Positive วันละนิด จิตแจ่มใส… จิตวิทยากฎแรงดึงดูด ยิ่งคิดบวกชีวิตยิ่งดี

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องกฎแรงดึงดูด (Law of Attraction) หรือแม้กระทั่งลองทำด้วยตัวเอง แนวคิดเรื่องกฎแรงดึงดูดไม่ใช่เรื่องใหม่ แนวคิดนี้ได้รับการกล่าวถึงในระดับสากล โดยหลักการของกฎคือ ถ้าหากเราเชื่อในสิ่งที่ดี คิดในสิ่งที่ดี เรื่องดี ๆ จะดึงดูดเข้ามาในชีวิตเรา และในทางตรงกันข้ามหากความคิดของเราเป็นเชิงลบจะได้ผลลัพธ์ในเชิงลบตามมา

พอลองทำความเข้าใจกฎไปแล้วเรากลับรู้สึกว่า เอ้ะ… มันพอจะมีอะไรมาอธิบายหลักการและเหตุผลของมันได้หรือเปล่า คุณฉันท์ธนิตถ์ สิมะวรางกูร นักจิตวิทยาการปรึกษาจากแอปพลิเคชันอูก้า อธิบายว่า

“ถ้าเราไปอ่านในเอกสารพวก Neuroscience (ประสาทวิทยาศาสตร์) มันจะชัดเลยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง โดยนักวิทยาศาสตร์ทางด้านสมองจะพูดว่า คลื่นสมองของมนุษย์มีลักษณะเป็นคลื่นไฟฟ้า มีสนามแม่เหล็ก ซึ่งมันเป็นพลังงานทั้งหมด แต่ว่าตาของมนุษย์มองไม่เห็น”

“กฎแรงดึงดูด มันมีอยู่จริงในระบบของพลังงาน ทำไมคนเราถึงพูดว่าคิดแบบนี้สิแล้วมันจะเรียกสิ่งนี้มา จริง ๆ แล้วมันคือการทำงานของคลื่นสมองของเรา ถ้าเกิดเราไปศึกษาในเอกสารเกี่ยวกับคลื่นพลังงานของมนุษย์ในระดับอารมณ์ เราจะเห็นเลยว่ามนุษย์มีความถี่ของคลื่นอารมณ์แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ถึงเป็นคำตอบว่าทำไมกฎแรงดึงดูดถึงมีอยู่จริง…”

กฎแรงดึงดูด ไม่ใช่เรื่องที่คิดไปเอง แต่เป็นเรื่องของวิทยาศาตร์ และเปลี่ยนแปลงกลไลทางสมอง ที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงนี้เราสามารถสร้างได้ด้วยตนเอง ดังนั้นคำว่าความสุขสร้างได้ด้วยตัวเราเอง ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยสักนิด ยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลในงานวิจัยเรื่อง Optimism and its impact on mental and physical well-being พบว่า คนที่มองโลกในแง่ดี จะเป็นคนที่มีสุขภาพดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น ทั้งยังมีโอกาสในการประสบความสำเร็จมากขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้มีความคิดที่มุ่งหาความสำเร็จมากกว่าจะหันมองหาความล้มเหลวในชีวิต

เพราะฉะนั้นหากเรากำลังตามหาสิ่งดี ๆ ตามหลักของกฎแรงดึงดูด เราอาจเริ่มจากความคิด โดยมองหาจุดโฟกัสของชีวิต ตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ โดยมีความเชื่อว่าเราจะพิชิตมันได้ การหาโอกาสใหม่ ๆ ในชีวิตพร้อมพลังงานบวกที่บอกกับตัวเองว่าเราสามารถทำมันได้ จะทำให้เราพาตัวเองไปเจอกับสิ่งใหม่ที่ดีขึ้น มากกว่าปล่อยโอกาสนั้นให้หลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย นอกจากนี้คุณฉันท์ธนิตถ์ ยังบอกกับเราอีกว่า

“ให้ทำความเข้าใจระบบการทำงานของสมองมนุษย์ว่า สมองของเราจะเก็บข้อมูลไปประมวลกับชุดประสบการณ์ และชุดการเรียนรู้ ที่เรามีอยู่ในตัวเองตั้งแต่เด็กจนโต ถ้าหากเราเก็บข้อมูลในเชิงบวกมันจะเข้าไปช่วยสร้างความคิดในเชิงบวกให้เรานำมารับมือต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดกับเราได้”

สิ่งเหล่านี้บอกกับเราชัดเจนว่า ตัวเราเองคือแกนกลางของการสร้างพลังงาน ดังนั้นเมื่อเข้าใจแล้วสิ่งที่เราทำได้คือเราควรเลือกรับสิ่งที่ดีเพื่อตัวเราเอง ซึ่งตรงกับหลักของกฎแรงดึงดูดไม่ผิดเพี้ยน…. แต่ ชีวิตของเรามีบางครั้งที่อาจต้องเผชิญกับวิกฤต ทำให้เราไม่อาจหลีกเลี่ยงพลังงานในด้านลบได้ ถึงเราจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แต่เราสามารถจัดการได้ไม่ยากโดยทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

