Imposter Syndrome: นั่งๆ ทำงานไป ใจดันบอกว่าเราเก่งไม่พอ

🖐️ มีใครเคยสงสัยบ้างมั้ย? ทำไมนั่งทำงานอยู่ดีๆ เราถึงรู้สึกว่าตัวเองยังเก่งไม่พอ หรือกลัวว่าสักวันเพื่อนร่วมงานจะมองว่าเราพยายามไม่พอ ทั้งที่งานก็สำเร็จตามเป้าหมายไปได้ด้วยดี

เนื่องในโอกาสวันตระหนักรู้ความเครียดสากล (International Stress Awareness Day) อูก้าจึงอยากชวนเพื่อนๆ มาทำความรู้จักเจ้า Imposter Syndrome ต้นเหตุของความไม่มั่นใจที่ว่านี้กัน เพราะอูก้าเชื่อเลยว่ามีเพื่อนๆ ที่กำลังทำงานหลายคนเคยหรือกำลังประสบภาวะดังกล่าวอยู่ในปัจจุบัน แอบกระซิบด้วยว่าคนทำงานกว่า 70% ต่างก็เคยรู้สึกว่าตัวเอง “เก่งไม่พอ” แบบนี้แหละ แล้วเราจะทำให้ตัวเองหายเครียดจากภาวะที่เรารู้สึกว่าจริงๆ แล้วเราไม่ได้เก่งอะไรเลยนี้ได้ยังไงกันนะ

มารู้จัก “Imposter Syndrome” กัน

ผู้ที่ประสบภาวะ Imposter Syndrome นั้นมักกังวลว่าตัวเองไม่มีความสามารถมากพอ รวมไปถึงไม่คู่ควรกับตำแหน่งทางการงานที่ได้รับ ถึงแม้จะมีทั้งผลงานและคำชมที่คอยพิสูจน์ความสำเร็จมากแค่ไหนก็ตาม ที่สำคัญคือสมาชิกขององค์กรทุกระดับชั้นสามารถเกิดความกังวลดังกล่าวได้ ไม่ว่าจะเป็นคนที่เพิ่งเข้าทำงานมาใหม่ หรือคนที่ประจำตำแหน่งมานานแล้วก็ตาม

อาจารย์ธีระ เพ็ชรภา นักจิตวิทยาจากอูก้าเล่าให้เราฟังว่า คนทำงานที่ประสบภาวะ Imposter Syndrome ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักคิดอยู่เสมอว่า “ต้องทำยังไงก็ได้ให้ไม่ถูกเพื่อนร่วมงานตำหนิ” เนื่องจากกังวลเรื่องกฎระเบียบขององค์กร สาเหตุนี้เองที่ส่งผลให้เพื่อนๆ หลายๆ คนกลายเป็น Perfectionist ทั้งในเรื่องการทำงานและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในที่ทำงานอย่างไม่รู้ตัว เนื่องจากต้องการสร้างเซฟโซนเอาไว้ จะได้ไม่มีใครว่าเราได้ แถมเวลาทำงานเสร็จก็ไม่ยอมชื่นชมตัวเองหรืออินกับคำชมของคนอื่น เพราะเลือกที่จะเชื่อว่าเรายังไม่มีความสามารถมากพอ

ถึงแม้ Imposter Syndrome จะไม่ใช่โรคร้ายแรงอะไร แต่หากคอยคิดกังวลแบบนี้อยู่บ่อยๆ ก็อาจส่งผลลบต่อร่างกายและใจของเราได้ อย่างการเกิดภาวะเครียดเรื้อรังหรือภาวะซึมเศร้า รวมไปถึงอาจเป็นสาเหตุของการตัดโอกาสทางด้านการงานในอนาคตอีกด้วย เพราะเรามัวแต่ “กลัว” ว่าจะไม่มีความสามารถมากพอสำหรับงานนั้นๆ

5 สัญญาณหลักของ Imposter Syndrome ในที่ทำงานมีอะไรบ้าง?

