จะไปสุดที่ตรงไหน? 3 เหตุผล ทำไมทาง ‘เฟื่อน’ ไม่ยอมสิ้นสุดสักที

“ดันไปชอบเขา” “แต่เขาก็ดันให้เราเป็นเพื่อน” “แล้วเราก็ยอม!” สี่หนุ่มชนแก้วเบียร์กลางงานแต่งงานเป็นฉากในหนัง “Friend Zone ระวัง..สิ้นสุดทางเพื่อน” ที่หลายคนประทับใจ

ถ้าหากเพื่อน ๆ เป็นคนหนึ่งที่อยากไปร่วมวงชนแก้วเพราะไม่อยากเป็นแค่เพื่อน แสดงว่าสถานการณ์ตอนนี้ก็คงกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเช่นเดียวกัน แตกต่างที่ในชีวิตจริงเราไม่อาจรู้ได้เลยว่ามันจะไปสิ้นสุดตรงไหนหรือเมื่อไหร่ หรือจะแย่ยิ่งไปกว่านั้น หากการกระทำของเธอคนนั้นดันสวนทางกับคำว่าเพื่อนจนตอนนี้ทุกอย่างดูสับสน เมื่อคำว่า ‘เพื่อน’ ถูกเลื่อนระดับเป็น ‘เฟื่อน’ จะกลับตัวก็ไม่ได้เดินต่อไปก็ไม่ถึง แค่ได้ยินก็กระอักกระอ่วนแล้วใช่ไหม หลังดูภาพยนตร์จบแล้ว สงสัยกันไหมว่าทำไมคนบางคนถึงใช้เวลาเป็นสิบปีเพื่อหนีจากมัน

วันนี้อูก้ามีคำอธิบายเชิงจิตวิทยาถึง 3 เหตุผลสั้น ๆ ว่าทำไมการออกจากสถานะ ‘เฟื่อน’ ถึงได้ยากเย็นเหลือเกิน

คำว่าเฟรนด์โซน (Friend zone) โดยทั่วไปจะหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนที่ต้องการความสัมพันธ์เชิงโรแมนติกกับคนที่มองอีกฝ่าย “แค่เพื่อน” ตัวอย่างเช่น ตอนที่คุยกับเธอคนนั้นเป็นปี แต่จุดจบกลับได้เพื่อน ได้พี่น้องเพิ่มมาซะงั้น หรือแอดวานซ์กว่านั้น หากอีกฝ่ายรับรู้ถึงความต้องการของเรา แต่ดันตีมึน ไม่ยอมทั้งตกลงหรือปฏิเสธ กลับทำตัวครึ่ง ๆ กลาง ๆ เล่นกับหัวใจ เป็นที่มาของคำว่า ‘เฟื่อน’ ในบทความนี้นั่นเอง

  1. หนึ่งในสาเหตุของสถานะ เฟื่อน เกี่ยวข้องกับทฤษฎีความขัดแย้งทางความคิด หรือ Cognitive dissonance ซึ่งอธิบายถึงเหตุการณ์ที่บุคคลหนึ่งพยายามลดข้อขัดแย้งภายในจิตใจจากสถานการณ์ที่ดูจะไปคนละทิศคนละทางกัน เวลาที่เรากำลังอยู่ในสถานะเฟื่อน เรามักจะเชื่อมั่นว่ามันต้องมีอะไรมากกว่าความเป็นเพื่อนธรรมดาแน่เลย เราจึงมักหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอ ทั้ง ๆ ที่บางครั้งอีกฝ่ายอาจไม่ได้คิดอะไรเลย แต่การกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเธอคนนั้นก็ทำให้เราเพ้อฝันไปไกลได้ และถ้าเรายังหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองอยู่แบบนั้น ก็ไม่มีวันที่เราจะเดินออกมาได้เลยแม้เขาจะชัดเจนมากกับสถานะ “แค่เพื่อน” แล้วก็ตาม
  2. เหตุผลข้อที่สอง สาเหตุที่ไม่สามารถออกจากสถานะเฟื่อนได้สักทีอาจไม่ใช่เพราะเธอคนนั้น แต่เป็นเพราะเพื่อน ๆ กำลังเสพติด ‘โดปามีน’ สารแห่งความสุขที่ร่างกายหลั่งออกมาเมื่อเรากำลังไขว่คว้าอะไรบางอย่าง โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่าเราไม่จำเป็นต้องบรรลุเป้าหมายก็ทำให้โดปามีนหลั่งออกมาได้แล้ว และจะยิ่งหลั่งมากขึ้นหากเราไม่รู้ผลลัพธ์ของจุดหมายปลายทาง เพื่อน ๆ อาจกำลังเสพติดความสุขที่เกิดจากการพยายามชนะใจเธอคนนั้น เพราะเมื่อไหร่ที่โดปามีนเหล่านี้หมดลงจะส่งผลด้านลบต่ออารมณ์ได้
  3. เหตุผลข้อสุดท้าย แท้จริงแล้ว เพื่อน ๆ อาจกำลัง ‘คลั่งรัก’ หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Limerence ซึ่งเป็นภาวะผิดปกติทางจิต (Mental disorder) ชนิดหนึ่งอันเกิดจากสารสื่อประสาทที่มีมากกว่าคนทั่วไป ภาวะคลั่งรักนี้จะทำให้เรา หลงใหลใครอีกคนมากเป็นพิเศษจนส่งผลถึงการดำเนินชีวิต และการคิดจะหยุดรักเธอคนนั้นอาจทำให้เราเจ็บปวดมากจนรับไม่ไหว

นี่เป็นเพียงแค่เหตุผลทางจิตวิทยาเล็กน้อยเท่านั้น สถานการณ์ในชีวิตจริงอาจยังมีความซับซ้อนแตกต่างกันออกไป บางครั้งจากสถานะเฟื่อน อาจจะเลื่อนเป็นคนรัก แต่บางคู่อาจจะถอยหลังกลับไปเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเหมือนเคยก็ได้ ไม่ว่าเหตุผลของแต่ละคนจะเป็นอะไร และไม่ว่าเพื่อน ๆ จะเลือกเดินออกมาจากเฟรนด์โซนหรือไม่ การรู้เท่าทันความรู้สึกของตัวเองจะช่วยให้เพื่อน ๆ สามารถตัดสินใจขั้นต่อไปได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การอยู่ในเฟรนด์โซนอาจเป็นประสบการณ์ที่ยากลำบากและเจ็บปวดซึ่งอาจนำไปสู่ความรู้สึกถูกปฏิเสธ ขาดคุณสมบัติ และเจ็บปวด ในบางกรณีอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นี้ ต้องการดูแลสุขภาพจิต หรือต้องการระบาย อูก้าพร้อมอยู่เคียงข้างเพื่อน ๆ เสมอนะ

ooca platform ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ ที่ช่วยให้เพื่อน ๆ สามารถพูดคุยปัญหาคาใจกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาได้ผ่าน video call โดยเข้าใช้งานได้อย่างเป็นส่วนตัวและปลอดภัย ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ

อ้างอิง :The Psychological Reasons Why It’s Hard To Escape The Friend-Zone

Read More

ขาดเขาไม่ได้ อยู่คนเดียวไม่เป็น: จิตวิทยาว่าด้วยเรื่องไม่อยากเป็นโสด

“ขาดเขาไม่ได้ อยู่คนเดียวไม่เป็น” 

เพื่อน ๆ เคยรู้สึกแบบนี้เหมือนกันไหม รู้สึกว่าตัวเองเหงา โดดเดี่ยว และเศร้าใจ อยากให้ใครสักคนมาเติมความหวานในใจตลอดเวลา แต่บางครั้งการหาแฟนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และไม่อาจเกิดขึ้นได้ในเวลาอันสั้น

บางครั้งเราก็ก้มหน้าก้มตา “ปัดซ้าย ปัดขวา”  อย่างไม่ลดละ แม้ความสัมพันธ์เก่าจะจบลงไม่นาน แต่เพราะไม่อยากปล่อยให้ตัวเองเป็นโสดนาน ๆ จึงอยากเริ่มความสัมพันธ์ใหม่กับใครสักคนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

ทว่า ความว้าวุ่นในหัวใจที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้มันอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของเพื่อน ๆ หลายคนก็เป็นได้ แล้วสาเหตุเหล่านี้เกิดจากอะไรกันแน่นะ? 

อาจารย์เลิศจรรยา เสมขำ นักจิตวิทยาจากอูก้าบอกถึงสาเหตุทางจิตวิทยาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ถ้าเป็นสาเหตุเชิงชีววิทยา อาจเกิดจากฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ในร่างกายของเราที่หลั่งเมื่อเวลาเรากอด สัมผัสคนรักของเราอย่างอบอุ่น เมื่อต้องเลิกลากันไป ระดับฮอร์โมนที่เคยสูงมาก เมื่อไม่คนมาคอยเพิ่ม Oxytocin ให้กับเราในระดับที่เคยเป็น เลยรู้สึกว่าต้องหาใครสักคนทดแทน จนเสพติดความรักหรือเสพติดความสัมพันธ์ขึ้นมาเลยก็ได้  เพราะสาร oxytocin ที่ถูกหลั่งมาเยอะมากจนเกินไปนั่นเอง

แต่ถ้าหากเป็นในเชิงจิตวิทยาจากทฤษฎี Maslow ว่าด้วยเรื่องลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ อันประกอบไปด้วย 3 สิ่งหลัก ๆ คือ

1.Physical needs เช่น อากาศ น้ำ และเครื่องนุ่งห่ม

2.Safety needs เช่น ความมั่นคงทางการเงิน การงาน และสุขภาพ

3.Love and belonging ความรัก ครอบครัว และความสัมพันธ์ต่าง ๆ

หากใครที่พื้นฐานตามทฤษฎี Maslow ไม่มั่นคง ก็อาจจะรู้สึกโหยหาสิ่งที่รู้สึกขาด เช่น ความรักอย่างที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่ ซึ่งอาจจะเกิดจากประสบการณ์ในอดีต เช่น ในวัยเด็กรู้สึกขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัว จึงส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองที่ทำให้เรารู้สึกว่าไม่อยากเป็นโสด และอยากจะมีคนรักมาเติมเต็มพื้นที่ในหัวใจตลอดเวลา นอกจากนี้ อาจารย์เลิศจรรยายังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า

“มนุษย์เกิดมาต้องการการยอมรับ แฟนหรือคนรักเป็นเหมือนคนที่ ‘ยอมรับเราได้ในทุก ๆ มิติ หรือหลายมิติ’ ตอนมีแฟน หลายคนเคยรู้สึกว่าเป็นที่ยอมรับโดยคนหนึ่ง ๆ พอเลิกกันไปเลยรู้สึกว่าไม่มีใครยอมรับเราแล้ว แต่ในความจริงอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย” 

ทั้งนี้อาจารย์ยังแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นว่า “วิธีนี้อาจจะดูธรรมดามาก แต่ได้ผลจริง ๆ คือ การหางานอดิเรกอื่น ๆ มาทำทดแทน เพราะจะช่วยทำให้เราไม่คิดถึงคนรักเก่า และเรื่องความรักในช่วงเวลาหนึ่ง หรือลองหาคนที่เราสนิท คนในครอบครัว ลองพูดคุยกับพวกเขา อาจจะช่วยให้เรารู้สึกว่าไม่ได้โดดเดี่ยว และยังมีคนที่รักเราอยู่อีกมากมาย”

แน่นอนว่า ท้ายที่สุดแล้วพวกเราต่างก็โหยหาการถูกรัก เพราะการมีใครสักคนที่คอยเข้าอกเข้าใจ รับฟังเรื่องราวใด ๆ ในชีวิต และรักเราอย่างจริงใจก็คงจะดีไม่ใช่น้อย แต่การเป็นโสดก็ไม่ได้หมายว่าเราด้อยค่ากว่าคนมีคู่เลย บางคนอาจติดอยู่ในความเชื่อที่ว่า “ถ้าใครเป็นโสด แสดงว่าต้องมีอะไรผิดปกิ ถึงไม่มีใครอยากอยู่ด้วย” ซึ่งไม่จริงเลย อูก้าเชื่อว่าทุกคนมีคุณค่า และมี “ความน่ารัก” ในแบบของตนเอง ลองเป็นโสดอยู่สักเดือน สองเดือน หรือจะเป็นปี ก็ไม่เสียหายอะไร ได้มีอิสระทำอะไรตามใจชอบก็น่าจะดีเหมือนกันนะ

และอย่าลืมว่า ถ้าเพื่อน ๆ รู้สึกว่า “ความโสด” ในครั้งนี้ทำให้รู้สึกเหงา อยากมีใครสักคนที่รับฟังเพื่อน ๆ อย่างเข้าใจ ทีมนักจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจาก ooca พร้อม support เพื่อน ๆ ทุกคน โดยไม่ตัดสินว่า “ปัญหาความรัก” เป็นเรื่องน่าอาย เพราะฉะนั้นสบายใจได้เลยนะ อูก้ายังอยู่ตรงนี้เสมอ คอยเป็นกำลังใจให้เพื่อน ๆ ได้เอนจอยชีวิตโสดอย่างเฉิดฉาย และสนุกไปกับมันได้อย่างเต็มที่

อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak  #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

อ้างอิง

https://www.thoughtsonlifeandlove.com/why-cant-i-stay-single/8923/

Read More

ชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น

“เหลือเชื่อเหมือนกันว่ายังคงมีชีวิตอยู่จนถึงตอนนี้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว และกำลังเกิดขึ้นอยู่จริงๆ”
.
ขอชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น เพราะวันนี้คือวันป้องกันการฆ่าตัวตายสากล (World Suicidal Prevention Day) ซึ่งเป็นวันสำคัญที่องค์กรอนามัยโลกและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะจิตกำหนดให้มีการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ⛅
.
สถิติระบุว่าในทุก ๆ วัน มีคนที่เลือกจะจบชีวิตด้วยตนเองวันละ 11-12 ราย นอกจากนี้ จากสำรวจของกรมสุขภาพจิต ยังพบว่า สาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย มาจากปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด (48.7%) ซึ่งในหลายครั้ง ความสูญเสียก็เกิดขึ้นโดยที่หลายๆ คน อาจไม่ทันได้ตั้งรับ และสังคมรวมถึงสื่อยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการมองว่า การฆ่าตัวตาย คือการ “คิดสั้น”

.