5 ข้อแนะนำ จิตวิทยากฎแรงดึงดูด ในการจัดการพลังงานลบ

  1. ปั่นพลังงานตนเองให้เป็นพลังงานเชิงบวก ให้มีทัศนคติในเชิงบวกให้ได้ แต่หากเรารู้ตัวเองว่าไม่ไหวไม่จำเป็นต้องพยายามเพียงแค่พาตัวเองมาอยู่ในจุดความรู้สึกที่เป็นกลางได้ ถือว่าเพียงพอ
  2. มองโลกอย่างตรงไปตรงมา แม้จะเป็นเรื่องในเชิงลบให้เผชิญหน้าแล้วใช้ความเมตตาและความรักในการทำความเข้าใจ
  3. คุยกับใจตัวเอง… ในเวลากำลังรู้สึกไม่มีความสุข กำลังไม่พึงพอใจในเรื่องไหน เมื่อรับรู้แล้วให้ให้อภัยกับตัวเอง
  4. พาตัวเองไปสู่สิ่งที่ดี การเลือกสังคม หรือชุมชนที่ดีเพื่อตัวเราเอง หากไม่สามารถดึงพลังงานในเชิงบวกจากตัวเองได้ การมีเพื่อนที่ดี อยู่ในสังคมที่ดีจะช่วยเติมพลังงานบวกให้เราได้
  5. หาต้นแบบหรือไอดอลในการใช้ชีวิต สิ่งนี้จะช่วยให้เราพาตัวเองมองหาโอกาสและพาตัวเองไปสู่ความสำเร็จ

สำหรับใครกำลังมีคำถามว่าเมื่อไหร่เราจะพบกับสิ่งดี ๆ ล่ะก็ อาจจะลองนำคำแนะนำเหล่านี้ไปปรับใช้กันดูได้ และเมื่อเรามีความเชื่ออย่างมั่นคงว่า สิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นกับตัวเราแล้วในอนาคตต่อไป “กฎแรงดึงดูด” จะพาความสุขมาให้เราได้แบบไม่ต้องถามหาความสุขจากใครแน่นอน

อูก้าเป็นกำลังใจเพื่อนๆเสมอนะ!

– แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

อ้างอิง

https://www.verywellmind.com/understanding-and-using-the-law-of-attraction-3144808#citation-2

https://clinical-practice-and-epidemiology-in-mental-health.com/VOLUME/6/PAGE/25/FULLTEXT/

https://www.forbes.com/sites/forbescoachescouncil/2020/10/13/the-mystery-and-science-behind-the-law-of-attraction/?sh=321b19171a55

Read More

“สู้ชีวิต อย่าให้ชีวิตสู้กลับ” มาสร้างกำลังใจให้ตัวเอง ยิ้มรับแรงกระแทกจากคลื่นลูกสุดท้ายของปีกันเถอะ

“กำลังใจที่สำคัญที่สุด คือกำลังใจที่มาจากตัวเราเอง” เรียนรู้วิธีสร้างกำลังใจให้ตัวเองเพื่อช่วยฟื้นฟูจิตใจได้อย่างยั่่งยืน เสริมความแข็งแกร่งเตรียมพร้อมรับทุกอุปสรรคในชีวิต แม้กระทั่งวิกฤติสิ้นปี เราก็จะพิชิตมันไปได้

โดยปกติแล้ว “กำลังใจ” เป็นสิ่งที่เรามักจะได้รับมาจากคนอื่น หรือมอบให้คนอื่น โดยกำลังใจเกิดจากความเห็นอกเห็นใจ เพื่อแสดงให้เห็นว่าอีกฝ่ายไม่ได้เผชิญความยากลำบากอยู่คนเดียว 

แล้วถ้าเราอยากจะให้กำลังใจตัวเองล่ะจะต้องทำอย่างไร? มันจะต่างจากการเห็นใจคนอื่นรึเปล่า? โดยเฉพาะเมื่อเราเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี ที่กว่าจะฝ่าฟันมาจนถึงตอนนี้ ทำเอาบอบช้ำทั้งกายและใจไปไม่น้อย ยิ่งใกล้จะหมดปีก็ยิ่งท้อ มีทั้งความเครียดสะสมและความเหนื่อยล้าจากการไม่ได้หยุดพัก ใกล้หมดแรงเต็มทีแล้วยังต้องมารับมือกับสามเดือนที่เหลืออีก 

ในช่วงเวลานี้หลาย ๆ คนมักจะหมดไฟในการทำงานได้ง่าย ๆ เพราะมัวแต่จดจ่อกับแพลนฉลองสิ้นปีที่เตรียมเอาไว้ เกิดความรู้สึกที่อยากจะข้ามผ่านช่วงเวลานี้ไปเร็วๆ อยากให้ถึงสิ้นปีไว ๆ จะได้พักเสียที ความรู้สึกเหล่านี้จะทำให้หมดกำลังใจในการทำงาน และไม่มีความสุขในการทำงาน 

หากตกอยู่ในสภาวะนี้ไม่ควรปล่อยไว้ให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต การให้กำลังใจตัวเองจึงเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยให้เราผ่านพ้นปีนี้ไปด้วยรอยยิ้ม แต่ถ้าถามว่า ทำไมเราต้องให้กำลังใจตัวเองด้วย? ในเมื่อเรามักจะได้รับกำลังใจมากจากคนอื่นอยู่แล้ว