⛅ห่วงกรอบแห่งความสมบูรณ์แบบจนทำงานชิ้นหนึ่งนานเกินความจำเป็น

⛅พยายามพิสูจน์ตัวเองด้วยการรับงานมาเยอะๆ ทำให้เข้างานเร็ว-เลิกงานช้าอยู่บ่อยๆ

⛅ระแวงจะโดนตำหนิตลอดเวลา และไม่คิดว่าตัวเองเก่งพอที่จะได้รับคำชม

⛅ไม่กล้าปฏิเสธใคร เพราะกลัวว่าเพื่อนร่วมงานจะไม่ชอบ

⛅โฟกัสกับการทำตัวไม่เด่นมากในที่ทำงาน

หากลองประเมินตัวเองดูแล้วว่าเรารู้สึกกดดันแบบนี้เวลาอยู่ในที่ทำงานอยู่บ่อยๆ อาจารย์ธีระก็ได้ขอฝากแนวทางการรับมือกับ Imposter Syndrome ฉบับเบื้องต้นมา 4 ข้อ ที่จะช่วยให้เพื่อนๆ ได้ลองฝึกใจดีกับตัวเองมากขึ้น

1. ให้อภัยตัวเองหากผิดพลาดไปบ้าง – แทนที่จะคิดวนเรื่องข้อผิดพลาด ลองมองว่าเราพยายามอย่างถึงที่สุดแล้ว อูก้าเชื่อว่างานทุกชิ้นเต็มไปด้วยความตั้งใจของเพื่อนๆ แน่นอน

2. รู้ทันใจตัวเอง – ยอมรับหากรู้ตัวว่ากำลังคิดในแง่ลบ และทบทวนว่าสิ่งที่เราคิดนั้นเป็นจริงหรือไม่

3. พูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน – ถามเพื่อนร่วมงานอย่างตรงไปตรงมาหากกลัวว่าทำอะไรผิดไป และไม่คอยโทษตัวเอง

4. ภูมิใจในความสำเร็จของตัวเอง – ลองชื่นชมตัวเองเป็นประจำ โดยไม่ต้องเก็บมาคิดว่าเราสามารถทำได้ดีกว่านี้หรือเปล่า และน้อมรับคำชมจากเพื่อนร่วมงานด้วยความภูมิใจ

อาจารย์ธีระและอูก้าเข้าใจดีว่าการขจัดความคิดแง่ลบในหัวออกไม่ใช่เรื่องง่าย ในหลายๆ ครั้ง เราอาจไม่สามารถดึงตัวเองขึ้นมาจากความรู้สึกไม่ดีเหล่านั้นได้ด้วยตัวคนเดียว ฉะนั้นการระบายความรู้สึกกับบุคคนที่ไว้ใจหรือผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด หากเพื่อนๆ ยังไม่รู้จะเล่าเรื่องราวให้ใครฟัง ก็ยังมีทีมจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจากแอปพลิเคชันอูก้าที่ยินดีที่จะจับมือเดินไปข้างหน้าด้วยกันกับเพื่อนๆ เสมอนะ

สุดท้ายนี้ อาจารย์ธีระยังขอฝากทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า “คนเราสามารถพัฒนาตัวเองได้เรื่อยๆ อยู่แล้วหากรู้สึกว่ายังเก่งไม่พอ แต่สิ่งที่สำคัญคืออยากให้หาความสุขให้เจอในแต่ละวัน อยากให้ชมตัวเองที่ผ่านอุปสรรคต่างๆ มาได้ขนาดนี้ พอเรามีความสุขแล้วเราจะพัฒนาตัวเองได้อย่างสนุกและมีประสิทธิภาพจนเราคาดไม่ถึงเลย”

เพราะแค่งานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละวันก็ชวนปวดหัวมากพอแล้ว อูก้าจึงอยากให้เพื่อนๆ ใจดีกับตัวเองเยอะๆ คอยพูดคุยสื่อสารกับคนในที่ทำงานเพื่อเรียกความมั่นใจกลับมา และมองว่า “เรานี่แหละ เก่งพอสำหรับตำแหน่งที่ทำอยู่แล้ว” รวมถึงไม่ลืมให้รางวัลตัวเองในช่วงเวลาหลังเลิกงานเป็นประจำไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม สุดท้ายแล้ว คนที่เป็นแรงใจที่ดีที่สุดในการทำงานในวันต่อๆ ไปก็คือตัวของเพื่อนๆ เอง เพราะฉะนั้น เชื่ออูก้าเถอะนะว่าเราน่ะสุดยอดที่สุดแล้ว!

อูก้าเป็นกำลังใจให้นะ! – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth #อกหัก #heartbreak #ความสำเร็จ #ฮีลใจ #OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

อ้างอิง

*ข้อมูลจากวารสาร International Journal of Behavioral Science

[1] https://newviewpsychology.com.au/imposter-syndrome-in-the-workplace/

[2] https://www.forbes.com/sites/forbescoachescouncil/2019/06/07/15-ways-to-overcome-imposter-syndrome-in-the-workplace/?sh=3183fbad30cc

