ชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น

“เหลือเชื่อเหมือนกันว่ายังคงมีชีวิตอยู่จนถึงตอนนี้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว และกำลังเกิดขึ้นอยู่จริงๆ”
.
ขอชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น เพราะวันนี้คือวันป้องกันการฆ่าตัวตายสากล (World Suicidal Prevention Day) ซึ่งเป็นวันสำคัญที่องค์กรอนามัยโลกและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะจิตกำหนดให้มีการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ⛅
.
สถิติระบุว่าในทุก ๆ วัน มีคนที่เลือกจะจบชีวิตด้วยตนเองวันละ 11-12 ราย นอกจากนี้ จากสำรวจของกรมสุขภาพจิต ยังพบว่า สาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย มาจากปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด (48.7%) ซึ่งในหลายครั้ง ความสูญเสียก็เกิดขึ้นโดยที่หลายๆ คน อาจไม่ทันได้ตั้งรับ และสังคมรวมถึงสื่อยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการมองว่า การฆ่าตัวตาย คือการ “คิดสั้น”

.

ไม่ว่าจะเป็นสื่อหรือสาธารณชน มักจะมองว่าการฆ่าตัวตาย คือ “การคิดสั้น” แต่แท้จริงแล้ว การฆ่าตัวตายมีกระบวนการถึง 3 ขั้นตอนก่อนจะนำมาสู่การตัดสินใจจบชีวิต อันได้แก่

.

  1. Suicidal Thought หรือ ความคิดทำร้ายตนเอง

2.Suicidal Plan คือ ขั้นตอนการวางแผนและหาวิธีที่จะทำร้ายตนเอง

3.Suicidal Attempt หรือ ขั้นตอนการพยายามฆ่าตัวตาย หรือ ทำร้ายตนเอง

.

ดังนั้น การจบชีวิตด้วยตนเอง เป็นกระบวนการที่ผ่านการคิดมาอย่างถี่ถ้วน และต้องตัดสินใจอยู่หลายตลบกว่าจะปะทุไปสู่ขั้นตอนสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้น การแปะป้ายว่า “การฆ่าตัวตาย = การคิดสั้น” เป็นการมองข้ามต้นตอของปัญหาและอาจสร้างภาพจำผิด ๆ แก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ

.

⛅ อาจารย์สิริพร เอมอ่อน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแอพลิเคชันอูก้า เผยว่า การฆ่าตัวตายนั้น ในทางจิตวิทยาได้อธิบายว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่

.

1) ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factors) เช่น สารเคมีในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน ฮอร์โมนคอร์ติซอล อยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล

.

2) ปัจจัยทางจิตวิทยา (psychological factors) ได้แก่ พฤติกรรมและบุคลิกภาพ เช่น คนที่มีนิสัยเป็น perfectionist ก็จะมีแนวโน้มกลัวความผิดพลาด และมีโอกาสเครียดง่ายกว่าคนกลุ่มอื่น

.

3) ปัจจัยทางสังคม (sociological factors) คือปัญหาที่มาจากสังคมภายนอกและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ สภาวะทางเศรษฐกิจ หรือความตึงเครียดจากภาระงาน เป็นต้น

.

ทั้งนี้ อาจารย์สิริพรยังเสริมอีกว่า ปัญหาการแม้ว่าจะมีปัจจัยไม่ครบทั้งสามด้าน เพียงแค่ปัจจัยเดียว ก็มากพอที่จะกระตุ้นให้คนหนึ่งคน เกิดความคิดทำร้ายตนเอง ดังนั้น การเฝ้าระวังและตระหนักถึงปัจจัยทาง 3 ด้าน อย่างถี่ถ้วน เป็นวิธีที่สำคัญที่จะป้องกันเพื่อน ๆ และคนรอบข้าง จากความคิดทำร้ายตัวเองซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

.

โดยที่อาจารย์สิริพรยังได้มอบคำแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถสังเกตอาการคนใกล้ชิดของเรา ผ่านการจับสัญญาณจาก 2 จุดหลัก ๆ ได้แก่ สัญญาณ verbal หรือ คำพูด และ สัญญาณ non-verbal หรือ ภาษากายและพฤติกรรม

.

⛅ หากเป็นสัญญาณ verbal เราอาจสังเกตว่า คนนั้นมักจะบ่นหรือระบายว่า “เบื่อโลก หรือ ท้อแท้” นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียถี่ขึ้นผิดปกติ การโพสต์สเตตัสระบาย หรือ การแชร์ข้อความหรือเพลงเศร้า ๆ ก็นับเป็นอีกสัญญาณที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
.

⛅ ในส่วนของสัญญาณ non-verbal อาจสังเกตได้ว่า คนใกล้ชิดของเรา มีอาการซึมเศร้า ไม่มีแรง หรือมีพฤติกรรมแยกตัวจากผู้อื่นอย่างผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้ หากพบรอยแผลตามร่างกายของคนนั้น ก็นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำคัญว่า เขากำลังต้องการความช่วยเหลือจากใครสักคนอยู่ก็เป็นได้

.

⛅ นอกจากนี้ อาจารย์สิริพรยังแนะนำว่า เมื่อไหร่ที่หลุดเข้าไปอยู่ในห้วงความเศร้าเป็นระยะเวลานาน จนไม่สามารถหาทางออกมาจากความรู้สึกเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง หากเราเริ่ม รู้เท่าทันความรู้สึกตัวเอง และตระหนักอยู่เสมอว่าความเศร้าจะไม่อยู่กับเราไปตลอด เราก็อาจมีโอกาสหาทางออกให้กับชีวิตได้

.

⛅ แม้ว่าการตกอยู่ในภวังค์แห่งความเศร้า จะเหมือนกับการว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรโดยมองไม่เห็นชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความช่วยเหลืออีกมากมายในโลกนี้ที่รอให้เราเดินเข้าไปหา ไม่ว่าจะจากคนแปลกหน้า คนที่เรารัก หรือผู้เชี่ยวชาญ

.