คำตอบก็คือ กำลังใจจากคนอื่นเป็นสิ่งได้รับมาจากภายนอก นำไปใช้แล้วก็หมดไป หากต้องการอีกก็ต้องรอจากคนอื่น ต่างจากกำลังใจที่สร้างมาด้วยตัวเอง จะอยู่กับตัวเราได้ยาวนาน มีความมั่นคง และเป็นเสมือนเกราะป้องกันจิตใจเราให้แข็งแกร่ง ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คล้าย ๆ กับ “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ในทางพุทธศาสนานั่นเอง

กลไกการทำงานของกำลังใจเมื่อเราได้รับมา จะมีการปลอบประโลม เยียวยา ฟื้นฟูสภาพจิตใจให้ดีขึ้นพร้อมดำเนินชีวิตต่อไป การให้กำลังใจตัวเองเป็นการทำอะไรก็ตามที่เมื่อทำแล้วเรามีความสุข ดังนั้นวิธีการให้กำลังใจตัวเองของแต่ละคนจึงมีความแตกต่างกันไป

บางคนเลือกใช้วิธีเบสิกอย่าง “การพูดให้กำลังใจตัวเอง” อาจจะพูดกับตัวเองตอนส่องกระจก พูดกับตัวเองลงโซเชียลมีเดีย หรือเขียนลงในไดอารี่ ผ่านช่องทางไหนก็ได้ให้สารถูกส่งถึงตัวเอง โดยคำพูดนั้นเลือกเป็นคำพูดที่เราอยากได้ยิน 

อาจจะเป็นคำชมเชยทั่วไปที่สร้างพลังบวก เราสามารถชื่นชมตนเองและผู้อื่นได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยอย่างการเข้าทำงาน-เลิกงานตรงเวลา ทำยอดขายได้ดี เคลียร์งานเสร็จ ไปจนถึงจบงานได้อย่างราบรื่น 

หากไม่มีผลงานเกี่ยวกับทำงานเลย ก็ให้ชมเรื่องการแต่งตัวไปทำงาน เช่น “วันนี้แต่งตัวสวยจัง” สร้างบรรยากาศให้น่าไปทำงาน อย่าคิดว่าเป็นการพูดไปเรื่อยเปื่อย เพราะการที่เราชมตัวเอง หมายถึงเรามีความคิดดี ๆ เกี่ยวกับตัวเอง การใช้ชีวิตด้วยแนวคิดด้านบวกส่งผลดีต่อสุขภาพจิต 

นักจิตวิทยาของ OOCA กล่าวว่า “การชมเชยตัวเองเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนควรฝึกฝน ดัชนีวัดความสุขของคนเราเกิดจากความพึงพอใจ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเราได้รับคำชมเชย” และแน่นอนว่าคำชมเชยนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง

อีกหนึ่งวิธีที่นิยมใช้เพื่อให้กำลังใจคือ “การให้รางวัล” แต่ต้องไม่ให้รางวัลพร่ำเพรื่อเพราะจะทำให้รางวัลไม่พิเศษ ที่สำคัญรางวัลต้องเป็นสิ่งที่สามารถได้รับในทันที ไม่รอนานจนเกินไปเพราะสมาธิอาจจะไปจดจ่อกับการรอรางวัล ดังนั้นรางวัลที่ให้ก็อาจจะเป็นอะไรง่าย ๆ อย่าง การไปทานของอร่อย การชอปปิ้ง การไปดูหนัง หรือทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่สร้างความสุขให้ตัวเอง

สุดท้าย เราไม่สามารถให้กำลังใจตัวเองได้ตลอดไป  “การอยู่ในสังคมที่ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน” จึงเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะสังคมแบบนี้จะสร้างพลังงานบวกให้กับผู้คน การให้กำลังใจตัวเองโดยการพาตัวเองไปอยู่ในที่ดี ๆ จะสามารถรับพลังงานบวกนั้นมาจัดการพลังงานลบที่มาจากการทำงานได้ 

หากสังคมที่คุณอยู่ไม่มีอะไรแบบนี้ ก็สร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเองโดยการเป็นฝ่ายเริ่มให้กำลังใจผู้อื่นก่อน ตามหลักการ “Give and Take” เราส่งกำลังใจไปเราก็จะได้รับมันกลับมา เพียงเท่านี้ก็จะได้บรรยากาศที่เต็มไปด้วยการให้กำลังใจกัน ความคิดที่จะให้กำลังใจตัวเองก็เกิดขึ้นตามไปด้วย

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีการให้กำลังใจตัวเองเท่านั้น ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถทำได้ ขอเพียงแค่เป็นสิ่งที่ “ทำโดยตัวเองเพื่อตัวเอง และที่สำคัญต้องสร้างความสุขให้ตัวเอง” เท่านี้ก็จะมีกำลังใจไว้ใช้หล่อเลี้ยงจิตใจยามท้อแท้แล้ว

ดังที่กวีชาวกรีกคนหนึ่งเคยกล่าวเอาไว้ว่า

“The best of healers is good cheer” 

“ผู้เยียวยารักษาที่ดีที่สุดคือกำลังใจดี ๆ ” 

