เหตุใดความเฉยชาจึงน่ากลัวกว่าปัญหาวุ่นวายใจ

“มีงานวิจัยจิตวิทยาสังคมที่พบว่า ในระยะแรกเริ่มคนที่ถูกลอตเตอรี่จะมีความสุขสุดๆ แต่ 18 เดือนผ่านไป ระดับความสุขของพวกเขาจะค่อย ๆ ลดลงจนเท่ากับระดับความสุขของคนที่ไม่ถูกลอตเตอรี่”
.
คำพูดนี้ประยุกต์ใช้ได้อย่างไรกับความสุขในที่ทำงาน ?
.
เพื่อน ๆ เคยรู้สึกไหม เริ่มต้นสัปดาห์มาด้วยความสดใส แต่ไม่กี่วันผ่านไป อยู่ดีๆ ไฟแห่งการทำงาน ก็มอดลงเสียดื้อ ๆ อาการเหล่านี้ไม่ใช่ความขี้เกียจแต่อย่างใด แต่ในทางจิตวิทยา อาการนี้ เรียกว่า อาการหมดกำลังใจในการทำงาน (Work Slump) วันนี้อูก้าจะชวนเพื่อนๆมาทำความรู้จักอาการนี้และบอกเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยเรียกพลังใจให้เพื่อน ๆ กลับมาทำงานด้วยพลังเต็มเปี่ยมกันอีกครั้งกัน !
.
อาการหมดกำลังใจในการทำงาน หรือ Work Slump เป็นสภาวะหมดพลังใจ มีอาการเบื่องาน ไม่อยากทำอะไร กายและใจอ่อนล้า ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจกลายเป็นอุปสรรคในการทำงานได้ โดยในทางจิตวิทยา กล่าวว่า สาเหตุหนึ่งของอาการหมดกำลังใจในการทำงานนั้น มาจาก ภาวะ Hedonic Adaptation หรือ การที่สภาวะในจิตใจที่โดยธรรมชาติจะแปรเปลี่ยนความสุขหรือความทุกข์ให้เป็นความรู้สึก “เฉย ๆ”
..