💙💙 โดยเนื่องในเดือนป้องกันการฆ่าตัวตายสากลนี้ ผู้ใช้บริการปรึกษาปัญหาใจกับอูก้าครั้งแรก จะได้รับส่วนลด 5% เมื่อจองนัดหมายและกรอกรหัส OOCACARES ผ่านแอปพลิเคชัน ooca 💙💙 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ https://ooca.page.link/fbnewcomer2 และใช้โค้ดได้ถึง 30 กันยายน 2565 (*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ) ⛅

Read More

รู้ไหมว่าความผิดพลาดนั้นไม่ได้อยู่กับเราไปตลอดกาล

“ถ้าเจออุปสรรคขนาดนี้ ล้มเลิกดีกว่าไหม?” ประสบการณ์เหล่านี้ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า Setbacks หรือ อุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้งานสักงานหนึ่งไปถึงได้ตามเป้าหมาย โดยน่าสนใจว่ามีการทดลองหนึ่งในอดีตเผยว่า “อุปสรรคที่ทำให้งานเชื่องช้าและไม่ก้าวหน้า” ส่งผลต่อการหมดหวังหมดกำลังใจมากกว่า “อุปสรรคที่สร้างความเสียหายโดยตรง”

.

James Beck, Abigail Scholer และ Jeffrey Hughes ได้ทำการวิจัยเพื่อหาข้อมูลมาสนับสนุนความคิดดังกล่าว พวกเขาได้ออกแบบการทดลองขึ้น 2 การทดลอง โดยแยกประเภทของ อุปสรรคเป็น 2 ประเภท คือ

1.อุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า (distance setbacks) ทำให้สูญเสียความก้าวหน้าในการทำงานต่าง ๆ ซึ่งเพื่อน ๆ อาจจะเคยเจอเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น คอมพิวเตอร์ดับหรือเสียระหว่างกำลังทำรายงานที่ต้องส่งภายในวันนี้และงานที่ทำมาทั้งหมดถูกลบหายไป ทำให้เราต้องทำงานใหม่ทั้งหมดในระยะเวลาอันน้อยนิด

2.อุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง (velocity setbacks) คือลักษณะของอุปสรรคที่ลดอัตราความก้าวหน้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ความคืบหน้าที่เป็นอยู่ของงาน ณ ปัจจุบันยังไม่ได้หายไป แต่จะเกิดความล่าช้าในอนาคตได้ เช่น คอมพิวเตอร์ของเพื่อน ๆ ติดไวรัส ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้าลง

ในการทดลองนี้ ผู้เข้าร่วมการทำลองจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มด้วยการสุ่ม เพื่อจะได้เจอประสบการณ์อุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า หรือ อุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง ผลจากการทดลองพบปฏิกิริยาลบในตอนแรก ทั้ง 2 ประเภทของอุปสรรค

.

โดยผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งสองกลุ่มมีความอึดอัดคับข้องใจ นอกจากนี้ยังขาดความกระตือรือร้นที่จะทำงาน แต่ความแตกต่างคือ

>> กลุ่มที่ประสบกับอุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า (distant setbacks) มีแนวโน้มที่จะสามารถกลับมาลุกขึ้นสู้ทำงานจนบรรลุเป้าหมายได้อีกครั้งเมื่อถึงช่วงจบการทดลอง 

>> ส่วนกลุ่มที่ประสบกับอุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง (velocity setbacks) มีความอึดอัดคับข้องใจมากขึ้นและมีความกระตือรื้อร้นต่ำเป็นเวลานาน แม้เวลาจะผ่านไปแล้วก็ตาม 

ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า อุปสรรคที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง (velocity setbacks) เป็นตัว “หน่วงความก้าวหน้า” ได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอุปสรรคที่ทำให้งานไม่ก้าวหน้า (distant setbacks)

.

แล้วเราจะจัดการกับอุปสรรคที่ฉุดรั้งความก้าวหน้าของงานนี้ยังไงดีล่ะ? 

แน่นอนว่ามันอาจจะไม่ได้มีสูตรสำเร็จที่ตายตัวเสียทีเดียว นักจิตวิทยาคลินิกจากอูก้าได้ช่วยให้ข้อมูลต่าง ๆ และคำแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เพื่อน ๆ ทุกคนสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละคน

  1. “เรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาที่เกิดขึ้น”

เพราะการที่เราวิ่งหนีปัญหาไม่ว่าจะวิ่งให้ไกลสักเพียงใด ปัญหาเหล่านั้นก็ไม่มีวันหายไปไหนเลย การที่เรายิ่งรับรู้ได้เร็วว่า “ตอนนี้โปรเจกต์มีปัญหาเรื่องนี้อยู่นะ” เราจะยิ่งสามารถหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น และถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่สามารถทำได้ดี 100% ก็ไม่เสียหายอะไร เพราะเราได้พยายามอย่างสุดความสามารถแล้ว ในทางกลับกัน หากเรากลัวที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา ทุกอย่างอาจจะสายเกินแก้ และจะกลายเป็นว่า ทุกอย่างยังอยู่ที่ 0%

.

  1. “เจ้าความผิดพลาดจะไม่ได้อยู่กับเราไปตลอดกาล”

ทุกความพลาดพลั้งในหน้าที่การงานอาจทำให้เรารู้สึกแย่ หรือไม่กล้าที่จะทำอะไรอีกเลย แต่เมื่อเวลาผ่านไปแล้วได้มองย้อนกลับไปในอดีต เราจะค้นพบว่าในเวลานี้ เราจะมีทางลัดที่ง่ายกว่าเดิม เพราะเราได้เรียนรู้และเติบโตจากบทเรียนแห่งความล้มเหลวที่ว่านี้นั่นเอง

.

  1. “ถอดบทเรียนที่ได้ เพื่อนำไว้ใช้ในอนาคต”

ทุกความผิดพลาดกลายเป็นครูของเราได้หากเราถอดบทเรียนจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้น โดยนำมาพิจารณาว่า แผนงานของตนเองมีช่องโหว่ตรงไหนที่เราสามารถอุดรอยรั่วได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำเหมือนในอดีต และยิ่งเข้าใจอดีตที่ผิดพลาดได้มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เรากล้าเผชิญกับความท้าทายในอนาคตได้มากขึ้น

.