มาร่วมสร้างกำลังใจให้ทั้งตัวเองและคนรอบข้าง จับมือกันข้ามผ่านปีที่ทรหดนี้ไปด้วยกัน 🙂

อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak  #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More

ชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น

“เหลือเชื่อเหมือนกันว่ายังคงมีชีวิตอยู่จนถึงตอนนี้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว และกำลังเกิดขึ้นอยู่จริงๆ”
.
ขอชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น เพราะวันนี้คือวันป้องกันการฆ่าตัวตายสากล (World Suicidal Prevention Day) ซึ่งเป็นวันสำคัญที่องค์กรอนามัยโลกและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะจิตกำหนดให้มีการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ⛅
.
สถิติระบุว่าในทุก ๆ วัน มีคนที่เลือกจะจบชีวิตด้วยตนเองวันละ 11-12 ราย นอกจากนี้ จากสำรวจของกรมสุขภาพจิต ยังพบว่า สาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย มาจากปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด (48.7%) ซึ่งในหลายครั้ง ความสูญเสียก็เกิดขึ้นโดยที่หลายๆ คน อาจไม่ทันได้ตั้งรับ และสังคมรวมถึงสื่อยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการมองว่า การฆ่าตัวตาย คือการ “คิดสั้น”

.

ไม่ว่าจะเป็นสื่อหรือสาธารณชน มักจะมองว่าการฆ่าตัวตาย คือ “การคิดสั้น” แต่แท้จริงแล้ว การฆ่าตัวตายมีกระบวนการถึง 3 ขั้นตอนก่อนจะนำมาสู่การตัดสินใจจบชีวิต อันได้แก่

.

  1. Suicidal Thought หรือ ความคิดทำร้ายตนเอง

2.Suicidal Plan คือ ขั้นตอนการวางแผนและหาวิธีที่จะทำร้ายตนเอง

3.Suicidal Attempt หรือ ขั้นตอนการพยายามฆ่าตัวตาย หรือ ทำร้ายตนเอง

.

ดังนั้น การจบชีวิตด้วยตนเอง เป็นกระบวนการที่ผ่านการคิดมาอย่างถี่ถ้วน และต้องตัดสินใจอยู่หลายตลบกว่าจะปะทุไปสู่ขั้นตอนสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้น การแปะป้ายว่า “การฆ่าตัวตาย = การคิดสั้น” เป็นการมองข้ามต้นตอของปัญหาและอาจสร้างภาพจำผิด ๆ แก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ

.

⛅ อาจารย์สิริพร เอมอ่อน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแอพลิเคชันอูก้า เผยว่า การฆ่าตัวตายนั้น ในทางจิตวิทยาได้อธิบายว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่

.

1) ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factors) เช่น สารเคมีในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน ฮอร์โมนคอร์ติซอล อยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล

.

2) ปัจจัยทางจิตวิทยา (psychological factors) ได้แก่ พฤติกรรมและบุคลิกภาพ เช่น คนที่มีนิสัยเป็น perfectionist ก็จะมีแนวโน้มกลัวความผิดพลาด และมีโอกาสเครียดง่ายกว่าคนกลุ่มอื่น

.

3) ปัจจัยทางสังคม (sociological factors) คือปัญหาที่มาจากสังคมภายนอกและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ สภาวะทางเศรษฐกิจ หรือความตึงเครียดจากภาระงาน เป็นต้น

.

ทั้งนี้ อาจารย์สิริพรยังเสริมอีกว่า ปัญหาการแม้ว่าจะมีปัจจัยไม่ครบทั้งสามด้าน เพียงแค่ปัจจัยเดียว ก็มากพอที่จะกระตุ้นให้คนหนึ่งคน เกิดความคิดทำร้ายตนเอง ดังนั้น การเฝ้าระวังและตระหนักถึงปัจจัยทาง 3 ด้าน อย่างถี่ถ้วน เป็นวิธีที่สำคัญที่จะป้องกันเพื่อน ๆ และคนรอบข้าง จากความคิดทำร้ายตัวเองซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

.

โดยที่อาจารย์สิริพรยังได้มอบคำแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถสังเกตอาการคนใกล้ชิดของเรา ผ่านการจับสัญญาณจาก 2 จุดหลัก ๆ ได้แก่ สัญญาณ verbal หรือ คำพูด และ สัญญาณ non-verbal หรือ ภาษากายและพฤติกรรม

.

⛅ หากเป็นสัญญาณ verbal เราอาจสังเกตว่า คนนั้นมักจะบ่นหรือระบายว่า “เบื่อโลก หรือ ท้อแท้” นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียถี่ขึ้นผิดปกติ การโพสต์สเตตัสระบาย หรือ การแชร์ข้อความหรือเพลงเศร้า ๆ ก็นับเป็นอีกสัญญาณที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
.

⛅ ในส่วนของสัญญาณ non-verbal อาจสังเกตได้ว่า คนใกล้ชิดของเรา มีอาการซึมเศร้า ไม่มีแรง หรือมีพฤติกรรมแยกตัวจากผู้อื่นอย่างผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้ หากพบรอยแผลตามร่างกายของคนนั้น ก็นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำคัญว่า เขากำลังต้องการความช่วยเหลือจากใครสักคนอยู่ก็เป็นได้

.