[3] https://www.welovesalt.com/news/2022/07/imposter-syndrome/

Read More

เครียดจนขอลางาน อาการป่วยใจที่พักยังไงก็ไม่ดีขึ้น

ทำงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ บางคนทำงาน 7 วัน กินนอนไม่เป็นเวลา ใจเราจะไม่เหนื่อยล้าเลยได้อย่างไร ต่อให้เป็นสิ่งที่เรารัก เราชอบและมี passion เปี่ยมล้น แต่พอถึงระยะเวลาหนึ่งร่างกายก็จะเป็นฝ่ายส่งสัญญาณเตือนเราเองว่า “ตอนนี้ฉันเหนื่อยมาก” หรือ “ฉันต้องการพักผ่อน” มันอาจจะเป็นเรื่องง่ายก็แค่ลางาน ใช้วันหยุดไปทำในสิ่งที่ชอบ นอนให้เต็มอิ่ม ก่อนจะลุยงานต่อ แต่ถ้ามันไม่ใช่แค่อาการเหนื่อยล้าธรรมดา แต่เรากำลังต่อสู้กับบางอย่างในใจล่ะ ?

ความเครียดในที่ทำงานจะถูกนำมาพูดถึงก็ต่อเมื่อองค์กรเปิดกว้างในระดับหนึ่ง จากข้อมูลของศูนย์อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแคนาดาระบุสาเหตุทั่วไปของความเครียดในที่ทำงานนั้น ได้แก่

  • การทำงานหนักเกินไป
  • ความคาดหวังในงานที่ไม่แน่นอน
  • การพัฒนาด้านอาชีพ
  • การคุกคามหรือถูกการเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน
  • รู้สึกไม่มั่นคงในสภาพแวดล้อมการทำงาน

เมื่อความเครียดกดทับใจ ใคร ๆ ก็อยากใช้วันลา แต่จะให้เหตุผลของการลางานว่าอะไรดี ที่จะไม่มีคำถามที่ 2 3 4 5 ตามมา ไอ้ลางานนอนอยู่บ้านไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเราอยากลางานไปหาจิตแพทย์จะทำอย่างไร ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องที่ต้องแจ้งที่ทำงานไหม ? หรือแค่ไปหาหมอเงียบ ๆ ทำตัวปกติก็พอ นี่ถือเป็นปัญหาใจของพนักงานหลายคน ซึ่งจากการสัมภาษณ์พนักงานฝ่ายบุคคลหลายบริษัทได้ให้คำตอบใกล้เคียงกันว่าโดยปกติไม่ได้ซักไซร้เรื่องการลางานของพนักงาน ขอแค่ส่งใบลาและไม่กระทบการทำงานก็พอแล้ว แต่บางกรณีที่อาจต้องสอบถามเพิ่มเติมก็เช่น ลางานค่อนข้างถี่ หรือลาเป็นประจำทุกสัปดาห์วันเดิมเวลาเดิม อาจมีการสอบถามด้วยความห่วงใยเพราะองค์กรก็ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพของพนักงานเช่นกัน

น่าเสียดายที่การลางานจากความเครียดไม่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย อย่างไรก็ตามสุขภาพจิตที่ได้รับผลกระทบจากงานนั้นมองเห็นได้ชัดเจน ท้ายที่สุดแล้วพนักงานก็ตัดสินใจลางานเพราะความเครียด และนี่อาจะเป็นทางออกที่ช่วยให้เขากลับมามีสมดุลและรักษาประสิทธิภาพในการทำงานได้ ซึ่งปัจจุบันอาจกลายเป็นเรื่องที่องค์กรต้องให้ความใส่ใจเพราะจำนวนพนักงานที่ลางานเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตมีมากขึ้น แต่ทำไมพนักงานถึงรู้สึกเหมือน ‘ต้อง’ ไปทำงาน ทั้ง ๆ ที่ตัวเองป่วยและมีสิทธิ์ที่จะลางาน

University of East Anglia กล่าวว่าเป็นการผสมผสานระหว่างความคาดหวังในงานที่สูง ความเครียดและความรู้สึกไม่มั่นคง จิตสำนึกเป็นตัวกำหนดว่าเราจะลางานเมื่อรู้สึกไม่สบายดีไหม ? แต่การจะดีลกับงานหรือคนที่ทำงานก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง Gail Kinman ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาอาชีวอนามัยของมหาวิทยาลัย Bedfordshire กล่าวว่า “คนที่มีส่วนรับผิดชอบในงานมากและมีนิสัยบ้างานมักจะไม่ยอมลางาน ไม่ว่าพวกเขาจะรู้สึกป่วยแค่ไหนก็ตาม” พูดง่าย ๆ คือยิ่งเรารู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญต่องานมากเท่าไหร่ เราก็จะเห็นสุขภาพสำคัญน้อยลงเท่านั้น