ไม่ว่าจะเป็นสื่อหรือสาธารณชน มักจะมองว่าการฆ่าตัวตาย คือ “การคิดสั้น” แต่แท้จริงแล้ว การฆ่าตัวตายมีกระบวนการถึง 3 ขั้นตอนก่อนจะนำมาสู่การตัดสินใจจบชีวิต อันได้แก่

.

  1. Suicidal Thought หรือ ความคิดทำร้ายตนเอง

2.Suicidal Plan คือ ขั้นตอนการวางแผนและหาวิธีที่จะทำร้ายตนเอง

3.Suicidal Attempt หรือ ขั้นตอนการพยายามฆ่าตัวตาย หรือ ทำร้ายตนเอง

.

ดังนั้น การจบชีวิตด้วยตนเอง เป็นกระบวนการที่ผ่านการคิดมาอย่างถี่ถ้วน และต้องตัดสินใจอยู่หลายตลบกว่าจะปะทุไปสู่ขั้นตอนสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้น การแปะป้ายว่า “การฆ่าตัวตาย = การคิดสั้น” เป็นการมองข้ามต้นตอของปัญหาและอาจสร้างภาพจำผิด ๆ แก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ

.

⛅ อาจารย์สิริพร เอมอ่อน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแอพลิเคชันอูก้า เผยว่า การฆ่าตัวตายนั้น ในทางจิตวิทยาได้อธิบายว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่

.

1) ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factors) เช่น สารเคมีในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน ฮอร์โมนคอร์ติซอล อยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล

.

2) ปัจจัยทางจิตวิทยา (psychological factors) ได้แก่ พฤติกรรมและบุคลิกภาพ เช่น คนที่มีนิสัยเป็น perfectionist ก็จะมีแนวโน้มกลัวความผิดพลาด และมีโอกาสเครียดง่ายกว่าคนกลุ่มอื่น

.

3) ปัจจัยทางสังคม (sociological factors) คือปัญหาที่มาจากสังคมภายนอกและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ สภาวะทางเศรษฐกิจ หรือความตึงเครียดจากภาระงาน เป็นต้น

.

ทั้งนี้ อาจารย์สิริพรยังเสริมอีกว่า ปัญหาการแม้ว่าจะมีปัจจัยไม่ครบทั้งสามด้าน เพียงแค่ปัจจัยเดียว ก็มากพอที่จะกระตุ้นให้คนหนึ่งคน เกิดความคิดทำร้ายตนเอง ดังนั้น การเฝ้าระวังและตระหนักถึงปัจจัยทาง 3 ด้าน อย่างถี่ถ้วน เป็นวิธีที่สำคัญที่จะป้องกันเพื่อน ๆ และคนรอบข้าง จากความคิดทำร้ายตัวเองซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

.

โดยที่อาจารย์สิริพรยังได้มอบคำแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถสังเกตอาการคนใกล้ชิดของเรา ผ่านการจับสัญญาณจาก 2 จุดหลัก ๆ ได้แก่ สัญญาณ verbal หรือ คำพูด และ สัญญาณ non-verbal หรือ ภาษากายและพฤติกรรม

.

⛅ หากเป็นสัญญาณ verbal เราอาจสังเกตว่า คนนั้นมักจะบ่นหรือระบายว่า “เบื่อโลก หรือ ท้อแท้” นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียถี่ขึ้นผิดปกติ การโพสต์สเตตัสระบาย หรือ การแชร์ข้อความหรือเพลงเศร้า ๆ ก็นับเป็นอีกสัญญาณที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
.

⛅ ในส่วนของสัญญาณ non-verbal อาจสังเกตได้ว่า คนใกล้ชิดของเรา มีอาการซึมเศร้า ไม่มีแรง หรือมีพฤติกรรมแยกตัวจากผู้อื่นอย่างผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้ หากพบรอยแผลตามร่างกายของคนนั้น ก็นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำคัญว่า เขากำลังต้องการความช่วยเหลือจากใครสักคนอยู่ก็เป็นได้

.

⛅ นอกจากนี้ อาจารย์สิริพรยังแนะนำว่า เมื่อไหร่ที่หลุดเข้าไปอยู่ในห้วงความเศร้าเป็นระยะเวลานาน จนไม่สามารถหาทางออกมาจากความรู้สึกเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง หากเราเริ่ม รู้เท่าทันความรู้สึกตัวเอง และตระหนักอยู่เสมอว่าความเศร้าจะไม่อยู่กับเราไปตลอด เราก็อาจมีโอกาสหาทางออกให้กับชีวิตได้

.

⛅ แม้ว่าการตกอยู่ในภวังค์แห่งความเศร้า จะเหมือนกับการว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรโดยมองไม่เห็นชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความช่วยเหลืออีกมากมายในโลกนี้ที่รอให้เราเดินเข้าไปหา ไม่ว่าจะจากคนแปลกหน้า คนที่เรารัก หรือผู้เชี่ยวชาญ

.

💙💙 โดยเนื่องในเดือนป้องกันการฆ่าตัวตายสากลนี้ ผู้ใช้บริการปรึกษาปัญหาใจกับอูก้าครั้งแรก จะได้รับส่วนลด 5% เมื่อจองนัดหมายและกรอกรหัส OOCACARES ผ่านแอปพลิเคชัน ooca 💙💙 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ https://ooca.page.link/fbnewcomer2 และใช้โค้ดได้ถึง 30 กันยายน 2565 (*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ) ⛅

Read More

ต้องโตแค่ไหน ถึงเป็นผู้ใหญ่ในสายตาพ่อแม่

เคยไหม?

“อายุ 30 แล้ว จะไปทำงานที่ต่างประเทศแต่แม่ไม่ให้”

“จะไปไหนมาไหน ก็ต้องรายงานพ่อแม่ตลอดเวลา”

.

เพื่อน ๆ เคยรู้สึกแบบนี้ก็บ้างหรือเปล่า? รู้สึกอึดอัดกับการที่ต่อให้เราอายุ 30 40 แล้วก็ยังดูเป็นเด็ก 3 ขวบที่ทำอะไรไม่เป็นในสายตาของผู้(เคย)ปกครอง ทั้งที่ตอนอยู่ที่ทำงานก็ทำงานเหมือนคนทั่วไป เป็นเจ้าคนนายคนแบบที่พ่อแม่อยากให้เป็น แต่กลับบ้านทีไรก็รู้สึกตัวเล็กลีบแบน จะตัดสินใจเรื่องอะไรแต่ละทีก็ต้องมาปวดหัวว่าพ่อแม่จะว่ายังไง

.