⛅ นอกจากนี้ อาจารย์สิริพรยังแนะนำว่า เมื่อไหร่ที่หลุดเข้าไปอยู่ในห้วงความเศร้าเป็นระยะเวลานาน จนไม่สามารถหาทางออกมาจากความรู้สึกเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง หากเราเริ่ม รู้เท่าทันความรู้สึกตัวเอง และตระหนักอยู่เสมอว่าความเศร้าจะไม่อยู่กับเราไปตลอด เราก็อาจมีโอกาสหาทางออกให้กับชีวิตได้

.

⛅ แม้ว่าการตกอยู่ในภวังค์แห่งความเศร้า จะเหมือนกับการว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรโดยมองไม่เห็นชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความช่วยเหลืออีกมากมายในโลกนี้ที่รอให้เราเดินเข้าไปหา ไม่ว่าจะจากคนแปลกหน้า คนที่เรารัก หรือผู้เชี่ยวชาญ

.

💙💙 โดยเนื่องในเดือนป้องกันการฆ่าตัวตายสากลนี้ ผู้ใช้บริการปรึกษาปัญหาใจกับอูก้าครั้งแรก จะได้รับส่วนลด 5% เมื่อจองนัดหมายและกรอกรหัส OOCACARES ผ่านแอปพลิเคชัน ooca 💙💙 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ https://ooca.page.link/fbnewcomer2 และใช้โค้ดได้ถึง 30 กันยายน 2565 (*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ) ⛅

Read More

รู้ไหมว่าความผิดพลาดนั้นไม่ได้อยู่กับเราไปตลอดกาล

“ถ้าเจออุปสรรคขนาดนี้ ล้มเลิกดีกว่าไหม?” ประสบการณ์เหล่านี้ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า Setbacks หรือ อุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้งานสักงานหนึ่งไปถึงได้ตามเป้าหมาย โดยน่าสนใจว่ามีการทดลองหนึ่งในอดีตเผยว่า “อุปสรรคที่ทำให้งานเชื่องช้าและไม่ก้าวหน้า” ส่งผลต่อการหมดหวังหมดกำลังใจมากกว่า “อุปสรรคที่สร้างความเสียหายโดยตรง”

.

James Beck, Abigail Scholer และ Jeffrey Hughes ได้ทำการวิจัยเพื่อหาข้อมูลมาสนับสนุนความคิดดังกล่าว พวกเขาได้ออกแบบการทดลองขึ้น 2 การทดลอง โดยแยกประเภทของ อุปสรรคเป็น 2 ประเภท คือ

1.อุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า (distance setbacks) ทำให้สูญเสียความก้าวหน้าในการทำงานต่าง ๆ ซึ่งเพื่อน ๆ อาจจะเคยเจอเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น คอมพิวเตอร์ดับหรือเสียระหว่างกำลังทำรายงานที่ต้องส่งภายในวันนี้และงานที่ทำมาทั้งหมดถูกลบหายไป ทำให้เราต้องทำงานใหม่ทั้งหมดในระยะเวลาอันน้อยนิด

2.อุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง (velocity setbacks) คือลักษณะของอุปสรรคที่ลดอัตราความก้าวหน้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ความคืบหน้าที่เป็นอยู่ของงาน ณ ปัจจุบันยังไม่ได้หายไป แต่จะเกิดความล่าช้าในอนาคตได้ เช่น คอมพิวเตอร์ของเพื่อน ๆ ติดไวรัส ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้าลง

ในการทดลองนี้ ผู้เข้าร่วมการทำลองจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มด้วยการสุ่ม เพื่อจะได้เจอประสบการณ์อุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า หรือ อุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง ผลจากการทดลองพบปฏิกิริยาลบในตอนแรก ทั้ง 2 ประเภทของอุปสรรค

.

โดยผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งสองกลุ่มมีความอึดอัดคับข้องใจ นอกจากนี้ยังขาดความกระตือรือร้นที่จะทำงาน แต่ความแตกต่างคือ

>> กลุ่มที่ประสบกับอุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า (distant setbacks) มีแนวโน้มที่จะสามารถกลับมาลุกขึ้นสู้ทำงานจนบรรลุเป้าหมายได้อีกครั้งเมื่อถึงช่วงจบการทดลอง 

>> ส่วนกลุ่มที่ประสบกับอุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง (velocity setbacks) มีความอึดอัดคับข้องใจมากขึ้นและมีความกระตือรื้อร้นต่ำเป็นเวลานาน แม้เวลาจะผ่านไปแล้วก็ตาม 

ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า อุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง (velocity setbacks) เป็นตัว “หน่วงความก้าวหน้า” ได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า (distant setbacks)

.

แล้วเราจะจัดการกับอุปสรรคที่ฉุดรั้งความก้าวหน้าของงานนี้ยังไงดีล่ะ? 