เมื่อพูดถึงความเครียดและความวิตกกังวล Gen Z และ Millennials อาจพูดได้ว่ามีความเสี่ยงมากกว่าวัยอื่น ๆ ในปี 2015 การสำรวจหัวข้อ Stress และ Wellbeing ของ Australian Psychological Society พบว่าคนรุ่นใหม่ในช่วงอายุ 18-25 ปีพบว่ามีคุณภาพชีวิตที่ต่ำที่สุดและมีความเครียดอยู่ในระดับสูงสุด นักวิจัยระบุว่าแรงกดดันทางการเงิน การเปรียบเทียบวิถีชีวิตและปัญหาครอบครัวเป็นสิ่งที่กดทับใจคนกลุ่มนี้

จากการสำรวจพนักงาน 1,000 คนโดย Aetna International พนักงานถึง 1 ใน 3 กล่าวว่าพวกเขาป่วยเพราะความเครียด และมีแนวโน้มที่จะหยุดพักเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตมากถึง 34% ทั้งนี้พวกเขาอาจระบุว่าลางานเพราะสุขภาพกาย เพราะไม่อยากยอมรับว่าตัวเองมีปัญหาหรือรับมือกับความเครียดไม่ได้ รวมถึงวัฒนธรรมในองค์กรที่แตกต่างกัน อย่างบางบริษัทนิยมการทำงานแบบ ‘always on’ หรือพร้อมตอบสนองเสมอถ้าเป็นเรื่องงาน ทำให้พนักงานไม่กล้าแสดงพฤติกรรมที่แปลกแยก สิ่งนี้บ่งบอกว่าพนักงานยังไม่สบายใจที่จะพูดเรื่องส่วนตัว โดยเฉพาะเรื่องของสุขภาพจิตหรืออารมณ์ ยิ่งประเด็นละเอียดอ่อนอย่างการพบจิตแพทย์ยิ่งเป็นเรื่องยาก

แม้ ‘ความเครียด’ จะกำจัดทิ้งได้ยาก แต่อย่างน้อยการลางานก็พอจะช่วยเยียวยาได้บ้าง ถือเป็นสิทธิ์ที่ควรได้รับ ในกรณีที่คุณรู้สึกเหนื่อยหน่าย วิตกกังวล ซึมเศร้าหรือมีปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ การหยุดพักงานอาจช่วยให้พนักงานฟื้นตัวได้

อย่างไรก็ตามในแก้ปัญหา หรือวิธีการคลายความเครียดที่เรารู้ดีคือการได้พูดคุยตรง ๆ หรือระบายความเครียด พนักงานจึงควรพูดถึงเรื่องอาการป่วยกายป่วยใจของตนเองกับคนใกล้ชิด นักจิตวิทยา จิตแพทย์หรือแม้แต่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) นั่นหมายความว่าพนักงานต้องสามารถอธิบายได้ชัดเจนเกี่ยวกับอาการป่วยใจและแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน แต่ก่อนจะพูดได้อย่างเปิดใจก็ต้องเริ่มจากการ ‘ยอมรับ’ และ ‘เข้าใจ’

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองไม่ไหวจนต้อง ‘ลางาน’

เพราะเป็นผู้ใหญ่เราจึงพยายามปกปิดปัญหาใจ แต่การแบกรับทุกอย่างไม่ใช่ทางออก การสังเกตตัวเองเป็นอีกหนึ่งตัวช่วย สัญญาณบางอย่างจะบอกเราว่าควรพาตัวเองออกจากความเครียดและใช้วันลางานได้แล้ว

  • เราไม่สามารถจดจ่อหรือมีสมาธิกับงานที่ทำได้
  • ระดับความเครียดส่งผลต่อความสามารถในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ความเครียดจากการทำงานส่งผลกระทบต่อชีวิตส่วนตัว
  • อารมณ์ที่เปลี่ยนไป ไม่สดใส ไม่อยากทำงาน
  • อาการของภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล
  • คนรอบข้างสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงหรือได้รับการยืนยันโดยแพทย์

มาลองทดสอบความเครียดกัน : https://ooca.page.link/stressstestdob

การ ‘ลางาน’ กับ ‘อาการป่วยใจ’ เป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คิด

ข้อมูลจาก Brand buffet บอกว่าแรงงานชาวไทยเกิน 80 % ฝืนตัวเองมาทำงานทั้งที่ป่วย อาจด้วยนิสัยขี้เกรงใจและรู้สึกว่าการลางานคือการผลักภาระให้ผู้อื่น แต่หากไม่มีการพักผ่อนก็อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ใหญ่กว่า เช่น ภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โรคซึมเศร้า ฯลฯ ตามมา

