มารู้จักกับ Platonic Love ‘ชาย-หญิง เป็นเพื่อนกันไม่ได้’ จริงหรอ?

“สองคนนี้ตัวติดกันอีกแล้ว เป็นแฟนกันก็บอก”

“พวกแกคบกันอยู่สิท่า”

เสียงแซวขำขันที่ไม่ได้ทำให้คนฟังตลกไปด้วย เมื่อคำว่า “เพื่อน” มักถูกใช้ในการกลบเกลื่อนความสัมพันธ์แสนครุมเครือจนทำให้หลายคนอดจะจินตนาการไม่ได้ว่า ‘จะต้องเป็นอะไรมากกว่านั้น’ ยิ่งเมื่อเรายืนกรานว่า “เป็นแค่เพื่อนกัน” ก็ยิ่งเหมือนราดน้ำมันบนกองไฟ ให้ยิ่งจ้องจับติดคิดหาพิรุธในความสัมพันธ์ เสียงแซวที่ควรจะขำขันจึงกลายเป็นการสร้างบรรยากาศที่อึดอัดหรือกำแพงบางอย่างระหว่างเรากับเพื่อนสนิท บ่อยเข้าก็ทำให้เราไม่สามารถสนิทใจกับเพื่อนคนนั้นได้เหมือนเดิม เพราะไม่อยากถูกคนอื่นเข้าใจผิดคิดไปไกล 😔

หรือซ้ำร้ายไปกว่านั้นเมื่อเรามีเพื่อนสนิทต่างเพศ คำพูดแฝงค่านิยมบางประการที่ยังฝังลึกอยู่ในวัฒนธรรม เช่น ‘ผู้หญิงกับผู้ชายเป็นเพื่อนกันไม่ได้หรอก’ ‘สนิทกันอย่างนี้เสียตัวไปแล้วสิ’ หรือบางทีหากเรามีเพื่อนเป็น LGBTQ+ ก็มักจะมีเสียงแว่วว่า ‘ระวังโดน…นะ’ มาคอยรบกวนจิตใจอยู่เสมอ สุดท้ายคำพูดเหล่านั้นมักจะนำไปสู่ข่าวลือไม่น่าภิรมย์มากมาย โหมกระพือเกิดเป็นความเสื่อมเสียทั้งเราและเพื่อนสนิท จนหลายคู่กลายเป็นมองหน้ากันไม่ติดไปเลยก็มี

หรือเพราะสังคมนี้ยังไม่รู้จัก “Platonic Love” ? ✨

เมื่อเราพูดถึงคำว่า “ความรัก” คนก็มักจะนึกถึงความรักโรแมนติก การคบหากันเป็นคู่รัก คู่แต่งงาน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในสื่อกระแสหลัก แนวความรักโรแมนติก-คอมเมดี (Romantic Comedy) หรือที่เรารู้จักกันว่า ‘รอมคอม’ เป็นแนวทางการสร้างภาพยนตร์ ซีรี่ย์ หรืออนิเมชันที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ทำให้เรามักคุ้นชินกับภาพชาย-หญิงต้องคู่กันฉัน ‘คนรัก’ และหลาย ๆ ครั้งความสัมพันธ์เหล่านั้นก็มักจะเริ่มมาจากคำว่า “เพื่อน”

ความจริงแล้วบนโลกนี้ยังมีความรักอีกหลายรูปแบบ มากเสียจนมนุษย์อาจจะตั้งชื่อให้ไม่หมดเสียด้วยซ้ำ และหนึ่งในนั้นคือความสัมพันธ์ที่เรียกว่า “เพื่อนแท้” หรือ “Platonic Love” มีที่มามาจากชื่อนักปรัชญาชาวกรีก คนเด่นคนดังอย่าง ‘เพลโต’ (Plato) 🌟

‘Platonic Love’ หากแปลให้ตรงตัวแล้วจะหมายถึง “ความรักบริสุทธิ์” ซึ่งความหมายของความรักบริสุทธิ์ในปัจจุบันกับในยุคสมัยของเพลโตอาจจะแตกต่างกันสักหน่อย แต่ส่วนที่สำคัญยังคงอยู่ไม่ไปไหน นั่นคือ “ความรักบริสุทธิ์” เป็นความสัมพันธ์ที่จะดึง ‘ตัวตนที่ดีที่สุด’ ของเราออกมานั่นเอง ก็เหมือนกันกับ “เพื่อนแท้” ที่จะคอยอยู่เคียงข้าง เป็นกำลังใจ คนที่หัวเราะ ร้องไห้ โกรธให้กับเรื่องของเรา เป็นคนที่คอยเตือนเราอย่างจริงใจยามเห็นอันตรายของทางที่เรากำลังจะเลือกเดิน และยังเป็นคนที่จับมือเราไว้ในตอนที่เจ็บปวดจากการตัดสินใจของตัวเอง และแน่นอนว่า “ความรักบริสุทธิ์” นี้ไม่มีเพศ เป็นเพียงความรู้สึกที่คนคนหนึ่งจะสามารถมีให้กับมนุษย์อีกคนหนึ่งได้ก็เท่านั้น

🤔 ความรักบริสุทธิ์…ต้อง “บริสุทธิ์” สักแค่ไหน ?

ความรักเป็นความรู้สึกงดงาม และตัวมันเองไม่มีเส้นแบ่งหรือเกณฑ์ตายตัวที่จะมาบอกว่ารู้สึกอย่างนี้สิเรียกว่ารักแบบเพื่อน ความรู้สึกแบบนี้คือรักแบบครอบครัว เพราะสุดท้ายแล้วคนหนึ่งคนอาจจะเป็นได้ทั้งเพื่อน คนรัก และครอบครัวเลยก็ได้

แม้ว่าความรู้สึกจะวัดค่าไม่ได้ว่ามากหรือน้อยเพียงใด ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าระดับของความรู้สึกมักจะขึ้นอยู่กับ “การกระทำ” หรือพฤติกรรมที่คนสองคนตอบโต้กัน การกระทำใดการกระทำหนึ่ง เช่น การหึงหวง การดูแลแบบถึงเนื้อถึงตัวจนเกินไป การลูบหัวที่มักจะทำให้ใครหลายคนต้องใจสั่น อาจทำให้เกิดความรู้สึก ‘มากกว่าเพื่อน’ เข้ามาแทรกกลางความสัมพันธ์นั้นก็ได้ เราจึงมักจะเห็นการพัฒนาความสัมพันธ์จากเพื่อนไปเป็นคนรักอยู่บ่อยครั้ง

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าทุกความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นด้วยคำว่า “เพื่อน” จะจบลงที่คำว่า “คนรัก” เสมอไป ทุกความสัมพันธ์มี “ขอบเขต” (Bounderies) ที่คนในความสัมพันธ์ยอมรับได้และไม่ได้อยู่เสมอ การล้ำเส้นขอบเขตที่ถูกวางไว้โดยที่อีกฝ่ายไม่พร้อมหรือไม่เต็มใจอาจจะนำมาสู่ตอนจบของความสัมพันธ์อย่างน่าเสียดาย หลายคนเองก็ตระหนักถึงความสำคัญของเส้นแบ่งนี้ดี จึงเลือกที่จะไม่ทำการกระทำบางอย่างที่เสี่ยงให้เกิดบรรยากาศที่เปลี่ยนไปในความสัมพันธ์

แม้ความสัมพันธ์จะมีขอบเขตที่ชัดเจน แต่ความรู้สึกก็เป็นเรื่องที่ห้ามกันไม่ได้ ทำให้หลายคนหลุดเข้าไปติดอยู่ใน ‘Friend Zone’ โดยที่ไม่รู้ตัว ถึงอย่างนั้นความสบายใจของทั้งสองฝ่ายในความสัมพันธ์ก็เป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่จะทำให้ความสัมพันธ์นั้นคงอยู่ เดินหน้าต่อ หรือจบลง การพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาเพื่อกำหนดขอบเขตและเคารพการตัดสินใจของกันและกันจึงจำเป็นกว่าสิ่งอื่นใด

หากเพื่อน ๆ คนไหนที่กำลังสับสนกับความรู้สึกที่มีอยู่หรือกำลังทรมานจากความสัมพันธ์ที่แสนครุมเครือจนเดินต่อไปไม่ได้สักที รวมถึงคนที่กำลังเผชิญกับเสียงและสายตาจากคนรอบข้างที่คอยทิ่มแทงให้ใจบอบช้ำ อูก้าจะคอยอยู่ตรงนี้ เป็นเพื่อนอีกหนึ่งคนที่จะคอยรับฟังความสับสนและเจ็บปวดที่เข้ามาทำให้ใจของทุกคนหนักอึ้ง สามารถติดต่อมาหาเราได้เสมอเลยนะ 💚

#OOCAknowledge

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/platonicloveblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิง

https://www.verywellmind.com/what-is-a-platonic-relationship-5185281

https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-empowerment-diary/201802/the-secret-platonic-relationships

https://thematter.co/science-tech/can-men-and-women-be-just-friends/6582

https://www.regain.us/advice/general/the-definition-of-a-platonic-relationship-and-what-the-opposite-is/

Read More

ทำไมเราจึงเปิดใจให้เพื่อนใหม่ได้ยาก เมื่อเคยถูกเพื่อนหักหลัง

เคยไหมที่เรารู้สึกว่าอยากลองเปิดใจให้เพื่อนใหม่ดู แต่ก็ไม่กล้าเพราะเคยถูกเพื่อนหักหลังมาก่อนจนไม่สามารถเชื่อใจใครได้อีกเลย สุดท้ายก็เลือกที่จะสร้างกำแพงและไม่ยอมสนิทกับคนอื่นง่าย ๆ เพราะกลัวตัวเองต้องเจ็บปวดเหมือนที่เคยผ่านมา 💔

ทุกความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คนรัก แม้กระทั่งเพื่อนก็ตามล้วนมีความเชื่อใจเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ แต่ถ้าหากว่าความเชื่อใจของเราถูกทำลายลง ไม่ว่าจะด้วยการที่เพื่อนพูดถึงเราในทางที่ไม่ดีลับหลัง การที่เพื่อนเอาความลับที่เราเล่าให้ฟังไปบอกคนอื่น หรือการมีปัญหากับเพื่อนในรูปแบบอื่น ๆ ก็สร้างความเจ็บปวดให้กับเราเป็นอย่างมากจนอาจจะกลายเป็นบาดแผลทางใจเลยก็ว่าได้ พอมีความสัมพันธ์ใหม่เข้ามาแล้วอยากลองเปิดใจให้เพื่อนใหม่สักคนก็ดันกลัวว่าจะลงอีหรอบเดิมซะงั้น เป็นเพราะอะไรกัน ?

เราอาจจะเคยเห็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “Attachment Theory” กันผ่าน ๆ มาบ้าง โดย Bartholomew และ Horowitz (1991) ได้แบ่งความผูกพันในความสัมพันธ์ออกเป็น 4 แบบ ได้แก่

  • ความผูกพันแบบมั่นคง (Secure Attachment)
  • ความผูกพันแบบหมกมุ่น (Preoccupied Attachment)
  • ความผูกพันแบบหลีกเลี่ยงเชิงปฏิเสธ (Dismissing Avoidant Attachment)
  • ความผูกพันแบบหลีกเลี่ยงเชิงหวาดกลัว (Fearful Avoidant Attachment)

ทฤษฎีทางจิตวิทยานี้อธิบายเหตุผลของคนที่เคยถูกเพื่อนหักหลังแล้วไม่กล้าเปิดใจให้กับเพื่อนใหม่ไว้ว่าอย่างไรบ้าง?

เมื่อต้องเริ่มต้นความสัมพันธ์หรือเปิดใจให้กับเพื่อนใหม่สักคน เราจะเกิดความผูกพันแบบหลีกเลี่ยงเชิงหวาดกลัว (Fearful Avoidant Attachment) กล่าวคือ เราจะรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นเพราะมักจะมองตัวเองและคนอื่นในเชิงลบเสมอ คิดว่าตัวเองไม่ดีพอ อีกทั้งยังคิดว่าคนอื่นไม่ชอบตัวเอง ไม่น่าไว้วางใจ เข้าหาตัวเองเพื่อผลประโยชน์ และคอยเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตไปในแง่ร้ายเสมอ เนื่องจากเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับเพื่อนมาก่อน เราเลยเลือกที่จะสร้างกลไกการป้องกันตนเองด้วยการหลีกเลี่ยง จะได้ไม่ต้องมาวิตกกังวลกับความสัมพันธ์ว่าอีกฝ่ายจะทำไม่ดีกับเราเหมือนคนก่อน

ถึงแม้ว่าการหลีกเลี่ยงจะช่วยให้หายวิตกกังวลกับความสัมพันธ์ก็จริง แต่มันก็ทำให้เราเผลอปล่อยโอกาสของตัวเองที่จะรับเพื่อนใหม่เข้ามาในชีวิตและไม่ได้พบเจอกับความสัมพันธ์ใหม่จากเพื่อนใหม่ จนในท้ายที่สุดเราก็ไม่สามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่ในระยะยาวได้สักที

เราจะสามารถกลับไปเปิดใจให้เพื่อนใหม่ได้อย่างไร?