แน่นอนว่ามันอาจจะไม่ได้มีสูตรสำเร็จที่ตายตัวเสียทีเดียว นักจิตวิทยาคลินิกจากอูก้าได้ช่วยให้ข้อมูลต่าง ๆ และคำแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เพื่อน ๆ ทุกคนสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละคน

  1. “เรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาที่เกิดขึ้น”

เพราะการที่เราวิ่งหนีปัญหาไม่ว่าจะวิ่งให้ไกลสักเพียงใด ปัญหาเหล่านั้นก็ไม่มีวันหายไปไหนเลย การที่เรายิ่งรับรู้ได้เร็วว่า “ตอนนี้โปรเจกต์มีปัญหาเรื่องนี้อยู่นะ” เราจะยิ่งสามารถหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น และถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่สามารถทำได้ดี 100% ก็ไม่เสียหายอะไร เพราะเราได้พยายามอย่างสุดความสามารถแล้ว ในทางกลับกัน หากเรากลัวที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา ทุกอย่างอาจจะสายเกินแก้ และจะกลายเป็นว่า ทุกอย่างยังอยู่ที่ 0%

.

  1. “เจ้าความผิดพลาดจะไม่ได้อยู่กับเราไปตลอดกาล”

ทุกความพลาดพลั้งในหน้าที่การงานอาจทำให้เรารู้สึกแย่ หรือไม่กล้าที่จะทำอะไรอีกเลย แต่เมื่อเวลาผ่านไปแล้วได้มองย้อนกลับไปในอดีต เราจะค้นพบว่าในเวลานี้ เราจะมีทางลัดที่ง่ายกว่าเดิม เพราะเราได้เรียนรู้และเติบโตจากบทเรียนแห่งความล้มเหลวที่ว่านี้นั่นเอง

.

  1. “ถอดบทเรียนที่ได้ เพื่อนำไว้ใช้ในอนาคต”

ทุกความผิดพลาดกลายเป็นครูของเราได้หากเราถอดบทเรียนจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้น โดยนำมาพิจารณาว่า แผนงานของตนเองมีช่องโหว่ตรงไหนที่เราสามารถอุดรอยรั่วได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำเหมือนในอดีต และยิ่งเข้าใจอดีตที่ผิดพลาดได้มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เรากล้าเผชิญกับความท้าทายในอนาคตได้มากขึ้น

.

  1. “อย่าคิดลบกับตัวเอง”

ถ้าเพื่อน ๆ คิดว่า “ฉันไม่เก่งเอาเสียเลย” “ทำไมฉันถึงทำได้แย่ขนาดนี้” จะยิ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลงตามความคิดที่เราบอกกับตัวเองในหัว เสียงวิจารณ์ภายในตัวเราทำให้เรากลัวที่จะ “ลองดูอีกสักครั้ง” หรือกลัวที่จะ “ลุกขึ้นสู้อีกสักหน่อย” ถ้าเราลองเปลี่ยนเสียงวิจารณ์ภายในให้กลายเป็นคำชื่นชมปลอบประโลมหัวใจของเราให้กลับมาสดใส และมี energy ที่จะฝ่าฟันทุกอุปสรรคที่เข้ามา การทำงานโดยภาพรวมก็จะดีขึ้นด้วย

  1. “ปรับความคาดหวังให้เหมาะกับสถานการณ์”

เมื่อเกิดอุปสรรคขึ้น โดยเฉพาะในแบบที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง หากเรามองเห็นว่าอุปสรรนั้นมาจากภายนอกตัวเราที่เหนือการควบคุม การปรับความคาดหวังใหม่ หรือ การปรับแผนงานใหม่ ให้สอดคล้องกับสถการณ์ที่เกิดขึ้นจะช่วยลดกดดัน ความเครียดที่จะต้องทำงานให้เสร็จภายในกำหนดเส้นตาย และเพิ่มไฟในการทำงานให้กลับขึ้นมาได้เร็วขึ้น หากพยามฝืนทำตามแผนเดิมต่อไปจะยิ่งทำให้กำลังในการทำงานลดลงลงเรื่อยๆ  

  1. “ขอความช่วยเหลือเมื่อคุณต้องการ”

หากต้องการความช่วยเหลือ ให้ส่งเสียงออกมา เพราะเพื่อน ๆ ไม่ได้เผชิญหน้ากับความท้าทายอยู่คนเดียว อย่าลืมว่ายังมีเพื่อนร่วมงานที่คอยช่วยกันนำพาโปรเจกต์ต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ ยังมีครอบครัว หรือคนที่คุณรักคอยเป็นกำลังใจอยู่ข้าง ๆ และท้ายที่สุด ยังมีอูก้าที่อยู่ตรงนี้เสมอ คอยรับฟังทุกเรื่องราว และคอยสนับสนุนเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คนเพื่อให้จัดการอุปสรรคไปได้

.

หากเพื่อน ๆ หกล้มระหว่างทางแห่งความสำเร็จจนได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะแผลเล็ก หรือแผลใหญ่ อูก้าก็จะคอยเป็นยาใจรักษาแผลให้เพื่อน ๆ จนหายดี มูฟออนและกลับมาลุกขึ้นเดินหน้าต่อไป…อีกครั้ง

ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues

#นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Sources:

Read More

เมื่ออาการทางกาย หลายครั้งสัมพันธ์กับอาการทางใจ

อ.สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาของอูก้า เล่าให้เราฟังว่า “หลายๆ คน เลือกที่จะเพิกเฉยกับความเครียดหรือความเจ็บปวดทางใจ จนกว่าอาการดังกล่าวจะถึงจุดพีคแล้วค่อยเข้ามาหาผู้เชี่ยวชาญ” แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถมาหาผู้เชี่ยวชาญได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อคลี่คลายความเครียดและความกังวลก่อนที่ทุกอย่างจะสายและพังทลายลงมา

.