“พ่อแม่เป็นห่วงนะเข้าใจไหม”

“งานบ้านปกติยังไม่ค่อยยอมทำเลยแล้วจะอยู่ยังไง”

“เป็นผู้หญิงอยู่คนเดียวได้ไง มันอันตราย”

พอโดนพูดแบบนี้บ่อย ๆ เข้าจากความเป็นห่วงก็กลายเป็นความอึดอัดใจ อย่างนั้นก็ไม่ได้ อย่างนี้ก็ไม่ดี พอปรึกษาใครก็บอกว่าอดทนหน่อย เขารัก เขาหวังดี ไม่งั้นเขาไม่พูดหรอก ด้วยแนวคิดและวัฒนธรรมแบบเอเชียทำให้เราต้องเป็นเด็กที่เชื่อฟังพ่อแม่ไปจนโต

.

ความรู้สึกเหล่านี้ยิ่งนานวันก็อาจกลายเป็นปัญหารบกวนจิตใจ ทั้งที่แค่อยากให้ไว้ใจกัน แต่ถ้าพูดออกไปก็กลัวว่าจะทำให้เสียใจจนกลายเป็นทะเลาะกัน

.

👩🏻‍⚕️💙

คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้า ยังสะท้อนว่า ได้เล่าถึงกรณีทั่ว ๆ ไปที่มาปรึกษาในเรื่องนี้ว่า หากเราอยากเป็นอิสระจากทางบ้าน บางทีก็อาจจะต้องรวบรวมความกล้าแล้วพูดออกไป ซึ่งมีวิธีการรับมือที่แตกต่างกันตามแต่ละบุคคล เช่น

.

“คิดว่าพอคุยกับพ่อแม่ได้อยู่”

ลองค่อย ๆ อธิบายให้เข้าใจว่าเราโตแล้ว เช่น ถ้ากังวลเรื่องที่พักที่ต้องแยกตัวออกไป ก็ลองพาไปดูสถานที่ พยายามแสดงให้เห็นว่าเราทำได้ ไม่ได้มีอะไรน่ากลัวอย่างที่กังวล แม้ในช่วงแรกอาจจะมีปะทะหรือทะเลาะกันบ้าง ก็อย่าเพิ่งเสียกำลังใจ เพราะหากไม่เริ่มหลุดจากกรอบที่พ่อกับแม่วางไว้ ก็คงไม่มีวันเห็นว่าลูกโตจนอยู่เลยระดับที่ชินสายตา

.

“ทำอย่างไร พ่อแม่ก็ไม่ยอมรับฟัง”

กรณีนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องดูเบื้องหลังของผู้ที่อยากได้รับคำปรึกษา อูก้าขอแนะนำให้คุณพักใจด้วยการมาปรึกษาใครสักคน คนนั้นอาจจะเป็นเพื่อนที่ไว้ใจได้ คนที่กำลังเจอปัญหาเหมือนกัน หรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะยิ่งเก็บไว้นาน ความอึดอัดก็อาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะไม่เข้าใจ เรารู้ว่าคุณไม่ใช่ลูกอกตัญญู คุณแค่เป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่อยากเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง

.

ใครที่กำลังเผชิญกับความรู้สึกแบบนี้แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอธิบายให้พ่อแม่เข้าใจอย่างไร หรือแรงปะทะมันเกินรับไหวจนใจพัง ลองแวะมาคุยกับอูก้าเพื่อมารับพลังบวกไปด้วยกันกับเราได้นะ

.

.

ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ไม่มีใครเข้าใจ

พวกเราก็พร้อมจะรับฟังเพื่อทำให้คุณเบาใจมากขึ้นนะ

.

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth#stigma#selflove#depression
#สุขภาพ#เครียด#รักตัวเอง#ซึมเศร้า#ความคาดหวัง#ความสัมพันธ์#ครอบครัว

Read More

ไปดูผีเสื้อกับเขาดีไหม? ทำไมเราถึงยังอยู่ใน Toxic-relationship?

ความสัมพันธ์หวานอมขม คงเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่หลายคนเคยเจอ แม้จะรู้ดีว่าความขมและความหวานรสชาติเป็นอย่างไร แต่เมื่อสองขั้วตรงข้ามเข้ามาผสมกันกลับมีสเน่ห์น่าค้นหา จะคายก็ไม่กล้าจะกลืนก็ไม่ลง เป็นหนึ่งในเหตุผลที่หลายคนรอติดตามความสัมพันธ์สุดจะซับซ้อนของ “ยูนาบี” และ “พัคแจออน” สองตัวละครหลักจากซีรี่ย์ชื่อดังใน Netflix อย่าง “Nevertheless รักนี้ห้ามไม่ได้” 🤭

เมื่อความรักมาถึงทางตัน ความหวานละลายหายไปเหลือแต่ความขมจึงเกิดเป็นคำถามขึ้นในใจ ว่า “ความสัมพันธ์นี้มันผิดพลาดตั้งแต่ตรงไหนกัน” วันนี้อูก้าอยากชวนทุกคนมาถอดรหัสความสัมพันธ์ผ่าน ‘ผีเสื้อ’ 🦋สัญลักษณ์จากซีรี่ย์เรื่องนี้กัน

“ความสุขก็เหมือนผีเสื้อ เมื่อไหร่ที่เราพยายามไล่จับมันจะหนีไปเสมอ แต่เมื่อไหร่ที่เรานั่งอยู่เงียบ ๆ มันจะมาเกาะที่เราเอง” เป็นคำบอกใบ้ตั้งแต่ต้นเรื่องว่าผีเสื้อตัวแรกในเรื่องนี้ก็คือ ‘ความสุข’ ที่จะเข้ามาทำให้ความสัมพันธ์ครั้งนี้กลายเป็นยาพิษ ☠️

สำหรับนาบีที่เพิ่งเจ็บปวดจากประสบการณ์รักครั้งเก่า เมื่อเธอมาพบกับหนุ่มหล่อแสนอ่อนโยนและเอาใจใส่อย่าง “พัคแจออน” หลังจากต้องเผชิญกับพฤติกรรมสุดจะท็อกซิกของแฟนเก่า ทั้ง “การบังคับควบคุม” หรือการทำตัวเป็นเจ้าของชีวิต แล้วยังจะพยายามกล่าวโทษให้เธอรู้สึกผิดที่ ‘ดูแลตนเองมากไป’ เช่น การทำผม หรือทาเล็บ โดยที่เขาไม่สนใจว่านั่นคือ ‘ร่างกายของเธอ’

แจออนจึงเปรียบเสมือนกับ ‘ก้อนความสุข’ ที่ขาดหายไปในความสัมพันธ์ครั้งก่อน ประกอบกับนิยามความรักที่เลือนรางหลังโดนนอกใจ ความเจ้าชู้แพรวพราวของแจออนเลยกลายเป็นเรื่องที่ ‘ยอมรับได้’ ในความคิดของนาบี ไม่แปลกที่เธอจะยอมกลายเป็นผีเสื้อบินเข้ากองไฟเพื่อไขว่คว้าความสุขนั้นด้วยตัวเธอเอง