Phillip Brickman และคณะได้อธิบายปรากฎการณ์ Hedonic Adaptation ผ่านงานวิจัยจิตวิทยาสังคม โดยเปรียบเทียบระดับความสุขของคนที่ถูกลอตเตอรี่และคนที่ไม่ถูก ในวารสาร Journal of Personality and Social Psychology ไว้ว่า แม้ว่าในระยะแรกเริ่มคนที่ถูกลอตเตอรี่จะมีความสุขสุดๆ แต่ 18 เดือนผ่านไป ระดับความสุขของพวกเขาจะค่อย ๆ ลดลงจนเท่ากับระดับความสุขของคนที่ไม่ถูกลอตเตอรี่ เช่นเดียวกัน ในแง่ของการทำงาน เมื่อเวลาผ่านไป ความสนุกในทำงาน เมื่อถึงจุดหนึ่งก็กลายเป็นความเฉยๆ จนถึงรู้สึกหมดแรงใจในที่สุด
.
นอกจากนี้ สารเคมีในสมองที่มีหน้าที่ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกอย่าง โดปามีน (Dopamine) ก็เป็นอีกสาเหตุของอาการ Work Slump เช่นกัน โดยสถาบันวิจัย Asociación RUVID ในสเปน เผยว่า สารโดปามีน นอกจากจะหลั่งเมื่อเกิดความรู้สึกพึงพอใจแล้ว สารนี้ยังหลั่งเมื่อร่างกายเกิดความเครียดเช่นกัน และโดปามีนมักจะหลั่งเพื่อให้ร่างกายทำตามสิ่งที่ต้องการให้สำเร็จ ดังนั้น เมื่อเราเริ่มรู้สึกคุ้นเคยกับงาน ไม่ได้รู้สึกว่างานนี้ท้าทาย หรือน่าตื่นเต้นอีกต่อไป ก็อาจมีแนวโน้มที่โดปามีนจะลดต่ำลง เพราะร่างกายไม่เกิดการกระตุ้น ส่งผลให้เรารู้สึกเอื่อยเฉื่อย เบื่อหน่าย และหมดกำลังใจที่จะทำงานเช่นกัน
.
แล้วเราจะเรียกแรงใจกลับมาอย่างไรดี?
.
อูก้ามีเคล็ดลับดี ๆ จาก Fastcompany ที่จะช่วยเรียกพลังใจของเพื่อน ๆ กลับมา รับรองว่าเป็นวิธีที่ไม่ยากและสามารถนำไปปรับใช้กับทุกคนได้อย่างแน่นอน
.
ตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของงาน
เมื่อเพื่อน ๆ หลายคนทำงาน เพื่อน ๆ อาจโฟกัสแค่ว่างานของเราจะเสร็จไหม หรือจะสามารถพัฒนาโปรเจกต์นี้ได้อย่างไรบ้าง แต่หลาย ๆ ครั้ง เพื่อนๆ อาจหลงลืมไปว่า งานทุกชิ้นที่เราทำนั้นมีคุณค่าและสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่นอยู่เสมอ การตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของงานที่เราทำ ว่างานของเราจะมอบความสะดวกสบายและสร้างคุณประโยชน์ให้กับใครบ้าง จะช่วยเรียกขวัญกำลังใจในการทำงาน และทำให้เพื่อน ๆ สามารถกลับมาทำงานได้อย่างเต็มที่ได้
.
ลองเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ
บางครั้งเพื่อน ๆ อาจจะรู้สึกว่า ทำงานมานานแค่ไหน ก็ไม่ก้าวหน้าสักที จนทำให้หมดกำลังใจที่จะไปต่อ แต่จริง ๆ แล้ว เป็นเพราะว่าเรารู้สึกว่าไม่มีอะไรให้เรียนรู้แล้วต่างหาก ดังนั้นการเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เช่น สมัครคอร์สเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาสกิลต่าง ๆ หรือ เข้าร่วมเวิร์กช็อปของที่ทำงาน ทั้งหมดนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะเรียกไฟในการทำงานกลับมาอีกครั้ง
.
สร้างเป้าหมายในแต่ละวัน
ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเลือกที่งานที่ต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง หลายคนต้องทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งอาจทำให้เพื่อน ๆ รู้สึกสูญเสียการควบคุม ดังนั้นการสร้างเป้าหมายของงานจะช่วยให้เพื่อน ๆ สามารถฝึกการแก้ไขปัญหาและรับรู้ถึงความสำเร็จของตน แม้ว่าจะเป็นความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ความสำเร็จเหล่านี้ก็ช่วยสร้างความภาคภูมิใจที่เป็นเหมือนพลังให้เพื่อน ๆ กลับมาทำงานอย่างมีความสุขในวันต่อ ๆ ไป
.
พูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน
เมื่อรู้สึกหมดพลังใจในการทำงาน เพื่อน ๆ อาจจะรู้สึกห่างเหินกับเพื่อนร่วมงานด้วยเช่นกัน การเข้าไปนั่งคุยกับเพื่อนร่วมงาน เล่าถึงสภาวะหมดพลังใจให้พวกเขาฟัง ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยได้ เพราะนอกจากที่จะทำให้พวกเขาเข้าใจถึงสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่และรู้สึกผิดน้อยที่ลงกับความรู้สึกไม่อยากทำอะไร เพื่อน ๆ อาจพบว่า จริงแล้ว ๆ พวกเขาก็อาจเคยพบเจอกับสภาวะหมดพลังใจเช่นกัน การแชร์ปัญหาเหล่านี้ให้คนอื่นฟัง ทำให้เรารู้ว่า เรายังมีคนที่พร้อมอยู่เคียงข้างในทุกปัญหาเสมอ
.
ภาวะหมดพลังใจ อาจทำให้เรารู้สึกเหมือนรถที่กำลังออกเดินทางไปบนท้องถนน แต่อยู่ดี ๆ เชื้อเพลิงก็หมดลงก่อนที่จะไปถึงปลายทาง จนทำให้ไปต่อไม่ได้
.
ลองหาเวลาดับเครื่องยนต์ แล้วเติมเชื้อเพลิงสักนิด ก่อนที่จะออกเดินทางต่อ เผลอ ๆ รถของเราอาจจะวิ่งได้ไกลกว่าเดิม เช่นกัน หากเพื่อน ๆ รู้สึกอ่อนล้า อูก้าจะขอชวนเพื่อน ๆ มาพักกายใจกันสักนิด ก่อนที่จะออกเดินทางกันต่อ ไม่ว่าจะหมดแรงใจสักกี่ครั้ง อูก้าจะคอยรับฟังและอยู่เคียงข้างตรงนี้เสมอ!

.
ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy
.⠀
สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD
.

OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #depression #workslump #หมดไฟ #หมดพลังในการทำงาน #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

,
Sources:
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/690806/
https://www.forbes.com/sites/carolinecastrillon/2020/01/12/how-to-get-out-of-a-work-slump/?sh=12c6af0b75e2
https://www.fastcompany.com/90738302/5-ways-to-get-out-of-a-work-slump

Read More

กาย On-Site ใจ On-Bed = เมื่อคุณมาทำงาน แต่ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว (Presenteeism)

กาย On-Site ใจ On-Bed = ภาวะ Presenteeism : เมื่อคุณมาทำงาน แต่ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว / ภาวะ Presenteeism เป็นการทำงานทั้ง ๆ ที่มีสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่พร้อมที่จะทำงาน ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย หรืออาการป่วยทางใจที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่กล้าที่จะลาหยุด เพราะกลัวจะถูกมองว่าเอาจริงเอาจังกับงานน้อยกว่าพนักงานคนอื่น ๆ

.

แล้วทำไมตัวเราถึงตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism ล่ะ?

.

นักจิตวิตยาคลินิกของอูก้าได้ให้คำแนะนำกับเราว่าการที่ผู้คนตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism เกิดได้หลายปัจจัย แต่ขอแบ่งเป็นสองข้อใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

.

1. ปัจจัยทางสังคมอันเกิดจาก วัฒนธรรมและนโยบายของบริษัทในที่ทำงานมองว่าการทำงานล่วงเวลาเป็นเรื่องที่ดี หรือที่บริษัทมีงานเยอะจนอาจจะทำงานไม่ทัน สิ่งเหล่านี้จึงทำให้พนักงานไม่กล้าพักงานหรือลางาน และพยายามทำงานให้ดีที่สุด เพื่อป้องกันการให้ออกจากงาน

2. ปัจจัยเรื่องของส่วนบุคคลหรือด้านจิตใจ คนที่ตกอยู่ในสภาวะ Presenteeism อาจรู้สึกว่าไม่ชอบปฏิเสธ ไม่กล้าลา กลัวการทำให้คนอื่นเดือดร้อน เพราะว่าแคร์คนอื่นมากจนมองข้ามความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง

.

ดังนั้นเราจึงแสดงออกถึงความทุ่มเทและความตั้งใจในการทำงาน เพื่อสร้างความประทับใจให้กับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน แม้ว่าใจของเราอยากจะพักผ่อนหรือไปทำอย่างอื่นแทนก็ตาม

.

นอกจากนี้ งานวิจัยจาก The Work Foundation พบว่าภาวะ Presenteeism ในที่ทำงาน ทำให้เสียประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าการลาป่วยถึง 150%

.

อีกทั้งรายงานจาก CIPD (The Chartered Institute of Personnel and Development ) ยังเผยว่า พนักงานที่มีภาวะ Presentism เพิ่มขึ้นนั้นมีโอกาสเป็นสองเท่าที่จะลางานเพราะความเครียดที่เพิ่มขึ้น และพวกเขายังมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางสุขภาพจิตมากกว่าพนักงานคนอื่น ๆ ถึงสองเท่า

.

ซึ่งจริง ๆ แล้ว การที่เพื่อน ๆ จะลาหยุดเพื่อไปพักผ่อนกายหรือใจ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะทุกคนย่อมประสบกับความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักได้ โดยหากเรายิ่งฝืนทำงานต่อ ประสิทธิภาพการทำงานของเราก็จะยิ่งแย่ลง

.

หากเรารู้สึกว่าไม่ไหวจะไปต่อจริง ๆ วิธีนี้จะสามารถช่วยเติมพลังกายและใจให้เพื่อน ๆ กลับมาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่ได้พักผ่อนเลย จะยิ่งทำให้หลาย ๆ คนรู้สึก burnout ไม่อยากทำงาน จนนำไปสู่ภาวะ presenteeism มากขึ้น

.

หยุดฝืนตัวเองแล้วเลือกที่จะพักผ่อน ลองหาเวลาปลีกตัวออกไปเปลี่ยนบรรยากาศให้ธรรมชาติได้เยียวยาหัวใจและให้ตัวเองได้รู้สึกสดชื่นและผ่อนคลายมากขึ้น แต่ถ้าทำทั้งหมดที่อูก้าแนะนำมาแล้วยังอยากเติมพลังใจเพิ่มขึ้นอีก พื้นที่แห่งความสบายใจของอูก้าแห่งนี้ก็ยินดีต้อนรับเพื่อน ๆ เสมอ 🙂

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

.

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

1. https://www.bbc.com/worklife/article/20210604-why-presenteeism-always-wins-out-over-productivity

2. https://www.brandbuffet.in.th/2018/08/cigna-well-being-research-thai-behavior-2018/

3. https://www.robertsoncooper.com/blog/five-ways-to-reduce-presenteeism-in-the-workplace/

.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #OOCAissues

#mentalhealth #stigma #selflove #expectation #Presenteeism #OOCAfeelings #OOCAreminder #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More