4 เทคนิคจัดชีวิตให้มี Work Life Balance

หากช่วงนี้คุณรู้สึกว่า อยู่ๆงานที่เคยทำเสร็จเร็วกลับเสร็จช้าลง, อยากทำงานให้เสร็จ ๆ ไปมากกว่าผลิตงานที่มีคุณภาพ หรืองานที่เคยชอบกลับกลายเป็นงานที่เราไม่อยากแม้แต่จะเริ่มต้น – อาจแปลได้ว่าตอนนี้สมดุลการทำงาน การใช้ชีวิต และการพักผ่อนของเราไม่ได้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม และอาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าหรือบ่อนทำลาย self esteem ได้ ถ้าหากเรายังคงใช้ชีวิตแบบเดิมโดยไม่แก้ไข วันนี้อูก้าเลยอยากชวนเพื่อนๆ มาเติมเพลิงแห่งความสุขกับการทำงานของเรากันอีกครั้งผ่าน tips เล็กๆ น้อยๆ ที่จะสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานของเรา

.

ก่อนอื่นเรามาลองจัดการปัญหานี้ด้วยวิธีการจด  to do list โดยการเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ อะไรที่ต้องใช้เวลาทำมาก อะไรที่ต้องใช้เวลาทำน้อย จากนั้นเราขอชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมาลองฝึกการบาลานซ์ชีวิตเพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น โดยอูก้าได้ลองรวบรวมวิธีการเซ็ตสมดุลย์ชีวิตที่น่าจะเป็นประโยชน์มาฝากทุกคนกัน 

หาจุดที่พอดีให้กับตัวเราเอง

ก่อนอื่นอาจต้องปรับเปลี่ยน mind set ของตัวเรากันก่อนว่าการที่เราไม่ได้ทำงานหามรุ่งหามค่ำหรือพักดูหนังสัก 1-2 ชั่วโมงไม่ได้แปลว่าเราไม่ขยัน เช่นเดียวกับการที่เราตอบอีเมล 2-3 รายการในวันหยุดพักผ่อนก็ไม่ถือว่า Work-life Balance ของเราพังลง  ทุกคนสามารถหาจุดที่พอดีของตัวเองได้ตามขอบเขตการรับได้ และไม่ทำให้เรารู้สึกว่ากำลังรบกวนเวลาพักผ่อน ถึงแม้ว่าในความพอดีของเราในวันนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต เพราะเราเติบโตขึ้น กิจวัตรบางอย่างอาจทำได้ไม่เหมือนเดิม  ซึ่งเวลาที่เหลือจากการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องต่าง ๆ ของตัวเราเองนะ

ทำงานเมื่ออยู่ในเวลางานและให้เวลากับตัวเองเต็มที่เมื่อหมดเวลางาน

หลายคนอาจจะเคยนำเรื่องงานกลับมาคิดที่บ้านซ้ำไปซ้ำมา ทำให้สมองของเราเกิดการหลั่งฮอร์โมนความเครียด และพาลทำให้ทั้งสภาพจิตใจและร่างกายของเรารู้สึกเหมือนไม่ได้รับการพักผ่อน  ดังนั้นเราจึงควรแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัวออกจากกันให้ชัดเจนผ่านการวางขอบเขตการทำงานในแต่ละช่วงเวลาของเรา โดยตั้งใจทำงานเมื่ออยู่ในเวลางาน ขอความช่วยเหลือเมื่อไม่สามารถทำงานนั้นได้ และให้เวลากับตัวเองเยอะ ๆ เพราะร่างกายของเราต้องการพักผ่อนเพื่อเสริมสร้างพลังใจเหมือนกัน

นอกจากนี้ การจัดโต๊ะทำงานหลังเลิกงานยังช่วยให้แยกพื้นที่การทำงานกับการพักผ่อนออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้เราไม่รู้สึกเหมือนต้องทำงานตลอดเวลา สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้อง Work From Home เรามาลองจัดมุมใดมุมหนึ่งของห้องให้เป็นสถานที่ทำงาน โดยพยายามเลือกที่สงบ จัดโต๊ะให้เหมือนกับโต๊ะที่ออฟฟิศและใช้มุมนี้ตลอด หากเปลี่ยนมุมไปเรื่อย ๆ จะทำให้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตในการทำงานปะปนกัน เมื่อถึงเวลาเลิกงานแล้ว ก็ชัตดาวน์คอมพิวเตอร์ ยืดเส้นยืดสายสักเล็กน้อย หาของอร่อย ๆ กิน ดูซีรี่ส์ที่ยังดูค้างไว้บนที่นอนของเรากันดีกว่า นอกจากนี้อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง และทานอาหารให้ให้ครบ 5 หมู่ กันด้วยนะ