  1. “อย่าคิดลบกับตัวเอง”

ถ้าเพื่อน ๆ คิดว่า “ฉันไม่เก่งเอาเสียเลย” “ทำไมฉันถึงทำได้แย่ขนาดนี้” จะยิ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลงตามความคิดที่เราบอกกับตัวเองในหัว เสียงวิจารณ์ภายในตัวเราทำให้เรากลัวที่จะ “ลองดูอีกสักครั้ง” หรือกลัวที่จะ “ลุกขึ้นสู้อีกสักหน่อย” ถ้าเราลองเปลี่ยนเสียงวิจารณ์ภายในให้กลายเป็นคำชื่นชมปลอบประโลมหัวใจของเราให้กลับมาสดใส และมี energy ที่จะฝ่าฟันทุกอุปสรรคที่เข้ามา การทำงานโดยภาพรวมก็จะดีขึ้นด้วย

  1. “ปรับความคาดหวังให้เหมาะกับสถานการณ์”

เมื่อเกิดอุปสรรคขึ้น โดยเฉพาะในแบบที่ฉุดรั้งให้งานช้าลง หากเรามองเห็นว่าอุปสรรนั้นมาจากภายนอกตัวเราที่เหนือการควบคุม การปรับความคาดหวังใหม่ หรือ การปรับแผนงานใหม่ ให้สอดคล้องกับสถการณ์ที่เกิดขึ้นจะช่วยลดกดดัน ความเครียดที่จะต้องทำงานให้เสร็จภายในกำหนดเส้นตาย และเพิ่มไฟในการทำงานให้กลับขึ้นมาได้เร็วขึ้น หากพยามฝืนทำตามแผนเดิมต่อไปจะยิ่งทำให้กำลังในการทำงานลดลงลงเรื่อยๆ  

  1. “ขอความช่วยเหลือเมื่อคุณต้องการ”

หากต้องการความช่วยเหลือ ให้ส่งเสียงออกมา เพราะเพื่อน ๆ ไม่ได้เผชิญหน้ากับความท้าทายอยู่คนเดียว อย่าลืมว่ายังมีเพื่อนร่วมงานที่คอยช่วยกันนำพาโปรเจกต์ต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ ยังมีครอบครัว หรือคนที่คุณรักคอยเป็นกำลังใจอยู่ข้าง ๆ และท้ายที่สุด ยังมีอูก้าที่อยู่ตรงนี้เสมอ คอยรับฟังทุกเรื่องราว และคอยสนับสนุนเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คนเพื่อให้จัดการอุปสรรคไปได้

.

หากเพื่อน ๆ หกล้มระหว่างทางแห่งความสำเร็จจนได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะแผลเล็ก หรือแผลใหญ่ อูก้าก็จะคอยเป็นยาใจรักษาแผลให้เพื่อน ๆ จนหายดี มูฟออนและกลับมาลุกขึ้นเดินหน้าต่อไป…อีกครั้ง

ติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร พร้อมไม่พลาดเนื้อหาสาระสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องจิตวิทยา – แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

.⠀

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาแบบนั่งคุยจากที่บ้าน ดาวน์โหลดแอพอูก้าได้เลยที่ : https://ooca.page.link/ZHMD

#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues

#นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Sources:

Read More

4 เทคนิคจัดชีวิตให้มี Work Life Balance

หากช่วงนี้คุณรู้สึกว่า อยู่ๆงานที่เคยทำเสร็จเร็วกลับเสร็จช้าลง, อยากทำงานให้เสร็จ ๆ ไปมากกว่าผลิตงานที่มีคุณภาพ หรืองานที่เคยชอบกลับกลายเป็นงานที่เราไม่อยากแม้แต่จะเริ่มต้น – อาจแปลได้ว่าตอนนี้สมดุลการทำงาน การใช้ชีวิต และการพักผ่อนของเราไม่ได้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม และอาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าหรือบ่อนทำลาย self esteem ได้ ถ้าหากเรายังคงใช้ชีวิตแบบเดิมโดยไม่แก้ไข วันนี้อูก้าเลยอยากชวนเพื่อนๆ มาเติมเพลิงแห่งความสุขกับการทำงานของเรากันอีกครั้งผ่าน tips เล็กๆ น้อยๆ ที่จะสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานของเรา

.

ก่อนอื่นเรามาลองจัดการปัญหานี้ด้วยวิธีการจด  to do list โดยการเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ อะไรที่ต้องใช้เวลาทำมาก อะไรที่ต้องใช้เวลาทำน้อย จากนั้นเราขอชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมาลองฝึกการบาลานซ์ชีวิตเพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น โดยอูก้าได้ลองรวบรวมวิธีการเซ็ตสมดุลย์ชีวิตที่น่าจะเป็นประโยชน์มาฝากทุกคนกัน 

หาจุดที่พอดีให้กับตัวเราเอง

ก่อนอื่นอาจต้องปรับเปลี่ยน mind set ของตัวเรากันก่อนว่าการที่เราไม่ได้ทำงานหามรุ่งหามค่ำหรือพักดูหนังสัก 1-2 ชั่วโมงไม่ได้แปลว่าเราไม่ขยัน เช่นเดียวกับการที่เราตอบอีเมล 2-3 รายการในวันหยุดพักผ่อนก็ไม่ถือว่า Work-life Balance ของเราพังลง  ทุกคนสามารถหาจุดที่พอดีของตัวเองได้ตามขอบเขตการรับได้ และไม่ทำให้เรารู้สึกว่ากำลังรบกวนเวลาพักผ่อน ถึงแม้ว่าในความพอดีของเราในวันนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต เพราะเราเติบโตขึ้น กิจวัตรบางอย่างอาจทำได้ไม่เหมือนเดิม  ซึ่งเวลาที่เหลือจากการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องต่าง ๆ ของตัวเราเองนะ

ทำงานเมื่ออยู่ในเวลางานและให้เวลากับตัวเองเต็มที่เมื่อหมดเวลางาน

หลายคนอาจจะเคยนำเรื่องงานกลับมาคิดที่บ้านซ้ำไปซ้ำมา ทำให้สมองของเราเกิดการหลั่งฮอร์โมนความเครียด และพาลทำให้ทั้งสภาพจิตใจและร่างกายของเรารู้สึกเหมือนไม่ได้รับการพักผ่อน  ดังนั้นเราจึงควรแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัวออกจากกันให้ชัดเจนผ่านการวางขอบเขตการทำงานในแต่ละช่วงเวลาของเรา โดยตั้งใจทำงานเมื่ออยู่ในเวลางาน ขอความช่วยเหลือเมื่อไม่สามารถทำงานนั้นได้ และให้เวลากับตัวเองเยอะ ๆ เพราะร่างกายของเราต้องการพักผ่อนเพื่อเสริมสร้างพลังใจเหมือนกัน

