานในภายหลัง และเพื่อดูแลจิตใจไม่ให้ต้องแบกรับความเหนื่อยล้ามากเกินไปของเราได้พร้อมๆ กัน

ใจดีกับตัวเองบ้าง

สิ่งสำคัญที่ควรปกป้องและรักษาไว้คือใจของตัวเราเอง เวลาที่รู้สึกว่าไม่ไหวควรฟังเสียงในใจตัวเองและหยุดพัก พยายามไม่ฝืน มันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรถ้าเราจะหยุดพักทำในสิ่งที่ชอบ ถึงแม้ว่าการทำงานหนักในตอนนี้อาจยังไม่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจมากนัก แต่ถ้าสะสมนาน ๆ ไปก็สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้เช่นกัน ทั้งนี้ เราสามารถหาแหล่งเพิ่มพลังงานให้ตัวเอง จากกิจกรรมเล็ก ๆ ที่เราชอบได้  เช่น การอยู่คนเดียวในที่เงียบ ๆ เพื่อทำให้ใจสงบ การขับรถชมวิวหลังเลิกงาน เป็นต้น

👩🏻‍⚕️💙

นอกจากนี้ อ.สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาคลินิกจากอูก้าก็อยากจะฝากกำลังใจเล็กน้อย ๆ ให้เพื่อน ๆ ทุกคนว่า “ของขวัญที่ดีที่สุดที่เราสามารถให้ตัวเองได้คือความสุขจากการพักผ่อนอย่างเพียงพอ มาเริ่มต้นมีความสุขด้วยการบาลานซ์ชีวิตของเรากันนะคะ”

.

ถ้าเพื่อน ๆ รู้สึกว่าปัญหาแต่ละอย่างมันหนักเกินจะรับไหว  รู้สึกว่ามีเรื่องราวอื่น ๆ ที่อยากระบาย หรือต้องการเพื่อนไว้รับฟังและคอยปลอบโยนอยู่ข้าง ๆ เวลาเหนื่อยและสับสน ทางอูก้ายินดีให้คำปรึกษาและพร้อมรับฟังเสมอ เพราะทุก ๆ เรื่องจากคุณสำคัญที่สุดสำหรับเรานะคะ

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

.

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

https://experience.dropbox.com/th-th/resources/work-life-balance

https://medium.com/the-logician/work-to-live-or-live-to-work-c8a1f6761e

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง #OOCAissues

#mentalhealth #stigma #selflove #expectation #WORKLIFEBALANCE #OOCAfeelings #OOCAreminder #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More

Baby (makes me) Blue ฝนตกในใจหลังกลายเป็นแม่

“ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องน่ายินดีเพราะจะได้เห็นหน้าลูกน้อย แต่กลับรู้สึกเศร้าหมองเหมือนกับวันฝนพรำ”

“กังวลใจเหลือเกิน กลัวว่าจะเป็นแม่ที่ไม่ดีพอ”

เพื่อน ๆ ที่มีลูกเคยรู้สึกแบบนี้บ้างไหม?

หรือเคยเห็นคนรู้จักมีอาการซึมเศร้าหลังคลอดลูกหรือเปล่า?

.

เมื่อไม่กี่ปีก่อน นิยายเรื่อง “คิมจียอง เกิดปี 82” เขียนโดยโชนัมจู ได้สร้างปรากฏการณ์ talk of the town ไปทั่วโลก “คิมจียอง เกิดปี 82” ได้ยกประเด็นเรื่อง “ภาวะและโรคซึมเศร้าหลังคลอด” ผ่านตัวละครเอกอย่าง “คิมจียอง” โดยอาการนี้ได้เปลี่ยนทั้งทัศนคติ และมุมมองที่มีต่อคนรอบตัวของเธอ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นจุดพลิกผันครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเธอก็ว่าได้ เนื่องในโอกาสวันแม่ อูก้าอยากชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับอาการ “baby blues” หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อที่จะได้เข้าใจทั้งตัวละครคิมจียองมากขึ้น และคุณแม่มือใหม่ในชีวิตของเพื่อน ๆ กัน

.

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ baby blues เป็นอาการที่พบบ่อยถึง 50-75% ในหมู่คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก  โดยภาวะซึมเศร้านี้ จะทำให้มีอารมณ์อ่อนไหวง่ายกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มาจากฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน จึงส่งผลให้เกิดความเครียด ความเหนื่อยหน่ายกับชีวิตและสิ่งที่เคยสนใจ ความวิตกกังวลต่าง ๆ เช่น กังวลว่าตัวเองจะไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ดีพอ รู้สึกไม่มั่นใจกับบทบาทการเป็นแม่ของตนเอง รู้สึกว่าตนไม่ผูกพันกับลูก

.

นอกจากนี้บางคนอาจรู้สึกห่างเหินกับคนรอบข้าง บางครั้งอาจเกิดอาการน้อยใจ  รู้สึกท้อแท้ และสิ้นหวังในชีวิต บางครั้งก็ร้องไห้ออกมาโดยไม่มีเหตุผล แพทย์หญิงศิริลักษณ์ ลอดทอน จิตแพทย์จากแอปอูก้ายังเสริมอีกว่า นอกจากอาการทางใจแล้ว อาจมีอาการทางกายควบคู่ไปด้วย เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง จนกระทบชีวิตประจำวันของเหล่าคุณแม่ได้ โดยภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ baby blues จะมีระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าฮอร์โมนจะกลับมาอยู่ในสภาวะปกติ

.

ทั้งนี้ เพื่อน ๆ อาจสงสัยว่า แล้วอาการ baby blues  ต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร แพทย์หญิงศิริลักษณ์ได้ให้คำตอบไว้ว่า  แม้ทั้งสองจะมีพื้นฐานของอาการที่คล้ายคลึงกับอาการโรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum Depression  แต่โรค Postpartum Depression ซึ่งในไทยพบประมาณ 16.8% (ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต) ของคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกมีอาการยาวกว่า 2 สัปดาห์ และมีอาการที่รุนแรงกว่า เช่น มีความคิดต้องการทำร้ายตัวเองและลูก ประสาทหลอน มีอาการฉุนเฉียวสลับกับคึกคักคล้ายไบโพลาร์ หรืออาการทางกาย เช่น นอนไม่หลับ น้ำหนักลด เป็นต้น ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นที่จะต้องพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัย อีกทั้งต้องมีการทำจิตวิทยาบำบัดไปพร้อม ๆ กัน และรับประทานยาเพื่อรักษาอาการของโรคซึมเศร้า

.

แต่ถ้าเป็นระยะแรกเริ่มอย่างภาวะ baby blues  สามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบา ๆ ทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่อดอาหาร เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เพราะหากระดับน้ำตาลในเลือดตก อาจทำให้อารมณ์ไม่สมดุลได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การเข้าใจกับสภาวะที่ตนกำลังเผชิญ ปรับเปลี่ยนทัศนคติให้มองโลกในแง่บวก งดรับข่าวสารที่จะทำให้เกิดความเครียด และอย่าปล่อยให้ตัวเองอยู่คนเดียวด้วยการพูดคุยกับคนใกล้ชิด หรือคุณแม่คนอื่น ๆ ที่กำลังเผชิญอยู่กับภาวะ baby blues เหมือนกัน การปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรมและทัศนคติเช่นนี้ จะช่วยทำให้ฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้าได้เร็วขึ้น และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

.

ทั้งนี้ แพทย์หญิงศิริลักษณ์  ยังได้ฝากกำลังใจให้แก่คุณแม่มือใหม่ทุกคนว่า

“อยากจะให้คุณแม่เชื่อในตัวเองว่า อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีวิธีการรักษาและสามารถหายไปได้ ขอให้คุณแม่ทุกคนเชื่อในตัวเองว่ามีความสามารถในการเลี้ยงลูก พยายามมองโลกในแง่บวก อีกทั้งยังควรระลึกว่า ตนไม่ได้เผชิญปัญหานี้อยู่คนเดียว แต่ยังมีคนรอบข้างที่คอยมอบความรักและความห่วงใยอยู่เสมอ”

.