แม้พนักงานจะอยากทำงานขนาดไหน แต่ถ้ากายใจไม่ไหวจริง ๆ การทุ่มเทลักษณะนี้อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี บทวิเคราะห์จาก American Productivity Audit ประเทศสหรัฐอเมริการที่พูดถึงนิสัยบ้างานว่ามันมีข้อเสียกับองค์กรเหมือนกัน เพราะประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง การสูญเสียทรัพยากรและอีกหลายเหตุผล ตีเป็นมูลค่าที่ประเทศต้องเสียประโยชน์รวมกันนั้นมากกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นก็ไม่ต่างกัน ด้วยพื้นนิสัยที่ขยันขันแข็งและรับผิดชอบสูง ทำให้สถิติการลางานนั้นน้อยจนแทบจะไม่มี แต่การที่พนักงานญี่ปุ่นฝืนไปทำงานทั้งที่ตัวเองไม่พร้อมกลับสร้างผลกระทบจนทำให้บริษัทอาจมีรายได้ลดลงราวๆ 3,100 ดอลลาร์ต่อปีเลยทีเดียว

องค์กรต้องตระหนักว่าความเจ็บป่วยทางจิตบางรูปแบบเกี่ยวกับความผิดปกติในร่างกายและมีมาตรการสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมทรัพยากรในการทำงาน การทำงานที่ยืดหยุ่น บริการให้คำปรึกษาหรือการผู้เชี่ยวชาญที่คอยรับฟังพนักงาน การสนับสนุนพนักงานรายบุคคล เพราะในฐานะลูกจ้างพนักงานควรได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวดจากการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ

เพราะสุขภาพจิตไม่ควรเป็นสาเหตุของความลำบากใจสำหรับพนักงาน

#อูก้ามีทางออก

อูก้าเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีทั้งนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ไว้คอยดูแลใจทุกคน โดยเรามีจำนวนผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 90 ท่าน ที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี ทุกคนสามารถพูดคุยปรึกษาได้ผ่านรูปแบบของวิดีโอคอล สะดวก ไม่ต้องเดินทาง และมีความเป็นส่วนตัวสูง อีกทั้งเรายังสามารถเลือกจิตแพทย์และเลือกช่วงเวลาที่เราต้องการได้เลยไม่ต้องรอคิว ที่สำคัญทุกอย่างเก็บไว้เป็นความลับ ไม่ว่าจะเรื่องอะไรอูก้ายินดีแบ่งเบาทุกปัญหาใจ ให้เราได้ร่วมเดินทางและช่วยรับฟังความทุกข์ของคุณ เรามีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น

  • ความเครียดในองค์กร
  • ภาวะหมดไฟ
  • ปัญหาการปรับตัวในที่ทำงาน
  • ปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์
  • ซึมเศร้า วิตกกังวล
  • ความรัก ความสัมพันธ์

นอกจากนี้ยังสามารถพูดคุยกับอูก้าในเชิงผ่อนคลายจิตใจและหาแนวทางในการพัฒนาตนเองได้อีกด้วย แล้วชีวิตของคุณจะเข้าสู่จุดสมดุลยิ่งกว่าที่เคย เพราะปัญหาใจเป็นเรื่องสำคัญ อย่าปล่อยให้อาการเหนื่อยล้า ความเครียดจากการทำงานหนักเป็นแผลที่กดทับใจ หากไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัดอย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยาของอูก้า

—————————————————

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/stressseoblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ Ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca.

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://hrexecutive.com/hres-number-of-the-day-employee-sick-days/

https://www.healthline.com/health/mental-health/stress-leave#check-in

https://www.elas.uk.com/taking-sick-leave-mental-health-issues/

https://thematter.co/social/presenteeism-and-burnout/77760

https://www.oiyo.com.au/income-protection/what-is-stress-leave/

https://sonilaw.ca/how-to-ask-for-stress-leave-from-your-doctor-a-break-may-be-better-than-burnout/

Read More
แก้ปัญหาหมดไฟทำงาน เครียดจากการทํางาน ความเครียดในการทํางาน

ปัญหาในการทำงานของคุณคืออะไร?

ไม่ว่าใครก็ต้องเคยมีปัญหากันทั้งนั้น ยิ่งกับที่งานที่เราต้องใช้ชีวิตอยู่มากกว่าที่บ้าน ยิ่งมีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นแน่นอน แล้วปัญหาของคุณล่ะคืออะไร ลองเล่าให้เราฟังได้นะ
________
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวีดีโอคอล ฯ นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/get
.
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca
________
#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง#mentalhealth

Read More