นอกจากนี้ การจัดโต๊ะทำงานหลังเลิกงานยังช่วยให้แยกพื้นที่การทำงานกับการพักผ่อนออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้เราไม่รู้สึกเหมือนต้องทำงานตลอดเวลา สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้อง Work From Home เรามาลองจัดมุมใดมุมหนึ่งของห้องให้เป็นสถานที่ทำงาน โดยพยายามเลือกที่สงบ จัดโต๊ะให้เหมือนกับโต๊ะที่ออฟฟิศและใช้มุมนี้ตลอด หากเปลี่ยนมุมไปเรื่อย ๆ จะทำให้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตในการทำงานปะปนกัน เมื่อถึงเวลาเลิกงานแล้ว ก็ชัตดาวน์คอมพิวเตอร์ ยืดเส้นยืดสายสักเล็กน้อย หาของอร่อย ๆ กิน ดูซีรี่ส์ที่ยังดูค้างไว้บนที่นอนของเรากันดีกว่า นอกจากนี้อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง และทานอาหารให้ให้ครบ 5 หมู่ กันด้วยนะ

พูดปฏิเสธในเรื่องที่ไม่สามารถทำได้

เป็นเรื่องปกติที่เราอาจถูกไหว้วานจากเพื่อนร่วมงานและงานบางอย่างที่ได้รับการไหว้วานอาจเป็นงานที่เราไม่ได้อยากทำ ซึ่งการปฏิเสธที่จะช่วยไม่ใช่เรื่องผิด ในทางกลับกัน เราสามารถลองชั่งน้ำหนักดูว่าสิ่งนั้นอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบเรามากเกินไปไหม จะทำให้เรากดดันหรือเครียดหรือเปล่า เราสามารถปฏิเสธอย่างนุ่มนวลได้ เพื่อไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานในภายหลัง และเพื่อดูแลจิตใจไม่ให้ต้องแบกรับความเหนื่อยล้ามากเกินไปของเราได้พร้อมๆ กัน

ใจดีกับตัวเองบ้าง

สิ่งสำคัญที่ควรปกป้องและรักษาไว้คือใจของตัวเราเอง เวลาที่รู้สึกว่าไม่ไหวควรฟังเสียงในใจตัวเองและหยุดพัก พยายามไม่ฝืน มันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรถ้าเราจะหยุดพักทำในสิ่งที่ชอบ ถึงแม้ว่าการทำงานหนักในตอนนี้อาจยังไม่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจมากนัก แต่ถ้าสะสมนาน ๆ ไปก็สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้เช่นกัน ทั้งนี้ เราสามารถหาแหล่งเพิ่มพลังงานให้ตัวเอง จากกิจกรรมเล็ก ๆ ที่เราชอบได้  เช่น การอยู่คนเดียวในที่เงียบ ๆ เพื่อทำให้ใจสงบ การขับรถชมวิวหลังเลิกงาน เป็นต้น

👩🏻‍⚕️💙

นอกจากนี้ อ.สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาคลินิกจากอูก้าก็อยากจะฝากกำลังใจเล็กน้อย ๆ ให้เพื่อน ๆ ทุกคนว่า “ของขวัญที่ดีที่สุดที่เราสามารถให้ตัวเองได้คือความสุขจากการพักผ่อนอย่างเพียงพอ มาเริ่มต้นมีความสุขด้วยการบาลานซ์ชีวิตของเรากันนะคะ”

.

ถ้าเพื่อน ๆ รู้สึกว่าปัญหาแต่ละอย่างมันหนักเกินจะรับไหว  รู้สึกว่ามีเรื่องราวอื่น ๆ ที่อยากระบาย หรือต้องการเพื่อนไว้รับฟังและคอยปลอบโยนอยู่ข้าง ๆ เวลาเหนื่อยและสับสน ทางอูก้ายินดีให้คำปรึกษาและพร้อมรับฟังเสมอ เพราะทุก ๆ เรื่องจากคุณสำคัญที่สุดสำหรับเรานะคะ

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

.

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

.

อ้างอิง

https://experience.dropbox.com/th-th/resources/work-life-balance

https://medium.com/the-logician/work-to-live-or-live-to-work-c8a1f6761e

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง #OOCAissues

#mentalhealth #stigma #selflove #expectation #WORKLIFEBALANCE #OOCAfeelings #OOCAreminder #นักจิตวิทยา #จิตแพทย์ #สุขภาพใจ #mentalhealth #onlinementalhealth #จิตแพทย์ออนไลน์ #นักจิตวิทยาออนไลน์

Read More

ต้องโตแค่ไหน ถึงเป็นผู้ใหญ่ในสายตาพ่อแม่

เคยไหม?

“อายุ 30 แล้ว จะไปทำงานที่ต่างประเทศแต่แม่ไม่ให้”

“จะไปไหนมาไหน ก็ต้องรายงานพ่อแม่ตลอดเวลา”

.

เพื่อน ๆ เคยรู้สึกแบบนี้ก็บ้างหรือเปล่า? รู้สึกอึดอัดกับการที่ต่อให้เราอายุ 30 40 แล้วก็ยังดูเป็นเด็ก 3 ขวบที่ทำอะไรไม่เป็นในสายตาของผู้(เคย)ปกครอง ทั้งที่ตอนอยู่ที่ทำงานก็ทำงานเหมือนคนทั่วไป เป็นเจ้าคนนายคนแบบที่พ่อแม่อยากให้เป็น แต่กลับบ้านทีไรก็รู้สึกตัวเล็กลีบแบน จะตัดสินใจเรื่องอะไรแต่ละทีก็ต้องมาปวดหัวว่าพ่อแม่จะว่ายังไง

.

“พ่อแม่เป็นห่วงนะเข้าใจไหม”

“งานบ้านปกติยังไม่ค่อยยอมทำเลยแล้วจะอยู่ยังไง”

“เป็นผู้หญิงอยู่คนเดียวได้ไง มันอันตราย”

พอโดนพูดแบบนี้บ่อย ๆ เข้าจากความเป็นห่วงก็กลายเป็นความอึดอัดใจ อย่างนั้นก็ไม่ได้ อย่างนี้ก็ไม่ดี พอปรึกษาใครก็บอกว่าอดทนหน่อย เขารัก เขาหวังดี ไม่งั้นเขาไม่พูดหรอก ด้วยแนวคิดและวัฒนธรรมแบบเอเชียทำให้เราต้องเป็นเด็กที่เชื่อฟังพ่อแม่ไปจนโต

.