หากใครที่ได้อ่านเรื่องคิมจียอง จะเห็นว่า คิมจียองดีขึ้นจากภาวะนี้ได้ เพราะว่ามีสามีของเธอที่พยายามทำความเข้าใจและดูแลอยู่เคียงข้างเธอเสมอ ดังนั้น ทั้งภาวะ baby blues และโรคซึมเศร้าหลังคลอด ยาใจสำคัญที่จะทำให้คุณแม่มือใหม่ทุกคนสามารถผ่านพ้นความยากลำบากนี้ และกลับมามีรอยยิ้มที่สดใสอีกครั้งคือ  “กำลังใจจากครอบครัวและคนรอบข้าง”

.

เนื่องในโอกาสวันแม่ปีนี้ อูก้าจึงอยากชวนเพื่อน ๆ มาขอบคุณคุณแม่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ของเพื่อน ๆ เอง หรือคนรอบตัวที่กำลังเป็นคุณแม่ อูก้าเข้าใจดีว่าการเป็นแม่นั้นต้องผ่านอะไรมามากมาย อูก้าขอขอบคุณคุณแม่ทุกคนที่คอยดูแลพวกเราด้วยความรักตลอดมา และแน่นอนว่าอูก้าพร้อมรับฟังทุกเรื่องราวที่คุณแม่กำลังรู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจอยู่เสมอ เพื่อร่วมกันฝ่าฟันวันฝนพรำอันหนาวเหน็บนี้ไปด้วยกัน

ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง

#mentalhealth #depression #ซึมเศร้า #babyblue #PostpartumDepression #ซึมเศร้าหลังคลอด

#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues

#นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Sources:

Read More

งานจบ อารมณ์ไม่จบ: ความเครียดสะสม ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

“ก็มีเครียดบ้างแหละ ปกติของการทำงาน”

“มันก็คงเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ที่จะปวดหัวเรื่องงานแหละมั้ง”

“ทน ๆ ไปเถอะ เครียดนิดหน่อย เดี๋ยวก็หาย”

.

การละเลยสิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้ อาจนำพาเราไปสู่ “Minor stress” หรือความเครียดสะสมที่เกิดจากความรู้สึกในเชิงลบที่สะสมทีละเล็กละน้อยโดยไม่รู้ตัว โดยเจ้า Minor stress มักปรากฎตัวได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกเครียด กดดัน ผิดหวัง เศร้าหมอง และอื่น ๆ

.

และ Minor Stress นี่เองที่สามารถนำไปสู่ภาวะเครียดจนเกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ ซึ่งสาเหตุของความเครียดนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น ระดับฮอร์โมน การพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัญหาจุกจิกในชีวิตประจำวัน งาน หรือแม้กระทั่งการเมืองในที่ทำงานด้วยเช่นกัน

.

แล้วเราจะสามารถจัดการกับ Minor stress จากความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างไร?

.

👩🏻‍⚕️💙

คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในแอพอูก้า แนะนำกับเราว่า เมื่อมีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับความเครียดที่เรามี หากเลี่ยงปัจจัยการกระตุ้นความเครียดได้ก็ควรเลี่ยง เช่น ลองให้คนอื่นคุยงานนี้แทนเราแต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้เราอาจจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจก่อนไปเผชิญหน้ากับเขา หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ อย่างน้อยเราก็จะทำให้เราพอรู้ว่าต้องเจออะไร พยายามจัดการความรู้สึกของตัวเองหรือระบายให้เพื่อนฟัง บางทีเพื่อนอาจเคยเจอเหมือนกับเราก็ได้

.

อีกหนึ่งทางออกที่ดีคือ การลองปรึกษากับบุคคลภายนอก เพื่อให้ได้เห็นปัญหาในภาพที่กว้างมากขึ้น เพราะหลายครั้ง การมีแค่ HR หรือหัวหน้างาน ก็ไม่เพียงพอ ซึ่งที่จริง HR และเหล่าหัวหน้างาน ก็ต้องการผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเมื่อเผชิญภาวะเครียดเหมือนกัน เพราะความรู้สึกและความสัมพันธ์ในที่ทำงานเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้น “งานเยอะ” จึงอาจจะไม่ใช่ต้นตอของปัญหาทั้งหมด เมื่อปัญหาภายในองค์กรเรื้อรังรังเข้า จึงเกิดภาวะ “งานจบแล้ว แต่อารมณ์ยังไม่จบสักที”

.

ซึ่งยุคนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีหลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงานมากขึ้น โดยหลายองค์กรเริ่มมีสวัสดิการให้พนักงานได้เข้ามาปรึกษาหรือพูดคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี

.

นอกจากนี้ คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้ากล่าวว่า การมีสวัสดิการเรื่องสุขภาพจิตในองค์กรถือเป็น “เรื่องที่ดี” และ ”สำคัญมาก” เพราะนอกจากจะมีคนที่คอยรับฟังและเข้าใจปัญหาของเราแล้ว สุขภาพใจจะดีขึ้น สุขภาพกายก็จะดีตามไปด้วย สิ่งนี้จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและทำให้คนทำงานอย่างเราใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

.

แน่นอนว่าอูก้าเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจ ที่คอยช่วยสนับสนุนเพื่อน ๆ ให้เอาชนะความเครียดจนสำเร็จ ไม่ว่าเพื่อน ๆ จะเข้ามาระบายเรื่องราวต่าง ๆ ให้เราฟังหรืออยากปรึกษากันแบบจริงจัง จะเป็นเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ เราก็พร้อมรับฟังและอยู่เคียงข้างเพื่อน ๆ เสมอนะ

.

มารับพลังใจในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

อ้างอิง: https://www.medicalnewstoday.com/articles/321450?fbclid=IwAR0MzoZxiUcaf4WO1Tp4V7juKoaJAQ0saencyE2KOyH2eyalUfObG-2dZFc

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth#stigma#selflove#expectation#ความคาดหวัง#OOCAfeelings#OOCAreminder

Read More

ไขข้อข้องใจ ทำไมคนเราถึงเกลียดตัวเอง?

“ทุกคนคงเคยมีวันที่ไม่ชอบตัวเองกันบ้าง ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ปกติมากๆ เเต่ถ้าไม่มีสักวันที่เรารู้สึกชอบตัวเองเลยล่ะจะเกิดอะไรขึ้น?”

.
*ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนอาจสงสัยว่า สิ่งมีชีวิตโดยทั่วๆ ไป ควรจะมีสัญชาติญาณเอาชีวิตรอด ควรจะรักและปกป้องตัวเอง แต่ทำไมมนุษย์ถึงมีพฤติกรรมโกรธ เกลียดตัวเอง ไปจนถึงทำสิ่งต่างๆ ที่อาจเป็นภัยต่อตัวเองได้ ดังนั้น* วันนี้อูก้าจะมาเล่าเรื่อง **ความโกรธเกลียดตนเอง** (Self Hatred) ซึ่งหมายถึง *ความรู้สึกที่ว่าตัวเองไม่ดีพอ ไม่ควรค่าเเก่การได้รับความรักหรือสิ่งดีๆ จากสังคม*

เเต่เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมเราถึงมีความรู้สึกเเบบนั้นกัน?

การเกลียดตัวเองอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น บาดแผลทางใจในอดีต (Past Trauma), การเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น, การไม่ได้รับความรักหรือการยอมรับจากครอบครัวเเละเพื่อน ฯลฯ นอกจากนี้ ความเกลียดโกรธตัวเองนี้ยังขับเคลื่อนโดยเจ้าสิ่งที่เรียกว่า “Critical Inner Voice” คือ เสียงที่เกิดจากจิตใต้สำนึกลึกๆของเรา เสียงเหล่านี้จะสร้างมุมมองเเละทัศนคติของเราที่มีต่อตัวเองในเเง่ลบ เช่น “เราโง่จังเลย” “เราพูดไม่เก่ง” “เราคิดมากจัง” ซึ่งเสียงเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
.

#1 **ความทรงจำเเละประสบการณ์เลวร้ายที่เราพบเจอในอดีต:** ความทรงจำเเละประสบการณ์สร้างความเชื่อเเละความคิดของเรา (Values) เช่นคนที่เคยถูกบูลลี่ก็อาจกลัวการเข้าสังคมเเละรู้สึกไร้คุณค่า หรือคนที่เคยถูกคนรักทิ้งก็อาจคิดว่าตนเองดีไม่พอที่จะได้รับความรักเเละไม่กล้ามีความรักครั้งใหม่
.

