คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่อาจจะยังตอบง่าย ๆ ไม่ได้ในทันที แต่ข้อมูลเหล่านี้ และข่าวเศร้ามากมายที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมานี้ คงจะเป็นธงแดงที่เตือนให้ “เรา” ควรจะหันมา “เตรียมรับมือ” กับวิกฤติสุขภาพจิตที่กำลังฟักตัวในประชากรทุกช่วงอายุ …. และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิกฤตินี้ไม่สามารถแก้ได้ในชั่วพริบตา 

.

ปี 2565 รายงานจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าประเทศไทยมีจิตแพทย์รวม 845 คน ซึ่งถือว่าเรามีจิตแพทย์ 1.28 คน ต่อประชากรจำนวนหนึ่งแสนคน [1] ซึ่งถ้าเทียบกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่มีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อประชากรมากที่สุดในโลก จะพบว่าสวิตเซอร์แลนด์มีจิตแพทย์อยู่ที่ที่ 47.17 คนต่อแสนประชากร

.

,

ในขณะที่ถ้าเทียบกับประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นลำดับต้น ๆ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ญี่ปุ่นมีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อแสนประชากรอยู่ที่ 12.55 และเทียบกับเกาหลีใต้มีอัตราส่วนจิตแพทย์ต่อแสนประชากรอยู่ที่ 7.91 ซึ่งถือว่ามากกว่าไทยหลายเท่า และในส่วนของนักจิตวิทยา ประเทศไทยมีมีนักจิตวิทยาเพียง 1,037 คนต่อคนทั้งประเทศ คิดเป็น 1.57 คนต่อแสนประชากรด้วยกัน

.

.

หากไม่นับสาเหตุเรื่องระยะเวลาในการเรียนจบด้านจิตแพทย์ (ที่สามารถจ่ายยาได้) ต้องใช้เวลานานกว่าจะจบหลักสูตร แล้วนั้น (9-10 ปี) แม้เราจะโชคดีที่ประเทศไทยยังมีวิชาชีพร่วมทั้ง นักจิตวิทยาคลินิก พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาให้คำปรึกษา แต่อย่างไรก็ตามการกระจายบุคลากรด้านสุขภาพจิตไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ยังต้องคำนวณจากหลายปัจจัยด้วยกัน 

.

.

ความท้าทายในการกระจายการให้บริการ สะท้อนผ่านข้อมูลที่ว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา ยโสธร กลายเป็นจังหวัดที่ไม่มีจิตแพทย์เลยสักคน (เพิ่งมีเพิ่ม 2 คนในปีที่ผ่านมา) ส่วนนักจิตวิทยา ยังมีอีก 6 จังหวัดที่ไม่มีนักจิตวิทยาเลยสักคน (ได้แก่ตราด แพร่ สมุทรสงคราม สิงห์บุรี หนองบัวลำภู และอ่างทอง)

.

.

ยิ่งเมื่อเจอกับวิกฤติโรคระบาด เศรษฐกิจ อัตราความเสี่ยงฆ่าตัวตาย และความต้องการที่จะเข้ารับการรักษาก็มีสูงขึ้นทั่วโลก ในขณะที่การผลิตบุคลากรในด้านนี้ต้องใช้เวลาเตรียมล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 5 ปี – คำถามคือ แล้วโลกปรับตัวเพื่อหาทางบรรเทาทุกข์นี้อย่างไร ?

.

.

เนื่องใน #วันสุขภาพจิตโลก #WorldMentalHealthDay2022 อูก้าจึงได้รวบรวมแนวคิดที่น่าสนใจจากทั่วโลก เช่นว่า แพทย์ในกรุบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยมจ่ายยาด้วยการให้ผู้ใช้บริการไปเข้าพิพิธภัณฑ์ในเมือง [2] / นักวิจัยทั่วโลกได้สร้างความร่วมมือกันสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมที่ครอบคลุมความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากขึ้น [3] / การใช้ปัญญาประดิษฐ์คัดกรองเนื้อหาหรือคำศัพท์ที่นำไปสู่การกระตุ้นให้คนทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย [4] / การใช้แพทย์ทางไกล (Telehealth) มาช่วยให้บริการผู้ป่วยนอกในช่วงโรคระบาดโควิด [5] และอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นการเฝ้าระวังหรือป้องกันก่อนจะสาย เช่น การปรับวัฒนธรรมองค์กรให้ยืดหยุ่นและเป็นมิตรต่อผู้ที่กำลังรักษาอาการทางจิตเวชให้มากขึ้น

.

.