ความรู้สึกเหล่านี้ยิ่งนานวันก็อาจกลายเป็นปัญหารบกวนจิตใจ ทั้งที่แค่อยากให้ไว้ใจกัน แต่ถ้าพูดออกไปก็กลัวว่าจะทำให้เสียใจจนกลายเป็นทะเลาะกัน

.

👩🏻‍⚕️💙

คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้า ยังสะท้อนว่า ได้เล่าถึงกรณีทั่ว ๆ ไปที่มาปรึกษาในเรื่องนี้ว่า หากเราอยากเป็นอิสระจากทางบ้าน บางทีก็อาจจะต้องรวบรวมความกล้าแล้วพูดออกไป ซึ่งมีวิธีการรับมือที่แตกต่างกันตามแต่ละบุคคล เช่น

.

“คิดว่าพอคุยกับพ่อแม่ได้อยู่”

ลองค่อย ๆ อธิบายให้เข้าใจว่าเราโตแล้ว เช่น ถ้ากังวลเรื่องที่พักที่ต้องแยกตัวออกไป ก็ลองพาไปดูสถานที่ พยายามแสดงให้เห็นว่าเราทำได้ ไม่ได้มีอะไรน่ากลัวอย่างที่กังวล แม้ในช่วงแรกอาจจะมีปะทะหรือทะเลาะกันบ้าง ก็อย่าเพิ่งเสียกำลังใจ เพราะหากไม่เริ่มหลุดจากกรอบที่พ่อกับแม่วางไว้ ก็คงไม่มีวันเห็นว่าลูกโตจนอยู่เลยระดับที่ชินสายตา

.

“ทำอย่างไร พ่อแม่ก็ไม่ยอมรับฟัง”

กรณีนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องดูเบื้องหลังของผู้ที่อยากได้รับคำปรึกษา อูก้าขอแนะนำให้คุณพักใจด้วยการมาปรึกษาใครสักคน คนนั้นอาจจะเป็นเพื่อนที่ไว้ใจได้ คนที่กำลังเจอปัญหาเหมือนกัน หรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะยิ่งเก็บไว้นาน ความอึดอัดก็อาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะไม่เข้าใจ เรารู้ว่าคุณไม่ใช่ลูกอกตัญญู คุณแค่เป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่อยากเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง

.

ใครที่กำลังเผชิญกับความรู้สึกแบบนี้แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอธิบายให้พ่อแม่เข้าใจอย่างไร หรือแรงปะทะมันเกินรับไหวจนใจพัง ลองแวะมาคุยกับอูก้าเพื่อมารับพลังบวกไปด้วยกันกับเราได้นะ

.

.

ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ไม่มีใครเข้าใจ

พวกเราก็พร้อมจะรับฟังเพื่อทำให้คุณเบาใจมากขึ้นนะ

.

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth#stigma#selflove#depression
#สุขภาพ#เครียด#รักตัวเอง#ซึมเศร้า#ความคาดหวัง#ความสัมพันธ์#ครอบครัว

Read More

ไขข้อข้องใจ ทำไมคนเราถึงเกลียดตัวเอง?

“ทุกคนคงเคยมีวันที่ไม่ชอบตัวเองกันบ้าง ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ปกติมากๆ เเต่ถ้าไม่มีสักวันที่เรารู้สึกชอบตัวเองเลยล่ะจะเกิดอะไรขึ้น?”

.
*ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนอาจสงสัยว่า สิ่งมีชีวิตโดยทั่วๆ ไป ควรจะมีสัญชาติญาณเอาชีวิตรอด ควรจะรักและปกป้องตัวเอง แต่ทำไมมนุษย์ถึงมีพฤติกรรมโกรธ เกลียดตัวเอง ไปจนถึงทำสิ่งต่างๆ ที่อาจเป็นภัยต่อตัวเองได้ ดังนั้น* วันนี้อูก้าจะมาเล่าเรื่อง **ความโกรธเกลียดตนเอง** (Self Hatred) ซึ่งหมายถึง *ความรู้สึกที่ว่าตัวเองไม่ดีพอ ไม่ควรค่าเเก่การได้รับความรักหรือสิ่งดีๆ จากสังคม*

เเต่เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมเราถึงมีความรู้สึกเเบบนั้นกัน?

การเกลียดตัวเองอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น บาดแผลทางใจในอดีต (Past Trauma), การเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น, การไม่ได้รับความรักหรือการยอมรับจากครอบครัวเเละเพื่อน ฯลฯ นอกจากนี้ ความเกลียดโกรธตัวเองนี้ยังขับเคลื่อนโดยเจ้าสิ่งที่เรียกว่า “Critical Inner Voice” คือ เสียงที่เกิดจากจิตใต้สำนึกลึกๆของเรา เสียงเหล่านี้จะสร้างมุมมองเเละทัศนคติของเราที่มีต่อตัวเองในเเง่ลบ เช่น “เราโง่จังเลย” “เราพูดไม่เก่ง” “เราคิดมากจัง” ซึ่งเสียงเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
.

#1 **ความทรงจำเเละประสบการณ์เลวร้ายที่เราพบเจอในอดีต:** ความทรงจำเเละประสบการณ์สร้างความเชื่อเเละความคิดของเรา (Values) เช่นคนที่เคยถูกบูลลี่ก็อาจกลัวการเข้าสังคมเเละรู้สึกไร้คุณค่า หรือคนที่เคยถูกคนรักทิ้งก็อาจคิดว่าตนเองดีไม่พอที่จะได้รับความรักเเละไม่กล้ามีความรักครั้งใหม่
.

#2 **ครอบครัวเเละการเลี้ยงดู:** ครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ วิธีการเลี้ยงดูของพ่อเเม่ก็มีผลต่อตัวเรา เช่นถ้าพ่อเเม่เป็น “Perfectionist” มีความคาดหวังในตัวลูกสูง เด็กก็จะเกิดความกดดัน เเละ กลัวว่าตนเองจะสร้างความผิดหวังให้กับผู้อื่น เมื่อทำผิดพลาดก็จะโทษตัวเอง หรือถ้าเด็กๆ อยู่ในสภาพเเวดล้อมที่คุกคามและควบคุม หรือไม่ได้รับความรักจากพ่อเเม่ ความรู้สึกนั้นก็จะสะสมไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นความรู้สึกเกลียดตัวเอง
.