โดยเราสามารถเริ่มต้นสังเกต “สัญญาณเตือน” ได้ว่า เรามีอาการเจ็บกายที่เกิดขึ้นจากการทำงานหรือไม่ เช่น ปวดหลัง ปวดท้อง หรืออาการปวดหัว ซึ่งอาการเหล่านี้มักถูกมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นผลปกติที่เกิดจากการทำงานหนัก แต่ที่จริงแล้ว อาการดังกล่าวก็เป็นเสียงสะท้อนของร่างกายที่กำลังบอกใบ้ว่าจิตใจของเรากำลังเหนื่อยล้าและเสียสมดุล

.

ดังนั้น ถ้ารักษาทางกายแล้วไม่ยอมหาย บางทีปัจจัยทางใจก็ต้องถูกเอามาพิจารณาด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งเราสามารถระบายความรู้สึกเหล่านี้ได้กับคนที่เราไว้ใจอย่างเพื่อน ครอบครัว หรือแฟน แต่ถ้าบางเรื่องเราไม่อยากเล่าให้คนรู้จักหรือคนที่เกี่ยวข้องฟัง การปรึกษากับนักจิตวิทยาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเยียวยาใจเราได้เช่นกัน

.

โดยเฉพาะในระยะหลังมานี้ การให้จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพจิตของบุคลากรในองค์กร ก็เป็นอีกส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางใจให้และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าใจ “ธรรมชาติ” ของตนเองได้ดียิ่งขึ้น เพื่อหาทางออกให้รู้สึกเหนื่อยล้าน้อยลงและพัฒนาตัวเราไปสู่เวอร์ชั่นที่มีความสุขกับชีวิตมากกว่าเดิม

.

อูก้าเชื่อว่าทุกปัญหามีทางออกเสมอ แต่ถ้าเพื่อนๆรู้สึกว่ายังต้องการหาใครสักคนมาร่วมทางเพื่อฝ่าฟันปัญหาไปด้วยกัน อูก้าก็พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างทุกคน และหวังว่าจะช่วยคลายความเหนื่อยล้าทางใจของเพื่อน ๆ ได้ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม

.

เพราะไม่ว่าใครก็ต้องการจุดพักใจที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับตัวเอง

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย : https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย : https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official :

https://lin.ee/6bnyEvy

Read More

ต้องโตแค่ไหน ถึงเป็นผู้ใหญ่ในสายตาพ่อแม่

เคยไหม?

“อายุ 30 แล้ว จะไปทำงานที่ต่างประเทศแต่แม่ไม่ให้”

“จะไปไหนมาไหน ก็ต้องรายงานพ่อแม่ตลอดเวลา”

.

เพื่อน ๆ เคยรู้สึกแบบนี้ก็บ้างหรือเปล่า? รู้สึกอึดอัดกับการที่ต่อให้เราอายุ 30 40 แล้วก็ยังดูเป็นเด็ก 3 ขวบที่ทำอะไรไม่เป็นในสายตาของผู้(เคย)ปกครอง ทั้งที่ตอนอยู่ที่ทำงานก็ทำงานเหมือนคนทั่วไป เป็นเจ้าคนนายคนแบบที่พ่อแม่อยากให้เป็น แต่กลับบ้านทีไรก็รู้สึกตัวเล็กลีบแบน จะตัดสินใจเรื่องอะไรแต่ละทีก็ต้องมาปวดหัวว่าพ่อแม่จะว่ายังไง

.

“พ่อแม่เป็นห่วงนะเข้าใจไหม”

“งานบ้านปกติยังไม่ค่อยยอมทำเลยแล้วจะอยู่ยังไง”

“เป็นผู้หญิงอยู่คนเดียวได้ไง มันอันตราย”

พอโดนพูดแบบนี้บ่อย ๆ เข้าจากความเป็นห่วงก็กลายเป็นความอึดอัดใจ อย่างนั้นก็ไม่ได้ อย่างนี้ก็ไม่ดี พอปรึกษาใครก็บอกว่าอดทนหน่อย เขารัก เขาหวังดี ไม่งั้นเขาไม่พูดหรอก ด้วยแนวคิดและวัฒนธรรมแบบเอเชียทำให้เราต้องเป็นเด็กที่เชื่อฟังพ่อแม่ไปจนโต

.

ความรู้สึกเหล่านี้ยิ่งนานวันก็อาจกลายเป็นปัญหารบกวนจิตใจ ทั้งที่แค่อยากให้ไว้ใจกัน แต่ถ้าพูดออกไปก็กลัวว่าจะทำให้เสียใจจนกลายเป็นทะเลาะกัน

.

👩🏻‍⚕️💙

คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้า ยังสะท้อนว่า ได้เล่าถึงกรณีทั่ว ๆ ไปที่มาปรึกษาในเรื่องนี้ว่า หากเราอยากเป็นอิสระจากทางบ้าน บางทีก็อาจจะต้องรวบรวมความกล้าแล้วพูดออกไป ซึ่งมีวิธีการรับมือที่แตกต่างกันตามแต่ละบุคคล เช่น

.