อย่างที่รู้กันว่าทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดได้ ถึงแม้ว่ารอบตัวของเราจะรายล้อมไปด้วยเพื่อนที่ดีแค่ไหน แต่บางครั้งเราก็ต้องเจอกับปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับเพื่อนอยู่ดี เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นความสัมพันธ์แล้วก็ย่อมมีความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ การให้เวลาซึ่งกันและกันจึงมีความสำคัญ เมื่อเราไม่มั่นใจกับความสัมพันธ์ครั้งนี้ ลองเริ่มเปิดใจให้พวกเขาจากเรื่องเล็ก ๆ ที่ยังไม่ต้องเป็นส่วนตัวมาก เช่น การพูดคุยกันถึงเรื่องไลฟ์สไตล์ทั่วไปของกันและกัน พยายามเข้าใจเขาแล้วก็ต้องเข้าใจตัวเองด้วย ค่อย ๆ ทลายกำแพงที่สร้างไว้ลงทีละเล็กทีละน้อย และปล่อยให้เวลาได้พิสูจน์ว่าเราสามารถเปิดใจให้พวกเขาอย่างเต็มที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม การเปิดใจให้เพื่อนใหม่จะเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้นหากเรายอมรับและเห็นคุณค่าของตัวเอง ลองพยายามมองตัวเองในด้านดีบ่อย ๆ ปล่อยให้ความเจ็บปวดในอดีตเป็นประสบการณ์ทางความรู้สึกที่สอนให้เราเข้าใจตัวเองหรือเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นคนที่ดีกว่าเดิม และคิดไว้เสมอว่า “เราดีพอที่จะมีเพื่อนคอยอยู่เคียงข้าง”

อูก้าขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่กำลังเริ่มต้นความสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่และต่อสู้กับความกลัวของตัวเองอยู่ ไม่ว่าจะยากแค่ไหน เราก็จะขอเป็นเพื่อนที่คอยอยู่เคียงข้างและรับฟังทุกปัญหาของคุณเสมอ 💙

#OOCAknowledge

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/34yM
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงข้อมูลจาก:

Social Pro: https://bit.ly/3yllmfN

Social Pro: https://bit.ly/36arP1h

Simply Psychology: https://bit.ly/3heIFlG

Psychology Today: https://bit.ly/2UiIVqW

PSYCHOLOGIST WORLD: https://bit.ly/2V8r4n5

Read More

‘ท้อแล้วท้ออีก’ สิ้นหวังกับชีวิตจนไม่รู้จะไปต่อยังไงในยุคโควิด

“คนอื่นอยู่ได้เราก็ต้องอยู่ได้” แม้จะบอกว่าในสถานการณ์โควิดแบบนี้ใครๆ ก็รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวังด้วยกันทั้งนั้น แต่จะทำยังไงได้ ในเมื่อความทุกข์ของคนเรามีขนาดไม่เท่ากัน ความท้อแท้ในวัยเรียน ความเครียดของคนทำงาน และความสิ้นหวังของคนที่สูญเสียต่างก็ทำให้เราประคับประคองชีวิตให้ไปต่อได้ยากเหลือเกิน

‘ความเข้มแข็ง’ ที่ถูกพรากไปพร้อม ๆ กับการมีอยู่ของ ‘โควิด’

เพราะการเว้นระยะห่างทางสังคมคือจุดเริ่มต้นของความรู้สึกเครียด กังวลและโดดเดี่ยว ถึงเราจะรู้ดีว่านี่เป็นมาตรการสำคัญและจำเป็นที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง แต่คงไม่มีใครคาดคิดว่าการแพร่ระบาดของโควิดจะยืดเยื้อเกือบสองปีและยังต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ต่อให้โควิดหมดไปการฟื้นฟูสิ่งต่าง ๆ ให้กลับมาสู่สภาพเดิมก็ใช้เวลาไม่น้อย

แล้วเราจะต้องสิ้นหวังเพราะโควิดไปอีกนานแค่ไหน ?

บางคนต้องกักตัวหลายครั้ง พนักงานก็เปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน นักเรียนต้องนั่งเรียนออนไลน์ เด็กจบใหม่ท้อแท้กับการหางาน ในขณะที่อีกหลายชีวิตตกงานอย่างสิ้นหวัง หรือแม้แต่คนที่กำลังต่อสู้กับสถานการณ์โควิด สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความรู้สึกราวกับถูกทอดทิ้ง และเมื่ออยู่อย่างสิ้นหวังก็นำไปสู่การขาดความรู้สึกสนใจ (loss of interest) สูญเสียความตั้งใจ (loss of attention) ได้

การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกว่า 1,700 คน ในหัวข้อ “สภาพจิตใจของคนไทยในยุค โควิด-19” จากสวนดุสิตโพล ระบุว่า 75.35 % รู้สึกเครียดและวิตกกังวล อันดับสองคือรู้สึกแย่และสิ้นหวัง 72.95 % โดยการแพร่ระบาดของโควิดระลอกล่าสุดทำให้สภาพจิตใจย่ำแย่ นอกจากนี้เกือบ 90 % รู้สึกสิ้นหวังกับการทำมาหากินเพราะสภาพเศรษฐกิจ ซึ่ง 3 ใน 4 อยากให้เร่งการฉีดวัคซีน อีก 60.52 % ต้องการให้ภาครัฐและเอกชนช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจและ 41.97 % บอกว่ากำลังพยายามอดทนและแก้ปัญหาเพื่อให้อยู่ได้

ท้อแท้กับการหาเลี้ยงปากท้อง จนรู้สึกสิ้นหวังไม่อยากมีชีวิตอยู่

สิ่งที่น่ากังวลคือ มีประชาชน 3.79 % ที่รู้สึกว่าสถานการณ์ตอนนี้ “รู้สึกท้อแท้ที่สุด/เกินจะรับมือได้” อาจดูเหมือนไม่มาก แต่หากเทียบดูประชาชน 4 จาก 100 คน กำลังสิ้นหวังจนไม่รู้จะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร ที่สำคัญหากเราทำการสำรวจมากขึ้น จำนวนตัวเลขของคนที่รู้สึกท้อแท้สิ้นหวังก็จะยิ่งมีให้เห็นเพิ่มขึ้นด้วย

สถานการณ์โควิดทำให้เกิดการฆ่าตัวตายรายวันเพราะรู้สึกสิ้นหวังในชีวิต หากย้อนกลับไปสมัยวิกฤติต้มยำกุ้งก็เคยมีสถิติการฆ่าตัวตายที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน มองเผิน ๆ อาจดูเหมือนโควิดเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ในชีวิต แต่เบื้องลึกเราล้วนมีภาระมากมายในใจที่แบกรับอยู่ ไม่ว่าจะการงาน การเงิน ความสัมพันธ์ สุขภาพ ฯลฯ เมื่อโควิดเข้ามาจะกลายเป็นความเครียดกังวลที่ถาโถม

ความรู้สึกสิ้นหวังต้องระวังมากกว่าที่คิด ผู้ที่มีแนวโน้มจะทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายมีสิ่งที่เราสังเกตได้คือ

  • รู้สึกทุกข์ทรมานจนยากจะทนต่อไปได้ (suffer)
  • ท้อแท้ผิดหวังกับสิ่งต่าง ๆ (disappoint)
  • รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า (worthless)
  • ไม่มีใครช่วยเหลือ (helpless)
  • รู้สึกสิ้นหวังหมดหนทาง (hopeless)

“ไม่ใช่แค่เราที่ลำบาก” นี่คือคำปลอบใจที่เราอยากได้รับจริงเหรอ ? ใครจะเข้าใจว่าก้อนความสิ้นหวังตรงหน้ามีขนาดใหญ่กว่าที่คิด จริงอยู่ที่โควิดทำให้ทุกคนต้องปรับ แต่ระยะเวลาที่นานร่วมปีย่อมไม่ใช่ภาวะปกติที่ใจเราจะรับไหว เราต่างเครียดกังวลกับการใช้ชีวิตประจำวัน แม้แต่พื้นที่ของความสุขก็ถูกจำกัด พลังใจลดลงสวนทางกับความท้อแท้ที่มากขึ้น เราคงบอกตัวเองให้เดินหน้าได้ยากลำบาก การเยียวยาจิตใจอย่างถูกวิธีจึงสำคัญมาก

นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ช่วยได้อย่างไร ?

เมื่อรู้สึกเครียด ท้อแท้ สิ้นหวัง หรือมีความคิดในเชิงลบอย่างมาก ควรรีบหาทางรับมือกับอารมณ์ความรู้สึกที่เข้ามา ซึ่งการเข้ารับบริการปรึกษาจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนจิตใจได้อย่างดี เพราะสุขภาพใจก็เหมือนสุขภาพกายที่ไม่ควรถูกมองข้าม หากไม่เคยโยนขยะในใจทิ้งไป วันหนึ่งสิ่งที่สั่งสมอยู่ภายในอาจกดทับจนเรารับมือไม่ไหว

ไม่ต้องกังวลกับการกำจัดภาระที่หนักอึ้ง เพราะ #อูก้ามีทางออก

อูก้าเป็นแพลตฟอร์มดูแลสุขภาพใจทางออนไลน์ที่มีทั้งนักจิตวิทยาและจิตแพทย์กว่า 90 ท่าน ที่ผ่านการคัดสรรมาโดยเฉพาะ ใช้การพูดคุยปรึกษาในรูปแบบของวิดีโอคอล สะดวกทุกที่ทุกเวลา ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัว สามารถเลือกผู้เชี่ยวชาญและเลือกช่วงเวลาที่อยากพูดคุยได้โดยไม่ต้องรอคิว ไม่ว่าจะเรื่องอะไรอูก้าก็ยินดีแบ่งเบาทุกปัญหาใจของทุกคน

ซึ่งจิตแพทย์และนักจิตวิทยาของอูก้านั้น สามารถให้คำปรึกษาได้ในทุก ๆ ด้าน ยกตัวอย่างเช่น

  • ภาวะซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล หดหู่
  • ความรัก ความสัมพันธ์
  • ความเครียดในองค์กร
  • ภาวะหมดไฟ หางาน เลิกจ้าง
  • ปัญหาการปรับตัว
  • ปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์
  • โรคทางจิตเวชต่าง ๆ

ในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่โควิดเริ่มแพร่ระบาด สถิติการเข้ารับคำปรึกษาด้านสุขภาพใจเพิ่มมากขึ้น อาจดูเหมือนน่ากังวล แต่แท้จริงแล้วถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะนั่นหมายถึงมีการตระหนักรู้ถึงความเครียดที่เกิดขึ้นและเรากำลังพยายามจะแก้ไขมัน เพราะอาการซึมเศร้าอาจนำไปสู่ความคิดแง่ร้าย แต่ถ้าเราตระหนักว่าโควิดเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากสำหรับทุกคนและรับรู้ความซึมเศร้าที่เกิดขึ้น

แทนที่จะอารมณ์เสียหรือกล่าวโทษตัวเอง สุดท้ายแม้จะไม่พอใจแต่เราก็จะยอมรับความจริงได้ เมื่อรู้ตัวว่าความเครียดและอาการซึมเศร้าเกิดกับเราแล้ว การรับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไร หากแต่เป็นทางออกในการจัดการชุดความคิดแง่ลบให้เรา โดยการวางแผนและดำเนินกิจวัตรประจำวันที่เป็นวิถีใหม่ เน้นที่ความยืดหยุ่นเป็นหลัก คือสามารถปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม

4 วิธีสร้างเกราะป้องกันให้ใจในวันที่ท้อแท้สิ้นหวัง

  1. มองหาตัวช่วยสนับสนุน

อย่ากังวลเกินไปเมื่อต้องมองหาตัวช่วย บางครั้งเราติดอยู่กับความคิดที่ว่า “ฉันต้องพึ่งพาตนเองให้ได้” หรือคนไทยมักจะถูกสอนให้ “ยืนด้วยลำแข้ง” โดยลืมไปว่าเราเป็นมนุษย์ที่สามารถเจ็บปวดได้ ร้องไห้เป็น และสามารถท้อแท้สิ้นหวังได้เช่นกัน แต่เราก็สามารถก้าวผ่านความรู้สึกเหล่านี้ไปได้ หากมีทรัพยากรทางใจที่ดี ในที่นี้อาจจะเพื่อน ครอบครัว หรือสิ่งรอบตัวที่ให้ความสุขกับเรา ทำให้เราปล่อยวางความทุกข์ลงได้ หรือลำบากใจในการปรึกษาคนรู้จักก็สามารถเลือกปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาได้เช่นกัน ยิ่งถ้าเราเครียดกังวลสูงอาจต้องใช้การบำบัดเพื่อช่วยบรรเทาความรู้สึกสิ้นหวังและร่วมกันหาหนทางเพื่อใช้ชีวิตต่อไป