#3 **การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น:** การเปรียบเทียบทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยเช่น “ทำไมเราทำงานไม่เก่งเท่าเพื่อน” “ทำไมเราไม่สวยเหมือนอย่างคนนั้น ไม่เป็นอย่างคนนี้ “ เมื่อเราสร้างภาพลักษณ์ที่เราคาดหวังไว้สูง เเต่ตัวตนจริงๆ เราไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวัง เราก็จะรู้สึกผิดหวังในตัวเอง เเละไม่รู้สึกชื่นชมในสิ่งที่เรามีหรือสิ่งที่เราเป็น

.

ทั้งหมดนี้รวมตัวกันกลายเป็น ภาพที่เรามองตัวเองโดยมี “เสียงวิจารณ์ภายใน” เหล่านี้วนเวียนซ้ำๆตอกย้ำเราจนเราเชื่อว่า “เสียงวิจารณ์ภายใน” เป็นความจริงเเละทำลายความมั่นใจของเราลงเรื่อยๆ จนเรากลายเป็นคนที่มี Self Esteem หรือความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ เเละจบลงด้วยการ “เกลียดตัวเอง” เพื่อเป็นการลงโทษตัวเองในท้ายที่สุด

.

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเราจะต้องศิโรราบต่อ “เสียงวิจารณ์ภายใน” ตลอดไปกันสักหน่อย โดยคุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้า เล่าให้เราฟังเกี่ยวกับเคสที่มาหาจิตแพทย์ด้วยความรู้สึกเกลียดตัวเองว่า …

.
👩‍⚕️
“การเกลียดตนเองเกิดจากความคิดเเง่ลบกับตัวเอง ความคิดมันเยอะท่วมท้น จนไม่สามารถจัดการกับมันได้ เเละรู้สึกว่าไม่มีใครอีกเเล้วที่ช่วยเราได้ – เมื่อเกิดความรู้สึกว่าเราทำอะไรไม่ได้สักอย่าง อยู่ไปก็มีเเต่เป็นภาระให้คนอื่น เราก็จะรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการ บางคนมีปมในอดีตที่ฝังลึกในจิตใต้สำนึก เช่น คนที่เคยอกหัก อาจไม่กล้ามีความรักครั้งใหม่ เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ เอาเเต่โทษตัวเองกับเรื่องเก่าๆที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกนี้สามารถเปลี่ยนไปได้ ถ้าเราเท่าทันความคิดตัวเอง หรือลองคุยกับตัวเอง ซึ่งการจัดการอย่างละเอียด ไม่เร่งรีบลงโทษตัวเอง ก็จะเปิดมุมมองเเละเปิดโอกาสให้ตัวเรามากขึ้น”

.

ในวันไหนที่เรารู้สึกท้อเเท้ หมดกำลังใจหรือรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง เเละไม่รู้จะระบายให้ใครฟัง อูก้ายินดีเป็นที่พักพิงใจ ให้คำเเนะนำเเละเป็นเพื่อนที่เข้าใจ เพราะเพื่อนๆ ไม่ได้เป็นคนเดียวที่คิดแบบนั้น

.

มารับพลังใจในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย:

https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth #stigma #selflove #depression #SelfCare
#OOCAissues #OOCAask #oocadiscussion #OOCAissues 

Read More
เด็กจบใหม่ 2021

OOCAstory: ฝันร้ายของเด็กจบใหม่ในโลกหลัง Covid-19

“โลกแตกเลยได้ไหม?” เป็นวลีที่ฮิตมาก ๆ ในหมู่เด็กจบใหม่ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา

หลังจากโรคโควิด 19 พลิกโฉมโลกปี 2020 ให้ไม่มีอะไรที่คาดเดาได้หรืออาจปิดช่องว่างสำหรับการวางแผนชีวิต การเรียนจบที่เคยเป็นหมุดหมายของทุกคนและแสดงถึงการเริ่มต้นใหม่บนเส้นทางโรยด้วยกลีบกุหลาบ ก็กลับกลายเป็นเส้นทางที่ไม่แน่นอนอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการหางานที่ยากขึ้นเป็นเท่าตัว เนื่องจากบริษัทจำนวนมากลดอัตราการจ้างพนักงาน หรือแม้จะหางานได้แล้ว ภาพการทำงานในอนาคตก็ยังดูไม่ชัดเจ

สายงานของฉันต้องปรับตัวยังไง ? แล้วสำคัญกว่านั้น ตำแหน่งของฉันจะจำเป็นขนาดไหนในโลกหลังโควิด 19? แล้วนอกจากการทำงาน แผนที่วางไว้ก็พังทลายกันเป็นแถบๆ คือแผนการท่องเที่ยว การปลดปล่อยอิสระที่รอคอยมาตลอดเทอมสุดท้ายที่ต้องฝ่าฟันกับธีสิสจบก็ถูกมาตรการการล็อกดาวน์ทั่วโลกขโมยไป จนต้องร้องออกมาว่า “พอแล้ว โลกแตกเถอะ เหนื่อยกับทุกอย่างเหลือเกิน”

ในงานวิจัยทั่วโลก พบว่าปัจจุบันกรณีปัญหาด้านสุขภาพจิตนั้นพุ่งสูงขึ้นมาก หลังจากเกิดโรคโควิด 19 โดยในบางประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็นสามเท่าจากช่วงก่อนโควิดระบาดเลยด้วยซ้ำ โดยส่วนมากโรคที่พุ่งสูงขึ้น ได้แก่ โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล

การยกเรื่องสถิติเหล่านี้ขึ้นมาไม่ใช่เพื่อให้กังวลใจอะไร แต่ทีมของอูก้าอยากสื่อให้เพื่อนๆ ที่กำลังอ่านอยู่เห็นว่าหากคุณกำลังเป็นเด็กจบใหม่ที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพใจในเวลานี้อยู่ เธอไม่ได้อยู่คนเดียวและมันไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ทีมงานของอูก้าเองก็เป็นทีมที่รวบรวมคนจากต่างสถานที่และต่างวัยมาอยู่ด้วยกัน และเราทุกคนก็ต่างเผชิญกับความเจ็บปวดในแบบของตัวเองเพราะปี 2020 เช่นกัน แล้วการนำเรื่องในใจและประสบการณ์ของตัวเองมาแบ่งปันกันนั้นช่วยให้เราอยากผ่านสถานการณ์นี้ไปได้มากกว่าเดิม และให้เราได้เชื่อว่าโลกนี้ยังไม่ต้องแตกก็ได้และมันยังดีพอให้เราสู้ต่อไปด้วยกัน