“คิดว่าพอคุยกับพ่อแม่ได้อยู่”

ลองค่อย ๆ อธิบายให้เข้าใจว่าเราโตแล้ว เช่น ถ้ากังวลเรื่องที่พักที่ต้องแยกตัวออกไป ก็ลองพาไปดูสถานที่ พยายามแสดงให้เห็นว่าเราทำได้ ไม่ได้มีอะไรน่ากลัวอย่างที่กังวล แม้ในช่วงแรกอาจจะมีปะทะหรือทะเลาะกันบ้าง ก็อย่าเพิ่งเสียกำลังใจ เพราะหากไม่เริ่มหลุดจากกรอบที่พ่อกับแม่วางไว้ ก็คงไม่มีวันเห็นว่าลูกโตจนอยู่เลยระดับที่ชินสายตา

.

“ทำอย่างไร พ่อแม่ก็ไม่ยอมรับฟัง”

กรณีนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องดูเบื้องหลังของผู้ที่อยากได้รับคำปรึกษา อูก้าขอแนะนำให้คุณพักใจด้วยการมาปรึกษาใครสักคน คนนั้นอาจจะเป็นเพื่อนที่ไว้ใจได้ คนที่กำลังเจอปัญหาเหมือนกัน หรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะยิ่งเก็บไว้นาน ความอึดอัดก็อาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะไม่เข้าใจ เรารู้ว่าคุณไม่ใช่ลูกอกตัญญู คุณแค่เป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่อยากเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง

.

ใครที่กำลังเผชิญกับความรู้สึกแบบนี้แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอธิบายให้พ่อแม่เข้าใจอย่างไร หรือแรงปะทะมันเกินรับไหวจนใจพัง ลองแวะมาคุยกับอูก้าเพื่อมารับพลังบวกไปด้วยกันกับเราได้นะ

.

.

ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ไม่มีใครเข้าใจ

พวกเราก็พร้อมจะรับฟังเพื่อทำให้คุณเบาใจมากขึ้นนะ

.

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth#stigma#selflove#depression
#สุขภาพ#เครียด#รักตัวเอง#ซึมเศร้า#ความคาดหวัง#ความสัมพันธ์#ครอบครัว

Read More
cover gender fluidity

Gender Fluidity จะเป็นเพศไหน ก็แสดงออกแบบไหนก็ได้

ทำไมผู้ชายห้ามชอบสีชมพู เป็นผู้ชายต้องเข้มแข็ง กล้าเสี่ยง กล้าลอง ต้องเอาชนะ ต้องประสบความสำเร็จ เราจะอ่อนแอให้ใครเห็นไม่ได้เด็ดขาด ห้ามให้ใครเห็นน้ำตา ทำตัวแมนๆ หน่อยสิ! นี่คือสิ่งที่สังคมเราสั่งสอนกันมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะคนในครอบครัวหรือคุณครูที่โรงเรียน

Read More
cover - growth mindset

Growth Mindset พัฒนาได้นะ

“เรารู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง ทำอะไรก็ไม่ได้ดั่งใจสักอย่าง รู้สึกว่าทำไมเราไม่เป็นอย่างคนอื่นเขา หรือจริงๆ เราก็คงทำได้แค่นี้แหละ คนอื่นเขาน่าจะฉลาดมากกว่าเรา เขาถึงทำได้ดีกว่า ดังนั้นเราจะเลิกทำอะไรที่รู้ว่าเราไม่เก่งแล้ว เพราะถ้าทำไม่ดี คงไม่มีใครยอมรับเราแน่ๆ”

Read More
cover expectations

บางทีเราก็เหนื่อยกับความคาดหวัง

เหนื่อยมั้ยกับความคิดของคนอื่นที่มามีอิทธิพลกับตัวเรา จนบางครั้งเราก็กดดันมากจนทำอะไรไม่ถูก
.
หลายๆ ครั้งที่เราเองสูญเสียความมั่นใจในการกระทำสิ่งต่างๆ เพียงเพราะคำพูดของคนรอบข้าง ความคิดเห็นของพวกเขาล้วนเกิดจากกรอบประสบการณ์ที่แต่ละคนมี ซึ่งก็มีไม่เหมือนกัน เขาไม่รู้หรอกว่าเราคิดหรือรู้สึกยังไง เราอาจจะทำดีที่สุดแล้ว แต่มันคงไม่ดีสำหรับคนอื่นๆ

Read More
เพิ่ม self esteem

มาเพิ่ม Self-Esteem ให้ตัวเราเองกันเเถอะ

เคยไหม ? รู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ ไร้ค่า ไม่ชอบตัวเอง ไม่มีความมั่นใจที่จะทำอะไร กลัวการทำผิดพลาด กังวลง่าย อาการทั้งหมดที่กล่าวมา อาจเป็นสัญญาณบอกว่าคุณกำลังมี การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ (Low Self-Esteem) ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจได้นะ
.

วันนี้อูก้าจึงอยากชวนเพื่อนๆ มาเพิ่ม Self-Esteem ของตัวเองกัน ด้วยวิธีง่ายๆ ตามลิสต์นี้ที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถก้าวผ่านความรู้สึกเหล่านี้ไปได้ เรามาดูกันเลยยยย

Read More
  • 1
  • 2