#2 **ครอบครัวเเละการเลี้ยงดู:** ครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ วิธีการเลี้ยงดูของพ่อเเม่ก็มีผลต่อตัวเรา เช่นถ้าพ่อเเม่เป็น “Perfectionist” มีความคาดหวังในตัวลูกสูง เด็กก็จะเกิดความกดดัน เเละ กลัวว่าตนเองจะสร้างความผิดหวังให้กับผู้อื่น เมื่อทำผิดพลาดก็จะโทษตัวเอง หรือถ้าเด็กๆ อยู่ในสภาพเเวดล้อมที่คุกคามและควบคุม หรือไม่ได้รับความรักจากพ่อเเม่ ความรู้สึกนั้นก็จะสะสมไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นความรู้สึกเกลียดตัวเอง
.

#3 **การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น:** การเปรียบเทียบทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยเช่น “ทำไมเราทำงานไม่เก่งเท่าเพื่อน” “ทำไมเราไม่สวยเหมือนอย่างคนนั้น ไม่เป็นอย่างคนนี้ “ เมื่อเราสร้างภาพลักษณ์ที่เราคาดหวังไว้สูง เเต่ตัวตนจริงๆ เราไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวัง เราก็จะรู้สึกผิดหวังในตัวเอง เเละไม่รู้สึกชื่นชมในสิ่งที่เรามีหรือสิ่งที่เราเป็น

.

ทั้งหมดนี้รวมตัวกันกลายเป็น ภาพที่เรามองตัวเองโดยมี “เสียงวิจารณ์ภายใน” เหล่านี้วนเวียนซ้ำๆตอกย้ำเราจนเราเชื่อว่า “เสียงวิจารณ์ภายใน” เป็นความจริงเเละทำลายความมั่นใจของเราลงเรื่อยๆ จนเรากลายเป็นคนที่มี Self Esteem หรือความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ เเละจบลงด้วยการ “เกลียดตัวเอง” เพื่อเป็นการลงโทษตัวเองในท้ายที่สุด

.

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเราจะต้องศิโรราบต่อ “เสียงวิจารณ์ภายใน” ตลอดไปกันสักหน่อย โดยคุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้า เล่าให้เราฟังเกี่ยวกับเคสที่มาหาจิตแพทย์ด้วยความรู้สึกเกลียดตัวเองว่า …

.
👩‍⚕️
“การเกลียดตนเองเกิดจากความคิดเเง่ลบกับตัวเอง ความคิดมันเยอะท่วมท้น จนไม่สามารถจัดการกับมันได้ เเละรู้สึกว่าไม่มีใครอีกเเล้วที่ช่วยเราได้ – เมื่อเกิดความรู้สึกว่าเราทำอะไรไม่ได้สักอย่าง อยู่ไปก็มีเเต่เป็นภาระให้คนอื่น เราก็จะรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการ บางคนมีปมในอดีตที่ฝังลึกในจิตใต้สำนึก เช่น คนที่เคยอกหัก อาจไม่กล้ามีความรักครั้งใหม่ เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ เอาเเต่โทษตัวเองกับเรื่องเก่าๆที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกนี้สามารถเปลี่ยนไปได้ ถ้าเราเท่าทันความคิดตัวเอง หรือลองคุยกับตัวเอง ซึ่งการจัดการอย่างละเอียด ไม่เร่งรีบลงโทษตัวเอง ก็จะเปิดมุมมองเเละเปิดโอกาสให้ตัวเรามากขึ้น”

.

ในวันไหนที่เรารู้สึกท้อเเท้ หมดกำลังใจหรือรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง เเละไม่รู้จะระบายให้ใครฟัง อูก้ายินดีเป็นที่พักพิงใจ ให้คำเเนะนำเเละเป็นเพื่อนที่เข้าใจ เพราะเพื่อนๆ ไม่ได้เป็นคนเดียวที่คิดแบบนั้น

.

มารับพลังใจในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย:

https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth #stigma #selflove #depression #SelfCare
#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues 

Read More

Stop Stigma เพราะการตีตราทำให้เรา ไม่กล้ารักตัวเอง

‘รักตัวเอง’ คำที่พูดออกมาแสนง่าย แต่พอถึงสถานการณ์ที่ต้องอาศัยการรักตัวเองจริง ๆ กลับไม่เป็นดังใจนึก และสำหรับบางคนก็ต้องหงุดหงิดตัวเองมากกว่าเดิมเมื่อได้รับคำพูดทำนองว่า “รักตัวเองหน่อยสิ” เพราะรู้อยู่แล้วว่าควรรักตัวเอง แต่ทำยังไงก็ไม่กล้าปล่อยให้ตัวเองได้รับความรักซะที

เพราะการตีตราทำให้เราไม่กล้ารักตัวเอง

ทุกครั้งที่คิดว่าจะรักตัวเองสักที ก็มีทั้งคำถามและความสงสัยในตัวเองปรากฏขึ้นมาในห้วงความคิด เรื่องราวเลวร้ายและความผิดพลาดคอยกดทับความกล้าที่จะรักและใจดีกับตัวเองไว้ตลอดเวลา จนหาไม่เจอว่าตัวเรา “มีคุณค่าอะไรให้รัก” หารู้ไม่ว่าเรากำลังทนทุกข์อยู่กับภาพลวงของ ‘ตราบาป’ (stigma) ที่สังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงตัวเราเองเป็นคน ‘ตีตรา’ (stigmatization) ขึ้น

เพราะสังคมไทยมักมีค่านิยมยกย่องและให้คุณค่าเฉพาะคนที่มีความสามารถโดดเด่น หรือมีความสามารถในสาขาที่สังคมต้องการ หลายคนที่มีความสามารถแบบเป็ดที่ทุกอย่างอยู่ระดับกลาง หรือคนที่ไม่ได้มีความชอบความสนใจในสายอาชีพที่สังคมให้คุณค่าก็มักจะถูกตีตราว่า ‘นอกคอก’ ‘ไม่เก่ง’ ‘ไม่มีคุณค่า’

นอกจากนี้ยังมีค่านิยมอีกมากมาย เช่น มาตรฐานความงาม (beauty standard) เพศสภาพและเพศวิถี (gender and sexuality) ชาติพันธุ์ ศาสนา และอีกมากมาย เราค่อย ๆ รับเข้ามากดทับความเชื่อมั่นในตัวเอง (self-esteem) ของเราไว้ เรียนรู้ว่า “ความรักมีเงื่อนไข” และ ‘เราไม่มีค่าให้ได้รับความรัก’ ก็กลายเป็นโปรแกรมที่ฝังลึกลงไปในส่วนที่เรามองไม่เห็น

สวนทางกับ “พื้นที่ปลอดภัย” ที่น้อยจนแทบจะหาไม่ได้สำหรับบางคน หรือบางคนที่มีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับบางเรื่องแต่อาจจะไม่มีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการระบายความรู้สึกไร้คุณค่านี้ออกไปเลยก็ได้ เพราะกลัวจะถูกมองว่าผิดแผกแปลกแยก ผิดปกติ หรือแตกต่าง กลัวว่าได้รับคำพูดหรือการกระทำใจร้ายกลับมาแทน

ความรู้สึกไร้ค่า “ไม่ใช่เรื่องผิด”

การรับมือกับภาพลวงตาของตราบาปอาจไม่ใช่เรื่องที่ทำแล้วเห็นผลทันทีแต่เป็นการออกกำลังกายทางความคิดในแต่ละวันเพื่อให้จิตใจมีสุขภาพดีในระยะยาว การยอมรับความรู้สึกที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องใส่ฟิลเตอร์ถูก-ผิด ลงไปก็เป็นก้าวแรกของการออกกำลังกายที่ดี แม้วันนี้เราอาจจะยังไม่สามารถบอกว่ารักตัวเองได้อย่างเต็มปาก แต่จากก้าวแรกนี้จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายนั้นได้อย่างแน่นอน

นอกจากนี้ การหาความรู้อย่างสม่ำเสมอจึงเป็นทางออกที่จะช่วยให้เราเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น รู้เท่าทันภาพลวงตาของตราบาป และหยุดส่งต่อค่านิยมที่จะก่อให้เกิดตราบาปแก่ผู้อื่นได้อีกด้วย มาเรียนรู้เรื่องราวของการตีตรา ตามหาวิธีการรักตัวเองในแบบของเรา ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมที่ดีขึ้นผ่านการแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับตราบาปของทุกคน พร้อมทั้งลุ้นเป็นผู้โชคดีเข้าร่วม Workshop ฮีลใจผ่านกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้นะ 🙂 ที่เฟสบุ๊คอูก้าและแฮชแท็ก #TheBetterPlace #เรื่องนี้ไม่มีอะไรน่าอาย #NoShame

หรือหากเพื่อน ๆ คนไหนกำลังทุกข์ใจแต่หาทางออกไม่ได้ ให้อูก้าเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่จะคอยรับฟังทุกเรื่องราวโดยไม่ตัดสินนะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวแบบไหนก็สามารถมาหาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ตลอด 24 ชม. เลย ที่สำคัญมั่นใจได้เลยว่าเรื่องราวเหล่านั้นจะถูกเก็บเป็นความลับ เมื่อไหร่เวลาไหน เรื่องของใจให้เรารับฟังนะ


รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย 👉🏻 https://ooca.page.link/V3p4

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official 💚 : https://lin.ee/6bnyEvy

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง

Read More

เดี๋ยวสุข เดี๋ยวซึมเศร้า หรือเราจะเป็นไบโพลาร์?