  1. เปิดรับการเปลี่ยนแปลง

ฟังดูเหมือนเราได้ยินประโยคนี้มานับพันครั้ง แต่เราทำได้จริงหรือไม่ ? การออกจาก comfort zone อาจไม่ง่ายขนาดนั้นและเป็นอะไรที่หลายคนรู้สึกกลัวที่จะก้าวออกมา (fear of stepping out) สิ่งที่แย่ที่สุดคือวันหนึ่ง comfort zone ของเราอาจหายไป เหมือนเช่นวันนี้ที่โควิดอาจพรากบางอย่างไปจากเรา บางครั้งเราต้องยอมรับว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรอยู่กับเราตลอดไป แม้จะทำใจได้ยากแต่ความสิ้นหวังนี้ก็ไม่ได้คงอยู่ถาวรเช่นกัน “ทุก ๆ อย่างจะดีขึ้น”

การมอบความหวังเล็ก ๆ ให้ตัวเองไม่ใช่เรื่องผิดและไม่ใช่การหลอกตัวเอง แต่เราแค่อ่อนโยนกับตัวเองที่กำลังเหนื่อยล้าและท้อแท้ ไม่จำเป็นเพิ่มความกดดันให้ชีวิตสิ้นหวังลงไปมากกว่าเดิม อนุญาตให้ตัวเองได้มีความสุขกับการเปลี่ยนแปลงและผ่อนคลายดูบ้าง

  1. ความทรงจำดี ๆ มีคุณค่า

เราได้ยินแต่คนบอกให้โฟกัสอยู่กับปัจจุบัน แต่อย่าลืมว่าช่วงเวลาดี ๆ ในชีวิตก็ช่วยหล่อเลี้ยงจิตใจที่สิ้นหวังได้เหมือนกัน เชื่อว่าโควิดคงไม่ใช่สถานการณ์เดียวที่ทำให้เราท้อแท้สิ้นหวังหรือประสบกับความรู้สึกด้านลบ เพราะฉะนั้นอะไรที่เคยช่วยให้เราผ่านมาได้หรือเป้าหมายอะไรพาเราเดินต่อ นี่ไม่ใช่การยึดติดกับอดีตจนละเลย เพียงแต่อย่าหลงลืมตัวเองในอดีตไปจนหมด เพราะเราสามารถหยุดพักและถอยหลังได้เมื่อเราต้องการ เมื่อเริ่มมีความหวังอีกครั้งก็ค่อย ๆ เดินหน้าใหม่

ให้เราใช้สิ่งต่าง ๆ มาเสริมสร้างกำลังใจให้ตัวเองอีกครั้ง แม้ในวันที่เลวร้าย ข้อดีของเราก็ยังอยู่ เรายังมีคุณค่าไม่เปลี่ยนแปลง แค่สถานการณ์อาจจะไม่เอื้อให้ถูกมองเห็น ลองให้เวลากับตัวเองเพื่อหาว่าสร้างความหวังในชีวิตขึ้นอีกครั้ง

  1. ย่อขนาดของเป้าหมาย

ใจเราไม่ได้แข็งแกร่งทุกวัน ในเวลาที่เราท้อแท้สิ้นหวัง ขนาดของใจก็อาจเล็กลงไปด้วย เป้าหมายที่เคยวางไว้อาจไปไม่ถึง ทำให้เรารู้สึกท้อแท้มากกว่าเดิม เมื่อเราต้องต่อสู้กับเวลาและการทำงานของจิตใจ ให้เราปรับขนาดและระยะเวลาของเป้าหมายให้พอดีกับภาวะของใจในขณะนั้น การวางขั้นตอนสั้น ๆ ทำเป้าหมายเล็ก ๆ สำเร็จในแต่ละวัน ถือเป็นกำลังใจชั้นดีที่จะช่วยให้เรามีความหวังอีกครั้ง ความสำเร็จที่ได้สัมผัสไม่สำคัญว่าเล็กหรือใหญ่ แต่อย่างน้อยเราได้สร้างโอกาสใหม่ ๆ และผลักดันตัวเองให้เดินต่อไปข้างหน้า

อย่างที่เรารู้ว่า ‘ความสิ้นหวัง’ ก็เป็นเหมือนหลุมลึก เมื่อตกลงไปก็ยากที่จะขึ้นมาได้ ต้องใช้พลังกายและพลังใจอย่างมาก ระหว่างที่พยายาม ‘ความรู้สึกท้อแท้’ ก็อาจเกิดขึ้นเป็นระยะ วนเวียนซ้ำๆ ในใจของเรา จึงไม่ใช่แค่บอกตัวเองให้มีความหวัง แล้วมันจะเกิดขึ้นทันที่ แต่เป็นเกราะที่เราต้องสร้างให้ตัวเองโดยเฉพาะช่วงที่โควิดกำลังแพร่ระบาดอยู่

ภูมิคุ้มกันทางใจสร้างได้ด้วยการเติบโตจากภายใน เมื่อเราไม่ยอมแพ้ความท้อแท้ในใจก็จะเบาบางลง การมีสติในการใช้ชีวิตจะช่วยให้เรารักษาสมดุลของใจไว้ ไม่ก้าวเข้าไปในหลุมของความสิ้นหวัง แต่ถ้าหากเหนื่อยล้าท้อแท้ใจ อย่าลืมให้อูก้าช่วยดูแลสุขภาพใจของคุณ

.________________________________

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/m95x
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca

.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

https://siamrath.co.th/n/248678

https://psychcentral.com/blog/3-ways-to-cultivate-hope#1

https://wellness.chula.ac.th/?q=th/content/ดูแลใจในช่วง-covid-19-สิ้นหวังอย่างไรให้มีหวัง

http://164.115.42.194/e_doc/views/uploads/5cf7930fad074-820449b051214e4506acd7b594ebb06c-509.pdf

Read More

จบใหม่แต่ไร้งาน เมื่อที่ว่าง…ไม่ใช่ของฉัน

เรียนมาหลายปี พอถึงวันที่ได้เป็นบัณฑิตป้ายแดงแทนที่จะดีใจ กลับต้องมานั่งกลุ้มกับการหางานที่ชอบ องค์กรที่ใช่ ไป ๆ มา ๆ เครียดยิ่งกว่าตอนเรียน จากที่จบใหม่ไฟแรงก็ค่อย ๆ ถูกสภาพเศรษฐกิจในยุคนี้กดทับ จำยอมต้องอยู่ในสภาวะคนตกงานตั้งแต่ยังไม่ออกเดิน คิดแล้วก็เหนื่อยจนไม่มีใจจะไปหางานที่ไหนอีก แล้วแบบนี้เด็กจบใหม่จะทำยังไง เมื่อต้องแบกรักความคาดหวังของตัวเองและครอบครัว ในวันที่การหางานเป็นไปได้ยากเหลือเกิน

เพิ่งจบใหม่แต่ไร้งาน ? หรือตรงนั้นไม่มีที่ว่างสำหรับเด็กจบใหม่ 😥

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกแล้วระลอกเล่าทำให้กระทบการจ้างงานในหลายภาคส่วน ทั้งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คนที่มีงานทำก็กลายเป็นตกงาน เด็กจบใหม่ต้องหางานไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2563 เด็กจบใหม่ แรงงานอายุน้อยและมีการศึกษาสูงเป็นกลุ่มที่ประสบปัญหาการว่างงานมากที่สุดถึงร้อยละ 3.15 ข้อมูลของปี 2564 จากเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยว่ามีคนว่างงานมากถึง 760,000 คน

“อนาคตของเด็กเจนเนอเรชัน Z น่าเป็นห่วงอย่างมาก” ศูนย์วิจัย Pew และมูลนิธิการแก้ปัญหาการว่างงานกังวลเกี่ยวกับเด็กจบใหม่เพราะเป็นช่วงวัยที่ก้ำกึ่งระหว่างเรียนกับทำงาน ยังไม่มีรายได้ที่แน่นอน ประกอบกับการจ้างงานที่ชะลอตัวไปด้วย ถึงแม้จะคาดการณ์ไว้ว่าประเทศไทยจะใช้เวลาฟื้นตัวภายใน 4-5 ปี แต่การขยายขนาดองค์กรดูจะเป็นภาระที่หนักเกินไป

ตำแหน่งงานจึงไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาจบใหม่กว่า 490,000 คนที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน การว่างงานของเด็กจบใหม่นี้ทำให้หลาย ๆ คนขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะอาชีพช่วงแรกเริ่มของการเข้าสู่โลกของการทำงาน จากผลสำรวจระบุว่าประชาชนในวัย 15-24 ปี กว่าร้อยละ 14% และวัยทำงานเกือบ 20% ต้องเผชิญกับการว่างงานแบบไม่เต็มใจ

ไม่ใช่แค่หางาน แต่ทุกอย่างหลับจบใหม่ช่างหดหู่ 👨🏻‍🎓

ภาพความสำเร็จและอาชีพการงานที่มั่นคงที่วาดไว้ทำให้ทุ่มเทเรียนมาตลอดหลายปี แต่ทำไมวันแล้ววันเล่าเราก็ยังไม่เจองานที่ใช่ จนต้องถามตัวเองว่า “ทำไมเป็นเราที่ยังว่างเปล่าอยู่แบบนี้” พ่อแม่เอาแต่ถามว่าเมื่อไหร่จะได้งาน ไม่มีใครเข้าใจว่าเราคาดหวังไว้แค่ไหน เราก็เครียดกับการอยู่บ้านเฉย ๆ เหมือนกัน ทั้งกังวล กดดัน ซึมเศร้า สับสน กลัวไปหมดทุกอย่าง

ภาวะแบบนี้เป็นสิ่งที่เด็กเจ็บใหม่หลายคนกำลังเผชิญอยู่ เรียกว่าภาวะซึมเศร้าของเด็กจบใหม่ (Post-Graduation Depression หรือ Post-Graduate Blues)  ข้อมูลจาก City Mental Health Alliance  ประเทศอเมริกาพบว่าเกือบครึ่งของบัณฑิตจบใหม่มีสภาวะซึมเศร้าหลังเรียนจบ ดร.เบอร์นาร์ด ลัสกิน (Bernard Luskin) นักจิตบำบัดชาวอเมริกัน เสริมว่าภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลนั้น สามารถเกิดได้ทั้งก่อนและหลังเรียนจบ

Huffington Post พูดถึงความเครียดกังวลของเด็กจบใหม่ว่า “พวกเขามีความกดดันตัวเองสูง รู้สึกว่าจำเป็นจะต้องหางานทำทันที จนละเลยที่จะให้เวลากับตัวเอง ส่วนหนึ่งเพราะว่าปัญหา ‘เศรษฐกิจ’ และความคาดหวังของ ‘สังคม’ ที่บีบบังคับพวกเขาอยู่” ฉะนั้นการที่พวกเขาหางานไม่ได้ในยุคนี้ก็มีแต่จะทำให้เครียดมากยิ่งขึ้น ไม่รู้ “จะเอายังไงดีกับชีวิต ?” แล้วตอนนี้ทุกอย่างก็ดูมืดมนลงไปอีกเพราะสถานการณ์โควิดที่เหมือนมาหยุดเวลาของเด็กจบใหม่ในยุคนี้

เกิด ‘วิกฤตสองต่อ’ (Double Crises) จากโควิด สู่การมีต่อที่สาม 😰

“คนรุ่นล็อกดาวน์” (lockdown generation) คือนิยามที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เรียกเด็กจบใหม่และกำลังเข้าสู่โลกของการทำงานในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด พวกเขาอาจกลายเป็น “รุ่นที่สาบสูญ” เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ราวกับถูกลืมในตลาดแรงงานเพราะทุกคนมุ่งเน้นที่ปัญหาการตกงาน การรักษาธุรกิจให้ไปต่อ แต่จริง ๆ แล้วกลุ่มเด็กจบใหม่ก็กำลังเครียดและต่อสู้ไม่แพ้กัน มี 3 เรื่องหลัก ๆ ที่เด็กจบใหม่และวัยเริ่มทำงานกังวล ได้แก่ 1) การตกงาน 2) การเรียน การอบรมฝึกงานที่ถูกระงับไป 3) ความยากในการหางานหรือเปลี่ยนงาน

นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช กล่าวถึงปรากฏการณ์ ‘วิกฤตสองต่อ’ (Double Crises) คือวิกฤตโควิด-19 ตามด้วยวิกฤตเศรษฐกิจ หน้าที่ของรัฐฯในการดำเนินการฝ่าวิกฤตสำคัญมาก ทั้งนี้ไทยอาจเจอกับวิกฤตที่สามพ่วงด้วยคือ “การบริหารงานที่ผิดพลาด” เพราะเราไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ดีพอ แถมยังปล่อยให้เศรษฐกิจซบเซาจนเกินเยียวยา ประชาชนก็ตกงาน ขาดความเชื่อมั่น เครียด ซึมเศร้า เพราะหมดหวังในการใช้ชีวิต

แล้วเด็กจบใหม่กังวลกับอะไร แล้วต้องทำอย่างไรต่อ ? 🤔

จากแบบสอบถามของ JobThai ที่สำรวจความคิดเห็นของเด็กจบใหม่ในยุคนี้ พบว่าความกังวลสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่

  1. จะหางานไม่ได้

แทบทุกคนที่เพิ่งเรียนจบใหม่ ๆ เคยประสบปัญหานี้เพราะไม่รู้ว่าตัวเองเหมาะกับสายงานไหน หรือมีทักษะอะไรที่นำไปใช้กับงานได้ ตัวเลือกที่มีอยู่ก็ดูจะน้อยนิด เลยยากที่จะหางานได้ตรงกับความต้องการจริง ๆ