ระหว่างทางนั้นหากรู้สึกถึงความไม่แน่นอน ยังมองไม่เห็นเส้นทางที่จะไปต่อ หรือแม้ว่าจะไม่พร้อมเล่าให้ใครฟัง อูก้ายังพร้อมจะคุยกับคุณเสมอนะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://jamanetwork.com/journals/jamanetworkopen/fullarticle/2770146

https://www.cdc.gov/mmwr/volumes/69/wr/mm6932a1.htm

https://www.statista.com/statistics/1173432/covid-related-anxiety-depression-us-adults-by-education/

Read More
อาเรียนนา กรานเด

OOCAinsight: Ariana Grande เมื่อชีวิตโยนทุกอย่างใส่เธอ

“When you need someone to pull you out the bubble, I’ll be right there just to hug you, I’ll be there” ชีวิตที่เป็นแรงบันดาลใจให้เราหันกลับมารักตัวเองและพร้อมจะเผชิญกับทุกอย่างที่พุ่งเข้ามา

หลังจากอัลบั้มล่าสุด Positions ที่เต็มไปด้วยความเซ็กซี่และมั่นใจ เราก็เกือบจะลืมไปเลยว่าช่วงไม่กี่ปีที่ผ่าน Arianna Grande เพิ่งผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากและเจ็บปวดมา

หากเริ่มนับเราต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2017 ในช่วงทัวร์อัลบั้ม Dangerous Women เกิดเหตุก่อการร้ายที่ Manchester Arena หลังจากคอนเสิร์ตของป๊อปสตาร์สาวที่คร่าชีวิตคนจำนวน 22 คนและบาดเจ็บอีกกว่า 100 คน เป็นเหตุให้เธอเกิดอาการ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) ซึ่งเธอพูดกับนิตยสาร British Vogue ในปีถัดมา “มันยากมากเลยที่ฉันจะพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะผู้คนมากมายเหลือเกินได้สูญเสียอย่างใหญ่หลวงในเหตุการณ์นี้…ฉันไม่รู้จะพูดถึงมันยังไงโดยไม่ร้องไห้ได้เลย”

ในบทสัมภาษณ์เดียวกันเธอก็พูดถึงเรื่องสุขภาพจิตของเธอในเรื่องการทำงาน นั่นคือเธอเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) เธอเล่าว่ามันเกิดขึ้นทุกครั้งหลังจากทัวร์คอนเสิร์ตจบลง เธอรู้สึกว่าตัวเองไม่อยากหยุดพักและเธอจะทำงานต่อทันที ซึ่งสำหรับแฟนๆ นี่ไม่น่าใช่เรื่องแปลกอะไรหลังจากดูตารางการออกเพลงที่สม่ำเสมอของเธอทุกๆ ปี

อัลบั้ม Sweetener จากปี 2018 เป็นอัลบั้มที่เธอป่าวประกาศให้ทุกคนรู้ว่าเธอสามารถผ่านเรื่องราวแย่ๆ ที่เธอพบเจอผ่านดนตรีที่อบอุ่น “ฉันอยากกอดทุกคนผ่านดนตรีของฉัน” เธออธิบายเกี่ยวกับอัลบั้มนี้ในบทสัมภาษณ์กับ Apple Music 1 Radio “ฉันรู้สึกว่าฉันอยู่กับปัจจุบันมากขึ้นกว่าที่ฉันเคยเป็นมา และตอนนี้ฉันเริ่มเห็นโลกกลับมาสดใสมากกว่าที่เดิม” เป็นประโยคที่เข้ากันได้ดีกับหน้าปกสีโทนอุ่นและบทเพลงเกี่ยวกับการรักตัวเองและการมอบกำลังให้ผู้คนรอบข้าง

แต่ปี 2018 ก็ไม่ได้จบลงอย่างสวยงามเสียทีเดียว เพราะหลังจากอัลบั้มประสบความสำเร็จ กลับมีข่าวร้ายว่าแฟนเก่าของเธอ Mac Miller เสียชีวิตลงจากการใช้สารเสพติดเกินขนาด ซึ่งหลายๆ คนโทษว่าเป็นเพราะการเลิกลาที่ทำให้ Mac เป็นแบบนี้ ซึ่งเธอตอบกลับคำกล่าวหาเหล่านั้นว่าการโทษผู้หญิงสำหรับเรื่องที่ผู้ชายไม่สามารถรักษาตัวเองได้นั้นเป็นปัญหาใหญ่ แล้วเธอก็ยังบอกด้วยว่าการจากไปของ Mac ส่งผลต่อเธอมากๆ

“ถ้าให้พูดกันตามตรง ฉันแทบจะจำชีวิตเดือนนั้นของฉันไม่ได้เลย เพราะฉันเมาและเศร้ามากๆ ฉันจำไม่ได้ว่ามันเริ่มยังไง และจบยังไง แต่พอเงยหน้าขึ้นมามองบนกระดานก็เห็นเพลงอยู่บนนั้นเป็น 10 เพลง” ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นของอัลบั้มต่อมา “Thank u, next” ซึ่งแค่ชื่อก็รู้แล้วว่าเธอขอบคุณและเรียนรู้จากทุกอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แล้วบอกกับโลกว่าฉันพร้อมแล้วสำหรับทุกอย่างที่กำลังจะเข้ามา

เรื่องราวของ Arianna เป็นเรื่องที่เราชอบย้อนดูทุกครั้งที่รู้สึกสิ้นหวังกับเหตุการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ แล้วเตือนใจตัวเองว่าการต้องพาตัวเองออกมาจากความเศร้าและไร้หนทางนั้น แม้จะทำได้เจ็บปวดมากๆ แต่ในวันหนึ่งเราจะทำได้แน่นอนไม่ว่ามันจะยากเย็นขนาดไหน

ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะผ่านไปไม่ได้ อูก้าพร้อมจะเป็นเพื่อนคอยอยู่ข้างๆ คุณเสมอ อย่าลืมนะว่า “When you need someone to pull you out the bubble, I’ll be right there just to hug you, I’ll be there”

อ้างอิงจาก

https://www.vogue.co.uk/article/july-cover-vogue-2018

https://www.youtube.com/watch?v=H91O7cyXfMw&ab_channel=AppleMusic

https://www.bbc.com/news/newsbeat-48933931#:~:text=Mac Miller “didn’t deserve,drunk”%2C she told Vogue.&text=She described her grief over,”pretty all-consuming”.