กระแสต่าง ๆ มากมายในโซเชียลมีเดียที่ผ่านหน้าไทม์ไลน์ของเราไม่เว้นแต่ละวัน เดี๋ยวก็มีข่าวดีบ้าง เดี๋ยวก็มีข่าวร้ายบ้าง ผสมปนเปกันไปจนเปลี่ยนอารมณ์กันแทบไม่ทัน ทำให้หลายคนสงสัยกันว่านี่เรากำลังเป็นไบโพลาร์หรือเปล่านะ? เพราะดูเหมือนว่าพอเจอข่าวดีเราก็สุขไปสักพักหนึ่ง แต่พอมีข่าวร้ายตามมาติด ๆ กันก็กลับเศร้าขึ้นมาทันที และไม่ใช่แค่อารมณ์แปรปรวนเท่านั้นนะ แต่สุขภาพใจของเราก็พังไม่เป็นท่าจนเสี่ยงที่จะป่วยใจด้วยเมื่อต้องคอยตามเสพข่าวที่ไม่เคยหยุดนิ่งในโซเชียลมีเดียแบบนี้ ถ้าไม่ได้เป็นไบโพลาร์แล้วจะเป็นอะไรได้หล่ะ?

โซเชียลมีเดียส่งผลให้อารมณ์แปรปรวนก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเป็น ‘ไบโพลาร์’

เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) เป็นโรคทางจิตเวชที่มีอาการที่เป็น ๆ หาย ๆ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก โดยมีอาการของ Manic Episode หรือ Hypomanic Episode ที่มีอาการคลั่ง คึกคักกว่าปกติสลับกับ Major Depressive Episode หรืออาการเศร้าที่มีลักษณะเหมือนกับโรคซึมเศร้า หรือมีแค่อาการคึกอย่างเดียวไม่ตัดสลับกับเศร้าก็ได้ ทั้งนี้ ไบโพลาร์จะมีอาการที่แสดงออกมาได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น

😜 ด้านอารมณ์ เช่น คึกคะนอง ขาดความยับยั้งชั่งใจ หงุดหงิดง่าย เป็นต้น

🗨 ด้านความคิด เช่น เชื่อมั่นในตนเองมากจนเกินไป ไม่ยอมรับฟังผู้อื่น เปลี่ยนใจง่าย หลงผิด เป็นต้น

🔎 ด้านพฤติกรรม เช่น ขยันมากกว่าปกติ พูดคุยมากขึ้นกว่าปกติ พูดเร็ว ใช้จ่ายสิ้นเปลือง เป็นต้น

ซึ่งอาการดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน โดยแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่อาการเหล่านี้ต้องมีช่วงเวลาแสดงอาการคึกคักเป็นเวลานานติดต่อกัน 1 สัปดาห์ ถึงจะบ่งชี้ได้ว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็น ‘โรคไบโพลาร์’

อย่างไรก็ตาม การที่เราอารมณ์แปรปรวนบ่อย ๆ จากการเสพข่าวในโซเชียลมีเดีย ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเป็นไบโพลาร์เสมอไป เพราะอาการที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้หลายคนพอที่จะตัดสินได้ว่าเราเองยังไม่เข้าเกณฑ์วินิจฉัยของโรคนี้ แต่ถ้าหากเรารู้สึกว่ามีอารมณ์แปรปรวนเกิดขึ้นกับตัวเราเองเมื่อไหร่ การไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจอย่างจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาก็เป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดในการคลายข้อสงสัยว่าเรากำลังเป็นไบโพลาร์หรือไม่

แต่อะไรที่จะมาอธิบายอารมณ์แปรปรวนจากการเสพข่าวในโซเชียลมีเดียของเราได้บ้างหล่ะ?

องค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ให้เห็นว่าแม้ว่าคนรอบตัว ครอบครัว เพื่อน ที่เรากำลังติดตามในโซเชียลมีเดียก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนจากโซเชียลมีเดียได้เหมือนกัน เมื่อเรายิ่งติดตามผู้ใช้เหล่านี้ในโซเชียลมีเดียของเรามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มข้อมูลในการรับรู้ของเรามากยิ่งขึ้นเท่านั้น ทำให้เกิดการแสดงออกทางอารมณ์ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านลบและด้านบวกจนนำไปสู่ความเครียดสะสมแทนที่จะเป็นไบโพลาร์อย่างที่ทุกคนเข้าใจกัน

เมื่อโซเชียลมีเดียทำสุขภาพใจพังไม่เป็นท่า ลองหาอะไรที่ไม่ใช่โซเชียลมีเดียมาฮีลใจแทนกัน

อย่างที่รู้กันว่า ปัญหาความเป็นอยู่ในประเทศไทย ไหนจะเป็นสถานการณ์โควิด-19 ภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่าง #น้ำท่วม และอีกมากมาย ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่แล่นในโซเชียลมีเดียไม่มีวันหมดไป ซึ่งการรับข่าวสารที่ค่อนข้างรวดเร็วผ่านโซเชียลมีเดียส่งผลต่อสภาพจิตใจของเราไม่น้อยเลยทีเดียว

หากจะให้เลิกติดตามไปเลยก็คงเป็นการแยกตัวเองออกจากสังคมไปหน่อย ต้องยอมรับว่าการใช้ชีวิตโดยไม่มีโซเชียลมีเดียในยุคนี้แทบจะไม่ต่างอะไรจากการโดดเดี่ยวตัวเองออกจากผู้คน ทำให้หลายคนยังต้องเจอกับสถานการณ์เดิม ๆ หรือข่าวสารที่ไม่หยุดนิ่งแบบนี้ และยังต้องรู้สึกเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายอยู่ตลอดเวลาจนนำไปสู่ความเครียดสะสม หากใครก็ลังเป็นเช่นนั้น การหาตัวช่วยในการให้ผ่อนคลายความเครียดก่อนหรือหลังจากที่จัดการกับปัญหาแล้ว อย่าง ‘กิจกรรมผ่อนคลายความเครียด’ ก็ช่วยให้ความเครียดที่สะสมอยู่สลายหายไปได้ ทำให้เรากลับมาใช้ชีวิตและทำอะไรตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ การแบ่งเวลาในการเสพข่าวในโซเชียลมีเดียอย่างเหมาะสมก็ช่วยให้ความเครียดสะสมที่เกิดจากการรับรู้ข่าวสารผ่านโซเชียลซ้ำแล้วซ้ำเล่าลดลงได้เป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันโซเชียลมีเดียเองก็แทบจะเป็นสื่อหลักของทุกคนไปแล้ว ทำให้กลายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับหลาย ๆ คนที่จะแบ่งเวลาไม่เล่นโซเชียลมีเดียได้ แต่ถ้าหากเราลองโฟกัสกับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่ไม่ใช่การไถหน้าจอโทรศัพท์ และใช้เวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น ได้สำรวจว่าอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ก็ช่วยให้เข้าใจตนเองได้ว่าข่าวสารบ้านเมือง และสิ่งรอบตัวของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่เราเองต่างหากที่จะสามารถจัดการกับอารมณ์ของเราได้มากน้อยแค่ไหน

สุดท้ายนี้ ถ้าความคิด ความเครียดหรือภาวะอารมณ์ที่กำลังเป็นอยู่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเรา หรือหากสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงจะเป็นไบโพลาร์ การไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจอย่างจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็เป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดในการจัดการกับภาวะเหล่านี้ได้ และเพื่อน ๆ คนไหนต้องการพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ เพื่อช่วยจัดการกับความเครียดหรือภาวะอารมณ์ต่าง ๆ ที่กำลังรบกวนจิตใจของคุณ อย่าลืมให้อูก้าเป็นผู้ช่วยในการดูแลสุขภาพใจของคุณนะ 😊💙

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/L7UQ

อ้างอิงข้อมูลจาก:

มาโนช หล่อตระกูล และ ปราโมทย์ สุคนิชย์ บรรณาธิการ (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4 (เรียบเรียงใหม่). กรุงเทพมหานคร. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

PLOS ONE: https://bit.ly/2WfEQVJ

Read More

กังวลอนาคตแบบนี้ต้องไปหาใครดี จิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือหมอดู?