พูดปฏิเสธในเรื่องที่ไม่สามารถทำได้

เป็นเรื่องปกติที่เราอาจถูกไหว้วานจากเพื่อนร่วมงานและงานบางอย่างที่ได้รับการไหว้วานอาจเป็นงานที่เราไม่ได้อยากทำ ซึ่งการปฏิเสธที่จะช่วยไม่ใช่เรื่องผิด ในทางกลับกัน เราสามารถลองชั่งน้ำหนักดูว่าสิ่งนั้นอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบเรามากเกินไปไหม จะทำให้เรากดดันหรือเครียดหรือเปล่า เราสามารถปฏิเสธอย่างนุ่มนวลได้ เพื่อไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานในภายหลัง และเพื่อดูแลจิตใจไม่ให้ต้องแบกรับความเหนื่อยล้ามากเกินไปของเราได้พร้อมๆ กัน

ใจดีกับตัวเองบ้าง

สิ่งสำคัญที่ควรปกป้องและรักษาไว้คือใจของตัวเราเอง เวลาที่รู้สึกว่าไม่ไหวควรฟังเสียงในใจตัวเองและหยุดพัก พยายามไม่ฝืน มันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรถ้าเราจะหยุดพักทำในสิ่งที่ชอบ ถึงแม้ว่าการทำงานหนักในตอนนี้อาจยังไม่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจมากนัก แต่ถ้าสะสมนาน ๆ ไปก็สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้เช่นกัน ทั้งนี้ เราสามารถหาแหล่งเพิ่มพลังงานให้ตัวเอง จากกิจกรรมเล็ก ๆ ที่เราชอบได้  เช่น การอยู่คนเดียวในที่เงียบ ๆ เพื่อทำให้ใจสงบ การขับรถชมวิวหลังเลิกงาน เป็นต้น

👩🏻‍⚕️💙

นอกจากนี้ อ.สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาคลินิกจากอูก้าก็อยากจะฝากกำลังใจเล็กน้อย ๆ ให้เพื่อน ๆ ทุกคนว่า “ของขวัญที่ดีที่สุดที่เราสามารถให้ตัวเองได้คือความสุขจากการพักผ่อนอย่างเพียงพอ มาเริ่มต้นมีความสุขด้วยการบาลานซ์ชีวิตของเรากันนะคะ”

.

ถ้าเพื่อน ๆ รู้สึกว่าปัญหาแต่ละอย่างมันหนักเกินจะรับไหว  รู้สึกว่ามีเรื่องราวอื่น ๆ ที่อยากระบาย หรือต้องการเพื่อนไว้รับฟังและคอยปลอบโยนอยู่ข้าง ๆ เวลาเหนื่อยและสับสน ทางอูก้ายินดีให้คำปรึกษาและพร้อมรับฟังเสมอ เพราะทุก ๆ เรื่องจากคุณสำคัญที่สุดสำหรับเรานะคะ

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

.

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

https://experience.dropbox.com/th-th/resources/work-life-balance

https://medium.com/the-logician/work-to-live-or-live-to-work-c8a1f6761e

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง #OOCAissues

#mentalhealth #stigma #selflove #expectation #WORKLIFEBALANCE #OOCAfeelings #OOCAreminder #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More
ทำไมต้องเลิกเป็นติ่ง

OOCAissues : ทำไมใครๆ ก็ชอบบอกให้ฉันเลิกเป็น “ติ่ง”

“จะเป็นติ่งไปถึงเมื่อไร” และ “ทำไมถึงทำตัวไม่ค่อยสมกับวัยเลย” เคยถามคำถามนี้กับตัวเองไหม?