“ผีเสื้อดูเป็นสัตว์รักอิสระ 🦋 แต่จริง ๆ แล้วมันจะชอบบินวน ๆ อยู่ที่เดิม ๆ ที่มันคุ้นเคย”

ตอนที่แจออนเลือกจะปล่อยผีเสื้อออกไป แต่มันกลับบินมาเกาะที่นิ้วของเขาแทนที่จะออกไปบินอย่างอิสระ ดูผ่าน ๆ เราอาจจะคิดว่าผีเสื้อตัวนั้นคงเป็นนาบีที่เอาแต่กลับมาหาแจออน ผู้เป็นเหมือนสถานที่ที่คุ้นเคยอยู่ทุกครั้ง แต่หากย้อนไปดูอีกสักครั้งจะเห็นว่าแจออนเองก็ผูกพันกับนาบี จนไม่อาจมี ‘อิสระ’ ทางความรู้สึกที่จะบินไปตอมตรงโน้นทีหรือตรงนี้ทีได้เหมือนเดิม ต่อให้จะบินจากกันไปหลายต่อหลายครั้งก็ทำได้เพียงกลับมาหากันและกันอยู่ดี ผีเสื้อตัวที่สองนี้คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจากนาบีและแจออนเอง

จนกระทั่งนาบีมี “พื้นที่ปลอดภัยใหม่” ในตอนที่เธอเลือกจะหนีกลับบ้านเกิด พบบรรยากาศและเพื่อนเก่าที่คุ้นเคยอย่าง “ยังโดฮยอก” ประกอบกับแจออนที่ไม่ได้มีแค่นาบีเป็นพื้นที่ปลอดภัย แต่ยังมี “ยุนซอลอา” แฟนเหมือนจะเก่าที่เป็นเหมือนบ้านให้บินกลับ ความลังเลว่าจะกลับไปยังสถานที่ที่คุ้นเคยแห่งไหนดีจึงเกิดขึ้น รั้งให้ความสัมพันธ์ที่ครุมเครืออยู่นั้นต้องเบลอไปมากกว่าเดิม 😢

เมื่อถึงจุดสูงสุดที่ความรู้สึกของคนคนหนึ่งจะรับไหว ทุกสิ่งทุกอย่างเลยต้องการ ‘ความเปลี่ยนแปลง’ และนั่นก็คือผีเสื้อตัวที่สามที่ออกมาบินโลดโผนในช่วงสองตอนที่ผ่านมา

นาบี ที่ได้รับความสบายใจจากครอบครัวและโดฮยอกที่เป็นเสาหลักที่ค้ำจุนในความรู้สึกเธอมั่นคง ความท็อกซิกที่เธอซึมซับมาจึงเบาบางลง ทำให้เธอได้เห็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีกว่าเดิม ความรู้สึกและคำพูดของโดฮยอกทำให้เธอรู้ว่าตัวเองมีคุณค่ามากกว่าตอนที่อยู่กับแจออน

ขณะเดียวกัน แจออนได้อยู่กับตัวเองตลอดเวลาที่นาบีบินหนีหายไป เมื่อไล่ตามก็พบว่าผีเสื้อตัวนี้กำลังจะบินหนีไปไม่กลับมา เขาจึงรู้สึกว่าต้องเปลี่ยนแปลงบ้างสักที เห็นได้ชัดว่าเขาพยายามทำทุกอย่างให้ชัดเจนว่าสำหรับเขานาบีมีความหมายอย่างไร ทั้งป่าวประกาศให้สาธารณะได้รับรู้ ทั้งแสดงความเป็นศัตรูกับโดฮยอกอย่างออกหน้าออกตา ถึงอย่างนั้นก็ใช่ว่าจะเปลี่ยนได้ดั่งใจคิด เมื่อเผชิญหน้ากับกำแพงความหวาดระแวงที่นาบีก่อขึ้นมา เขาที่เพิ่งหัดแสดงออกจึงได้แต่กลืนความรู้สึกลงไปซะอย่างนั้น

เห็นได้ชัดว่าความสัมพันธ์เป็นพิษไม่ได้ทำให้ใครรู้สึกดีขึ้นมา มิหน้ำซ้ำอาจจะแปรเปลี่ยนความรักให้เป็นพลังลบแล้วมาทำร้ายความรู้สึกกันและกัน เหมือนที่นาบีและแจออนเล่นบทพ่อแง่แม่งอนกันมาตลอด ต่างคนก็ต่างไม่ยอมบอกความรู้สึกในใจออกไปอย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งไม่ยอมรับฟังกันและกันเลยสักครั้ง จนทำให้มีแต่ความหวาดระแวง ความหึงหวง ไม่เชื่อใจ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่าง “ขอบเขตความสัมพันธ์” ไม่ชัดเจน

เมื่อหลงเข้าไปแล้วครั้งหนึ่ง การจะออกมาจากความสัมพันธ์เป็นพิษนั้นไม่ง่ายอย่างที่ใครอาจจะจินตนาการไว้ เพราะฉะนั้นประโยคที่ว่า “รู้ว่าร้ายแล้วทำไมไม่ออกมา” อาจจะไม่มีคำตอบที่ชัดเจนนัก แต่อย่างน้อยผีเสื้อตัวที่สามหรือความเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ของนาบีกับแจออนนี้ก็พอจะบอกได้ว่า

“ทุกความผิดพลาดย่อมแก้ไขได้” 🙂

เริ่มต้นจากการยอมรับว่าสิ่งที่เกิดอยู่มันผิด หันเข้าหากันเพื่อเผชิญหน้ากับปัญหาความสัมพันธ์อย่างตรงไปตรงมา และการหาที่พักใจไว้เป็นแหล่งพลังงานบวกเพื่อฟื้นฟูคุณค่าในตัวเองกลับมาก็เป็นเรื่องที่ดี แต่อะไรก็ไม่สำคัญไปมากกว่า “การตัดสินใจอย่างแน่วแน่” ที่จะเปลี่ยนแปลง

เหมือนที่นาบีพยายามจะแก้ไขการตัดสินใจที่ผิดพลาดของตนเอง พัคแจออนที่พยายามแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น หรือแม่ของนาบีที่แม้จะเจ็บช้ำมาเท่าไหร่ก็เริ่มต้นใหม่ได้เสมอ ส่วนเรื่องราวครั้งนี้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ทั้งสองคนจะเริ่มต้นใหม่กันทางไหน ติดตามชมในตอนสุดท้ายพร้อมกันในคืนนี้ได้เลย

เพื่อนคนไหนกำลังติดอยู่ในวังวนแห่งความสัมพันธ์เป็นพิษเช่นเดียวกับนาบีและแจออน อูก้าขอเป็นเพื่อนที่อยู่เคียงข้าง รับฟังและเคารพทุกปัญหาใจอย่างไม่ตัดสิน หากรู้สึกเหนื่อยหรือเจ็บปวดเกินจะรับไหว มาคุยและหาทางออกกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้เสมอ 💙💚