ในช่วงที่หลายคนรู้สึกไม่มั่นคงกับชีวิต ไหนจะสถานการณ์ #โควิด19 ที่เข้ามาสร้างความไม่แน่นอนให้กับอนาคตแบบนี้ ทำให้ผู้คนเป็นกังวลกันมากขึ้นว่าหลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของเราบ้าง บางคนถึงขั้นเลือกที่จะจัดการกับความกังวลของตัวเองด้วยการหันไปพึ่งสายมูเตลู หรือตัดสินใจไปดูดวงกันเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเรื่องทางจิตวิญญาณอย่างบุญ-บาป นรก-สวรรค์ หรือไสยศาสตร์ ไม่ตอบโจทย์กับคนรุ่นใหม่แล้วก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงนี้ ‘การดูดวง’ หรือ ‘#มูเตลู’ กำลังเป็นกระแสในสังคมเป็นอย่างมาก และกลายเป็นว่าทำให้ผู้คนหันไปพึ่งการดูดวงในการจัดการกับความกังวลเกี่ยวกับชีวิตในอนาคตกันมากขึ้น 🥺

🔮 ทำไมคนเราถึงชอบการดูดวง?

ความแม่นของการดูดวงเป็นตัวตัดสินใจว่าเราพอใจกับคำทำนายหรือไม่ คนที่ชอบดูดวงหลายคนคงมีหมอดูหรือเพจดูดวงในใจที่วัดจากความแม่นยำของหมอดู โดยเหตุการณ์ที่ทำนายดวงได้อย่างแม่นยำสามารถอธิบายได้ตามหลักจิตวิทยาที่เรียกว่า The Barnum-Forer Effect ได้อธิบายไว้ว่า คำทำนายส่วนใหญ่เป็นเรื่องทั่วไปที่สามารถใช้ได้กับทุก ๆ คน เช่น การทำนายว่าคุณต้องประหยัดในช่วงโควิด-19 หรือ คุณมีแนวโน้มที่จะได้แฟนหน้าตาดี คำทำนายแบบนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอเหมือนกัน นอกจากนี้การดูดวงโดยถามอายุ วันเกิด จักรราศี หรือการเลือกไพ่ 4 ใบก่อนเปิดดูดวง ทำให้เรารู้สึกว่าคำทำนายเกิดมาเพื่อเราจริง ๆ เพราะดูมีลักษณะเฉพาะตัวตรงกับเรามาก ทำให้เราเชื่อคำทำนายนี้ไปอย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ เลย

นอกจากนี้ คนเราเลือกที่จะเชื่อในสิ่งที่ตนเองอยากเชื่อจนเกิดเป็นอคติยืนยันความคิดของตนเอง (Confirmation Bias) คือ การที่เราเชื่อแต่ข้อมูลที่ต้องการจะเชื่อโดยไม่พิจารณาถึงข้อมูลอื่น ๆ ความอคติในการคิดแบบนี้ทำให้เราเชื่อมโยงทุกเหตุการณ์เข้ากับการดูดวง เช่น ดูดวงรายวันแล้วพบว่าคนคุยเก่าจะกลับมาหาในช่วงนี้ พอคนคุยเก่าทักมาหาเราจริง ๆ เราก็จะเชื่อมโยงกับคำทำนายที่อ่านมาและรู้สึกว่าเป็นคำทำนายที่ตรงมาก ๆ ทั้งที่คนคุยเก่าอาจจะมีเหตุผลอื่นที่ทักมาหาเราก็ได้ เมื่อเหตุการณ์เป็นจริงตามคำนาย เราก็จะสนใจและจดจำได้เฉพาะเหตุการณ์เหล่านี้ ในขณะที่คำทำนายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เราก็จะไม่ได้ให้ความสำคัญหรือสนใจมัน ทุกครั้งที่เรารู้สึกว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นไปตามคำทำนายอย่างที่คาดหวังไว้ มันจะยิ่งทำให้เราอยากดูดวงมากขึ้น

🔮 อยากรู้อนาคตล่วงหน้า ‘หมอดู’ ช่วยคุณได้ ?

ความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่ผู้คนต้องคอยหวาดระแวงทั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 และภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่าง #น้ำท่วม แบบนี้ ทำให้เรารู้สึกไม่สามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตได้ และเกิดความกังวลกับอนาคต ไม่รู้ว่าหากก้าวเดินต่อไปแล้วจะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง การดูดวงจึงเป็นเหมือนแสงไฟที่ช่วยให้เห็นทางเดินข้างหน้าและเป้าหมายในอนาคต ผู้คนที่ได้ดูดวงได้รับความสบายใจกับการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคต อีกทั้งยังช่วยในการตัดสินใจสำหรับคนที่ยังลังเลกับทางเลือกที่สำคัญของตัวเอง หรือรู้สึกกังวลว่าควรเลือกทางไหนดีได้ด้วย

และการดูดวงสำหรับบางคนก็ยังช่วยเสริมความมั่นใจในตัวเองได้เป็นอย่างมาก เช่น การใส่เสื้อตามสีมงคล เช่น สีน้ำเงินในวันจันทร์ ก็ช่วยลดความเครียดในการทำงานเพราะเชื่อว่าสีน้ำเงินจะช่วยให้เราโชคดีไปทั้งวันได้ หรือว่าจะเป็นเครื่องรางหรือสิ่งของมงคลติดกระเป๋าไว้ระหว่างไปสัมภาษณ์งาน ทำให้เรารู้สึกมั่นใจว่า การสัมภาษณ์ครั้งนี้ต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

💙 อยากจัดการกับความกังวลอนาตคที่คอยรบกวนจิตใจให้ไปหา ‘จิตแพทย์และนักจิตวิทยา’

แม้ว่าการดูดวงจะคลายกังวลให้เราได้บ้าง แต่หลายครั้งการดูดวงอาจทำให้เรากังวลกว่าเดิมหากพบว่าอนาคตเราจะเจอเรื่องร้าย หรือเจอเรื่องที่ไม่เหมือนกับที่หมอดูบอกไว้ ที่สำคัญคือความกังวลและปัญหาที่เราเผชิญไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการรู้อนาคตเพียงอย่างเดียว เมื่อนั้นจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้คลายกังวลในเรื่องของอนาคตและผ่านพ้นปัญหาไปได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจเหล่านี้จะช่วยให้เรารู้สึกสบายใจและเข้าใจถึงปัญหาที่คอยรบกวนจิตใจของเราอยู่ตลอดเวลา โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและให้อยู่กับปัจจุบันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และช่วยให้เราตัดสินใจเรื่องอนาคตก็ควรตัดสินใจด้วยตัวเองมากกว่าการใช้โชคชะตามากำหนดอนาคตของเรา การไปหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจึงเป็นตัวเลือกที่ช่วยให้เราทำความเข้าใจความคิดและเหตุผลต่าง ๆ ในการเลือกตัดสินใจมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยประเมินและจัดการกับความเครียดหรือความกังวลที่ส่งผลต่อสุขภาพใจด้วย

💊 จิตแพทย์และนักจิตวิทยาช่วยเราให้หายกังวลอนาคตได้อย่างไร?