  1. เศรษฐกิจไม่ดี ชีวิตเราก็แย่

ภาพรวมของประเทศสั่นคลอนความมั่นคงของคนวัยทำงานได้ ยิ่งจบใหม่ยังไม่มีประสบการณ์การมากนัก ยิ่งอยู่ใกล้คำว่า “หางาน” และ “ตกงาน” ทำให้ต้องใช้ชีวิตแบบพยายามเซฟ ๆ ตัวเองไว้ก่อน

  1. รายได้ไม่เพียงพอ

แม้โควิดจะรุนแรง แต่ค่าครองชีพก็มีแต่จะสูงขึ้น ดูแล้วสวนทางกันเหลือเกิน ทั้งอาหาร ค่าเดินทาง หรือของใช้ทั่วไป ทำให้เด็กจบใหม่รู้สึกเครียด หางานว่ายากแล้วแต่หารายได้ให้เพียงพอที่จะรับผิดชอบตัวเองนั้นยากกว่า ลำพังเงินเดือนเด็กจบใหม่ก็น้อยนิดอยู่แล้ว ถ้าต้องเตะฝุ่นหางานไปยาว ๆ ก็มีแต่เครียด

  1. เจองานไม่ตรงใจ

ใคร ๆ ก็บอกว่า “มีงานดีกว่าไม่มี” แต่ถ้าได้งานไม่ตรงใจฝืนไปก็เสียสุขภาพ สุดท้ายเด็กจบใหม่กลายเป็นกลุ่มที่ต้องต่อสู้กับความเครียดและความอ้างว้างในใจมากที่สุด เพราะเหมือนอยู่ในสถานะที่เลือกอะไรไม่ค่อยได้ ทั้งที่ความชอบ ความต้องการหรือแม้แต่ทางเลือก เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้และทุกคนก็ควรได้รับโอกาสนั้น สุดท้ายจะตกงานหรือมีงานก็อาจประสบกับภาวะซึมเศร้าได้

  1. เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้

ไม่ว่างานไหน ๆ ก็เจอปัญหาเรื่องคน การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ แต่ละคนก็ใช้เวลามากน้อยแตกต่างกัน เมื่อการทำงานไม่ได้มีแต่เรื่องงาน การปฏิสัมพันธ์กับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานเป็นสาเหตุหลัก ๆ ของความสุขในการทำงานเลยด้วยซ้ำ หมั่นสังเกตบรรยากาศโดยรอบ อาจพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนในการสมัครงานเลยก็ได้ว่าเรารู้สึกถึงความเข้ากันได้กับที่นี่หรือเปล่า เพื่อช่วยเราในการตัดสินใจ

ที่นั่งน้อยลงแต่คู่แข่งเพิ่มขึ้น ทำอย่างไรให้องค์กรเตะตาเรซูเม่ของเด็กจบใหม่อย่างเรา หรือรู้สึกว่าเรานี่แหละคือคนที่เขากำลังตามหา ผลสำรวจบอกว่าโดยเฉลี่ยคนหางานจะส่งใบสมัครครั้งละ 16 บริษัท ซึ่งจำนวนมากน้อยไม่ใช่เรื่องผิด แต่เราต้องใส่ใจทุก ๆ ใบสมัครที่เรายื่นไป แสดงตัวตนให้ชัดเจนและไม่ลืมชูจุดเด่นขององค์กรที่เรายื่นไปด้วย

จากสถิติยังบอกอีกกว่า กว่า 36.2% ไม่เคยได้รับการเรียกสัมภาษณ์งาน และอีก 35.4% ถูกเรียกไปสัมภาษณ์แต่ไม่ผ่าน ซึ่งแบบแรกคือเราต้องปรับที่เอกสารหรือการหางานให้ตรงกับคุณสมบัติของเรา แบบที่สองคือเอกสารเราอาจจะดีแล้ว แต่ติดขัดในขั้นการสื่อสาร การนำเสนอความคิดอย่างเป็นระบบ วัฒนธรรมองค์กร หรือไหวพริบในการตอบคำถาม

วิธีการลดภาวะเครียดและซึมเศร้าของเด็กจบใหม่ที่สำนักข่าว ABS ของประเทศฟิลิปปินส์ ได้แนะนำ คือ “การปล่อยวาง” และ “เตรียมพร้อม” อาจจะฟังดูเหมือนง่ายแต่เรารู้ดีว่าทำได้ยาก อย่างไรก็ตามเราต้องฝึกใจให้มีสติ ท่ามกลางความเครียดทั้งหลาย แล้วเริ่มวางแผนชีวิตให้ตัวเอง

Tips สำหรับเด็กจบใหม่ที่กำลังหางาน 💡

  • อย่าเพิ่งไปโฟกัสว่าเราต้องเจองานที่ถูกใจใช่เลยตั้งแต่งานแรก แม้จะมีสิ่งที่ไม่ตรงใจเราบ้าง แต่อย่างน้อยทุกโอกาสก็แปรเปลี่ยนเป็นประสบการณ์และช่วยพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ให้เราได้
  • เรามีโอกาสใหม่ ๆ เสมอ การไม่ผ่านสัมภาษณ์หรือไม่ได้รับคัดเลือก ไม่ได้แปลว่าเราไม่มีความสามารถหรือทักษะไม่ดี แต่อาจยังไม่เจอที่ที่เหมาะสมกับเรา
  • วิเคราะห์เรซูเม่และใบสมัครของตัวเอง เอกสารที่ใช้ต้องมีความโดดเด่น เรามีจุดแข็งอะไรที่น่าสนใจ คุณสมบัติของเราตรงกับ Job Description หรือไม่ คุณสมบัติของเราจึงต้องแตกต่างและตอบโจทย์
  • ไม่หยุดพัฒนาทักษะในช่วงหางาน ยังไม่ได้งานที่ไหนก็สามารถหาอะไรทำไปก่อนได้ ทั้งเรียนออนไลน์ อ่านหนังสือ ฝึกทักษะใหม่ ๆ หรือจะลองหางานชั่วคราว งานพาร์ทไทม์ เพื่อสะสมประสบการณ์ไปก่อนก็ดีเช่นกัน
  • วางแผนชีวิตไว้หลาย ๆ ทาง ตั้งเป้าหมายโดยแบ่งเป็นระยะสั้น กลาง ยาว ถ้าไม่ได้งานจะทำอย่างไร ช่วงที่หางานจะทำอะไรต่อ ถ้าได้งานแล้วจะมองอนาคตไว้ว่ายังไง
  • การตกงานอาจน่ากลัว แต่เป็นประสบการณ์ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตเราอาจได้เจอ ไม่ต้องโทษตัวเองจนเกินไปแต่เรียนรู้ว่าเราจะเอาตัวรอดได้อย่างไรหากต้องเจอกับการตกงานจริง ๆ

จริงอยู่ท่ีการหางานหรือตกงานก่อให้เกิดความเครียดอย่างมาก ยิ่งอยู่กับมันยาวนานเรายิ่งเครียดและซึมเศร้า หลาย ๆ คนรู้สึกไม่ดี สูญเสียความมั่นใจ กล่าวโทษตัวเอง ไปจนถึงรู้สึกผิดกับคนรอบตัว การฝึกคิดเป็นวิธีที่จะช่วยให้เราอยู่กับสิ่งที่ตัวเองควรจะโฟกัสจริง ๆ มากกว่าคิดฟุ้งซ่านว่า “ทำไมฉันหางานไม่ได้สักที” “ไม่อยากเป็นภาระให้คนอื่นเลย” หรือ “ฉันไม่ดีตรงไหนทำไมถึงตกงาน”

หากใครรู้สึกเครียด กังวล หรือมีความคิดในเชิงลบอย่างมาก ขอแนะนำให้เข้ารับการปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อดูแลสุขภาพจิตใจให้แข็งแรง จะได้พร้อมรับมือกับการหางาน ในขณะเดียวกันถ้ารู้สึกทุกข์ใจกับงานที่ทำอยู่ก็สามารถพูดคุยได้เช่นกัน อย่าทิ้งให้ตัวเองรู้สึกซึมเศร้าหรือวิตกกังวลนานจนเกินไป ไม่รู้จะเริ่มเข้ารับการช่วยเหลืออย่างไร #อูก้ามีทางออก

อูก้าเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีทั้งจิตแพทย์และนักจิตวิทยาที่พร้อมดูแลสุขภาพใจของทุกคน โดยเรามีจำนวนผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 90 ท่าน ที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี ใช้รูปแบบของวิดีโอคอล ในการพูดคุย ทั้งสะดวกและมีความเป็นส่วนตัวสูง นัดหมายช่วงเวลาได้ง่าย ๆ ไม่ต้องรอคิว ที่สำคัญทุกอย่างเก็บไว้เป็นความลับเสมอ เรามีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น

🤯 ความเครียดในองค์กร

🥵 ภาวะหมดไฟ หางาน เลิกจ้าง

😰 ปัญหาการปรับตัวในที่ทำงาน

😓 ปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์

😥 ซึมเศร้า วิตกกังวล

😭 ความรัก ความสัมพันธ์

เพราะปัญหาใจเป็นเรื่องสำคัญ ความเครียด วิตกกังวลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้แต่เราก็ต้องพยายามหาทางอยู่ร่วมกับมันอย่างถูกวิธีด้วย ใจที่พร้อมจะนำเราไปสู่ผลลัพธ์และการรักตัวเองมากกว่าท่ี หากไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัดอย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยาของอูก้านะคะ 💙

.________________________________

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/kKnn
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca

.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

https://www.artefactmagazine.com/2019/02/04/graduate-blues/

https://www.bbc.com/thai/thailand-53068272

https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6332412

https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/125822?

https://bottomlineis.co/Social_Pressure_on_New_Graduates

https://thestandard.co/kittiratt-say-take-4-years-to-recover-from-coronavirus/

https://blog.jobthai.com/career-tips/oh-my-job-podcast-ep-9- เด็กจบใหม่ตอนนี้เป็นยังไง-หางานยากไหมในยุคโควิด

Read More

เครียดแค่ไหนถึงต้องพบจิตแพทย์?

เคยไหมที่ดูหนังฝรั่งทีไรแล้วต้องได้เห็นฉากที่ตัวละครพูดคุยปรึกษากับนักจิตวิทยาในเรื่องกันอยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนัดพบ คุยประจำทั่วไปในแต่ละเดือน บางครั้งก็คุยเดี่ยว บางทีก็คุยกลุ่ม หรือจับคู่สามีภรรยามานั่งคุยกันก็มี แม้แต่เด็ก ๆ เองก็เปิดใจเหมือนเป็นเรื่องปกติ แต่ตัวละครเหล่านี้กลับดูไม่ได้มีเรื่องเครียดอะไร

อย่างนี้แปลว่าไม่จำเป็นต้องมีเรื่องเครียดก็พบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาได้เหรอ ?

อูก้าขอตอบเลยว่า ได้ ! เพราะการพบจิตแพทย์นั้นจริง ๆ แล้วก็เหมือนเราไปตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไป ไม่ต้องรอให้เครียด ไม่ต้องรอให้เกิดโรค ไม่ต้องรอให้เจอปัญหาใด ๆ เราก็สามารถไปหาหมอเพื่อพูดคุยปรึกษา เช็คสุขภาพใจกันสักนิดได้ทันที ซึ่งจริง ๆ แล้วในแต่ละประเทศเอง การไปหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยานั้นเป็นเรื่องที่ปกติมาก ๆ เพราะนอกจากจะได้เป็นการพูดคุยปรึกษาปัญหาคาใจของแต่ละคนแล้ว จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยายังสามารถให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ เช่น ปัญหาครอบครัว ชีวิตคู่ ปัญหาความสัมพันธ์ การเรียน การงาน ปรึกษาก่อนแต่งงาน หรือแม้แต่การปรึกษาเรื่องพัฒนาการเด็กก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้นหากไม่สบายใจ แทนที่จะไปหาหมอดู ลองเปลี่ยนมาเป็นหาหมอ “ใจ” อย่างจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา อาจจะช่วยให้คุณค้นหาต้นตอของปัญหาเจอก็ได้นะ 🙂

แล้วอย่างนี้ถ้าเราอยากลองตรวจสุขภาพใจของเราดูบ้างการไปหาจิตแพทย์จะตอบโจทย์ไหมนะ? แล้วจะเริ่มจากที่ไหนดี? คำถามนี้ก็ไม่อยาก เพราะถ้าคุณไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรละก็ #อูก้ามีทางออก มาให้จ้า

เพราะที่อูก้า เราเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับดูแลจิตใจที่เป็นมากกว่าแค่การรับฟัง ที่อูก้านั้นคุณไม่จำเป็นที่จะต้องขับรถวนหาที่จอดจนเหนื่อย หรือต้องลางานมานั่งรอคิวคุยกับจิตแพทย์ทั้งวัน ทั้งยังไม่ต้องไปเสาะหาแหล่งปรึกษาให้ยุ่งยาก เพราะที่นี่เรามีบริการพร้อม ทั้งนักจิตวิทยาที่จะคอยให้คำปรึกษาและบำบัดใจ จนไปถึงจิตแพทย์ที่มีประสบการณ์ดูแลทุกคำปรึกษา อยากจะทักมาคุยเมื่อไหร่ ที่ไหน กับใคร ก็เลือกเองได้ง่าย ๆ สะดวกสบายด้วยปลายนิ้ว

❤️ อยากทำแบบทดสอบวัดความเครียดดูก่อนก็ย่อมได้

❤️ หากอยากนัดปรึกษาเมื่อไหร่ ก็สามารถนัดหมายได้ทุกเมื่อ

❤️ ใช้เพียงแค่โทรศัพท์มือถือและสัญญาณอินเทอร์เน็ต ก็คุยได้แล้ว ไม่ต้องไปไหนไกล

❤️ ทุกอย่างที่คุยกันรับรองว่าเป็นความลับ ถ้าไม่สะดวกใจให้ใครเห็น ก็คุยกันในสถานที่ ๆ คุณสบายใจได้เลย

เพราะการพูดคุยปรึกษาปัญหาใจ ไม่จำเป็นต้องรอให้เครียด

หากเรามีแพทย์ไว้ดูแลร่างกาย “หัวใจ” เอง ก็ต้องการผู้เชี่ยวชาญมาช่วยดูแลเช่นเดียวกัน อย่างที่ใครหลายคนเคยกล่าวไว้ว่า “ป่วยกายยังไม่เท่ากับป่วยใจ” ดังนั้นหากเรายังมีโอกาสดูแลใจของเราให้ดี อย่ามัวรอช้า อย่ากลัวที่จะก้าวเข้ามาปรึกษากับจิตแพทย์ของเราได้เสมอ พลังใจมีเต็มร้อย จะให้เจอกับอุปสรรคอะไรในชีวิตก็ไม่ท้อถอยไปง่าย ๆ

“ไม่ต้องเครียดก็ทักหาเราได้ ให้อูก้าได้มีโอกาสดูแลจิตใจและเป็นเพื่อนช่วยวางแผนชีวิตเคียงข้างคุณ❤️”

———————————–

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/hmstblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ Ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca..