ด้วยความที่เราเองก็เป็นติ่งมาหลายปี เลยเริ่มสงสัยเรื่องนี้จากคำถามที่เกิดขึ้นในงาน “ #SAVEMYSELF เอาความสุขของเราคืนมา” ที่อูก้าได้มีโอกาสร่วมงานกับทาง Brandthink เจ้าของเรื่องเล่าว่าตัวเองอยู่ในวัยทำงานและมีความเจริญก้าวหน้าในระดับหนึ่งที่มีงานอดิเรกคือการเป็น “ติ่ง” แต่ด้วยวัยใกล้สามสิบทำให้ครอบครัวและคนรอบข้างตั้งคำถามเกี่ยวกับการเป็น “ติ่ง” แรกๆ เจ้าตัวไม่ได้รู้สึกเครียดอะไร ออกจะพอใจที่การติ่งทำให้เรามีความสุข แต่ไปๆมาๆ ก็เริ่มคิดแล้วว่าหรือเราโตเกินไปแล้วจริงๆ ควรจะหันมาโฟกัสชีวิตตัวเองให้มากขึ้น หรือแคร์สายตาคนรอบข้างไหมน

แล้วสิ่งใดที่เป็นตัววัดว่าเราต้องใช้ชีวิตแบบไหน อายุเท่านี้เหมาะกับกิจกรรมอะไรบ้าง แล้วอะไรที่ทำได้ถ้าเป็นวัยรุ่น แต่ห้ามทำถ้าเข้าวัยทำงาน มันสามารถแบ่งแยกกันได้ชัดเจนเลยหรือเปล่า หรืออยู่ที่วิจารณญาณของเราเองและสังคมที่เราอยู่ หากจะบอกว่าคำพูดของคนรอบข้างไม่มีอิทธิพลเลยก็คงจะโกหก เพราะเรายังต้องทำงานต้องเข้าสังคม ในบางอาชีพภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือนั้นสำคัญมาก แต่ถ้าจะให้ความคิดคนอื่นมีน้ำหนักมากกว่าความสุขของเรา คงต้องชั่งใจดูอีกทีว่าผลกระทบมันมากเสียจนเราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงความชอบของตัวเองด้วยเหรอ

#คำแนะนำจากทีมงานอูก้า

ถ้าเรารับผิดชอบหน้าที่ได้ดี ไม่ต้องสนใจหรอกว่างานอดิเรกหรือความชอบเราจะทำให้ใครเข้าใจผิด ต่อให้เรากังวลว่าคนอื่นอาจจะตัดสินเราหรือมองเราเปลี่ยนไป แต่อย่าลืมว่ามันเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราได้รู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร และใครทำให้เรามีความสุข สิ่งนี้คือเกราะป้องกันเราในวันที่อ่อนแอหรือท้อแท้

บอกตัวเองว่าความสุขไม่ต้องเลือกอายุ ไม่ใช่แค่เรื่องติ่งเท่านั้น แต่ถ้าเราอินกับอะไรมากๆ จนเกิดเป็นความผูกพันอยากให้รักษาสิ่งนั้นไว้ ตราบใดที่เรารับผิดชอบชีวิตตัวเองและดูแลใส่ใจคนรอบข้าง หากเราจะมีกิจกรรมบางอย่างเพิ่มเข้ามาเพื่อให้ตัวเองมีรอยยิ้มมากขึ้นก็ขอจงเก็บมันไว้เป็นพลังใจ

#คำแนะนำจากนักจิตวิทยาของอูก้า

เวลาที่เราได้ฟังคำพูดของครอบครัวหรือคนรอบข้างแล้วทำให้เครียด กดดัน อยากชวนให้ทุกคนเปิดใจและรับรู้ความรู้สึกและความต้องการของคนๆ หนึ่งที่อยากให้คนอื่นเข้าใจมุมมองหรือสิ่งที่เขาชอบมากยิ่งขึ้น เพื่อทำให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่รู้สึกอึดอัดจนเกินไป คำพูดบางคำที่เราไม่ทันระวัง แม้มีเจตนาพูดด้วยความห่วงใย แต่ทำให้ผู้ฟังรับรู้ไปในเชิงถูกตัดสินว่า “ความคิดและตัวตนที่เขาเป็นนั้นไม่ดีไม่โอเค ไม่เหมาะสมกับวัยวุฒิ” จึงอยากให้ผู้พูดตระหนักถึงการพูดคุยในเชิงบวก ยอมรับและไม่ตัดสินตัวตนที่เขาเป็น ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

1. ความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราคงนำบรรทัดฐานของตนเองไปกำหนดหรือนิยามความสุขของคนอื่นไม่ได้ เป็นเรื่องปกติที่คนอื่นจะมีความเห็นที่แตกต่างกับเรา แต่เราก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยยอมรับและเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง

2. เราคงไม่ไปกำหนดหรือขัดขวางในสิ่งที่เขาเลือก สิ่งที่เขารักซึ่งเหมาะกับตัวเขา แต่ละบุคคลมีสิทธิที่เลือกวิถีชีวิตตนเองตามใจปรารถนา เพราะแต่ละบุคคลมีสิทธิและเสรีภาพในการเลือก ตราบใดที่สิ่งที่เขาเลือกไม่ได้ส่งผลเสียต่อตัวเขาเองและคนอื่น ไม่ได้ขัดต่อหลักกฎหมายและศีลธรรมอันดีแต่อย่างใด ดังนั้นความสัมพันธ์ที่มีสุขภาวะ (Healthy) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน ไม่ใช่การกำหนดหรือครอบงำโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

3. คนรอบข้างเองก็ไม่ควรไปเดือดเนื้อร้อนใจเป็นห่วง หรือกำหนดวิถีชีวิตของคนอื่นนั้นมากจนเกินไป เพราะทุกคนต่างก็สามารถดูแลและรับผิดชอบในสิ่งที่ได้เลือกแล้ว

สุดท้ายนี้อยากให้ทุกคนสำรวจตัวเองและตระหนักรู้อยู่เสมอว่า คำพูดหรือการแสดงออกของเรามีผลทำให้คนใกล้ตัวรู้สึกเครียดไม่สบายใจหรือไม่ เพราะความหวังดีที่มีต่อคนอื่นมักเป็นไปตามความคาดหวังของเราทั้งสิ้น ซึ่งอาจทำให้คนที่เรารักไม่มีความสุขได้เหมือนกัน

อาจพูดได้ว่า “การติ่ง” ไม่ใช่แค่ความรู้สึกชื่นชอบธรรมดา แต่มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต คนบางคนหรือสิ่งของบางอย่างมีคุณค่าต่อจิตใจอย่างที่ไม่มีคำบรรยาย แล้วถ้าการติ่งคือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวเราไว้ เป็นพลังใจที่ทำให้เรามีแรงสู้ในทุกๆวัน เราควรจะทะนุถนอมความรู้สึกที่มีค่านี้ไว้มากกว่า เพราะถ้าวันหนึ่งความสุขในชีวิตเกิดขาดหายไป การเป็นติ่งก็ทำให้เรารู้ว่า “ยังมีสิ่งดีๆ คนดีๆ ที่ช่วยหล่อเลี้ยงใจเราอยู่”

โดยส่วนตัวเราคิดว่าทางออกอาจไม่ใช่การเลิกติ่ง ถ้าเรารู้ว่าสิ่งไหนที่ทำแล้วเป็นความสุข อูก้าอยากให้ทุกคนกอดมันเอาไว้ให้แน่นๆ เลยนะ แล้วถ้ารู้สึกไม่สบายใจเรามาช่วยกันหาทางดีลกับความทุกข์นั้นกันดีกว่า เรื่องของใจให้อูก้าช่วยรับฟังได้เสมอ สามารถนัดมาปรึกษาได้ตลอดนะคะ

Read More
Cover for work forever

Work Forever: เมื่อการ Work From Home ไม่เหลือขอบเขต “ให้ใช้ชีวิต”

ผ่านมาสักพักแล้วที่หลายบริษัทเริ่มให้พนักงาน “ Work From Home” ในช่วง COVID19 เพราะสถานการณ์บังคับจึงบีบให้การทำงานผ่าน Online เข้ามาประชิดตัวเราอย่างรวดเร็ว หลายคนรู้สึกตื่นเต้นกับการได้ทำงานแบบใหม่ แต่เมื่อผ่านไปสักพัก ข้อจำกัดและข้อเสียของการ Work From Home ก็ค่อยๆ แสดงออกมาให้เราเห็น เมื่อขอบเขตการทำงานมันช่างยืดหยุ่นเบียดช่วงเวลาที่เคยใช้ชีวิตของเราจนอึดอัด

Read More