#OOCAinsight #toxicrelationship #nevertheless #SongKang #HanSohee

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/gxyH
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

Read More

ทำยังไง ? เมื่อบ้านไม่เคยเป็นเซฟโซน และครอบครัวไม่เคยเซฟใจ

วันที่เหนื่อยล้าเราก็อยากพาตัวเองกลับบ้าน เพราะมีครอบครัวที่พร้อมจะเป็นเซฟโซน (Safe zone) ให้เราพึ่งพิงแต่สำหรับใครอีกหลายคน ที่ที่เรียกว่า “บ้าน” อาจไม่ได้ให้ความรู้สึกแบบนั้น และ “ครอบครัว” อาจฟังดูหนักแน่นเพียงแค่ชื่อ แต่กลับเปราะบางทางความรู้สึก เพราะนอกจากจะไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยแล้ว ยังทำให้รู้สึกเครียด กดดันและสับสนยิ่งกว่าเดิม 😥

เซฟโซนที่หายไป …

การจะสร้างบ้านให้เป็นเซฟโซนสำหรับคนในครอบครัว ต้องเริ่มจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน หากเรารู้สึกเหมือนมีช่องว่างกับครอบครัว ขัดแย้งในการแสดงความคิดเห็น โยนคำพูดร้าย ๆ ใส่กัน ไปจนถึงลดทอนความมั่นใจกัน “มีแต่ติ ไม่เคยชม” นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้สมาชิกในครอบครัวรู้สึกไม่ปลอดภัยกับบรรยากาศตึงเครียดในบ้าน เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นนาน ๆ การทำร้ายทางอารมณ์นี้จะกลายเป็นความเครียดกดทับใจ 💢

ความหนักอึ้งในใจเป็นสัญญาณว่านี่คือรูปแบบความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ (Toxic Relationship) บางครอบครัวอาจหลีกเลี่ยงการปะทะ ขณะที่บางคนกลับใช้วิธีโต้ตอบรุนแรง จนเครียดและอ่อนล้าไปทั้งกายใจกับคำว่า “ครอบครัว”

💥 เพราะ “ความรุนแรง” ในครอบครัว ไม่ใช่แค่บาดแผลที่มองเห็นด้วยตา 💥

มีงานวิจัยยืนยันว่าธรรมชาติของมนุษย์เราจะพยายามกักเก็บ “ความก้าวร้าว” ไว้ภายใน แต่เลือกปลดปล่อยออกมากับครอบครัว ราวกับเป็นเรื่อง “ปกติ” เช่น การแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ชักสีหน้า พูดจาประชดประชัน เป็นต้น และน่าเป็นห่วงที่ทุกคนไม่รู้ว่า สิ่งที่ทำนับเป็นความรุนแรงทางใจ รวมถึงกำลังกัดเซาะความสัมพันธ์ในครอบครับให้เกิดรอยร้าวทีละเล็กละน้อย

พฤติกรรมที่เป็นพิษเหล่านี้เองที่เปลี่ยนเซฟโซนให้กลายเป็นพื้นที่ไม่สบายใจ แม้จะมีสมาชิกเพียงคนเดียวที่เป็นพิษแต่นั่นก็เพียงพอที่จะทำลายภาพรวมของครอบครัว เพราะพฤติกรรมของหนึ่งส่งผลกระทบต่อการสร้างบุคลิกภาพหรือลักษณะตัวตนของคนรอบข้างด้วย

ในวันที่เราติดหลุมปัญหา (struggle) รู้สึกเครียด หรือสับสนกับการค้นหาอัตลักษณ์ (Identity) และการรับรู้คุณค่าในตนเอง (Self-esteem) เราจะเอาชนะปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยการแรงสนับสนุนทั้งด้านอารมณ์ (Emotional support) และทางสังคม (Social support) จากคนที่รักเรา ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงครอบครัวเป็นอันดับแรก แต่ถ้าเรารับรู้แล้วว่าครอบครัวไม่ใช้พื้นที่ตรงนั้นสำหรับเราล่ะ ? เราจะรู้สึกว่าแตกสลายแค่ไหน ?

‘โดดเดี่ยวและว่างเปล่า’ เมื่อมองไปในบ้านไม่เห็นเซฟโซน

และยิ่งแตกสลายมากขึ้น ในวันที่ครอบครัวไม่เซฟใจกัน 😢

เราเครียดและเป็นทุกข์เมื่อถูกคุกคามพื้นที่ปลอดภัย โดนทำร้ายจิตใจจากคนนอกบ้านก็ว่าหนักแล้ว แต่ยิ่งเจ็บมากขึ้นไปอีกเมื่อครอบครัวหรือคนใกล้ตัวทำร้ายเรา Anita Vangelisti ศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารแห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัสในออสตินกล่าวว่า “ความเจ็บปวดคืออาการบาดเจ็บทางอารมณ์ซึ่งอาจเกิดจากการสื่อสาร และการทำร้ายจิตใจในครอบครัว (Family hurt) นั้นเจ็บปวดเป็นพิเศษด้วยเหตุผลบางอย่าง” หลัก ๆ เลย คือ

  1. ความเชื่อที่ว่า “ครอบครัว” รักเราโดยไม่มีเงื่อนไข

คนส่วนใหญ่มีความเชื่อที่ยึดถือมานานว่าสมาชิกในครอบครัวคือคนที่จะข้างเรา (Be there) อย่างไม่มีเงื่อนไข เรียกว่าสายใยในครอบครัวได้สร้างความผูกพันตั้งแต่เราเกิดมาโดยปริยาย เมื่อสิ่งที่เข้ามากระทบใจมีสาเหตุมาจากการกระทำหรือคำพูดของคนในครอบครัว ความรู้สึกเราจึงเหมือนถูกดึงขึ้นดึงลงไปด้วย แม้คนอื่นจะทำร้ายเราในลักษณะเดียวกันแต่เราจะรู้สึกว่าบาดแผลจากครอบครัวนั้นรุนแรงกว่ามาก

  1. ความทรงจำในบ้านถูกนำมาใช้ทำร้ายกัน

สมาชิกในครอบครัวที่ใช้เวลาร่วมกันหลายเดือนหลายปี บางคนก็เทียบเท่าอายุปัจจุบัน เราต่างมีเรื่องราวมากมาย ไม่ว่าจะเรื่องน่าอาย ตลกขบขันในวัยเด็ก ประวัติที่ผิดพลาด จุดด้อยที่อยากปกปิดและอีกมากมาย ใครจะรู้ว่าคนในครอบครัวจะล้อเลียนในเรื่องที่เราไม่ชอบซ้ำ ๆ ตอกย้ำบาดแผลเดิมอยู่บ่อย ๆ ยิ่งคิดจะลบก็ยิ่งเครียด กลายเป็นคนในครอบครัวนั่นเองที่ข้ามเส้นมาภายใต้คำอ้างว่า “ไม่เห็นเป็นไร คนในครอบครัวทั้งนั้น”

  1. ครอบครัวเดียวกัน ไม่ต้องเกรงใจ ?