Read More
สื่อและจิตวิทยา

OOCAstory ความรู้สึกของคนที่ถูกจี้ปมผ่านสื่อ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำคอนเทนต์ที่เสนอเรื่องดราม่า ความยากลำบาก ความน่าสงสารนั้น ฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน เพราะแทบทุกครั้งเนื้อหาประเภทนี้มักได้เสียงตอบรับที่ดี ไปจนถึงได้รับความช่วยเหลือต่างๆ จนกลายเป็นว่าความสงสารถูกนำมาเล่นกับความรู้สึกของคนดูครั้งแล้วครั้งเล่า

เรื่องบางเรื่องแม้เราจะรู้ทั้งรู้ว่าความเป็นจริงคืออะไร แต่ก็ยังทำใจได้ยากอยู่ดี สุดท้ายการไม่เอ่ยถึงมันเลยอาจจะดีที่สุด แล้วถ้าเราต้องพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่เราเซนซิทีฟหรือเจอคำถามที่รู้สึกลำบากใจที่จะตอบ ความเจ็บปวดที่เราพยายามเก็บไว้จะถูกกระตุ้นหรือเปล่า

จากการที่ได้ดูรายการหนึ่งที่แขกรับเชิญเป็นเด็กผู้หญิงวัย 11 ปี ซึ่งป่วยด้วยโรคชราในเด็ก น้องถูกถามตั้งแต่เด็กว่าเป็นคนแก่เหรอ ซึ่งทำให้น้องรู้สึกเจ็บปวด ด้วยสภาพร่างกายที่มีผลต่ออายุขัย แพทย์เคยวินิจฉัยว่าน้องอาจมีอายุถึงแค่ 14-15 ปี ซึ่งแน่นอนว่าน้องอยากมีชีวิตอยู่นานกว่านั้นและอยากให้ทุกคนมองว่าน้องก็เป็นคนปกติทั่วไปเหมือนคนอื่นๆ

ในรายการมีอยู่หลายจุดที่ทำให้คนดูไม่สบายใจ ด้วยคำถามที่ค่อนข้างกระทบจิตใจน้อง พูดถึงเรื่องความตายอยู่หลายครั้ง ซึ่งคนดูส่วนใหญ่มองว่าต่อให้เป็นคนทั่วๆ ไป หากมีคนมาบอกว่าเราจะอยู่ได้อีกไม่นานยังทำใจได้ยากเลย นี่น้องเพิ่งอายุแค่นี้เองเป็นธรรมดาที่ต้องเสียใจอยู่แล้ว แถมยังให้น้องและแม่ยืนเปรียบเทียบกัน ทำให้คนภายนอกมองมาเกิดคำถามมากมาย จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของการนำเสนอเนื้อหาแบบนี้ โดยเฉพาะบาดแผลที่น้องอาจจะได้รับจากการมาออกรายการครั้งนี้

สิ่งที่น้องต้องการไม่ใช่เรื่องอะไรใหญ่โต เพียงแค่ “ไม่อยากให้ใครเรียกว่าคนแก่” ที่ผ่านมาก็โดนล้อ โดนตอกย้ำเรื่องนี้อยู่ตลอด เราอาจต้องกลับมามองดูว่าเวลาที่เราพูดเล่นหยอกล้อกับคนอื่น เราได้พูดคำที่จี้ใจเขาหรือตอกย้ำปมบางอย่างที่ไม่สมควรไปแตะหรือเปล่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีคนถูกจี้ปมผ่านสื่อ แต่มันเกินขึ้นมานานนับสิบๆ ปี ที่สำคัญคือการคอมเมนต์หรือกดแชร์อาจเพิ่มปมปัญหาให้ใหญ่ขึ้นและทำร้ายความรู้สึกของเขามากขึ้น

ทั้งนี้เราคิดว่ารายการไม่ได้มีเจตนาจะโจมตีใครหรือทำให้น้องเสียใจ เพียงแต่คนดูที่รู้สึกอินกับเรื่องราวอยากเห็นแขกรับเชิญมีความสุขและได้ใช้ชีวิตเท่านั้นเอง ต่อไปนี้ก็เป็นหน้าที่ของคนที่เสพสื่ออย่างเราแล้วแหละว่าจะทำอย่างไรต่อไป ลองเอาตัวเองไปนั่งอยู่ในใจเขาบ้าง แล้วเราจะตัดสินใจได้ดีกว่าเดิม

ถ้าคุณรู้สึกไม่สบายใจกับเรื่องบางเรื่อง อึดอัดกับคำพูดที่ไม่อยากได้ยิน ทักมาพูดคุยกับพี่ๆ นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของอูก้าได้เสมอเลยนะ เรื่องของใจให้เรารับฟัง

Read More
cover - depression

ซึมเศร้า หรือ นิสัยไม่ดี

เมื่อไม่ตัดสินทุกคนก็ Win-Win แบบพึ่งพาอาศัย

“อย่าทำตัวมีปัญหาให้มากเลยนะ, รู้จักทำตัวให้เหมือนคนธรรมดาเขาบ้างสิ, แกมันแย่, อย่าหวังว่าจะมีใครคบเลยนะเป็นคนแบบนี้” คำพูดพวกนี้มันฟังดูทิ่มแทงใจยิ่งกว่าอะไร เพราะไม่ว่าเราจะเป็นคนที่มีความคิดเป็นของตัวเอง เป็นคนที่มั่นใจในตัวเองแค่ไหน สุดท้ายก็คงรับไม่ได้ที่จะมีใครมาตราหน้าหรือนินทาลับหลังว่าเรามัน ‘นิสัยไม่ดี’ อย่างแน่นอน

Read More
cover - self love

Self-Love ไม่มีใครรักเรา ได้มากเท่าเรารักตัวเอง

เวลาได้ช่วยเหลือ ได้ดูแลคนรอบข้าง คุณรู้สึกอย่างไร ?
ร้อยทั้งร้อยก็คงจะ “รู้สึกดี” มีความสุขที่ได้ดูแลคนที่เรารัก เราห่วงใยเขามากก็เลยยิ่งอยาก take care มากขึ้นไปอีก คุณอยากให้เขามีความสุขและสบาย คุณจึงเลือกที่จะรักและทำทุกทางเพื่อช่วยเหลือเขาอย่างเต็มใจ

Read More