อย่างที่รู้กันดีว่า จิตแพทย์และนักจิตวิทยามีความเชี่ยวชาญในการจัดการกับปัญหาสุขภาพใจ เช่น ความเครียด ความกังวลอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาว่าจะเลือกใช้ทฤษฎีไหนในการจัดการความรู้สึกเชิงลบเหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม หรือ Cognitive Behavioral Therapy (CBT) ซึ่งเป็นการบำบัดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันมาช่วยจัดการกับความเครียดหรือความกังวลของเรา โดยการบำบัดนี้จะช่วยจัดการกับความคิดที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความรู้สึกเครียดหรือกังวลผ่านการพูดคุยหรือการใช้ยา ก่อนที่จะช่วยปรับความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับเราและจัดการกับความเครียดความกังวลต่าง ๆ ได้

ไม่ว่าจะเป็นการดูดวงหรือการไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจ หากทั้งคู่สามารถช่วยให้เราหายกังวลอนาคต มันก็เป็นเรื่องที่ดีสำหรับสุขภาพใจของเราแล้ว แต่เมื่อไรก็ตามที่ความกังวลอนาคตกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากเกินไป เช่น นอนไม่หลับ คิดวนเรื่องเดิมจนคิดเรื่องอื่นไม่ได้ พฤติกรรมการทานอาหารเปลี่ยนไป คนที่เราควรไปหาจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อรับการเยียวยาความเครียดอย่างถูกต้องและทันเวลา

หากคุณกำลังกังวลอนาคตไม่รู้ว่าจะจัดการได้อย่างไร อย่าลืมให้อูก้าเป็นตัวช่วยของคุณนะ เรามีทีมนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ยินดีรับฟังเรื่องราวของคุณตลอด 24 ชม. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่เราพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างคุณเสมอ จะอยู่บ้าน ที่ทำงาน กลางสวนสาธารณะหรือที่ไหนก็มาหาเราได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้อูก้ายังมีสารพัดวิธีดูแลใจและสิทธิพิเศษอีกมากมายที่รอให้ทุกคนมาเลือกสรร แอดเลย Line Official 👉🏻 https://lin.ee/6bnyEvy

เรื่องของใจให้เรารับฟังนะ 💙💚

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/Ar2K

อ้างอิงข้อมูลจาก:

Psychology Today: https://bit.ly/3CPAsfR

Read More

Nervous breakdown คืออะไร ใช่ “ซึมเศร้า” ที่เรารู้จักหรือเปล่า ?

Nervous Breakdown แปลตรงตัวว่า “อาการทางประสาท” หรือ “อาการทางจิต” เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงช่วงเวลาที่เรามีความทุกข์ทางจิตใจอย่างรุนแรง เป็นช่วงที่เราไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ แต่ไม่ใช่การวินิจฉัยทางเทคนิคเพราะไม่ใช่ความเจ็บป่วยทางจิตที่เฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ร่างกายและจิตใจไม่สามารถอดทนต่อความเครียดได้ ไปจนถึงกระทบต่อความสุข ความรื่นรมย์ในชีวิต

ในอดีตเมื่อเราเกิดวิกฤตสุขภาพจิตที่คล้ายกับอาการทางจิตหรือทางประสาท คำนี้เคยใช้เพื่ออธิบายถึงอาการเจ็บป่วยทางจิตที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล โรคเครียดเฉียบพลัน ภาวะหมดไฟ ซึ่งอาการทางประสาทนี้ก็แตกต่างไปตามระดับความเครียดและรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เราพบเจอ

แม้ว่า “อาการทางประสาท” จะไม่ถือเป็นคำศัพท์ทางการแพทย์อีกต่อไป แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากใช้คำนี้เพื่อพูดถึงอาการเครียดรุนแรง ภาวะที่ไม่สามารถรับมือกับความท้าทายในชีวิตได้ ดังนั้นสิ่งที่คนอื่นมองว่าเป็นอาการทางจิตอาจเป็นเพียงความเจ็บป่วยทางจิตที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง แต่ถูกนำไปเรียกกันแบบผิด ๆ เท่านั้นเอง ซึ่งขอบเขตของอาการทางประสาทไม่ได้มีกำหนดไว้ชัดเจน

อาการที่สังเกตได้ว่าเข้าข่าย Nervous Breakdown

เราอาจพบอาการผิดปกติทั้งทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม สัญญาณของอาการทางประสาทแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เนื่องจากคำนี้ไม่ได้ใช้ในวงการแพทย์อีกต่อไปแล้ว จึงมีการอธิบายอาการผิดปกติทางประสาทโดยใช้อาการต่าง ๆ มากมายมาพูดถึง ไม่ว่าจะเป็น

  • กลุ่มอาการซึมเศร้า (Depressive symptoms) เช่น การสูญเสียความหวังและความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตนเอง
  • ความวิตกกังวลที่มาร่วมกับความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อตึง มือชื้น เวียนศีรษะ ปวดท้อง ตัวสั่น
  • อาการนอนผิดปกติ เช่น นอนไม่หลับ
  • เห็นภาพหลอน
  • อารมณ์แปรปรวน หรือระเบิดอย่างไม่มีสาเหตุ
  • อาการแพนิก (Panic attacks) ซึ่งรวมถึงอาการเจ็บหน้าอก การหลุดออกจากโลกของความเป็นจริง ความกลัวอย่างรุนแรง และอาการหายใจลำบาก
  • ความหวาดระแวง (Paranoia) เช่น เชื่อว่ามีคนเฝ้าดูหรือสะกดรอยตาม
  • การนึกถึงเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ โรคเครียดหลังจากได้รับ บาดแผลที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่าง Post-traumatic stress disorder (PTSD)

ซึ่งก่อนที่จะมีอาการรุนแรง คนที่มีอาการทางประสาทมักถอนตัวจากครอบครัว เพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมงาน สัญญาณเบื้องต้นดังกล่าว อาจรวมถึง

  • หลีกเลี่ยงหน้าที่และการมีส่วนร่วมทางสังคม
  • พฤติกรรมการกิน / นอนเปลี่ยนไป
  • ไม่ค่อยดูแลตัวเองหรือรักษาสุขอนามัย
  • ป่วยบ่อย เจ็บปวดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีปัญหาในการคิด สมาธิ ตัดสินใจ หรือทำงานให้เสร็จ
  • ความรับผิดชอบลดลง ขาดงานหรือไม่มาทำงานเลย
  • เก็บตัวอยู่คนเดียวเป็นระยะเวลานาน
  • เหนื่อยล้า เฉื่อยชา ง่วงตลอดเวลา
  • อาจมีอารมณ์แปรปรวนแบบสุดขั้ว

ต้นตอของอาการทางประสาทนั้นมาจากสาเหตุที่แตกต่างกันก็จริง แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ มีความเครียดเกิดขึ้นและเราประสบกับความล้มเหลวในการรับมือกับความเครียด สำหรับคนที่รับมือกับความเครียดได้ดีและมีวิธีในการจัดการจะประคองตัวเองไว้ได้ก่อนที่จะเข้าสู่วิกฤตสุขภาพจิต ตรงกันข้ามกับผู้ที่รับมือได้ไม่ดีอาจจะสติแตกแม้แต่กับสิ่งที่คนอื่นมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย

หลายคนสงสัยว่าอาการทางประสาทนั้นเกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้าหรือไม่ ?

ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดก็คืออาการทางประสาทนั้น เป็นจุดเริ่มต้นก่อนที่ทางการแพทย์จะบัญญัติแยกอาการต่าง ๆ ออกมาเป็นแต่ละโรค เหมือนกับการศึกษาอาการป่วยทางกายที่มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ โดย สำหรับ “โรคซึมเศร้า” (Major depressive disorder : MDD) ในทางการแพทย์นั้นหมายถึง ภาวะซึมและเศร้าที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้าทั่ว ๆ ไป ถือเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง เกิดจาก 2 สาเหตุหลักคือ 1) ปัจจัยทางชีวภาพหรือพันธุกรรม 2) ปัจจัยด้านจิตใจหรือสิ่งแวดล้อม เช่น สารสื่อประสาทในสมองหรือความผันผวนของระดับฮอร์โมน

อาการทางประสาทที่เกิดจากความวิตกกังวลหรืออาการซึมเศร้า

บ่อยครั้งเราพบว่าอาการทางประสาทจะเกิดขึ้นกับคนที่มีความเจ็บป่วยทางจิตแฝงอยู่ แต่อาจไม่ได้รับการวินิจฉัยและไม่ได้รับการรักษา โรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด แล้วถ้าอยู่ในขั้นรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการทางประสาทได้ ซึ่งโรควิตกกังวลที่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ ภาวะวิตกกังวลทั่วไป ภาวะวิตกกังวลทางสังคม และโรคตื่นตระหนก ลักษณะเด่นคืออาการกังวลมากเกินไปและความรู้สึกวิตกกังวลแทบจะตลอดเวลา จนอาจทำให้เกิดความทุกข์ ความผิดปกติ อาการทางร่างกาย และปัญหาในการคิดตามมา การไม่จัดการความวิตกกังวลและความเครียดมักนำไปสู่อาการทางประสาท

และในส่วนของอาการซึมเศร้าเป็นภาวะสุขภาพจิตที่พบเป็นอันดับต้น ๆ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะรู้สึกเหนื่อยล้า เศร้าและสิ้นหวังอยู่เสมอ โดยที่ไม่สามารถดึงความสนใจกลับมาเพื่อทำกิจกรรมตามปกติได้ เช่นเดียวกับโรควิตกกังวล ภาวะเช่นนี้ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันหรือจดจ่อกับการทำงานได้ลำบาก เมื่อไม่ได้รับการรักษา การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเยียวยาตัวเองหรือการรับมือกับอารมณ์ก็เป็นไปได้ยาก และความเครียดที่เพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่อาการทางประสาทได้ง่าย

เป็นซึมเศร้าก็หายได้ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ

เมื่อเกิดจากภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลจึงจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเพื่อจัดการกับภาวะที่เป็นต้นเหตุ การรักษาอย่างต่อเนื่องและการดูแลตนเองจะช่วยให้บุคคลที่วิตกกังวลหรือซึมเศร้าฟื้นตัวเร็วขึ้นจากอาการทางประสาท และยังให้ปรับวิธีคิดให้สอดคล้องกับการเผชิญปัญหาเพื่อช่วยป้องกันในอนาคตได้อีกด้วย

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยป้องกันอาการทางประสาทได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของการเกิดได้ด้วย

เนื่องจากอาการทางประสาทอาจเกิดขึ้นได้จากระดับความเครียดที่แตกต่างกัน ทั้งภาวะสุขภาพจิตและความผิดปกติที่เกิดขึ้นร่วมกัน และความผิดปกติจากการใช้สารเสพติด แอลกอฮอล์ การวินิจฉัยและการประเมินที่ครอบคลุมจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถือเป็นเรื่องจำเป็นในการจัดเตรียมแผนการรักษาเฉพาะบุคคล รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยป้องกันอาการทางประสาทได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของการเกิดได้ด้วย เริ่มจากการคำนึงถึง 4 ข้อดังต่อไปนี้

  1. การบำบัด การทำงานร่วมกับนักบำบัดโรคอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยให้ผู้ป่วยจัดการและลดความเครียด เรียนรู้กลไกการเผชิญปัญหาที่ดีต่อสุขภาพ ดำเนินการตามขั้นตอนสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่จำเป็น การบำบัดแบบกลุ่มอาจช่วยให้ผู้ป่วยแบ่งปันและทำความเข้าใจว่าคนอื่น ๆ ที่เผชิญปัญหาใกล้เคียงกันฟื้นตัวอย่างไร
  2. ยา หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิต เช่น โรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวล การรักษาด้วยยาเพื่อช่วยรักษาอาการต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องจำเป็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและความร่วมมือของผู้เข้ารับการรักษาด้วย
  3. เปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ วิธีนี้คือการพิจารณาลึกลงไปถึงต้นตอของความเครียดในชีวิตที่อาจมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นอาการเจ็บป่วยทางใจ บางครั้งอาจหมายถึงการปรับตัว การหางานใหม่ การยุติความสัมพันธ์ หรือการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่
  4. ครอบครัวบำบัดและการศึกษา ไม่ใช่แค่การดูแลตัวเองแต่การบำบัดอาจเกี่ยวข้องกับครอบครัวและคนรอบตัวด้วย เป็นวิธีที่ดีในการให้ความรู้กับคนที่สำคัญที่สุดทางความรู้สึก เพื่อให้พวกเขาเข้าใจอาการเจ็บป่วยทางใจที่เกิดขึ้นและเรียนรู้วิธีที่พวกเขาจะสามารถช่วยเหลือคุณได้ดีที่สุด

การพบแพทย์เพราะปัญหาทางใจไม่ใช่เรื่องผิดปกติ

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะรับมือกับความเครียดในชีวิตบางเรื่องไม่ได้ แต่ถ้าไม่ได้จัดการกับความเครียดอย่างถูกวิธีก็อาจกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน หากเรารู้สึกว่าอารมณ์ความรู้สึกเปลี่ยนไป สังเกตเห็นอาการที่ได้กล่าวไปข้างต้น นอกจากแพทย์จะช่วยรักษาอาการทางร่างกายได้ ยังสามารถแนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ได้อีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเหล่านี้จะช่วยรักษาอาการทางอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรมโดยรวมได้

แล้วในปัจจุบันการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตก็ไม่ใช่เรื่องยาก มีบริการให้คำปรึกษาทางออนไลน์มากมาย สามารถนัดหมายได้ตามวันและเวลาที่สะดวกโดยไม่ต้องเดินทางอย่าง “อูก้าแอปพลิเคชันคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านวีดีโอคอล” #อูก้ามีทางออก #ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์

  • มีผู้เชี่ยวชาญที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี
  • ปรึกษาได้ทุกปัญหาส่วนตัวและอาการของความเครียด
  • สะดวก ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวสูง
  • มีแบบทดสอบความเครียดเพื่อการประเมินที่เชื่อถือได้
  • แพ็กเกจบริการหลากหลายที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าองค์กร
  • มีการประเมินผลความเครียดเป็นตัวเลขเพื่อให้เห็นผลได้ชัดเจน
  • มีระบบรายงานความเครียดและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเฉพาะรายบุคคล

นอกจากนี้เรายังสามารถดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอได้ด้วยการ

  • ใช้เทคนิคการผ่อนคลายและควบคุมสติ การบำบัดทางเลือกและการรักษาแบบองค์รวมอาจใช้เพื่อรักษาอาการทางประสาท แต่ทั่วไปเราสามารถทำสมาธิ โยคะ การออกกำลังกาย ฯลฯ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อย่างการเดินไปรอบ ๆ เป็นเวลา 30 นาที
  • เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การกำหนดลมหายใจเข้าออก ฝึกคลายความโกรธ
  • ใส่ใจการนอนหลับให้เป็นปกติ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงทุกคืน
  • หลีกเลี่ยงยาเสพติด แอลกอฮอล์ คาเฟอีน และสารอื่นๆ ที่สร้างความเครียดให้กับร่างกาย
  • ไปพบแพทย์หรือเข้าร่วมการให้คำปรึกษาเพื่อจัดการกับความเครียด
  • อย่าลืมพักผ่อน ลดระดับความเครียดของคุณด้วยการเว้นจังหวะชีวิตบ้าง อย่างการพักช่วงสั้นๆ จัดระเบียบสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยและกิจกรรมประจำวันของคุณให้ดีขึ้น

มีคนจำนวนไม่น้อยที่ประสบกับช่วงเวลาของความเครียด ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ไปจนถึงรู้สึกสิ้นหวังในบางครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจ หรืออย่างช่วงนี้ที่เราเผชิญกับการแพร่ระบาดที่ร้ายแรง หากปล่อยให้จุดเริ่มต้นของความเจ็บป่วยนี้ลุกลาม เราอาจเข้าสู่อาการดังกล่าวและเข้าสู่ภาวะเจ็บป่วยทางใจ แต่ไม่ต้องกลัวหากมันเกิดขึ้น เพราะเราสามารถรักษาสภาพจิตใจของเราให้กลับมาแข็งแรงได้ ด้วยการเข้ารับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ การรับคำปรึกษา และการรักษาอื่น ๆ เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติเหมือนเดิม

อย่าให้สุขภาพจิตรบกวนใจ ไม่ว่าอาการทางใจจะเล็กหรือใหญ่ก็ใช้บริการดูแลใจกับอูก้าได้ เรายินดีอยู่เคียงข้างและเป็นเพื่อนที่คอยรับฟังเสมอ เพราะการมอบความสุขให้ตัวเองนั้นเป็นเรื่องสำคัญ อูก้าสนับสนุนให้ทุกคนมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงพร้อมเดินต่อไปด้วยกันนะ