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

Read More

เครียดจนขอลางาน อาการป่วยใจที่พักยังไงก็ไม่ดีขึ้น

ทำงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ บางคนทำงาน 7 วัน กินนอนไม่เป็นเวลา ใจเราจะไม่เหนื่อยล้าเลยได้อย่างไร ต่อให้เป็นสิ่งที่เรารัก เราชอบและมี passion เปี่ยมล้น แต่พอถึงระยะเวลาหนึ่งร่างกายก็จะเป็นฝ่ายส่งสัญญาณเตือนเราเองว่า “ตอนนี้ฉันเหนื่อยมาก” หรือ “ฉันต้องการพักผ่อน” มันอาจจะเป็นเรื่องง่ายก็แค่ลางาน ใช้วันหยุดไปทำในสิ่งที่ชอบ นอนให้เต็มอิ่ม ก่อนจะลุยงานต่อ แต่ถ้ามันไม่ใช่แค่อาการเหนื่อยล้าธรรมดา แต่เรากำลังต่อสู้กับบางอย่างในใจล่ะ ?

ความเครียดในที่ทำงานจะถูกนำมาพูดถึงก็ต่อเมื่อองค์กรเปิดกว้างในระดับหนึ่ง จากข้อมูลของศูนย์อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแคนาดาระบุสาเหตุทั่วไปของความเครียดในที่ทำงานนั้น ได้แก่

  • การทำงานหนักเกินไป
  • ความคาดหวังในงานที่ไม่แน่นอน
  • การพัฒนาด้านอาชีพ
  • การคุกคามหรือถูกการเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน
  • รู้สึกไม่มั่นคงในสภาพแวดล้อมการทำงาน

เมื่อความเครียดกดทับใจ ใคร ๆ ก็อยากใช้วันลา แต่จะให้เหตุผลของการลางานว่าอะไรดี ที่จะไม่มีคำถามที่ 2 3 4 5 ตามมา ไอ้ลางานนอนอยู่บ้านไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเราอยากลางานไปหาจิตแพทย์จะทำอย่างไร ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องที่ต้องแจ้งที่ทำงานไหม ? หรือแค่ไปหาหมอเงียบ ๆ ทำตัวปกติก็พอ นี่ถือเป็นปัญหาใจของพนักงานหลายคน ซึ่งจากการสัมภาษณ์พนักงานฝ่ายบุคคลหลายบริษัทได้ให้คำตอบใกล้เคียงกันว่าโดยปกติไม่ได้ซักไซร้เรื่องการลางานของพนักงาน ขอแค่ส่งใบลาและไม่กระทบการทำงานก็พอแล้ว แต่บางกรณีที่อาจต้องสอบถามเพิ่มเติมก็เช่น ลางานค่อนข้างถี่ หรือลาเป็นประจำทุกสัปดาห์วันเดิมเวลาเดิม อาจมีการสอบถามด้วยความห่วงใยเพราะองค์กรก็ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพของพนักงานเช่นกัน

น่าเสียดายที่การลางานจากความเครียดไม่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย อย่างไรก็ตามสุขภาพจิตที่ได้รับผลกระทบจากงานนั้นมองเห็นได้ชัดเจน ท้ายที่สุดแล้วพนักงานก็ตัดสินใจลางานเพราะความเครียด และนี่อาจะเป็นทางออกที่ช่วยให้เขากลับมามีสมดุลและรักษาประสิทธิภาพในการทำงานได้ ซึ่งปัจจุบันอาจกลายเป็นเรื่องที่องค์กรต้องให้ความใส่ใจเพราะจำนวนพนักงานที่ลางานเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตมีมากขึ้น แต่ทำไมพนักงานถึงรู้สึกเหมือน ‘ต้อง’ ไปทำงาน ทั้ง ๆ ที่ตัวเองป่วยและมีสิทธิ์ที่จะลางาน

University of East Anglia กล่าวว่าเป็นการผสมผสานระหว่างความคาดหวังในงานที่สูง ความเครียดและความรู้สึกไม่มั่นคง จิตสำนึกเป็นตัวกำหนดว่าเราจะลางานเมื่อรู้สึกไม่สบายดีไหม ? แต่การจะดีลกับงานหรือคนที่ทำงานก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง Gail Kinman ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาอาชีวอนามัยของมหาวิทยาลัย Bedfordshire กล่าวว่า “คนที่มีส่วนรับผิดชอบในงานมากและมีนิสัยบ้างานมักจะไม่ยอมลางาน ไม่ว่าพวกเขาจะรู้สึกป่วยแค่ไหนก็ตาม” พูดง่าย ๆ คือยิ่งเรารู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญต่องานมากเท่าไหร่ เราก็จะเห็นสุขภาพสำคัญน้อยลงเท่านั้น

เมื่อพูดถึงความเครียดและความวิตกกังวล Gen Z และ Millennials อาจพูดได้ว่ามีความเสี่ยงมากกว่าวัยอื่น ๆ ในปี 2015 การสำรวจหัวข้อ Stress และ Wellbeing ของ Australian Psychological Society พบว่าคนรุ่นใหม่ในช่วงอายุ 18-25 ปีพบว่ามีคุณภาพชีวิตที่ต่ำที่สุดและมีความเครียดอยู่ในระดับสูงสุด นักวิจัยระบุว่าแรงกดดันทางการเงิน การเปรียบเทียบวิถีชีวิตและปัญหาครอบครัวเป็นสิ่งที่กดทับใจคนกลุ่มนี้

จากการสำรวจพนักงาน 1,000 คนโดย Aetna International พนักงานถึง 1 ใน 3 กล่าวว่าพวกเขาป่วยเพราะความเครียด และมีแนวโน้มที่จะหยุดพักเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตมากถึง 34% ทั้งนี้พวกเขาอาจระบุว่าลางานเพราะสุขภาพกาย เพราะไม่อยากยอมรับว่าตัวเองมีปัญหาหรือรับมือกับความเครียดไม่ได้ รวมถึงวัฒนธรรมในองค์กรที่แตกต่างกัน อย่างบางบริษัทนิยมการทำงานแบบ ‘always on’ หรือพร้อมตอบสนองเสมอถ้าเป็นเรื่องงาน ทำให้พนักงานไม่กล้าแสดงพฤติกรรมที่แปลกแยก สิ่งนี้บ่งบอกว่าพนักงานยังไม่สบายใจที่จะพูดเรื่องส่วนตัว โดยเฉพาะเรื่องของสุขภาพจิตหรืออารมณ์ ยิ่งประเด็นละเอียดอ่อนอย่างการพบจิตแพทย์ยิ่งเป็นเรื่องยาก

แม้ ‘ความเครียด’ จะกำจัดทิ้งได้ยาก แต่อย่างน้อยการลางานก็พอจะช่วยเยียวยาได้บ้าง ถือเป็นสิทธิ์ที่ควรได้รับ ในกรณีที่คุณรู้สึกเหนื่อยหน่าย วิตกกังวล ซึมเศร้าหรือมีปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ การหยุดพักงานอาจช่วยให้พนักงานฟื้นตัวได้

อย่างไรก็ตามในแก้ปัญหา หรือวิธีการคลายความเครียดที่เรารู้ดีคือการได้พูดคุยตรง ๆ หรือระบายความเครียด พนักงานจึงควรพูดถึงเรื่องอาการป่วยกายป่วยใจของตนเองกับคนใกล้ชิด นักจิตวิทยา จิตแพทย์หรือแม้แต่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) นั่นหมายความว่าพนักงานต้องสามารถอธิบายได้ชัดเจนเกี่ยวกับอาการป่วยใจและแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน แต่ก่อนจะพูดได้อย่างเปิดใจก็ต้องเริ่มจากการ ‘ยอมรับ’ และ ‘เข้าใจ’

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองไม่ไหวจนต้อง ‘ลางาน’

เพราะเป็นผู้ใหญ่เราจึงพยายามปกปิดปัญหาใจ แต่การแบกรับทุกอย่างไม่ใช่ทางออก การสังเกตตัวเองเป็นอีกหนึ่งตัวช่วย สัญญาณบางอย่างจะบอกเราว่าควรพาตัวเองออกจากความเครียดและใช้วันลางานได้แล้ว

  • เราไม่สามารถจดจ่อหรือมีสมาธิกับงานที่ทำได้
  • ระดับความเครียดส่งผลต่อความสามารถในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ความเครียดจากการทำงานส่งผลกระทบต่อชีวิตส่วนตัว
  • อารมณ์ที่เปลี่ยนไป ไม่สดใส ไม่อยากทำงาน
  • อาการของภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล
  • คนรอบข้างสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงหรือได้รับการยืนยันโดยแพทย์

มาลองทดสอบความเครียดกัน : https://ooca.page.link/stressstestdob

การ ‘ลางาน’ กับ ‘อาการป่วยใจ’ เป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คิด

ข้อมูลจาก Brand buffet บอกว่าแรงงานชาวไทยเกิน 80 % ฝืนตัวเองมาทำงานทั้งที่ป่วย อาจด้วยนิสัยขี้เกรงใจและรู้สึกว่าการลางานคือการผลักภาระให้ผู้อื่น แต่หากไม่มีการพักผ่อนก็อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ใหญ่กว่า เช่น ภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โรคซึมเศร้า ฯลฯ ตามมา

แม้พนักงานจะอยากทำงานขนาดไหน แต่ถ้ากายใจไม่ไหวจริง ๆ การทุ่มเทลักษณะนี้อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี บทวิเคราะห์จาก American Productivity Audit ประเทศสหรัฐอเมริการที่พูดถึงนิสัยบ้างานว่ามันมีข้อเสียกับองค์กรเหมือนกัน เพราะประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง การสูญเสียทรัพยากรและอีกหลายเหตุผล ตีเป็นมูลค่าที่ประเทศต้องเสียประโยชน์รวมกันนั้นมากกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นก็ไม่ต่างกัน ด้วยพื้นนิสัยที่ขยันขันแข็งและรับผิดชอบสูง ทำให้สถิติการลางานนั้นน้อยจนแทบจะไม่มี แต่การที่พนักงานญี่ปุ่นฝืนไปทำงานทั้งที่ตัวเองไม่พร้อมกลับสร้างผลกระทบจนทำให้บริษัทอาจมีรายได้ลดลงราวๆ 3,100 ดอลลาร์ต่อปีเลยทีเดียว

องค์กรต้องตระหนักว่าความเจ็บป่วยทางจิตบางรูปแบบเกี่ยวกับความผิดปกติในร่างกายและมีมาตรการสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมทรัพยากรในการทำงาน การทำงานที่ยืดหยุ่น บริการให้คำปรึกษาหรือการผู้เชี่ยวชาญที่คอยรับฟังพนักงาน การสนับสนุนพนักงานรายบุคคล เพราะในฐานะลูกจ้างพนักงานควรได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวดจากการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ

เพราะสุขภาพจิตไม่ควรเป็นสาเหตุของความลำบากใจสำหรับพนักงาน

#อูก้ามีทางออก

อูก้าเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีทั้งนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ไว้คอยดูแลใจทุกคน โดยเรามีจำนวนผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 90 ท่าน ที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี ทุกคนสามารถพูดคุยปรึกษาได้ผ่านรูปแบบของวิดีโอคอล สะดวก ไม่ต้องเดินทาง และมีความเป็นส่วนตัวสูง อีกทั้งเรายังสามารถเลือกจิตแพทย์และเลือกช่วงเวลาที่เราต้องการได้เลยไม่ต้องรอคิว ที่สำคัญทุกอย่างเก็บไว้เป็นความลับ ไม่ว่าจะเรื่องอะไรอูก้ายินดีแบ่งเบาทุกปัญหาใจ ให้เราได้ร่วมเดินทางและช่วยรับฟังความทุกข์ของคุณ เรามีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น

  • ความเครียดในองค์กร
  • ภาวะหมดไฟ
  • ปัญหาการปรับตัวในที่ทำงาน
  • ปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์
  • ซึมเศร้า วิตกกังวล
  • ความรัก ความสัมพันธ์

นอกจากนี้ยังสามารถพูดคุยกับอูก้าในเชิงผ่อนคลายจิตใจและหาแนวทางในการพัฒนาตนเองได้อีกด้วย แล้วชีวิตของคุณจะเข้าสู่จุดสมดุลยิ่งกว่าที่เคย เพราะปัญหาใจเป็นเรื่องสำคัญ อย่าปล่อยให้อาการเหนื่อยล้า ความเครียดจากการทำงานหนักเป็นแผลที่กดทับใจ หากไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัดอย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยาของอูก้า

—————————————————

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/stressseoblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ Ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://hrexecutive.com/hres-number-of-the-day-employee-sick-days/

https://www.healthline.com/health/mental-health/stress-leave#check-in

https://www.elas.uk.com/taking-sick-leave-mental-health-issues/

https://thematter.co/social/presenteeism-and-burnout/77760

https://www.oiyo.com.au/income-protection/what-is-stress-leave/

https://sonilaw.ca/how-to-ask-for-stress-leave-from-your-doctor-a-break-may-be-better-than-burnout/

Read More
สุขภาพจิต เครียด ซึมเศร้า

ขออยู่เฉยๆได้ไหม ? ฉันไม่อยากเริ่มอะไรเพราะไม่อยาก ‘เฟล’

ตลอดชีวิตของเรา อาจมีความฝันนับร้อยนับพันอย่าง สารพัดเป้าหมายที่เราอยากจะไปให้ถึง แต่พอจะเริ่มออกเดินจริง ๆ กลับรู้สึกไม่มั่นใจ อยากหันหลังกลับ หรือไม่ก็ขออยู่เฉย ๆ แบบเดิมจะดีกว่า เป็นไปได้ไหมว่าที่เราไม่ยอมออกจากพื้นที่ปลอดภัยเป็นเพราะเรากำลัง ‘กลัว’

แม้การไม่ลงมือทำอะไรเลยจะไม่ใช่เรื่องน่ายินดี แต่สำหรับหลาย ๆ คนก็ยังดีกว่าต้องรู้สึก ‘เฟล’ หรือต้องยอมรับว่า ‘ฉันล้มเหลว’

‘ฉันไปไม่ถึงจุดที่ฉันตั้งใจไว้’ แน่นอนว่าการไม่ลงมือทำ หมายถึงโอกาสสำเร็จเป็นศูนย์ แต่อย่างน้อยเราก็มีข้ออ้างให้ตัวเองว่า ‘ฉันยังไม่ได้เริ่มเลย’ เพราะฉะนั้นยังไม่ถือว่าเป็นความล้มเหลว เหมือนเราสร้างเกราะขึ้นมาห่อหุ้มความกลัวของตัวเองและไม่จะยอมให้ตัวเองรู้สึกไม่ดี

เพราะความเฟลมันน่ากลัว … เพราะมนุษย์มีความต้องการ

เราอยากเป็นที่รักของคนอื่น อยากได้รับการยอมรับ อยากเติมเต็มเป้าหมายของตัวเอง

มนุษย์จึงสร้างกลไกปกป้องตัวเองขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกลบทั้งหลายที่พุ่งเข้ามา ‘การไม่ทำอะไรเลย’ ก็เป็นการ play safe อย่างหนึ่ง

อีโก้ของเรากำลังบอกเราว่าอย่าทำอะไรให้ดูไม่ดีในสายตาคนอื่น อย่าปล่อยให้ตัวเองมีภาพลักษณ์ของผู้แพ้ติดตัว สิ่งเหล่านี้มาจากธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม เรามีตัวตนและเรียนรู้ที่จะสร้างความมั่นใจให้ตัวเอง เพราะเราแคร์สายตาคนอื่น เมื่อเกิดการเปรียบเทียบระหว่างคนในสังคมเดียวกัน หากเราเป็นคนเก่ง คนดีก็จะทำให้เราได้รับการยอมรับมากกว่า

หากการเดินตามฝันทำให้เราเฉียดใกล้ความล้มเหลว แม้สุดท้ายเราอาจจะทำสำเร็จ แต่แค่เราจินตนาการถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด (worst case scenario) ที่เป็นไปได้หรือความเจ็บปวดที่เกิดจากความล้มเหลว แล้วเรารู้ว่าตัวเองไม่สามารถรับมือกับมันได้แน่ ๆ การอยู่เฉย ๆ จึงเป็นทางออกที่เราเลือก

จริง ๆ แล้วเราอาจจะกำลังหวั่นไหวกับเสียงรอบตัวมากเกินไป มนุษย์เรามักรู้สึกเหมือนถูกจ้องมอง ถูกตัดสินจากสังคมตลอดเวลา ทั้งที่ความจริงอาจไม่ได้มีใครมาเพ่งเล็งชีวิตเราขนาดนั้น ถ้าเรากลับมาโฟกัสที่ตัวเองได้ แล้วค่อย ๆ ตั้งเป้าหมาย พยายามเข้าใกล้มันทีละนิด เราอาจพบว่าตัวเองเดินออกจากจุดเดิมมาได้ไกลกว่าที่คิด

แรงจูงใจจากภายในสำคัญที่สุด เป็นธรรมดาที่ชีวิตเราจะพบเจอกับเรื่องเฟล ๆ สิ่งสำคัญคือการรับมือและก้าวผ่านความรู้สึกล้มเหลวไปให้ได้ ถ้าเราเข้าใจว่าสิ่งที่เราตั้งใจสำคัญกว่าสายตาของคนอื่นและเราก็เติบโตจากความล้มเหลวได้ เราจะมีความกล้าในการเปิดประตูอีกหลายบานข้างหน้า

สิ่งที่เราทำอาจจะเฟล แต่นั่นไม่ได้วัดคุณค่าที่เรามี ไม่ได้แปลว่าสิ่งที่เราทุ่มเทไปไม่มีความหมาย

เพราะอย่างน้อยเราก็กล้าที่จะออกเดิน เราเอาชนะความกลัวได้

อย่าลืมขอบคุณตัวเองที่ “ฉันได้พยายามแล้ว :)”

วันนี้ถ้ายังไม่พร้อมไม่เป็นไร คุณไม่จำเป็นต้องฝืนใจ หากอยากได้กำลังใจดี ๆ อูก้าพร้อมอยู่ตรงนี้กับคุณเสมอ

#OOCAstory


ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/failblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา
#mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

Read More
ย้ายประเทศ ซึมเศร้า เครียด พบจิตแพทย์ สุขภาพจิต

ส่องประเทศที่น่าโยกย้ายไป เพราะมีบริการดูแลใจประชาชนดีเยี่ยม

เมื่อหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับตัวเลขผู้ป่วยที่สูงจนน่าตกใจ ทำให้ระบบการดูแลสุขภาพใจ (Mental Health Care System) ต้องพัฒนาตาม อย่างสหรัฐอเมริกาขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบปัญหาสุขภาพจิตมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกตามรายงานขององค์การอนามัยโลก โดยวัดจากความพิการหรืออัตราการเสียชีวิต ซึ่งเป็นตัวชี้วัดด้านสาธารณสุขที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย สหรัฐอเมริกา🇺🇸อยู่ในอันดับที่สามสำหรับโรคซึมเศร้าแบบ unipolar ตามหลังจีน🇨🇳 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 1 ตามด้วยอินเดีย🇮🇳

สถิติในปี 2019 รายงานว่า 20.6% (ประมาณ 51.5 ล้านคน) ของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา🇺🇸 มีอาการป่วยทางจิต ซึ่งหมายถึงในจำนวนผู้ใหญ่ 5 คน มี 1 คนที่กำลังมีปัญหาสุขภาพใจ ซึ่งมีเพียง 40 % ของจำนวนผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางใจเท่านั้นที่ได้รับการรักษา ซึ่งอินเดีย🇮🇳 จีน 🇨🇳 และสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากความวิตกกังวล โรคจิตเภทและโรคอารมณ์สองขั้วตามรายงานของ World Health Organization (WHO) หรือองค์การอนามัยโลก

ซึ่ง WHO ได้มีการทำงานร่วมกับ NGOs การวิจัยระดับชาติและภาครัฐ ตลอดจนพันธมิตรระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนประเทศต่าง ๆ ในการปรับปรุงระบบการเข้าถึงการรักษาสุขภาพจิตที่มีคุณภาพสูงและการดูแลภาวะซึมเศร้า (depression) โรคลมบ้าหมู (epilepsy) โรคจิตเภท (schizophrenia) ไปจนถึงการใช้สารเสพติด (substance abuse) และจัดการกับอัตราการฆ่าตัวตาย (suicide rate) ที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก

ปัญหาหลักของเรื่องสุขภาพจิตคือการปิดช่องว่างระหว่างผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและผู้ให้บริการ

WHO เสริมว่า “ในปี 2014 ประชากรโลกเกือบครึ่งอาศัยอยู่ในประเทศที่มีสัดส่วนจิตแพทย์น้อยกว่า 1 คนต่อประชากรราว 100,000 คน” โดยเฉพาะในโซนเอเชียที่มีจิตแพทย์อยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่หลายประเทศในยุโรปมีจำนวนผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิตมากพอ เช่น โมนาโก🇲🇨 นอร์เวย์🇳🇴 เบลเยียม🇧🇪 และเนเธอร์แลนด์🇳🇱 โดยแต่ละแห่งมีจิตแพทย์มากถึง 20-40 คนต่อประชากร 100,000 คน ตามด้วยสหรัฐอเมริกา🇺🇸และแคนาดา 🇨🇦 มีจิตแพทย์ประมาณ 13 คนต่อประชากร 100,000

จากบทความของ Business Insider ในปี 2017 ลักเซมเบิร์ก🇱🇺 มีระบบการดูแลสุขภาพที่ติดอันดับต้น ๆ ของโลกโดยมีอายุขัยเฉลี่ยของประชากรอยู่ที่ 82 ปี ในส่วนของการรักษาสุขภาพจิตลักเซมเบิร์กมุ่งเน้นไปที่รูปแบบ “การศึกษาเชิงบวก” ที่สามารถเชื่อมโยง “ทักษะด้านคุณภาพชีวิต” และ “ทักษะแห่งความสำเร็จ” เข้าด้วยกันได้ โดยพื้นฐานแล้วลักเซมเบิร์กจะสอนให้วัยรุ่นค้นพบจุดแข็งที่เป็นเอกลักษณ์ของตนซึ่งแตกต่างจากวิธีการสอนแบบเดิมที่ส่งเสริมให้เด็กสร้างตัวตนเหมือน ๆ กัน ซึ่งวิธีนี้ทำลายความเจ็บป่วยทางจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างพลเมืองที่มีความสุขและมีคุณภาพมากขึ้น

สวิตเซอร์แลนด์🇨🇭หนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยและมีความก้าวหน้าในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มีเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมและมีอำนาจในการแข่งขันสูงคล้ายคลึงกับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนอกจากจะติดอันดับท็อปของประเทศที่คนอยากไปอยู่มากที่สุดมาโดยตลอด สวิตเซอร์แลนด์ยังมีระบบ Health Care ที่ขึ้นชื่อมาก ๆ อย่างประกันสุขภาพที่มีบริษัทประกันภัยมากกว่า 58 แห่งให้ประชาชนได้เลือก แล้วยังครอบคลุมในเรื่องของการรักษาทางจิตเวช การใช้สารเสพติด และอื่น ๆ อีกมากมายโดยมีการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพจิตให้มีบริการเพียงพอแก่ความต้องการ สะดวกแก่ประชาชน และมีค่ารักษาที่จับต้องได้ คุ้มครองและควบคุมตามข้อกำหนดเรื่องภาษี บางรัฐเลือกที่จะเจรจากับบริษัทประกันภัย เพื่อให้อัตราค่ารักษาและค่ายาคงที่สำหรับประชาชน ทำให้ประชาชนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพียง 10-20 % ของค่ารักษาทั้งหมดเท่านั้น

นอร์เวย์🇳🇴เป็นหนึ่งในประเทศที่การดูแลสุขภาพจิตที่ครอบคลุม มีการจัดหาทรัพยากรสำหรับผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกอย่างเพียงพอ รวมถึงคลินิกผู้ป่วยทางจิตเวชซึ่งโดยทั่วไปเป็นห้องฉุกเฉินสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต นอกจากนี้นอร์เวย์ยังประกาศโครงการริเริ่ม “การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา” ในปี 2017 สำหรับผู้ป่วยจิตเวชที่ต้องการลดหรือไม่ต้องการใช้ยา เนื่องจากเห็นความสำคัญของสิทธิมนุษยชนและอิสระทางร่างกายผู้ป่วย