สมาชิกในครอบครัวมักจะพึ่งพาอาศัยกันในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการสนับสนุน คำแนะนำและการเงิน แถมคนในบ้านยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนทางอารมณ์ (Emotionally invested) ซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างเวลาที่เราระเบิดอารมณ์ฟูมฟาย เราคาดหวังว่าคนในครอบครัวจะเป็นเซฟโซนเหมือนที่เราโอบกอดพวกเขา ในใจเผลอคิดไปว่าถ้าเราทำบางสิ่งจะได้รับการตอบสนองบางอย่างกลับมา จนกลายเป็นวังวนที่ทำให้เครียดและเจ็บปวดมากกว่าความสัมพันธ์แบบอื่น ๆ

  1. เจ็บแค่ไหนก็ยังวนเวียน

ถ้าใครทำให้เราเจ็บเราก็พร้อมจะถอยห่าง ยิ่งถ้าขยับความสัมพันธ์เข้ามาเป็นเพื่อนหรือคนรักก็ยิ่งตัดยาก แล้วแบบนี้เราจะผลักครอบครัวออกไปได้ไกลแค่ไหนในวันที่พวกเขาทำให้เราเจ็บ ? ห่างเหินชั่วคราวสุดท้ายก็เหมือนวนกลับมาสู่บาดแผลเดิม เรื่องเดิม ๆ ก็ขุดมาตอกย้ำกันอีก ทำให้เราเหนื่อย เครียด หรือโมโหจนแทบบ้า แล้วเราก็ได้แต่บอกตัวเองให้กลั้นใจลืมมันไป ทั้งที่ใจเราไม่เคยจะชิน

🏡 ‘เซฟโซน’ ไม่ใช่แค่พื้นที่ แต่คือความรู้สึกที่ต้องสร้างไปด้วยกัน

ในหลายครอบครัวการสร้าง “พื้นที่ปลอดภัย” หรือเซฟโซนสำหรับสมาชิกทุกคนในบ้านอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย ไม่ว่าสมาชิกในครอบครัวแต่ละคนจะมีบทบาทไหน ปัญหาเรื่องพฤติกรรม ความไว้วางใจ และความใส่ใจก็เกิดได้กับทุกครอบครัว

Courtney Pullen ให้คำแนะนำในฐานะที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของครอบครัวว่า “ความเป็นครอบครัวคือการมองเห็นความสำคัญในการรักษารูปแบบและบรรทัดฐานของบ้านไว้ ครอบครัวต้องใช้เวลาและพลังอย่างมากในการลงทุนเพื่อทำความฝันและความต้องการของคนในบ้านให้ประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับที่ครอบครัวทำในการสร้างค่านิยมและตั้งเป้าหมายร่วมกัน”

Roy Kozupsky ทนายความด้านธุรกิจครอบครัวที่มีชื่อเสียงในนิวยอร์กบอกว่า “ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จไม่เพียงแต่รักษาความมั่นคงและแบบแผนของพวกเขาได้ แต่ยังมีหลายสิ่งที่เหมือนกัน คือ ความรู้สึกที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของครอบครัว และความรู้สึกร่วมกันต่อความมั่นคงของครอบครัวและวิธีปฏิบัติตัวต่อคนอื่น ๆ”

ถึงบาดแผลจะไม่หายไป แต่เยียวยาได้ด้วยความรู้สึก

แม้การสร้างเซฟโซนในพื้นที่ที่เคยแตกสลายจะเป็นเรื่องยาก แต่สมาชิกในบ้านสามารถช่วยขจัดสิ่งที่เป็นพิษได้ เริ่มต้นจากวิธีดังต่อไปนี้

  1. รับทราบปัญหาร่วมกัน

อย่าลืมมาว่าเราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะรู้สึกปลอดภัยในบ้านของเราเอง การปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ใดก็ตามย่อมมีอุปสรรค มีสิ่งที่เราไม่ชอบ มีคนที่ทำให้เราทุกข์ จนกลายเป็นความเครียดที่เกิดย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ สิ่งสำคัญคือเราต้องตระหนักถึงสถานการณ์ในบ้าน ความไม่ปกติต่าง ๆ ปัญหาที่เรามองเห็นและไม่เห็น อะไรที่อันตรายต่อความรู้สึก ต้นตอของความเครียด หากไม่ได้มองปัญหาให้ชัดเจน การจะหาทางแก้ไขหรือสร้างเซฟโซนก็คงเป็นเรื่องยากอยู่ดี

  1. จัดการสิ่งที่เป็นพิษ

เริ่มจัดการกับสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่ไม่ปลอดภัยหรือที่กระตุ้นอารมณ์ลบ ๆ อย่างจริงจัง เราอาจรู้สึกหงุดหงิด เครียด โกรธ หรือเหนื่อยล้าในเวลาที่ต่อสู้กับอะไรสักอย่าง เป็นเรื่องปกติที่เราจะรู้สึกกลัว ละอาย หรือกังวลว่าคนอื่นจะมีท่าทีอย่างไรเมื่อเราบอกถึงปัญหาในครอบครัว แต่หัวใจของเราที่แบกความเจ็บปวดจะไม่มีวันหายถ้าเราไม่แก้ไขมัน

  1. คุยกับใครสักคน

เราเป็นแค่มนุษย์ธรรมดาที่เจ็บได้ร้องไห้เป็น ถ้าเราเริ่มรู้สึกว่าบรรยากาศในบ้านทำให้เราเครียด ความสัมพันธ์แย่จนเกินรับไว้ ลองรวบรวมความกล้าบอกใครสักคนที่ไว้ใจเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น เราอาจอยากพูดออกไปว่าเราเกลียดคนที่เราเรียกว่า “ครอบครัว” และอาจมีคนมากมายที่ไม่เข้าใจจุดนี้ แต่การพูดคุยและปล่อยภาระในใจก็ช่วยเราได้มาก เพียงแค่เราต้องเลือกคนที่จะมาเป็นเซฟโซนให้ใจเราดูบ้างสักคนเท่านั้นก็พอ

  1. รับการช่วยเหลือจากมืออาชีพ

ไม่ผิดเลยถ้าบางอย่างในชีวิตนั้นอยู่เหนือการควบคุมของเรา การเอาความสำเร็จหรือล้มเหลวไปผูกกับปมปัญหาในชีวิต มีแต่ทำให้เครียด เครียด แล้วก็เครียด ! รู้ตัวอีกที สุขภาพจิตก็ถดถอยไปมาก นั่นเป็นจุดที่เราต้องจริงจังกับการหันกลับมาเป็นเซฟโซนให้ตัวเอง สิ่งที่อูก้าย้ำอยู่เสมอ คือ อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่พร้อมช่วยเรารับมือกับสถานการณ์และจัดการกับอารมณ์ ซึ่งในปัจจุบันมีช่องทางมากมายในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพใจทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น