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/U781

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

https://www.manarom.com/blog/depression_disorder.html

https://www.medicalnewstoday.com/articles/321018#when-to-see-a-doctor

https://www.healthline.com/health/mental-health/nervous-breakdown#symptoms

https://www.bridgestorecovery.com/nervous-breakdown/types-nervous-breakdowns/

Read More

ศาสนา vs จิตวิทยา เมื่อความเชื่อและวิทยาศาสตร์มาบรรจบกัน

ในช่วงนี้ #พระมหาไพรวัลย์ และ #พระมหาสมปอง เรียกได้ว่ากำลังเป็นกระแสในโซเชียลมีเดียเป็นอย่างมาก จนทำให้ผู้คนหันกลับมาให้ความสนใจกับศาสนากันมากขึ้น เพราะทุกวันนี้ผู้คนแทบไม่ให้ความสำคัญกับศาสนาสักเท่าไหร่ เนื่องจากศาสนาในสังคมไทยเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมมากเกินไป และเปราะบางเกินกว่าแตะต้องได้ อีกทั้งยังมีเรื่องของไสยศาสตร์ที่เข้ามามีบทบาทจนส่งผลให้ศาสนาดูเป็นเรื่องไกลตัวคนรุ่นใหม่

แต่กระแสจากไลฟ์สอนธรรมะผ่านเฟซบุ๊กของทั้งสองพส.กลับเป็นจุดเปลี่ยนให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจถึงแก่นแท้ของคำสอนในพุทธศาสนาที่สอนให้เข้าใจถึงเรื่อง ‘ทุกข์’ และแนวทางในการดับทุกข์ที่คอยมารบกวนจิตใจของเรา อีกทั้งยังช่วยปลอบประโลมใจของใครหลายคนให้มองชีวิตบนความเป็นจริง หันมาใช้ศาสนาช่วยฟื้นฟูจิตใจในช่วงที่จมดิ่งไปกับความคิดในแง่ลบให้กลับมาสู่สภาวะปกติได้เป็นอย่างดี

ศาสนากับการเยียวยาสุขภาพใจมนุษย์

ตอนที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถให้คำตอบในเรื่องชีวิตของมนุษย์ได้ คนสมัยก่อนก็ต้องหาเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมาตอบคำถามในเรื่องที่อธิบายไม่ได้อย่างปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ภัยทางธรรมชาติ ศาสนาจึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนในชีวิต และสิ่งเหล่านี้ทำให้ศาสนาฝังลึกและครอบคลุมทุกมิติในชีวิตมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็น ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ อีกทั้งยังเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของเราเป็นอย่างมาก รวมไปถึงความเป็นอยู่ และสุขภาพทั้งกายและใจของเราเองก็ตาม

วิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ อย่างเช่นจิตวิทยาเองก็ได้พยายามศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและความเป็นมนุษย์ในแง่ของจิตใจ พบว่า ในความเป็นจริงแล้วศาสนาถือว่าเป็นรากฐานในการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจเลยก็ว่าได้ เพราะการกำเนิดโรงพยาบาลแห่งแรก หรือแม้แต่การฝึกสอนบุคลากรทางแพทย์เองก็เกิดจากสถาบันศาสนาทั้งสิ้น ไม่แปลกเลยที่งานวิจัยในเรื่องศาสนาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า ศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก เนื่องจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาล้วนส่งเสริมให้ผู้คนรับมือกับภาวะสุขภาพจิต และช่วยจัดการกับความเครียดกับปัญหาต่าง ๆ ที่รบกวนจิตใจได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ศาสนาก็ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตเช่นกัน หากปล่อยให้กรอบความคิดของศาสนาเข้ามามีผลต่อความเชื่อจนไม่มีความหยืดยุ่นในความคิดของตัวเอง หรือใช้ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจจนศรัทธาอยู่เหนือเหตุผล ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพใจต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวลทางสังคม ความหวาดระแวง ความหลงใหล รวมไปถึงการย้ำคิดย้ำทำจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ สิ่งที่ดีที่สุดเมื่อเกิดปัญหาเช่นนี้ คือ การปรับความคิดว่าเราสามารถตั้งคำถามกับศาสนาได้ และไม่ควรปล่อยให้ความเชื่อสร้างความเดือดร้อนให้ตัวเองหรือผู้อื่น

ศาสนา x จิตวิทยากับการนำไปใช้เพื่อการพัฒนาใจมนุษย์

****หลายครั้งที่เราเห็นว่าจิตวิทยาที่เป็น ‘ศาสตร์แห่งโลกตะวันตก’ และพุทธศาสนาที่เป็น ‘ศาสตร์ของโลกตะวันออก’ มีความเกี่ยวข้องกัน แม้ว่าจิตวิทยาและศาสนาจะอยู่คนละศาสตร์ แต่ทั้งสองศาสตร์ก็ล้วนกำลังอธิบายถึงความเป็นมนุษย์ในแง่ของจิตใจเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้จิตวิทยาหันมาใช้การศึกษาจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์โดยองค์รวมด้วยการขยายความสนใจในพุทธศาสนามากขึ้น เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงสภาวะทางจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง หรือที่เรียกว่า ‘จิตวิทยาแนวพุทธ (Buddhist Psychology)’

“ศาสนาพุทธไม่ได้สอนให้คนมองโลกในแง่บวก แต่สอนให้คนมองโลกตามความเป็นจริง” – #พระมหาไพรวัลย์

จากคำสอนของพระมหาไพรวัลย์จะเห็นได้ว่าแก่นแท้ของคำสอนในพุทธศาสนาไม่ได้ต้องการให้ผู้คนมีความสุขโดยการพยายามละทิ้งความทุกข์ แต่ต้องการให้ผู้คนได้เข้าใจถึงสาเหตุของทุกข์ และแนวทางในการดับทุกข์บนพื้นฐานของความเป็นจริง นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจิตวิทยาจึงใช้ศาสนาที่เป็นศาสตร์ของโลกตะวันออกมาขยายจุดมุ่งหมายในการบำบัดทางจิตวิทยาตะวันตกให้กว้างออกไปมากขึ้น เพราะแค่จิตวิทยาเพียงอย่างเดียวไม่ได้ช่วยให้ผู้คนได้เข้าใจถึงความหมายของชีวิตอย่างลึกซึ้งได้เท่าที่ควร

ดังนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้เข้ามาช่วยเติมเต็มในส่วนที่จิตวิทยาขาดหายไปด้วยการเป็นเหมือนแสงสว่างส่องทางให้นักจิตวิทยาเห็นถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาที่รบกวนจิตใจของคนไข้ และสามารถช่วยเหลือพวกเขาในหลากหลายมิติ ตั้งแต่การเยียวยาจิตใจคนที่เคยเผชิญกับเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง ไปจนถึงการนำไปใช้พัฒนาคุณภาพจิตใจให้แก่คนทั่วไปในทางที่ดีขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อในศาสนาใดก็ตาม ทุกศาสนาล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เราได้ยกระดับคุณภาพจิตใจไปในทางที่ดีขึ้นทั้งสิ้น และไม่มีความเชื่อของศาสนาไหนที่ผิดหรือถูก เพราะเรามีสิทธิเสรีภาพในความเชื่อของตัวเอง เพียงแต่อย่าให้ความเชื่อของเราไปทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายคนอื่น และความเชื่อเหล่านี้เองก็ต้องพัฒนาตัวเราให้ไปในทางที่ดีขึ้นด้วย อูก้าก็ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้กับทุกความเชื่อ หากรู้สึกว่าต้องการใครสักคนในช่วงเวลาที่รู้สึกว่าไม่มั่นคงในชีวิต อย่าลืมให้เราเยียวยาใจของคุณนะ 😊💙

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/6XLZ⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#MindPleasureLIVEtalk #OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงข้อมูลจาก:

APA: https://bit.ly/2XrO812

Psychology Today: https://bit.ly/39e7klR

THE STANDARD: https://bit.ly/3zpusbn

UTCC: https://bit.ly/2XtxGh2

verywellmind: https://bit.ly/3lxCf29

WIRED: https://bit.ly/3nE45MS

Read More