อย่างไรก็ตามในหลาย ๆ ประเทศ แม้จะมีระบบการดูแลสุขภาพใจที่ได้มาตรฐาน แต่ก็ยังพบการละเมิดสิทธิต่อผู้ป่วยทางจิตโดยอาศัยคำว่า “การรักษา” ในการเอาเปรียบ ยกตัวอย่างประเทศอาร์เจนตินา🇦🇷 การขอคำปรึกษาและไปพบนักจิตวิทยาถือเป็นเรื่องธรรมดาและเปิดกว้าง ไม่เหมือนกับประเทศอื่น ๆ ที่มองว่าการรักษาสุขภาพจิตและความเจ็บป่วยทางจิตเป็นเรื่องต้องห้าม แม้จะมีจำนวนผู้ป่วยเยอะขึ้นเรื่อย ๆ แต่อาร์เจนตินาก็มีจำนวนนักจิตวิทยาต่อหัวประชากรมากที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าสถาบันบางแห่งในอาร์เจนตินาทำร้ายผู้ป่วย บังคับให้อยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขอนามัย หรือไม่ปลอดภัยและไม่ได้ให้การดูแลสุขภาพจิตที่เหมาะสม

สำหรับประเทศไทย🇹🇭นั้นกรมสุขภาพจิตได้รายงานจำนวนผู้ที่พยายามทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายโดยเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน ซึ่งสุขภาพจิตเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตรองจากโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ นับว่าสุขภาพจิตของคนไทยอยู่ในภาวะวิกฤติ ตัวอย่างข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขในปี 2017 กล่าวว่ามีผู้เข้ารับการรักษาเพียง 48.5% ของผู้ป่วยซึมเศร้าทั้งหมด ซึ่งผู้เกี่ยวข้องตั้งเป้าว่าจะผลักดันการเข้าถึงบริการให้ได้ 70% ภายในปี พ.ศ.2564 แต่ขณะเดียวกันตัวเลขผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงดูเหมือนว่าผู้ให้บริการไม่สมดุลกับความต้องการของผู้ป่วย รวมถึงจำนวนเยาวชนต้องการปรึกษาผ่านสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถือเป็นสัญญานว่าประเทศไทยต้องผลักดันบริการด้านสุขภาพจิตให้ถึงมือประชาชนมากยิ่งขึ้น

เมื่อผู้ต้องการใช้บริการมากขึ้น #อูก้ามีทางออก มีคนไทยจำนวนมากที่ตระหนักถึงปัญหานี้ ในปัจจุบันนวัตกรรมการปรึกษาสุขภาพจิตแบบออนไลน์เริ่มเป็นที่นิยม อย่างแอปพลิเคชันอูก้าเองที่อยากช่วยให้ทุกคนเข้าถึงบริการปรึกษาด้านสุขภาพจิตสามารถพูดคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาสะดวกทุกที่ทุกเวลาในราคาที่จับต้องได้ นอกจากนี้อูก้ายังมีแพ็กเกจดี ๆสำหรับองค์กรและบริการปรึกษาฟรีค่าใช้จ่ายสำหรับนักศึกษาอีกด้วย

ทุกประเทศล้วนทีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน อยู่ที่เราเริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง ? ปัญหาท่ีเกิดขึ้นล้วนรอวันได้รับการแก้ไข ดังนั้นการรักษาสุขภาพจิตเช่นเดียวกับปัญหาอื่น ๆ แทนที่จะตีตราว่าเป็นความอับอายที่เกิดขึ้นกับ “คนอื่น” อย่าลืมว่าทุกคนสามารถได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสุขภาพจิตได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิหลัง การเลี้ยงดู ระดับรายได้ เชื้อชาติ วัฒนธรรม การทำให้สมาชิกในครอบครัวและผู้ที่ต้องการบริการสุขภาพจิตสบายใจที่จะเข้ารับบริการด้านสุขภาพใจจึงสำคัญ เพราะไม่ใช่เรื่องที่เขาต้องต่อสู้หรือดิ้นรนเพื่อที่จะได้รับการรักษาที่เหมาะสม

จนกว่าความเจ็บป่วยทางจิตจะได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับภาวะสุขภาพทางกายอื่น ๆ เราสามารถเปิดใจเรียนรู้และสร้างมาตรฐานการดูแลสุขภาพใจที่เหมาะสมไปด้วยกันได้ ไม่ว่าจะตึงเครียดจากการระบาดของ COVID-19 หรือสถานการณ์ใด ๆ หากมีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาช่วยดูแลใจก็ไม่ต้องห่วง อูก้าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่พร้อมให้บริการเสมอ เรื่องของใจให้เรารับฟัง

#OOCAknowledge


ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/rawblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา
#mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

https://www.nami.org/mhstats

https://ps.psychiatryonline.org/doi/10.1176/appi.ps.201700412

https://www.bustle.com/p/what-does-mental-health-care-look-like-abroad-this-is-how-9-countries-treat-mental-illness-2885010

https://www.usnews.com/news/best-countries/articles/2016-09-14/the-10-most-depressed-countries

https://resourcecenter.thaihealth.or.th/files/90/จับตา 10 พฤติกรรมสุขภาพคนไทย ปี 63.pdf

https://www.talkspace.com/blog/america-mental-health-care-systems/

Read More
ฝัน ทำนายฝัน ฝันร้าย สุขภาพจิต เครียด ซึมเศร้า พบจิตแพทย์

รู้สึกจริงหรือแค่ฝันไป…รู้ไหมความฝันบอกอะไรกับเรา ?

“เมื่อคืนฝันว่าได้เป็นแฟนกับซงจุงกิว่ะ”

“คืนก่อนเราฝันแปลกมาก ฝันว่าทะเลาะกับเพื่อน แล้วเพื่อนก็ลุกขึ้นเต้นเฉยเลย”

“เคยฝันเห็นใครไม่รู้พาไปเที่ยวสวนสนุก ในฝันมีความสุขมากเลย แต่ตื่นมาแอบหลอนแฮะ ไม่เคยเห็นหน้าคนนั้นมาก่อนเลย”

“ฝันว่าโดนหมากัด แบบนี้ตีเลขอะไรได้บ้าง จะเอาไปซื้อหวย”

รู้ไหมว่าเมื่อคนเราหลับใหล ร่างกายของเราสามารถสร้างสิ่งลึกลับสิ่งหนึ่งขึ้นมาได้ นั่นก็คือ “ความฝัน” ความฝันในที่นี้ไม่ใช่การที่เราจินตนาการหรือนึกอยากให้ส่ิงใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น แต่มันคือเรื่องราวที่เราเองก็เลือกไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นแบบไหน เพราะบางเรื่องที่ฝันก็ช่างหลุดโลกเกินจินตนาการของเราไปไกล แถมยังมีความเชื่อมากมายเกี่ยวกับฝัน ที่มักจะส่งผลต่อความรู้สึกของเรายามตื่นอีกด้วย

💭 ความฝันคืออะไรกันแน่ ?

ในทางวิทยาศาสตร์ “ความฝัน” คือภาวะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในขณะที่เราหลับ โดยสมองจะฉายภาพสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่มีอยู่จริงหรือไม่มีอยู่จริงขึ้นมา คนเราไม่สามารถคาดเดาฝันของตัวเองได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้น หรือการบังคับให้ตัวเองฝันหรือไม่ฝัน และแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะพยายามศึกษาเกี่ยวกับความฝันมากเท่าไหร่ แต่ก็ยังไม่สามารถอธิบายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความฝันได้อย่างแน่ชัด แต่หลาย ๆ ทฤษฎีก็เชื่อว่าความฝันมาจากจิตใต้สำนึกลึก ๆ ของคนเรานี่แหละ ที่อาจมีความกังวลหรือมีอะไรอยู่ภายในใจ ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบของความฝันโดยไม่รู้ตัว

🤔 แล้วทำไมเราถึงฝัน ?

ในปัจจุบันยังไม่มีการพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่าทำไมคนเราถึงฝัน แต่ก็พอจะมีการคาดเดาและการศึกษาที่น่าสนใจถึงความเป็นไปได้ของสาเหตุในการฝัน เช่น

💭 เราฝันเพราะสมองกำลังจัดการความจำของตัวเอง

💭 เราฝันเพราะผลกระทบจากความคิด ความเครียด อารมณ์

💭 เราฝันเพราะสารเคมีและกระแสไฟฟ้าในสมองเปลี่ยนไป

💭 เราฝันเพราะเป็นสัญญาณการเจ็บป่วยของร่างกาย

เพราะความฝันอาจเป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าที่คิด มีทฤษฎีที่น่าสนใจเกี่ยวกับความฝันมากมาย

ในทางจิตวิทยาแล้วได้มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องความฝันอยู่บ้าง โดยเฉพาะผลงานของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ นั่นก็คือ ซิกมันด์ ฟรอยด์  (Sigmund Freud)  ซึ่งเขามองว่าความฝันนั้นคือการแสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก และความปรารถนาบางอย่าง ซึ่งอาจจะถูกกดทับอยู่ในจิตใต้สำนึก (Unconscious) และเขาเชื่อว่าส่วนมากแล้วความฝันมักจะเกี่ยวข้องกับแรงขับ (Drive) หรือความปรารถนาทางเพศบางอย่างอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่น่าสนใจของเอียน วอลเลซ  (Ian Wallace)  นักจิตวิทยาผู้ศึกษาเกี่ยวกับจิตใต้สำนึก ที่มองว่าความฝันนั้นคือการบ่งบอกถึงความรู้สึกลึก ๆ ของมนุษย์ เป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเอง โดยเขาใช้เวลามากกว่า 30 ปีในการศึกษาความฝันกว่า 150,000 ฝัน จนได้ข้อสังเกตว่าความฝันอาจจะมีรูปแบบที่คอยกำหนดลักษณะของความฝันนั้น ๆ อยู่ จึงทำให้เราสามารถจำแนกความฝันที่คล้ายกันออกเป็นสาเหตุต่าง ๆ ได้ เช่น

⚠️ ฝันว่าตกจากที่สูง อาจจะหมายถึงเรากำลังจดจ่อกับบางสิ่งบางอย่างมากเกินไป

🧚‍♀️ ฝันว่าบินได้ แปลว่าเรากำลังปล่อยตัวให้เป็นอิสระจากบางอย่างที่ทำให้รู้สึกแย่

🦷 ฝันว่าฟันหลุด ความฝันนี้พบมากเป็นอันดับ 2 เลยทีเดียว โดยฝันนี้หมายถึงเรากำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์บางอย่างที่ทำให้เราเสียความมั่นใจไป

🏃🏻 ฝันว่าโดนวิ่งไล่ แปลว่า เรากำลังมีเหตุการณ์บางอย่างที่เราต้องเผชิญหรือต่อสู้กับมัน แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี

โดยสรุปแล้วความฝันในมุมมองของนักจิตวิทยาจึงเปรียบเสมือนโลกที่เราสามารถปลดปล่อยความคิด ความต้องการ ความปรารถนาบางอย่างที่ถูกกดทับไว้ได้นั่นเอง

“อย่าปล่อยให้ฝันส่งผลกระทบกับเรา”

บางทีเราก็จดจำความฝันไม่ได้ รู้แต่ว่าเมื่อคืนฝันอะไรเยอะแยะไปหมด แต่หลายครั้งคนเราเอาปรากฎการณ์ความฝันที่เกิดขึ้นมาแปลความหมายตามความเชื่อที่แตกต่างกันไป และทำให้ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจยามตื่น เช่น ไทยเราหากฝันเห็นงูเขาว่าจะเจอเนื้อคู่ ตื่นมาก็อาจจะอารมณ์ดี แต่ของฝรั่งบางที่เชื่อว่าเป็นการฝันที่บ่งบอกถึงศัตรู ตื่นมาก็อาจจะหัวเสียหน่อย ๆ ดังนั้นแล้วสิ่งที่เราทำได้ คือการที่ไม่เอาตัวเองไปผูกติดกับความฝันมากเกินไปจนกระทบต่อจิตใจของเราเอง

อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังมีความฝันที่ส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตและจิตใจมากเกินไป เช่น ฝันร้ายบ่อยครั้ง ฝันติดต่อกันต่อเนื่องหลายคืน ฝันแล้วเหนื่อยมาก ฝันเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณของความผิดปกติที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางอารมณ์หรือสุขภาพ ซึ่งเราสามารถปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ เพื่อที่จะได้วิเคราะห์และประเมินต่อไปได้ถึงสาเหตุของการฝันเหล่านั้น

คืนนี้อูก้าขอให้ทุกคนนอนหลับฝันดี และอย่าลืมว่าหากไม่สบายใจ ปรึกษาอูก้าได้เสมอ ทีมนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของเราไม่ได้มาขายฝัน แต่จะมาช่วยคุณหาทางออกจากฝันร้ายด้วยกันแบบไม่ต้องเหนื่อยคนเดียวอีกต่อไป 💙

#OOCAknowledge


ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/dreamblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา
#mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.pobpad.com/ฝัน-เรื่องลึกลับของสมอง

https://thestandard.co/podcast/ruok24/

https://themomentum.co/the-list-psychologist-reveals-the-9-most-common-dreams-and-meaning/

Read More
โควิด เครียด ฆ่าตัวตาย

เมื่อโควิดทำให้คนคิด..ฆ่าตัวตาย สัญญาณอันตรายที่ต้องระวัง!

สถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 นำมาซึ่งความรู้สึกวิตกกังวลและความรู้สึกสิ้นหวังของใครหลาย ๆ คน จนทำให้เราได้ยินข่าวเศร้าของคนที่ตัดสินใจ “ฆ่าตัวตาย” จากสถานการณ์อันน่าหดหู่ใจที่เกิดขึ้นนี้ ซึ่งหลาย ๆ ครั้งเหตุผลในการเลือกจากไปก็มีความเชื่อมโยงกับ “โควิด” ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวัง หวาดกลัวที่จะป่วยหรือจะกลายเป็นภาระของคนรอบข้าง ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโควิดไม่ได้ส่งผลกระทบแค่เพียงร่างกาย แต่ส่งผลกระทบต่อจิตใจในระดับที่ทำให้หลายชีวิตต้องจากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ

“ความเครียดพุ่งสูง ยอดฆ่าตัวตายเพิ่ม สวนทางกับสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง”

ย้อนไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้เห็นข่าวของการฆ่าตัวตายที่มีเหตุผลเกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิดอยู่หลายครั้ง ซึ่งสิ่งที่น่าเศร้าคือโควิดทำให้เกิดความเครียดที่พุ่งสูงขึ้น สวนทางกับสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง จนทำให้หลายคนเกิดความเครียดสะสม และเมื่อรู้สึกว่าไม่เห็นทางออกใด ๆ การฆ่าตัวตายจึงกลายมาเป็นทางออก

ซึ่งปัญหาอัตราการฆ่าตัวตายในช่วงสถานการณ์โควิดนั้นเกิดขึ้นทั่วโลก และตัวเลขกำลังไต่ระดับขึ้นสูงอย่างน่าตกใจ จุดเริ่มต้นของปัญหานี้หลัก ๆ มาจากความเครียดที่พัฒนาไปเป็นความกังวล ความสิ้นหวัง และความรู้สึกแตกสลายจากการที่โควิดพรากเอาทั้งหน้าที่การงาน ครอบครัว และชีวิตความเป็นอยู่ให้เปลี่ยนไปตลอดกาล นับว่าเป็นอีกวิกฤตหนึ่งที่เราควรเฝ้าระวัง โดยเฉพาะในประเทศไทยที่กำลังมีตัวเลขอัตราการฆ่าตัวตายในปีหลัง ๆ สูงขึ้นเช่นกัน

“ยิ่งโควิดระบาดยาวนาน คนที่ได้รับผลกระทบและเสี่ยงฆ่าตัวตายยิ่งขยาย”

โดยอธิบดีกรมสุขภาพจิต พญ.พรรณพิมล วิปุลากร เคยให้ข้อมูลการติดตามอัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยกับทางไทยรัฐออนไลน์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 ไว้ว่า คนไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายที่ค่อย ๆ ไต่ระดับสูงขึ้น โดยในปี 2563 มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงถึง 7.3 คนต่อแสนประชากร โดยกลุ่มเสี่ยงที่ฆ่าตัวตายมีปัจจัยมาจากกลุ่มผู้มีปัญหาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในครอบครัวหรือคนใกล้ชิด กลุ่มผู้เจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีปัญหาสุขภาพจิต หรือมีภาวะซึมเศร้า และกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ

ซึ่งในช่วงปี 2563 กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเป็นกลุ่มที่ต้องเพิ่มการเฝ้าระวังมากขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้เราอาจจะเรียกได้ว่า “ยิ่งโควิดยาว ยิ่งทำให้กลุ่มขยาย” เพราะคนกลุ่มนี้คือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง หลายคนกลายเป็นคนว่างงาน หลายคนสถานะการเงินไม่ดีอยู่แล้วก็ยิ่งโดนเหยียบซ้ำไปใหญ่ สุดท้ายก็กลายเป็นหนึ่งคนที่เลือกการฆ่าตัวตายเป็นคำตอบให้ตัวเอง

สัญญาณที่บ่งบอกว่าคนรอบข้างอาจคิด ‘ฆ่าตัวตาย'”

ในสถานการณ์โควิดแบบนี้ การสังเกตสัญญาณอันตรายสู่การฆ่าตัวตายจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุถึงสัญญาณของการฆ่าตัวตายที่สามารถสังเกตได้ เช่น

🙅🏻‍♂️ เริ่มแยกตัวออกจากสังคม อยู่โดดเดี่ยว

🤐 ไม่พูดกับใคร ไม่ติดต่อกับใคร

😩 มีอาการนอนไม่หลับเป็นเวลานาน

😰 หน้าตาเศร้าหมอง อมทุกข์อยู่ตลอดเวลา

🤯 มีความวิตกกังวลถึงสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่สามารถปล่อยวางได้

😭 ชอบพูดว่าอยากตายหรือไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรือบางครั้งก็โพสต์ข้อความสั่งเสีย

😤 บางรายอาจจะมีอารมณ์ที่แปรปรวน เช่น จากที่เคยเศร้ามานาน ก็กลายเป็นสบายใจอย่างผิดหูผิดตา

“คนใกล้ชิดช่วยได้ เป็นที่พักใจให้เบื้องต้น”

สัญญาณการฆ่าตัวตายเหล่านี้ หากญาติพี่น้องหรือคนสนิทพบเจอจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นหากเราพบสัญญาณการคิดฆ่าตัวตายจากคนใกล้ตัว เราอาจจะให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ดังนี้

  1. แสดงความเต็มใจช่วยเหลือ

สิ่งแรกที่เราสามารถทำได้คือการแสดงความเต็มใจช่วยเหลือ เพราะสิ่งหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้คนอยากฆ่าตัวตายตัดสินใจทำให้สำเร็จ ก็คือความรู้สึกเป็นภาระต่อคนรอบข้าง หลายคนที่ฆ่าตัวตายคิดว่าสิ่งนี้จะช่วยจบปัญหาให้กับเขาและคนรอบข้างได้ ย่ิงในสถานการณ์โควิดความรู้สึกสิ้นหวังก็ยิ่งสูงขึ้น ปัญหาอันเนื่องมาจากโควิดก็มากขึ้น ทำให้คนอยากฆ่าตัวตายอาจจะมีมากขึ้นตามไปด้วย

  1. ตั้งใจรับฟัง

ถ้าเราเจอกับสถานการณ์คนใกล้ตัวอยากฆ่าตัวตายแล้วไม่รู้ว่าจะต้องพูดอย่างไร ให้เราตั้งใจรับฟัง สนใจกับสิ่งที่เขาพูดอย่างจริงจังโดยไม่ตัดสินไปว่าปัญหานั้นเล็กหรือใหญ่ หลาย ๆ คนที่เผชิญกับสถานการณ์ที่คนใกล้ตัวคิดอยากฆ่าตัวตายอาจจะไม่รู้ว่าควรจะพูดอะไร แต่สิ่งหนึ่งที่คุณทำได้ก็คือ “การฟัง” ให้อีกฝ่ายได้ระบายปัญหาโดยมีเรารับฟังอย่างจริงใจ

  1. ถามให้เล่า ชวนสะท้อนความคิด

ใช้วิธีการทวนคำพูดของพวกเขา เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราตั้งใจรับฟัง ตั้งใจรับรู้ความรู้สึกและพยายามที่จะเข้าใจเขา พยายามให้เขาพูดเล่าเรื่องราว ความรู้สึกคับข้องใจที่เกิดขึ้นว่าเพราะอะไรที่ทำให้เขาอยากฆ่าตัวตาย สิ่งใดที่ป้องกันไม่ให้เขาฆ่าตัวตาย

4. ภาษากายนั้นสำคัญ

แสดงความเห็นอกเห็นใจผ่านทั้งสีหน้าและภาษากายว่าเราตั้งใจฟังเขาจริง ๆ ไม่ตัดสิน ไม่สั่งสอน ไม่พูดปัดความรู้สึกของคนที่อยากฆ่าตัวตายว่าเป็นเรื่องที่เล็กน้อย

5. ระวังคำพูดท่ีใช้

เช่น “ดูสิว่าคนนั้นยังผ่านไปได้” ซึ่งจะกลายเป็นการตัดสินว่าคนที่อยากฆ่าตัวตายไม่เข้มแข็งพอ “อย่าไปคิดมากเลย” ซึ่งกลายเป็นว่าเขาผิดใช่ไหมที่คิดมากไปจนอยากฆ่าตัวตาย ให้โอกาสเขาได้ระบายความทุกข์ ที่ทำให้เขาได้ปลดปล่อยความคิดอยากฆ่าตัวตายออกมา และทำให้รู้สึกว่ายังมีคนรับฟังและเคียงข้างเขา

“ช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว ต้องติดต่อแหล่งช่วยเหลืออย่างจริงจัง เพื่อป้องกันและยับยั้งการฆ่าตัวตายสำเร็จ”

วิธีการ 5 ข้อที่เราแนะนำเป็นเป็นเพียงสิ่งที่เราสามารถทำเองได้เพื่อยับยั้งการฆ่าตัวตายเบื้องต้น แต่อีกสิ่งที่สำคัญคือการติดต่อหาแหล่งช่วยเหลืออย่างจริงจัง เพราะความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายไม่ใช้สิ่งที่เกิดขึ้นและจะหายไปเองได้ตลอด ซึ่งเราสามารถช่วยเหลือต่อไปได้ดังนี้

1. พาไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

ผู้ที่คิดฆ่าตัวตายทุกรายต้องได้รับการตรวจประเมินสภาพจิต เพราะอาจจะเกิดจากการป่วยเป็นโรคจิตเวชบางประการ เช่น โรคซึมเศร้า ไบโพล่าร์ ซึ่งต้องได้รับการบำบัดรักษาและดูแลอย่างต่อเนื่องจากผู้เชี่ยวชาญ

2. กระตุ้นให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ผู้เชี่ยวชาญอาจจะแนะนำให้คนใกล้ตัวชวนผู้ที่มีความคิดฆ่าตัวตาย เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่างให้ดียิ่งขึ้น เช่น ชักชวนให้ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ได้ติดต่อสื่อสารกับผู้คน เน้นการดูแลสุขภาพของตัวเองมากขึ้น

3. ติดตามการรักษา

หลังจากที่ได้พบแพทย์และได้รับยาหรือวิธีการบำบัดมา คนใกล้ชิดก็ควรจะช่วยตรวจสอบว่าเขาได้ทำตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ หากอาการไม่ดีขึ้นต้องรีบแจ้งแพทย์ทันที

“ไม่ได้มีความคิดอยากฆ่าตัวตายก็พบจิตแพทย์ได้”

รู้ไหมว่า คนทั่วไปก็สามารถเข้ารับการปรึกษากับจิตแพทย์ได้ด้วยเช่นกัน เพราะการเข้าพบจิตแพทย์ช่วยให้สุขภาพจิตของเราดีขึ้นได้ ทำให้เรามีความเข้าใจใจตนเองมากขึ้น ผ่านการพูดคุยกับจิตแพทย์ที่จะทำหน้าที่สะท้อนความรู้สึกของเรา ทำให้เรามองเห็นตัวเอง ยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้น

ซึ่งการยอมรับตัวเอง นับว่าเป็นด่านแรกของการแก้ไขปัญหา และยังทำให้คนรอบข้างเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น การยอมรับตัวเองของคนที่คิดฆ่าตัวตายก็จะนำไปสู่การบำบัดและรักษาที่จะทำให้อาการบรรเทาลง ถึงแม้ว่าความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายอาจจะไม่ได้หายไปในทันทีทันใด แต่ก็อาจจะทำให้รู้สึกทุกข์ทรมานน้อยลง เพราะได้ผู้รับฟังที่เชี่ยวชาญในการดูแลใจคอยอยู่เคียงข้าง

ในช่วงสถานการณ์โควิดที่ยากลำบากนี้ หากคุณ หรือคนใกล้ตัวกำลังเป็นอีกคนที่รู้สึกทุกข์ใจจนเคยคิดอยากฆ่าตัวตาย อูก้าขอจับมือคุณไว้แน่น ๆ และขอโอบกอดให้กำลังใจ คุณสามารถติดต่อเรามาได้เสมอ อูก้าและทีมนักจิตวิทยาแลทีมจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมรับฟังคุณจากหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่ทำให้ใจของคุณหนักแค่ไหน ให้เราได้ช่วยคุณบรรเทาความรู้สึกตรงนี้ลงนะคะ คุณมีเราเคียงข้างเสมอ


ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/sccovid19blog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์ #COVID19

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.moph.go.th/index.php/news/read/222

https://www.cigna.co.th/health-wellness/tip/jigsawforgoodlife-ep4

https://www.hfocus.org/content/2019/09/17809

https://www.thairath.co.th/news/society/2025792

https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1134

https://www.facebook.com/740509479323038/posts/3345507885489838/

Read More