“ใจเราต้องมีเซฟโซนเป็นของตัวเอง”

ไม่ใช่ทุกครอบครัวจะเป็นเซฟโซนได้ และนั่นก็ไม่ใช่ความผิดของคุณหรือความโชคร้ายของใคร เพราะสุขภาพใจของทุกคนในครอบครัวและตัวเราสำคัญมาก เพราะปัญหาครอบครัวนั้นซับซ้อนและเป็นปัญหาต้น ๆ ที่ทำให้เกิดความเครียดสะสม วิตกกังวล ซึมเศร้า ฯลฯ เราจึงต้องให้นักจิตวิทยาและจิตแพทย์เข้ามาช่วยดูแล

#อูก้ามีทางออก #จิตแพทย์ออนไลน์ #ปรึกษานักจิตวิทยาออนไลน์

อูก้าเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีทั้งนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ ที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดีไว้คอยดูแลใจทุกคนมากกว่า 90 ท่าน สามารถพูดคุยปรึกษาได้ผ่านรูปแบบของวิดีโอคอล รองรับทั้ง iOS และ Android สะดวกทุกที่ทุกเวลา ทั้งเป็นส่วนตัวและไม่ต้องเดินทาง เลือกผู้เชี่ยวชาญและเลือกช่วงเวลาที่ต้องการได้ตามใจคุณ

ไม่ว่าจะเรื่องอะไรอูก้ายินดีแบ่งเบาทุกปัญหาใจและพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คุณเสมอ อย่าลืมนะว่าเราสามารถปกป้องตัวเองได้เท่าที่เราต้องการ เริ่มจากการสร้างเซฟโซนในใจเพื่อตัวเราเองกันเถอะ

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/58uT
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

https://au.reachout.com/articles/what-to-do-when-your-home-is-no-longer-a-safe-place

https://www.denverpost.com/2016/03/11/bruce-deboskey-creating-a-safe-zone-with-family-philanthropy/

https://www.psychologytoday.com/us/blog/silencing-your-inner-bully/202002/the-source-toxic-family-relations

https://www.psychologytoday.com/us/blog/conscious-communication/201703/why-family-hurt-is-so-painful

Read More
cover - ภาษารัก

รู้ไหมว่า ‘ภาษารัก’ มีอยู่จริง!

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าคนที่เราเทใจให้ไป…เขารักเราจริงๆ ?

.

รักมันมีมากมายหลายแบบ…เจ็บทั้งแสบทั้งคัน ใช่แล้วเพื่อนๆ ความรักของมนุษย์มันมีหลายรูปแบบจริงๆ ทั้งความรักแบบเพื่อนกับเพื่อน พ่อแม่กับลูก ลูกกับพ่อแม่ น้องรักพี่ พี่รักน้อง ญาติผู้ใหญ่รักหลานๆ หัวหน้างานรักลูกน้อง รักแบบแฟนหรือคู่รัก รักหมา รักแมว รักสิ่งของ และอีกมากมายนับไม่ถ้วน

Read More
Relationship Ambivalence หรือว่าเราจะเลิกกันดี ?

Relationship Ambivalence หรือว่าเราจะเลิกกันดี ?

Relationship Ambivalence เราควรจะเลิกกันไหม หรือเลิกแล้วจะ regret หรือเปล่า
.
หลายคนคิดวนกับคำถามนี้ในใจ จะหยุดคิดก็หยุดไม่ได้ วันนี้เรามาทำความรู้จักและเข้าใจสถานะความไม่สบายใจนี้กันครับ
.
Relationship Ambivalence คือ ความสัมพันธ์ที่เรารู้สึกสับสน ปนความไม่แน่นอนในใจ คำว่า “Ambivalence” นิยามถึงประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ทางจิตวิทยาเมื่อด้านบวกและลบของเรื่องราวในปัจจุบันในใจของเรานั้น เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ความคิดความรู้สึกผสมนี้เกิดขึ้นพร้อมๆกัน เช่น รักจะไปไหวไหม เราควรเลิกกัน แต่ถ้าเลิกลาก็กลัวการถูกทอดทิ้ง เลิกแล้วจะ regret หรือเปล่า เมื่อคุณยังคงติดอยู่ในสถานะที่ไม่สบายใจนี้ เป็นยากที่จะสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง และยั่งยืน

Read More
cover - ความสัมพันธ์ที่พอดีกับใจ

ความสัมพันธ์ที่พอดีกับใจ

คุณรู้สึกไหม ? ว่าคำว่า “พอดี” มันดูกลมกล่อมไปหมด ยิ่งหากถูกใช้ในความสัมพันธ์แล้วละก็มันยิ่งดูลงตัวและรู้สึกสงบมากกว่าคำอื่นๆ แต่ก่อนที่ใครคนนึงจะวิ่งมาเจอคำว่าพอดี คงต้องผ่านบททดสอบที่ขาดๆ เกินๆ มาอยู่ไม่น้อย เพราะอะไรที่ “พอดีกับใจ” ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครๆ จะหาเจอ

Read More
cover - ช่วง covid19 เราจะรู้ได้ไงว่าใครคุยกับเราจริงจังหรือแค่แก้เหงา

ช่วง covid19 เราจะรู้ได้ไงว่าใครคุยกับเราจริงจังหรือแค่แก้เหงา

วันนี้อูก้ามาตอบข้อสงสัย เรื่องหัวใจกับทุกคนกันนะว่า “ช่วงCOVID19 เราจะรู้ได้ไงว่าใครคุยกับเราจริงจังหรือแค่แก้เหงา ?”
.
วันนี้เราได้นักจิตวิทยาใจดี “คุณ กอบุญ เกล้าตะกาญจน์” มาให้ข้อสังเกตและเกร็ดความรู้ดีๆ ให้กับทุกคนกันนะ
.
ในช่วง COVID19 การจะดูว่าใครเข้าหาเราด้วยท่าทีแบบไหน ไม่ได้แตกต่างจากช่วงเวลาปกติมากนัก เพียงแต่สถานการณ์ที่ต้องกักตัวอยู่อย่างเหงาๆ เช่นนี้ อาจจะเพิ่มลักษณะการพูดคุยเพื่อแก้เหงามากขึ้นกว่าปกติ แต่ยังไงก็ตามแม้หลายคนกำลังมองหาคนที่สมบูรณ์แบบเหมือนเจ้าชายกับเจ้าหญิงเทพนิยาย และต่างรอคอยว่าสักวันเราจะพบใครคนนั้นที่รอเราอยู่ แต่ ความรักไม่ใช่สิ่งที่เราได้ทุกอย่างตามที่เราต้องการ เป็นเรื่องดีที่มีคนคุย ยิ่งคิดตรงกันพัฒนาสู่ความจริงจังได้ เพียงแต่เราต้องลองดูว่าลักษณะการพูดคุยแบบไหนที่จะเรียกได้ว่า #คนที่กำลังคุยกับเราเขาจริงจังนะ

Read More
  • 1
  • 2