นอกจากนี้เทรนด์การใช้แอพลิเคชันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกัน / ประเมิน / เรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือรับบริการสุขภาพจิต ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก โดยในปัจจุบันนี้ ใน App Store และ Play Store มีแอพลิเคชันด้านสุขภาพจิตมากกว่า 10,000+ แอพลิเคชันด้วยกัน ส่งผลให้องค์กรอย่าง Onemind, Health Navigator และ World Economic Forums เริ่มที่จะพัฒนาการคัดกรองมาตรฐานและให้ “การรับรอง” ในแง่จริยธรรมในการให้บริการ, ผ่านการทดสอบทางคลินิก, ความปลอดภัย และความมีประสิทธิภาพ [6]

.

.

อย่างไรก็ตาม คำถามที่ว่านวัตกรรมต่อไปนี้ได้เกิดขึ้น (มาสักระยะแล้ว) แต่จะ “ใช้ได้จริง” เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการให้บริการได้อย่างไร ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ทั้งสังคมต้องบูรณาการร่วมกันนอกเหนือไปจากส่วนของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เช่น

.

–  เราจะสั่งยาให้คนไข้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไรหากจังหวัดนั้น ๆ ไม่มีพื้นที่สาธารณะ หรือไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่สร้างแรงบันดาลใจ? 

.

– ปัญญาประดิษฐ์ที่อ่านข้อความภาษาไทยถูกส่งเสริมและถูกนำไปใช้ประโยชน์มากแค่ไหน? 

.

– ผู้มีรายได้น้อยจะเข้าถึงบริการสุขภาพจิตผ่านสวัสดิการต่าง ๆ ได้อย่างไร ? เราจะป้องกันให้ประชากรเกิดความเสี่ยงทางสุขภาพจิตน้อยลงตั้งแต่ตอนอายุน้อยได้ไหม เพราะในปีที่ผ่านมานี้ ข้อมูลจากยูนิเซฟระบุว่า เด็กไทยอายุ 5-9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน และ วัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี ประมาณ 1 ใน 7 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ [7] ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

.

– ฯลฯ

.

.

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่อาจจะยังตอบง่าย ๆ ไม่ได้ในทันที แต่ข้อมูลเหล่านี้ และข่าวเศร้ามากมายที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมานี้ คงจะเป็นธงแดงที่เตือนให้ “เรา” ควรจะหันมา “เตรียมรับมือ” กับวิกฤติสุขภาพจิตที่กำลังฟักตัวในประชากรทุกช่วงอายุ …. และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิกฤตินี้ไม่สามารถแก้ได้ในชั่วพริบตา 

.

.

การฝ่าปัญหานี้ จะต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และอูก้าเชื่อว่า เราทุกคนสามารถเป็นส่วนร่วมในการให้ความรู้ที่ถูกต้อง การสร้างความตระหนัก และการส่งเสียงให้เกิดการจัดสวัสดิการด้านสุขภาพจิตให้กับผู้ที่ต้องการ

.

.

สุขสันต์วัน #วันสุขภาพจิตโลก #WorldMentalHealthDay2022 โดยอูก้าขอเชิญชวนมาคุยกันกับ ‘อิ๊ก’ กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ ผู้ก่อตั้ง Ooca แพลตฟอร์มให้บริการด้านสุขภาพจิต ในหัวข้อ “ถอดรหัสอนาคตสุขภาพจิตคนไทย” โดยเล่าจากประสบการณ์บริหารแพลตฟอร์มอูก้ามาตั้งแต่ปี 2017 จนมาถึงปัจจุบันที่อูก้าได้ให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน ดูแลผู้ใช้บริการหลายหมื่นคน รวมถึงได้ขยายผลไปยังการให้บริการทางสังคมผ่านโครงการ Wall of Sharing ที่ช่วยดูแลสุขภาพใจให้กับนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในยามวิกฤติ ผ่านทาง Twitter Space ในวันที่ 10 ตุลาคม 2022 เวลา 20.00 เป็นต้นไป

.

-ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะได้หาแนวทางในการรักษาเยียวยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy .

– สนใจปรึกษานักจิตวิทยา ดาวน์โหลดได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

.

.

#OOCAitsOK #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

——- 

[1] https://data.go.th/dataset/specialist และข้อมูลรวบรวมโดย Rocketmedialab

[2] https://www.weforum.org/videos/doctors-in-brussels-prescribe-free-museum-visits-to-boost-mental-health

[3] https://www.weforum.org/agenda/2022/09/diverse-genetic-data-tools-factors-causing-mental-illness/

[4] https://www.scientificamerican.com/article/mining-social-media-reveals-mental-health-trends-and-helps-prevent-self-harm/

[5] https://news.ohsu.edu/2022/04/04/pandemic-drives-use-of-telehealth-for-mental-health-care

[6] https://www.scientificamerican.com/article/how-consumers-and-health-care-providers-can-judge-the-quality-of-digital-mental-health-tools/

[7] https://www.unicef.org/thailand/th/press-releases/ยูนิเซฟและกรมสุขภาพจิตชี้สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยน่าเป็นห่วง